1 / 26

ยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของสหภาพยุโรป และมาตรฐานการจัดการพลังงาน

ยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของสหภาพยุโรป และมาตรฐานการจัดการพลังงาน. โดย สำนักพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการมาตรฐาน. หัวข้อการบรรยาย. นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของสหภาพยุโรป มาตรฐานการจัดการพลังงาน. นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของสหภาพยุโรป (EU). ภาพรวมนโยบายด้านพลังงานของ EU

alpha
Download Presentation

ยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของสหภาพยุโรป และมาตรฐานการจัดการพลังงาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของสหภาพยุโรป และมาตรฐานการจัดการพลังงาน โดย สำนักพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการมาตรฐาน

  2. หัวข้อการบรรยาย • นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของสหภาพยุโรป • มาตรฐานการจัดการพลังงาน

  3. นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของสหภาพยุโรป (EU) • ภาพรวมนโยบายด้านพลังงานของ EU • เป้าหมายด้านพลังงาน/สิ่งแวดล้อม • มาตรการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่ EU กำลังพิจารณา

  4. ภาพรวมนโยบายด้านพลังงานของ EU EU ให้ความสำคัญต่อเรื่องพลังงานเป็น 2 มิติ ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่อง ส่งผลต่อกัน และเป็นเรื่องเร่งด่วน ดังนี้ • ด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเรื่องพลังงานเกี่ยวข้องโดยตรงกับสภาวะโลกร้อน • ความมั่นคงทางพลังงาน เนื่องจาก EU ต้องหาแหล่งพลังงานภายนอกสูงกว่าถึง 50%

  5. เป้าหมายด้านพลังงาน/สิ่งแวดล้อมเป้าหมายด้านพลังงาน/สิ่งแวดล้อม คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ได้จัดทำแผนงานด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อกำหนดมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานในระยะยาว โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนา EU ให้มีเศรษฐกิจทางพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงในเรื่องการมีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ ซึ่งผู้นำ EU ได้เห็นชอบในการประชุมวันที่ 8-9 มีนาคม 2550 และมีแผนงาน 2007-2009 เน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มการใช้พลังงานทดแทนภายในปี ค.ศ. 2020 ใน 4 ด้าน คือ

  6. เป้าหมายด้านพลังงาน/สิ่งแวดล้อม (ต่อ) แผนงาน 2007-2009ใน 4 ด้าน คือ 1. ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20% จากระดับปี ค.ศ. 1990 2. เพิ่มความมีประสิทธิภาพด้านพลังงานให้ได้ 20% 3. ใช้พลังงานทดแทนในอัตรา 20% ของการใช้พลังงานทั้งหมด 4. ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ 10% ของการใช้พลังงานทางด้านคมนาคม

  7. เป้าหมายด้านพลังงาน/สิ่งแวดล้อม (ต่อ) โดยมีมาตรการภายใต้แผนงานด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1. การดูแลให้ตลาดพลังงาน EU เสรี โปร่งใส และเป็นธรรม 2. การพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ปล่อยก๊าซคาร์บอนในปริมาณต่ำ เน้นการลงทุนด้านพลังงานที่มีประสิทธิภาพ พลังงานทดแทน พัฒนาเทคโนโลยีประหยัดพลังงานและใช้พลังงานสะอาดที่ส่งเสริมความปลอดภัยของพลังงานนิวเคลียร์

  8. เป้าหมายด้านพลังงาน/สิ่งแวดล้อม (ต่อ) มาตรการภายใต้แผนงานด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (ต่อ) 3. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะเน้นการผลักดันความร่วมมือด้านพลังงาน/สิ่งแวดล้อม ทั้งในกรอบพหุภาคีและทวิภาคี โดยให้ความสำคัญหลักกับรัสเซีย ประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศผู้ผลิตสำคัญ ประเทศที่อยู่ในเส้นทางขนส่งและประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่

  9. มาตรการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่ EU กำลังพิจารณา การพิจารณาร่างระเบียบการควบคุมการปล่อย ก๊าซ CO2 มี 2 ด้าน คือ 1. ร่างระเบียบขยายระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซ CO2 ให้ครอบคลุมการบิน ซึ่งหากมีผลบังคับใช้จะทำให้สายการบินที่บินภายใน EU และระหว่าง EU กับประเทศที่สามต้องเข้าระบบ ETS อย่างเร็วที่สุดภายในปี ค.ศ. 2011 และ ค.ศ. 2012 ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภายุโรป และประเทศสมาชิก

  10. มาตรการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่ EU กำลังพิจารณา การพิจารณาร่างระเบียบการควบคุมการปล่อย ก๊าซ CO2(ต่อ) 2. ร่างระเบียบควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซ CO2 ในรถยนต์รุ่นใหม่ โดยกำหนดให้ปล่อยได้ไม่เกิน 120 g/กม. ภายในปี ค.ศ. 2012

  11. มาตรฐานการจัดการพลังงานมาตรฐานการจัดการพลังงาน • ความเป็นมา • การดำเนินการของ ISO/PC 242 • การดำเนินการของประเทศไทย

  12. ความเป็นมา จากรายงานสรุปสำหรับผู้บริหารของ United Nations Industrial Development organization (UNIDO) รายงานว่า เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมในประเทศกำลังพัฒนามีการใช้พลังงานมากกว่า 50% และการใช้พลังงานส่งผลกระทบต่อการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก

  13. ความเป็นมา (ต่อ) ดังนั้น จึงมีการกำหนดนโยบายภายใต้โครงสร้างของกรอบงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (Industrial Standards Framework) ที่ออกแบบเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมองค์กรที่จำเป็นสำหรับประสิทธิภาพพลังงานที่ได้รับการยอมรับและมีความยั่งยืนต่อไป โดย กรอบงานมาตรฐานอุตสาหกรรม จะมีการเชื่อมโยงกันระหว่างระบบการจัดการพลังงานและประสิทธิภาพพลังงานของ ISO

  14. ความเป็นมา (ต่อ) โดย กรอบงานมาตรฐานอุตสาหกรรม ประกอบด้วย - target-setting agreements - an energy management standard - system optimization training and tools - capacity-building to create system optimization experts, now and in the future - a System Optimization Library to document and sustain energy efficiency gains - tax incentives and recognition

  15. ความเป็นมา (ต่อ) UNIDO จึงเริ่มพัฒนามาตรฐานการจัดการพลังงานระดับสากล โดยจัดประชุม Expert group meeting on Industrial System Optimization and Energy Management Standards ซึ่งมีผู้แทนจาก ISO เข้าร่วมประชุมด้วยในเดือนมีนาคม 2007 ซึ่งมีมติเห็นชอบให้นำเสนอ ISO พิจารณากำหนดมาตรฐานการจัดการพลังงานในระดับสากล

  16. ความเป็นมา (ต่อ) สถาบันมาตรฐานสหรัฐอเมริกา และสถาบันมาตรฐานบราซิลจึงเสนอ ISO ให้กำหนดมาตรฐานการจัดการพลังงานขึ้น และได้รับความเห็นชอบจากประเทศสมาชิก ดังนั้นISO จึงแต่งตั้ง ISO/PC 242 Energy Management ขึ้น เพื่อกำหนดมาตรฐานการจัดการพลังงาน

  17. ขอบข่ายของ ISO/PC 242 “การกำหนดมาตรฐานการจัดการพลังงานเกี่ยวกับประสิทธิภาพพลังงาน สมรรถนะพลังงาน การจ่ายพลังงาน วิธีปฏิบัติในการจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ และการใช้พลังงาน รวมถึงการตรวจวัดการใช้พลังงานในปัจจุบัน การดำเนินการตรวจวัด การรายงาน และการตรวจสอบความใช้ได้ในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง” การดำเนินการของ ISO/PC 242

  18. ISO/PC 242 กำหนดมาตรฐาน ISO 50001 โดยมีขอบข่ายของมาตรฐาน ISO 50001 ดังนี้“มาตรฐานนี้ระบุข้อกำหนดสำหรับระบบการจัดการพลังงาน ซึ่งองค์กรสามารถนำไปจัดระบบจนถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงาน และสมรรถนะพลังงานอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกองค์กร” การดำเนินการของ ISO/PC 242

  19. การดำเนินการของ ISO/PC 242 ISO/PC 242 ได้จัดประชุมเพื่อขอข้อคิดเห็นร่างมาตรฐาน ISO 50001 จากประเทศสมาชิก จำนวน 2 ครั้ง ได้แก่ • ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 8-10 กันยายน 2551 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา • ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 9-12 มีนาคม 2552 ณ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล โดย ISO/PC 242 มีแผนการกำหนดมาตรฐาน ISO 50001 ให้แล้วเสร็จภายในปี 2010

  20. การดำเนินการของ ISO/PC 242 PC 242 กำหนดแผนการกำหนดมาตรฐานดังนี้

  21. การดำเนินการของ ISO/PC 242 แผนการกำหนดมาตรฐาน (ต่อ)

  22. การดำเนินการของประเทศไทยการดำเนินการของประเทศไทย สมอ. ดำเนินการสมัครเป็น O-member เมื่อเดือนเมษายน 2551 และ P-member เมื่อเดือนกรกฎาคม 2551 จากนั้น สมอ. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการคณะที่ 1037 มาตรฐานการจัดการพลังงาน (กว.1037) เพื่อติดตามการกำหนดมาตรฐานการจัดการพลังงานของ ISO

  23. การดำเนินการของประเทศไทย (ต่อ) กว.1037ได้รับการแต่งตั้งตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ 31/2552 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2552 ประกอบด้วย • ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ 7 องค์กร • ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคผู้ประกอบการ 7 องค์กร • ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคนักวิชาการ 8 องค์กร

  24. การดำเนินการของประเทศไทย (ต่อ) กว.1037มีหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้ พิจารณากำหนดมาตรฐานการจัดการพลังงาน ให้ข้อคิดเห็นร่างมาตรฐานระหว่างประเทศ จัดทำร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการ จัดการพลังงาน ปฏิบัติงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง 7

  25. การดำเนินการของประเทศไทย (ต่อ) ISO เวียนขอข้อคิดเห็นร่างมาตรฐาน ISO/WD 50001 จากประเทศสมาชิกและ สมอ. ได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม นอกจากนี้ได้ส่งผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุม ISO/PC 242 จำนวน 2 ครั้ง ได้แก่ • ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 8-10 กันยายน 2551 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา • ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 9-12 มีนาคม 2552 ณ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล

  26. Thank you for your attention!!

More Related