1 / 37

OSI คืออะไร ?

OSI คืออะไร ?. มันคือ ..... โปรโตคอล. ทำไม ?.

almira
Download Presentation

OSI คืออะไร ?

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. OSI คืออะไร? มันคือ .....โปรโตคอล

  2. ทำไม? การที่คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งจะส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งได้นั้น จะต้องอาศัยกลไกหลายๆอย่างร่วมกันทำงานต่างหน้าที่กันและเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายเข้าด้วยกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือการเชื่อมต่อมีความแตกต่าง ระหว่างระบบและอุปกรณ์หรือเป็นผู้ผลิตคนละรายกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้การสร้างเครือข่ายเป็นเรื่องยากมาก เนื่องจากขาดมาตฐานกลางที่จำเป็นในการเชื่อมต่อ PC UNIX ไม่มีมาตรฐาน ส่ง A รับ ก มาตรฐานเดียวกัน ส่ง A รับ A

  3. ที่มาของ OSI จากปัญหาดังกล่าว จึงได้เกิดหน่วยงานกำหนดมาตรฐานสากลขึ้นคือ International Standards Organizationขึ้นและทำการกำหนดโครงสร้างทั้งหมดที่จำเป็นต้องใช้ในการสื่อสารข้อมูลและเป็นระบบเปิด เพื่อให้ผู้ผลิตต่างๆสามารถแยกผลิตในส่วนที่ตัวเองถนัด แต่สามารถนำไปใช้ร่วมกันได้ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยใหม่จะถูกออกแบบให้มีโครงสร้างทีแน่นอน และเพื่อเป็นการลดความซับซ้อน ระบบเครือข่ายส่วนมากจึงแยกการทำงานออกเป็นชั้นๆ (layer) โดยกำหนดหน้าที่ในแต่ละชั้นไว้อย่างชัดเจน แบบจำลองสำหรับอ้างอิงแบบ OSI (Open System Interconnection Reference Model) หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า OSI Reference Model ของ ISO เป็นแบบจำลองที่ถูกเสนอและพัฒนาโดยองค์กร International Standard Organization (ISO) โดยจะบรรยายถึงโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเครือข่ายในอุดมคติ ซึ่งระบบเครือข่ายที่เป็นไปตามสถาปัตยกรรมนี้จะเป็นระบบเครือข่ายแบบเปิด และอุปกรณ์ทางเครือข่ายจะสามารถติดต่อกันได้โดยไม่ขึ้นกับว่าเป็นอุปกรณ์ของผู้ขายรายใด

  4. Open System Interconnect OSI

  5. กลุ่มของชั้น OSI OSI Model ได้แบ่ง ตามลักษณะของออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1. Application-oriented Layers เป็น 4 Layer ด้านบนคือ Layer ที่ 7,6,5,4 ทำหน้าที่เชื่อมต่อรับส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้กับโปรแกรมประยุกต์ เพื่อให้รับส่งข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ที่อยู่ชั้นล่างได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับซอฟแวร์เป็นหลัก 2. Network-dependent Layers เป็น 3 Layers ด้านล่าง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลผ่านสายส่ง และควบคุมการรับส่งข้อมูล.ตรวจสอบข้อผิดพลาด รวมทั้งเลื่อกเส้นทางที่ใช้ในการรับส่ง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์เป็นหลัก ทำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ต่างบริษัทกันได้อย่างไม่มีปัญหา

  6. Application Layer • File Transfer, Access and Management (FTAM): ให้บริการเกี่ยวกับการถ่ายโอนไฟล์ระหว่างคอมพิวเตอร์ และการอ่าน การเขียน หรือแม้กระทั่งการลบไฟล์ที่อยู่ในอีกเครื่องหนึ่งได้ • Virtual Terminal Protocol (VTP) : การเข้าใช้แอพลิเคชั่นที่อยู่อีกเครื่องหนึ่ง โดยจำลองเทอร์มินอลของเครื่องที่อยู่ห่างไกลให้กับผู้ใช้ • Message Handling Service (MHS) : การรับส่งอีเมลล์ • Directory Service (DS) : การจับคู่ระหว่างชื่อและที่อยู่ของคอมพิวเตอร์ • Common Management Information Protocol (CMIP) : ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเครือข่าย

  7. Presentation Layer • รับผิดชอบเกี่ยวกับรูปแบบของข้อมูลที่รับส่งผ่านเครือข่าย(Encoding) • แปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน แปลงกลับเป็นรูปแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ • ทำให้ข้อมูลที่เข้ารหัสเลขทศนิยมที่ต่างกันสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้

  8. Session Layer • ควบคุมการสื่อสารผ่านเครือข่ายที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างสองฝั่ง การสื่อสารที่กำลังดำเนินไปในช่วงขณะใดขณะหนึ่งจะเรียกว่า Session เลเยอร์นี้จะควบคุมการสร้าง Session การแลกเปลี่ยนข้อมูล และยกเลิก Session เมื่อการสื่อสารสิ้นสุด • กำหนดรูปแบบการสื่อสาร ทางเดียว(Unidirectional)/สองทาง(Bi-directional) • กำหนดการไหลของข้อมูล • ควบคุมจังหวะการรับส่งข้อมูล (Synchronization)

  9. Transport Layer • รับผิดชอบในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่าง process ของผู้รับและ process ของผู้ส่ง • จัดเรียงแพ็กเก็ตข้อมูล • โปรโตคอลในเลเยอร์นี้สามารถให้บริการได้หลายๆ Application ในเวลาเดียวกัน โดยการกำหนดที่อยู่เพื่อใช้ติดต่อกับแต่ละ application ที่อยู่อีกฝั่งหนึ่ง ที่อยู่ในที่นี้จะเรียก Port ส่วนการเชื่อมต่อเข้ากับ Port จะเรียกว่า Socket

  10. Network Layer • รับผิดชอบในการกำหนดเส้นทางข้อมูลระหว่างสถานีส่งและสถานีรับที่อยู่คนละเครือข่าย การทำเช่นนี้ได้ต้องมีระบบการจัดการที่อยู่ (Addressing) ที่ไม่ขึ้นอยู่กับที่อยู่ที่ใช้ในชั้นเชื่อมโยงข้อมูล การให้บริการในเลเยอร์นี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ • Connectionless Network Service การส่งข้อมูลที่ไม่มีการเชื่อมต่อก่อน • Connection-Oriented Network Service เป็นการให้บริการโดยมีการรับรองว่าข้อมูลถึงปลายทางแน่นอน มีการสร้างเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างสองสถานีก่อน และเมื่อรับส่งเสร็จก็ยกเลิกเส้นทางเชื่อมต่อดังกล่าว

  11. Data Link Layer • มีหน้าที่รับส่งข้อมูล และมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วย ทางด้านสถานีส่งจะจัดส่งข้อมูลให้เป็นเฟรม แลในแต่ละเฟรมจะมีข้อมูลที่ใช้ตรวจสอบข้อผิดพลาดของข้อมูลของเฟรมนั้นๆด้วย การส่งข้อมูลสำเร็จเหตุการณ์ต่อไปนี้ต้องเกิดขึ้น • สถานีรับเมื่อรับแล้วตรวจสอบข้อผิดพลาดของข้อมูล แล้วแจ้งให้สถานีส่งทราบ • สถานีส่งต้องได้รับการตอบรับจากสถานีรับว่าได้รับเฟรมข้อมูลถูกต้องแล้ว

  12. Physical Layer • รับผิดชอบการส่งข้อมูลที่มีค่าเป็นบิต โดยไม่สนใจความหมายของข้อมูล • สนใจเฉพาะการแปลงข้อมูลให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าหรือแสง • มาตรฐานจะกำหนดเกี่ยวกับความดันไฟฟ้า (Voltage) ที่เป็นตัวนำสัญญาณ ประเภทของสายสัญญาณ และความต้านทานของสายสัญญาณ แม้กระทั่งลักษณะของหัวเชื่อมต่อสายสัญญาณด้วย

  13. OSI เทียบกับ TCP/IP

  14. OSI Encapsulation

  15. TCP/IP TCP/IP (Transmitsion Control Protocol/Internet Protocol) เป็นชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้ และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ ถึงแม้ว่าในระหว่างทางอาจจะผ่านเครือข่ายที่มีปัญหา โปรโตคอลก็ยังคงหาเส้นทางอื่นในการส่งผ่านข้อมูลไปให้ถึงปลายทางได้ ชุดโปรโตคอลนี้ได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี 1960 ซึ่งถูกใช้เป็นครั้งแรกในเครือข่าย ARPANET ซึ่งต่อมาได้ขยายการเชื่อมต่อไปทั่วโลกเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้ TCP/IP เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน

  16. Protocol ARP (Address Resolution Protocol) เป็นโพรโตคอลเป็นโพรโตคอลชนิดหนึ่งที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารที่ทำหน้าที่หาแอดเดรสและจับคู่ระหว่างไอพีแอดเดรส ที่เชื่อมโยงเครือข่ายของระบบการขอหมายเลขไอพีแอดเดรสมาใช้บริการเพื่อให้สามารถสื่อสารกันระหว่างระบบเครือข่ายต่างๆได้ สามรถส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อกัน โดยมีฮาร์ดแวร์สร้างเฟรมข้อมูลแล้วโพรโตคอล ARP จะนำข้อมุลเหล่านั้นเข้าที่เครื่อง host ในระบบเครือข่ายต่อไป Point-to-Point Protocol (PPP) เป็นโปรโตคอล สำหรับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 ตัว ด้วยการอินเตอร์เฟซแบบอนุกรม ตามปกติ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เชื่อม ด้วยสายโทรศัพท์ไปที่เครื่องแม่ข่าย เช่น เครื่องแม่ข่ายของผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตให้ผู้ใช้ต่อเชื่อมด้วย PPP ทำให้เครื่องแม่ข่าย สามารถตอบสนองคำขอผู้ใช้ ส่งสิ่งเหล่านี้ไปยังอินเตอร์เน็ต และส่งต่อการตอบสนองอินเตอร์เน็ต กลับไปยังผู้ใช้ PPP ใช้ Interner Protocol (IP)

  17. TCP/IP Protocol TCP/IP มีจุดประสงค์ของการสื่อสารตามมาตรฐาน สามประการคือ 1. เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างระบบที่มีความแตกต่างกัน 2. ความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่าย เช่นในกรณีที่ผู้ส่งและผู้รับยังคงมีการติดต่อกันอยู่ แต่โหนดกลางทีใช้เป็นผู้ช่วยรับ-ส่งเกิดเสียหายใช้การไม่ได้ หรือสายสื่อสารบางช่วงถูกตัดขาด กฎการสื่อสารนี้จะต้องสามารถจัดหาทางเลือกอื่นเพื่อทำให้การสื่อสารดำเนินต่อไปได้โดยอัตโนมัติ 3. มีความคล่องตัวต่อการสื่อสารข้อมูลได้หลายชนิดทั้งแบบที่ไม่มีความเร่งด่วน เช่น การจัดส่งแฟ้มข้อมูล และแบบที่ต้องการรับประกันความเร่งด่วนของข้อมูล เช่น การสื่อสารแบบ real-time และทั้งการสื่อสารแบบเสียง (Voice) และข้อมูล (data)

  18. Encapsulation/Demultiplexing การส่งข้อมูลผ่านในแต่ละเลเยอร์ แต่ละเลเยอร์จะทำการประกอบข้อมูลที่ได้รับมา กับข้อมูลส่วนควบคุมซึ่งถูกนำมาไว้ในส่วนหัวของข้อมูลเรียกว่า Header ภายใน Header จะบรรจุข้อมูลที่สำคัญของโปรโตคอลที่ทำการ Encapsulate เมื่อผู้รับได้รับข้อมูล ก็จะเกิดกระบวนการทำงานย้อนกลับคือ โปรโตคอลเดียวกัน ทางฝั่งผู้รับก็จะได้รับข้อมูลส่วนที่เป็น Header ก่อนและนำไปประมวลและทราบว่าข้อมูลที่ตามมามีลักษณะอย่างไร ซึ่งกระบวนการย้อนกลับนี้เรียกว่า Demultiplexing

  19. TCP/IP Encapsulation

  20. TCP Protocol • Source Port Number : หมายเลขพอร์ตต้นทางที่ส่งดาต้าแกรมนี้ • Destination Port Number : หมายเลขพอร์ตปลายทางที่จะเป็นผู้รับดาต้าแกรม • Sequence Number : ฟิลด์ที่ระบุหมายเลขลำดับอ้างอิงในการสื่อสารข้อมูลแต่ละครั้ง เพื่อใช้ในการแยกแยะว่าเป็นข้อมูลของชุดใด และนำมาจัดลำดับได้ถูกต้อง • Acknowledgment Number : ทำหน้าที่เช่นเดียวกับ Sequence Number แต่จะใช้ในการตอบรับ • Header Length : โดยปกติความยาวของเฮดเดอร์ TCP จะมีความยาว 20 ไบต์ แต่อาจจะมากกว่านั้น ถ้ามีข้อมูลในฟิลด์ option แต่ต้องไม่เกิน 60 ไบต์ • Flag : เป็นข้อมูลระดับบิตที่อยู่ในเฮดเดอร์ TCP โดยใช้เป็นตัวบอกคุณสมบัติของแพ็กเก็ต TCP ขณะนั้นๆ และใช้เป็นตัวควบคุมจังหวะการรับส่งข้อมูลด้วย

  21. Flag Type Description URG ใช้บอกความหมายว่าเป็นข้อมูลด่วน และมีข้อมูลพิเศษมาด้วย (อยู่ใน Urgent Pointer) ACK แสดงว่าข้อมูลในฟิลด์ Acknowledge Number นำมาใช้งานได้ DSH เป็นการแจ้งให้ผู้รับข้อมูลทราบว่าควรจะส่งข้อมูล Segment นี้ไปยัง Application ที่กำลังรออยู่โดยเร็ว RST ยกเลิกการติดต่อ (Reset) เนื่องจากในกรณีที่เกิดการสับสนขึ้นด้วยเหตุผลต่างๆ เช่นโฮสต์มีปัญหา ให้เริ่มสื่อสารใหม่ SYN ใช้ในการเริ่มต้นขอติดต่อกับปลายทาง FIN ใช้ส่งเพื่อแจ้งให้ปลายทางทราบว่ายุติการติดต่อ

  22. Connection Establishment ก่อนที่จะเริ่มต้นการสื่อสาร จะต้องมีการส่งสัญญาณเพื่อบอกโฮสต์อีกฝั่งหนึ่งให้เตรียมตัวติดต่อ ซึ่งกระบวนการที่ใช้มีชื่อเรียกว่า 3-Way Hand Shake มีขั้นตอนคือ เครื่องไคลเอนต์จะทำการส่งเซกเมนต์ โดยเปิด SYN Flag ระบุหมายเลขพอร์ตที่ต้องการติดต่อบนเซิร์ฟเวอร์และระบุหมายเลข ลำดับของข้อมูล (ISN - Initial Sequence Number) เครื่องเซิร์ฟเวอร์เมื่อได้รับข้อมูลเซกเมนต์จากข้อ 1 ก็จะตอบกลับด้วยการเพิ่มค่า ISN ที่ได้รับขึ้นอีก 1 พร้อมทั้งระบุหมายเลขลำดับ (ISN) ของตนเอง และเปิด SYN กับ ACK Flag ไคล์เอนต์เมื่อได้รับการตอบกลับจากเซิร์ฟเวอร์ตามข้อ 2 ก็จะทำการตอบรับกลับไป โดยการเพิ่มค่า ISN ของเซิร์ฟเวอร์ขึ้นอีก 1 และเปิด ACK Flag เมื่อผ่านการสร้าง connection ทั้ง 3 ขั้นตอนแล้ว ตอนนี้ทั้งไคล์เอนต์ และเซิร์ฟเวอร์เปรียบเสมือนมีการเชื่อมต่อถึงกันแล้ว สถานะของการเชื่อมต่อในขณะนี้เรียกว่า Established

  23. เมื่อการสื่อสารของทั้งสองฝั่งจบลง และไม่ต้องการรับส่งข้อมูลอีกต่อไป จะต้องทำตามขั้นตอนการยุติการสื่อสารเพื่อให้การสื่อสารจบลงอย่างสมบูรณ์ ซึ่งมีอยู่ 4 ขั้นตอนคือ ไคลเอนต์ทำการส่ง ISN พร้อมกับ FIN ACK Flag ไปยังเซิร์ฟเวอร์ เซิร์ฟเวอร์ทำการตอบรับ ISN และบวกค่า ISN อีก 1 พร้อม ACK Flag เซิร์ฟเวอร์ทำการส่ง ISN พร้อมกับ FIN ACK Flag ไปยังไคลเอนต์ ไคลเอนต์ทำการตอบรับ ISN และบวกค่า ISN อีก 1 พร้อม ACK Flag

  24. IPคือ โปรโตคอลในระดับชั้น เน็ตเวิร์ค ทำหน้าที่กำหนดหมายเลขไอพีแอดเดสประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นตัวบอกให้ Router ทราบว่าจะส่ง Packet ไปทางไหน โปรโตคอล IP เป็นลักษณะ Connection less คือไม่มีกลไกที่จะรับประกันว่าข้อมูลจะส่งไปถึงปลายทาง TCP (Transmission Control Protocol) ใช้ Internet Protocol (IP) เพื่อส่งข้อมูลในรูปแบบของข่าวสาร ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็น โปรโตคอลที่อยู่สูงกว่า IP เป็นโปรโตคอลที่มีกลไกในการรับประกันว่าข้อมูลจะไม่สูญหาย UDP (User Datagram Protocol) ใช้ IP ในการส่งข้อมูล แต่เป็นโปรโตคอลที่เชื่อถือไม่ได้ เพราะถ้าข้อมูลสูญหายจะไม่มีการส่งใหม่มักถูกนำมาใช้ในด้าน Multimedia ภาพและเสียง แต่จะสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่า TCP

  25. ICMP (Internet Control Massage Protocol) เป็นโปรโตคอลควบคุมและรายงานความผิดพลาดระหว่าง host server กับ gateway บนอินเตอร์เน็ต ICMP ใช้ตารางข้อมูลของ Internet Protocol แต่การสร้างข้อความทำโดยซอฟต์แวร์ของ IP และไม่ปรากฏโดยตรงกับผู้ใช้โดยตรง HTTP (Hyper text Transfer Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ Browser ใช้ติดต่อกับ Web Server โดยจะดึงหน้าเพ็จต่างๆมาแสดงผล ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่วิ่งอยู่บน TCP หมายเลข Port 80 SMTP (Simple Mail Transfer Protocol) เป็นโปรโตคอลสำหรับส่งอีเมลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต SMTP เป็นโปรโตคอลแบบข้อความที่เรียบง่าย ทำงานอยู่บนโปรโตคอล TCP พอร์ต 25 ในการส่งอีเมลไปยังที่อยู่ที่กำหนด จำเป็นต้องใช้ค่า MX (Mail eXchange) ของ DNS

  26. POP3 (Post Office Protocol3)เป็นโปรโตคอลที่มีไว้ขอรับอีเมล์จากเครื่องแม่ข่าย วิ่งอยู่ใน TCP Port 110 โดยจะทำการดึงอีเมล์มาเก็บไว้ในเครื่องลูกข่าย เพื่อเป็นการประหยัดพื้นที่เครื่องแม่ข่าย IMAP (Internet Message Access Protocol)เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการแสดงข้อมูลอีเมล์ที่เครื่องแม่ข่ายโดยจะไม่ดึงข้อมูลมาไว้ที่เครื่องลูกข่าย SNMP Simple Network Management Protocol เป็นโปรโตคอล มีใว้เพื่อจัดการอุปกรณ์เน็ตเวิร์ค

  27. IP Class IP Address นั้นจะแบ่งออกเป็น 5 classes คือ A, B, C, D และ E แต่ขณะนี้ใช้เพียง 3 classes คือ Class A, Class B และ Class C ซึ่งค่า IP Address นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังรูปด้านล่าง ส่วนแรกเป็น Network number ส่วนที่สองเป็น Host number คือ คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายนั้น

  28. IP Class

  29. IP Address Class A Class A ใช้ไบต์แรก (8 bit) เป็น Network number และให้บิตแรก เป็น 0 จึงมี Network number ระหว่าง 0 - 127 (126 เครือข่าย) ส่วน Host number ใช้ 3 ไบต์ (24 บิต) จึงมีคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้ถึง 16,777,124 เครื่อง เหมาะสำหรับเครือข่ายส่วนบุคคล ช่วงของ IP Address ใน Class A คือ ตั้งแต่ 1.0.0.0 - 127.255.255.255

  30. IP Address Class B Class B ใช้ 2 ไบต์แรก (16 bit) เป็น Network number และให้ 2 บิตแรก เป็น 10 จึงมี Network number เท่ากับ 2 ยกกำลัง (16-2) หรือ 16,382 เครือข่าย ส่วน Host number ใช้ 2 ไบต์ (16 bit) จึงมีคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้ถึง 65,534 เครื่อง ช่วงของ IP Address ใน Class B คือ ตั้งแต่ 128.0.0.0 - 191.255.255.255

  31. IP Address Class C Class C ใช้ 3 ไบต์แรก (24 bit) เป็น Network number และให้ 3 บิตแรก เป็น 110 จึงมี Network number เท่ากับ 2 ยกกำลัง (24-3) หรือ 2,097,152 เครือข่าย ส่วน Host number ใช้ 1 ไบต์ (8 bit) จึงมีคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้ถึง 254 เครื่อง ช่วงของ IP Address ใน Class C คือ ตั้งแต่ 192.0.0.0 - 223.255.255.255

  32. IP Address Class D Class D จะกำหนดให้ 4 บิตแรก เป็น 1110 ใช้ในการทำ Multicasting ช่วงของ IP Address ใน Class D คือ ตั้งแต่ 224.0.0.0 - 239.255.255.255 IP Address Class E Class E จะกำหนดให้ 5 บิตแรก เป็น 11110 โดยสงวนไว้สำหรับอนาคต ช่วงของ IP Address ใน Class E คือ ตั้งแต่ 240.0.0.0 - 247.255.255.255

  33. Private IP Address Private IP Address คือ IP Address ที่กำหนดขึ้นสำหรับการใช้งานส่วนตัวหรือภายในองค์กร โดยสามารถใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องทำการลงทะเบียน ซึ่งค่า Private IP Address นี้หากมีการส่งข้อมูล (Packet) โดยส่วนมากแล้ว Router จะทำการ Drop ทิ้งไปเอง หรือไม่ก็จะทำการส่งต่อไปเรื่อยๆจนหมดอายุไปเอง ค่า IP Address ที่กำหนดให้เป็น Private IP Address นั้นมี ดังนี้ Class A10.0.0.0 - 10.255.255.255 Class B172.16.0.0 - 172.31.255.255 Class C192.168.0.0 - 192.168.255.255

  34. IP Address version 6 IP address เวอร์ชั่น 4 (IPV4) ซึ่งใช้อยู่ปัจจุบันนั้น ทางทฤษฏีสามารถใช้ได้จำนวน 232 เครื่อง แต่จากการแบ่งออกเป็น Class ย่อย และการเพิ่มจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างมากมาย เป็นผลให้ จำนวน IP Address จะมีไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน โดยทางแก้ของปัญหานี้ทำได้โดยการเพิ่มจำนวนบิตขึ้น และเรียกว่า IPv6 โดยจะมีขนาด 128 bit

  35. Subnet mask Subnet mask เป็น Parameter อีกตัวหนึ่งที่ต้องระบุควบคู่กับหมายเลข IP Address หน้าทีของ subnet คือ ตัวที่แบ่ง IP address ที่ได้มาให้เป็นกลุ่มย่อย ช่วยในการแยกแยะว่าส่วนใดภายในหมายเลข IP Address เป็น Network Address และส่วนใดเป็นหมายเลข Host Address

  36. 1 Class 2^8 = 256 Host 254 เครื่อง ดึงมา 2 เพื่อเป็น Network Number กับ Broadcast Number 192.168.0.0 – 192.168.0.255 192.168.0.0 Network Number 192.168.0.255 Broadcast Number 192.168.0.1-192.168.0.254 Use for Device Subnet Mask

More Related