1 / 97

ระบบการดำเนินคดีอาญา

ระบบการดำเนินคดีอาญา. การดำเนินคดีอาญาระบบไต่สวน และระบบกล่าวหา ระบบไต่สวน ไม่มีการแยกองค์กรที่ทำหน้าที่สอบสวนฟ้องร้อง กับหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีออกจากกัน ผู้ถูกดำเนินคดีไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิ (ผู้ถูกดำเนินคดีเป็นกรรมคดี).

amos-guzman
Download Presentation

ระบบการดำเนินคดีอาญา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบการดำเนินคดีอาญา • การดำเนินคดีอาญาระบบไต่สวน และระบบกล่าวหา ระบบไต่สวน ไม่มีการแยกองค์กรที่ทำหน้าที่สอบสวนฟ้องร้อง กับหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีออกจากกัน ผู้ถูกดำเนินคดีไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิ (ผู้ถูกดำเนินคดีเป็นกรรมคดี)

  2. ระบบกล่าวหามีการแยกองค์กรที่ทำหน้าที่สอบสวนฟ้องร้อง กับหน้าที่พิจารณาพิพากษาออกจากกัน ผู้ถูกดำเนินคดีได้รับความคุ้มครอง ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนการพิจารณาที่ไม่ชอบ และมีสิทธิอย่างเต็มที่ที่จะต่อสู้คดี(ผู้ถูกดำเนินคดีถูกยกขึ้นให้เป็นประธานแห่งคดี)

  3. ประเภทของคดีอาญา คดีความผิดต่อส่วนตัว (ความผิดอันยอมความได้) ความผิดที่เกิดขึ้นแล้ว มีผลกระทบต่อบุคคลที่ถูกกระทำเท่านั้น ส่วนบุคคลอื่น(รัฐ)ไม่ได้รับความเสียหายด้วย

  4. คดีความผิดอาญาแผ่นดินคดีความผิดอาญาแผ่นดิน ความผิดที่เกิดขึ้นแล้ว นอกจากจะมีผลกระทบต่อ ผู้ถูกกระทำแล้วยังส่งผลกระทบต่อรัฐด้วย

  5. ลักษณะของการกระทำผิด

  6. ความสำคัญ 1.ใครเป็นผู้มีสิทธิดำเนินคดี ? ( ผู้เสียหาย ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดต่อส่วนตัว บุคคลที่นำคดีมาสู่ กระบวนการ จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำ ความผิดนั้น เท่านั้น ป.วิ.อ. ม. 2(7) “คำร้องทุกข์” หมายความถึง การที่ ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้ว่ามีผู้กระทำความผิดเกิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระผิดหรือไม่ ก็ตาม...”

  7. ป.วิ.อ. ม. 28 “บุคคลเหล่านี้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล (1) พนักงานอัยการ (2) ผู้เสียหาย”

  8. คำพิพากษาฎีกาที่ 87/2506 (ญ) ผู้รับฝากเงินมีอำนาจ เอาเงินที่รับฝากไปใช้จ่ายได้ และมีหน้าที่คืนเงินแก่ผู้ฝาก ให้ครบจำนวน ฉะนั้น การที่ผู้รับฝากจ่ายเงินให้จำเลยไป เพราะถูกจำเลยหลอกลวง ต้องถือว่าผู้รับฝากเป็นผู้เสียหาย ส่วนผู้ฝากไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์ เมื่อปรากฏว่า ผู้รับฝากไม่ได้ร้องทุกข์ ผู้ว่าคดี(อัยการ)ไม่มีอำนาจฟ้อง ในความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 (ความผิดต่อส่วนตัว)

  9. 2. ความผิดต่อส่วนตัว มีอายุความร้องทุกข์ภายในกำหนด เวลา 3 เดือนนับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิด ตาม ป.อ. มาตรา 96 ป.อ. ม. 96 “ภายใต้บังคับมาตรา 95 ในกรณีความผิด อันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอัน ขาดอายุความ”

  10. คำพิพากษาฎีกาที่ 239/2523 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลย บุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืน แต่ขอให้ลงโทษตาม ม. 362, 364 ซึ่งเป็นบทความผิดอันยอมความได้โดยมิได้ร้องทุกข์ภาย ในกำหนด 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำ ความผิดคดีโจทก์จึงขาดอายุความ

  11. ลักษณะการดำเนินคดีอาญาลักษณะการดำเนินคดีอาญา 1. การดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ 2. การดำเนินคดีอาญาโดยเอกชน

  12. 1. การดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ ราชทัณฑ์ ฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ ผู้เสียหาย อัยการ ศาล คุมประพฤติ ผู้เสียหาย สถานพินิจและ คุ้มครองเด็ก

  13. 1. การดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ ราชทัณฑ์ ฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ ผู้เสียหาย อัยการ ศาล คุมประพฤติ ผู้เสียหาย สถานพินิจและ คุ้มครองเด็ก

  14. 2. การดำเนินคดีอาญาโดยเอกชน ฟ้อง ศาล ผู้เสียหาย

  15. ผู้เสียหาย ป.วิ.อ. ม.2(4) “บุคคลผู้ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6” ผู้เสียหาย จึงมี 2 ประเภท 1. ผู้เสียหายที่แท้จริง 2. ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย

  16. 1. ผู้เสียหายที่แท้จริง หมายถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหาย อันเนื่องมาจาก การกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่ง(โดยตรง) 2. ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย หมายถึง บุคคลที่ไม่ใช่ผู้เสียหายที่แท้จริง แต่กฎหมาย ให้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายที่แท้จริงได้

  17. หมายเหตุ ยังมีบุคคลประเภทหนึ่งที่มีอำนาจจัดการแทน ผู้เสียหายที่แท้จริงได้ ซึ่งได้แก่ ผู้รับมอบอำนาจ ให้ดำเนินคดีอาญา ซึ่งอาจจะรับมอบอำนาจจาก ผู้เสียหายที่แท้จริง หรือ จากผู้มีอำนาจจัดการ แทนผู้เสียหาย ก็ได้

  18. หลักเกณฑ์การพิจารณาการเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงหลักเกณฑ์การพิจารณาการเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง การพิจารณาว่าบุคคลใดจะผู้เสียหายที่แท้จริงหรือไม่ จะต้องพิจารณาจากหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1. มีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น ให้พิจารณาว่าการกระทำนั้น เป็นการกระทำที่กฎหมาย บัญญัติว่าเป็นความผิดทางอาญา หรือไม่

  19. มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดอาญามีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดอาญา อาจมีผู้เสียหายที่แท้จริง ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดอาญา ไม่มีผู้เสียหาย ความรับผิดทางแพ่ง(อาจมี) กฎหมายสารบัญญัติ (ประมวลกฎหมายอาญา และพ.ร.บ. ที่มีโทษทางอาญาอื่นๆ)

  20. 2. บุคคลนั้นได้รับความเสียหายอันเนื่องจากการกระทำ ความผิดนั้น การพิจารณาว่า บุคคลซึ่งกำลังพิจารณานั้นเป็นผู้ได้รับ ความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดหรือไม่

  21. เป็นผู้ได้รับความเสียหายเป็นผู้ได้รับความเสียหาย อาจเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง ไม่เป็นผู้ได้รับความเสียหาย อาจเป็นผู้ได้รับความเสียหายทางแพ่ง (ม.420)

  22. ดร.คณิต ณ นคร ให้พิจารณาจากคุณธรรมของกฎหมาย ในเรื่องนั้นๆว่ามีวัตถุประสงค์ที่มุ่งจะคุ้มครองสิทธิของบุคคลใด บุคคลซึ่งเป็นเจ้าของ สิ่งที่กฎหมายมุ่งประสงค์จะคุ้มครอง คือ ผู้ได้รับความเสียหาย เช่น ก. ใช้ปืนยิง ข. หนึ่งนัด ถูกต้นขาแต่ไม่ถูกอวัยวะสำคัญ รักษา 30 วันก็หายเป็นปกติ

  23. การกระทำของ ก. เป็นการกระทำความผิดต่อชีวิต ร่างกาย คุณธรรมทางกฎมายของความผิดดังกล่าว ได้แก่ 1. เจ้าของชีวิต และร่างกาย 2. ความสงบสุขของประชาชน

  24. นาย ก. ยืมรถของนาย ข. ไปซื้อตั๋วรถที่สถานีรถไฟ ระหว่างจอดรถเพื่อลงไปซื้อตั๋ว นาย ค. ได้ลักรถคันดังกล่าวไป นาย ก. เข้าแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เช่นนี้ นาย ก. มีอำนาจเข้าแจ้งความหรือไม่ มีการการะทำผิดอาญาหรือไม่ ตอบ มี ความผิดฐานลักทรัพย์

  25. ใครเป็นผู้ได้รับความเสียหาย ใครเป็นผู้ได้รับความเสียหาย

  26. การที่จะพิจารณาว่ากฎหมายใดมีคุณธรรมทางกฎหมายใน การที่จะพิจารณาว่ากฎหมายใดมีคุณธรรมทางกฎหมายใน เรื่องใด อาจพิจารณาจากลักษณะของกฎหมายได้ดังนี้ ก. ถ้าบทบัญญัติของกฎหมายเรื่องใดมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครอง สิทธิของบุคคลใด บุคคลนั้น คือ ผู้เสียหายเช่น ชีวิต ร่างกาย อนามัย ชื่อเสียง ทรัพย์สิน เสรีภาพ อนึ่ง“บุคคล”ในที่นี้อาจเป็นเอกชน หรือรัฐก็ได้

  27. ข. ถ้าบทบัญญัติของกฎหมายเรื่องใดมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองรัฐ หรือเจ้าพนักงานของรัฐโดยเฉพาะ โดยปกติถือว่ารัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ยกเว้นเอกชนคนหนึ่งคนใดจะได้รับความเสียหายเป็น พิเศษจากการกระทำความผิดนั้นเอกชนนั้นก็สามารถเป็นผู้เสียหาย ในความผิดนั้นได้ เช่น ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ความผิดต่อตำแหน่งหน้า ที่ราชการ ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา เป็นต้น

  28. คำพิพากษาฎีกาที่ 227/2531 จำเลยเป็นเจ้าพนักงานกระทำต่อ หน้าที่ราชการในการปลอมแปลงพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองแล้ว นำไปใช้ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรมฉบับที่แท้จริงได้รับความ เสียหายโจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย ความผิดฐานเจ้าพนักงานปลอมเอกสาร ม.161 เป็นความผิด ต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ มีวัตถุประสงค์คุ้มครองรัฐ ดังนั้นปกติถือว่า รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย แต่การปลอมพินัยกรรมยัง มีผลกระทบต่อโจทก์ ซึ่งเป็น ทายาทในฉบับที่แท้จริงด้วย ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย

  29. ทำไม ? • กฎหมายกำหนดว่า ถ้าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมหลายฉบับมีข้อความขัดกัน ให้ถือว่าพินัยกรรมฉบับเก่าถูกเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลัง (ม.1697) • ดังนั้นการการทำพินัยกรรมปลอมจึงมีผลกระทบต่อโจทก์ เพราะจะทำให้ถูกเพิกถอนสิทธิในการรับมรดกโดยกฎหมายดังกล่าว

  30. ค. ถ้าบทบัญญัติของกฎหมายเรื่องใดกำหนด หรือจำกัดมิให้กระทำ การใดเพื่อประโยชน์ในทางปกครอง การฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ปัจเจกชนไม่ถือว่าเป็นผู้เสียหาย เช่น ความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืน พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น นาย ก. ขับรถด้วยความประมาทชน นาย ข. ได้รับบาดเจ็บสาหัส ปรากฏรถที่ นาย ก. ขับ ไม่มี พ.ร.บ. ประกัน บุคคลที่ 3 และ นาย ก. ก็ไม่มีใบอนุญาต ขับรถด้วย

  31. มีการกระทำผิดกฎหมายอาญาหรือไม่ มี 1. กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับ อันตรายสาหัส ป.อ. ม. 2. ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์หรือผู้อื่น ได้รับความเสียหาย พ.ร.บ.จราจรทางบก 3. ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาต พ.ร.บ. จราจรทางบก 4. ขับรถที่ไม่มี พ.ร.บ.ประกันบุคคลที่ 3

  32. 3. บุคคลนั้นเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย การที่จะถือว่าบุคคลใดเป็นผู้เสียหายในความ ผิดฐานใดหรือไม่ มิได้พิจารณาเพียงแต่ว่าได้มีการกระทำ อันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด และบุคคลนั้นเป็นผู้ ได้รับความเสียหายอันเนื่องจากการกระทำความผิดเท่านั้น แต่บุคคลนั้นจะต้องมีฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย ด้วย กล่าวคือจะต้องมิได้เป็นผู้เสียหายซึ่งมีลักษณะหนึ่งลักษณะ ใดดังต่อไปนี้

  33. ก. ผู้เสียหายที่มีส่วนในการกระทำความผิด คำพิพากษาฎีกาที่ 1604/2508 โจทก์จำเลยต่างขับรถโดย ประมาท เป็นเหตุให้รถชนกันและโจทก์ ได้รับบาดเจ็บนั้น เมื่อโจทก์เป็นผู้กระทำการโดยประมาทโจทก์จึงมีส่วนในการ กระทำผิดทางอาญาด้วย โดยนิตินัยถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้เสีย หายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา2(4)

  34. ข. ผู้เสียหายที่ยินยอมสมัครใจกระทำความผิดนั้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2481,643/2486 กู้ทำสัญญา ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้เกินอัตราในกฎหมายโดยสมัครใจผู้กู้ไม่ เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษผู้ให้กู้ตาม พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ คำพิพากษาศาลฎีกาที่577/2496,1828-1829/2497ผู้สมัครใจ เข้าวิวาททำร้ายกันจะมาฟ้องคู่วิวาทฐานทำร้ายร่างกายไม่ได้ เพราะไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย

  35. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2510ผู้ตายกับจำเลยสมัครใจ ชกมวยพนันเอาเงินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต จะถือว่าฝ่ายใดฝ่าย หนึ่งเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายไม่ได้ บิดาของผู้ตายย่อม ไม่มีอำนาจ ฟ้องคดีแทนผู้ตาย

  36. ค. ผู้เสียหายที่ร่วมกระทำผิด หรือใช้ให้กระทำผิด คำพิพากษาศาลฎีกาที่955/2502หญิงยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ถือว่าหญิงนั้นมีส่วนร่วมในการกระทำผิดด้วย จึงมิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) แม้หญิงนั้นจะถึงแก่ความตาย บิดาของหญิงนั้นก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องผู้ทำให้หญิงแท้ลูกได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2524ผู้เสียหายใช้ให้ จำเลยนำเงินไปซื้อสลากกินรวบอันเป็นความผิด จึงไม่ใช่ผู้เสีย หายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกงได้

  37. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638-1640/2523 จำเลยหลอกลวง ผู้เสียหายว่า จำเลยสามารถนำบุตรชายผู้เสียหายเข้าโรงเรียน นายสิบทหารบกได้โดยสอบคัดเลือกพอเป็นพิธีเท่านั้น และ เรียกเงินเพื่อนำไปให้คณะกรรมการเพื่อช่วยบุตรผู้เสียหาย ให้เข้าเรียนได้ ผู้เสียหายหลงเชื่อมอบเงินให้จำเลยไป ถือว่า ผู้เสียหายได้ร่วมกับ จำเลยนำสินบนไปให้เจ้าพนักงาน ผู้เสียหายจึงมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย

  38. ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย ผู้มีอำนาจัดการแทนผู้เสียหายตามกฎหมายมี 3 กรณี 1. ผู้มีอำนาจจัดการแทนตามมาตรา 4 วรรค 2 2. ผู้มีอำนาจจัดการแทนตามมาตรา 5 3. ผู้มีอำนาจจัดการแทนตามมาตรา 6

  39. อำนาจของผู้มีอำนาจจัดการแทน ป.วิ.อ. ม. 3 ผู้มีอำนาจจัดการแทนมีอำนาจจัดการเรื่องต่อ ไปนี้ แทนผู้เสียหายที่แท้จริงได้ ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ • ร้องทุกข์ • เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา หรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนัก • งานอัยการ • เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา • ถอนฟ้องคดีอาญา หรือคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา • ยอมความในคดีความผิดต่อส่วนตัว

  40. หมายเหตุ แม้ว่า ผู้มีอำนาจจัดการแทนจะมีอำนาจจัดการในกิจการข้างต้น แทนผู้เสียหายที่แท้จริงได้ แต่จะจัดการในทางที่ขัดกับความ ประสงค์อันแท้จริงของผู้เสียหายไม่ได้

  41. 1. ผู้มีอำนาจจัดการแทนตามมาตรา 4 วรรค 2 “สามีมีสิทธิฟ้องคดีแทนภริยาได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตโดยชัดแจ้งจากภริยา” 1. ในกรณีที่ผู้เสียหายที่แท้จริงเป็นหญิงมีสามี หญิงมีสิทธิ ที่จะดำเนินคดีอาญาได้เอง ไม่ว่าคดีนั้นจะเกี่ยวข้องกับสินสมรส หรือไม่

  42. 2. (หลัก) สามี มีอำนาจที่จะจัดการกิจการต่างๆตาม ม. 3 แทนภริยาได้ • ป.วิ.อ. ม. 3 “ผู้มีอำนาจจัดการแทนมีอำนาจจัดการเรื่องต่อ • ไปนี้ แทนผู้เสียหายที่แท้จริงได้ ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ • ร้องทุกข์ • เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา หรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนัก • งานอัยการ • 3. เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา • 4. ถอนฟ้องคดีอาญา หรือคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา • 5. ยอมความในคดีความผิดต่อส่วนตัว”

  43. ยกเว้นแต่ ในเรื่องการฟ้องคดีซึ่งจะต้องได้รับอนุญาต โดยชัดแจ้งจากภริยาเสียก่อน จึงจะจัดการได้ 3. การอนุญาตให้ฟ้องคดี จะกระทำด้วยวิธีใดๆก็ได้โดย กฎหมายไม่ได้กล่าวว่าต้องอนุญาตเป็นหนังสือ เพราะฉะนั้นก็ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือจะอนุญาตด้วยวาจา ก็ได้

  44. 4. ภริยาสามารถอนุญาตให้สามีฟ้องคดีแทนตามมาตรา 4 วรรค 2 ได้ทุกลักษณะความผิด “สามีมีสิทธิฟ้องคดีแทนภริยาได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตโดยชัดแจ้งจากภริยา” ป.วิ.อ. มาตรา 5(2) “ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ความผิด อาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัด การเองได้”

  45. 5. สามีที่จะมีสิทธิฟ้องคดีแทนภริยา หมายถึง สามีที่ได้จด ทะเบียนสมรสกับภริยา โดยไม่ต้องพิจารณาผลของการสมรสว่า จะมีผลประการใด และแม้ว่าการกระทำความผิดต่อหญิงจะเกิดขึ้นก่อนการ จดทะเบียนสมรส สามีก็มีอำนาจจัดการแทนภริยาได้

  46. 6. ในกรณีที่สถานะภาพการเป็นสามีภริยาได้สิ้นสุดลง อำนาจการจัดการของสามีแทนภริยา ตามมาตรา 4 วรรค 2 และมาตรา 3 เป็นอันสิ้นสุดลง เพราะ ฐานะของการเป็นสามีภริยา สิ้นสุดลงแล้ว ย่อมเป็นเหตุ ให้อำนาจจัดการแทน สิ้นสุดลงด้วย อาทิเช่น ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 หรือ มีการหย่า

  47. ดู ม.29 ว.2 ตัวอย่างเช่น นางแดง ถูกนายดำยักยอกทรัพย์ นางแดงอนุญาต ให้นายขาวสามีฟ้องคดีแทนระหว่างดำเนินคดีในชั้นศาล นางแดง ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย เช่นนี้ นายขาวสามารถที่จะดำเนิน คดีต่อไปได้จนเสร็จสิ้นได้ หรือไม่

  48. แต่ถ้านายขาวยังไม่ได้ฟ้องคดี นางแดงถึงแก่ความตายเสียก่อน เช่นนี้นายขาวจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อไปได้หรือไม่ ? -ไม่สามารถใช้มาตรา 29 ได้ เนื่องจากยังไม่ได้มีการฟ้องคดี ถ้าสามีไปร้องทุกข์ จะได้หรือไม่?

More Related