1 / 9

จ่ายค่ารถเพิ่มแต่ไม่เสียค่าล่วงเวลา คุ้มกันไหม

N. S. P. FTA ไทย ไทย-ออสเตรเลีย ทำให้ไทยได้ดุลการค้า. Shipment Error จากข้อมูลที่ช้าหรือไม่ตรงกัน. การสำแดงหน่วยชนิดสินค้ากับการของคืนสิทธิประโยชน์. จ่ายค่ารถเพิ่มแต่ไม่เสียค่าล่วงเวลา คุ้มกันไหม. น้ำหนักเกินใครรับผิดชอบ. MD Says.

ada
Download Presentation

จ่ายค่ารถเพิ่มแต่ไม่เสียค่าล่วงเวลา คุ้มกันไหม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. N S P FTA ไทย ไทย-ออสเตรเลีย ทำให้ไทยได้ดุลการค้า Shipment Error จากข้อมูลที่ช้าหรือไม่ตรงกัน การสำแดงหน่วยชนิดสินค้ากับการของคืนสิทธิประโยชน์ จ่ายค่ารถเพิ่มแต่ไม่เสียค่าล่วงเวลา คุ้มกันไหม น้ำหนักเกินใครรับผิดชอบ MD Says

  2. ตั้งแต่เรามีข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นมา ได้ทำให้การค้าระหว่างไทยกับออสเตรเลียและการส่งออกไปออสเตรเลียขยายตัวมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาโดยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2552 (ม.ค.-เม.ย.) โดยไทยส่งออกไปออสเตรเลียเป็นมูลค่า 2,481.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯขณะเดียวกัน ไทยนำเข้าจากออสเตรเลีย คิดเป็นมูลค่า 1,068.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ไทยได้ดุลออสเตรเลีย 1,413.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.28 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนในส่วนการใช้ประโยชน์จากความตกลง TAFTA นั้น ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2552 กรมการค้าต่างประเทศได้ออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Form FTA) จำนวนทั้งสิ้น 14,192 ฉบับ มูลค่าการส่งออกสินค้าภายใต้ความตกลงทั้งสิ้น 1,234.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯโดยสินค้าสำคัญที่ใช้สิทธิส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ได้แก่ หลอดหรือท่ออื่นๆ รถยนต์ที่มีเครื่องสันดาปภายในชนิด จี.วี. ดับบลิว น้ำหนักไม่เกิน 5 ตัน รถบรรทุกเครื่องยนต์ดีเซล ชนิด จี.วี. ดับบลิว น้ำหนักไม่เกิน 5 ตัน เครื่องปรับอากาศ และปลาทูน่า เป็นต้นเพื่อการส่งออกไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีศุลกากรในการนำเข้าประเทศออสเตรเลียภายใต้ความตกลงดังกล่าว ทั้งนี้ก่อนการส่งออกไปยังประเทศออสเตรเลีย ท่านสามารถเช็คกับทางเราก่อนได้ว่าสินค้าที่จะส่งไปสามารถลดหย่อนภาษีขาเข้าที่ปลายทางกี่เปอร์เซ็นต์จากอากรปกติ โดยแจ้งชื่อสินค้า พิกัด (ถ้ามี) เพื่อเป็นประโยชน์ทางการค้าและการส่งออกให้ได้ประโยชน์เต็มที่ S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  3. ในทุกขั้นตอนของการทำงาน ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จำเป็นจะต้องถูกต้องและมีความเข้าใจที่ตรงกันในทุกหน่วยงานที่ทำงานร่วมกัน เช่นเดียวกับการประสานงานในการเดินเอกสารตรวจปล่อย ที่เราต้องประสานงานกับทั้งทางสายเรือ สายการบิน และทางกรมศุลกากร ข้อมูลที่ส่งต่อถึงกันจะต้องตรงกัน เพื่อที่จะทำให้ขั้นตอนการในส่วนของเอกสารดำเนินไปอย่างราบรื่น หากมีการถ่ายโอนข้อมูลถึงกันล่าช้า หรือผิดพลาดก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดความล่าช้าหรือความผิดพลาดในการตรวจปล่อยตามไปด้วย ในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการรายหนึ่งนำสินค้าเข้าจากประเทศจีน โดยสายการบินที่ทำการจองนั้นเป็นช่วงเวลาดึก ซึ่งสินค้าจะมาถึงช่วงเวลาประมาณ ตี 1-2 แต่ลูกค้าต้องการรับสินค้าด่วนมาก คือ ช่วงเช้าของวันเดียวกันประมาณ 8-9 โมงเช้า ทางเราจึงวางแผนประสานงานกับทางผู้ประกอบการว่าจะจัดหาคนมาทำงานในช่วงเวลาเช้ามืด ทั้งทางพื้นที่ของท่าอากาศยาน และสำนักงานที่กรุงเทพฯ เพื่อให้ขั้นตอนเป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุด เมื่อถึงเวลาจริง ขั้นตอนทุกอย่างดำเนินไปตามแผนงานที่วางไว้ โดยแลก D/O ได้ประมาณ ตี 5 และจัดทำใบขนสินค้าขาเข้าช่วงเวลา 6 โมง S N P ต่อหน้า 2

  4. หน้า 2 เพื่อตรวจปล่อยให้ทัน 7-8 โมงเช้า แต่ปรากฏว่าไม่สามารถจัดทำใบขนได้สำเร็จตามเวลาที่กำหนดเนื่องจาก ทางสายการบินเมื่อออก D/O ให้แต่ยังไม่มีการส่งข้อมูลให้กับทางกรมศุลกากร ทำให้ทางเราไม่สามารถส่งข้อมูลใบขนผ่านได้และเสียเวลาในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ทางสายการบินเป็นเวลาพอสมควรเนื่องจากเป็นเวลาเช้ามาก และมีคนทำงานน้อย ท้ายที่สุดก็สามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้ และทำใบขนสำเร็จได้แต่ก็ทำให้เวลาในการตรวจปล่อยต้องเลื่อนออกไปอีก ทำให้แผนงานที่วางไว้เพื่อให้สินค้าไปถึงลูกค้าให้เร็วที่สุด ต้องล่าช้าออกไป จะเห็นได้ว่า การประสานงานกันในทุกหน่วยงาน เพื่อข้อมูลที่ตรงกันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะท้ายที่สุดสิ่งที่ตามมาคือผลเสียจากความล่าช้า และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นโดยไม่จำเป็น การวางแผนงานบางครั้งแม้จะรัดกุมแล้วแต่บางครั้ง สิ่งเล็กๆน้อยๆ ที่เราคาดไม่ถึงก็สามารถทำให้งานล่าช้าลงได้ หากท่านผู้ประกอบท่านใดต้องการคำแนะนำ หรือสอบถามข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่ คุณ ต้นวงศ์ หมั่นผจง TEL: 02-333-1199 Ext: 202 , FAX : 02-333-0930 S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  5. S มีผู้ประกอบการรายหนึ่ง ได้นำเข้าสินค้า และส่งออกโดยใช้สิทธิตามมาตรา 19 (RE-EXPORT) แต่ในใบขนสินค้าขาเข้าระบุจำนวนของสินค้าเป็นกิโลกรัม ซึ่งในความเป็นจริงแล้วของที่นำเข้ามาซื้อขายกันเป็นชิ้น และเมื่อส่งออกได้ระบุจำนวนของสินค้าเป็นชิ้น ทำให้เมื่อนำมายื่นเรื่องขอคืนอากรตามมาตรา 19 ใบขนสินค้าขาเข้าและขาออกจึงขัดแย้งกัน ต้องทำการแก้ไขใบขนสินค้าขาเข้าใหม่ ให้ระบุจำนวนของสินค้าเป็นชิ้นให้ถูกต้อง  ทำให้เกิดความล่าช้าในการขอคืนอากร ต้องเสียเวลาในการแก้ไข ดังนั้นผู้ประกอบการควรระมัดระวังในการสำแดงรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ให้ครบถ้วน N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  6. S มีผู้ส่งออกรายหนึ่งมีสินค้ามาบรรจุที่ท่าเรือคลองเตย โดยให้ทางบริษัทจองรถ 6 ล้อ ให้ แต่พอถึงเวลาประมาณ 14.30 น.ทางบริษัทได้โทรไปสอบถามกับทางผู้ส่งออกว่ารถสินค้าออกมาหรือยังทางผู้ส่งออกก็แจ้งว่าของคงจะเสร็จทั้งหมดประมาณ 16.00 น. ซึ่ง ณ.เวลานั้นเป็นเวลาที่รถ 6 ล้อไม่สามารถวิ่งได้ ซึ่งกว่ารถ 6 ล้อ จะวิ่งได้ก็ประมาณ 20.00 น. กว่ารถจะมาถึงท่าเรือคลองเตย น่าจะประมาณ 22.00 น. ซึ่งทางผู้ส่งออก ก็ให้ทางบริษัท เช็ค ค่าล่วงเวลาที่ท่าเรือว่าค่าใช้จ่ายมีเท่าไหร่บ้าง ซึ่งทางบริษัทก็แจ้งว่า ถ้ารถมาถึงเวลา 22.00 น. จะเสียค่าล่วงเวลา 1,500 บาท แต่ถ้ารถมาก่อน 18.00 น. จะไม่เสียค่าล่วงเวลาเลย ซึ่งทางบริษัท ก็แนะนำกับทางผู้ส่งออกว่า ของบางส่วนน่าจะปล่อยมากับรถ 6 ล้อ ก่อน แล้วส่วนที่เหลือ น่าจะใช้รถกระบะ ตามมาอีก 1 คัน ซึ่งทางบริษัทคิดว่า น่าจะถูกกว่าที่ทางผู้ส่งออกจะมาเสียค่าล่วงเวลากับ agent ที่ท่าเรือ ซึ่งเมื่อทางผู้ส่งออกได้ข้อมูลที่ทางบริษัทให้ไป ทางผู้ส่งออกก็ทำตาม        ซึ่งทางผู้ส่งออกก็แจ้งว่าการทำแบบนี้ทางผู้ส่งออกประหยัดค่าใช้จ่ายได้พอสมควรทีเดียว N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  7. มีผลสรุปที่แน่ชัดจากกรมทางหลวง  สำหรับรถบรรทุกพ่วง 7 เพลา 24 ล้อบรรทุก น้ำหนักรวมได้ไม่เกิน 53 ตัน  และจะมีการเริ่มตรวจจับการบรรทุกน้ำหนักเกิน ตั้งแต่ วันที่ 1 กันยายน 2552 ทั้งนี้หากการจับกุมรถบรรทุกน้ำหนักเกินกว่ากฎหมายกำหนด ผู้ว่าจ้างรถขนส่งสินค้าที่บรรทุกน้ำหนักเกิน ต้องรับผิดชอบร่วมกันทางกฎหมายด้วยทุกกรณี . ซึ่งที่ผ่านมาผู้ประกอบการรถบรรทุกต้องการให้ได้น้ำหนักรวมไม่เกิน 58 ตัน แต่ก็ต้องผิดหวัง เพราะได้แค่ 53 ตัน เท่านั้น ซึ่ง 53 ตัน ที่ได้นั้น ผ่อนผันให้บรรทุกได้ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2555 และเมื่อสิ้นสุดการผ่อนผันแล้ว ตั่งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2556 จะบรรทุกน้ำหนักรวมได้ไม่เกิน  50.5 ตัน   S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  8. S สถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ ยังไม่ถือว่าอยู่ในความสงบสักเท่าใดนัก ปัญหาการเมืองยังเต็มไปด้วยความขัดแย้ง ต่างฝ่ายต่างมีความเห็นที่ไม่ลงรอยกัน พยายามหาผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้องโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง ซ้ำร้ายปัญหาโรคระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 ยังคงไม่สามารถหาทางแก้ไขหรือหยุดยั้งการแพร่ระบาดของไข้หวัดสายพันธุ์นี้ได้ แต่ขณะนี้ก็มีข่าวจากทางประเทศจีนแล้วว่าเกิดไข้กาฬโรคระบาดตามมาอีก ซึ่งผมก็ได้แต่หวังว่า ทางรัฐบาลจีนจะสามารถหยุดยั้งการระบาดได้ทันเวลาก่อนที่จะแพร่ลามมายังนอกประเทศ อย่างไรก็ดี ผมก็ยังหวังว่าโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ภายในประเทศไทย และทั่วโลกจะพบหนทางรักษาและป้องกันได้อย่างเด็ดขาดในเร็ววันนี้ วันนี้ผมอยากนำเสนอเรื่องราวของผู้ประกอบการท่านหนึ่งที่นำสินค้าเข้ามาจากต่างประเทศและใช้สิทธิ์ลดหย่อนอากร FTA ซึ่งทำให้สินค้าดังกล่าวซึ่งโดยปกติต้องเสียอากรอยู่ที่ 40% ลดลงเหลือ 5%เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องดีสำหรับผู้นำเข้า แต่ปัญหาใหญ่ที่ตามมาคือว่า หลังการนำเข้ามาทางเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจพบว่าสินค้าดังกล่าวมีการประทับตราลอกเลียนแบบลิขสิทธิ์ จึงถูกจับ และสินค้าจะต้องถูกทำลายพร้อมกับจะต้องเสียค่าปรับด้วย N P ต่อหน้า 2

  9. หน้า 2 ในกรณีนี้ถึงแม้ว่าทางลูกค้าจะต้องยอมรับสภาพของการที่สินค้าจะต้องถูกทำลาย แต่เกิดข้อสงสัยขึ้นว่า หากว่าจะต้องถูกปรับ จะคิดค่าปรับจากอัตราอากรสินค้าที่ร้อยละ 5 หรือ ร้อยละ 40 เพราะอย่างน้อยสินค้าก็ต้องถูกทำลายอยู่แล้ว หากว่ายังพอมีความเป็นไปได้ที่จะเสียค่าปรับให้น้อยลง ทางเราก็อยากจะช่วยเหลือผู้นำเข้าเท่าที่ทำได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องตามกฎหมายด้วย ผมจึงได้ทำหนังสือเข้าไปสอบถามกับทางอธิบดีกรมศุลกากร เพื่อให้ชี้แจงตอบข้อสงสัยให้กับผม ซึ่งคำตอบทีได้มาผมจะนำมาชี้แจงให้ฟังใน SNP News ฉบับหน้า เพื่อที่ว่าน่าจะเป็นประโยชน์และความรู้ให้ท่านผู้ประกอบการท่านอื่นๆ ไม่มากก็น้อย ขอแสดงความนับถือ สิทธิชัย ชวรางกูร กรรมการผู้จัดการ S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

More Related