1 / 18

การจัดการเรียนรู้โดยการใช้เพลง

การจัดการเรียนรู้โดยการใช้เพลง. นางสาว พรพิมล ต้น ไฮ เลขที่ 10 นางสาว สุดารัตน์ พรมดี เลขที่ 28 สาขาการศึกษาปฐมวัย ห้อง 2 ชั้นปีที่ 3 เสนอ อาจารย์ สุวิ สาข์ เหล่าเกิด คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. จัดทำโดย.

aoife
Download Presentation

การจัดการเรียนรู้โดยการใช้เพลง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการเรียนรู้โดยการใช้เพลงการจัดการเรียนรู้โดยการใช้เพลง

  2. นางสาว พรพิมล ต้นไฮ เลขที่ 10 นางสาว สุดารัตน์ พรมดี เลขที่ 28 สาขาการศึกษาปฐมวัย ห้อง 2 ชั้นปีที่ 3 เสนอ อาจารย์ สุวิสาข์ เหล่าเกิด คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม จัดทำโดย

  3. เพลง หมายถึง บทประพันธ์ที่มีทำนองใช้ขับร้อง หรืออาจจะมีดนตรีประกอบด้วยซึ่งเพลงเป็นศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่าของคนทุกชาติ เป็นสิ่งจรรโลงใจทำให้บุคคลเกิดอารมณ์คล้อยตามได้ง่ายที่สุด (วิจิตรา เจือจันทร์, 2533:28) ซึ่งผู้สอนนำมาเป็นสื่อหลักหรือสื่อเสริมในการจัดการเรียนการสอนได้ ความหมาย

  4. เพลงมีความสำคัญกับมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิด เช่น เพลงกล่อมเด็ก นอกจากนี้ยังมีเพลงที่แต่งไว้สำหรับเด็กๆ ร้องเกี่ยวกับสัตว์บ้าง เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยบ้าง เกี่ยวกับโอกาสและเทศกาลต่างๆ เช่น วันสงกรานต์ วันเกิด วันคริสต์มาส เป็นต้น เพลงแต่ละเพลงจะมีลีลาและท่วงทำนองที่ได้นำเพลงมาใช้ในการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น เห็นได้จากงานวิจัยเทปเพลงการศึกษาเกี่ยวกับเด็ก ทฤษฏี/แนวทาง

  5. เพลงมีความสำคัญต่อจิตใจของผู้ฟัง ให้ความบันเทิงและลดความเครียด ผ่อนคลายอารมณ์ทำให้มนุษย์เกิดสุนทรียภาพทางอารมณ์ ซึ่งเพลงมีบทบาทต่อชีวิตของเรา เพลงกับชีวิตมีความสำพันธ์ใกล้ชิดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับมนุษย์มาตั้งแต่เกิด เสียงเพลงเกิดจากการสร้างสรรค์ของคน นักการศึกษาที่ชาญฉลาดจึงนำเพลงมาเป็นสื่อในการศึกษา ทั้งที่เป็นสื่อหลังและสื่อเสริมพลังที่ครูนำมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งประโยชน์ของเพลงในด้านกิจกรรมการเรียนการสอนมีดังนี้ • เพลงช่วยสร้างบรรยากาศในการเรียนให้สนุกสนาน ลดความตึงเครียดระหว่างครูกับนักเรียน หล่อหลอมลักษณะนิสัย จิตใจ ของนักเรียนให้อ่อนโยน • เพลงช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ บุคลิกภาพและด้านสังคมของนักเรียน • การเข้าสู่บทเรียน สรุปบทเรียน เพลงช่วยย้ำสิ่งที่เรียนไปแล้ว เช่น คำศัพท์ รูปประโยค กฎไวยากรณ์บางเรื่อง เช่น เกี่ยวกับกาล (tense) ต่างๆ เป็นต้น ต่อ

  6. นอกจากนี้เพลงจะมีคำที่เป็นแสลง (slang) เป็นสำนวน (idioms) ซึ่งเป็นภาษาพูดในชีวิตประจำวัน • เพลงช่วยพัฒนาทางภาษา ซึ่งเป็นการฝึกการฟังให้เข้าใจข้อความในเนื้อเพลงพร้อมทั้งเป็นการฝึกการอ่านออกเสียง เชื่อมคำ และจังหวะไปในตัว ทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจที่สามารถร้องเพลงได้ จึงเป็นการปลูกฝังให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนและช่วยส่งเสริมให้การเรียนดีขึ้น • เพลงให้ความหลากหลายต่อนักเรียน เช่น วัฒนธรรม สถานที่สำคัญ วันสำคัญ เป็นต้น โดยอาจใช้เพลงเป็นจุดเริ่มต้นในการสนทนา หรืออภิปรายเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในเพลง

  7. สรุปได้ว่า เพลงมีประโยชน์ทางด้านอารมณ์ บุคลิกภาพ สังคมและการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนการสอน นักเรียนได้รับความรู้จากเพลงและเรียนจากเพลงด้วยความสนุกสนาน ดังนั้นครูจึงนำเพลงไปสอดแทรกได้เกือบทุกวิชา

  8. กิจกรรมการใช้เพลงในการเรียนการสอนกิจกรรมการใช้เพลงในการเรียนการสอน เจียรนัย พงษ์ศิวาภัย (2539:25) ได้เสนอแนะให้ผู้สอนว่าควรใช้เพลงเป็นเครื่องเพิ่มพูนประสบการณ์ โดยจัดกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ • เล่าเรื่อง หรือเล่าเรื่องที่สร้างขึ้นมาใหม่เกี่ยวกับเพลง • เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเพลง • ดัดแปลงเนื้อหาเป็นบทสนทนาสั้นๆ • นำแบบประโยคในเพลง หรือนำประโยคดีๆ มาเป็นการฝึกโครงสร้างไวยากรณ์ • หาคำใหม่มาแทนในเพลง หรือนำประโยคดีๆมาเป็นการฝึกโครงสร้างไวยากรณ์ • แสดงท่าทางประกอบจังหวะ • สนทนาซักถามเกี่ยวกับเนื้อเพลงเหมือนกับ ถาม-ตอบ ในการอ่านเพื่อความเข้าใจ • เขียนเนื้อเพลงลงสมุด แนวทางการจัดการเรียนรู้

  9. ขั้นตอนการสอนเพลงประกอบการเรียนการสอน มีดังนี้ (วราภรณ์วราธิพร. 2543 : 21) • ทบทวนหรือแนะนำโครงสร้างไวยากรณ์ที่ปรากฏในเนื้อเพลง หรืออธิบายเนื้อหาของเพลงโดยใช้ทัศนอุปกรณ์ (visual Aids) หรือแสดงท่าทาง(action) และคำที่พ้องรูปหรือพ้องเสียงตลอดจนคำที่สัมผัสกัน • เปิดเพลง 1 รอบ ครั้งแรก • ก่อนจะเปิดโอกาสให้นักเรียนเห็นเนื้อเพลงทั้งหมด ควรนำเสนอทีละบรรทัด ร้องแต่ละบรรทัดและให้นักเรียนร้องตาม ควรบันทึกเพลงทิ้งช่วงแต่ละบรรทัด • แจกเนื้อเพลงให้กับนักเรียน เปิดเพลงอีกครั้งตั้งแต่ต้น ในช่วงแรกให้นักเรียนอ่านเนื้อเพลงตาม เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับจังหวะ ทำนอง จากนั้นเปิดเพลงหลายๆครั้ง และชักชวนให้นักเรียนร้องเพลงด้วย ขั้นตอนการสอนเพลงประกอบการเรียนการสอน

  10. หลังจากที่นักเรียนสามารถจับทำนองเนื้อร้องได้แล้ว นักเรียนก็สามารถร้องไปกับดนตรีที่ไม่มีเนื้อร้องหรือคาราโอเกะได้ ในช่วงแรกนักเรียนควรร้องเป็นกลุ่ม เมื่อมีความมั่นใจมากขึ้น จึงให้ร้องเป็นคู่ หรือร้องเดี่ยว การใช้ดนตรีไม่มีเนื้อร้องหรือคาราโอเกะนั้นสามารถนำมาใช้ได้อย่างหลากหลาย เช่น ให้นักเรียนแต่งเนื้อร้องเพิ่มเติม หรือ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม • นำเนื้อร้องมาสร้างกิจกรรม เปิดโอกาสให้นักเรียนมาทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับเพลง

  11. การเลือกเพลง การเลือกเพลงถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะถ้าเพลงที่ใช้ในการเรียนไม่เหมาะสม ผู้เรียนจะขาดความสนใจ ทำให้การเรียนการสอนไม่ประสบผลสำเร็จ ในการเลือกเพลงจะต้องคำนึงถึง • ระดับชั้น วัย ละความสามารถของผู้เรียน • ความไพเราะ จังหวะของเพลง ไม่เร็ว หรือช้าเกินไป • ภาษาไม่ยาก คำที่อยู่ในเพลงชัดเจน และมีความหมาย • เป็นเพลงที่ผู้ฟังฟังแล้วเกิดความรู้สึก และจินตนาการใกล้เคียงกัน ซึ่งสามารถปรับแต่งให้เข้ากับบรรยากาศของชั้นเรียนได้ ดังนี้ เจียรนัย พงษ์ศิวาภัย (2539 : 105-106) ได้กล่าวถึงขั้นตอนการสอนเพลง มีองค์ประกอบ 3 ประการ ดังนี้

  12. การดำเนินการสอน การดำเนินการสอนมีหลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งสามารถปรับแต่งให้เข้ากับบรรยากาศของชั้นเรียนได้ ดังนี้ • แจงเนื้อเพลงและอธิบายศัพท์ สำนวนหรือโครงสร้างทางไวยากรณ์ที่จำเป็น • เปิดเพลงให้ฟังเป็นครั้งที่ 2 ถ้าผู้เรียนต้องการทำท่าประกอบหรือร้องตาม • ถามคำถามทั่วๆไป เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกทักษะ ฟัง พูด เช่น • รู้สึกอย่างไรกับเพลงนี้ ? (มีความสุข โกรธ ว้าเหว่ เสียใจ ) • เพลงนำเสนอเกี่ยวกับอะไร ? (ความรัก สงคราม ความเข้าใจผิด)

  13. การประเมินผล • เก็บเนื้อเพลงที่แจกไปครั้งแรกคืนมา แล้วแจกเนื้อเพลงที่ผู้สอนเตรียมเว้นคำที่เหมาะสมว่างไว้ เพื่อให้นักเรียนเติมขณะที่เปิดเพลงให้ฟังอีกครั้งหนึ่ง • ถามคำถามจากเนื้อหาของเพลง คำถามนี้อาจเป็นคำตอบปากเปล่า หรือแบบให้เลือกตอบ (multiple choices) หรือแบบเติมคำหรือข้อความให้สมบูรณ์(completion) • อาจเป็นคำถามปรายเปิด (open-ended questions) เพื่อให้ผู้เรียนได้อภิปรายความคิดเห็น นักเรียนทุกคนต้องพยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดเห็นของตน โดยไม่มีการตัดสิน ว่าความคิดเห็นของนักเรียนคนใดผิดหรือของคนใดถูก และผู้สอนเป็นเพียงผู้ค่อยควบคุมชั้นเรียนเท่านั้น

  14. จากการเรียนรู้โดยใช้เพลง มีข้อค้นพบจากการวิจัยดังนี้ • การฟังและการออกเสียง sumie(2001) ได้นำเพลงไปใช้กับนักเรียนอาชีวที่ต้องการสอบภาษาอังกฤษเพื่อรับใบประกาศทางภาษา เช่น TOEIC พบว่า การฟังเพลงเป็นวิธีการที่ดีในการฝึกฟัง เพื่อการออกเสียงให้ถูต้อง นอกจากนี้เพลงยังเป็นสื่อที่กระตุ้นให้นักเรียนต้องการเรียนภาษาอังกฤษจากการฟังเพลงและเรียนด้วยความสนุกสนาน ซึ่งแตกต่างจากก่อนหน้าที่ไม่ได้ใช้เพลง ข้อค้นพบจกการวิจัย

  15. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการสอน พันธ์ศรี สิทธิชัย (2529 :46) ได้วิจัยกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้เพลงประกอบการสอนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าการสอนตามคู่มือครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนกลุ่มทดลอง มีเจตคติเชิงวิมานต่อการสอนด้วยวิธีการใช้เพลงประกอบการสอน สุปราณี กัลปนารถ (2533:40) ได้ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 พบว่า นักเรียนที่เรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้บทเพลงประกอบการสอน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนวิชาภาษาไทยโดยไม่ใช้เพลงประกอบการสอน และรองเนือง ศุขสมิติ(2537:47) ได้ศึกษาผลของการใช้เพลงเสริมบทเรียนวิชาภาษาอังกฤษกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า นักเรียนที่สอนโดยใช้เพลงเสริม มีผลสัมฤทธิ์สูงกว่านักเรียนที่สอนตามคู่มือครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  16. แรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการฟังและการพูดแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการฟังและการพูด • วราภรณ์วราธิพร (2543 : 47 ) ได้ศึกษาการใช้เพลงประกอบการสอนกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โปรแกรม สอง ภาษา พบว่า นักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษโดยการใช้เพลงประกอบการสอนเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 ความสามารถด้านการฟังและพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 24

  17. เพลง หมายความว่าอย่างไร เพลงมีความสำคัญอย่างไรกับการเรียนการสอน เพลงมีประโยชน์อย่างไร เพลงสามารถนำมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง ผลของการวิจัยพบว่าเพลงให้ผลดีอย่างไร คำถาม

  18. จบการนำเสนอค่ะ

More Related