1 / 12

ประวัติและผลงานของนักคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์

ประวัติและผลงานของนักคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์. จัดทำโดย นางสาวจุฑาภรณ์ ศรีพะเนิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 เลขที่ 10 เสนอ อาจารย์ชัยสิต พงษ์พัฒน.

Download Presentation

ประวัติและผลงานของนักคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประวัติและผลงานของนักคณิตศาสตร์คณิตศาสตร์ประยุกต์ประวัติและผลงานของนักคณิตศาสตร์คณิตศาสตร์ประยุกต์ จัดทำโดย นางสาวจุฑาภรณ์ ศรีพะเนิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 เลขที่ 10 เสนอ อาจารย์ชัยสิต พงษ์พัฒน

  2. เรอเน เดการ์ต (ฝรั่งเศส: René Descartes) เป็นทั้งนักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์นอกจากที่เขาเป็นผู้ที่บุกเบิกปรัชญาสมัยใหม่ เขายังเป็นผู้คิดค้นระบบพิกัดแบบคาร์ทีเซียนซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาด้านแคลคูลัสต่อมา เดการ์ต ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่ แนวคิดของเขามีผลต่อนักคิดร่วมสมัยไปถึงนักปรัชญารุ่นต่อ ๆ มา โดยรวมเรียกว่าปรัชญากลุ่มเหตุผลนิยม (rationalism) ซึ่งเป็นแนวคิดปรัชญาหลักในยุโรปสมัยศตวรรษที่ 17 และ 18.

  3. เดการ์ตเกิดที่ประเทศฝรั่งเศสเขาสำเร็จการศึกษาด้านกฎหมายในปีค.ศ. 1616 แม้ว่าต่อมาเขาจะไม่ได้ประกอบอาชีพเป็นนักกฎหมายแต่อย่างใด ในปีค.ศ. 1618 เขาเริ่มทำงานให้กับเจ้าชายมัวริสแห่งนาซอ ผู้นำของกลุ่มจังหวัดของฮอลแลนด์ในขณะนั้น ด้วยความหวังว่าจะเอาดีในสายการทหาร และที่นั่นเองที่เขาได้พบกับไอแซค บีคแมนและได้แต่งเพลงชื่อว่าCompendium Musicae ในปีค.ศ. 1619 (พ.ศ. 2162) เขาได้เดินทางไปยังประเทศเยอรมนีและในวันที่ 10 พฤศจิกายน ในปีนี้เองที่เขาได้มองเห็นแนวคิดใหม่ของคณิตศาสตร์และระบบทางวิทยาศาสตร์ จากนั้นในปี ค.ศ. 1622 เขาได้เดินทางกลับไปยังฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1627 เดการ์ตได้อยู่ในเหตุการณ์ยึดเมืองลาโรแชล (La Rochelle) ที่นำโดยบาทหลวงรีชลีเยอ (Richelieu)

  4. ในปี ค.ศ. 1628 เขาได้แต่งRules for the Direction of the Mind และได้ย้ายไปอยู่ที่ประเทศฮอลแลนด์ซึ่งเป็นที่เขาพำนักอยู่จนถึงปี ค.ศ. 1649 ในปี ค.ศ. 1629 เขาได้เริ่มงานเขียนชื่อ The World อย่างไรก็ตามเขาไม่ได้จัดพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ เนื่องจากทราบข่าวการตัดสินคดีของกาลิเลโอที่มีขึ้นในปี ค.ศ. 1633 เขาได้ลูกสาวในปี ค.ศ. 1635 อย่างไรก็ตามเธอได้เสียชีวิตลงในอีก 5 ปีถัดมา เขาได้ตีพิมพ์ Discourse on Method, พร้อมด้วย Optics, Meteorology and Geometryในปีค.ศ. 1637 จากนั้นในปี ค.ศ. 1641 (พ.ศ. 2184) หนังสือชื่อการครุ่นคิดเกี่ยวกับปรัชญาที่หนึ่ง(Meditations on First Philosophy) ก็ได้ถูกจัดพิมพ์ขึ้นพร้อมด้วยบทความรวมข้อโต้เถียงและคำตอบส่วนแรกที่มี 6 ชุด ในปี 1642 Meditationsฉบับพิมพ์ครั้งที่สองก็ได้รับการจัดพิมพ์พร้อมด้วยบทความรวมข้อโต้เถียงทั้งหมด 7 ชุด

  5. เรอเน เดการ์ตเสียชีวิตเนื่องจากนิวโมเนียในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1650 (พ.ศ. 2193) ที่กรุงสตอกโฮล์มประเทศสวีเดน เนื่องจากเขาเป็นชาวแคทอลิกในประเทศโปรเตสแตนต์ ศพของเขาจึงถูกฝังที่สุสานสำหรับทารกที่ไม่ได้ผ่านพิธีรับศีล หลังจากนั้นศพของเขาบางส่วนถูกนำไปประกอบพิธีที่ฝรั่งเศส และในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศสศพของเขาก็ถูกย้ายไปฝังที่พาเทนอลในปารีส ร่วมกับนักคิดชาวฝรั่งเศสผู้ยิ่งใหญ่ท่านอื่น ๆ เมืองเกิดของเขาได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น La Haye - Descartes ในปี ค.ศ. 1667 หลังจากที่เขาเสียชีวิตศาสนจักรโรมันคาทอลิกได้ใส่งานของเขาเข้าไปในรายการหนังสือต้องห้าม (Index of Prohibited Books)

  6. นักคณิตศาสตร์ยกย่องเดการ์ตจากการค้นพบเรขาคณิตวิเคราะห์ในยุคสมัยของเดการ์ตนั้นเรขาคณิตซึ่งศึกษาเกี่ยวกับเส้นและรูปร่าง กับพีชคณิตที่ศึกษาเกี่ยวกับตัวเลข ถูกจัดว่าเป็นสาขาย่อยของคณิตศาสตร์ที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย เดการ์ตแสดงวิธีการแปลงปัญหาในเรขาคณิตมากมาย ให้เป็นปัญหาทางพีชคณิต โดยใช้ระบบพิกัดคาร์ทีเซียนในการอธิบายปัญหาทฤษฎีของเดการ์ตเป็นพื้นฐานของแคลคูลัสของนิวตันและไลบ์นิซซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคณิตศาสตร์สมัยใหม่ ทั้ง ๆ ที่งานในส่วนนี้เดการ์ตตั้งใจจะใช้เพื่อเป็นเพียงแค่ตัวอย่าง ในหนังสือ Discourse on Method เท่านั้น

  7. ในทางคณิตศาสตร์ระบบพิกัดคาร์ทีเซียน (อังกฤษ: Cartesian coordinate system) เป็นระบบที่ใช้กำหนดตำแหน่งของจุดแต่ละจุดบนระนาบโดยอ้างถึงตัวเลข 2 จำนวน ซึ่งแต่ละจำนวนเรียกว่าพิกัดเอกซ์และพิกัดวายของจุดนั้น และเพื่อที่จะกำหนดพิกัดของจุด จะต้องมีเส้นแกนสองเส้นตัดกันเป็นมุมฉากที่จุดกำเนิด ได้แก่แกนเอกซ์และแกนวายซึ่งเส้นแกนดังกล่าวจะมีหน่วยบ่งบอกความยาวเป็นระยะ ระบบพิกัดคาร์ทีเซียนยังสามารถใช้ได้ในปริภูมิสามมิติ (ซึ่งจะมีแกนแซดและพิกัดแซดเพิ่มเข้ามา) หรือในมิติที่สูงกว่าอีกด้วย • ระบบพิกัดคาร์ทีเซียน (Cartesian coordinate system)

  8. ตัวอย่างระบบพิกัดคาร์ทีเซียนตัวอย่างระบบพิกัดคาร์ทีเซียน

  9. คำว่าคาร์ทีเซียน (Cartesian) มาจากชื่อของนักคณิตศาสตร์และนักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสเรอเน เดส์การตส์ (René Descartes) ซึ่งรู้จักกันในภาษาละตินว่าคาร์ทีซิส (Cartesius) ซึ่งเป็นผู้ที่รวมวิชาพีชคณิตกับเรขาคณิตแบบยุคลิดเข้าด้วยกัน ซึ่งการรวมของเขาทำให้เกิดการพัฒนาแขนงความรู้เรขาคณิตวิเคราะห์แคลคูลัสและการสร้างแผนที่แนวความคิดของระบบนี้เริ่มพัฒนาในพ.ศ. 2180 (ค.ศ. 1637) ซึ่งระบุไว้ในงานเขียนของเดส์การตส์สองฉบับ ในส่วนที่สองของ Discourse on the Method เขาได้แนะนำแนวความคิดใหม่สำหรับการระบุตำแหน่งของจุดหรือวัตถุใดๆ บนพื้นผิวหนึ่งๆ โดยใช้แกนสองเส้นตัดกันและมีการวัดระยะกำกับ และใน La Géométrie เขาได้วิจัยและอธิบายเกี่ยวกับแนวความคิดข้างต้นเพิ่มเติม

  10. ผลงานที่เขียน • Discourse on Method (ค.ศ. 1637, พ.ศ. 2180) : เขียนด้วยภาษาฝรั่งเศส • La Géométrie (ค.ศ. 1637, พ.ศ. 2180) • การครุ่นคิดทางปรัชญาที่หนึ่ง (Meditations on First Philosophy) (ค.ศ. 1641, พ.ศ. 2184) , หรือที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า 'Metaphysic meditations' เป็นงานเขียนด้วยภาษาละติน • Les Principes de la philosophie (ค.ศ. 1644, พ.ศ. 2187) งานที่เขียนสำหรับนักเรียน

  11. ส่วนหนึ่งของหนังสือ Discourse on Method

  12. ส่วนหนึ่งของหนังสือ La Géométrie

More Related