1 / 51

วิชาสัมมนา

วิชาสัมมนา. โดย อาจารย์นิโรจน์ บัวศรี ภาควิชาอุตสาหกรรมศิลป์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ความหมาย. วิชาสัมมนาคือ....

arawn
Download Presentation

วิชาสัมมนา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิชาสัมมนา โดย อาจารย์นิโรจน์ บัวศรี ภาควิชาอุตสาหกรรมศิลป์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

  2. ความหมาย วิชาสัมมนาคือ.... วิชาที่มีกลุ่มนักศึกษาเรียนร่วมกันภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์ โดยนักศึกษาต่างคนต่างก็ไปศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองในหัวข้อที่ยังไม่เคยมีการศึกษาค้นคว้ากันมาก่อน เพื่อหาความรู้หรือข้อสรุปใหม่ๆ มาเรียบเรียงเขียนเป็นรายงานออกมาบรรยายในที่ประชุมของนักศึกษาในชั้นเรียน มีการอภิปรายและแลกเปลี่ยนความเห็นและความรู้ต่างๆ ระหว่างกัน

  3. วัตถุประสงค์ของวิชาสัมมนาวัตถุประสงค์ของวิชาสัมมนา ให้นักศึกษารู้จักวิธีการค้นคว้าข้อมูล ทั้งจากหนังสือ ตลอดจนวิธีการ สารสนเทศต่างๆ เช่น e-library, e-databases, CD-ROM, search engine ต่างๆ เป็นต้น สามารถอ่านเอกสารทางวิชาการได้อย่างเข้าใจโดยอาศัยคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา สามารถเรียบเรียงเอกสารที่ค้นคว้าเป็นบทความทางวิชาการได้อย่างถูกต้อง

  4. วัตถุประสงค์ของวิชาสัมมนา (ต่อ) มีการเรียนรู้เทคนิคทางโสตทัศนูปกรณ์ เพื่อนำมาใช้ในการบรรยายให้มีความน่าสนใจมากขึ้น มีการเรียนรู้เรื่องบุคลิก ท่าทางและมารยาทในการพูดในที่ประชุมและสามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ความรู้ที่เรียนมาเพื่อทำความเข้าใจกับเนื้อเรื่องที่นำเสนอและสามารถบรรยายให้ผู้ฟังเข้าใจ รวมทั้งสามารถตอบคำถามของผู้ฟังได้อย่างเหมาะสม

  5. ประโยชน์และความสำคัญของวิชาสัมมนาประโยชน์และความสำคัญของวิชาสัมมนา ช่วยทบทวนความรู้และประสบการณ์เดิม ช่วยในการประเมินผลหลักสูตรการศึกษา ช่วยพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงาน เช่น เรื่องการอ่านเอกสารวิชาการ จัดการข้อมูล การบริหารเวลา การฝึกเทคนิคการนำเสนอรายงานในที่ประชุม เป็นต้น ทำให้นักศึกษาค้นพบความสามารถตนเองได้ดีขึ้นและเป็นการจุดประกายในการที่จะพัฒนาตัวเองให้มากขึ้น

  6. จะเริ่มต้นเรียนวิชาสัมมนาได้อย่างไรจะเริ่มต้นเรียนวิชาสัมมนาได้อย่างไร กำหนดหัวข้อเรื่องที่สนใจศึกษาค้นคว้า วางเค้าโครงเรื่องย่อยในการเขียนตามบทความที่ค้นคว้ามาได้ แก้ไขร่างที่ 2, 3,…จนกระทั่งอ.ที่ปรึกษาเห็นชอบให้นำเสนอในที่ประชุมได้ ติดต่อ อ.ที่ปรึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จัดทำสื่อในการนำเสนอ เช่น power point slide เขียนขยายความตามเค้าโครงเรื่องที่วางไว้พร้อมทั้งแสดงเอกสารอ้างอิงจากบทความ นำเสนอในที่ประชุม ค้นคว้าหาบทความที่เกี่ยวข้องกับ หัวข้อนั้น เขียนตามข้อกำหนดในการเขียนสัมมนา เช่น ต้องมีส่วน บทคัดย่อ สรุป และบรรณานุกรม

  7. องค์ประกอบของสัมมนา 4. เนื้อเรื่อง 5. สรุป 6. เอกสารอ้างอิง 7. คำขอบคุณ 1. ชื่อเรื่องพร้อมรายละเอียด - ผู้จัดทำ - อาจารย์ที่ปรึกษา - วันที่เสนอสัมมนา - ฯลฯ 2. บทคัดย่อ 3. บทนำ

  8. หลักการตั้งชื่อเรื่องหลักการตั้งชื่อเรื่อง ชื่อเรื่องเปรียบเหมือนบทคัดย่อที่สั้นที่สุด โดยมีหลักการตั้งชื่อเรื่องดังนี้ ควรจะสั้น กะทัดรัด และคลุมใจความในเรื่องไว้ทั้งหมด (ไม่ควรสั้นกว่า 5 คำ หรือยาวกว่า 20 คำ) การตั้งชื่อเรื่องควรเลือกคำที่เด่น น่าสนใจและจูงใจให้อ่านเรื่องเต็ม ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำที่ไม่มีความหมายหรือไม่มีความสำคัญที่ชัดเจน เช่น การศึกษา….. อิทธิพลของ และไม่ควรใช้ชื่อย่อ คำย่อ ศัพท์เทคนิค เช่น ไม่ใช้ พรบ. , GMO, Fe

  9. หลักการตั้งชื่อเรื่อง (ต่อ) • ควรมีคุณสมบัติ 4 อย่างคือ • แสดงเอกลักษณ์ทางวิชาการ • มีคำสำคัญ (keyword) • มีคำดรรชนี (index word) • แสดงวัตถุประสงค์

  10. หลักการเขียนบทนำ บทนำ คือ ส่วนแนะนำและปูพื้นเรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าเรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องใด สำคัญอย่างไร ตอบคำถามว่าเราทำเรื่องนี้ทำไมและเมื่อได้ทำการค้นคว้าทดลองแล้วได้ประโยชน์อย่างไร ควรเลือกใช้ข้อความที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ วิธีการวิจัย ผลการทดลอง และการวิจารณ์ที่จะปรากฏในบทความนั้น

  11. วิธีการเขียนบทนำ เริ่มต้นภายใน 5 ประโยคแรกให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญของปัญหา (impact) แล้วชี้แจงให้เห็นว่า หากเราแก้ปัญหานี้ได้มันจะทำให้เกิดประโยชน์ต่างๆ อย่างไร literature review การตรวจเอกสารจะต้องกระชับ ตรงประเด็น และที่สำคัญมาก คือ "แสดงให้เห็นช่องว่างของความรู้" ซึ่งยังไม่มีใครทดลอง ตอนนี้ประมาณ 20 -30 ประโยค สมมุติฐานเป็นการบอกว่าเรามีความคิดทำมันอย่างไร ซึ่งมันจะสะท้อนต่อไปใน methodology สัก10-15 ประโยค สรุปให้ได้ความว่า ดังนั้นเราจึงเสนอผลงานวิจัยเรื่องนี้ ซึ่งคุณจะได้อ่านต่อไป ตรงนี้ไม่เกิน 2 ประโยค

  12. การเขียนเนื้อเรื่อง ตัวเนื้อเรื่อง (text) ต้องเรียงเป็นขั้นเป็นตอนให้เข้าใจง่าย เช่น จากเริ่มต้นไปอวสาน จากเก่าไปใหม่ จากข้อ 1 ถึงข้อ 10 เหล่านี้เป็นต้น และควรจะแทรกเสริมด้วยตัวเลขข้อมูล ตารางต่างๆ ตามที่ได้รวบรวมมา นำเสนอผลเป็นคำพูด และวิเคราะห์วิจารณ์ผล การเขียนรายงานสัมมนาเป็นการนำเรื่องต่างๆ ที่สามารถรวมกันได้เป็น package มาเรียบเรียงให้มีความกลมกลืน อ่านแล้วเข้าใจง่าย ไม่ใช่การนำบทความวิจัยมาต่อกันโดยที่ยังมีส่วนที่เป็นวิธีการทดลอง ผลการทดลอง และวิจารณ์ผลการทดลอง

  13. การเขียนเนื้อเรื่อง วิธีการเขียนเรื่องที่มาจากการทดลอง ควรเขียนให้ข้อมูลดังต่อไปนี้ คือ วิธีการทดลองโดยย่อ ตัวชี้วัดที่ทำการศึกษา ระยะเวลาที่ทำการศึกษา ตารางแสดงผลการทดลอง วิจารณ์ผลการทดลองแทรกเพื่ออธิบายผลที่เกิดขึ้นด้วย ชื่อผู้ที่ทำการศึกษา เรื่อง ชนิดข้อมูลที่ทำการทดลอง แผนการทดลอง จำนวนประชากร จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำนวนเครื่องมือ

  14. การตรวจเอกสารอ้างอิง หรือบรรณานุกรม เอกสารอ้างอิง(references) คือ เอกสารที่ผู้เขียนได้อ้างไว้ในตัวบทความโดยตรง เอกสารอ้างอิงมักจะนำมาพิมพ์รวมไว้ท้ายบทแต่ละบทหรืออยู่ท้ายบทความที่เขียน บรรณานุกรม (bibliography) คือรายชื่อหนังสือ เอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่รวบรวมไว้และเกี่ยวข้องกับงานที่เขียนข้างหน้า บางทีผู้เขียนได้อ้างไปใช้นิดเดียวหรือไม่ใช้เลยก็ได้ แต่เอามาพิมพ์ไว้เพื่อให้ผู้อ่านไปอ่านเพิ่มเติม เพื่อทราบภูมิหลังและเพื่อความเข้าใจในบทความมากขึ้น

  15. การเขียนบทคัดย่อ (Abstract) บทคัดย่อ คือ การย่อทุกโครงสร้างของบทความดึงมาเฉพาะส่วนสำคัญ บทคัดย่อที่ดีต้องมีใจความ 5 ส่วน คือ (1) ที่มาของปัญหา หรือ หลักการและเหตุผล (2) วัตถุประสงค์ (3) วิธีดำเนินการ (4) ผลการทดลองที่สำคัญ และ (5)ผลสรุปที่สำคัญๆ นอกจากนี้บทคัดย่อจะอยู่ในหน้าแรกของการตีพิมพ์และแยกจากเรื่องเต็ม บทคัดย่อควรมีความยาวประมาณ 100-250 คำ (5-10 บรรทัด) บทคัดย่อจะไม่มีคำนำยืดยาด ไม่มีการอ้างเอกสารอ้างอิง ไม่มีตาราง แต่มีตัวเลข หรือผลที่สำคัญๆ เท่านั้น

  16. การเขียนบทสรุป การเขียนบทสรุป คือ การตอบคำถามของวัตถุประสงค์ของการนำเสนอรายงานสัมมนาครั้งนี้ให้กระชับ และเพื่อประโยชน์ให้ผู้อ่านนำไปใช้ต่อได้

  17. รูปแบบการทำรายงานสัมมนารูปแบบการทำรายงานสัมมนา ให้ใช้แบบตัวอักษร Angsana New ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การจัดระยะขอบกระดาษ • ขอบบน 1.2 นิ้ว • ขอบล่าง 1.0 นิ้ว • ขอบซ้าย 1.3 นิ้ว • ขอบขวา 0.9 นิ้ว

  18. (เบอร์ 17 ตัวหนา) (เบอร์ 17 ตัวธรรมดา) (เบอร์ 20 ตัวหนา) (เบอร์ 17 ตัวธรรมดา) (เบอร์ 20 ตัวหนา) (เบอร์ 17 ตัวธรรมดา) (เบอร์ 17 ตัวหนา) (เบอร์ 17 ตัวธรรมดา) วิชาสัมมนา (XXX-XXX) เรื่อง……… ชื่อเรื่อง ภาษาไทย ชื่อเรื่อง ภาษาEnglish โดย นายเก่งเอตลอด รหัสนักศึกษา XXXXXXX อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร. ชอบสอนเกรดดี ภาควิชาอุตสาหกรรมศิลป์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ภาคการศึกษาที่2/25XX วันที่.............เดือน..................พ.ศ..................

  19. ชื่อเรื่องภาษาไทย (ขนาดตัวอักษร 20) คำนำ คำนำให้พิมพ์ตัวหนา ขนาดตัวอักษร 18 ไว้กลางหน้ากระดาษ โดยเว้นบรรทัดจากชื่อเรื่อง 1 บรรทัด ส่วนเนื้อความคำนำให้เริ่มพิมพ์ในบรรทัดต่อมา โดยพิมพ์ย่อหน้าในบรรทัดแรก

  20. ส่วนของหัวข้อต่างๆ ในเนื้อเรื่องให้พิมพ์ดังนี้ • หัวข้อรอง : ย่อหน้า พิมพ์ตัวหนา ขนาดตัวอักษร 17 ข้อความต่อมาอยู่ในย่อหน้าใหม่ • หัวข้อเล็ก : ย่อหน้า พิมพ์ตัวเอียงหนา ขนาดตัวอักษร 17 เว้นวรรค ข้อความต่อมาอยู่ในย่อหน้าใหม่ • หัวข้อย่อย : ย่อหน้า พิมพ์ตัวเอียง ขนาดธรรมดา ข้อความต่อมาอยู่ในย่อหน้าใหม่ หัวข้อใหญ่ : หัวข้อใหญ่ให้พิมพ์ตัวหนาชิดด้านซ้ายของกระดาษ ขนาดตัวอักษร 17 ข้อความต่อมาอยู่ในย่อหน้าใหม่

  21. สรุป ให้พิมพ์คำว่า ”สรุป” เป็นตัวหนา ขนาดตัวอักษร18 กลางหน้ากระดาษ แล้วขึ้นบรรทัดใหม่ ย่อหน้าแล้วพิมพ์เนื้อหาสรุป

  22. หลักเกณฑ์ในการตรวจเอกสาร และการอ้างอิงเอกสารในเนื้อเรื่อง เอกสารที่เขียนอ้างอิงในการตรวจเอกสาร จะต้องตรงกับเอกสารในเอกสารอ้างอิง ระบบการอ้างอิงใช้ระบบ ชื่อ และปี (name-and-year-system) การอ้างอิงเอกสารภาษาไทยให้ใช้ชื่อตัว เอกสารภาษาต่างประเทศให้ใช้ชื่อสกุล

  23. หลักเกณฑ์ในการตรวจเอกสาร และการอ้างอิงเอกสารในเนื้อเรื่อง (ต่อ) แบบการอ้างอิง อาจแตกต่างกันแล้วแต่กรณี เช่น 1. กรณีผู้เขียนคนเดียว ชื่อผู้รายงานนำหน้าข้อความ สุวรรณ (2523)........................................... Gardner (1980)........................................ ชื่อตามหลังข้อความ ...........................................(สุวรรณ, 2523) ...........................................(Gardner, 1980)

  24. หลักเกณฑ์ในการตรวจเอกสาร และการอ้างอิงเอกสารในเนื้อเรื่อง (ต่อ) 2. กรณีมีผู้เขียน 2 คน ต้องใส่ชื่อทั้งหมด เช่น สุวรรณ และ กนก (2523)........................................ Johnson และ Smith (1980)................................. หรือ ............................................(สุวรรณ และ กนก, 2523) ............................................(Johnson และ Smith, 1980)

  25. หลักเกณฑ์ในการตรวจเอกสาร และการอ้างอิงเอกสารในเนื้อเรื่อง (ต่อ) 3. กรณีมีผู้เขียน 3 คนขึ้นไป เขียนดังนี้ สุวรรณ และคณะ (2523).............................................. Gardner และคณะ (1980)........................................... หรือ .............................................(สุวรรณ และคณะ, 2523) .............................................(Gardner และคณะ, 1980)

  26. หลักเกณฑ์ในการตรวจเอกสาร และการอ้างอิงเอกสารในเนื้อเรื่อง (ต่อ) 4. กรณีที่เอกสารอ้างอิงในเรื่องเดียวกันมากกว่า 1 เอกสาร ให้ใช้อ้างอิงในแบบตามท้ายข้อความ โดยเรียงตามลำดับของปี เช่น .............................................(ประพาส, 2510; โสภา, 2515; สุวรรณ และคณะ, 2523) .............................................(Petersan, 1960; Johnson และ Anderson, 1972)

  27. หลักเกณฑ์ในการตรวจเอกสาร และการอ้างอิงเอกสารในเนื้อเรื่อง (ต่อ) 5. กรณีที่อ้างเอกสารหลายฉบับที่เขียนโดยผู้เขียนคนเดียว หรือคณะเดียวกันและตีพิมพ์ในปีเดียวกัน ให้เพิ่มอักษรตามหลังปี เช่น ..............................................(สุวรรณ, 2523ก, ข) ..............................................(Gardner และ Anderson, 1980a, b, c)

  28. หลักเกณฑ์ในการตรวจเอกสาร และการอ้างอิงเอกสารในเนื้อเรื่อง (ต่อ) 6 กรณีที่เอกสารอ้างอิงไม่มีชื่อผู้เขียนให้ใช้ดังนี้ นิรนาม (2520).................................................. Anonymous (1977)..................................... หรือ ............................................(นิรนาม, 2520) ............................................(Anonymous, 1977)

  29. หลักเกณฑ์ในการตรวจเอกสาร และการอ้างอิงเอกสารในเนื้อเรื่อง (ต่อ) 7. กรณีที่เอกสารมากกว่า 1 ฉบับ ซึ่งเอกสารแต่ละฉบับเขียนโดยผู้เขียนคนละคนแต่ชื่อเหมือนกัน และพิมพ์ในปีเดียวกัน เขียนดังนี้ สมพงษ์(2523ก)............................................ สมพงษ์(2523ข)............................................ Anderson (1980a)............................................. Anderson (1980b)............................................. หรือ ................................................(สมพงษ์, 2523ก) ................................................(สมพงษ์, 2523ข) ................................................(Anderson, 1980a) ................................................(Anderson, 1980b)

  30. หลักเกณฑ์ในการตรวจเอกสาร และการอ้างอิงเอกสารในเนื้อเรื่อง (ต่อ) 8 กรณีการอ้างอิงที่ไม่ได้อ้างจากต้นฉบับแต่เป็นการอ้างต่อให้ใช้คำว่า อ้างโดย เช่น Smith (1984) อ้างโดย Harrington (1989).......................................... 9. กรณีอ้างอิงที่มาจากเว็บไซด์ ให้เขียนเหมือนกับการอ้างจากวารสาร หากไม่ทราบชื่อผู้แต่งให้เขียนดังนี้ (ไทย) .......................................(นิรนาม, 2548) (อังกฤษ)………………………(anonymous, 2005)

  31. การแสดงตาราง การแสดงตาราง ก่อนถึงตารางควรกล่าวถึงว่าจะมีตารางนี้ก่อน เช่น ................ ดังแสดงในตารางที่ x การเขียนตารางมีรายละเอียด คือ เลขที่และชื่อตาราง 1.1 เลขหมายประจำตาราง เป็นส่วนที่แสดงลำดับของตารางให้ใส่คำ ตารางที่ ตามด้วยเลขหมายประจำตารางไว้ริมซ้ายมือสุดของกระดาษ เว้นขอบกระดาษไว้ตามระเบียบ พิมพ์ตารางที่ และเลขหมายประจำตาราง ใช้อักษรขนาด 17 ตัวหนา

  32. การแสดงตาราง (ต่อ) 1.2 ชื่อตาราง ให้พิมพ์ต่อจากเลขหมายประจำตารางโดยเว้น 2 ตัวอักษร ใช้อักษรขนาด 17 ขนาดปกติ กรณีชื่อตารางยาวเกินกว่า 1 บรรทัด ให้พิมพ์ตัวอักษรตัวแรกของบรรทัดที่สองตรงกับตัวแรกของชื่อตารางหากมีคำอธิบายที่ต้องการบ่งรายละเอียดให้ชัดเจน ให้นำรายละเอียดไปใส่ไว้ในท้ายตาราง คำย่อในตาราง ชื่อตารางภาษาอังกฤษให้แปลด้วย 1.3 หัวตารางให้พิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาด 17 ตัวหนา 1.4 ตารางที่อ้างอิงจากแหล่งอื่นให้ถือปฏิบัติตามวิธีการตรวจเอกสาร โดยการระบุที่มาไว้ด้านล่างของตาราง และหากมีการดัดแปลงข้อมูลเพื่อให้เหมาะสมกับเนื้อหาให้ระบุว่า “ดัดแปลงจาก...........”

  33. การแสดงตาราง (ต่อ) ตารางที่มีความยาวจนไม่สามารถบรรจุในหน้ากระดาษเดียวได้ ให้พิมพ์ในหน้าถัดไป โดยมีเลขที่ตารางและคำว่า ต่อ ในวงเล็บ เช่น ตารางที่ 1 (ต่อ) (ใช้อักษรตัวหนาเช่นเดียวกัน) ตารางที่มีความกว้างจนไม่สามารถบรรจุในหน้ากระดาษเดียวได้ ให้ย่อส่วน หรือ แยกตารางออกได้มากกว่า 1 ตาราง และให้มีหัวตารางปรากฏในทุกหน้า ตารางที่พิมพ์ตามแนวขวางของกระดาษ ให้พิมพ์เลขหมายและชื่อตารางไว้ด้านสัน ไม่ควรมีเส้นแบ่งสดมภ์ (column) ยกเว้นกรณีจำเป็น ตารางที่อ้างอิงจากเอกสารภาษาต่างประเทศ ให้แปลเป็นภาษาไทย โดยยึดหลักการแสดงตาราง ตามข้อ 1-5 และให้ระบุในส่วนของที่มาว่า “ดัดแปลงจาก...........” คำว่า "ที่มา" ให้พิมพ์ด้วยตัวหนา

  34. การแสดงภาพ การติดภาพให้ติดให้เรียบร้อยและถาวรที่สุดเท่าที่จะทำได้ กรณีที่เป็นกราฟ แผนที่ แผนผัง หรือรูปเขียนใดๆ ก็ตาม จะต้องชัดเจน ให้มีเลขหมายประจำภาพเรียงตามลำดับหลังคำ ภาพที่ โดยใส่ไว้ด้านล่างของภาพ ปรับระยะตามความเหมาะสมแล้วขีดเส้นใต้ ให้มีคำบรรยายต่อจากเลขหมายประจำภาพ โดยเว้น 2 ตัวอักษร กรณีข้อความบรรยายภาพเกินกว่า 1 บรรทัดให้พิมพ์ตัวอักษรแรกของบรรทัดที่สองตรงกับตัวแรกของข้อความบรรยายภาพในบรรทัดแรก ภาพที่อ้างอิงจากแหล่งอื่น ให้ระบุที่มาไว้ด้านล่างของคำบรรยายภาพ ภาพที่อ้างอิงจากเอกสารภาษาต่างประเทศ ให้แปลรายละเอียดคำบรรยายภาพเป็นภาษาไทย โดยยึดหลักการแสดงภาพตามข้อ 1-5 และระบุในส่วนของที่มาว่า “ดัดแปลงจาก.........”

  35. การเขียนเอกสารอ้างอิงการเขียนเอกสารอ้างอิง เอกสารอ้างอิงเป็นส่วนที่บรรจุรายการเอกสารที่ได้อ้างอิงไว้ในเนื้อหา ดังนั้นรายการเอกสารอ้างอิงต้องรับกับเอกสารที่อ้างอิงไว้ในเนื้อหา

  36. การเขียนเอกสารอ้างอิงการเขียนเอกสารอ้างอิง หลักเกณฑ์การเขียนเอกสารอ้างอิง 1. ให้พิมพ์คำว่า “เอกสารอ้างอิง” ตัวหนา ขนาด 18 ไว้กลางหน้ากระดาษ 2. ไม่ต้องมีลำดับเลขที่กำกับ ให้เรียงลำดับตัวอักษรผู้แต่ง เริ่มด้วยเอกสารภาษาไทยก่อน แล้วต่อด้วยเอกสารภาษาต่างประเทศ

  37. การเขียนเอกสารอ้างอิง (ต่อ) 3. เอกสารที่มีผู้เขียนชุดเดียวกันให้เรียงตามลำดับปีของเอกสาร แต่หากเป็นภายในปีเดียวกันให้ใส่ ก, ข,..... สำหรับเอกสารภาษาไทย และ a, b,...... สำหรับเอกสารภาษาต่างประเทศ ไว้หลังปีของเอกสารโดยเรียงตามลำดับของเล่มที่พิมพ์หรือตามลำดับตัวอักษรของชื่อเรื่อง เช่น พิษรักสมใจ. 2537ก. ลักษณะไก่เบตง........... พิษรักสมใจ. 2537ข. ศัตรูของไก่เบตง........... Smith, C.D. 1984a. Toxicity of mineral oil........ Smith, C.D. 1924b. Ultrasound...............

  38. การเขียนเอกสารอ้างอิง (ต่อ) 4. ชื่อผู้เขียนในภาษาไทย ใช้ชื่อตัว ตามด้วยนามสกุลทุกคนเรียงกันไปคั่นด้วยจุลภาค (,) คนสุดท้ายให้เชื่อมด้วย “และ” เช่น วัลลภ สันติประชา, ขวัญจิต สันติประชา และ ชูศักดิ์ ณรงค์เดช.... กรณีเอกสารภาษาต่างประเทศ ให้ใช้ชื่อสกุลขึ้นก่อน ซึ่งเขียนเต็ม ตามด้วยอักษรย่อของชื่อหน้า ชื่อกลาง (ถ้ามี) ในกรณีที่มีผู้แต่งมากกว่า 1 คนคนถัดไปให้ขึ้นด้วยชื่อสกุล ตามด้วย อักษรย่อของชื่อหน้าชื่อกลาง (ถ้ามี) และหน้าชื่อคนสุดท้ายให้เชื่อมด้วย “and” ดังตัวอย่าง Atken, E. L., Kullum, D. and Aikins, K. W...................

  39. การเขียนเอกสารอ้างอิง (ต่อ) 5. เอกสารที่มีผู้เขียนชื่อแรกชื่อเดียวกัน ให้เรียงตามปีเก่า-ใหม่ และเรียงตามอักษรของผู้เขียนถัดไป เช่น Shotwell, O. L. 1984.......................... Shotwell, O. L. and Zwieg, D. W. 1984......................... Shotwell, O. L. and Jones, M. L. 1991.......................... Shotwell, O. L. and Jones, M. L. 1993.........................

  40. การเขียนเอกสารอ้างอิง (ต่อ) 6. หลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่สำคัญในการเขียนมีดังนี้ 6.1 ชื่อเมือง ชื่อ รัฐ และชื่อประเทศ ให้เขียนเต็ม 6.2 การอ้างจำนวนหน้าของเอกสารภาษาต่างประเทศ ถ้าอ้างเพียง 1 หน้า ใช้ p. หน้า ตัวเลข ถ้าอ้างหลายหน้าใช้ pp. หน้าตัวเลขสำหรับเอกสารภาษาไทยให้ใช้ น. หน้าตัวเลข ทั้งกรณีอ้างหน้าเดียวและหลายหน้า 6.3 เอกสารที่มิใช่วารสาร ต้องบอกจำนวนหน้าด้วย โดยใช้ p. หลังตัวเลขแสดงจำนวนหน้า และให้ใช้ น. หลังตัวเลขสำหรับวารสารภาษาไทย

  41. การเขียนเอกสารอ้างอิง (ต่อ) 6.4 ชื่อวารสารให้เขียนย่อตามที่วารสารนั้น ๆ กำหนดยกเว้นชื่อที่ย่อไม่ได้ เช่น ว.สงขลานครินทร์ วทท. J. Anim. Sci. Buffalo J. Asian Livestock 6.5 ชื่อเรื่องและชื่อบทความในภาษาต่างประเทศให้ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่เฉพาะคำแรกยกเว้นชื่อเฉพาะ ส่วนชื่อหนังสือให้ขึ้นด้วยอักษรตัวใหญ่ทุกคำ ยกเว้นคำที่เป็นคำนำหน้านาม (article) คำสันธาน (conjunction) และคำบุรพบท (preposition) หากเอกสารที่อ้างถึงไม่ใช่หนังสือหรือตำราให้พิมพ์เช่นเดียวกับ ชื่อเรื่องในวารสาร เอกสารที่มาจากการประชุม สัมมนา ฯลฯ นั้นๆ

  42. การเขียนเอกสารอ้างอิง (ต่อ) 6.6 ชื่อการประชุมสัมมนา ให้เขียนเต็ม 6.7 ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งที่มีชีวิตให้ใช้ตัวเอน หรือตัวตรงขีดเส้นใต้ 6.8 คำเฉพาะ เช่น in vitro, in vivo, ad libitumหรือคำประเภทเดียวกันให้ใช้ตัวเอน หรือตัวตรงขีดเส้นใต้ 7. การพิมพ์ บรรทัดที่สอง และบรรทัดต่อไปของเอกสารอ้างอิงแต่ละเรื่องให้ย่อหน้า โดยเว้น 5 ตัวอักษร การพิมพ์ให้ถือหลัก ถ้าตามหลังเครื่องหมาย., ; : เว้น 1 ระยะ และเมื่อหมดเอกสารอ้างอิงแต่ละเรื่องเว้นบรรทัดแล้วขึ้นเอกสารอ้างอิงเรื่องต่อไป

  43. ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิงตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง หนังสือ/ตำรา (text) ก. กรณีอ้างทั้งเล่ม ผู้เขียน. ปี. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี) สำนักพิมพ์. ชื่อเมืองที่พิมพ์. จำนวนหน้า. สุรพลอุปดิสสกุล. 2521. สถิติการวางแผนการทดลองเบื้องต้น. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 145 น. Kempthorne, O. 1967. The Design and Analysis of Experiments. Robert E. Krieger Publ. Co. Inc., Huntington, New York. 631 p.

  44. ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิงตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง ข. กรณีอ้างเฉพาะบท ผู้เขียน. ปี. ชื่อเรื่อง ใน หรือ Inชื่อหนังสือ (ชื่อบรรณาธิการหรือ ed. ชื่อ editor ถ้ามี) สำนักพิมพ์. เมือง. หน้าหรือ pp. ไพโรจน์ จ๋วงพานิช. 2520. โรคอ้อยที่เกิดจากเชื้อรา. ใน หลักการทำไร่อ้อย.(เกษม สุขสถาน และ อุดม พูลเกษ, บรรณาธิการ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. น.141-145. Spraque, G.F. 1966. Quantitative genetics in plant improvement. In Plant Breeding (ed. K. J. Frey) The lowa State University Press. Ames, lowa. pp. 315-354.

  45. ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิงตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง ค. เอกสารอ้างอิงที่ไม่ได้อ้างจากต้นฉบับ แต่เมื่อเป็นการอ้างต่อให้เขียนเฉพาะเล่มที่อ้างจริง เช่น Smith (1984) อ้างโดย Harrinton (1989)....... ให้เขียนเอกสารอ้างอิงเฉพาะชื่อ Harrington ตามหลักการเขียนข้างต้น

  46. ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิงตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง ง. กรณีหนังสือแปล กฤษฏา สัมพันธารักษ์. 2521. พืชไร่. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 394 น. แปลจาก S.C. Litzenberger (ed.). Guide for Field Crops in the Tropics and the Subtropics. Agency for International development. Washington, D.C. Millot, G. 1970. Geology of Clays (English translation form French). Springer Verlag. New York. 429 p.

  47. ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิงตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง 2 เอกสารประเภทวารสาร/จุลสาร (Journal/Bulletin) ผู้เขียน. ปี. ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร ปีที่(ฉบับที่) : หน้า สุพจน์ เอนกวนิช, ธีรศักดิ์ ตรัยมงคลกูล และ พิภพ จาริกภากร. 2519. การศึกษาภาวะโรคคีโตซิสในโคนม. วิทยาสารเกษตรศาสตร์. 10(1): 65-73. Chen, S. Y. 1972. Genetic studies of leaf yield and nicotine content in Nicotiana tabacum (in Chinese, English summary), Taiwab Agr. quart. 8 : 125-132.

  48. ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิงตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง 3. เอกสารประเภทรายงานสัมมนา/ประชุมทางวิชาการ (Reports/Proceedings) ผู้เขียน. ปี. ชื่อเรื่อง. ชื่อรายงานการวิจัยหรือสัมมนา หรือประชุมทางวิชาการ ชื่อบรรณาธิการ. (ถ้ามี) สถานที่. วันสัมมนา. หน้าของเรื่อง. ธวัช ลวะเปารยะ. 2513. การผสมพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวาน. รายงานความก้าวหน้า โครงการวิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่าง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 42 น. สมคิด พรหมมา, อิวาโอะ ทาซากิ, บุญล้อม ชีวอิสระกุล และ ธวัชชัย อินทรตุล. 2537. การย่อยได้ของฟางปรุงแต่งสะเทินและสมดุลไนโตรเย่นไนโคนมรุ่นเพศผู้ลูกผสมขาว-ดำ. รายงานการประชุมวิชาการปศุสัตว์ ครั้งที่ 13 ณ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรุงเทพฯ. 18-21 กรกฎาคม 2537. น. 62-72.

  49. ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิงตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง 4. เอกสารที่ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์ แต่เป็นที่ยอมรับในสาขานั้น และสามารถหาแหล่งที่มาได้แน่นอน Cockerham, C.C. 1970. Random vs. fixed effects in plant genetics. Paper presented at the 7th International Biometric Conference. Stadthallensale, Hannover, Germany. 41 p. Swayne, D. 2005. Avian influenza, poultry vaccines: a review. From A ProMED-mail post dated 7 Mar 2005.

  50. ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิงตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง 5. วิทยานิพนธ์ (thesis) ผู้เขียน. ปี. ชื่อเรื่อง. วิทยานิพนธ์ ชื่อปริญญา ชื่อมหาวิทยาลัยหรือสถาบัน วิเชียร อุ่นเรือน. 2526. การเปรียบเทียบวิธีการคัดเลือกพันธุ์ในข้าวไร่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. Suasa-ard, W. 1982. Ecology of the Sugarcane Moth Borers and their Parasites in Thailand. Ph.D. Thesis. Kasetsart University.

More Related