1 / 101

คู่มือนักบัญชี

คู่มือนักบัญชี. ครูยุพา ภูมินรินทโชติ. ในสังคมทุกวันนี้ สำคัญที่สุดไม่ใช่ทรัพยากร แรงงาน หรือเงิน แต่เป็น “ ความรู้ ” ยุคนี้เป็นยุค “ สังคมความรู้ ” การจัดการความรู้และกระบวนการเรียนรู้จึงสำคัญที่สุด. การจัดกระบวนการเรียนรู้ สำหรับบุคคล คือ การช่วย ให้บุคคลค้นพบ และพัฒนาศักยภาพ

alyson
Download Presentation

คู่มือนักบัญชี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คู่มือนักบัญชี ครูยุพา ภูมินรินทโชติ

  2. ในสังคมทุกวันนี้ สำคัญที่สุดไม่ใช่ทรัพยากร แรงงาน หรือเงิน แต่เป็น “ความรู้” ยุคนี้เป็นยุค “สังคมความรู้”การจัดการความรู้และกระบวนการเรียนรู้จึงสำคัญที่สุด การจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับบุคคล คือ การช่วยให้บุคคลค้นพบและพัฒนาศักยภาพ ของตนเอง จนสามารถ “พึ่งพาตนเองได้”

  3. บุคคลเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้เพราะบุคคลเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้เพราะ • เป็นบุคคลที่พร้อมจะเรียนรู้ • ตัดสินใจได้อย่างเป็นอิสระ • จัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ • มีจรรยาบรรณในการจัดการตนเองและผู้เกี่ยวข้อง และมี • เครือข่ายกับบุคคลอื่น

  4. ความสัมพันธ์ การจัดการ การพึ่งตนเอง ความเชื่อมั่นในตนเอง การเรียนรู้

  5. คน การเรียนรู้ การจัดการ ศักยภาพ ความรู้ ทรัพยากร ประสบการณ์ การพัฒนา

  6. ปวส บัญชี ป.ตรี บัญชี นักวิชาชีพบัญชี 1.รู้กฎหมายบัญชี 3.รู้กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 4.ความรู้ทั่วไป 2.รู้กฎหมายภาษีอากร

  7. 1.กฎหมายบัญชี • พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 • พระราชบัญญิติวิชาชีพ พ.ศ.2547

  8. พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 •            เป็นพระราชบัญญัติที่กำหนดขึ้นเพื่อให้มีการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้เป็นไปตามความเป็นจริง ได้มาตรฐานการบัญชี และสอดคล้องกับหลักปฏิบัติสากล ซึ่งจะทำให้กิจการและบุคคลภายนอกได้ใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมั่นใจมากขึ้นกว่ากฎหมายฉบับเดิมที่ใช้อยู่ คือ ประกาศของคณะปฏิบัติ ฉบับที่ 285 ซึ่งได้ใช้บังคับมาตั้งแต่ปี 2515 ซึ่งเป็นเวลากว่า 27 ปี จึงทำให้มีหลักการเกี่ยวกับการทำบัญชีหลายประการในประกาศของคณะปฏิวัติ ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีสาระสำคัญของกฎหมาย ดังนี้

  9. พระราชบัญญัติการบัญชีพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543

  10. ขอบเขตเนื้อหา 1. ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี 1.1 ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีได้แก่ใครบ้าง 1.2 หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีอะไรบ้าง 2. ผู้ทำบัญชี 2.1 ผู้ทำบัญชีคือใคร 2.2 คุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีมีอะไรบ้าง 2.3 หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ทำบัญชีมีอะไรบ้าง 3. การจัดทำบัญชีให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี 4. บทกำหนดโทษ

  11. หลักในการจัดทำบัญชี 1.ถูกต้อง - ตามกฎหมายบัญชี (พ.ร.บ.การบัญชี พ.ศ.2543 - ตามหลักการบัญชี (มาตรฐานการบัญชี) 2.ครบถ้วน - ทุกรายการที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ ได้นำมาบันทึกบัญชี 3. เชื่อถือได้ - ต้องมีรายการเกิดขึ้นจริง - ต้องมีเอกสารหลักฐานสนับสนุนรายการ

  12. การจัดทำบัญชี การซื้อ/ขายสินค้า,บริการ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ 1.รายการค้า รวบรวมเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับสินค้า ใบสำคัญจ่าย 2.หลักฐาน/ข้อเท็จจริงทางการบัญชี วิเคราะห์รายการ บัญชีตามที่กฎหมายกำหนด 3.บันทึกรายการในบัญชี 4.งบการเงิน / รายงานทางการเงิน งบดุล งบกำไรขาดทุน ฯลฯ

  13. กำหนดผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ม.8 คือ ผู้มีหน้าที่จัดให้มีการทำบัญชี ประกอบด้วย ๏ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ๏บริษัทจำกัด ๏บริษัทมหาชนจำกัด ๏นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจ ในประเทศไทย ๏กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ๏สถานที่ประกอบธุรกิจเป็นประจำ ๏บุคคลธรรมดา , ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน ตามที่รัฐมนตรีประกาศ

  14. หน้าที่ของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหน้าที่ของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี การทำบัญชี เอกสารที่ต้อง ใช้ประกอบ การลงบัญชี เก็บรักษา บัญชีและ เอกสาร - ปิดบัญชี - งบการเงิน ผู้ทำบัญชี • จัดให้มีผู้ทำบัญชีที่มี • คุณสมบัติตาม • ม.7(6) และ - จัดให้มีการทำบัญชี ตามที่ ก.ม. กำหนด ม.8 และทำบัญชี ตาม ม.7(1)- (4) -ปิดบัญชีภายในเวลาที่ ก.ม. กำหนด ม.10 • จัดทำเอกสารฯ ตามที่ • ก.ม. กำหนด ม.7(4) - เก็บบัญชีฯ ณ สถานที่ ทำการ ม.13 • จัดทำและนำส่ง • งบการเงิน ต่อ • กรมทะเบียนการค้า • ภายในระยะเวลา • ที่กำหนด ม.11 - เก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี ม.14 • จัดให้มีผู้ทำบัญชี • ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ • พ.ร.บ. มีผลใช้บังคับ • (ขยายได้ไม่เกิน 1 ปี) • ม. 45 ๏ ชนิดของบัญชีที่ต้อง จัดทำ ๏ ข้อความและรายการ ที่ต้องมีในบัญชี ๏ ระยะเวลาที่ต้องลง รายการในบัญชี ๏ เอกสารที่ต้องใช้ ประกอบการลงบัญชี • ส่งมอบเอกสารฯ ให้ • ผู้ทำบัญชีให้ถูกต้อง • ครบถ้วน ม.12 - กรณีสูญหายให้แจ้ง ภายใน 15 วัน ม.15 - 16 (อาจสันนิษฐานได้ว่า มีเจตนาหากไม่ได้เก็บ ในที่ปลอดภัย/ ไม่ได้ ใช้ความระมัดระวัง) ๏ มีรายการย่อตามที่ ก.ม. กำหนด • ควบคุมดูแลผู้ทำบัญชี • ให้จัดทำบัญชีตรง • ต่อความจริงและ • ถูกต้อง ม.19 ๏ ตรวจสอบโดย ผู้สอบบัญชี รับอนุญาต - กรณีเลิก โดยมิได้ชำระ บัญชี ให้ส่งมอบภายใน 90 วัน ม.17 • เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่ได้รับ • การจดทะเบียน/วันเริ่มประกอบ กิจการ ม. 9

  15. ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ • บัญชีรายวัน • บัญชีแยกประเภท • บัญชีสินค้า • บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภทอื่น • บัญชีแยกประเภทย่อย

  16. บัญชีรายวัน • บัญชีเงินสด • บัญชีธนาคาร • บัญชีรายวันซื้อ • บัญชีรายวันขาย • บัญชีรายวันทั่วไป

  17. บัญชีแยกประเภท • บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้ ทุน • บัญชีแยกประเภทรายได้ และค่าใช้จ่าย • บัญชีแยกประเภทลูกหนี้ • บัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้

  18. เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี 1.เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยบุคคลภายนอก 2.เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี เพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอก 3. เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี เพื่อใช้ภายในกิจการ

  19. เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ต้องมีรายการ • ชื่อ หรือชื่อที่ใช้ในการประกอบธุรกิจของผู้จัดทำเอกสาร • ชื่อของเอกสาร • เลขที่ของเอกสาร และเล่มที่ (ถ้ามี) • วัน เดือน ปี ที่ออกเอกสาร • จำนวนเงิน

  20. เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี เพื่อออก ให้แก่ บุคคลภายนอก เพื่อเป็นหลักฐานในการรับชำระ รับฝาก รับเงิน หรือตั๋วเงิน ต้องมีรายการต่อไปนี้เพิ่มขึ้น • เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกิจการที่จัดทำเอกสาร • สถานที่ตั้งของกิจการที่จัดทำเอกสาร • รายละเอียดเกี่ยวกับการรับเงินหรือตั๋วเงิน • ชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ ราคาต่อหน่วย และราคาของสินค้าหรือ บริการแต่ละรายการ • ลายมือชื่อของผู้รับเงินหรือตั๋วเงิน

  21. เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี เพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอก เพื่อเป็นหลักฐานในการจำหน่าย จ่าย โอน ส่งมอบสินค้า หรือบริการ ต้องมีรายการต่อไปนี้เพิ่มขึ้น • เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกิจการที่จัดทำเอกสาร • สถานที่ตั้งของกิจการที่จัดทำเอกสาร • ชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ ราคาต่อหน่วย และราคาของสินค้าหรือบริการแต่ละรายการ • ชื่อ หรือชื่อที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ และชื่อยู่ของผู้ซื้อหรือผู้รับสินค้า หรือผู้รับบริการ • ลายมือชื่อผู้จัดทำเอกสาร • ลายมือชื่อผู้รับสินค้าหรือบริการ

  22. เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี เพื่อใช้ในกิจการ ต้องมีรายการ • คำอธิบายรายการ • วิธีการและการคำนวณต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดทำบัญชี (ถ้ามี) • ลายมือชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี หรือผู้ได้รับมอบหมาย ให้เป็นผู้อนุมัติรายการ

  23. รายละเอียด หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 บัญชีและการจัดทำบัญชี งบการเงิน เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี - วันเริ่มจัดทำบัญชี ( ม.9 ) - ปิดบัญชี (ม.10) - จัดทำบัญชีตามมาตรฐาน การบัญชี (ม.4, ม.12, ม.20, ม.43) - จัดทำงบการเงิน (ม.4, ม.11) - ประเภทของเอกสาร - รายการที่ต้องมีใน เอกสาร - มีรายการย่อของงบการเงิน ตามที่กำหนด (ม.11 วรรค 3) - ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ (ชนิดของบัญชีรายวันหรือบัญชี แยกประเภทที่ต้องทำ ) ม.7(1) - การสอบบัญชี (ม.11 วรรค 4) - การเก็บรักษาเอกสาร (ม. 13, ม.14) (สถานที่และระยะเวลา เก็บรักษา) - ยื่นงบการเงินต่อกรมทะเบียน การค้า (ม.11 วรรค 1) - ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ม.7(2) - เอกสาร - ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี ม.7(3) - สถานที่ - กำหนดเวลายื่น - ข้อปฏิบัติในการลงรายการในบัญชี (ม.21) - การเปลี่ยนรอบระยะเวลาบัญชี ม.10 (1) - การเก็บรักษาบัญชี (ม.13 , ม.14) (สถานที่และระยะเวลาเก็บรักษา)

  24. การจัดทำ และนำส่งงบการเงิน (ม.11) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน จัดทำ และยื่นงบการเงิน นิติบุคคลต่างประเทศภายใน 5 เดือน กิจการร่วมค้า นับแต่วันปิดบัญชี บริษัทจำกัด จัดทำ และยื่นงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ งบการเงินได้รับอนุมัติ จากที่ประชุมใหญ่

  25. - ประกาศกรมฯ ลงวันที่ 3 ส.ค.43 มีผลใช้บังคับ 10 ส.ค.44 คุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี ม. 7(6) ผู้ทำบัญชี ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่ว่าจะได้กระทำในฐานะเป็นลูกจ้างของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี หรือไม่ก็ตาม ม. 4 วรรค 4 บุคคลอื่นๆที่ รับผิดชอบทำบัญชี พนักงานของ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ผู้ให้บริการ รับทำบัญชี ผู้ช่วย ผู้ทำบัญชี -กรณีผู้ทำบัญชี รับงานเกิน 100 ราย -ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี ผู้รับจ้าง ทำบัญชีอิสระ สำนักงาน - สมุห์บัญชี -หัวหน้าแผนกบัญชี -หัวหน้าสำนักงาน -ผู้ดำรงตำแหน่ง ที่เรียกชื่อ อย่างอื่นซึ่งมีหน้าที่ รับผิดชอบเช่นเดียวกับ ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว -ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่ง รับผิดชอบด้านบริการ รับทำบัญชี -ผู้ประกอบ วิชาชีพ -กรรมการ

  26. คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้ทำบัญชี (ม. 7(6)) คุณสมบัติ เงื่อนไข มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็น ผู้ทำบัญชี ได้ แจ้งรายละเอียดตามแบบ ส.บช. 5 และส.บช. 5-1 ภายใน 60 วัน นับจาก ไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายบัญชี กฎหมายผู้สอบบัญชี เว้นแต่พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี วันที่ประกาศมีผลบังคับใช้(10 สิงหาคม 2544) กรณีทำบัญชีอยู่แล้ว วันเริ่มทำบัญชี มีคุณสมบัติ (คุณวุฒิการศึกษา) ตามขนาดธุรกิจที่ กำหนดแต่ละกลุ่ม วันที่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี เข้าอบรมความรู้เกี่ยวกับบัญชี ตามที่กำหนด ( 1 ครั้ง ทุก 3 ปี ) อย่างต่ำบัญชีบัณฑิต หรือเทียบเท่า สำหรับทุกธุรกิจ ต้องรับทำบัญชีไม่เกิน 100 ราย หากเกินจะต้องมี ผู้ช่วยที่มีคุณวุฒิเพิ่มอีก 1 คน ทุก 100 รายที่เพิ่มขึ้น (เศษของ 100 ถ้าเกิน 50 ให้นับเป็น 100 ) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(การบัญชี) สำหรับ ธุรกิจที่มี - ทุน ไม่เกิน 5 ล้านบาท - รายได้รวม ไม่เกิน 30 ล้านบาท - สินทรัพย์รวม ไม่เกิน 30 ล้านบาท

  27. คุณวุฒิของผู้ทำบัญชี ม. 7 (6) คุณวุฒิผู้ทำบัญชี กลุ่ม ประเภท 1 บุคคลธรรมดาทำเอง- ไม่กำหนดคุณสมบัติ จ้าง - มีคุณวุฒิเช่นเดียวกับกลุ่ม 3,4 2 ห้างหุ้นส่วนไม่จดทะเบียน ต้องมีคุณวุฒิเช่นเดียวกับกลุ่ม 3,4 3 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัด ที่มี ปวส. (บัญชี) - ทุน ไม่เกิน 5 ล้านบาท อนุปริญญา (บัญชี) - สินทรัพย์รวม ไม่เกิน 30 ล้านบาท - รายได้รวม ไม่เกิน 30 ล้านบาท 4 - ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน อย่างต่ำปริญญาตรี (บัญชี) - บริษัทจำกัด - บริษัทมหาชนจำกัด - นิติบุคคลต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย - กิจการร่วมค้า - สถาบันการเงิน - ประกันภัย, ประกันชีวิต - ธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI ทุน ,สินทรัพย์ ,รายได้ มากกว่ากลุ่มที่ 3

  28. หน้าที่ของ “ ผู้ทำบัญชี ” ลงรายการบัญชีเป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษา ต่างประเทศ ให้มีภาษาไทย กำกับ หรือลงรายการเป็นรหัสบัญชีให้มีคู่มือคำแปล รหัสบัญชีที่เป็นภาษาไทยไว้ {ม.21(1)} เขียนด้วยหมึก ดีดพิมพ์ หรือตีพิมพ์ หรือทำด้วยวิธีอื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน {ม.21(2)} จัดทำบัญชีเพื่อให้แสดง ผลการดำเนินงานฐานะ การเงิน หรือการ เปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของ“ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ” ที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ ถูกต้องครบถ้วน (ม. 20)

  29. บทกำหนดโทษ หมวด 5 ม.27-41 • มีโทษผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี หรือผู้ทำบัญชีโดยเฉพาะ • โทษ ทั้งปรับ ทั้งจำ และรุนแรงขึ้น • อธิบดีฯ มีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ กรณีการกระทำผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว หรือโทษปรับและ จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน (ม.41)

  30. การจัดทำงบการเงินให้เป็นไปตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าการจัดทำงบการเงินให้เป็นไปตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

  31. ธุรกิจตาม พ.ร.บ.การบัญชี พ.ศ. 2543 ที่ต้องจัดทำและนำส่งงบการเงิน • ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน • บริษัทจำกัด • บริษัทมหาชนจำกัด • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ • กิจการร่วมค้า (มาตรา 11)

  32. งบการเงินในที่นี้หมายถึง : 1. งบดุล 2. งบกำไรขาดทุน 3. งบใดงบหนึ่งดังต่อไปนี้ 3.1 งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ 3.2 งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ 4. งบกระแสเงินสด 5. นโยบายการบัญชีและหมายเหตุประกอบงบการเงิน

  33. พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 มาตรา 11 วรรค 3 “ งบการเงินต้องมีรายการย่อตามที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี ”

  34. กรมทะเบียนการค้าได้ออกประกาศ เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2544 ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน 2544 กำหนดรายการย่อ เฉพาะธุรกิจทั่วไป 5 แบบ ดังนี้ - ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน แบบที่ 1 - บริษัทจำกัด แบบที่ 2 - บริษัทมหาชนจำกัด แบบที่ 3 - นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ แบบที่ 4 - กิจการร่วมค้า แบบที่ 5

  35. 1. เป็นการกำหนดเฉพาะรายการย่อ คำอธิบายรายการย่อไม่อยู่ใน กฎหมาย แต่จัดทำเป็นคำชี้แจง

  36. 2. เป็นการกำหนดรายการย่อในงบการเงินของ ธุรกิจทั่วไป สำหรับธุรกิจที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนด เพิ่มเติมจากรายการย่อ ก็ให้ใช้รายการย่อตามที่กำหนดในกฎหมายเฉพาะนั้น เช่น ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ สถาบันการเงิน ประกันภัย ธุรกิจหลักทรัพย์

  37. 3. กรณีที่มาตรฐานการบัญชีกำหนด ให้มีการแสดงรายการย่อ นอกเหนือ จากที่กำหนดก็ต้องแสดงรายการนั้น เพิ่มเติม

  38. 4. หากมีรายการที่ต้องการแสดงนอกเหนือจาก รายการย่อที่กฎหมายหรือมาตรฐานการบัญชี ที่กำหนดก็ให้แสดงรายการนั้นๆ ได้ตามความ จำเป็นและเหมาะสม แต่ต้องแสดงรายการให้ ถูกต้องตามประเภท ลักษณะของสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้หรือค่าใช้จ่าย

  39. 5. ประเภทของงบการเงินที่กำหนด ให้จัดทำ มีดังนี้

  40. ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี งบการเงินต้องมีรายการย่อตามแบบ งบการเงินที่ต้องจัดทำ งบดุล งบกำไรขาดทุน งบที่ระบุชื่อหรืองบกำไรขาดทุนแบบเบ็ดเสร็จ (งบใดงบหนึ่ง) งบกระแสเงินสด หมายเหตุประกอบงบการเงิน 1.หหส. จดทะเบียน 1   - -  2.บจก. 2   งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น -  3.บมจ. 3     4.นิติบุคคลตั้งตามกม. ตปท. ที่ประกอบธุรกิจในไทย 4   งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของสำนักงานใหญ่ -  5.กิจการร่วมค้าตามประมวลฯ 5   งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ร่วมค้า -  ประกาศกรมทะเบียนการค้า:กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน • งบตามแบบ 1 เป็นงบการเงินปีเดียว  งบตามแบบ 2 – 5 เป็นงบการเงินเปรียบเทียบ 2 ปี • งบตามแบบ 3 เป็นงบการเงินรวมและงบเฉพาะบริษัท

  41. ประกาศกรมทะเบียนการค้าประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. 2544 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 (1) (2) (3) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมรในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. 2544” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

  42. หมวด 1 ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อ 3 ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัท จำกัด บริษัทมหาชน จำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรต้องจัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ โดยต้องจัดทำให้ครบถ้วนถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี (1) บัญชีรายวัน (ก) บัญชีเงินสด (ข) บัญชีธนาคาร แยกเป็นแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร (ค) บัญชีรายวันซื้อ (ง) บัญชีรายวันขาย (จ) บัญชีรายวันทั่วไป

  43. (2) บัญชีแยกประเภท (ก) บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน (ข) บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย (ค) บัญชีแยกประเภทลูกหนี้ (ง) บัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ (3) บัญชีสินค้า (4) บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภทอื่น และบัญชีแยกประเภทย่อย ตามความจำเป็นแก่การทำบัญชีของธรกิจ

  44. หมวด 2 ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ข้อ 4 ปกด้านหน้าของสมุดบัญชี หรือแผ่นหน้าของบัญชีกรณีที่บัญชีเป็นแผ่น ต้องมี ข้อความดังต่อไปนี้ (1) ชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ในกรณีที่มีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่นิติบุคคลจะใช้ชื่อ ทางการค้าก็ได้ (2) ชนิดของบัญชี (3) ลำดับเล่มบัญชีแต่ละชนิดให้ใช้ตัวเลขไทยหรืออารบิค ถ้าบัญชีแต่ละชนิดมีมากกว่าหนึ่งเล่ม ต้องเรียงลำดับเล่มต่อเนื่องกัน

  45. ข้อ 5 บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท และบัญชีสินค้าต้องมีข้อความและรายการในบัญชี ดังต่อไปนี้ (1) ชื่อบัญชี วัน เดือน ปี เลขที่ของเอกสารประกอบการลงบัญชีหรือหน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิง รายการบัญชี และจำนวนเงิน (2) หน้าบัญชีต้องมีตัวเลขไทยหรืออารบิคเรียงลำดับทุกหน้า (3) รายการในบัญชีที่เป็นจำนวนเงินต้องเป็นหน่วยเงินตราไทย

  46. ข้อ 6 บัญชีแต่ละชนิดดังต่อไปนี้ นอกจากต้องมีรายการตามที่กำหนดไว้ใน ข้อ 5 แล้ว ต้องมีรายการต้อไปนี้ด้วย (1) บัญชีเงินสด หรือบัญชีธนาคาร ให้มีรายละเอียดการได้มาหรือจ่ายไปซึ่งเงินสด เงินในธนาคาร แต่ถ้ามีรายละเอียดดังกล่าวในเอกสารในเอกสารประกอบการลงบัญชีหรือบัญชีรายวันชนิดหนึ่งชนิดใดแล้ว จงลงรายการรับหรือจ่ายเงินประเภทเดียวกันเป็นยอดรวมก็ได้ (2) บัญชีรายวันซื้อหรือบัญชีรายวันขาย ให้มีรายละเอียด ชนิด ประเภท จำนวน และ ราคาของสินค้าหรือบริการที่ซื้อขาย แต่ถ้ามีรายละเอียดดังกล่าวในเอกสารประกอบการลงบัญชี หรือทะเบียนใดแล้ว จะลงรายการซื่อหรือขายสินค้าหรือบริการนั้นเป็นยอดรวมก็ได้ (3) บัญชีรายวันทั่วไป ให้มีคำอธิบายรายการบัญชี

  47. (4) บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน ให้มีรายละเอียดเพิ่มขึ้นหรือ ลดลงของสินทรัพย์ หนี้สินและทุน โดยให้อ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิงด้วย (5) บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่ายให้มีรายละเอียดที่มาแห่งรายได้หรือ ค่าใช้จ่าย โดยอ้างอิงชนิดของบัญชีและหน้าที่บัญชีหรือรหัสที่อ้างอิงด้วย (6) บัญชีแยกประเภทลูกหนี้หรือบัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ การแสดงรายการบัญชีให้มีรายละเอียดการก่อหนี้หรือระงับหนี้ การลงรายการดังกล่าวให้อ้างชนิดของบัญชีและหน้าที่บัญชีหรือรหัสบัญชีด้วย (7) บัญชีสินค้า ให้มีชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ รายละเอียดการได้มาหรือจำหน่ายไป ซึ่งสินค้า และจำนวนสินค้านั้น

  48. หมวด 3 เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ข้อ 8 เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ได้แก่ บันทึกหนังสือ หรือเอกสารใด ๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชีซึ่งแยกได้เป็น 3 ประเภท คือ (1) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยบุคคลภายนอก (2) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี เพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอก (3) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อใช้ในกิจการของตนเอง

  49. ข้อ 9 เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีตามข้อ 8 ทุกประเภทต้องมีรายการดังต่อไปนี้ และมีรายการตามที่กำหนดไว้ในข้อ 10 (1) หรือ (2) หรือ ข้อ 11 ตามแต่ประเภทเอกสารที่ต้องใช้ ประกอบการลงบัญชีด้วย (1) ชื่อของผู้จัดทำเอกสารซึ่งอาจใช้ชื่อที่ใช้ในการประกอบธุรกิจของผู้จัดทำเอกสาร ก็ได้ (2) ชื่อของเอกสาร (3) เลขที่ของเอกสาร และเล่มที่ (ถ้ามี) (4) วัน เดือน ปี ที่ออกเอกสาร (5) จำนวนเงินรวม

  50. ข้อ 10 ถ้าเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีเป็นเอกสารตามข้อ 8 (2) ต้องมีรายการตามที่กำหนดไว้ใน (1) หรือ (2) ด้วยและแต่กรณี คือ (1) ในกรณีที่เป็นเอกสารเพื่อเป็นหลักฐานในการรับเงิน รับฝากเงิน รับชำระเงินหรือ ตั๋วเงินต้องมีรายการต่อไปนี้ (ก) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกิจการที่จัดทำเอกสาร (ข) สถานที่ตั้งของกิจการที่จัดทำเอกสาร (ค) รายละเอียดเกี่ยวกับการรับเงินหรือตั๋วเงิน (ง) ชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ และราคารวม ของสินค้าหรือบริการแต่ละบริการ เว้นแต่ได้ระบุรายละเอียดดังกล่าวไว้ในเอกสารตาม (2) (ค) แล้ว (จ) ลายมือชื่อของผู้รับเงินหรือตั๋วเงิน เว้นแต่เป็นเอกสารที่จัดทำและส่งมอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมืออื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน

More Related