1 / 97

1 . ความหมาย นิยาม กรอบแนวคิด 2 . สถานการณ์ทุจริตในไทย 4 . สาเหตุและผลกระทบของการทุจริต

กฎหมายและระเบียบในการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และบทบาทของภาคประชาชนในการให้ความร่วมมือป้องกันและตรวจสอบ ภาส ภาสสัทธา ผู้อำนวยการสำนักป้องกันการทุจริตภาคประชาสังคมและการพัฒนาเครือข่าย วิโรจน์ ฆ้องวงศ์ นักกฎหมาย ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ช. กรอบการบรรยาย.

Download Presentation

1 . ความหมาย นิยาม กรอบแนวคิด 2 . สถานการณ์ทุจริตในไทย 4 . สาเหตุและผลกระทบของการทุจริต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายและระเบียบในการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และบทบาทของภาคประชาชนในการให้ความร่วมมือป้องกันและตรวจสอบ ภาส ภาสสัทธา ผู้อำนวยการสำนักป้องกันการทุจริตภาคประชาสังคมและการพัฒนาเครือข่าย วิโรจน์ ฆ้องวงศ์ นักกฎหมาย ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ช.

  2. กรอบการบรรยาย 1. ความหมาย นิยาม กรอบแนวคิด 2. สถานการณ์ทุจริตในไทย 4. สาเหตุและผลกระทบของการทุจริต 5. การขัดกันแห่งผลประโยชน์ 6. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. 7. แนวทางเสริมสร้างเครือข่ายภาคประชาชนในการป้องกัน การทุจริต 8. การปรับเปลี่ยนภารกิจตามกฎหมาย

  3. สังคมไทยแต่เดิม • เสาหลัก (pillars) (1) สถาบันพระมหากษัตริย์ (2) สถาบันพระศาสนา (3) สถาบันประชาชน (ครอบครัว-ชุมชน) • “ความดีงามในพื้นฐานจิตใจของคนไทย”

  4. หลัง ค.ศ. 1990 โลกาภิวัฒน์ ทุนนิยมเสรี ตลาดเสรี ความเป็นไทย วัฒนธรรมไทย ความรู้ และเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ และสื่อมวลชน การเมือง ระหว่างประเทศ อาชญากรรม ข้ามชาติ วัฒนธรรม ต่างถิ่น

  5. สังคมวิกฤติ • สังคมสุดขั้ว – แยกขั้ว • วัตถุนิยม – บริโภคนิยม – ประชานิยม • ฉ้อราษฎร์บังหลวง • เล่นการพนัน – อบายมุขเต็มเมือง • มัวเมาไสยศาสตร์ - เกาะกระพี้ศาสนา

  6. Corruption “คอร์รัปชัน” เป็นคำที่มีความหมายกว้างขวาง มีความหมายรวมกับการกระทำทุกลักษณะที่เป็นไปโดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว โดยใช้อำนาจ และอิทธิพล ที่มีอยู่ตามตำแหน่ง หน้าที่ หรืออาศัยฐานะตำแหน่งพิเศษที่ตนมีอยู่ในวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องอยู่กับกิจสาธารณะ และคำนี้ยังมีความหมายคลุมถึงการกินสินบนด้วย (Gunnar Myrdal) ความหมายในทัศนะสากล

  7. ความหมายในทัศนะสากล (ต่อ) การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการกระทำที่ชั่วช้า และฉ้อโกงโดยเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงกฎหมาย รวมทั้งการกระทำที่ขัดต่อตำแหน่งหน้าที่และสิทธิของผู้อื่น นอกจากนี้ ยังหมายถึงการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งประชาชนไว้วางใจ กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ โดยการรับหรือยอมรับผลประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น (พจนานุกรม แบล็คลอว์ Black Law Dictionary)

  8. ความหมายในทัศนะสากล (ต่อ) ผลประโยชน์ทับซ้อน(Conflict of interest) ผลประโยชน์ที่ทับซ้อนกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวมระหว่างผลประโยชน์ของผู้ที่มีหน้าที่จะต้องตัดสินใจทำงานเพื่อส่วนรวมไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือไม่ก็ตาม

  9. ความหมายในทัศนะของไทยความหมายในทัศนะของไทย “ฉ้อราษฎร์บังหลวง” หมายถึง การที่พนักงาน เจ้าหน้าที่เก็บเงินจากราษฎร แล้วไม่ส่งหลวง หรือเบียดบังเงินหลวง ...การรีดนาทาเร้นประชาชน และการเบียดบังทรัพย์สินของหลวงเป็นของตน “โดยทุจริต” หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง หรือผู้อื่น

  10. ความหมายในทัศนะของไทย(ต่อ)ความหมายในทัศนะของไทย(ต่อ) “ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดตำแหน่งหรือหน้าที่หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น

  11. ความหมายในทัศนะของไทย(ต่อ)ความหมายในทัศนะของไทย(ต่อ) คอร์รัปชันเชิงนโยบาย ซึ่งหมายถึงการที่ผู้ที่ใช้อำนาจรัฐเอื้อผลประโยชน์ทางอ้อมให้บริษัทธุรกิจเอกชนของตนเองและพรรคพวกผ่านโครงการ การลงทุนต่างๆหรือการออกกฎหมายการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การให้สัมปทานเป็นการคอร์รัปชันทางอ้อมที่บางครั้งอาจจะไม่ใช่การยักยอกงบประมาณโดยตรง

  12. ในแง่กฎหมายอาชญากรรม หมายถึง การกระทำที่ล่วงละเมิดกฎหมายอาญาและจะต้องมีระบบงานยุติธรรม(Criminal justice system)รับผิดชอบต่อการกระทำดังกล่าว ซึ่งกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า”ถ้าปราศจากกฎหมายก็ไม่มีอาชญากรรม” คอร์รัปชัน เป็นอาชญากรรมประเภทคอปกขาว(White Collar Crime)ซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งหน้าที่การงาน มีอำนาจและได้ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบให้แก่ตนเองและผู้อื่น พฤติกรรมดังกล่าวเป็นพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนจากบทบัญญัติของกฎหมายอันมีโทษทางอาญา สาเหตุแห่งการเกิดอาชญากรรมนั้นตามทฤษฎีกลไกการควบคุม(Containment Theory) เกิดจากระบบการควบคุมภายใน ได้แก่ความสามารถในการควบคุมตนเอง และระบบการควบคุมภายนอกได้แก่ กฎเกณฑ์ ระเบียบ จารีตประเพณีมีความอ่อนแอ

  13. ลักษณะของWhite Collar Criminal (Reckless) ได้พูดถึงลักษณะของอาชญากรรมนี้ว่า • ประการแรก เป็นบุคคลที่มีตำแหน่งหน้าที่ในสังคมไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งหน้าที่ในภาคเอกชนหรือภาครัฐ เป็นบุคคลที่มีบุคลิกดี เป็นที่น่านับถือหรือนิยมชมชอบของประชาชนทั่วไป • ประการที่สอง เป็นบุคคลที่อาศัยโอกาสที่ตนเองมีในหน้าที่(ไม่ว่าจะเป็นในภาครัฐหรือเอกชน) กระทำผิด • ประการที่สาม อาชญากรรมที่พวกนี้ก่อมักจะเป็นอาชญากรรมที่มีรูปแบบซับซ้อนเพราะพวกนี้มักจะมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในงานที่ตนเองดำเนินอยู่ในขณะนั้น

  14. ลักษณะของWhite Collar Criminal (Reckless) • ประการที่สี่ เป็นอาชญากรรมที่ผู้ประกอบอาชญากรรมยากที่จะถูกบังคับใช้กฎหมาย พวกนี้มักจะมีวิธีการทำให้คดีนั้นบิดเบือนหรือเปลี่ยนแปลงได้ง่าย • ประการที่ห้า เป็นอาชญากรรมที่ประชาชนเองมักไม่ค่อยมีความรู้สึกต่อต้านหรือโกรธแค้นชิงชังโดยเฉพาะในระยะแรก • ในเมื่อสังคมใดมีอาชญากรรมย่อมจำเป็นต้องมีการควบคุมสังคมนั้นมิให้เกิดอาชญากรรมขึ้น ทำนองเดียวกันในประเทศที่มีการคอร์รัปชันย่อมต้องมีการควบคุมตรวจสอบ

  15. ความหมายในทัศนะของไทย(ต่อ)ความหมายในทัศนะของไทย(ต่อ) คอร์รัปชันเชิงนโยบาย ซึ่งหมายถึงการที่ผู้ที่ใช้อำนาจรัฐเอื้อผลประโยชน์ทางอ้อมให้บริษัทธุรกิจเอกชนของตนเองและพรรคพวกผ่านโครงการ การลงทุนต่างๆหรือการออกกฎหมายการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การให้สัมปทานเป็นการคอร์รัปชันทางอ้อมที่บางครั้งอาจจะไม่ใช่การยักยอกงบประมาณโดยตรง

  16. สถานการณ์ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันสถานการณ์ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ(Transparency International -TI) เปิดเผยผลการจัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน(Corruption Perceptions Index- CPI) ประจำปี 2553 จากจำนวนประเทศทั่วโลก 178 ประเทศ (คะแนนเต็ม 10 คะแนน) นิวซีแลนด์ เดนมาร์ค สิงคโปร์ ครองตำแหน่งสามอันดับแรก (9.3 คะแนน)ฟินแลนด์และสวีเดน(9.2 คะแนน) ประเทศที่ได้อันดับสุดท้าย อิรัก และซูดาน (1.5คะแนน) พม่า(1.4คะแนน)อัฟกานิสถาน(1.38 คะแนน) โซมาเลีย(1.1คะแนน) ไทย ได้ 3.5 คะแนนเป็นอันดับ 78 ของทั่วโลก และเป็นที่ 9 จาก 23 ประเทศในเอเชีย โดยสิงคโปร์เป็นอันดับ 1

  17. บริษัทที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงทางการเมืองและเศรษฐกิจ (เพิร์ก)จัดอันดับสถานการณ์คอร์รัปชันในเอเชีย ( เมษายน 2554 )

  18. โครงสร้างสังคมไทย ระบบอุปถัมภ์ ความเบื่อหน่ายและ เพิกเฉยของประชาชน ต่อการทุจริต กระแสบริโภคนิยม วัตถุนิยม สาเหตุของการทุจริต กระบวนการยุติธรรม ไม่เข้มแข็ง การแทรกแซง จากผู้มีอิทธิพลและ นักการเมือง

  19. ผลกระทบของคอร์รัปชัน 1. ความเชื่อมั่นจากประชาคมโลก - ขาดความเชื่อมั่น - การลงทุนลดลง - เสียภาพลักษณ์ 2. ระบบเศรษฐกิจ - เบี่ยงเบนทรัพยากร - ลดรายได้ของรัฐบาล - ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น - คุณภาพลดลง - นโยบายเบี่ยงเบน - ความมั่นคงรัฐบาลลดลง

  20. ผลกระทบของคอร์รัปชัน (ต่อ) 3. สังคมวัฒนธรรม - วัฒนธรรมหน่วยงานเปลี่ยนไป - กฎระเบียบหย่อนยาน - ความปลอดภัยลดลง - เพิ่มอาชญากรรม - เกิดลูกโซ่วงจรอุบาทว์ 4. ประชาชนผู้เสียภาษี - รู้สึกว่าไม่ยุติธรรม - ผู้ยากไร้เสียสิทธิที่พึงได้ - ความยากจนเพิ่มขึ้น - ขาดความเสมอภาคชายหญิง - ปัญหาสิทธิมนุษยชน

  21. ผลกระทบของคอร์รัปชัน (ต่อ) 5.ด้านการเมือง -การซื้อสิทธิขายเสียงเลือกตั้ง -รัฐบาลอ่อนแอ ขาดเสถียรภาพ -ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย -ปฐมเหตุการปฏิวัติรัฐประหาร

  22. แนวคิดมาตรการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันแนวคิดมาตรการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน • 1. สังคมที่มีกลไกเชื่อมโยงกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านคอร์รัปชันอย่างเป็นเอกภาพ • 2. สังคมที่มีปรัชญาการมองโลกและมีค่านิยมที่ถูกต้อง • 3. สังคมที่มีระบบเอื้อให้คนดำเนินชีวิตอย่างสุจริตได้ • 4. สังคมที่มีบริบทส่งเสริมให้คนทำดี • 5. สังคมที่มีกลุ่มผู้นำการต่อต้านคอร์รัปชันที่เข้มแข็ง มีพลัง

  23. แนวทางปฏิบัติในการสร้างจิตสำนึกที่ถูกต้อง มีคุณธรรม 1.สร้างแนวร่วมประชาชาติ เพื่อสร้างความรักชาติ ในการต่อต้านคอร์รัปชัน 2. การอบรมพัฒนาจิตใจ ตามหลักจริยธรรมทางศาสนาและความเชื่อ 3. ปรับเปลี่ยนปรัชญาการมองโลก แก้ไขค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง 4. การให้ความรู้ความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง 5. การแก้ไขระบบที่เป็นอุปสรรค 6. การส่งเสริมบริบทสังคมให้คนต้องการทำความดี 7.เพิ่มต้นทุนความเสี่ยงในการคอร์รัปชันที่แพงขึ้นโดยการเพิ่มบทลงโทษผู้กระทำผิดให้หนักขี้นจนมีผลฉุดรั้งทั้งผู้ให้และผู้รับ

  24. ความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม (Conflict of Interests) ผลประโยชน์ส่วนตน - เป็นผลตอบแทนที่บุคคลได้รับ โดยเห็นว่ามีคุณค่าที่จะสนองตอบความต้องการของตนเองหรือของกลุ่มที่ตนเองเกี่ยวข้องผลประโยชน์เป็นสิ่งจูงใจให้คนเรามีพฤติกรรมต่างๆ เพื่อสนองความต้องการทั้งหลาย ผลประโยชน์ส่วนรวมหรือผลประโยชน์สาธารณะ สิ่งใดก็ตามที่ให้ประโยชน์สุขแก่บุคคลทั้งหลายในสังคม ผลประโยชน์สาธารณะ ยังหมายรวมถึงหลักประโยชน์ต่อมวลสมาชิก ในสังคม

  25. ความหมายของ Conflict of Interests • ความหมายในภาษาไทย • ผลประโยชน์ทับซ้อน • การขัดกันแห่งผลประโยชน์ • คอร์รัปชันเชิงนโยบาย • การที่ผู้ที่ต้องตัดสินใจมีประโยชน์หลายทางซึ่งขัดกัน • การที่บุคคลปฏิบัติหน้าที่เอาผลประโยชน์ส่วนตัวไปพัวพันในการตัดสินใจเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อตนเอง และเป็นการเสียประโยชน์ของทางการ

  26. ความเชื่อมโยงของConflict of Interests กับ Conflict of Interests Conflict of Interests เป็นรูปแบบหนึ่งของ Corruption แต่ระดับหรือขนาด และขอบเขตแตกต่างกัน Conflict of Interests นำไปสู่ Corruption ที่รุนแรงขึ้น Conflict of Interests เกี่ยวกับการใช้อำนาจที่เป็นทางการเชื่อมโยงกับกฎหมาย ระเบียบการปฏิบัติและส่วนที่ไม่เป็นทางการ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลขยายไปถึงเรื่องครอบครัวต้องพิจารณาความสัมพันธ์ เช่นคู่สมรส และคนในเครือญาติ

  27. ความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวมความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม สรุปความหมาย เป็นสถานการณ์ที่บุคคลในฐานะพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐ ใช้ตำแหน่งหรืออำนาจหน้าที่ในการแสวงประโยชน์แก่ตนเอง กลุ่มหรือพวกพ้อง ซึ่งเป็นการละเมิดทางจริยธรรม และส่งผลกระทบหรือความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ การมีผลประโยชน์ทับซ้อน ความขัดกันแห่งผลประโยชน์ของผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณะ คอร์รัปชันเชิงนโยบาย และคอร์รัปชันสีเทา

  28. ประเภทของผลประโยชน์ทับซ้อนประเภทของผลประโยชน์ทับซ้อน 1.การรับผลประโยชน์ต่างๆ 2.การทำธุรกิจกับตัวเองหรือเป็นคู่สัญญา 3.การทำงานหลังออกจากตำแหน่งสาธารณะหรือเกษียณ 4.การทำงานพิเศษ 5.การรู้ขัอมูลภายใน 6.การใช้ทรัพย์สินของราชการเพื่อประโยชน์ส่วนตัว 7.การนำโครงการสาธารณะลงในการเลือกตั้งเพื่อประโยชน์ทางการเมือง

  29. องค์ประกอบของ Conflict of Interests • บุคคลดำรงตำแหน่งของรัฐต้องรับผิดชอบ/มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์สาธารณะ • เกิดภาวะผลประโยชน์ส่วนตนแทรกแซงการตัดสินใจ/การใช้ดุลพินิจ • เกิดการตัดสินใจเพื่อประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม

  30. สังคมไทยกับการตระหนักถึงปัญหา Conflict of Interests • สังคมไทยสนใจน้อยเพราะมองว่าเรื่องนี้เป็นค่านิยมตะวันตก บางคนมองว่าไม่ใช่เรื่องผิด เรายึดหลักกฎหมายมากกว่าหลัก Conflict of Interests “คุณต้องพิสูจน์มาว่าผมใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ(Abuses)หรือไม่อย่างไร?” วัฒนธรรม ค่านิยม และการหล่อหลอมความรู้สึกในความรัก ความผูกพันในผลประโยชน์ของชาติ/ในเรื่องส่วนรวมยังไม่เข้มข้น

  31. ข้อเสนอแนะ การสร้างความตระหนัก การป้องกันปัญหา การแก้ไขปัญหา การ

  32. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครอง และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรมและมีสัมฤทธิผล กำหนดกลไกสถาบันทางการเมืองทุกส่วน ให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพ การเน้นย้ำคุณค่าและความสำคัญของคุณธรรม จริยธรรม และแนวทางบริการกิจการบ้านเมืองที่ดี

  33. ประมวลจริยธรรมตาม รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 279มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่กำหนดขึ้น ให้มีกลไกและระบบในการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมให้ถือเป็นความผิดทางวินัย กรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฝ่าฝืนมาตรฐานร้ายแรงให้ถือเป็นเหตุถอดถอนจากตำแหน่ง

  34. ประมวลจริยธรรมตาม รัฐธรรมนูญ 2550 (ต่อ) มาตรา 280ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่เสนอแนะ/ให้คำแนะนำในการจัดทำหรือปรับปรุง ประมวลจริยธรรมและส่งเสริมให้มีจิตสำนึกในด้านจริยธรรม รวมทั้งมีหน้าที่รายงานการกระทำที่มีการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม เพื่อให้ผู้ที่รับผิดชอบบังคับการให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรม

  35. ประมวลจริยธรรมตาม รัฐธรรมนูญ 2550 (ต่อ) มาตรา 244(2)ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตาม ม.279 วรรคสาม และ ม.280 ผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ จึงกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลัก (Core Value) 9 ประการ เพื่อให้หน่วยงานใช้เป็นแกนมาตรฐานในการจัดทำประมวลจริยธรรม

  36. มาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลัก 9 ประการ 1. การยึดมั่นในคุณธรรม และจริยธรรม 2. การมีจิตสำนึกที่ดีซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ 3. การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน 4. การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย 5. การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัย และ ไม่เลือกปฏิบัติ

  37. มาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลัก 9 ประการ(ต่อ) 6. การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนขอเท็จจริง 7. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ 8. การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข 9. การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร

  38. รัฐธรรมนูญฯ 2550 การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ • มาตรา 265 ห้าม สส./สว. (รวมถึงนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรี ม.267) ไม่รับหรือแทรกแซงหรือก้าวก่ายการเข้ารับสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจหรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจอันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

  39. รัฐธรรมนูญฯ 2550 การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ • ไม่รับเงินหรือประโยชน์ใดๆ จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเป็นพิเศษนอกเหนือไปจากที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจปฏิบัติต่อบุคคลอื่นๆในธุรกิจการงานตามปกติ ให้ใช้บังคับกับคู่สมรส บุตร และบุคคลอื่นที่ดำเนินการในลักษณะผู้ถูกใช้ ผู้ร่วมดำเนินการ ผู้ได้รับมอบหมายจาก สส.หรือ สว.ให้กระทำการ

  40. พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 • มาตรา ๘๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการใดอันเป็นข้อห้าม ดังต่อไปนี้ • (๕) ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน • (๖) ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท

  41. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.๒๕๔๔ • "การเรี่ยไร" หมายความว่า การเก็บเงินหรือทรัพย์สินโดยขอร้องให้ช่วยออกเงินหรือทรัพย์สินตามใจสมัคร และให้หมายความรวมถึงการซื้อขายแลกเปลี่ยน ชดใช้หรือบริการซึ่งมีการแสดงโดยตรงหรือโดยปริยายว่ามิใช่เป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยน ชดใช้หรือบริการธรรมดา แต่เพื่อรวบรวมเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาทั้งหมดหรือบางส่วนไปใช้ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นด้วย

  42. ข้อ ๒๑ ในการเรี่ยไรหรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรี่ยไร ห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการดังต่อไปนี้ • (๑) กำหนดประโยชน์ที่ผู้บริจาคหรือบุคคลอื่นจะได้รับซึ่งมิใช่ประโยชน์ที่หน่วยงานของรัฐได้ประกาศไว้ • (๒) กำหนดให้ผู้บริจาคต้องบริจาคเงินหรือทรัพย์สินเป็นจำนวนหรือมูลค่าที่แน่นอน เว้นแต่โดยสภาพมีความจำเป็นต้องกำหนดเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน เช่น การจำหน่ายบัตรเข้าชมการแสดงหรือบัตรเข้าร่วมการแข่งขัน เป็นต้น

  43. ข้อ ๒๑ ในการเรี่ยไรหรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรี่ยไร ห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการดังต่อไปนี้ • (๓)กระทำการใด ๆ ที่เป็นการบังคับให้บุคคลใดทำการเรี่ยไรหรือบริจาคหรือกระทำในลักษณะที่ทำให้บุคคลนั้นต้องตกอยู่ในภาวะจำยอมไม่สามารถปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงที่จะไม่ช่วยทำการเรี่ยไรหรือบริจาคไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม • (๔) ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐออกทำการเรี่ยไร หรือใช้ สั่ง ขอร้อง หรือบังคับให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือบุคคลอื่นออกทำการเรี่ยไร

  44. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐพ.ศ.๒๕๔๔ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐพ.ศ.๒๕๔๔ "ของขวัญ" หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่ให้แก่กันเพื่ออัธยาศัยไมตรี และให้หมายความรวมถึง เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่ให้เป็นรางวัล ให้โดยเสน่หาหรือเพื่อการสงเคราะห์ หรือให้เป็นสินน้ำใจ การให้สิทธิพิเศษซึ่งมิใช่เป็นสิทธิที่จัดไว้สำหรับบุคคลทั่วไปในการได้รับการลดราคาทรัพย์สินหรือการให้สิทธิพิเศษในการได้รับบริการหรือความบันเทิงตลอดจนการออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรือท่องเที่ยว ค่าที่พัก ค่าอาหาร หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน และไม่ว่าจะให้เป็นบัตร ตั๋ว หรือหลักฐานอื่นใด การชำระเงินให้ล่วงหน้า หรือการคืนเงินให้ในภายหลัง

  45. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐพ.ศ.๒๕๔๔ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐพ.ศ.๒๕๔๔ • ปกติประเพณีนิยม" หมายความว่า เทศกาลหรือวันสำคัญซึ่งอาจมีการให้ของขวัญกัน และให้หมายความรวมถึงโอกาสในการแสดงความยินดี การแสดงความขอบคุณ การต้อนรับ การแสดงความเสียใจหรือการให้ความช่วยเหลือตามมารยาทที่ถือปฏิบัติกันในสังคมด้วย

  46. ข้อ ๕ เจ้าหน้าที่ของรัฐจะให้ของขวัญแก่ผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลในครอบครัวของผู้บังคับบัญชานอกเหนือจากกรณีปกติประเพณีนิยมที่มีการให้ของขวัญแก่กันมิได้             การให้ของขวัญตามปกติประเพณีตามวรรคหนึ่ง เจ้าหน้าที่ของรัฐจะให้ของขวัญที่มีราคาหรือมูลค่าเกินจำนวนที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกำหนดไว้สำหรับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ             เจ้าหน้าที่ของรัฐจะทำการเรี่ยไรเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดหรือใช้เงินสวัสดิการใดๆเพื่อมอบให้หรือจัดหาของขวัญให้ผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลในครอบครัวของผู้บังคับบัญชาไม่ว่ากรณีใดๆมิได้

  47. ข้อ ๖ ผู้บังคับบัญชาจะยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลในครอบครัวของตนรับของขวัญจากเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นผู้อยู่ในบังคับบัญชามิได้ เว้นแต่เป็นการรับของขวัญตามข้อ 5 •              ข้อ ๗ เจ้าหน้าที่ของรัฐจะยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลในครอบครัวของตนรับของขวัญจากผู้ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐมิได้ ถ้ามิใช่เป็นการรับของขวัญตามกรณีที่กำหนดไว้ในข้อ ๘

  48. ผู้ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ ผู้มาติดต่องานหรือผู้ซึ่งได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐในลักษณะดังต่อไปนี้             (๑) ผู้ซึ่งมีคำขอให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น การขอใบรับ รอง การขอให้ออกคำสั่งทางปกครอง หรือการร้องเรียน เป็นต้น             (๒) ผู้ซึ่งประกอบธุรกิจหรือมีส่วนได้เสียในธุรกิจที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ เช่น การ จัดซื้อจัดจ้าง หรือการได้รับสัมปทาน เป็นต้น

  49. (๓) ผู้ซึ่งกำลังดำเนินกิจกรรมใดๆที่มีหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ควบคุมหรือกำกับดูแล เช่น การประกอบกิจการโรงงาน หรือธุรกิจหลักทรัพย์ เป็นต้น             (๔) ผู้ซึ่งอาจได้รับประโยชน์หรือผลกระทบจากการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

  50.              ข้อ ๘ เจ้าหน้าที่ของรัฐจะยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลในครอบครัวของตนรับของขวัญจากผู้ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐได้เฉพาะกรณีการรับของขวัญที่ให้ตามปกติประเพณีนิยม และของขวัญนั้นมีราคาหรือมูลค่าไม่เกินจำนวนที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกำหนดไว้สำหรับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

More Related