1 / 12

บทที่ 9

บทที่ 9. ธนาคารกลาง.

artie
Download Presentation

บทที่ 9

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 9 ธนาคารกลาง

  2. ธนาคารกลางเป็นสถาบันการเงินที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน เนื่องจากธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ จะได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้เป็นผู้จัดระบบการเงินของประเทศให้ดี และมีประสิทธิภาพสามารถอำนวยประโยชน์สูงสุดให้เกิดแก่เศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ธนาคารกลางจึงได้รับมอบหมายในการควบคุม และกำหนดโครงสร้างทางการเงินของประเทศ รวมทั้งการควบคุมการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินอื่น ๆ ซึ่งเป็นสถาบันที่มีอิทธิพลต่อระบบการเงินของประเทศเป็นอย่างมาก • ธนาคารกลางควบคุมดูแลการดำเนินงานกระจายในภูมิภาคต่าง ๆ ถึง 12 แห่ง ดังนั้นจึงเป็นที่ยอมรับถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ ในปัจจุบันทุกประเทศในโลกจึงมีธนาคารในประเทศของตนเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าวทุกประเทศ

  3. ความหมายของธนาคารกลางความหมายของธนาคารกลาง ธนาคารกลาง หมายถึง สถาบันการเงินของรับบาลซึ่งรับผิดชอบในการจัดการในเรื่องปริมาณเงินภายในประเทศ และออกกฎเกณฑ์ในการควบคุมระบบธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจของชาติ อาทิเช่น การมีงานทำอย่างเต็มที่ การมีเสถียรภาพในราคาสินค้า และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ธนาคารกลางเป็นสถาลบันการเงินของรัฐบาลที่มีอำนาจ และหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินของประเทศ ทั้งในด้านอุปท่าน (Supply) ของเงินภายในประเทศ จำนวนเงินที่ให้กู้ยืม อัตราดอกเบี้ย รวมถึงการเงินระหว่างประเทศ เพื่อประโยชน์ของประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ

  4. ลักษณะสำคัญของธนาคารกลางลักษณะสำคัญของธนาคารกลาง ธนาคารกลางมีฐานะเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ด้านการเงินของ ประเทศ ธนาคารกลางจึงมีลักษณะแตกต่างจากสถาบันการเงินอื่น ๆ ดังนี้คือ • การดำเนินงานเป็นไปเพื่อเสถียรภาพ และความเจริญทางเศรษฐกิจของประเทศ • การดำเนินงานของธนาคารมีอิสระในกรอบนโยบายของรัฐบาล แต่ถึงกระนั้นธนาคารกลางก็มีอิสระในการเสนอแนะนโยบายทางการเงินต่อรัฐบาล • การประกอบธุรกิจของธนาคารกลางส่วนใหญ่จะกระทำกับธนาคาร พาณิชย์ และกับสถาบันการเงินบางประเภท แต่ธนาคารกลางจะไม่ทำธุรกิจติดต่อ โดยตรงกับพ่อค้าประชาชนทั่งไป

  5. ประวัติความเป็นมาของธนาคารกลางประวัติความเป็นมาของธนาคารกลาง • ธนาคารกลาง ส่วนใหญ่ที่ก่อตั้งขึ้นในระยะแรก ถือกำเนิดมาจากธนาคารพาณิชย์ที่ได้ช่วยเหลือรัฐบาลของตนในทางการเงิน ดังนั้นรัฐบาลจึงได้ตอบแทนโดยการให้เอกสิทธิในการออกบัตรธนาคาร (Bank Note) เช่น ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ เป็นต้น • ธนาคารกลางเริ่มถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรป ในช่วงตอนปลายศตวรรษที่ 17 • ภายหลังปี พ.ศ.2472 เป็นต้นมา รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ เริ่มเข้าแทรกแซงกิจการของธนาคารกลางมากขึ้น เพื่อให้ธนาคารกลางสามารถควบคุมภาวะทางการเงิน และเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล

  6. ประวัติความเป็นมาของธนาคารกลาง(ต่อ)ประวัติความเป็นมาของธนาคารกลาง(ต่อ) • ในบรรดาธนาคารกลางทั้งหลาย ธนาคารกลางที่เก่าแก่ที่สุด ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศสวีเดน (Risks Bank of Sweden) จนมีผู้ขนานนามว่าเป็น “มารดาแห่งธนาคารกลาง” (Mother of Central Bank) ธนาคารกลางแห่งนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2199 • ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ (Bank of England) ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2237 ในรูปของธนาคารพาณิชย์เอกชน และได้รับอำนาจหน้าที่ให้เป็นธนาคารกลางของประเทศในปี พ.ศ.2387 ต่อมาได้โอนกิจการมาเป็นของรัฐบาลในปี พ.ศ.2489 ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษเป็นธนาคารแรกที่ได้รับเอกสิทธิในการออกบัตรธนาคาร (Bank Note)

  7. ประวัติความเป็นมาของธนาคารกลาง(ต่อ)ประวัติความเป็นมาของธนาคารกลาง(ต่อ) • ธนาคารแห่งประเทศฝรั่งเศส (Bank of France)ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2343 • ธนาคารแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ (Bank of Netherland) ตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2357 • ธนาคารแห่งประเทศนอร์เวย์ (Bank of Norway) ตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2359 • ธนาคารชาติแห่งออสเตรีย (National Bank of Austia) ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2360 • ธนาคารแห่งประเทศเดนมาร์ก (Bank of Denmark) ตั้งขึ้นในปี พ. ศ. 2361 • ธนาคารชาติแห่งเบลเยี่ยม (National Bank of Belgium) ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2393 • ธนาคารแห่งประเทศสเปน (Bank of Spain) ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2399 • ธนาคารแห่งประเทศเยอรมัน (Reiechsbank of Germany)

  8. การจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยการจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย • การจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย มีรากฐานมาจากการตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทย โดยได้มีการตราพระราชบัญญัติ จัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทยพุทธศักราช 2482 ขึ้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2482 และได้เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 กำหนดให้สำนักงานธนาคารชาติไทยมีฐานะเป็นทบวงการเมือง สังกัดกระทรวงการคลัง มีทุนดำเนินงานจากรัฐบาลจำนวน 10 ล้านบาท และให้พระยาทรงสุรรัชฏ์อธิบดีกรมบัญชีกลาง ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานธนาคารชาติไทยจุดประสงค์หลักในการจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทย ก็เพื่อฝึกฝนให้คนไทยรู้จักการปฏิบัติธุรกิจธนาคารกลาง และทำหน้าที่บริหารเงินกู้ของรัฐบาล

  9. ต่อมาในปี พ. ศ 2488 จึงได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่วังบางขุนพรหมจนถึงปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ชื่อในภาษาอังกฤษว่า “Bankof Thailand” • ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2485 ทําหน้าที่เป็นธนาคารกลางดําเนินการจัดพิมพ์ธนบัตร นําธนบัตรออกใช้ เป็นนายธนาคารให้แก่รัฐบาลและสถาบันการเงินต่าง ๆ รวมทั้งเป็นผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้ายแก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ นอกจากนี้ ยังดําเนินนโยบายการเงินและรักษาเสถียรภาพทางการเงิน ดูแลระบบการชําระเงินกํากับควบคุม และตรวจสอบการดําเนินงานของสถาบันการเงิน อันได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ และธนาคารเฉพาะกิจตามที่กระทรวงการคลังมอบหมาย

  10. การบริหารและการแบ่งส่วนงานของธนาคารแห่งประเทศไทยการบริหารและการแบ่งส่วนงานของธนาคารแห่งประเทศไทย • การแบ่งส่วนงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ในระยะที่เริ่มก่อตั้งธนาคารประกอบด้วยฝ่ายที่ทำหน้าที่รับผิดชอบธุรกิจของธนาคารโดยตรงเท่านั้น ได้แก่ ฝ่ายบัญชาการ ฝ่ายการธนาคาร ฝ่ายออกบัตร ฝ่ายการคลัง และฝ่ายการบัญชี ต่อมาจึงขยายขอบเขตของงาน และปรับปรุงการแบ่งส่วนของงาน โดยเพิ่มส่วนงานขึ้นอีกหลายฝ่าย

  11. การบริหารและการแบ่งส่วนงานของธนาคารแห่งประเทศไทยการบริหารและการแบ่งส่วนงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ในปัจจุบันส่วนงานของธนาคารแบ่งได้ตามลักษณะและภาระหน้าที่ ดังนี้ 5.1 ส่วนงานที่ทำหน้าที่ประกอบธุรกิจหลักของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรง ได้แก่ -ฝ่ายการธนาคาร -ฝ่ายการควบคุมปริวรรต -ฝ่ายกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ -ฝ่ายกำกับและตรวจสอบสกาบันการเงิน -ฝ่ายออกบัตรธนาคาร -พิมพ์ธนบัตร 5.2 ส่วนงานที่สนับสนุนการปฏิบัติงานหลักของธนาคารแห่งประเทศไทย -ฝ่ายวิชาการ-ฝ่ายธุรการ -ฝ่ายการพนักงานและการจัดองค์การ -ฝ่ายการบัญชี -ฝ่ายตรวจสอบกิจการภายใน -ฝ่ายวางแผนและปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ -ฝ่ายจัดการกองทุน -ฝ่ายกฎหมาย -สำนักผู้ว่าการ -สำนักงานความปลอดภัย -สำนักงานสุรวงค์-สำนักงานคณะกรรมการโครงการก่อสร้างอาคารธนาคาร -ห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศ

  12. การประกอบธุรกิจของธนาคารแห่งประเทศไทยการประกอบธุรกิจของธนาคารแห่งประเทศไทย

More Related