1 / 33

การเขียนรายงานทางวิชาการ และ การอ้างอิงสารสนเทศ

การเขียนรายงานทางวิชาการ และ การอ้างอิงสารสนเทศ. ความหมายและลักษณะของรายงาน. 1. รายงาน ( Report ) หมายถึง การเรียบเรียงผลของการศึกษาค้นคว้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยการศึกษาจากเอกสาร การสังเกต การทดลอง โดยมีการเขียนรายงานตามส่วนประกอบที่สำคัญๆ

Antony
Download Presentation

การเขียนรายงานทางวิชาการ และ การอ้างอิงสารสนเทศ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเขียนรายงานทางวิชาการและการอ้างอิงสารสนเทศการเขียนรายงานทางวิชาการและการอ้างอิงสารสนเทศ

  2. ความหมายและลักษณะของรายงานความหมายและลักษณะของรายงาน 1. รายงาน (Report)หมายถึง การเรียบเรียงผลของการศึกษาค้นคว้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยการศึกษาจากเอกสาร การสังเกต การทดลอง โดยมีการเขียนรายงานตามส่วนประกอบที่สำคัญๆ 1.1 รายงานวิชาการ (Report)หมายถึง รายงานการค้นคว้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการค้นคว้า วิจัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเพื่อประกอบรายวิชาใดวิชาหนึ่ง 1.2 รายงานการวิจัย (Research paper)เป็นรายงานผลการค้นคว้าวิจัยที่ได้ทำการค้นคว้าอย่างเป็นระบบ ซึ่งต้องอาศัยความละเอียด ถี่ถ้วน สมบูรณ์ และเที่ยงตรง มีการใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลตามระเบียบ วิธีการวิจัย

  3. ความหมายและลักษณะของรายงาน (ต่อ) 2. ภาคนิพนธ์ (Term Paper)มีลักษณะเดียวกับรายงาน แต่หัวข้อที่ทำมีขอบเขตกว้างขวางและลึกซึ้งกว่าหัวข้อการทำรายงาน ใช้เวลาในการค้นคว้ามากกว่า ความยาวของเนื้อหามากกว่า มีส่วนประกอบเช่นเดียวกับรายงานอาจจะต้องใช้เวลาตลอดภาคการศึกษานั้น 3. วิทยานิพนธ์ (Thesis / Dissertation)วิทยานิพนธ์ หรือบางแห่งเรียกว่า ปริญญานิพนธ์ เป็นรายงานผลการค้นคว้าวิจัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรมหาบัณฑิต หรือปริญญาดุษฎีบัณฑิต โดยผู้เรียนเลือกเรื่องที่ประสงค์จะศึกษาและทำการค้นคว้าอย่างละเอียดลึกซึ้งตามระเบียบวิธีการวิจัย

  4. วัตถุประสงค์ของการทำรายงานวัตถุประสงค์ของการทำรายงาน • เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลต่างๆเพื่อให้เห็นแนวทางที่หลากหลายของการเรียนวิชานั้นๆ • เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความคิดที่กว้างขวาง และลึกซึ้งกว่าการรับฟังผู้สอนอย่างเดียว หรือจากการอ่านตำราเล่มเดียว • เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล การเขียนรายงานตามรูปแบบมาตรฐาน

  5. ขั้นตอนการทำรายงานทางวิชาการขั้นตอนการทำรายงานทางวิชาการ 1. การเลือกหัวข้อเรื่อง 2. การวางโครงเรื่อง 3. การหาแหล่งข้อมูล 4. การอ่านและการบันทึกข้อมูล 5. การเขียนสรุปความและการเรียบเรียง รายงาน 6. การระบุเอกสารอ้างอิง 7. จัดทำเป็นรูปเล่ม สุดท้าย.... นำเสนอ /ส่งอาจารย์ผู้สอน

  6. ส่วนประกอบของรายงานทางวิชาการส่วนประกอบของรายงานทางวิชาการ 1. ส่วนนำเรื่อง 2. ส่วนเนื้อเรื่อง 3. ส่วนท้าย

  7. ส่วนนำเรื่อง ส่วนนำเรื่อง หมายถึง ส่วนที่อยู่ต้นเล่มของรายงาน ก่อนถึงเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย • ปกนอก คือ ส่วนที่เป็นปกหุ้มรายงาน มีทั้งปกหน้า ปกหลัง • ใบรองปก เป็นกระดาษเปล่า • หน้าปกใน อยู่ต่อจากใบรองปก เขียนเหมือนหน้าปกนอก • คำนำ อยู่ถัดจากหน้าปกใน กล่าวถึงวัตถุประสงค์ และขอบเขตของรายงาน อาจรวมถึงปัญหา อุปสรรคในการศึกษา ค้นคว้า ตลอดจนคำขอบคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในการรวบรวมข้อมูล ลงท้ายด้วยชื่อผู้จัดทำรายงาน / คณะผู้จัดทำ วันที่ • สารบัญ อยู่ต่อจากหน้าคำนำ มีลักษณะคล้ายโครงเรื่องของรายงาน พร้อมเลขหน้า

  8. ส่วนเนื้อเรื่อง หมายถึง ส่วนที่อยู่ต่อจากส่วนหน้า เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของรายงาน ประกอบด้วย • บทนำ คือ การอธิบายเนื้อหาอย่างกว้างๆเป็นการนำผู้อ่านเข้าสู่เนื้อเรื่อง หรือเนื้อหาของรายงานเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจในเบื้องต้น • เนื้อเรื่อง คือ ส่วนที่เสนอเรื่องราวสาระทั้งหมดของรายงานตามลำดับ ตามหัวข้อที่ระบุไว้ในสารบัญ • สรุป คือ ส่วนที่เขียนย้ำ หรือนำเสนอประเด็นสำคัญของเนื้อหา จะอยู่ในหน้าสุดท้ายของเนื้อเรื่อง

  9. ส่วนท้าย ส่วนท้าย หมายถึง ส่วนที่แสดงหลักฐาน ประกอบการค้นคว้า และการเขียนรายงาน เพื่อให้ทราบว่าผู้ทำรายงานได้ค้นคว้ามา จากแหล่งใดบ้าง เช่น รายการอ้างอิง หรือ บรรณานุกรม รวมถึงส่วนที่ผู้เขียนต้องการ นำเสนอข้อมูลให้ความรู้เพิ่มเติมกับผู้อ่าน เช่น ภาคผนวก อภิธานศัพท์

  10. การอ้างอิงสารสนเทศ การอ้างอิงสารสนเทศ สิ่งพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ และสารสนเทศ อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแสดงถึงแหล่งที่มาอย่างถูกต้อง ชัดเจน การอ้างอิงมีได้ หลายลักษณะ คือ 1. รายการอ้างอิงที่แทรกปนไปในเนื้อหาของรายงาน หรือ การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง 2. การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ 3.การอ้างอิงที่รวบรวมไว้ตอนท้ายเล่มของรายงาน

  11. 1. รายการอ้างอิงที่แทรกปนไปในเนื้อหาของรายงาน หรือการอ้างอิงในเนื้อเรื่อง ในกรณีที่ผู้ทำรายงานได้คัดลอกข้อความ หรืออ้างคำพูด หรือแนวความคิดของบุคคลอื่นมาไว้ในรายงานของตน จำเป็นต้องมีการอ้างอิงกำกับไว้ด้วยทุกครั้ง การอ้างอิงแบบแทรกปนไปกับเนื้อหามักจะใช้การอ้างอิงระบบนาม-ปี (Author-Year Format)

  12. ระบบนาม-ปี ประกอบด้วย ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ และหมายเลขหน้า เพื่อแจ้งแหล่งที่มาของข้อความ การวางตำแหน่งการอ้างอิง ทำได้ 3 แบบ คือ 1. วงเล็บอ้างอิงไว้ท้ายข้อความ ................................. (ผู้แต่ง,//ปี/:/เลขหน้าในกรณีไม่ใช่หนังสือ) เช่น ................................. (พิษณุ นิลกลัด, 2548 : 36) 2. วงเล็บอ้างอิงแทรกปนในเนื้อหา ............ (ผู้แต่ง,//ปี/:/เลขหน้า)........................ เช่น ............... (ปราบดา หยุ่น, 2545 : 12) ............................ (พิษณุ นิลกลัด, 2548) 3. อ้างอิงชื่อผู้แต่งไว้นอกลงเล็บ อาจขึ้นต้นย่อหน้า หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของย่อหน้า แล้วตามด้วยวงเล็บปีและเลขหน้า ผู้แต่ง (ปี/:/เลขหน้า) .................................... ............................. ผู้แต่ง (ปี/:/เลขหน้า) .............................

  13. ระบบนาม-ปี(ต่อ) รูปแบบการอ้างอิงระบบนาม-ปี มาใช้ในการเขียนรายงาน 1. การไม่ระบุเลขหน้า ใช้เมื่อต้องการอ้างงานของผู้อื่นโดยการสรุปเนื้อหา หรือแนวคิดทั้งเล่มของงานนั้น เช่น ............... (ประภา แสงทองสุข, 2548) 2. การระบุชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์และเลขหน้าไว้ในวงเล็บ ใช้ในกรณีที่ผู้ทำรายงานได้สรุปเนื้อหาและความคิดจากผลงานของผู้แต่งคนนั้นในหน้านั้นๆ แล้วนำมาเรียบเรียงเป็นถ้อยคำสำนวนของตน เช่น หาบเร่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของสังคมไทย(ภาคิน สมมิตร, 2548 : 80) 3. การระบุชื่อผู้แต่งไว้นอกลงเล็บ เมื่อต้องการให้ความสำคัญกับชื่อผู้แต่ง เช่น ประภา แสงทองสุข (2548 : 125)ได้อธิบายไว้ว่า ...........

  14. ระบบนามปี (ต่อ) 4. การอ้างอิงสารสนเทศจากเอกสารของผู้แต่งคนเดียว หลายหน้า (วิมล ไทรนิ่มนวล, 2543 : 12-15) 5. ชื่อผู้แต่งชาวต่างประเทศระบุแต่นามสกุล เช่น (Pullman, 2005 : 40) 6. ชื่อผู้แต่งที่มียศทางราชการ ตำแหน่งทางวิชาการ คำเรียกทางวิชาการ ไม่ต้องใส่ ยกเว้นมีบรรดาศักด์พระราชทาน (ทักษิณ ชินวัตร, 2547 : 25-48) 7. อ้างอิงหนังสือหลายเรื่องโดยผู้แต่งคนเดียวกัน เขียนชื่อผู้แต่งครั้งเดียวแล้วเรียงตามปีที่พิมพ์จากน้อยไปหามาก เช่น (มุกหอม วงษ์เทศ, 2545 : 18, 2548 : 45)

  15. ระบบนามปี (ต่อ) 8. บทความ / เอกสาร ทีไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ลงชื่อบทความ / เอกสารแทนชื่อผู้แต่ง เช่น (เด็กจอมแก่น, 2548 : 36) 9. การอ้างอิงสารสนเทศที่ไม่ใช่สิ่งพิมพ์ ต้องระบุแหล่งที่มา เช่น (มุกหอม วงษ์เทศ, 2548 : สัมภาษณ์) (พระพยอม กัลยาโน, 2547 : เทปตลับ) 10. การอ้างอิงสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น (คำพูน บุญทวี, 2548 : ระบบออนไลน์) (Food Pyramid, 2005 : online) (มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่, 2548 : จดหมายอิเล็กทรอนิกส์)

  16. 2. การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ เชิงอรรถ (Footnote) คือ ข้อความที่อยู่ส่วนท้ายของหน้ากระดาษ หรือข้อความที่พิมพ์ไว้ตรงส่วนล่างของหน้ากระดาษ เพื่อระบุหลักฐานการอ้างอิง หรือเพื่ออธิบายเนื้อเรื่องบางตอนเพิ่มเติม การอธิบายเสริมความ และการโยงข้อความเพื่อดูรายละเอียดหน้าอื่นๆให้ใส่เครื่องหมายดอกจัน (*) ไว้ท้ายคำหรือข้อความที่ต้องการ และอธิบายหรือโยงข้อความไว้ด้านล่างของหน้ากระดาษ เช่น การอ้างอิงแทรกปนในเนื้อหา ............ (ผู้แต่ง,//ปี/:/เลขหน้า)*........................ เครื่องหมาย / หมายถึง เคาะแป้นพิมพ์ 1 ครั้ง เครื่องหมาย // หมายถึง เคาะแป้นพิมพ์ 1 ครั้ง

  17. 3. การอ้างอิงที่รวบรวมไว้ท้ายเล่มของรายงาน หรือเรียกว่า รายการอ้างอิง (Reference)หรือ บรรณานุกรม (Bibliography) หมายถึง รายการทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดที่ผู้ทำราย งานได้ใช้ประกอบการค้นคว้าการทำรายงาน ซึ่งจะต้องนำมาจัดเรียงตาม ลำดับอักษร และบันทึกตามแบบแผนบรรณานุกรมที่ได้กำหนดไว้

  18. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรม /รายการอ้างอิง หนังสือ รูปแบบ ชื่อผู้แต่ง/นามสกุล.//ปีที่พิมพ์.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//เมืองที่พิมพ์/:/สำนัก พิมพ์. หมายเหตุ จะเขียน ถ้าพิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป ตัวอย่าง สรยุทธ สุทัศนะจินดา. 2548. คุยนอกสนาม. กรุงเทพฯ : ดวงกมล. Bricker, Robert. 1999. Britain in China. New York : MUP.

  19. หนังสือ ผู้แต่ง 2 คน กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และ กิตติพงษ์ กลมกล่อม. 2548. ผู้แต่ง 3 คน สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์; สมบูรณ์ ธนะสุข และ พิชัย แก้วขาว. มากกว่า 3 คน อุษณีย์ โพธิสุข และคนอื่นๆ. 2544. Pullman, Philp, et. Al. 2005. ไม่มีชื่อผู้แต่งเด็กจอมแก่น. 2548. ราชสกุล เทพรัตน์ราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. 2544. บรรดาศักดิ์ แม้นมาส ชวลิต, คุณหญิง. 2544. บรรณาธิการ /เรียบเรียง เริงชัย พุทธาโร, บรรณาธิการ. 2544. Edwards, Steven, ed. 2001.

  20. หนังสือ สถาบัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะมนุษยศาสตร์. 2548. หนังสือแปล โทลคีน, เจ.อาร์.อาร์. 2545. ลอร์ด ออฟ เดอะริงส์ แปลจาก Lord of the Ringโดย วัลลี ชื่นยง. กรุงเทพฯ : แพรวเยาวชน. หนังสือไม่ปรากฏ เมืองที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ และปีที่พิมพ์ มุกหอม วงษ์เทศ. ม.ป.ป. เงาจันทร์ในอัญประกาศ. ม.ป.ท. : ม.ป.พ. Henig, Martin. n.d. The Art of the Celts. N.P. : n.p. หมายเหตุ: กรณีหนังสือปรากฏทั้งชื่อสำนักพิมพ์ และโรงพิมพ์ ให้ใช้ชื่อสำนักพิมพ์ในการลงรายการ ลงเฉพาะชื่อสำนักพิมพ์ โดยตัดคำว่าสำนักพิมพ์ หรือบริษัทจำกัดออก แต่ถ้าเป็นชื่อโรงพิมพ์ ให้คงไว้

  21. วารสาร รูปแบบ ชื่อผู้เขียนบทความ.//ปีที่พิมพ์.//“ชื่อบทความ.”//ชื่อวารสาร.//ปีที่,/ฉบับที่,/(เดือน ถ้ามี)/:/เลขหน้าที่. ตัวอย่าง วิจิตพาณี เจริญขวัญ. 2545. “การประกันคุณภาพ.”วารสารรามคำแหง. 19,1 (มกราคม-มีนาคม) : 3-4.

  22. หนังสือพิมพ์ รูปแบบ ชื่อผู้เขียนบทความ.//ปีที่พิมพ์.//“ชื่อบทความ.”//ชื่อหนังสือพิมพ์.//วันที่ เดือน/:/เลขหน้าที่. ตัวอย่าง จิรภัทร อังศุมาลี. 2548. “จักรวรรดินิยม.”มติชน 1 สิงหาคม : 9.

  23. เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบ ชื่อผู้เขียนบทความ.//ปีที่พิมพ์.//“ชื่อบทความ.”//[ออนไลน์]//แหล่งที่มา//ที่อยู่เว็บไซต์.//(วันที่ค้นข้อมูล). ตัวอย่าง โรงพยาบาลกรุงเทพ. ม.ป.ป.“สุขภาพผิวหนัง.”[ออนไลน์] แหล่งที่มา http://www.bangkokhealth.com/skin_htdoc/skin_health_detail.asp?Number=5102. (12 กันยายน 2548).

  24. รูปแบบการพิมพ์รายงานวิชาการรูปแบบการพิมพ์รายงานวิชาการ 1. ใช้กระดาษขาว A4 ไม่มีเส้นบรรทัด เขียนหน้าเดียว ระยะบรรทัดปกติ 2. พิมพ์ด้วยโปรแกรม MS Word ใช้ตัวอักษร Angsana UPC 3. การเว้นระยะขอบกระดาษ ด้านบนของหน้าแรกรายงาน หน้าชื่อบท คำนำ สารบัญ บรรณานุกรม ภาคผนวก เว้น ขอบบน 2 นิ้ว หน้ารายงานอื่นๆเว้นระยะ 1.5 นิ้ว ด้านล่างและด้านขวา เว้นระยะ 1 นิ้ว ด้านซ้าย 1.5 นิ้ว และ การย่อหน้าเว้นระยะ 1 นิ้วจากซ้ายมือ 4. ขนาดตัวอักษรที่ใช้ ถ้าเป็นหัวข้อใหญ่ / บทที่รายงาน ใช้ตัวหนา ขนาด 20 จุด หัวข้อรองหรือหัวข้อชิดขอบซ้ายนิยมใช้ตัวหนา ขนาด 18 จุด หัวข้อย่อย หรือหัวข้อย่อหน้า ใช้อักษรตัวหนา 16 จุด หัวข้อย่อยๆที่มีจุดทศนิยมและส่วนเนื้อหา ใช้ตัวอักษรปกติ ขนาด 16 จุด

  25. รูปแบบการพิมพ์รายงานวิชาการรูปแบบการพิมพ์รายงานวิชาการ 5. การให้เลขลำดับหน้า 5.1 ส่วนนำเรื่อง ได้แก่ หน้าคำนำ สารบัญ นิยมใช้ตัวอักษรเรียงตามลำดับพยัญชนะ ก ข ค ... กลางหน้ากระดาษด้านบนหรืออาจไม่ใส่ก็ได้ 5.2 ถ้าเป็นหน้าแรกของแต่ละบท หน้าแรกของหน้าบรรณานุกรม ภาคผนวก ไม่ต้องใช้เลขหน้ากำกับ แต่ให้นับจำนวนหน้ารวมไปด้วย 5.3 ใส่เลขหน้าตั้งแต่หน้าที่ 2 เป็นต้นไป โดยใส่เลขหน้าไว้ที่กลางหน้ากระดาษด้านบน 6. รูป กราฟ ตาราง แผนภูมิ ประกอบให้ใส่เลขและชื่อใต้รูปนั้นๆ

  26. ตัวอย่างการพิมพ์ 1. xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx 1..1 xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx 1.1.1 xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx 1.1.1.1 xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx 1.1.2 xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx 1.2 xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx 2. xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

  27. ตัวอย่างการเว้นขอบกระดาษตัวอย่างการเว้นขอบกระดาษ หน้าที่มีชื่อบท คำนำ สารบัญ 1.5 นิ้ว หน้าปกติ เว้น 2 นิ้ว 1 นิ้วเลขหน้า2 1.5 นิ้ว 1 นิ้ว 1 นิ้ว -------------------------------------------------

  28. ตัวอย่างปกรายงาน **ปกนอกใช้กระดาษแข็ง ไม่มีลวดลาย 2 นิ้ว วัฒนธรรมญี่ปุ่น จรรยา สัจจชลพันธ์ รหัส 485190001 รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา College Study 03-111 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2548 มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ 1 นิ้ว

  29. ตัวอย่างคำนำ คำนำ ความสนใจในประเทศญี่ปุ่นและคนญี่ปุ่น ตลอดจนชีวิตและ วัฒนธรรมญี่ปุ่นได้เกิดขึ้นแพร่หลายไปทั่วโลกพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของการแลกเปลี่ยนและการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ รวมทั้งความสำคัญของบาทบาทของญึ่ปุ่นที่มีต่อโลกเพิ่มขึ้น รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนวิชาทักษะการใช้ห้องสมุด ซึ่ง ผู้เขียนได้ค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องวัฒนธรรมญี่ปุ่นในหลายประเด็น เพื่อให้ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยววัฒนธรรมญึ่ปุ่นให้มากขึ้น จึงหวังว่ารายงานนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านบ้างตามสมควร จรรยา สัจจชลพันธ์ 12 กันยายน 2548

  30. ตัวอย่างสารบัญ สารบัญ หน้า คำนำ สารบัญ บทนำ 1 กิจกรรมทางวัฒนธรรมญี่ปุ่น 1 งานประเพณีประจำปี 4 อาหารญี่ปุ่น 7 มารยาทในการรับประทานอาหารญี่ปุ่น 8 ปลาดิบ 10 เกมและกิจกรรมสำหรับเด็ก 11 สรุป 13 บรรณานุกรม 14 ภาคผนวก 15

  31. ตัวอย่างเนื้อเรื่อง วัฒนธรรมญี่ปุ่น บทนำ ในปัจจุบัน ผู้เรียนรูภาษาญี่ปุ่นชาวไทยมีจำนวนมากขึ้น............ ............................................................................................................... กิจกรรมทางวัฒนธรรมญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่นมี ...........................................................................

  32. ตัวอย่างบรรณานุกรม บรรณานุกรม การุญตระกูลเผด็จไกร. 2539. เคาะประตูโตเกียว. กรุงเทพฯ : อิศรานุราช. นวรัตน์เลขะกุล. 2545. แจแปน แจแปน. กรุงเทพฯ : สารคดี. แสวง จงสุจริตธรรม และปราณี จงสุจริตธรรม. 2548. วัฒนธรรมญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ : สสท.

  33. สรุป รายงานเป็นผลของการศึกษาค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งเรียบเรียงแล้วเขียนหรือพิมพ์ขึ้นให้ถูกต้องตามแบบแผนที่กำหนด ขั้นตอนการทำรายงานทางวิชาการ ได้แก่ การเลือกหัวข้อ การวางโครงเรื่อง การหาแหล่งข้อมูล การอ่านและการบันทึกข้อมูล การเรียบเรียงรายงานและการเขียนรายการบรรณานุกรม ส่วนประกอบของรายงาน ประกอบด้วย ส่วนนำ ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนท้าย ส่วนบรรณานุกรม หรือรายการอ้างอิงสารสนเทศจะอยู่ส่วนท้ายของรายงาน การอ้างอิงจะช่วยให้ผู้อ่านทราบแหล่งที่มาของข้อมูล ทำให้ผู้ที่สนใจในเรื่องนั้นๆสามารถไปค้นคว้าเพิ่มเติมได้ ภาคผนวกเป็นข้อมูลเพิ่มเติมที่จะช่วยอธิบายเนื้อเรื่องให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดยอยู่ต่อท้ายส่วนอ้างอิง

More Related