1 / 34

ระบบแฟ้มข้อมูล

บทที่ 7. ระบบแฟ้มข้อมูล. ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์. ข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นสามารถเก็บไว้ได้เป็นการชั่วคราวในระหว่างที่มีการทำงานเท่านั้นเมื่อเลิกทำงานข้อมูลดังกล่าวก็จะสูญหายไป

alaula
Download Presentation

ระบบแฟ้มข้อมูล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 7 ระบบแฟ้มข้อมูล

  2. ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นสามารถเก็บไว้ได้เป็นการชั่วคราวในระหว่างที่มีการทำงานเท่านั้นเมื่อเลิกทำงานข้อมูลดังกล่าวก็จะสูญหายไป ทุกครั้งที่ทำงานเกี่ยวกับข้อมูล จะต้องมีการใส่ข้อมูลเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำทุกครั้ง ซึ่งจะเป็นการเสียเวลาเป็นอย่างมาก จึงใช้เก็บใน หน่วยความจำสรอง

  3. แฟ้มข้อมูล (File) ในแต่ละแฟ้มมักเก็บข้อมูลที่เป็นเรื่องเดียวกัน เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการอ้างถึง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ • การสร้างแฟ้ม • การเข้าถึงข้อมูลในแฟ้ม • การดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล

  4. ชื่อแฟ้ม (File Name) เป็นสิ่งที่ใช้ในการอ้างถึงแฟ้ม รวมถึงการเข้าถึงและการใช้งานแฟ้ม โดยทั่วไปการแบ่งแฟ้มเป็นชนิดต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับ การใช้งานของแฟ้มนั้น ๆ ส่วนใหญ่มักจำแนกแฟ้มโดยการตั้งชื่อแฟ้มให้มีนามสกุล หรือส่วนขยาย (File Extension) ให้ต่างกันออกไป

  5. ตารางแสดงส่วนขยายและชนิดของแฟ้มข้อมูลตารางแสดงส่วนขยายและชนิดของแฟ้มข้อมูล ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์

  6. โครงสร้างแฟ้มข้อมูล (Data Structure) การจัดการโครงสร้างแฟ้มข้อมูล สามารถจัดได้หลายรูปแบบ ส่วนใหญ่นิยมใช้งานใน 3 ลักษณะ • การเก็บข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง • การเก็บข้อมูลแบบมีโครงสร้าง • การเก็บข้อมูลแบบต้นไม้

  7. ภาพแสดงโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลภาพแสดงโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล 1Byte 1Record a b c a1 a2 b2 b1 b11 b12 b13 A B C

  8. ชนิดของแฟ้มข้อมูล (File Type) ระบบปฏิบัติการโดยทั่วไป สนับสนุนการทำงานกับแฟ้มได้หลายชนิด เช่น • แฟ้มทั่วไป • ไดเร็กทอรี่ • แฟ้มอักขระ • แฟ้มของกลุ่มข้อมูล

  9. การเข้าถึงแฟ้มข้อมูล • การเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential Access) • การเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม (Random Access) แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ

  10. การเข้าถึงแฟ้มข้อมูล การเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential Access) ระบบปฏิบัติการรุ่นแรก ๆ จะใช้วิธีการเข้าถึงแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับเท่านั้น โดยการอ่านหรือบันทึกข้อมูลในแฟ้มเรียงตามลำดับไบต์หรือเรคอร์ดต่อเนื่องไป สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้ในการเข้าถึงแบบลำดับ (Sequential Access Storage Device : SASD) เช่น เทปแม่เหล็ก

  11. การเข้าถึงแฟ้มข้อมูล การเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม (Random Access) ได้รับความนิยมนำไปใช้กับโปรแกรมประยุกต์ เพราะสามารถเข้าถึงแฟ้มข้อมูลได้โดยตรง เช่น ระบบการจัดการฐานข้อมูล (DBMS) สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้ในการเข้าถึงแบบโดยตรง คือ ดิสก์

  12. การกระทำกับแฟ้มข้อมูลการกระทำกับแฟ้มข้อมูล ระบบปฏิบัติการที่ต่างกัน อาจมีการกระทำกับแฟ้มที่แตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปจะเตรียมการกระทำกับแฟ้ม ดังนี้ • การสร้าง (Create)  การลบ (Delete) • การเปิด (Open)  การปิด (Close) • การอ่าน (Read)  การบันทึก (Write) • การเพิ่มข้อมูลต่อท้ายแฟ้ม (Append) • การค้นหา (Seek) การเปลี่ยนชื่อ (Rename)

  13. ไดเร็กทอรี่ (Directory) เป็นแฟ้มประเภทหนึ่ง ทำหน้าที่เก็บรวบรวมรายชื่อของแฟ้ม และข้อมูลบางอย่างที่สำคัญของแฟ้มเอาไว้ ผู้ใช้สามารถสร้าง ลบ ไดเร็กทอรี่ได้

  14. โครงสร้างของระบบไดเร็กทอรี่โครงสร้างของระบบไดเร็กทอรี่ ประกอบด้วยหน่วยย่อยหลายหน่วย แต่ละหน่วยจะเก็บข้อมูลของแฟ้ม 1 แฟ้ม โดยข้อมูลที่เก็บคือ File Name, Attribute, File Address

  15. ภาพแสดง ระบบไดเร็กทอรี่ 1 ระดับ

  16. ภาพแสดง ระบบไดเร็กทอรี่ 2 ระดับ

  17. ภาพแสดง ระบบไดเร็กทอรี่ 3 ระดับ

  18. เส้นทาง (Path) ในการอ้างถึงแฟ้มในไดเร็กทอรี่ หรือการอ้างไดเร็กทอรี่ย่อยในไดเร็กทอรี่ จะต้องอ้างโดยการบอกเส้นทาง หรือพาธ (Path) ของแฟ้มนั้น ๆ เพื่อเป็นการระบุว่ากำลังอ้างถึงแฟ้มในไดเร็กทอรี่ใด

  19. เส้นทาง (Path) การอ้างอิงแฟ้มมี 2 วิธี • การอ้างอิงด้วยเส้นทางสมบูรณ์ (Absolute Path Name) • การอ้างอิงด้วยเส้นทางสัมพันธ์ (Relative Path Name)

  20. การอ้างอิงแฟ้ม เส้นทางสมบูรณ์ (Absolute Path Name) เป็นการอ้างอิงแฟ้มโดยเริ่มต้นจากไดเร็กทอรี่รากแล้วตามด้วยชื่อไดเร็กทอรี่ย่อยต่าง ๆ ไล่มาตามลำดับชั้นของไดเร็กทอรี่ จนกระทั่งถึงไดเร็กทอรี่ย่อยที่เก็บแฟ้ม เช่น D:\jubejang\krut.jpg

  21. การอ้างอิงแฟ้ม เส้นทางสัมพันธ์ (Relative Path Name) โดยนิยมใช้เครื่องหมาย . (จุด) แทนไดเร็กทอรี่ปัจจุบัน และ .. (จุดจุด) แทนไดเร็กทอรี่ที่อยู่เหนือขึ้นไปหนึ่งระดับ ขณะนี้อยู่ที่ “D:\jubejang\krut.jpg” Path ที่ใช้จะเป็น “.\krut.jpg”

  22. การจัดระบบแฟ้ม (File System) การจัดการข้อมูลของผู้ใช้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเก็บ การแบ่งข้อมูลลงแฟ้ม และการจัดการไดเร็กทอรี่ เพื่อให้สะดวกในการใช้งาน รวมถึงการจัดการเนื้อที่ในอุปกรณ์เก็บข้อมูล (ดิสก์) และวิธีการจัดเก็บแฟ้ม

  23. รูปแบบของระบบแฟ้ม แบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบ • การจัดเก็บแฟ้มเรียงต่อเนื่องกันตลอดทั้งแฟ้ม (Continuous Allocation) 2. การจัดเก็บแฟ้มแบบใช้ลิงก์ลิสต์ (Linked List Allocation) 3. ไอโหนด (I-node) 4. การจัดการแฟ้มแบบตารางแฟต (File Allocation Table : FAT)

  24. การจัดเก็บแฟ้มเรียงต่อเนื่องกันตลอดทั้งแฟ้ม (Continuous Allocation) การจัดเก็บแฟ้มข้อมูลจะอยู่ในรูปของลำดับบล็อก ที่ต่อเนื่องกัน เช่น หากแต่ละบล็อกมีขนาด 1KB แฟ้มข้อมูลขนาด 50KB ก็ต้องใช้เนื้อที่ขนาด 50 KB ที่ต่อเนื่องกันในดิสก์

  25. การจัดเก็บแฟ้มเรียงต่อเนื่องกันตลอดทั้งแฟ้ม (Continuous Allocation)

  26. การจัดเก็บแฟ้มแบบใช้ลิงค์ลิสต์ (Linked List Allocation) เป็นการเก็บแฟ้มโดยการแบ่งแฟ้มออกเป็นส่วนเล็ก ๆ ที่มีขนาดแน่นอนเรียกว่า บล็อก (block) แต่ละบล็อกจะแบ่งไว้ที่ไหนในดิสก์ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเรียงต่อกันตลอดทั้งแฟ้ม และแต่ละบล็อกจะเชื่อมโยงถึงกันโดยลิงค์ ช่วยลดปัญหาการเกิดที่ว่างที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ลงได้มาก

  27. ไอโหนด (I-node) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ มีวิธีในการจัดเก็บแฟ้มอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งแต่ละแฟ้มจะมีการสร้างตารางประจำแฟ้มขึ้นมาเรียกว่า ไอโหนด (I-node)โดยจะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตัวแฟ้มเอาไว้

  28. ภาพแสดงโครงสร้างแฟ้มแบบไอโหนดภาพแสดงโครงสร้างแฟ้มแบบไอโหนด Single

  29. การจัดเก็บแฟ้มแบบตารางแฟต(File Allocation Table : FAT) นอกจากการใช้ลิงค์ลิสต์ในการควบคุมบล็อกสำหรับเก็บแฟ้มแล้ว ยังมีวิธีการอื่นที่ช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้น คือการสร้างตารางเก็บค่าหมายเลขบล็อกแต่ละบล็อกที่เก็บแฟ้มไว้แทนการเก็บไว้ที่ท้ายบล็อกนั้น ๆ เรียกว่า ตารางการจัดสรรแฟ้มหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ตารางแฟต

  30. การจัดระบบแฟ้มแบบเรด (RAID) เมื่อเกิดปัญหาในการปรับปรุงการทำงาน ผู้ออกแบบฮาร์ดแวร์หันไปอาศัยแนวคิดการทำงานแบบขนาน ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานในการปรับปรุงการทำงานของดิสก์และได้ออกแบบโครงสร้างการทำงานของดิสก์ในรูปแบบใหม่เรียกว่า เรด (RAID)

  31. หลักการทำงานของเรด แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ • เรดแบบเงากระจก (Mirroring RAID) • เรดแบบแบ่งส่วนแฟ้ม (Striping RAID)

  32. เรดแบบเงากระจก (Mirroring RAID) เป็นความพยายามเพิ่มความเชื่อมั่นในระบบการจัดเก็บแฟ้ม โดยติดตั้งดิสก์ 2 ตัวหรือมากกว่า (ดิกส์ที่มีขนาดและคุณสมบัติเหมือนกัน) เพื่อทำการเก็บข้อมูลชุดเดียวกัน

  33. เรดแบบแบ่งส่วนแฟ้ม (Striping RAID) เป็นความพยายามเพิ่มความเร็วในการทำงานและเพิ่มอัตราการขนถ่าย ข้อมูลให้สูงขึ้น โดยการแบ่งส่วนของแฟ้มออกเป็นส่วน ๆ และกระจายแต่ละส่วนไปจัดเก็บในดิสก์แต่ละตัวของเรด

  34. จบบทที่ 7 ค่ะ

More Related