1 / 90

หลักการ ออกแบบและ จัดหน้า สิ่งพิมพ์

หลักการ ออกแบบและ จัดหน้า สิ่งพิมพ์. อ. นิศาชล จำนงศรี 204419 Week1 2/254 6. ข อ บ เ ข ต. การออกแบบและจัดหน้าสิ่งพิมพ์หมายถึง การออกแบบและจัดหน้าสิ่งพิมพ์ที่เป็นสื่อสารมวลชน ดังนี้ หนังสือ นิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร แผ่นพับ โปสเตอร์. ความ หมาย.

adamdaniel
Download Presentation

หลักการ ออกแบบและ จัดหน้า สิ่งพิมพ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักการออกแบบและ จัดหน้าสิ่งพิมพ์ อ. นิศาชล จำนงศรี 204419 Week1 2/2546

  2. ขอบเขต • การออกแบบและจัดหน้าสิ่งพิมพ์หมายถึง การออกแบบและจัดหน้าสิ่งพิมพ์ที่เป็นสื่อสารมวลชน ดังนี้ • หนังสือ • นิตยสาร • วารสาร • หนังสือพิมพ์ • จุลสาร • แผ่นพับ • โปสเตอร์

  3. ความหมาย • การออกแบบและจัดหน้าสิ่งพิมพ์ เป็นการเตรียมรูปแบบของสิ่งพิมพ์ก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิต เพื่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอยตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานมากที่สุด • การออกแบบที่ดีจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจ และความสวยงามให้กับสิ่งพิมพ์ ช่วยให้การถ่ายทอดสารสนเทศมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

  4. วัตถุประสงค์ • เพิ่มความน่าสนใจให้กับสิ่งพิมพ์ • ช่วยให้สิ่งพิมพ์ง่ายต่อการอ่านและการทำความเข้าใจ • เพื่อสร้างความประทับใจและความทรงจำให้กับ ผู้อ่านในระยะยาว

  5. ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง • ประเภทและลักษณะเนื้อหาของสิ่งพิมพ์ • วัตถุประสงค์ในการจัดทำ • กลุ่มเป้าหมาย • ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ • ประเภทและคุณลักษณะของกระดาษพิมพ์

  6. ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง • ขั้นตอนการออกแบบและจัดหน้าสิ่งพิมพ์ • ขั้นตอนการผลิตสิ่งพิมพ์ • ความสามารถและข้อจำกัดในการทำงานของเครื่องพิมพ์ • หลักการออกแบบและการจัดวางองค์ประกอบในสิ่งพิมพ์

  7. ประเภทและลักษณะเนื้อหาของสิ่งพิมพ์ประเภทและลักษณะเนื้อหาของสิ่งพิมพ์ การออกแบบต้องสัมพันธ์และสอดคล้องกับเนื้อหาที่ นำเสนอ • หนังสือเล่ม • นิตยสารและวารสาร • หนังสือพิมพ์ • สิ่งพิมพ์รูปแบบอื่น ๆ จุลสาร โปสเตอร์ แผ่นพับ แผ่นปลิว

  8. วัตถุประสงค์ในการจัดทำวัตถุประสงค์ในการจัดทำ • วัตถุประสงค์มักขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้จัดพิมพ์ และความต้องการของเจ้าของงาน • เพื่อให้ความรู้ • เพื่อแจ้งข่าวสาร • เพื่อความบันเทิง • เพื่อผลทางการค้า ฯลฯ

  9. กลุ่มเป้าหมาย • สิ่งพิมพ์แต่ละประเภทมีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน • อายุ • อาชีพ • เพศ • การออกแบบต้องคำนึงถึงจิตวิทยาในการรับรู้สารของกลุ่มเป้าหมาย • ตำราเรียนระดับประถมศึกษา / อุดมศึกษา • นิตยสารสำหรับผู้หญิง / ผู้ชาย • วารสารวิชาการ / บันเทิง

  10. ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ • ต้องคำนึงถึงเพื่อให้สอดคล้องกับขนาดของกระดาษมาตรฐาน • เพื่อความประหยัดโดยให้เหลือเศษจากการ ตัดเจียนน้อยที่สุด • กระดาษเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดราคาและคุณภาพของสิ่งพิมพ์

  11. ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ • ประเภทของกระดาษมาตรฐาน • กระดาษแผ่น นิยมใช้กับงานพิมพ์ที่มีจำนวนไม่เกินหลายหมื่นชุด มี 2 ขนาด คือ • 43” X 31” (กระดาษหน้ายก) • 33.11” X 46.81” (กระดาษชุด A) • กระดาษม้วน ใช้กับงานพิมพ์ที่มีจำนวนหลาย ๆ หมื่นชุดขึ้นไปวัดจากหน้ากว้างของกระดาษ มีหลายขนาด • 35 “, 31”, 24”

  12. ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ • ยกพิมพ์ กระดาษที่ผ่านการพิมพ์และการพับมาแล้ว โดยกระดาษที่ใช้ในการพิมพ์มีขนาดความกว้างและความยาวเป็นครึ่งหนึ่งของด้านกว้างและด้านยาวกระดาษขนาดมาตรฐาน 43X31” คือมีขนาดเท่ากับ 15.5 X 21.5”

  13. ยกพิมพ์ 15.5” 21.5” เท่ากับหนึ่งหน้า หนังสือพิมพ์ 43” 31”

  14. ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ • หน้ายก จำนวนหน้าทั้งหมดที่ได้จากการพับกระดาษขนาด 15.5 X 21.5” • พับ 1 ครั้ง ได้สิ่งพิมพ์จำนวน 4 หน้า เรียกว่า สิ่งพิมพ์ขนาดสี่หน้ายก (ขนาด 10 1/4 X 15”)

  15. ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ • หน้ายก • พับ 2 ครั้ง ได้สิ่งพิมพ์จำนวน 8 หน้า เรียกว่า สิ่งพิมพ์ขนาดแปดหน้ายก (ขนาด 7 1/2 X 10 1/4”) ประมาณขนาด A4 • พับ 3 ครั้ง ได้สิ่งพิมพ์จำนวน 16 หน้า เรียกว่า สิ่งพิมพ์ขนาดสิบหกหน้ายก (ขนาด 5 X 7 1/2 ”) ขนาด Pocket book

  16. ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ • สิ่งพิมพ์ที่ไม่ได้เย็บเล่มและมีลักษณะเป็นแผ่นพิมพ์ขนาดใหญ่ เช่น โปสเตอร์ ไม่นิยมเรียกเป็นหน้ายก แต่เรียกตามขนาดของกระดาษที่ใช้พิมพ์ เช่น โปสเตอร์ขนาดตัดสอง หรือขนาดตัดสี่

  17. ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ • ขนาดตัด • ขนาดตัดหนึ่ง คือ สิ่งพิมพ์ที่ได้จากการพิมพ์บนกระดาษมาตรฐาน 31 x 43” • ขนาดตัดสอง คือ สิ่งพิมพ์ที่ได้จากการพิมพ์บนกระดาษที่มีขนาดเป็นครึ่งหนึ่งของขนาดมาตรฐาน 31 x 43” คือ มีขนาด 21.5 x 31”

  18. ขนาดตัด ย. 31” ก. 31” ขนาดตัดหนึ่ง ขนาดตัดสอง ก. 21.5” ย. 43” ขนาด ตัดสี่ ย. 21.5” ก. 15.5”

  19. 31” ขนาดตัด ขนาดตัดสอง ขนาดตัดหนึ่ง 43” ขนาดตัดสี่ (ยกพิมพ์)

  20. ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ • กระดาษชุด A (31.1” X 46.81”) ได้แก่ A0- A10 • กระดาษสำเร็จ A1 (23 1/2 x 33 1/4”) นิยมใช้พิมพ์กระดาษปิดผนัง • กระดาษสำเร็จ A2 (16 1/2 x 23 1/4”) ใช้พิมพ์โปสเตอร์แผ่นใหญ่ • กระดาษสำเร็จ A3 (11 3/4 x 16 1/2”) ใช้พิมพ์โปสเตอร์แผ่นเล็ก

  21. ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ • กระดาษสำเร็จ A4 (8 1/4 x 11 3/4”) ใช้พิมพ์หนังสือเล่ม นิตยสาร วารสาร สิ่งพิมพ์ทั่วไป • กระดาษสำเร็จ A5 (5 1/2 x 8 1/4”) ใช้เรียกขนาดหนังสือฉบับกระเป๋า (Pocket book) • กระดาษสำเร็จ A6 (4 1/4 x 5 1/2”) ใช้เรียกขนาดกร์าดอวยพร

  22. ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ • กระดาษสำเร็จ A7 (2 3/4 x 4 1/4”) ใช้เรียกขนาดสมุดบันทึก สมุดฉีก นามบัตร และการ์ดขนาดต่างๆ • กระดาษสำเร็จ A8 ( 2 x 2 3/4”) • กระดาษสำเร็จ A9 (1 1/2 x 2”) • กระดาษสำเร็จ A10 (1 x 1 1/2”) • ขนาด A1 จะมีขนาดเป็นสองเท่าของ A2 และ A2 จะเป็น 2 เท่าของ A3 ไล่ไปตามลำดับ

  23. ขนาดกระดาษชุด A A0 A2 A1 A3 A4 A5 A6 A7

  24. ประเภทและคุณลักษณะของกระดาษพิมพ์ประเภทและคุณลักษณะของกระดาษพิมพ์ • มีผลต่อราคา • การเลือกใช้หมึกพิมพ์ • การมองเห็นภาพ/สี

  25. ประเภทและคุณลักษณะของกระดาษพิมพ์ • เกรน (Grain) แนวการจัดเรียงตัวของเส้นใยที่ใช้ในการทำกระดาษ • การพับตามแนวเกรนจะเรียบกว่าการพับแนวขวางเกรน • กระดาษในแนวขวางเกรนจะแข็งกว่าในแนวตามเกรน • ให้แนว MD ขนานกับแนวสันเล่ม เพื่อให้เปิดง่าย

  26. เกรน (Grain)

  27. ประเภทและคุณลักษณะของกระดาษพิมพ์ • น้ำหนักมาตรฐาน (Basis weight)คือ น้ำหนักเป็นกรัมต่อตารางเมตรของกระดาษ เช่น 70 กรัม/ตารางเมตร หมายความว่า กระดาษ 1 ตารางเมตรหนัก 70 กรัม

  28. ประเภทและคุณลักษณะของกระดาษพิมพ์ประเภทและคุณลักษณะของกระดาษพิมพ์ • ชนิดของกระดาษ จำแนกตามผิวหน้า • กระดาษเคลือบผิว • กระดาษไม่เคลือบผิว

  29. ประเภทและคุณลักษณะของกระดาษพิมพ์ประเภทและคุณลักษณะของกระดาษพิมพ์ • กระดาษเคลือบผิว • กระดาษที่ได้รับการเพิ่มคุณสมบัติด้านความ ขาวสว่าง ความเรียบ ความทึบแสง ราคาแพง นิยมใช้จัดทำสิ่งพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพ ความประณีต สวยงาม ราคาแพง นิตยสารต่าง ๆ • กระดาษอาร์ต

  30. ประเภทและคุณลักษณะของกระดาษพิมพ์ • กระดาษไม่เคลือบผิว • มีคุณสมบัติน้อยกว่ากระดาษเคลือบผิวด้านสี ความขาวสว่าง ความคงทน ความเรียบ แต่ถูกกว่า ใช้จัดพิมพ์สิ่งพิมพ์ที่ไม่ต้องการคุณภาพสูงนัก ไม่จำเป็นต้องเก็บนาน และสามารถจำหน่ายในราคาถูก เช่นหนังสือพิมพ์ หนังสือราคาถูกอื่น ๆ • กระดาษปรู๊ฟ กระดาษปอนด์ กระดาษโรเนียว

  31. ประเภทและคุณลักษณะของกระดาษพิมพ์ • กระดาษแต่ละประเภทมีคุณสมบัติในการดูดซึมหมึกต่างกัน • มีผลต่อความคมชัดของภาพ • ผิวหน้าของกระดาษและลักษณะการแห้งตัวของหมึกพิมพ์บนกระดาษมีผลต่อการมองเห็นภาพสีและการกำหนดเปอร์เซ็นต์การใช้สี

  32. ประเภทและคุณลักษณะของกระดาษพิมพ์ • กระดาษเคลือบผิวดูดซึมหมึกได้น้อยกว่า หมึกแห้งช้า แต่ให้ความคมชัดของเม็ดสกรีนที่ปรากฏบนกระดาษ ทำให้ภาพที่ปรากฏมีความคมชัดด้วย • เม็ดสกรีน คือ จุดที่ปรากฏบนภาพพิมพ์ ใช้ในการแยกน้ำหนักของภาพต้นฉบับ (tone) ให้ปรากฏเป็นจุดขนาดต่าง ๆ กัน

  33. ขั้นตอนการออกแบบและจัดหน้าสิ่งพิมพ์ขั้นตอนการออกแบบและจัดหน้าสิ่งพิมพ์ • การกำหนดรูปแบบและขนาด • การทำร่างหยาบ (Rough layout) • การทำแบบร่างสมบูรณ์ หรือแบบร่างละเอียด (Comprehensive layout) • การทำแบบจำลองของสิ่งพิมพ์สำเร็จ หรือ ดัมมี่ (Dummy)

  34. หนังสือ วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร แผ่นพับ โปสเตอร์ รูปแบบหัวจดหมาย ซองจดหมาย การกำหนดรูปแบบและขนาด • เป็นการหารูปแบบเฉพาะตัวของสิ่งพิมพ์ที่จะออกแบบ เช่น

  35. Thumbnail Sketches

  36. การทำร่างหยาบ (Rough layout) • เป็นการแปลงรูปแบบความคิดจากข้อแรกสู่รูปแบบที่มองเห็นได้ • มักทำขนาดเล็กว่าของจริงแต่ได้สัดส่วนทั้งรูปร่างและขนาด • อาจทำหลายขนาดเผื่อเลือก • เลือกทำเฉพาะส่วนประกอบที่สำคัญ เช่น หน้าปก หน้าที่ขึ้นบทใหม่ • ควรมีการกำหนดตำแหน่งตัวอักษรและภาพประกอบโดยใช้ตัวอักษรสมมติ (Blind text)

  37. Rough Layout

  38. การทำแบบร่างสมบูรณ์ หรือแบบร่างละเอียด (Comprehensive layout) • เป็นการทำร่างหยาบให้สมบูรณ์ขึ้น • มักทำเป็นขนาดเท่าของจริง และใช้วัสดุที่จะใช้ในงานจริง • มีการกำหนดลักษณะ ขนาด และแบบตัวพิมพ์ (typeface)และภาพประกอบ • มีการกำหนดช่วงบรรทัดหรือช่องว่างระหว่างบรรทัด • มีการกำหนดรายละเอียดและเทคนิคพิเศษอื่น ๆ เช่น การกำหนดสี

  39. Comprehensive Layout

  40. การทำดัมมี่ (Dummy) • เป็นการทำรูปแบบจำลองของสิ่งพิมพ์สำเร็จเพื่อใช้ควบคุมการพับและการจัดหน้า • นิยมทำในขนาดย่อส่วน • ควรทำแบบละเอียดเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานและ ผู้ออกแบบสื่อความหมายตรงกัน

  41. การทำดัมมี่ (Dummy) • รายละเอียดที่ควรกำหนด ได้แก่ • ขนาดสิ่งพิมพ์ • การลำดับเลขหน้า • การลำดับเนื้อหา • ขนาดและแบบอักษร • จำนวนสีที่ใช้

  42. การทำดัมมี่ (Dummy) • จำนวน ขนาด และรูปแบบของคอลัมน์ในแต่ละหน้า • ตำแหน่งการจัดวางข้อความและภาพประกอบ • การจัดวางตัวอักษร • การเน้นหัวเรื่อง การจัดวางย่อหน้า • ลักษณะการพับ • การเก็บเล่ม / การเข้าเล่ม • รายละเอียดอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการจัดทำสิ่งพิมพ์

  43. Dummy

  44. ขั้นตอนการผลิตสิ่งพิมพ์ขั้นตอนการผลิตสิ่งพิมพ์ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ • งานก่อนพิมพ์ (Prepress Work) • งานพิมพ์ (Press Work) • งานทำสำเร็จ (Finish or After Press Work)

  45. งานก่อนพิมพ์ (Prepress Work) • ประกอบด้วย • การเรียงพิมพ์ • การพิสูจน์อักษร • การทำอาร์ตเวอร์ค • การถ่ายฟิล์ม • การวางรูปแบบฟิล์ม • การเตรียมแม่พิมพ์

  46. งานพิมพ์ (Press Work) • ได้แก่ ขั้นตอนการถ่ายทอดภาพและข้อความจากแม่พิมพ์ลงบนวัสดุพิมพ์โดยใช้เครื่องพิมพ์ • ระบบการพิมพ์ที่ใช้ในปัจจุบัน มี 4 ระบบ คือ • ระบบการพิมพ์พื้นนูน • ระบบการพิมพ์พื้นราบ • ระบบการพิมพ์พื้นลึก • ระบบการพิมพ์ซิลค์สกรีน (พื้นฉลุลายผ้า)

  47. งานพิมพ์ (Press Work) • ระบบการพิมพ์พื้นนูน(Relief Printing) ระบบการพิมพ์ที่แม่พิมพ์มีส่วนที่จะใช้พิมพ์เป็นภาพนูนสูงขึ้นมาจากพื้นแม่พิมพ์ ส่วนที่นูนสูงขึ้นมาเมื่อได้รับหมึกแล้วจะสามารถพิพม์ลงบนกระดาษได้โดยตรง มี 2 ระบบ • ระบบเลตเตอร์เพรส(Letterpress) • ระบบเฟลกโซกราฟฟี(Flexography)

  48. งานพิมพ์ (Press Work) • ระบบเลตเตอร์เพรส (Letterpress) • แม่พิมพ์จะหล่อขึ้นด้วยโลหะผสม (alloy) การเรียงพิมพ์จัดทำโดยการนำตัวอักษรมาเรียงกันทีละตัวจนได้ข้อความตามต้องการ แล้วนำไปใช้พิมพ์บน เครื่องพิมพ์ได้โดยตรง • เมื่อคลึงหมึกลงไป หมึกจะสัมผัสเฉพาะส่วนที่สูงขึ้นมาเท่านั้น เมื่อกดกระดาษที่จะใช้พิมพ์ลงไป หมึกจะติดกับกระดาษพิมพ์ เกิดเป็นภาพพิมพ์โดยตรง

  49. งานพิมพ์ (Press Work) • ระบบเลตเตอร์เพรส (Letterpress) • เครื่องพิมพ์ชนิดแท่นพลาเทน (Platen press) • เครื่องพิมพ์ชนิดแท่นนอน ( Flat-bed cylinder press) • เครื่องพิมพ์ชนิดโรตารี (Web-fed rotary letter press)

  50. Letterpress

More Related