1 / 18

รูปแบบ การจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย

รูปแบบ การจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย. Organization Model of Rajamangala University of Technology Games of Thailand. ผศ. จิร ภัทร ตันติทวีกุล ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย.

Download Presentation

รูปแบบ การจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รูปแบบการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทยรูปแบบการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย Organization Model of Rajamangala University of Technology Gamesof Thailand ผศ.จิรภัทร ตันติทวีกุล ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

  2. ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัยความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย • การกีฬาเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนากำลังคนให้เป็นผู้ที่มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา • ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือการกีฬาเป็นสื่อกลางในการแสดงออกซึ่งความมีน้ำใจนักกีฬา ความเป็นมิตรและความสมัครสมานสามัคคี รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย

  3. ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย (ต่อ) • การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ • มีกำหนดจัดเป็นประจำทุกปี โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ

  4. ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย (ต่อ) • เริ่มจัดการแข่งขันมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2523 • ปีการศึกษา 2548 ซึ่งเป็นปีแรกที่จัดการแข่งขัน ระหว่าง 9 มหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

  5. สถาบันเทคโนโลยี ราชมงคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคล วิทยาลัยเทคโนโลยี และอาชีวะศึกษา จำนวนวิทยาลัยในสังกัด 30 วิทยาลัย จำนวน วิทยาเขตในสังกัด 38วิทยาเขต และ 14 คณะ จำนวน 9 มหาวิทยาลัย ทั่วประเทศ ความเป็นมาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

  6. ความเป็นมาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลความเป็นมาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

  7. ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย (ต่อ) • จากความเปลี่ยนแปลง ในเรื่องจำนวนทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัน ตามโครงสร้างใหม่ในพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล • ผู้วิจัยซึ่งเป็นบุคคลหนึ่งในคณะกรรมการพัฒนากีฬามหาวิทยาลัย ฯ จึงสนใจที่จะศึกษารูปแบบการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย • เพื่อจะได้รูปแบบการจัดการแข่งขันที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  8. วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย • เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย

  9. ขอบเขตของโครงการวิจัยขอบเขตของโครงการวิจัย • ด้านประชากร / กลุ่มตัวอย่าง • คณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลแห่งประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจการกีฬาจากองค์กรต่าง ๆ รวมเรียกว่าผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการกีฬา จำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

  10. ขอบเขตของโครงการวิจัยขอบเขตของโครงการวิจัย • ด้านตัวแปร ตัวแปรอิสระ (Independent variable) ได้แก่ คณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการกีฬา ตัวแปรตาม (Dependent variable) ได้แก่ รูปแบบการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย มี 7 ด้าน

  11. กรอบแนวความคิด ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการกีฬา รูปแบบการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิยาลัย เทคโนโลยีราชมงคล แห่งประเทศไทย แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการจัด การแข่งขันกีฬามหาวิยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล แห่งประเทศไทยในทัศนะของผู้เชี่ยวชาญ

  12. วิธีดำเนินการวิจัย • เครื่องมือในการวิจัย • การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบเดลฟาย (Delphi technique) เป็นแบบสอบถาม ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล 3 รอบ ดังนี้ รอบที่ 1 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น แบบตรวจคำตอบ (Checklist) คือ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย และเป็นคำถามปลายเปิด (Open ended) เพื่อให้แสดงความคิดเห็นและเสนอแนะเพิ่มเติม

  13. วิธีดำเนินการวิจัย รอบที่ 2 และรอบที่ 3 เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า(Rating scale) 5 ระดับ คือ เหมาะสมมากที่สุด เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง เหมาะสมน้อย และเหมาะสมน้อยที่สุด

  14. วิธีดำเนินการวิจัย • การวิเคราะห์ข้อมูล • นำข้อมูลจากแบบสอบถามรอบที่ 1 มาแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ แล้วนำเสนอในรูปตาราง ประกอบความเรียง • นำข้อมูลจากแบบสอบถามรอบที่ 2 และรอบที่ 3 มาวิเคราะห์ความเหมาะสม โดยหาค่ามัธยฐาน (Median) และความสอดคล้องของคำตอบโดยหาค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Inter-quartile Range) แล้วนำเสนอในรูปตาราง ประกอบความเรียง

  15. ผลการวิจัย รูปแบบการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทยที่เหมาะสมประกอบด้วยด้านต่าง ๆ รวม 7 ด้าน แต่ละด้านมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ด้านวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีสมรรถภาพทางกายและสุขภาพที่ดี มีน้ำใจนักกีฬา มีความสามัคคี มีระเบียบวินัย รู้จักสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและสัมพันธภาพอันดีระหว่างนักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ และเพื่อพัฒนามาตรฐานการกีฬาไปสู่ความเป็นเลิศ 2. ด้านกำหนดการและวิธีการ ควรจัดการแข่งขันเป็นประจำทุกปี ระยะเวลาในการแข่งขันไม่เกิน 8วัน รวมทั้งพิธีเปิดและพิธีปิดการแข่งขัน วิธีการจัดการแข่งขันแต่ละชนิดกีฬาต้องให้เหมาะสมกับระยะเวลาและได้มาตรฐานสากล โดยใช้กติกาของสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยที่กำหนดใช้อยู่ในปัจจุบัน

  16. ผลการวิจัย 3. ด้านชนิดกีฬา ไม่ควรจัดการแข่งขันน้อยกว่า 15 ชนิดกีฬา และไม่ควรมากกว่า 20 ชนิดกีฬา จาก 4 กลุ่มกีฬา คือกลุ่มกีฬาบังคับ 5 ชนิดกีฬา ได้แก่ กรีฑา ว่ายน้ำ ฟุตบอล บาสเกตบอล และวอลเล่ย์บอล กลุ่มกีฬาเลือกสากล ไม่น้อยกว่า 8 ชนิดกีฬา จากชนิดกีฬาที่จัดให้มีการแข่งขันในโอลิมปิกเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ ซีเกมส์ หรือกีฬามหาวิทยาลัยโลก กลุ่มกีฬาเลือกทั่วไปอย่างน้อย 1 ชนิดกีฬา และกลุ่มกีฬาไทย เลือกอย่างน้อย 1 ชนิดกีฬา 4. ด้านคุณสมบัติและข้อกำหนดของผู้เข้าแข่งขัน ต้องเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในปีที่มีการจัดการแข่งขัน เข้าแข่งขันในฐานะผู้แทนของมหาวิทยาลัยได้เพียงมหาวิทยาลัยเดียว เป็นนักกีฬาสมัครเล่นตามข้อบังคับของการกีฬาแห่งประเทศไทย นักศึกษาระดับปริญญาตรีต้องมีหน่วยกิตสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00

  17. ผลการวิจัย 5. ด้านรางวัล มหาวิทยาลัยเจ้าภาพควรจัดเหรียญรางวัลพร้อมเกียติบัตร มอบให้นักกีฬาที่ได้ตำแหน่งชนะเลิศ และรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 และที่ 2 และควรจัดรางวัลให้นักกีฬาที่ทำลายสถิติกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย 6. ด้านการจัดองค์กร ควรจัดให้มีคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย ที่ประกอบด้วย 2 คณะกรรมการ คือ คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการดำเนินการจัดการแข่งขัน 7. ด้านการประเมินผล ควรมีการประเมินและสรุปผลการจัดการแข่งขัน จากทั้งนักกีฬา ผู้ฝึกสอน ผู้จัดการทีม ผู้ตัดสิน และประชาชนทั่วไป ภายใน 30 วัน หลังเสร็จสิ้นการจัดการแข่งขัน

  18. ขอบคุณครับ

More Related