1 / 45

IFRS และมาตรฐานการบัญชีไทย ฉบับปรับปรุงที่จะมี ( คาดว่าจะมี ) การประกาศใช้ใน 2551

IFRS และมาตรฐานการบัญชีไทย ฉบับปรับปรุงที่จะมี ( คาดว่าจะมี ) การประกาศใช้ใน 2551. ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการกลั่นกรองมาตรฐานการบัญชี สภาวิชาชีพบัญชี.

adria-brown
Download Presentation

IFRS และมาตรฐานการบัญชีไทย ฉบับปรับปรุงที่จะมี ( คาดว่าจะมี ) การประกาศใช้ใน 2551

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. IFRS และมาตรฐานการบัญชีไทยฉบับปรับปรุงที่จะมี (คาดว่าจะมี) การประกาศใช้ใน 2551 ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการกลั่นกรองมาตรฐานการบัญชี สภาวิชาชีพบัญชี

  2. IFRS (International Financial Reporting Stds) • Narrowly, IFRSs refers to the new numbered series of pronouncements that the IASB is issuing, as distinct from the International Accounting Standards (IASs) series issued by its predecessor.

  3. IFRS • More broadly, IFRSs refers to the entire body of IASB pronouncements, including • standards and interpretations approved by the IASB and • IASs and SIC interpretations approved by the predecessor International Accounting Standards Committee.

  4. TAS • ปัจจุบันTAS ที่มีผลบังคับใช้มี 30 ฉบับ การตีความ 3 ฉบับ และแม่บทการบัญชี 1 ฉบับ • ส่วนใหญ่อ้างอิงจาก IFRS ฉบับที่มีการแก้ไขในเดือนธันวาคม 2546 และมีนาคม 2547 • บางฉบับอ้างอิงจาก US GAAP • TAS 26 การรับรู้รายได้สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ • TAS 34 การบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา • TAS 40 การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน • TAS 42 การบัญชีสำหรับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้าน การลงทุน

  5. TAS • บางฉบับไม่ได้อ้างอิงจากมาตรฐานสากล • TAS 11 หนี้สงสัยจะสูญ จะยกเลิกเร็วๆ นี้ แล้วเอาแนวคิดของ IAS 39 เข้ามาใส่

  6. TAS • ปัจจุบันมีประกาศยกเว้น TAS สำหรับกิจการที่ไม่ใช่บริษัทมหาชน จำนวน 8ฉบับ • TAS 24 การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน • TAS 25 งบกระแสเงินสด • TAS 36 การด้อยค่าของทรัพย์สิน • TAS 44 งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ • TAS 45 เงินลงทุนในบริษัทร่วม • TAS 46 ส่วนได้เสียในการร่วมค้า • TAS 47 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้อง • TAS 48 การแสดงรายการสำหรับตราสารการเงิน

  7. TAS ฉบับปรับปรุงที่ได้มีการประกาศใช้ใน 2550 • TAS 44 งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ • TAS 45 เงินลงทุนในบริษัทร่วม • TAS 46 ส่วนได้เสียในการร่วมค้า

  8. TAS ฉบับปรับปรุงที่ได้มีการประกาศใช้ใน 2551 • TAS 25 งบกระแสเงินสด • TAS 29 สัญญาเช่า • TAS 31 สินค้าคงเหลือ • TAS 33 ต้นทุนการกู้ยืม • TAS 35 การนำเสนองบการเงิน • TAS 39 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด

  9. TAS ฉบับปรับปรุงที่ได้มีการประกาศใช้ใน 2551 • TAS 41 งบการเงินระหว่างกาล • TAS 43 การรวมธุรกิจ • TAS 51 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

  10. TAS ฉบับปรับปรุงที่คาดว่าจะมีการประกาศใช้ใน 2551 • TAS 30 ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ • TAS 32 ที่ดินอาคารและอุปกรณ์ • TAS 36 การด้อยค่าของสินทรัพย์ • TAS 37 รายได้ • TAS xx ผลประโยชน์ของพนักงาน

  11. TAS ฉบับปรับปรุงที่ประกาศใช้ในปี 2551

  12. TAS 29 สัญญาเช่า • TAS 29 ฉบับเดิมได้ให้ตัวอย่างของสถานการณ์ซึ่งตามปกติจะทำให้สัญญาเช่าต้องจัดประเภทเป็นสัญญาเช่าการเงินไว้สี่ข้อ • สัญญาเช่าโอนความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ให้แก่ผู้เช่าเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของสัญญาเช่า • ผู้เช่ามีสิทธิเลือกซื้อสินทรัพย์ด้วยราคาที่ต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม ณ วันที่สิทธิเลือกมีผลบังคับใช้ โดยราคาตามสิทธิเลือกนั้นมีจำนวนต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์มากเพียงพอที่จะทำให้เกิดความแน่ใจอย่างสมเหตุสมผล ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่าว่าผู้เช่าจะใช้สิทธิเลือกซื้อสินทรัพย์นั้น • ระยะเวลาของสัญญาเช่าครอบคลุมอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของสินทรัพย์ แม้ว่าจะไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์เกิดขึ้น

  13. TAS 29 สัญญาเช่า • TAS 29 ฉบับเดิมได้ให้ตัวอย่างของสถานการณ์ซึ่งตามปกติจะทำให้สัญญาเช่าต้องจัดประเภทเป็นสัญญาเช่าการเงินไว้สี่ข้อ (ต่อ) • ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่า มูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายมีจำนวนเท่ากับหรือเกือบเท่ากับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่เช่า

  14. TAS 29 สัญญาเช่า • ได้เพิ่มสถานการณ์เพื่อช่วยในการจำแนกสัญญาเช่าการเงิน (financial lease) อีกหนึ่งข้อ และข้อบ่งชี้อีกสามข้อ • สินทรัพย์ที่เช่ามีลักษณะเฉพาะจนกระทั่งมีผู้เช่าเพียงผู้เดียวที่สามารถใช้สินทรัพย์นั้นโดยไม่จำเป็นต้องนำสินทรัพย์ดังกล่าวมาทำการดัดแปลงที่สำคัญ • หากผู้เช่าสามารถยกเลิกสัญญาเช่าได้ และผู้เช่าเป็นผู้รับผิดชอบผลเสียหายที่เกิดกับผู้ให้เช่าเนื่องจากการยกเลิกนั้น • ผู้เช่าเป็นผู้ที่ได้รับผลกำไรหรือผลขาดทุนจากการผันผวนของมูลค่ายุติธรรมของมูลค่าคงเหลือ • ผู้เช่าสามารถต่อสัญญาเช่าครั้งที่สองด้วยการจ่ายค่าเช่าที่มีจำนวนต่ำกว่าค่าเช่าในตลาดอย่างเป็นนัยสำคัญ

  15. TAS 29 สัญญาเช่า • ตัวอย่างและข้อบ่งชี้ 8 ข้อไม่ถือเป็นข้อยุติ ถ้าเป็นที่แน่ชัดว่ายังมีลักษณะอื่นที่แสดงให้เห็นว่ามิได้มีการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ที่เช่า สัญญาเช่านั้นต้องจัดเป็นสัญญาเช่าดำเนินงาน ตัวอย่างเช่น มีการจ่ายค่าเช่าที่ไม่กำหนดแน่นอน (ค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้น) อันเป็นผลให้ผู้เช่ามิได้รับโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ที่เช่า

  16. TAS 29 สัญญาเช่า • TAS ฉบับเดิมกำหนดให้เปิดเผยข้อมูลสำหรับค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้น แต่ไม่ได้ให้ข้อกำหนดที่ชัดเจนว่ากิจการต้องรวมค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้นในการคำนวณจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายหรือไม่ TAS ฉบับนี้กำหนดให้กิจการไม่ต้องนำค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้นมารวมในการคำนวณจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่าย

  17. TAS 29 สัญญาเช่า • TAS ฉบับเดิมไม่ได้ให้ข้อกำหนดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการปฏิบัติทางบัญชีสำหรับต้นทุนทางตรงเมื่อเริ่มแรกที่เกิดกับผู้เช่า TAS ฉบับนี้กำหนดให้รวมต้นทุนทางตรงเมื่อเริ่มแรกที่เกิดกับผู้เช่าเป็นส่วนหนึ่งของจำนวนที่รับรู้เป็นสินทรัพย์ภายใต้สัญญาเช่าการเงินนั้น

  18. TAS 29 สัญญาเช่า • TAS ฉบับเดิมได้ให้ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติทางบัญชีสำหรับต้นทุนทางตรงเมื่อเริ่มแรกที่เกิดกับผู้ให้เช่าโดยจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทันที หรือปันส่วนไปหักจากรายได้ทางการเงินนั้นตลอดอายุสัญญาเช่าการเงินก็ได้ แต่ TAS ฉบับนี้กำหนดให้รวมต้นทุนทางตรงเมื่อเริ่มแรกเป็นส่วนหนึ่งของลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงินโดยไม่ต้องบันทึกเป็นรายการแยกต่างหาก

  19. TAS 29 สัญญาเช่า • การเช่าที่ดินและอาคารตามสัญญาเช่าต้องจัดประเภทเป็นสัญญาเช่าการเงินหรือสัญญาเช่าดำเนินงานในลักษณะเดียวกับการจัดประเภทสัญญาเช่าสำหรับสินทรัพย์อื่น • หากคาดว่าจะไม่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินไปให้ผู้เช่า ณ วันสิ้นสุดสัญญาเช่า ผู้เช่าจะไม่ได้รับความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด จำนวนที่จ่ายเพิ่มให้กับการเช่าดังกล่าว (สิทธิการเช่า) จึงถือเป็นการจ่ายค่าเช่าล่วงหน้าซึ่งต้องตัดจำหน่ายตลอดอายุของสัญญาเช่าตามรูปแบบของประโยชน์ที่ได้รับ

  20. TAS 31 สินค้าคงเหลือ • ไม่อนุญาตให้นำผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นจากการซื้อสินค้าคงเหลือนั้นด้วยสกุลเงินตราต่างประเทศไปรวมเป็นต้นทุนในการซื้อสินค้า • ในกรณีที่มีการซื้อสินค้าคงเหลือโดยมีเงื่อนไขการจ่ายชำระเงินนานเกินกว่าระยะเวลาการได้สินเชื่อตามปกติ ผลต่างระหว่างจำนวนเงินที่จ่ายจริงและราคาซื้อที่ผู้ซื้อต้องจ่ายตามระยะเวลาการให้สินเชื่อตามปกติ ให้รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายตลอดระยะเวลาการจัดหาเงิน

  21. TAS 31 สินค้าคงเหลือ • กำหนดให้ใช้วิธีการคำนวณต้นทุนวิธีเดียวกันสำหรับสินค้าคงเหลือทุกประเภทซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน • ไม่อนุญาตให้ใช้วิธีเข้าหลังออกก่อนในการวัดมูลค่าต้นทุนสินค้าคงเหลือ • ยกเลิกอ้างอิงถึงหลักการจับคู่รายได้กับค่าใช้จ่าย • อธิบายถึงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดการกลับรายการสินค้าที่มีการปรับมูลค่าลงในงวดบัญชีก่อน

  22. TAS 35 การนำเสนองบการเงิน • กำหนดการเปิดเผยแหล่งข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการประมาณการ • ยกเลิกการแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายเป็นรายการพิเศษ • ยกเลิกการแสดงกำไรหรือขาดทุนจากกิจกรรมตามปกติ • ยกเลิกการแสดงจำนวนพนักงาน • ยกเลิกหัวข้อนโยบายการบัญชี และข้อกำหนดเกี่ยวกับการเลือกใช้นโยบายการบัญชี

  23. TAS 35 การนำเสนองบการเงิน • เพิ่มคำนิยามความมีสาระสำคัญ • ความมีสาระสำคัญ (materiality) หมายถึง ผลกระทบต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงินจากการไม่แสดงรายการหรือการแสดงรายการผิดพลาดไม่ว่าจะเป็นรายการเดียวหรือหลายรายการรวมกันความมีสาระสำคัญขึ้นอยู่กับจำนวนเงินและลักษณะของรายการที่ไม่แสดงหรือแสดงผิดพลาดภายใต้สถานการณ์ที่เป็นอยู่ขณะนั้นปัจจัยที่ใช้พิจารณาความมีสาระสำคัญคือจำนวนเงินหรือลักษณะของรายการหรือทั้งสองปัจจัยร่วมกัน • เพิ่มคำนิยามมาตรฐานการบัญชี • มาตรฐานการบัญชี หมายถึง หลักการบัญชีและวิธีปฏิบัติทางบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นทั้งนี้รวมถึงการตีความมาตรฐานการบัญชี

  24. TAS 35 การนำเสนองบการเงิน • กำหนดให้กิจการต้องจัดประเภทหนี้สินทางการเงินที่จะครบกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุลเป็นหนี้สินหมุนเวียนแม้ว่ามีหลักฐานเป็นสัญญาที่แสดงถึงการชำระหนี้โดยการก่อหนี้สินระยะยาวใหม่ หรือมีการต่ออายุหนี้ให้เป็นหนี้ระยะยาว ซึ่งสัญญาดังกล่าวจัดทำเสร็จสมบูรณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงินและก่อนวันที่งบการเงินได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงิน

  25. TAS 39 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • ข้อกำหนดในการเลือกและใช้นโยบายการบัญชีใน TAS 35 ได้นำมาเป็นข้อกำหนดในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ โดยปรับขั้นตอนของแนวทางที่ฝ่ายบริหารใช้ในการเลือกนโยบายการบัญชีกรณีที่ยังไม่มีมาตรฐานการหรือการตีความมาตรฐานการบัญชีเฉพาะเรื่องนั้นๆ • ให้ข้อกำหนดเกี่ยวกับการความไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องที่เป็นสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ • กิจการไม่จำเป็นต้องใช้นโยบายการบัญชีตามที่กำหนดไว้ใน TAS หากผลกระทบของการใช้นโยบายดังกล่าวไม่มีสาระสำคัญ ซึ่งจะสอดคล้องกับ TAS 35 เกี่ยวกับข้อกำหนดของการเปิดเผยข้อมูลในมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดว่ากิจการไม่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลเมื่อข้อมูลดังกล่าวไม่มีสาระสำคัญ

  26. TAS 39 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • ให้ข้อกำหนดเกี่ยวกับการความไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องที่เป็นสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ (ต่อ) • งบการเงินจะไม่เป็นไปตาม TAS หากปรากฏว่ามีข้อผิดพลาดที่มีสาระสำคัญ • ข้อผิดพลาดที่มีสาระสำคัญในงวดก่อน จะต้องแก้ไขด้วยวิธีปรับย้อนหลังงบการเงินในงวดแรกหลังจากค้นพบข้อผิดพลาดดังกล่าว

  27. TAS 39 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • กำหนดให้ใช้วิธีปรับย้อนหลังสำหรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีที่เป็นไปโดยความสมัครใจ และการปรับงบการเงิน ย้อนหลังสำหรับการแก้ไขข้อผิดพลาดในงวดก่อน โดยยกเลิกวิธีปฏิบัติที่อาจเลือกได้ที่มีอยู่ใน TAS ฉบับเดิม • ให้รวมรายการปรับปรุงซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี หรือผลของการแก้ไขข้อผิดพลาดในงวดก่อนในกำไรขาดทุนสำหรับงวดปัจจุบัน และ • ให้แสดงข้อมูลเปรียบเทียบจากงบการเงินปีก่อนที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุง

  28. TAS 39 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • ยังคงให้มีเงื่อนไขเกี่ยวกับ “การไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ” สำหรับการยกเว้นการแก้ไขข้อมูลเปรียบเทียบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีหรือการแก้ไขข้อผิดพลาดในงวดก่อน โดยได้รวมคำนิยามของ “การไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ” และแนวปฏิบัติในการตีความไว้ด้วย

  29. TAS 39 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • ได้กล่าวรวมถึงกรณีที่ไม่สามารถคำนวณผลกระทบสะสม ณ วันต้นงวดของปีปัจจุบัน ของเหตุการณ์ต่อไปนี้ • การใช้นโยบายการบัญชีใหม่กับทุกงวดที่ผ่านมา หรือ • ข้อผิดพลาดในงวดก่อน ๆ กิจการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเปรียบเทียบเสมือนหนึ่งได้ใช้นโยบายการบัญชีใหม่มาโดยตลอดหรือไม่เคยมีข้อผิดพลาดในงวดก่อนเกิดขึ้น โดยย้อนหลังให้ไกลที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ • ได้ตัดหลักการของข้อผิดพลาดที่สำคัญและข้อแตกต่างระหว่างข้อผิดพลาดที่สำคัญกับข้อผิดพลาดที่มีสาระสำคัญอื่น และได้กำหนดคำนิยามของข้อผิดพลาดในงวดก่อนไว้ด้วย

  30. TAS 39 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • กำหนดให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีที่กิจการกำลังจะนำมาถือปฏิบัติเมื่อกิจการเริ่มนำ TAS หรือการตีความมาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่มาปฏิบัติก่อนการบังคับใช้ นอกจากนี้ ยังกำหนดให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบหรือประมาณการผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่องบการเงินของงวดบัญชีที่มีการนำ TAS หรือการตีความมาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่ไปปฏิบัติ

  31. TAS 39 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • กำหนดให้เปิดเผยข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนเงินของรายการปรับปรุงบัญชีที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีหรือการแก้ไขข้อผิดพลาดในงวดก่อนโดยให้เปิดเผยสำหรับรายการแต่ละบรรทัดในงบการเงินที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งกำไรต่อหุ้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลดหากกิจการต้องปฏิบัติตาม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง กำไรต่อหุ้น

  32. TAS 39 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • ข้อกำหนดเกี่ยวกับการนำเสนอกำไรขาดทุนสำหรับงวดได้กำหนดไว้ใน TAS 35 • สอดคล้องกับ SIC-18 Consistency-Alternative Method ดังนี้ • กิจการต้องเลือกใช้และนำนโยบายการบัญชีมาถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอกับรายการ เหตุการณ์และเงื่อนไขทางบัญชีที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เว้นแต่ TAS หรือการตีความมาตรฐานการบัญชีได้กำหนดหรืออนุญาตให้จัดประเภทรายการตามนโยบายการบัญชีที่แตกต่างกันได้ และ • หาก TAS หรือการตีความมาตรฐานการบัญชีกำหนดหรืออนุญาตให้ทำดังกล่าว กิจการต้องเลือกและนำนโยบายการบัญชีที่เหมาะสมมาถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอสำหรับรายการแต่ละประเภท

  33. TAS 39 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • กล่าวรวมถึงคำนิยามของการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี • กล่าวรวมถึงข้อยกเว้นในการรวมผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีที่มีต่องบกำไรหรือขาดทุน โดยกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงประมาณการที่ทำให้สินทรัพย์หรือหนี้สินเพื่อขึ้นหรือมีผลต่อรายการในส่วนของเจ้าของ ให้กิจการรับรู้ผลกระทบดังกล่าวในยอดคงเหลือของสินทรัพย์ หนี้สิน หรือส่วนของเจ้าของที่เกี่ยวข้องในงวดบัญชีที่มีการเปลี่ยนแปลง

  34. TAS 41 งบการเงินระหว่างกาล • ได้ปรับปรุงถ้อยคำใหม่ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดยมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 34 (พ.ศ. 2549) เรื่อง งบการเงินระหว่างกาล (IAS No. 34, Interim Financial Reporting (2006)) โดยไม่มีข้อแตกต่าง • กิจการต้องใช้นโยบายการบัญชีเดียวกันสำหรับงบการเงินระหว่างกาล และงบการเงินประจำปี เว้นแต่นโยบายการบัญชีที่เปลี่ยนแปลงภายหลังวันที่ในงบการเงินประจำปีล่าสุดนั้นจะใช้ในงบการเงินประจำปีถัดไป

  35. TAS 41 งบการเงินระหว่างกาล • กิจการต้องไม่รับรู้รายได้ที่ได้รับตามฤดูกาล รายได้ที่ได้รับเป็นวัฏจักร หรือรายได้ที่ได้รับเป็นครั้งคราวในระหว่างปีบัญชีเป็นรายได้หากรายได้นั้นยังไม่เกิดแต่คาดการณ์ว่าจะเกิด • กิจการต้องไม่บันทึกรายได้ที่ยังไม่เกิดเป็นรายได้ค้างรับและต้องไม่บันทึกรายได้ที่เกิดแล้วเป็นรายได้รอการรับรู้ หากมาตรฐานการบัญชียังไม่อนุญาตให้ทำได้ ณ วันสิ้นงวดปีบัญชี

  36. TAS 41 งบการเงินระหว่างกาล • ต้นทุนที่เกิดขึ้นอย่างไม่สม่ำเสมอในระหว่างปีบัญชี ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นหรือบันทึกเป็นต้นทุนรอตัดบัญชีเพื่อวัตถุประสงค์ของการจัดทำรายงานระหว่างกาลได้ก็ต่อเมื่อต้นทุนนั้น ณ วันสิ้นงวดปีบัญชีจะมีการคาดการณ์หรือบันทึกเป็นต้นทุนรอตัดบัญชีได้ด้วย

  37. TAS ที่คาดว่าจะประกาศใช้ในปี 2551(แถมให้)

  38. IAS 19 Employee Benefits(TAS xx) (คาดว่าจะประกาศใช้) • แบ่งผลประโยชน์ของพนักงานออกเป็น 4 ประเภท • ผลประโยชน์ระยะสั้น เช่น ค่าจ้าง เงินเดือน กองทุนเงินสมทบประกันสังคม เงินที่จ่ายระหว่างลาพักผ่อนประจำปีและลาป่วย ส่วนแบ่งกำไรและโบนัส และผลประโยชน์ที่ไม่เป็นตัวเงิน (เช่น การรักษาพยาบาล ที่พักอาศัย ยานพาหนะ และสินค้าหรือบริการที่ช่วยเหลือหรือให้เปล่าแก่พนักงาน) สำหรับพนักงานปัจจุบัน • ผลประโยชน์หลังออกจากงาน เช่น บำนาญ ผลประโยชน์อื่นเมื่อเกษียณอายุ เบี้ยประกันชีวิตและค่ารักษาพยาบาลหลังออกจากงาน

  39. IAS 19 Employee Benefits(TAS xx) • แบ่งผลประโยชน์ของพนักงานออกเป็น 4 ประเภท (ต่อ) • ผลประโยชน์ระยะยาวอื่นๆ ของพนักงานรวมถึง ผลตอบแทนในรูปการลางานสำหรับพนักงานที่ทำงานให้กับกิจการเป็นเวลานาน เช่น ลาบวช ลาศึกษาต่อ ลาเพื่อรับราชการทหาร ผลประโยชน์ครบรอบ 50 ปีหรือผลประโยชน์การให้บริการที่ยาวนานอื่นๆผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับความทุพพลภาพระยะยาวซึ่งเป็นการจ่ายตั้งแต่ 12 เดือนหลังวันสิ้นงวด นอกจากนี้ยังรวมส่วนแบ่งกำไร โบนัส และค่าตอบแทนที่จะจ่ายด้วย • ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง

  40. IAS 19 Employee Benefits(TAS xx) • ให้รับรู้ผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงานเมื่อพนักงานได้ให้บริการแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์นั้น • สำหรับโครงการสมทบเงิน (Defined Contribution Plan) ให้รับรู้การจ่ายเงินสมทบเมื่อพนักงานได้ให้บริการเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินสมทบนั้น • สำหรับโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานอื่นๆ (Defined Benefit Plan) (โครงการบำเหน็จบำนาญ หรือกิจการมีการกำหนดให้พนักงานออกจากงานเมื่อเกษียณอายุ) ให้ • บันทึกบัญชีทั้งภาระผูกพันทางกฎหมายและภาระผูกพันจากการอนุมานอื่นๆ ที่เกิดจากการปฏิบัติของกิจการ

  41. IAS 19 Employee Benefits(TAS xx) • สำหรับโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานอื่นๆ ให้ (ต่อ) • กำหนด PV ของภาระผูกพันของผลประโยชน์อย่างสม่ำเสมอเพียงพอเพื่อมิให้จำนวนที่รับรู้ในงบการเงินแตกต่างอย่างเป็นสาระสำคัญจากจำนวน ณ วันที่ในงบดุล • ใช้วิธีคิดลดแต่ละหน่วยที่ประมาณการไว้ (Projected Unit Credit Method) เพื่อวัดมูลค่าภาระผูกพันและต้นทุน • จัดสรรผลประโยชน์ให้ปีที่ให้บริการตามสูตรคำนวณผลประโยชน์ของโครงการ เว้นแต่การให้บริการในปีหลังๆ จะนำไปสู่ผลประโยชน์ที่มากขึ้นกว่าปีก่อนๆ อย่างเป็นสาระสำคัญ

  42. IAS 19 Employee Benefits(TAS xx) • สำหรับโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานอื่นๆ ให้ (ต่อ) • ใช้ข้อสมมติจากการประมาณตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่เป็นกลางและเป็นอิสระในการเปรียบเทียบกันได้เกี่ยวกับตัวแปรทางประชากรศาสตร์ (เช่น อัตราการออกจากงานและการมรณะ) และตัวแปรทางการเงิน (เช่น เงินเดือนที่เพิ่มขึ้นในอนาคต การเปลี่ยนแปลงต้นทุนค่ารักษาพยาบาลและผลประโยชน์บางอย่างของรัฐ) • กำหนดอัตราคิดลดโดยอ้างอิงกับอัตราผลตอบแทนในตลาดของหุ้นกู้ภาคเอกชนที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับดี ณ วันที่ในงบดุล และใช้สกุลเงินและเงื่อนไขที่สอดคล้องกับสกุลเงินและเงื่อนไขของภาระผูกพันผลประโยชน์หลังออกจากงาน • รับรู้ต้นทุนบริการในอดีตด้วยวิธีเส้นตรงตลอดระยะเวลาเฉลี่ยจนกว่าพนักงานจะได้รับผลประโยชน์ที่ปรับเปลี่ยนอย่างเด็ดขาด

  43. คำพิพากษาฎีกาที่ 6966-6971/2542 • ระบุว่าการกำหนดให้ลูกจ้างเกษียณอายุเมื่ออายุ 60 ปี ถือเป็นการเลิกจ้างอย่างหนึ่ง ดังนั้น นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้ลูกจ้างตามอัตราที่กำหนดในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 118

  44. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 • กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้

  45. Model การคำนวณ Employee Benefit Obligation • สภาวิชาชีพบัญชีได้จัดทำ Model การคำนวณ Employee Benefit Obligation อย่างง่ายให้กิจการต่าง ๆ นำไปใช้ได้โดยไม่ต้องจ้าง actuarial อย่างไรก็ดี Model ดังกล่าวอาจไม่เหมาะกับกิจการที่มีลักษณะการให้ผลประโยชน์พนักงานแบบซับซ้อน หากกิจการเหล่านั้นนำ Model อย่างง่ายไปใช้ อาจทำให้มูลค่า Employee Benefit Obligation ที่คำนวณได้ไม่ถูกต้อง

More Related