1 / 29

อู่ข้าวอู่น้ำ วัฒนธรรมรุ่งเรือง เมืองพลอยล้ำค่า แดนผ้ามัดหมี่ สตรีแสนงาม

อู่ข้าวอู่น้ำ วัฒนธรรมรุ่งเรือง เมืองพลอยล้ำค่า แดนผ้ามัดหมี่ สตรีแสนงาม. ผลการดำเนินงานการพัฒนา ตำบลจัดการสุขภาพ ปี 2553. สถานีอนามัยตำบลดอนดึง. มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 4 ท่าน คือ. 1. นายเกษม ประภาสะวัต นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ.

Download Presentation

อู่ข้าวอู่น้ำ วัฒนธรรมรุ่งเรือง เมืองพลอยล้ำค่า แดนผ้ามัดหมี่ สตรีแสนงาม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อู่ข้าวอู่น้ำ วัฒนธรรมรุ่งเรือง เมืองพลอยล้ำค่า แดนผ้ามัดหมี่ สตรีแสนงาม

  2. ผลการดำเนินงานการพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ ปี 2553

  3. สถานีอนามัยตำบลดอนดึงสถานีอนามัยตำบลดอนดึง มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 4 ท่าน คือ 1. นายเกษม ประภาสะวัต นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ 2. นางธนวรรณ ศิริบุญญรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญงาน 3. นางจุฑาทิพย์ บุญยะเนติ เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฎิบัติงาน 4. นางสาวน้ำฝน สีตะระโส เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข

  4. บริบทพื้นที่ • ตำบลดอนดึง มีพื้นที่ ประมาณ 38.07 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบสลับภูเขา มีลำคลองไหลผ่าน 1 สาย มีจำนวน 8 หมู่บ้าน จำนวนประชากรแยกเป็นชาย 2,266 คน หญิง 2,557 คน รวมทั้งสิ้น 4,823 คน จำนวน 1,020 ครัวเรือน • มีวัด จำนวน 9 วัด โรงเรียน 3 แห่ง สถานีอนามัย จำนวน 1 แห่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบองค์การบริหารส่วนตำบล

  5. จุดแข็ง • ภาคีในการพัฒนามีความพร้อม มีความมุ่งมั่นและเข้มแข็งในการพัฒนาและมีความสามัคคี • มีระบบการทำงาน การประสาน การติดต่อสื่อสารที่ดี • ประชาชนให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ดำเนินการในชุมชน จุดอ่อน • ลักษณะพื้นที่กว้าง เป็นอุปสรรคในการติดต่อประสานงานกับผู้นำชุมชนและชาวบ้าน • มีข้อจำกัดด้านงบประมาณในการดำเนินงานความรู้ ทุน คน

  6. ข้อมูลสถิติสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพ ปี 53 • ผู้พิการ 82 ราย • ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 78 ราย • ผู้ป่วยเบาหวาน 66 ราย • ผู้ป่วยวัณโรค 3 ราย • วัดรอบเอวอายุ 15 ปีขึ้นไป • ชายเกิน 90 ซม. 34 ราย • หญิงเกิน 80 ซม. 51 ราย • น้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ 88 ราย • แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และแนวโน้มที่จะนำไปสู่การเป็นโรคอ้วนมีเพิ่มมากขึ้น

  7. ทุนทางสังคม • ชุมชนมีการรวมกลุ่ม และมีความสามัคคี • อสม.มีความเข้มแข็ง • มีการรวมกลุ่มในรูปของกลุ่มอาชีพ และกลุ่มสหกรณ์ต่างๆ • มีการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น • มีวัดซึ่งเป็นที่รวมจิตใจของประชาชนได้อย่างแท้จริง • จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และปฏิบัติการด้านสุขภาพ • มีระบบการทำงานร่วมกันในชุมชน • มีวัฒนธรรมที่มีความเอื้อเฟื้อ เอื้อต่อการสร้างความร่วมมือ • มีอาชีพและมีทรัพยากรที่สามารถดำรงชีพได้

  8. กระบวนการขั้นตอนและผลการดำเนินงานกระบวนการขั้นตอนและผลการดำเนินงาน • กระบวนการดำเนินงาน • การจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ • แต่งตั้งคณะทำงานระดับอำเภอและตำบล • จัดทำเวที • สรุปบทเรียน • เสนอต่อผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง • นำเสนอแผนงานโครงการบรรจุเข้าสู่กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล แผนพัฒนาท้องถิ่น แผนพัฒนาสาธารณสุขระดับหมู่บ้าน

  9. ลดเสี่ยงลดโรคไม่ติดต่อ (เบาหวานและความดันโลหิตสูง) • แต่งตั้งคณะทำงานประกอบด้วยคณะผู้บริหารท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ พระ กำนัน นายก อบต. ครู ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ อบต. เจ้าหน้าที่จากสถานีอนามัย และ อสม. • ประชุมชี้แจงหาแนวทางร่วมกัน • คัดกรองสุขภาพกลุ่ม 15 ปีขึ้นไป • แผนการปฏิบัติการชุมชนลดเสี่ยง ลดโรค • ฟื้นฟูการปฏิบัติงานในศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนประจำหมู่บ้าน

  10. กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 6 ไม่ 6 ต้อง (ไม่เค็ม ไม่หวาน ไม่มัน ไม่เครียด ไม่ดื่ม ไม่สูบ ต้องออกกำลังกาย ต้องเพิ่มผักผลไม้ ต้องอารมณ์ดี ต้องกินอาหารปลอดภัย ต้องควบคุมน้ำหนัก ต้องเยี่ยม) • จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ ระดับตำบล • จัดกิจกรรมการออกกำลังกายโดยไม้พลองประยุกต์ • ถุงมหัศจรรย์ • สร้างกระแส 3 วันสร้างสุข ( 3 อ อาหาร /อารมณ์ /ออกกำลังกาย)

  11. ผลงาน/นวัตกรรมชุมชน • แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ • 3 วันสร้างสุข • ชมรมผู้สูงอายุ • โรงเรียน อสม. • วาระชุมชนว่าด้วย 6 ไม่ 6 ต้อง • ถุงมหัศจรรย์

  12. สิ่งที่จะดำเนินการต่อสิ่งที่จะดำเนินการต่อ • ขับเคลื่อนผลงานและนวตกรรมชุมชนที่เกิดขึ้นต่อไป • ขยายผลให้ครอบคลุมทั้งตำบล • นำไปเป็นตัวแบบในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาอื่นๆ • ประชาชนมีสุขภาพดี • เกิดการบูรณาการทุกภาคส่วน • เป็นชุมชนต้นแบบในการลดเสี่ยงลดโรคไม่ติดต่อ

  13. บทเรียนที่ได้รับจากการดำเนินงานบทเรียนที่ได้รับจากการดำเนินงาน • การเตรียมทีมงาน • เชิญภาคีทุกภาคส่วนเข้าร่วมรับรู้ วางแผน ร่วมปฏิบัติ และร่วมติดตามประเมินผล • ผู้นำทางศาสนา ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ สสอ. เจ้าหน้าที่สอ. เจ้าหน้าที่อบต. ครู และ อสม. • สื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันและมีเป้าหมายทิศทางในการทำงานเดียวกัน

  14. กระบวนการพัฒนา • วิเคราะห์และสำรวจปัญหาในชุมชน • ร่วมกันวางแผนการทำงาน • บูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน ไม่แบ่งแยกว่าเป็นงานใคร แต่เป็นงานของชุมชน ทุกคนเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบร่วมกัน • มีการประชุมอย่างต่อเนื่อง • สื่อสารให้ชุมชนรับรู้ทุกขั้นตอนและกระบวนการในการดำเนินงาน

  15. ระบบและสิ่งสนับสนุน • สสอ.+สอ.+อบต. สนับสนุนงานวิชาการ และเจ้าหน้าที่ วัสดุ อุปกรณ์ • อบต.สนับสนุน • กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเอื้อต่อการดำเนินงาน • ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน อสม.และประชาชน เป็นพลังหลักสำคัญในการสนับสนุนการขับเคลื่อน

  16. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ • ความร่วมมือประสานแผน ความเป็นหนึ่งเดียวของภาคีการพัฒนา • การมีส่วนร่วม • การเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงบทบาทอย่างเต็มที่ • การมีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ • การใช้เครื่องมือในการดำเนินงาน เช่น แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ • การร่วมกันกำหนดวาระชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน

  17. ปัญหาและอุปสรรค • ข้อจำกัดด้านงบประมาณดำเนินการ • การสร้างความเข้าใจในระบบและการดำเนินงานในเชิงวิชาการที่ต้องปรับเปลี่ยนการสื่อสารเพื่อให้เข้าใจตรงกันระหว่างเจ้าหน้าที่ที่เป็นนักวิชาการ กับชาวบ้านที่ร่วมเวทีและกิจกรรม

  18. ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพให้ประสบผลสำเร็จและยั่งยืนข้อเสนอเพื่อการพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพให้ประสบผลสำเร็จและยั่งยืน • ข้อเสนอต่อผู้บริหารในระดับพื้นที่ • การประสานและการสื่อสารนโยบายในระดับจังหวัดควรมีการสื่อสารกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสื่อสารให้ประชาชนรับทราบถึงแนวทางการทำงาน และเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงบทบาทได้อย่างเต็มที่ • ควรเชื่อมโยงการจัดการสุขภาพกับการพัฒนาในด้านอื่นๆ • ส่งเสริมการดำเนินงานในชุมชนหรือบ้านที่สามารถเป็นหมู่บ้านจัดการสุขภาพ หรือ องค์กรชุมชนด้านสุขภาพที่เข้มแข็งให้สามารถที่จะดำเนินงานต่อได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

  19. แผนที่ทางเดินยุทธศาตร์ตำบลดอนดึงได้เริ่มดำเนินการภายหลังจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี ได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในการวางแผนการดำเนินการจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาตร์ตำบลต้นแบบและได้นำแผนงานสุขภาพชุมชนที่ได้จาการทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์นำเข้าสู่กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล

  20. ทำให้ทุกคนในพื้นที่แสดงบทบาทอะไรที่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับพื้นที่ทำให้ทุกคนในพื้นที่แสดงบทบาทอะไรที่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับพื้นที่ • ได้คำตอบว่าสิ่งที่สำคัญสำหรับพื้นที่คืออะไร การเชื่อมเครือข่ายเป็นอย่างไร • เป็นการกำหนดจุดหมายปลายทางร่วมกันในการแก้ปัญหาสุขภาพในชุมชนแบบภาคีเครือข่าย

  21. หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรการปฏิบัติการหรือชุมชน สร้างแผนที่ทางเดินยุทธศาตร์และนำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ที่ได้สร้างขึ้นไปใช้จริง ผลลัพธ์หรือประโยชน์ที่เกิดขึ้นนั้นจะส่งผลโดยตรงต่อองค์กร บุคลากร แกนนำและประชาชน โดยผ่านแผนงานโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลต่อไป

  22. สวัสดีครับ

More Related