1 / 66

สหรัฐอเมริกา : เอกอภิมหาอำนาจ

สหรัฐอเมริกา : เอกอภิมหาอำนาจ.

adamdaniel
Download Presentation

สหรัฐอเมริกา : เอกอภิมหาอำนาจ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สหรัฐอเมริกา:เอกอภิมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา:เอกอภิมหาอำนาจ

  2. …สิ่งที่อเมริกากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันนี้ก็คือสิ่งซึ่งเล็กน้อยอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับที่เราเคยลิ้มรสมานาน…ที่ชาติของเราได้ลิ้มรสความอัปยศเยี่ยงเดียวกัน…โลกได้แยกออกเป็นสองค่ายค่ายแห่งศรัทธาและค่ายที่ไร้ศรัทธา…และบัดนี้กระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลงพัดกระหน่ำ…มายังอเมริกา…ข้าฯ…ขอบอกต่อประชาชนชาวอเมริกันว่า…สิ่งที่อเมริกากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันนี้ก็คือสิ่งซึ่งเล็กน้อยอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับที่เราเคยลิ้มรสมานาน…ที่ชาติของเราได้ลิ้มรสความอัปยศเยี่ยงเดียวกัน…โลกได้แยกออกเป็นสองค่ายค่ายแห่งศรัทธาและค่ายที่ไร้ศรัทธา…และบัดนี้กระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลงพัดกระหน่ำ…มายังอเมริกา…ข้าฯ…ขอบอกต่อประชาชนชาวอเมริกันว่า • ข้าฯได้สาบานต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าว่าอเมริกาจะไม่มีวันได้หลับฝันอย่างสันติและเหล่าผู้ยังมีชีวิตอยู่ในอเมริกาจะไม่มีวันลิ้มรสความมั่นคงและปลอดภัยตราบที่เรายังปราศจากความมั่นคงและปลอดภัยในดินแดนแห่งเรา….

  3. รากฐานของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริการากฐานของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

  4. ๑.๑แนวความคิดที่ขัดแย้งกันระหว่างภารกิจที่ได้รับมอบหมาย(Mission) และการแสวงหาเงินตรา (Money) • คำถาม-จุดมุ่งหมายที่แท้จริงในการเดินทางมาว่าควรจะเป็นอะไร • คำตอบ-อุดมการณ์และผลประโยชน์ในขณะที่พยายามจะปลูกฝังคริสต์ศาสนาในสังคมโลกใหม่เวลาเดียวกันก็หาประโยชน์จากแผ่นดิน • Manifest Destiny-ชะตาลิขิต

  5. ๑.๒การขยายตัวไปทางตะวันตก๑.๒การขยายตัวไปทางตะวันตก • คริสโตเฟอร์โคลัมบัสเป็นสัญลักษณ์ในการสร้างจุดเริ่มต้นของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาคือการขยายตัวไปทางตะวันตก

  6. Cabeza de Vaca (ค.ศ.๑๕๓๓)...ธรรมชาติ(หรืออาจจะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์) เป็นผู้นำทางชาวอเมริกันให้เดินทางติดตามดวงตะวัน... “ไปยังที่ซึ่งดวงตะวันลับขอบฟ้าแล้วเราได้พบสิ่งที่เรา”

  7. George Berkeley • ...หนทางในการสร้างจักรวรรดิ์ของชาวอเมริกันคือการขยายตัวไปทางตะวันตก • โดยเริ่มต้นตั้งถิ่นฐานบริเวณริมฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติคต่อจากนั้นชาวอเมริกันได้ขยายตัวไปเรื่อยๆจนจดมหาสมุทรแปซิฟิคแล้วจึงข้ามมหาสมุทรแปซิฟิคไปยังแผ่นดินใหญ่เอเชียและกลายเป็นมหาอำนาจของโลกในปีแรกแห่งศตวรรษที่๒๐นั่นเอง...

  8. ๑.๓แนวความคิดเรื่องความสถานการณ์ภายในประเทศถูกกำหนดจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ๑.๓แนวความคิดเรื่องความสถานการณ์ภายในประเทศถูกกำหนดจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ • ความขัดแย้งที่ผูกติดกับการติดต่อสัมพันธ์(ระหว่างประเทศ) กับชาวต่างชาติต่างภาษา • เผยแพร่และเปลี่ยนแปลงสังคมในโลกใหม่ให้มีอารยชนแบบชาวคริสต์ VS ใช้แรงงานคนพื้นเมือง(อินเดียน) และคนผิวดำ(ชาวต่างชาติต่างภาษา)อย่างทารุณโหดร้าย • นำทรัพย์สินอันมีค่าและผลประโยชน์มหาศาลกลับสู่ทวีปยุโรปมีผลให้อินเดียนและทาสจำนวนมหาศาลต้องล้มตายลง

  9. ๑.๔อเมริกากับการปฏิวัติการค้าโลก๑.๔อเมริกากับการปฏิวัติการค้าโลก • ความมั่งคั่งร่ำรวยจากอเมริกาทำให้สเปญและต่อมาคืออังกฤษกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจแห่งใหม่แทนที่นครรัฐอิตาลี • ขนสัตว์ยาสูบน้ำตาลสัตว์น้ำจากอเมริกาเหนือแทนที่เครื่องเทศจากเอเชียในฐานะสินค้าอันมีค่าในตลาดยุโรป

  10. ๑.๗ความสำคัญของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในการดำเนินนโยบายทางการทูต๑.๗ความสำคัญของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในการดำเนินนโยบายทางการทูต • ทำให้การดำเนินการทางการทูตของอเมริกาสลับซับซ้อนและอันตราย • คนอเมริกันเข้าใจว่าวิกฤตการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศนั้นสามารถแก้ไขได้โดยการพัฒนาและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

  11. ๒.นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในยุค อาณานิคม–สงครามโลกครั้งที่ ๒

  12. ๒.๑ความพยายามสร้างรัฐในอุดมคติ-นครอันสูงส่งCity upon the hill ? • อังกฤษเข้ามาในอเมริกาเหนือเพื่อแสวงหาทางลัดไปค้าขายกับจีน • เกิดสินค้าสำคัญชนิดใหม่ที่มาของรายได้ในการดำรงชีพของชาวเวอร์จิเนียคือใบยาสูบ • ความต้องการใบยาสูบในตลาดยุโรปมีผลให้นำทาสชาวแอฟริกาเข้ามาเป็นแรงงานและบุกเบิกที่ดินใหม่ๆทางตะวันตกอันนำไปสู่การปะทะต่อสู้แย่งชิงที่ดินกับชาวพื้นเมือง

  13. John Winthrop สัญญลักษณ์ของจุดมุ่งหมายในการสร้างประเทศใหม่ให้เป็น-City upon the hill • นครแห่งคุณธรรมเสรีภาพความเสมอภาพและโอกาสที่เท่าเทียมกัน • นครตัวอย่างชาวเมริกันถือเป็นภารกิจในการเผยแพร่แก่ชาวโลก • “… We must consider that we shall be as a city upon a hill, the eyes of all people are upon us…. ” • “…The care of the public must oversway all private respect …and we must be knitt together in this work as one man….”

  14. โอกาสทางการค้าระหว่างประเทศและการขยายตัวไปทางตะวันตกทำให้แนวความคิดของ Winthrop ถูกทำลายลง city upon a hill กลายเป็น city on an ocean • สนใจในการแสวงหาผลกำไรมากกว่าการสร้างสังคมแห่งคุณธรรม • ให้สำคัญแก่การค้าระหว่างประเทศการตั้งถิ่นฐานในดินแดนตะวันตกและความร่ำรวยของปัจเจกบุคคลนิยมมากกว่าความสมบูรณ์พูนสุขของสังคม

  15. ๒.๒แนวทางหลักของนโยบายต่างประเทศของ สหรัฐอเมริกาตั้งแต่ค.ศ.๑๖๒๐-๑๘๙๐:จักรวรรดิ์อเมริกา • การตั้งอาณานิคมของชาวอังกฤษในดินแดนของชาวพื้นเมืองอเมริกัน(หรืออินเดียน) นำไปสู่การทำสงคราม -แนวทางหลักของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา • การพัฒนาแนวความคิดในการเหยียดผิว-Racism ให้ความชอบธรรมในการกระทำอันผิดศิลธรรมแก่ผู้คนที่มิใช่คริสตศาสนานิกชน • ทำลายสิ่งแวดล้อมธรรมชาติป่าเขาและสิ่งมีชีวิตต่างๆเพื่อบุกเบิกเป็นที่ทำกิน

  16. ทำลายการดำรงชีพของชาวพื้นเมืองอเมริกันทำลายการดำรงชีพของชาวพื้นเมืองอเมริกัน • ให้พกพาอาวุธได้เพื่อป้องกันตนเองจากอันตรายต่างๆการฝึกฝนการรบแบบกองโจรนำไปใช้ในการทำสงครามนอกประเทศในอนาคต

  17. ๒.๓การขยายตัวของอาณานิคมของอังกฤษและ การกำจัดอิทธิพลของสเปญและฝรั่งเศส • สงครามที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่าสหรัฐอเมริกาไม่สามารถโดดเดี่ยวตัวเองจากชาติยุโรปได้

  18. ๒.๔ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างนโยบายต่างประเทศและเสรีภาพของปัจเจกบุคคล๒.๔ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างนโยบายต่างประเทศและเสรีภาพของปัจเจกบุคคล • หลักการที่ว่ารัฐบาลลอนดอนมีสิทธิในการจัดการปกครองอาณานิคมอย่างเต็มที่เนื่องจากมีหน้าที่ปกป้องอาณานิคมจากภัยนอกประเทศ • ชาวอาณานิคมคิดว่ากระทำการโดยอิสระและดูแลปกป้องตนเองจึงควรจะมีความเท่าเทียมกับลอนดอนในการปกครองบริหารบ้านเมืองของตน

  19. ค.ศ. ๑๗๖๓ลอนดอนให้อาณานิคมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการทำสงครามโดยการเพิ่มการเก็บภาษีสินค้าที่จำเป็นและไม่อนุญาตให้ชาวอาณานิคมเข้าไปตั้งถิ่นฐานทางตะวันตกด้านหลังเทือกเขาอัปปาเรเชียนเพื่อหลีกเลี่ยงการขัดแย้งกับชาวพื้นเมืองอเมริกันและกระทำตามสัญญาที่ลอนดอนทำกับชาวพื้นเมืองอเมริกันไว้ • ชาวอาณานิคมทั้ง๑๓แห่งต่างตอบโต้การกระทำดังกล่าวของลอนดอนโดยการประท้วงไม่ซื้อสินค้าอังกฤษและเพิ่มการค้ากับฝรั่งเศสซึ่งเป็นการค้าที่ผิดกฎหมาย • สัญญลักษณ์ในการต่อต้านอำนาจของลอนดอนและความต้องการในการปกครองตนเองคือเหตุการณ์ Boston tea party • ชาวอาณานิคมตระหนักว่านโยบายต่างประเทศและเสรีภาพของปัจเจกบุคคล – การค้าระหว่างประเทศและการขยายตัวเข้าไปยึดครองดินแดนทางตะวันตกไม่ใช่สิ่งที่ไกลตัวแต่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประชาชนทุกๆคน

  20. ๒.๕ What was good for America was good for the world • Common Sense(1776)ของ Thomas Paine ปลุกระดมคนอเมริกันตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการปกครองและปฏิเสธกฎหมายที่ไม่มีผู้แทนของตนร่วมในการพิจารณา • No tax without representative • โน้มน้าวให้ชาวอเมริกันตระหนักว่าระบอบที่ชาวอเมริกันพยายามสร้างขึ้นมานี้เป็นสิ่งปรารถนาสำหรับมนุษยชาติทั้งมวล …What was good for America was good for the world…

  21. วิธีการที่อเมริกาจะได้มาซึ่งอิสรภาพคือการใช้การค้าในการดำเนินการทูตเขาอธิบายว่าชาวโลกจำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆของอเมริกาวิธีการที่อเมริกาจะได้มาซึ่งอิสรภาพคือการใช้การค้าในการดำเนินการทูตเขาอธิบายว่าชาวโลกจำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆของอเมริกา • “Isolationism” ซึ่งหมายถึงเสรีภาพสูงสุดในการพิทักษ์ผลประโยชน์ของชาวอเมริกัน • แนวความคิดของ Paine ได้กลายเป็นหลักการในการดำเนินงานทางการระหว่างประเทศตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและนำไปสู่การค้นหาวิธีการต่างๆเพื่อส่งเสริมการขายเช่นการโฆษณาการผ่อนส่งฯลฯและ Americanization เพื่อให้ผลผลิตของชาวอเมริกันขายได้มากที่สุด

  22. ๒.๖ Anticolonial War • ประกาศอิสรภาพจากอังกฤษสงครามต่อต้านอาณานิคมที่เกิดขึ้น • สำหรับชาวอเมริกันสงครามครั้งนี้แตกต่างไปจากสงครามปฏิวัติเนื่องจากไม่ใช่การที่ชนชั้นหนึ่งทำลายอีกชั้นหนึ่งแต่เป็นการขจัดอิทธิพลของเจ้าอาณานิคม • พัฒนาแนวความคิดสหรัฐอเมริกาคือชาติซึ่งต่อต้านจักรวรรดิ์นิยม (The anti-imperialists)และให้การสนับสนุนการปลดปล่อยอาณานิคมของชาติต่างๆโดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่๒

  23. ๒.๗ กลไกในกระบวนทางการเมือง • รัฐธรรมนูญ- ประธานาธิบดีทำสนธิสัญญากับต่างประเทศโดยการรับรองของรัฐสภา • ประธานาธิบดีเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้มีอำนาจในการแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้แทนทางการการทูต • รัฐสภามีอำนาจในการประกาศสงคราม

  24. ๒.๘การสถาปนาพรมแดนปัจจุบันและManifest Destiny • หลังปีค.ศ.๑๗๘๙ประชากรอเมริกันเพิ่มขึ้น • เกิดการอพยพอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนตะวันตกสหรัฐอเมริกาได้ขยายดินแดนจากชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติคไปจนจดมหาสมุทรแปซิฟิค • การบุกเบิกการซื้อการผนวกดินแดนและการทำสงครามการขยายตัวก่อให้เกิดการเพิ่มพูนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล

  25. ดินแดนที่ขยายออกไปเดิมเป็นของฝรั่งเศสสเปนอังกฤษและเม็กซิโกที่สำคัญคือดินแดนที่ขยายออกไปเดิมเป็นของฝรั่งเศสสเปนอังกฤษและเม็กซิโกที่สำคัญคือ • ๑๘๐๓ซื้อดินแดนหลุยเซียน่าจากฝรั่งเศส • ๑๘๑๙รบชนะเสปนได้ดินแดนฟลอลิดา • ๑๘๔๕เท็กซัสประกาศเอกราชจากเม็กซิโกและเข้าร่วมกับสหรัฐอเมริกา • ๑๘๔๘ทำสงครามกับเม็กซิโกได้ดินแดนถัดจากเท็กซัสหลุยเซียน่าไปจนจดมหาสมุทรแปซิฟิคทางตะวันตกและโอเรกอนทางเหนือ • ๑๘๖๗ซื้ออลาสก้าจากรัสเซีย • ๑๘๙๘ผนวกฮาวาย

  26. แนวความคิดที่สร้างความชอบธรรมในการที่คนผิวขาวอพยพเข้าไปยึดครองดินแดนที่เป็นของชาวพื้นเมืองเดิมว่าเป็นชะตาลิขิต-Manifest Destiny • พระผู้เป็นเจ้าสร้างอเมริกาเหนือมาเพื่อประทานให้พ่อค้าและชาวนาผิวขาวเข้าไปบุกเบิกทำกินและสถาปนาประเทศประชาธิปไตย • ประชาชนได้รับการส่งเสริมให้เป็นผู้มีการศึกษาเพื่อที่จะสามารถตระหนักในสิทธิและหน้าที่ของตนที่มีต่อสังคม • การต่อสู้ความพยายามในดำรงชีพในสังคมตะวันตกอันทุรกันดารและความต้องการเพิ่มพูนผลผลิตก่อให้การประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงใหม่ๆทำให้สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

  27. ๒.๙ลัทธิมอนโร -America for American • John Quincy Adams รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมัยประธานาธิบดี James Monroe เสนอ Monroe Doctrine • America for American - ทวีปอเมริกันมิใช่ดินแดนก่อตั้งอาณานิคมในภายหน้าของประเทศยุโรปอีกต่อไป -การไม่สร้างอาณานิคม • และชาวยุโรปไม่มีสิทธิจะเข้าแทรกแซงกิจการภายในของประเทศในอเมริกันอันจะเป็นอันตรายต่ออิสรภาพของประเทศเหล่านั้น–การไม่แทรกแซง • มีผลให้เปิดโอกาสให้สหรัฐอเมริกามีเวลาพัฒนาทางการเมืองเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศอย่างเต็มที่สหรัฐอเมริกาจะใช้นโยบายอยู่อย่างโดดเดี่ยว Isolationismเพื่อบรรลุผลประโยชน์แห่งชาติ

  28. ๒.๑๐พิชิตตะวันตก:พิชิตชาวพื้นเมืองอเมริกันจีน ลาตินอเมริกา • พิชิตตะวันตก:พิชิตชาวพื้นเมืองอเมริกันประวัติศาสตร์การขยายตัวไปทางตะวันตกหมายถึงประวัติศาสตร์การต่อสู้แย่งชิงดินแดนของชนชาติพื้นเมือง • ทศวรรษ๑๘๙๐เมื่อชาวพื้นเมืองอเมริกันแพ้เทคโนโลยีตะวันตกราบคาบและถูกเปลี่ยนแปลงสังคมและวิถีชีวิตให้เป็นอเมริกัน (Americanization) • การฝึกฝนการต่อสู้สงครามกองโจรซึ่งอเมริกันได้นำเมื่อออกไปรบนอกประเทศในคิวบาและฟิลิปปินส์ในเวลาต่อมา

  29. พิชิตตะวันตก:พิชิตจีนความมั่งคั่งร่ำรวยของจีนคือจุดหมายสำคัญต่อมาหลังจากที่ชาวอเมริกันบรรลุถึงชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิคจนกระทั่งในพิชิตตะวันตก:พิชิตจีนความมั่งคั่งร่ำรวยของจีนคือจุดหมายสำคัญต่อมาหลังจากที่ชาวอเมริกันบรรลุถึงชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิคจนกระทั่งใน • ทศวรรษ๑๘๓๐สหรัฐอเมริกา“เปิดประตูชาติเอเชีย” • ค.ศ.๑๘๓๒ประธานาธิบดี Andrew Jackson ได้ส่ง Edmund Robert ไปสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับราชสำนักสยามและญี่ปุ่น • ยุโรปชาติต่างๆต่างแย่งชิงกันเข้าไปแสวงประโยชน์ในจีนพ่อค้าอเมริกันไม่สามารถแข่งขันกับชาติอื่นได้ • ชาวอเมริกันไม่เข้าใจในสังคมวัฒนธรรมจีนซึ่งเป็นสังคมที่พึ่งพาตนเองได้ไม่จำเป็นต้องใช้สินค้าอเมริกันและมีขนบธรรมประเพณีที่แตกต่างจากของอเมริกันอย่างสิ้นเชิงคนอเมริกันได้ใช้ค่านิยมอเมริกันเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินในการดำเนินการค้ากับจีน

  30. สหรัฐอเมริกาจึงเรียกร้องให้ใช้นโยบายOpen Door (1889) ให้ทุกชาติมิสิทธิที่จะทำการค้าและได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกันสหรัฐอเมริกาคิดว่านโยบายดังกล่าวจะสามารถปกป้องจีนจากการเป็นอาณานิคมของชาติใดชาติหนึ่ง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งอังกฤษและญี่ปุ่น) และเปิดโอกาสให้อเมริกันได้เข้าไปค้าขายนอกจากนั้นสหรัฐอเมริกายังภาคภูมิใจว่าเป็นชาติซึ่งต่อต้านจักรวรรดิ์นิยมชาติเดียวที่มีความสัมพันธ์กับจีน-มหาอำนาจกลาง

  31. พิชิตตะวันตก:พิชิตลาตินอเมริกาพิชิตตะวันตก:พิชิตลาตินอเมริกา • สหรัฐอเมริกาเข้าไปมีบทบาทในลาตินอเมริกาจนสามารถกุมเศรษฐกิจและการเมืองของลาตินอเมริกาเอาไว้ • เกิดแนวทางควบคุมรัฐบาลที่สนับสนุนตนโดยไม่คำนึงรัฐบาลนั้นจะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ก็ตาม

  32. ๓.สหรัฐอเมริกากับสังคมโลกเมื่อเริ่มต้น ค.ศ.๑๙๐๐:๓.๑ปัจจัยทางเศรษฐกิจ • การสนับสนุนและคุ้มครองการค้าของคนอเมริกันในต่างประเทศ - คนอเมริกันไปลงทุนในต่างประเทศจำนวนเงินมหาศาลจึงเรียกร้องให้รัฐบาลคุ้มครองผลประโยชน์ • การสิ้นสุดของชายเขตแดน -ที่ดินตามชายเขตแดนถูกยึดครองหมดแล้วประชาชนจึงเรียกร้องให้รัฐบาลขยายดินแดนเพื่อหาที่ทำกินใหม่ • ความเดือดร้อนของกรรมกรและชาวนา - ปัญหาชีวิตอันลำเค็ญและความหมดโอกาสที่ก่อร่างสร้างตัวในดินแดนสหรัฐอเมริกาทำให้กรรมกรและชาวนาเรียกร้องให้รัฐบาลแสวงหาอาณานิคมให้ตนออกไปทำกินนอกประเทศและหาตลาดเพื่อขายผลิตผลที่ล้นตลาด

  33. ๓.๒ปัจจัยทางด้านสังคม๓.๒ปัจจัยทางด้านสังคม • ลัทธิดาร์วินทางสังคมกล่าวว่าคนอเมริกันเป็นตัวแทนของประชาธิปไตยและคริสต์ศาสนาอันบริสุทธิ์ชาวอเมริกันจะต้องขยายสถาบันของตนไปทั่วโลก • การเข้าไปมีบทบาทในวงการเมืองระหว่างประเทศจะทำให้ชาติต่างๆยอมรับสหรัฐอเมริกาว่าเป็นมหาอำนาจทัดเทียมกันยังแสดงถึงเกียรติภูมิของชาติ

  34. ๓.๓ปัจจัยทางการเมือง • ความขัดแย้งในการแย่งชิงผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจในดินแดนที่สหรัฐอเมริกามีความสัมพันธ์อยู่ด้วยทำให้สหรัฐอเมริการักษานโยบายอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ยาก • สหรัฐอเมริกาได้เปลี่ยนแปลงแนวความคิดในการดำเนินการระหว่างประเทศตามแนวความคิดของนาวาเอก Alfred T. Mahan ที่กล่าวว่าการที่สหรัฐอเมริกาอยู่อย่างโดดเดี่ยวจะมีผลให้กลายเป็นประเทศล้าหลังทางด้านแสนยานุภาพและอาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงดังนั้นสหรัฐอเมริกาควรเร่งสร้างแสนยานุภาพของกองทัพทางเรือเพื่อรักษาผลประโยชน์ทางการเมืองและการค้าระหว่างประเทศ

  35. ๓.๔คิวบา : จุดเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ ของสหรัฐอเมริกา • คิวบาก่อการจลาจลเพื่อแยกตัวเป็นอิสระจึงถูกสเปนเมืองแม่ปราบปรามอย่างทารุณ • ด้วยเหตุผลทางด้านการเมืองเศรษฐกิจและมนุษยธรรม • สหรัฐอเมริกาส่งทหารเข้าสนับสนุนคิวบาเมื่อเดือนเมษายน๑๘๙๘และได้รับชัยชนะเหนือสเปญทำให้อเมริกันสามารถเข้าแทนที่อิทธิพลของสเปนในแถบทะเลเคริบเบียนได้เปอโตริโกกวมและฟิลิปปินส์

  36. ตั้งแต่ค.ศ.๑๙๐๐หลังสงครามสเปนอเมริกันเริ่มเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศเป็นนโยบายเข้าเกี่ยวพัน(Interventionism)เข้าไปมีส่วนร่วมในวงการเมืองระหว่างประเทศอย่างเต็มที่โดยการดำเนินการของคนสองกลุ่มคือกลุ่มคนของพระเจ้า-มิชชันนารีและกลุ่มของพ่อค้าตั้งแต่ค.ศ.๑๙๐๐หลังสงครามสเปนอเมริกันเริ่มเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศเป็นนโยบายเข้าเกี่ยวพัน(Interventionism)เข้าไปมีส่วนร่วมในวงการเมืองระหว่างประเทศอย่างเต็มที่โดยการดำเนินการของคนสองกลุ่มคือกลุ่มคนของพระเจ้า-มิชชันนารีและกลุ่มของพ่อค้า • มิชันนารีชาวอเมริกันปฏิบัติตามหลักการภารกิจของคนขาวในการพยายามสร้างชีวิตที่ดีขึ้นแก่ชาวเอเชียและเขตล้าหลังอื่นๆนับว่าเป็นผู้ที่สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวอเมริกันและชนทั่วโลกภาพพจน์ของอเมริกันนับว่าดีเยี่ยมกว่าชนผิวขาวชาติใด • รัฐบาลอเมริกันส่งเสริมให้ประชาชนเข้าไปลงทุนทางธุรกิจในประเทศต่างๆเพื่อเป็นการขยายอิทธิพลของอเมริกันในประเทศเหล่านั้นเรียกว่า“การทูตดอลลาร์” (Dollar Diplomacy) เป็นที่เกลียดชังของชาวโลกโดยทั่วไป

  37. ๓.๕ความสัมพันธ์กับยุโรปและการเข้าร่วม สงครามโลกครั้งที่๑-๒ • ในสงครามโลกครั้งที่๑สหรัฐอเมริกาซึ่งวางตัวเป็นกลางเป็นเวลา๓ปีได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อต่อต้านเผด็จการเมื่อค.ศ.๑๙๑๗ • ประธานาธิบดีวูดโลว์วิลสันได้อ้างหลักการที่ว่า“The world must be made safe for democracy” • สหรัฐอเมริกาเสนอการจัดตั้งองค์การสันนิบาตชาติพร้อมกับหลักการ๑๔ประการแต่ความขัดแย้งภายในทำให้สหรัฐอเมริกาไม่ได้เข้าร่วมองค์การโลกและกลับไปยึดนโยบายอยู่โดดเดี่ยวในเชิงทฤษฎี

  38. สหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่๒แม้ว่าในระยะเริ่มแรกคนอเมริกันยังลังเลและไม่เต็มใจที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับ“ความขัดแย้งในต่างแดน”สหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่๒แม้ว่าในระยะเริ่มแรกคนอเมริกันยังลังเลและไม่เต็มใจที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับ“ความขัดแย้งในต่างแดน” • เมื่อญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพอเมริกันที่เพิร์ลฮาร์เบอร์เมื่อวันที่๗ธันวาคมค.ศ.๑๙๑๔ประชาชนที่โกรธแค้นการกระทำของญี่ปุ่นสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรประกาศสงครามกับฝ่ายอักษะ • เมื่อสงครามโลกครั้งที่๒สิ้นสุดลงฝ่ายสัมพันธมิตรในยุโรปชนะสงครามอย่างบอบช้ำและอ่อนแอทางเศรษฐกิจ

  39. สหภาพโซเวียตหนึ่งในประเทศชนะสงครามเริ่มมีอิทธิพลทางการเมืองระหว่างประเทศมากขึ้นและมีนโยบายในการแผ่ขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ของตนเข้าไปในทวีปยุโรปสหภาพโซเวียตหนึ่งในประเทศชนะสงครามเริ่มมีอิทธิพลทางการเมืองระหว่างประเทศมากขึ้นและมีนโยบายในการแผ่ขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ของตนเข้าไปในทวีปยุโรป • สหรัฐอเมริกามีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์กำหนดนโยบายต่างประเทศของตนต่อภูมิภาคต่างๆใหม่ให้สนองตอบต่อสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศโดยทั่วไป

  40. ๔. สหรัฐอเมริกากับสงครามเย็น(ทศวรรษ๑๙๔๐- ค.ศ.๑๙๙๐)

  41. โลกเมื่อสิ้นสุดสงครามเย็นโลกเมื่อสิ้นสุดสงครามเย็น • สหรัฐอเมริกายึดครองตลาดโลก • กุมความลับ atomic boob • ควบคุมเส้นทางเดินเรือโลก

  42. ๔.๑การขยายอำนาจของสหภาพโซเวียตในยุโรป๔.๑การขยายอำนาจของสหภาพโซเวียตในยุโรป • ประสบการณ์ในสงครามโลกครั้งที่๒ที่เยอรมันรุกรานเข้าไปในดินแดนของสหภาพโซเวียตโดยผ่านทางประเทศในยุโรปตะวันออกในค.ศ.๑๙๔๑มีผลให้เมื่อสงครามสิ้นสุดลงสหภาพโซเวียตได้แสดงนโยบายอย่างเด่นชัดในการขยายอิทธิพลของตนเข้าไปในยุโรปตะวันออกเพื่อสร้างประเทศบริวารขึ้นและเป็นกันชนไม่ให้ประเทศในยุโรปตะวันตกเข้าไปสร้างอิทธิพล

  43. สหภาพโซเวียตได้เปลี่ยนแปลงประเทศในยุโรปตะวันออกให้มีระบบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตได้เปลี่ยนแปลงประเทศในยุโรปตะวันออกให้มีระบบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ • ประเทศในยุโรปตะวันออกจะเป็นประเทศเอกราชแต่ก็กลายเป็นบริวารของสหภาพโซเวียตไป (ยกเว้นยูโกสลาเวียที่เป็นคอมมิวนิสต์เอกเทศและออสเตรเลียกับฟินแลนด์ที่สหภาพโซเวียตยอมถอนทหารออกไป) • สงครามเย็นที่เกิดขึ้นในยุโรปและสถานการณ์ความตึงเครียดที่ติดตามมาเช่นการรัฐประหารของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในเชคโกสโลวาเกียวิกฤตการณ์เบอร์ลินค.ศ.๑๙๔๘นำไปสู่การก่อตั้ง North Atlantic Treaty Organization (NATO) ขึ้นในเดือนเมษายนค.ศ.๑๙๔๙

  44. ๔.๒สถานการณ์ในลาตินอเมริกา๔.๒สถานการณ์ในลาตินอเมริกา • ค.ศ.๑๙๔๘สหรัฐอเมริกาและประเทศในลาตินอเมริกา๒๑ประเทศได้ร่วมกันก่อตั้ง Organization of American States-OAS ขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคมขึ้นในทวีปอเมริกาใต้ระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธีและเสริมสร้างการป้องกันร่วมมือกันทางทหาร • สหรัฐอเมริกาได้ใช้ OAS เป็นเครื่องมือในการต่อต้านคอมมิวนิสต์เนื่องจากในช่วงเวลานั้นลัทธิคอมมิวนิสต์เผยแพร่เข้ามาในลาตินอเมริกา

  45. มีการตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นและส่งตัวแทนเข้าไปรับการเลือกตั้งซึ่งหลายครั้งประสบผลสำเร็จเนื่องจากประชาชนมองว่าคอมมิวนิสต์เป็นศัตรูของฝ่ายทุนนิยมที่เอารัดเอาเปรียบประชาชนเป็นทางเลือกใหม่ที่อาจแก้ปัญหาในสังคมลาตินอเมริกันได้มีการตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นและส่งตัวแทนเข้าไปรับการเลือกตั้งซึ่งหลายครั้งประสบผลสำเร็จเนื่องจากประชาชนมองว่าคอมมิวนิสต์เป็นศัตรูของฝ่ายทุนนิยมที่เอารัดเอาเปรียบประชาชนเป็นทางเลือกใหม่ที่อาจแก้ปัญหาในสังคมลาตินอเมริกันได้ • สหรัฐอเมริกากระทำการอยู่เบื้องหลังและเปิดเผยในการล้มล้างรัฐบาลที่ถูกมองว่าฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ • กรณีรัฐบาลคิวบาภายใต้การนำของฟิเดลคัสโตรสหรัฐอเมริกาสนับสนุนให้ฝ่ายตรงข้ามล้มล้างรัฐบาลฟิเดลคัสโตรที่เรียกกันว่ากรณี Bay of Pigs ซึ่งกรณีนี้เกือบนำไปสู่สงครามนิวเคลียร์ • กรณีการล้มล้างรัฐบาลที่สหรัฐอเมริกาคิดว่าฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ลักษณะนี้ยังเกิดขึ้นในประเทศอื่นๆในลาตินอเมริกาเช่นโดมินิกันและชิลีฯลฯ

  46. ๔.๓สถานการณ์ในเอเชีย • ลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นอุดมการณ์ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของประชาชาติเอเชียที่ส่วนใหญ่ตกเป็นอาณานิคมชองชาติตะวันตก • การนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นเสมือนเครื่องแสดงการต่อต้านลัทธิทุนนิยมเป็นแนวทางใหม่สำหรับประเทศที่ถูกจักรวรรดิ์นิยมตะวันตกยึดครองในการแก้ปัญหาและขับไล่พวกจักรวรรดิ์นิยมออกไป Marxism-Leninism เข้ามาในเอเชียตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่๒แล้วและประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศจีนในค.ศ.๑๙๔๙

  47. การเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์ก่อให้เกิดการจลาจลในประเทศต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังค.ศ.๑๙๔๘เมื่อได้รับความสนับสนุนจากองค์การ Cominform ถึงแม้ว่าการจลาจลจะล้มเหลวเป็นส่วนใหญ่แต่ก็ได้แสดงให้เห็นถึงภัยของลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นพรรคนอกกฎหมาย • Cominform ได้ใช้วิธีการต่างๆในการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์เช่นใช้สถานทูตขบวนการสันติภาพข้อตกลงช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศปัญหาพรมแดนและชนกลุ่มน้อยสร้างความปั่นป่วนในแต่ละประเทศและเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าจุดมุ่งหมายของ Cominform คืบหน้าไปมาก

  48. ๔.๔สถานการณ์ในตะวันออกกลาง๔.๔สถานการณ์ในตะวันออกกลาง • เมื่อชาวยิวประกาศจัดตั้งประเทศอิสราเอลบนดินแดนตะวันออกกลางในวันที่๑๔เมษายน๑๙๔๘หลังจากนั้นเพียง๑๕นาทีสหรัฐอเมริกาได้ประกาศรับรองรัฐยิวดังกล่าวเพื่อเอาใจชาวอเมริกันเชื้อสายยิวผู้ร่ำรวยซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญในการเลือกตั้ง • การรับรองยังผลให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ชาติอาหรับซึ่งเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาและเป็นเจ้าของแหล่งน้ำมันซึ่งเป็นยุทธปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการทำสงครามเย็น

  49. หนึ่งชั่วโมงต่อจากนั้นกองกำลังผสมของชาติอาหรับได้เข้าโจมตีอิสราเอลอันนำไปสู่การต่อสู้อย่างดุเดือดอยู่ถึง๖เดือนจึงยุติลงเมื่อกองกำลังสหประชาติถูกส่งไปรักษาความสงบอย่างไรก็ตามการต่อสู้อีกหลายครั้งได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดมาหนึ่งชั่วโมงต่อจากนั้นกองกำลังผสมของชาติอาหรับได้เข้าโจมตีอิสราเอลอันนำไปสู่การต่อสู้อย่างดุเดือดอยู่ถึง๖เดือนจึงยุติลงเมื่อกองกำลังสหประชาติถูกส่งไปรักษาความสงบอย่างไรก็ตามการต่อสู้อีกหลายครั้งได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดมา • การรับรองอิสราเอลของสหรัฐอเมริกานอกจากจะทำให้ชาติอาหรับกลายเป็นฝ่ายตรงข้ามกับสหรัฐอเมริกาแล้วยังเป็นผลักดันให้ชาติผู้ผลิตน้ำมันใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียตมากยิ่งขึ้นปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวก่อให้เกิดแนวทางแก้ไขเป็น๒แนวทางคือการที่ประเทศอิสราเอลมีชนชาติยิวและอาหรับอยู่ในประเทศเดียวกัน(ซึ่งจะทำให้ชาวอเมริกันเชื้อสายยิวไม่พอใจ) หรือปาเลสไตน์เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐอิสราเอล

More Related