1 / 30

หลักกฎหมายว่าด้วย

หลักกฎหมายว่าด้วย. มรดก. กฎหมายลักษณะมรดก. กฎหมายที่กำหนดว่า เมื่อบุคคลถึงแก่ความตาย ทรัพย์สินของบุคคลนั้นจะตกทอดได้แก่ใคร บุคคลที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน เรียกว่า เจ้ามรดก ต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น ผู้มีสิทธิได้รับมรดก เรียกว่า ทายาท. มรดก ม. 1600.

Download Presentation

หลักกฎหมายว่าด้วย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักกฎหมายว่าด้วย มรดก

  2. กฎหมายลักษณะมรดก กฎหมายที่กำหนดว่า เมื่อบุคคลถึงแก่ความตาย ทรัพย์สินของบุคคลนั้นจะตกทอดได้แก่ใคร บุคคลที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน เรียกว่า เจ้ามรดก ต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น ผู้มีสิทธิได้รับมรดก เรียกว่า ทายาท

  3. มรดก ม. 1600 ทรัพย์สิน สิทธิหน้าที่ ความรับผิดซึ่งเป็นของผู้ตายอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย หรือผู้ตายมีสิทธิได้รับอยู่แล้วก่อนตาย เว้นแต่ ทรัพย์สิน สิทธิหน้าที่ ความรับผิดที่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวผู้ตายโดยแท้เมื่อบุคคลนั้นตาย ย่อมตกเป็น “กองมรดก” แก่ทายาท ทายาทมีสองประเภท 1. ทายาทโดยธรรม 2. ผู้รับพินัยกรรม

  4. กองมรดก ได้แก่ ทรัพย์สินที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่และความรับผิดซึ่งไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ย่อมตกทอดเป็นกองมรดกทั้งสิ้น 2. ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต้องเป็นของผู้ตายอยู่แล้วในเวลาตาย

  5. การตกทอดแห่งทรัพย์มรดกการตกทอดแห่งทรัพย์มรดก ทรัพย์มรดกตกทอดไปยังทายาททั้งกองเว้นแต่ผู้ตายจะทำพินัยกรรมกำหนดการตกทอดทรัพย์สินเฉพาะสิ่งเฉพาะอย่างไว้เป็นอย่างอื่น นอกจากนี้ ทรัพย์มรดกตกทอดยังทายาทโดยตรงทันทีที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย ไม่จำเป็นต้องมีการผ่านผู้แทนหรือผู้จัดการมรดก เหตุที่ทำให้มรดกตกทอด มี 2 ประการ 1. การตาย ม. 1599 2. สาบสูญ ม. 1602

  6. ความสามารถและสิทธิในการเป็นทายาท ทายาท คือ บุคคลที่มีสิทธิจะได้รับมรดกของผู้ตาย บุคคลย่อมมีเสรีภาพที่จะกำหนดว่า เมื่อตนตายจะให้ทรัพย์สินของตนแก่ใคร ป.พ.พ. อาจแบ่งประเภททายาทไว้ตามความสำคัญตามเจตนาผู้ตาย เป็น 3 ลำดับ 1. ผู้รับพินัยกรรมลักษณะเฉพาะ 2. ผู้รับพินัยกรรมลักษณะทั่วไป 3. ทายาทโดยธรรม

  7. คุณลักษณะของทายาท 3 ประการ • เป็นบุคคลที่สามารถมีสิทธิต่างๆได้ตามกฎหมาย (ม.1604) - ผู้ที่จะเป็นทายาทต้องมีสภาพบุคคล - ทายาทต้องมีสภาพบุคคลอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกตาย • ต้องเป็นบุคคลที่กฎหมายหรือพินัยกรรมกำหนด • ต้องไม่เสียสิทธิในทรัพย์มรดกไปโดยเหตุใดเหตุหนึ่ง เช่นถูกตัด สละ ขาดอายุความแบ่งมรดก

  8. การเสียสิทธิในการรับมรดก

  9. การถูกกำจัดมิให้รับมรดก การถูกกำจัดมิให้รับมรดก • การถูกตัดมิให้รับมรดก • การสละมรดก • การสูญเสียมรดกโดยอายุความ

  10. การกำจัดมิให้รับมรดก ม. 1605 การที่ทายาทประพฤติชั่วต่อตัวเจ้ามรดกหรือต่อทายาทอื่น เป็นเหตุให้หมดความเป็นทายาทไปโดยผลของกฎหมาย เหตุที่ทำให้ถูกกำจัดมิให้รับมรดก - ม. 1605 การถูกกำจัดฐานยักย้ายหรือปิดบังมรดก - ม. 1606 การถูกกำจัดฐานเป็นผู้ประพฤติไม่ควร

  11. บุคคลที่ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรบุคคลที่ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร • ต้องคำพิพากษาว่าเจตนา หรือพยายามให้เจ้ามรดกหรือผู้มิสิทธิก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย • ผู้ที่ฟ้องเจ้ามรดกว่ากระทำผิดโทษประหารชีวิตแต่ถูกพิพากษาฟ้องเท็จ • รู้ว่าเจ้ามรดกถูกฆ่าโดยเจตนา แต่เพิกเฉยมิให้ใช้บังคับกับบุคคลที่ยังมีอายุไม่ครบ 16 ปีบริบูรณ์และคนวิกลจริต • ผู้ที่ฉ้อฉลหรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทำหรือเพิกถอน เปลี่ยนแปลงพินัยกรรม • ผู้ที่ปลอม ทำลาย หรือปิดบังพินัยกรรม

  12. บุคคลที่ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรบุคคลที่ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร เจ้ามรดกอาจถอนข้อจำกัดฐานเป็นผู้ไม่สมควรได้โดยให้อภัยเป็นลายลักษณ์อักษร ผลของการถูกกำจัดมิให้รับมรดก ทายาทคนนั้นสิ้นสิทธิในการรับมรดกโดยสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน

  13. การตัดมิให้รับมรดก ม. 1608 การที่เจ้ามรดกแสดงเจตนาตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดมิให้รับมรดก เกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ 1. การตัดมิให้รับมรดกโดยการแสดงเจตนาชัดแจ้ง 2. การตัดมิให้รับมรดกโดยการแสดงเจตนาโดยปริยาย ม. 1608 เมื่อทายาทโดยธรรมถูกตัดมิให้รับมรดก จะไม่มีสิทธิรับมรดก

  14. การสละมรดก การที่ทายาทซึ่งมิสิทธิได้รับมรดกตามกฎหมาย หรือตามพินัยกรรม ได้แสดงเจตนาไม่ขอรับมรดกส่วนของตนภายหลังเจ้ามรดกตาย หลักเกณฑ์การสละมรดก 1. กระทำได้เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย 2. ผู้มีสิทธิสละมรดกจะต้องเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกนั้น ยกเว้นผู้เยาว์ คนวิกลจริต ต้องได้รับความยินยอม

  15. วิธีการสละมรดก (ม. 1612) • การสละมรดกโดยการแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ • การสละมรดกโดยทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างทายาทด้วยกัน การสละมรดก ทายาทต้องสละส่วนของตนทั้งหมดโดยไม่มีเงื่อนไข เมื่อสละแล้วจะถอนไม่ได้

  16. ทายาทโดยธรรม (ม. 1603) บุคคลที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายโดยผลของกฎหมายมิใช่โดยผลของพินัยกรรม ทายาทโดยธรรมแบ่งเป็น 2 ประเภท 1. ทายาทโดยธรรมในกรณีปกติ 2. ทายาทโดยธรรมกรณีพิเศษ

  17. ทายาทโดยธรรมกรณีปกติ 1. ทายาทโดยธรรมประเภทญาติ (ม. 1629) มี 6 ลำดับ 1. ผู้สืบสันดาน 2. บิดามารดา 3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน 5. ปู่ ย่า ตา ยาย 6. ลุง ป้า น้า อา 2. ทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรส

  18. แผนผังบัญชีเครือญาติ ตา ยาย ปู่ ย่า มารดา บิดา บุตร บุตร บุตร หลาน

  19. ลำดับและส่วนแบ่งของทายาทฯประเภทคู่สมรสลำดับและส่วนแบ่งของทายาทฯประเภทคู่สมรส • ถ้ามีทายาทตาม 1629(1) คู่สมรสมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเหมือนเป็นทายาทชั้นบุตร • ถ้ามีทายาทตาม 1629(3) หรือ ถ้าไม่มีทายาทตาม 1629(1) แต่มีทายาทตาม 1629(2) คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง • ถ้ามีทายาทตาม 1629(4) หรือ (6) หรือมีทายาท 1629(5) คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดก 2/3 ส่วน • ถ้าไม่มีทายาทตาม 1629 คู่สมรสได้รับมรดกทั้งหมด

  20. ทายาทโดยธรรมกรณีพิเศษทายาทโดยธรรมกรณีพิเศษ • ผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายกรณีพิเศษนี้ ได้แก่ 1. วัด นิติบุคคล ตามพ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 1.1 ในฐานะผู้รับพินัยกรรม 1.2 ในฐานะทายาทโดยธรรม 2. แผ่นดิน กรณีไม่มีทายาทหรือผู้รับพินัยกรรม หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม (ม.1753)

  21. การรับมรดกแทนที่ การที่บุคคลผู้มีสิทธิรับมรดกถึงแก่ความตาย หรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย แล้วผู้สืบสันดานของทายาทผู้ถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตายเข้ารับมรดกแทนที่เพียงเท่าที่ผู้ตายหรือผู้ถูกกำจัดมีสิทธิจะได้รับ

  22. ทายาทที่จะถูกรับมรดกแทนที่ได้ ม. 1639 • ผู้สืบสันดาน ม. 1629(1) • พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ม. 1629(3) • พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน ม. 1629(4) • ลุง ป้า น้า อา ม. 1629(6) ม. 1641 ทายาทอีก 2 ลำดับ คือ บิดา มารดา กับปู่ย่า ตายาย กฎหมายไม่ให้มีการรับมรดกแทนที่ บุตรบุญธรรมไม่ใช่ผู้สืบสันดาน ไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่

  23. พินัยกรรม • เป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวโดยเคร่งครัด • เป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเองหรือในการต่างๆ • มีผลใช้บังคับได้เมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย

  24. แบบของพินัยกรรม • พินัยกรรมแบบธรรมดา • พินัยกรรมชนิดที่ผู้ทำเขียนเองทั้งฉบับ • พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง • พินัยกรรมแบบเอกสารลับ • พินัยกรรมทำด้วยวาจาในพฤติการณ์พิเศษ • พินัยกรรมทำในต่างประเทศตามกฎหมายต่างประเทศ

  25. มาตรา 1656 พินัยกรรมแบบธรรมดา พินัยกรรมนั้น จะทำตามแบบดังนี้ก็ได้ กล่าวคือ ต้องทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น การขูด ลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามแบบอย่างเดียวกับการทำพินัยกรรมตามมาตรานี้

  26. ม. 1657 พินัยกรรมชนิดที่ผู้ทำเขียนเองทั้งฉบับ ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนเองทั้งฉบับ ต้องลงวัน เดือน ปี แล้วลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม โดยไม่จำเป็นต้องมีพยานในพินัยกรรม การขูดลบ ตก เติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ทำด้วยมือตนเองและลงลายมือชื่อกำกับไว้ มีแต่ผู้ทำพินัยกรรมเท่านั้นรู้ว่ามีพินัยกรรมและพินัยกรรมนั้นยกทรัพย์มรดกให้ใคร

  27. มาตรา 1658 พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง • ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนแก่นายอำเภอต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน นายอำเภอต้องจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบ และอ่านข้อความนั้นให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง จากนั้นผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ • ข้อความที่นายอำเภอจดไว้ ให้นายอำเภอลงลายมือชื่อและวัน เดือน ปี (แน่นหนาที่สุด ยากแก่การที่ผู้ใดจะโต้เถียง)

  28. มาตรา 1660 พินัยกรรมแบบเอกสารลับ • ผู้ทำพินัยกรรมไม่แจ้งให้นายอำเภอทราบถึงข้อความในพินัยกรรม • ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม แล้วผนึกพร้อมกับลงลายมือชื่อที่รอยผนึกนำไปแสดงต่อนาย อ.และพยานอย่างน้อยสองคน • นายอำเภอจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม และวันเดือนปีที่ทำแสดงไว้บนซอง และประทับตราตำแหน่ง • นายอำเภอ ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อบนซองนั้น • ทำแล้วเก็บไว้ที่นายอำเภอ และห้ามเปิดเผย ถ้าจะคืนแก่ผู้ทำพินัยกรรมต้องคัดสำเนาไว้

  29. มาตรา 1663 พินัยกรรมทำด้วยวาจาในพฤติการณ์ • เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะ • ต้องมีพฤติการณ์พิเศษ เช่น ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย สงคราม โรคระบาด และบุคคลนั้นไม่สามารถทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กำหนดไว้ได้ • ผู้ทำพินัยกรรมทำต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน แล้วพยานจะไปแสดงตนต่อนายอำเภอพร้อมแจ้งข้อความ โดยระบุ วัน เดือน ปี สถานที่ทำพินัยกรรมและพฤติการณ์พิเศษ

  30. ม. 1667 พินัยกรรมทำในต่างประเทศแบบก.ม.ต่างประเทศ • ต้องเป็นคนในบังคับไทย (สัญชาติไทย) ที่อยู่ต่างประเทศ • เลือกทำพินัยกรรมตามก.ม.ต่างประเทศหรือแบบก.ม.ไทย ก็ได้ ถ้าเลือกทำแบบก.ม.ไทย ต้องปฏิบัติหน้าที่โดย ก. พนักงานทูต กงสุลฝ่ายไทย ข. พนักงานซึ่งมีอำนาจตามก.ม.ประเทศนั้นๆ พินัยกรรมที่ไม่ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดย่อมตกเป็นโมฆะ

More Related