1 / 61

การสอบสวนคดีอาญา

การสอบสวนคดีอาญา. หลักทั่วไปในการสอบสวน 1. พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาทั้งปวง ยกเว้นแต่ความผิดต่อส่วนตัว ต้องมีคำร้องทุกข์ก่อนจึงจะสอบสวนได้ (ม. 121) ความผิดอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้ โดยไม่ต้องมีคำร้องทุกข์จากผู้เสียหาย

aure
Download Presentation

การสอบสวนคดีอาญา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสอบสวนคดีอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  2. หลักทั่วไปในการสอบสวนหลักทั่วไปในการสอบสวน 1. พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาทั้งปวง ยกเว้นแต่ความผิดต่อส่วนตัว ต้องมีคำร้องทุกข์ก่อนจึงจะสอบสวนได้ (ม.121) • ความผิดอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้ โดยไม่ต้องมีคำร้องทุกข์จากผู้เสียหาย • ความผิดต่อส่วนตัว พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้ต่อเมื่อ มีคำร้องทุกข์จากผู้เสียหาย (คำร้องทุกข์เป็นเงื่อนไขการสอบสวนในคดีความผิดต่อส่วนตัว) • ผู้ร้องทุกข์มีฐานเป็นผู้เสียหายตามมาตรา 2(4) • คำร้องทุกข์เป็นคำร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมาย ม.2(7) • ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจรับคำร้องทุกข์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  3. ปัญหา : ห้ามมิให้ทำการสอบสวน : มีความหมายเพียงใด • การกระทำที่เป็นการการสอบสวน มีอะไรบ้าง • ออกหมายเรียก ผู้เสียหาย พยาน ผู้ต้องหา มาให้ถ้อยคำ • ขอศาลหมายจับ หมายค้น เพื่อจับผู้ต้องหา หรือค้นหาพยานหลักฐาน • แจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหา ควบคุมตัวผู้ต้องหานำไปขอให้ศาลออกหมายขัง • สรุปสำนวนการสอบสวน ส่งให้พนักงานอัยการ • ห้ามมิให้ทำการสอบสวน=ห้ามมิให้ดำเนินคดี : ห้ามมิให้ใช้มาตรการที่เป็นการบังคับกับเนื้อตัวร่างกายของผู้ถูกกล่าวหาเช่น จับ การควบคุมตัว ผู้ถูกกล่าวหา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  4. พนักงานสอบสวนจะไม่ทำการสอบสวนในกรณีตามที่บัญญัติไว้ตาม ม.122 ก็ได้ มาตรา ๑๒๒ “พนักงานสอบสวนจะไม่ทำการสอบสวนในกรณีต่อไปนี้ก็ได้ (๑) เมื่อผู้เสียหายขอความช่วยเหลือ แต่ไม่ยอมร้องทุกข์ตามระเบียบ (๒) เมื่อผู้เสียหายฟ้องคดีเสียเองโดยมิได้ร้องทุกข์ก่อน (๓) เมื่อมีหนังสือกล่าวโทษเป็นบัตรสนเท่ห์ หรือบุคคลที่กล่าวโทษด้วยปากไม่ยอมบอกว่าเขาคือใคร หรือไม่ยอมลงลายมือชื่อในคำกล่าวโทษหรือบันทึกคำกล่าวโทษ” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  5. พนักงานสอบสวนมีหน้าที่จัดให้ผู้เสียหายร้องทุกข์ตามระเบียบ ตาม ม. 125 มาตรา ๑๒๕ “เมื่อพนักงานสอบสวน หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้กระทำการสืบสวนหรือสอบสวนไปทั้งหมดหรือ แต่ส่วนหนึ่งส่วนใดตามคำขอร้องให้ช่วยเหลือให้ตกเป็นหน้าที่ของพนักงานนั้น จัดการให้มีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ ตามบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๒๓ และ ๑๒๔” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  6. การบันทึกคำร้องทุกข์ในคดีที่ผู้เสียหายเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี พนักงานสอบสวนต้องจัดทำให้สถานที่ที่เหมาะสม และกระทำต่อหน้านักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการ • ยกเว้นแต่มีเหตุจำเป็น ไม่อาจหาหรือรอนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ พนักงานอัยการ และเด็กไม่ประสงค์จะให้มีบุคคลดังกล่าวต่อไป ก็ให้พนักงานสอบสวน บันทึกคำร้องทุกข์ได้ โดยให้บันทึกเหตุดังกล่าวไว้ในบันทึกคำร้องทุกข์ด้วย (ม.124/1) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  7. พนักงานสอบสวนมีอำนาจให้เจ้าพนักงานอื่นทำการแทน ในเรื่องดังต่อไปนี้ ตาม มาตรา ๑๒๘ • (1) การใดในการสอบสวนอยู่นอกเขตอำนาจของตน มีอำนาจส่งประเด็นไปให้พนักงานสอบสวน ซึ่งมีอำนาจทำการนั้นจัดการได้ • สอบปากคำที่อยู่นอกเขตอำนาจพนักงานสอบสวน,รายงานตัวต่อพนักงานสอบสวน • (2) การใดเป็นสิ่งเล็กน้อยในการสอบสวน ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของตน ไม่ว่าทำเองหรือจัดการตามประเด็น มีอำนาจสั่งให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาทำแทนได้ แต่ทั้งนี้เมื่อประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมิได้เจาะจงให้ทำด้วยตนเอง • พิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  8. พนักงานสอบสวนต้องทำการสอบสวนรวมทั้งการชันสูตรพลิกศพ ในกรณีที่ความตายเป็นผลแห่งการกระทำผิดอาญา ถ้าการชันสูตรพลิกศพยังไม่เสร็จ ห้ามมิให้ฟ้องผู้ต้องหายังศาล ตาม ม. 129 มาตรา ๑๒๙ “ให้ทำการสอบสวนรวมทั้งการชันสูตรพลิกศพ ในกรณีที่ความตายเป็นผลแห่งการกระทำผิดอาญา ดั่งที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการชันสูตรพลิกศพ ถ้าการชันสูตรพลิกศพยังไม่เสร็จ ห้ามมิให้ฟ้องผู้ต้องหายังศาล” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  9. การสอบสวนสามัญ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  10. การสอบสวนสามัญ 1. ให้เริ่มสอบสวนโดยไม่ชักช้า โดยผู้ต้องหาไม่จำต้องอยู่ด้วยในขณะที่มีการสอบสวน (ม.130) มาตรา ๑๓๐ “ให้เริ่มการสอบสวนโดยมิชักช้า จะทำการในที่ใดเวลาใด แล้วแต่จะเห็นสมควร โดยผู้ต้องหาไม่จำต้องอยู่ด้วย” มาตรา ๘ “นับแต่เวลาที่ยื่นฟ้องแล้ว จำเลยมีสิทธิดังต่อไปนี้ (๑) ได้รับการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม.....” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  11. 2. พนักงานสอบสวนมีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่จะทำได้ เพื่อจะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆอันเกี่ยวกับความผิด เพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำความผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิด หรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา (ม.131,138) มาตรา ๑๓๑ “ให้พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานทุกชนิด เท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา เพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา” มาตรา ๑๓๘ “พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนเองหรือส่งประเด็นไปสอบสวนเพื่อทราบความเป็นมาแห่งชีวิตและความประพฤติอันเป็นอาจิณของผู้ต้องหา แต่ต้องแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบข้อความทุกข้อที่ได้มา” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  12. 3. เพื่อประโยชน์ในการรวบรวมพยานหลักฐาน พนักงานสอบสวนมีอำนาจดำเนินการดังต่อไปนี้ 3.1 ตรวจตัวผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายยินยอม 3.2 ตรวจตัวผู้ต้องหา หรือตรวจสิ่งของ หรือที่ทางอันสามารถอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ รวมทั้งทำภาพถ่าย แผนที่ หรือภาพวาด จำลองหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ ลายมือ ลายเท้า กับใบบันทึกรายละเอียดทั้งหลายซึ่งน่าจะกระทำให้คดี แจ่มกระจ่างขึ้น กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  13. 3.3กรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีหากมีความจำเป็นต้องตรวจเก็บตัวอย่างเลือด เนื้อเยื่อ ผิดหนัง เส้นผม หรือขน น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ สารคัดหลั่ง สารพันธุกรรม หรือส่วนประกอบของร่างกายจากผู้ต้องหา ผู้เสียหาย หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง พนักงานสอบสวน(ผู้รับผิดชอบ)มีอำนาจให้แพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญดำเนินการตรวจดังกล่าวได้ ถ้าบุคคลนั้นไม่ยินยอมหรือกระทำการป้องกันขัดขวาง ให้สันนิษฐานไว้เบื้องต้นว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามผลการตรวจพิสูจน์ที่หากได้ตรวจพิสูจน์แล้วจะเป็นผลเสียต่อผู้ต้องหา หรือผู้เสียหายนั้น (ม.131/1) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  14. 3.4 ค้นเพื่อพบสิ่งของซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยการกระทำความผิด หรือซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ม.132(2) 3.5 ออกหมายเรียกบุคคลซึ่งครอบครองสิ่งของ ซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ม.132(3) 3.6 ยึดไว้ซึ่งสิ่งของที่ค้นพบหรือส่งมาในมาตรา 132(2)และ(3) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  15. การสอบสวนผู้เสียหาย พยาน ม.133 -พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียก ผู้เสียหาย หรือบุคคลใดให้มาให้ถ้อยคำได้ -ก่อนถามปากคำจะให้บุคคลนั้นสาบาน หรือปฏิญาณตัวก่อนก็ได้ -ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนตักเตือน พูดให้ท้อใจหรือใช้กลอุบายอื่นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลใดให้ถ้อยคำ ซึ่งอยากจะให้ด้วยความเต็มใจ ม.133 ว.3 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  16. -ความผิดเกี่ยวกับเพศ การถามปากคำผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิง ให้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นหญิงสอบสวน เว้นแต่ผู้เสียหายจะยินยอมหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น ผู้เสียหายจะให้บุคคลใดอยู่ร่วมในการถามปากคำด้วยก็ได้ -การชี้ตัวผู้ต้องหา พนักงานต้องจัดให้ชี้ตัวในสถานที่ที่เหมาะสม และป้องกันมิให้ผู้ต้องหาเห็นตัวผู้เสียหายหรือพยาน เว้นแต่บุคคลนั้นจะยินยอม กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  17. ป.วิ.อ. มาตรา ๑๓๓ พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกผู้เสียหายหรือบุคคลใดซึ่งมีเหตุ อันควรเชื่อว่าถ้อยคำของเขาอาจเป็นประโยชน์แก่คดีให้มาตามเวลาและสถานที่ใน หมายแล้วให้ถามปากคำบุคคลนั้นไว้ การถามปากคำนั้นพนักงานสอบสวนจะให้ผู้ให้ถ้อยคำสาบานหรือปฏิญาณตัวเสียก่อนก็ได้ และต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยพยานบุคคล ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนตักเตือน พูดให้ท้อใจหรือใช้กลอุบายอื่นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลใดให้ถ้อยคำ ซึ่งอยากจะให้ด้วยความเต็มใจ ในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ การถามปากคำผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิง ให้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นหญิงเป็นผู้สอบสวน เว้นแต่ผู้เสียหายนั้นยินยอมหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น และให้บันทึกความยินยอมหรือเหตุจำเป็นนั้นไว้ ทั้งนี้ ผู้เสียหายจะขอให้บุคคลใดอยู่ร่วมในการถามปากคำนั้นด้วยก็ได้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจัดให้ผู้เสียหายหรือพยานยืนยันตัวผู้กระทำความผิด ในชั้นจับกุมหรือชี้ตัวผู้ต้องหาในคดีอาญา ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือพนักงานสอบสวนจัดให้มีการยืนยันตัวผู้กระทำความผิดหรือชี้ตัวผู้ต้องหา ในสถานที่ที่เหมาะสม และสามารถจะป้องกันมิให้ผู้กระทำความผิดหรือผู้ต้องหาเห็นตัวผู้เสียหายหรือ พยาน โดยให้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เสียหายหรือพยานเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์ แห่งกรณี เว้นแต่ผู้เสียหายหรือพยานนั้นยินยอม และให้บันทึกความยินยอมนั้นไว้ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  18. การถามปากคำผู้เสียหาย หรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ในความผิดตามที่บัญญัติไว้ตาม ม.133 ทวิ • คดีความผิดเกี่ยวกับเพศ • ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายอันมิใช่ความผิดที่เกิดจากการชุลมุนต่อสู้ (ถ้าเกิดจากการชุลมุนต่อสู้ไม่ต้องจัดการ ตาม .133 ทวิ) • ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ • ความผิดฐานกรรโชก ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา • ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี • ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก • ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ หรือ • คดีความผิดอื่นที่มีอัตราโทษจำคุก ซึ่งผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีร้องขอ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  19. พนักงานสอบสวนต้อง ต้องจัดสถานที่สอบคำให้การเด็กให้เหมาะสมแยกต่างหากจากการสอบคำให้การผู้ใหญ่ ต้องเชิญพนักงานอัยการ นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ และบุคคลที่เด็กร้องขอเข้าร่วมในการสอบคำให้การเด็กด้วย เว้นแต่จำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งซึ่งไม่อาจรอบุคคลนั้น การถามคำให้การเด็ก นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ อาจขอให้ถามผ่านตนได้ โดยมิให้เด็กได้ยินคำถามของพนักงานสอบสวน ห้ามถามเด็กซ้ำซ้อนหลายครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องจัดให้มีการบันทึกภาพและเสียงการสอบคำให้การเด็กไว้ด้วย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  20. ถ้าพนักงานสอบสวนมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ตาม ม. 133 ทวิถ้อยคำของผู้เสียหาย และพยานซึ่งเป็นเด็กนั้น ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  21. การจัดให้มีการชี้ตัวผู้ต้องหาการจัดให้มีการชี้ตัวผู้ต้องหา การจัดให้ผู้เสียหาย หรือพยานซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปีชี้ตัวผู้ต้องหาพนักงานสอบสวนต้องจัดให้มีการชี้ตัวในสถานที่ที่เหมาะสม และป้องกันมิให้บุคคลซึ่งถูกชี้ตัวนั้นเห็นตัวเด็กและให้มีนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการ อยู่ด้วยในการชี้ตัว เว้นแต่ไม่อาจรอบุคคลนั้นได้ ม.133 ตรี ว.1 การชี้ตัวผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี พนักงานสอบสวนต้องจัดให้มีการชี้ตัวในสถานที่ที่เหมาะสม และป้องกันมิให้ผู้ต้องหาที่เป็นเด็กเห็นตัวบุคคลที่จะทำการชี้ตัว ม.133 ตรี ว.2 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  22. 7. การสอบสวนผู้ต้องหา 7.1 หลักในการสอบสวนผู้ต้องหา 7.1.1 ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม ตาม ม.134 ว.3 7.1.2 พนักงานสอบสวนต้องให้โอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อหาและที่จะแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตนได้ ตาม ม.134 ว.4 7.1.3 การแจ้งข้อหา พนักงานสอบสวนจะต้องมีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำผิดตามข้อหานั้น ตาม ม.134 ว.2เมื่อมีการแจ้งข้อหาแล้ว ก็จะทำให้บุคคลนั้นมีฐานะเป็นผู้ต้องหา ตาม มาตรา 2(2) “ผู้ต้องหา” หมายความถึงบุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  23. ข้อหา คือ การกระทำต่างๆที่พนักงานสอบสวนเห็นว่าบุคคลนั้นได้กระทำ(ตามที่ได้ทำการสอบสวน) อันเป็นความผิดตามกฎหมาย • การแจ้งข้อหาเป็นขั้นตอนที่จะขาดไม่ได้ ถ้าพนักงานสอบสวนไม่แจ้งข้อหา จะมีผลเท่ากับว่า คดีนั้นยังไม่มีการสอบสวน อันทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. ม. 120 • การแจ้งข้อหา ศาลวินิจฉัยมาตลอดว่า พนักงานสอบสวนไม่จำเป็นต้องแจ้งทุกการกระทำที่ผู้ต้องหาได้กระทำลง ถ้าพนักงานสอบสวนได้แจ้งการกระทำอันเป็นการกระทำหลักแล้ว ก็ถือว่าได้แจ้งการกระทำอื่นๆด้วย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  24. คำพิพากษาฎีกาที่ 84/2499 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา134 ที่บัญญัติให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบก่อนทำการสอบสวนหมายความว่ากฎหมายต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนสอบสวนว่าตนต้องถูกสอบสวนเรื่องอันใดเป็นประธานที่ต้องทำการสอบสวนมิได้หมายความว่าจะต้องแจ้งทุกๆกระทงความผิดแม้เดิมจะตั้งข้อหาฐานหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าเป็นความผิดฐานอื่นด้วยก็เรียกว่าได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นด้วยแล้ว คำพิพากษาฎีกาที่ 84/2499 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา134 ที่บัญญัติให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบก่อนทำการสอบสวนหมายความว่ากฎหมายต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนสอบสวนว่าตนต้องถูกสอบสวนเรื่องอันใดเป็นประธานที่ต้องทำการสอบสวนมิได้หมายความว่าจะต้องแจ้งทุกๆกระทงความผิดแม้เดิมจะตั้งข้อหาฐานหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าเป็นความผิดฐานอื่นด้วยก็เรียกว่าได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นด้วยแล้ว กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  25. คำพิพากษาฎีกาที่ 3288/2535 การแจ้งข้อหาแก่จำเลยตามป.วิ.อ.มาตรา 134 นั้นหาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมจะตั้งข้อหาหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนไปแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานอื่นด้วย ก็เรียกว่าได้มีการสอบสวนในความผิดดังกล่าวด้วยแล้ว กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  26. คำพิพากษาฎีกาที่ 7628/2541 บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134ที่บังคับให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบเจตนารมณ์ก็เพื่อให้ผู้ต้องหาทราบว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดและเพื่อให้ผู้ต้องหาเข้าใจถึงการกระทำของตนโดยไม่ต้องระบุอ้างถึงตัวบทกฎหมายที่กระทำผิดและในกรณีที่การกระทำนั้นผิดกฎหมายหลายบทหรือหลายกรรมต่างกันก็ตามพนักงานสอบสวนก็หาจำต้องระบุถึงกฎหมายที่เป็นความผิดทุกบทมาตราหรือทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไม่แต่เมื่อได้แจ้งข้อหาอันเป็นหลักความผิดทั่วไปแล้วก็ไม่จำต้องแจ้งข้อหาความผิดอันเกี่ยวพันกันด้วยอีกพนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนความผิดทุกข้อหาได้ฉะนั้นการที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่านำหรือพาของที่ยังมิได้เสียภาษีหรือยังมิได้ผ่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วแม้ไม่แจ้งข้อหาว่ามีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดอีกฐานหนึ่งอันมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างออกไปและอยู่ในกฎหมายต่างฉบับกันก็มีอำนาจสอบสวนความผิดฐานมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตได้ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดฐานนี้แล้วพนักงานอัยการโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯฐานมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่รับอนุญาตได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120 คำพิพากษาฎีกาที่ 7628/2541 บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134ที่บังคับให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบเจตนารมณ์ก็เพื่อให้ผู้ต้องหาทราบว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดและเพื่อให้ผู้ต้องหาเข้าใจถึงการกระทำของตนโดยไม่ต้องระบุอ้างถึงตัวบทกฎหมายที่กระทำผิดและในกรณีที่การกระทำนั้นผิดกฎหมายหลายบทหรือหลายกรรมต่างกันก็ตามพนักงานสอบสวนก็หาจำต้องระบุถึงกฎหมายที่เป็นความผิดทุกบทมาตราหรือทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไม่แต่เมื่อได้แจ้งข้อหาอันเป็นหลักความผิดทั่วไปแล้วก็ไม่จำต้องแจ้งข้อหาความผิดอันเกี่ยวพันกันด้วยอีกพนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนความผิดทุกข้อหาได้ฉะนั้นการที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่านำหรือพาของที่ยังมิได้เสียภาษีหรือยังมิได้ผ่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วแม้ไม่แจ้งข้อหาว่ามีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดอีกฐานหนึ่งอันมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างออกไปและอยู่ในกฎหมายต่างฉบับกันก็มีอำนาจสอบสวนความผิดฐานมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตได้ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดฐานนี้แล้วพนักงานอัยการโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯฐานมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่รับอนุญาตได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  27. มาตรา ๑๓๔ “เมื่อผู้ต้องหาถูกเรียก หรือส่งตัวมา หรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง หรือปรากฏว่าผู้ใดซึ่งมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ต้องหา ให้ถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด และแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำผิด แล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบ การแจ้งข้อหาตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำผิดตามข้อหานั้น ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม พนักงานสอบสวนต้องให้โอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อหาและที่จะแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตนได้ เมื่อได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว ถ้าผู้ต้องหาไม่ใช่ผู้ถูกจับและยังไม่ได้มีการออกหมายจับ แต่พนักงานสอบสวนเห็นว่ามีเหตุที่จะออกหมายขังผู้นั้นได้ตามมาตรา ๗๑ พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อขอออกหมายขังโดยทันที แต่ถ้าขณะนั้นเป็นเวลาที่ศาลปิดหรือใกล้จะปิดทำการ ให้พนักงานสอบสวนสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลในโอกาสแรกที่ศาลเปิดทำการ กรณีเช่นว่านี้ให้นำมาตรา ๘๗ มาใช้บังคับแก่การพิจารณาออกหมายขังโดยอนุโลม หากผู้ต้องหาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนดังกล่าว ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจับผู้ต้องหานั้นได้ โดยถือว่าเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่จะจับผู้ต้องหาได้โดยไม่มีหมายจับ และมีอำนาจปล่อยชั่วคราวหรือควบคุมตัวผู้ต้องหานั้นไว้” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  28. 7.2 ก่อนการแจ้งข้อหาพนักงานสอบสวนต้องถามข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องหา • -เมื่อผู้ต้องหาถูกเรียก หรือส่งตัวมา หรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง หรือปรากฏว่าผู้ใดซึ่งมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ต้องหา • -ให้ถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด และ • -แจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำผิด แล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบ • มาตรา ๑๓๔ “เมื่อผู้ต้องหาถูกเรียก หรือส่งตัวมา หรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง หรือปรากฏว่าผู้ใดซึ่งมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ต้องหา ให้ถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด และแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำผิด แล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบ......” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  29. 7.3 อำนาจของพนักงานสอบสวนในการควบคุมตัวผู้ต้องหา • -ถ้าผู้ต้องหาเป็นผู้ถูกจับตัวมา หรือมีหมายจับ พนักงานสอบสวนมีอำนาจควบคุมตัวผู้ต้องหาได้ไม่เกิน 48 ชั่วโมง ตาม ม.87 ว.3 • -ถ้าผู้ต้องหาไม่ได้ถูกจับตัวมา ถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่ามีเหตุอันควรขังผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อขอออกหมายขังโดยทันที • - ถ้าผู้ต้องหาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนดังกล่าว ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจับผู้ต้องหานั้นได้ โดยถือว่าเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่จะจับผู้ต้องหาได้โดยไม่มีหมายจับ และมีอำนาจปล่อยชั่วคราวหรือควบคุมตัวผู้ต้องหานั้นไว้ (มาตรา 134 วรรคท้าย) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  30. มาตรา ๑๓๔ “เมื่อผู้ต้องหาถูกเรียก หรือส่งตัวมา หรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง หรือปรากฏว่าผู้ใดซึ่งมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ต้องหา ให้ถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด และแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำผิด แล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบ ....................... เมื่อได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว ถ้าผู้ต้องหาไม่ใช่ผู้ถูกจับและยังไม่ได้มีการออกหมายจับ แต่พนักงานสอบสวนเห็นว่ามีเหตุที่จะออกหมายขังผู้นั้นได้ตามมาตรา ๗๑ พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อขอออกหมายขังโดยทันที แต่ถ้าขณะนั้นเป็นเวลาที่ศาลปิดหรือใกล้จะปิดทำการ ให้พนักงานสอบสวนสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลในโอกาสแรกที่ศาลเปิดทำการ กรณีเช่นว่านี้ให้นำมาตรา ๘๗ มาใช้บังคับแก่การพิจารณาออกหมายขังโดยอนุโลม หากผู้ต้องหาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนดังกล่าว ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจับผู้ต้องหานั้นได้ โดยถือว่าเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่จะจับผู้ต้องหาได้โดยไม่มีหมายจับ และมีอำนาจปล่อยชั่วคราวหรือควบคุมตัวผู้ต้องหานั้นไว้” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  31. 7.4 การถามคำให้การผู้ต้องหา เมื่อมีการแจ้งหาแล้ว ก่อนถามคำให้การพนักงานสอบสวนแจ้งสิทธิและดำเนินการต่างๆตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้ • 1.ต้องหาทนายความให้สำหรับในความผิดอัตราโทษประหารชีวิต หรือผู้ต้องหาอายุไม่เกิน 18 ปี • ความผิดที่มีโทษจำคุก ต้องถามว่ามีทนายหรือไม่ และผู้ต้องหาต้องการ ต้องจัดหาทนายความ (ม.134/1) • 2. การสอบสวนผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับการถามคำให้ให้การผู้เสียหาย หรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ตาม ม.133 ทวิ ประกอบ ม.134/2 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  32. 3.ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนเองได้ ม.134/3 4. พนักงานสอบสวนต้องแจ้งเตือน(warning)ให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า -(1)ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะไม่ให้การ(right to silence) หากสมัครใจให้การคำให้การนั้นอาจถูกใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ และ • -(2)ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งเขาไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำเขาได้ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  33. คำให้การของผู้ต้องหาที่พนักงานสอบสวนมิได้ดำเนินการตามมาตรา 134/1 ,134/2 ,134/3, 134/4 กฎหมายห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน ตามมาตรา 134/4 วรรคท้าย มาตรา ๑๓๔/๔ ในการถามคำให้การผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า (๑) ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ต้องหาให้การ ถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้การนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ (๒) ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ เมื่อผู้ต้องหาเต็มใจให้การอย่างใดก็ให้จดคำให้การไว้ ถ้าผู้ต้องหาไม่เต็มใจให้การเลยก็ให้บันทึกไว้ถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือก่อนที่จะดำเนินการตามมาตรา ๑๓๔/๑ มาตรา ๑๓๔/๒ และมาตรา ๑๓๔/๓ จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  34. 7.4 การถามคำให้การผู้ต้องหา กฎหมายห้ามมิให้พนักงานสอบสวนทำ หรือจัดให้ทำการใดๆ ซึ่งเป็นการให้คำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง ให้กำลังบังคับ หรือกระทำโดยมิชอบประการใดๆ เพื่อจูงใจ ให้เขาให้การอย่างใดๆ ในเรื่องที่ต้องหานั้น (ม.135) - คำให้การของผู้ต้องหาที่ให้ไปภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว เป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบ ตามมาตรา 226 ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน มาตรา 226 “พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น และให้สืบตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยาน” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  35. การสอบสวนวิสามัญ การชันสูตรพลิกศพ ได้แก่ การตรวจสถานที่ที่พบศพ และตรวจสภาพศพ เพื่อทราบเหตุที่ตาย พฤติการณ์ที่ตาย ผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด และบุคคลผู้ทำให้ตาย กรณีที่ต้องมีการชันสูตรพลิกศพ 1. บุคคลตายโดยผิดธรรมชาติ 2. บุคคลตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน หรือเจ้าพนักงานอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  36. การตายโดยผิดธรรมชาติ มี 5 กรณี 1. ฆ่าตัวตาย 2. ถูกผู้อื่นทำให้ตาย(รวมทั้งถูกเจ้าพนักงานทำให้ตาย) 3. ถูกสัตว์ทำร้ายตาย 4. ตายโดยอุบัติเหตุ 5. ตายโดยยังมิปรากฏเหตุ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  37. การชันสูตรพลิกศพ • ให้พนักงานสอบสวนและแพทย์ทำบันทึกรายละเอียดแห่งการชันสูตรพลิกศพ ทันทีและให้แพทย์ดังกล่าวทำรายงานแนบท้ายบันทึกรายละเอียดแห่งการชันสูตรพลิกศพ ด้วยภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเรื่อง ถ้ามีความจำเป็นให้ขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน แต่ต้องบันทึกเหตุผลและความจำเป็นในการขยายระยะเวลาทุกครั้งไว้ในสำนวน ชันสูตรพลิกศพ รายงานดังกล่าวให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนชันสูตรพลิกศพ ม.150 ว. 1 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  38. เจ้าพนักงานผู้ทำหน้าที่ชันสูตรพลิกศพเจ้าพนักงานผู้ทำหน้าที่ชันสูตรพลิกศพ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  39. ตายมิได้เป็นผลจากการกระทำความผิดอาญา(ม.150 ว.1) ผู้ว่าราชการจังหวัด (ม.156) การตายเป็นผลจาการกระทำผิดอาญา สำนวนการชั้นสูตร บันทึกการชันสูตร รายงานการชั้นสูตร สำนวนการสอบสวน (ม.140,143 ว.3) ถูกเจ้าพนักงานทำให้ตาย และตายในขณะอยู่ในความควบคุม(ม.150 ว.3) ศาลมีคำสั่งไต่สวน การตาย ม.150 ว.5 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  40. การส่งสำนวนการการสอบสวนการส่งสำนวนการการสอบสวน หลังจากที่พนักงานสอบสวนได้รวบรวมข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานทั้งหลายเกี่ยวกับการกระทำความผิดแล้ว พนักงานสอบสวนก็จะต้องส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมด้วยความเห็น ต่อไปให้แก่พนักงานอัยการเพื่อดำเนินการพิจารณาเป็นลำดับต่อไป ผู้ซึ่งมีหน้าที่ดังกล่าวได้แก่ “พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ” “พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ” ได้แก่ พนักงานสอบสวนผู้มีหน้าที่สรุปสำนวนการสอบสวน พร้อมด้วยความเห็นควรสั่งฟ้อง หรือสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการตาม ม.20 ว.6 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  41. มาตรา 20 วรรค 6 “เมื่อพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนแล้วแต่กรณี เห็นว่าการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้ทำความเห็นตามมาตรา ๑๔๐ มาตรา ๑๔๑ หรือมาตรา ๑๔๒ ส่งพร้อมสำนวนไปยังอัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทน” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  42. มาตรา ๑๔๐ “เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวน เห็นว่าการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้จัดการอย่างหนึ่งอย่างใดดั่งต่อไปนี้ (๑) ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำความผิดและความผิดนั้นมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี ให้พนักงานสอบสวนงดการสอบสวน และบันทึกเหตุที่งดนั้นไว้ แล้วให้ส่งบันทึกพร้อมกับสำนวนไปยังพนักงานอัยการ ถ้าอัตราโทษอย่างสูงเกินกว่าสามปี ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนไปยังพนักงานอัยการพร้อมทั้งความเห็นที่ควรให้งดการสอบสวน ถ้าพนักงานอัยการสั่งให้งด หรือให้ทำการสอบสวนต่อไป ให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามนั้น (๒) ถ้ารู้ตัวผู้กระทำผิด ให้ใช้บทบัญญัติในสี่มาตราต่อไปนี้” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  43. พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ กรณีทั่วไป ได้แก่ พนักงานสอบสวนในท้องที่ ความผิดเกิด ยกเว้นแต่ เพื่อความสะดวก หรือจำเป็น พนักงานสอบสวนในท้องที่ที่ผู้ต้องหาถูกจับ หรือมีที่อยู่ จะเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบก็ได้ (ม.18 ว.3) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  44. พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ กรณีความผิดคาบเกี่ยวกันหลายท้องที่ ได้แก่ พนักงานสอบสวนในกรณีดังต่อไปนี้ ก. กรณีที่พบการกระทำความผิด ก่อนมีการจับผู้ต้องหาได้ ได้แก่ พนักงานสอบสวนในท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อน (ม.19 ว.3 (ข)) ข. กรณีที่มีการจับผู้กระทำความผิด ก่อนที่จะพบการกระทำความผิด ได้แก่ พนักงานสอบสวนในท้องที่ที่จับผู้กระทำผิดก่อน (ม.19 ว.3 (ก)) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  45. ข้อสังเกต • มาตรา 19 ว.3 ถ้าพนักงานสอบสวนที่จับ หรือพบความผิด มิใช่พนักงานสอบสวนท้องที่คาบเกี่ยวตาม มาตรา 19 ว.1 พนักงานสอบสวนที่จับหรือพบความผิด ไม่มีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  46. พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ กรณีความผิดนอกราชอาณาจักร ได้แก่ อัยการสูงสุด หรือพนักงานสอบสวนซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบ (ม.20 ว. 1) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  47. ผลของการสอบสวนซึ่งกระทำไปโดยเจ้าพนักงานซึ่งไม่มีอำนาจสอบสวนผลของการสอบสวนซึ่งกระทำไปโดยเจ้าพนักงานซึ่งไม่มีอำนาจสอบสวน การสอบสวนซึ่งกระทำไปโดยเจ้าพนักงานซึ่งไม่มีอำนาจสอบสวน(ม.18,19 และ 20) การกระทำการดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนจะมีผลกระทบกับคดีหรือไม่ ขึ้นอยู่ว่าเป็นส่วนใด เช่น ถ้าเป็นการสอบถามปากคำพยาน พยานปากนั้นจะรับฟังไม่ได้ แต่หากเป็นการแจ้งข้อหา(ม.134) เช่นนี้จะมีผลว่ายังไม่มีการแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหา เท่ากับยังไม่มีการสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  48. การสรุปสำนวนการสอบสวนซึ่งกระทำไปโดยเจ้าพนักงานซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบการสรุปสำนวนการสอบสวนซึ่งกระทำไปโดยเจ้าพนักงานซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ การสรุปสำนวนการสอบสวนหากกระทำโดยเจ้าพนักงานซึ่งไม่ใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ จะมีผลทำให้อัยการไม่มีอำนาจฟ้องคดีนั้น แต่ทั้งนี้อัยการยังมีอำนาจที่จะฟ้องผู้ต้องหาใหม่ได้ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  49. คำพิพากษาฎีกาที่ 1126/2544 กรมการจัดหางานผู้เสียหายไปร้องทุกข์ต่อร้อยตำรวจโท บ. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ ต่อมาจำเลยที่ 1 ถูกจับกุมในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบึงกุ่มเมื่อร้อยตำรวจโท บ. ได้รับคำร้องทุกข์แล้วจึงเป็นพนักงานสอบสวนซึ่งเป็นท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อน ย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 19 วรรคสาม (ข) และร้อยตำรวจโท บ. ได้ทำการสอบสวนตลอดมาในขณะที่ยังจับตัวจำเลยที่ 1 ไม่ได้ จึงเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 หาจำต้องสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับจำเลยได้ไม่ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  50. คำพิพากษาฎีกาที่ 3466/2547 กรณีที่ข้อเท็จจริงไม่ชัดแจ้งว่าเหตุเกิดขึ้นในท้องที่ใดแน่ระหว่างอำเภอบัวใหญ่กับอำเภอแก้งสนามนาง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 19 วรรคสาม (ก) พนักงานสอบสวนที่เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนคือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับผู้ต้องหาได้อยู่ในเขตอำนาจ จำเลยถูกจับกุมที่อำเภอแก้งสนามนางพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในคดีคือ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอแก้งสนามนาง มิใช่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจอำเภอบัวใหญ่เมื่อพันตำรวจตรี ว. ซึ่งเป็นสารวัตรสืบสวนสอบสวนพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบังใหญ่ผู้ร่วมจับกุมจำเลยมิใช่พนักงานสอบสวนเป็นผู้สรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องจำเลย แล้วส่งไปให้พนักงานอัยการพิจารณา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 140 และ 141 จึงถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดนั้นโดยชอบตามมาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

More Related