1 / 42

น.อ.อนุตตร จิตตินันทน์, น.อ. หญิง สมพร รักษ์ งาร , น.ท. สวง เกิดเปรม เวส

การสำรวจความชุกของปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ของกำลังพลกองทัพอากาศ ณ ที่ตั้งดอนเมืองที่ได้รับการตรวจร่างกายประจำปี Prevalence survey of cardiovascular risk factors in the annual checkup of the Royal Thai Air Force personnel.

awen
Download Presentation

น.อ.อนุตตร จิตตินันทน์, น.อ. หญิง สมพร รักษ์ งาร , น.ท. สวง เกิดเปรม เวส

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสำรวจความชุกของปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ของกำลังพลกองทัพอากาศ ณ ที่ตั้งดอนเมืองที่ได้รับการตรวจร่างกายประจำปีPrevalence survey of cardiovascular risk factors in the annual checkup of the Royal Thai Air Force personnel น.อ.อนุตตร จิตตินันทน์, น.อ.หญิง สมพร รักษ์งาร, น.ท.สวง เกิดเปรมเวส น.ท.หญิง อักษร เดชก้อง, น.ต.หญิง พันธิภา วิวัฒนขจรสุข, ร.ท.บุญชัย ลาภสุมน พ.อ.อ.ศักดิ์ชาย สิงห์ชุม, จ.อ.ศุภักษร ปิติจะ กองวิทยาการและกองเวชศาสตร์ป้องกัน กรมแพทย์ทหารอากาศ

  2. บทนำIntroduction

  3. โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular disease) • โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease) หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary heart disease) • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) • โรคหลอดเลือดส่วนปลาย (Peripheral vascular disease)

  4. โรคหัวใจและหลอดเลือด • เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลก • ในประเทศไทยเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่เกิดจากความเจ็บป่วยอันดับ ๒ รองจากมะเร็ง เป็นภาระโรคสำคัญอันดับ ๓ รองจากเอดส์และอุบัติเหตุทางถนน • ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูง รายงานสถิติสาธารณสุข ๒๕๔๘

  5. โรคหัวใจและหลอดเลือดในข้าราชการ ทอ. • เป็นกลุ่มโรคที่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยอันดับแรกของข้าราชการที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ.บนอ. แบบผู้ป่วยนอก ระหว่างเดือนมกราคม ถึง กันยายน ๒๕๔๘ ทั้งสิ้น ๖,๕๗๖ ครั้ง คิดเป็นเดือนละ ๗๓๐ ราย • เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของข้าราชการที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ.บนอ. กองวิทยาการ กรมแพทย์ทหารอากาศ. รายงานกิจการสายแพทย์ ทอ. ๒๕๔๘

  6. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ปัจจัยที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ปัจจัยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง อายุ เพศ พันธุกรรม โรคหัวใจและหลอดเลือด - โรคหลอดเลือดหัวใจ - โรคหลอดเลือดสมอง - โรคหลอดเลือดสมองส่วนปลาย อ้วน อ้วนลงพุง วิถีการดำเนินชีวิตที่เสี่ยง การไม่ออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่มีไขมัน เกลือ และแคลอรีสูง

  7. วิธีการวิจัยResearch Method

  8. วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย • เพื่อทราบระดับความชุกของปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในกำลังพลภาคพื้นของกองทัพอากาศ ณ ที่ตั้งดอนเมือง • เพื่อเปรียบเทียบความชุกของปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดบางปัจจัย ระหว่างปี ๒๕๔๗ กับปี ๒๕๔๙ในกำลังพลเป้าหมาย

  9. ระเบียบวิธีการวิจัย • การวิจัยเชิงปริมาณ • การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive) • การวิจัยเชิงเปรียบเทียบ (Comparative)

  10. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรและกลุ่มตัวอย่าง • กำลังพลภาคพื้นของกองทัพอากาศ ณ ที่ตั้งดอนเมือง ที่มารับการตรวจร่างกายประจำปีที่กองเวชศาสตร์ป้องกัน ที่มีผลการตรวจประจำปีทุกคน โดยไม่มีการสุ่มตัวอย่างอีก • ไม่รวม ผู้ทำการในอากาศที่รับการตรวจร่างกายประจำปีที่สถาบันเวชศาสตร์การบิน และไม่รวมกำลังพลกองทัพอากาศ ณ ที่ตั้งนอกเขตดอนเมือง

  11. ระดับความชุกของปัจจัยเสี่ยงปี ๔๙ • ข้อมูลของกำลังพลภาคพื้นของกองทัพอากาศ ณ ที่ตั้งดอนเมือง ที่มารับการตรวจร่างกายประจำปีที่กองเวชศาสตร์ป้องกัน ที่มีผลการตรวจประจำปี ๔๙ ทุกคน โดยไม่มีการสุ่มตัวอย่างอีก • ข้อมูลของประชากรที่นำมาวิจัยทั้งสิ้น ๑๗,๒๓๕ คน

  12. เปรียบเทียบความชุกของปัจจัยเสี่ยงปี ๔๗-๔๙ • ข้อมูลของกำลังพลภาคพื้นของกองทัพอากาศ ณ ที่ตั้งดอนเมือง ที่มารับการตรวจร่างกายประจำปีที่กองเวชศาสตร์ป้องกัน กรมแพทย์ทหารอากาศ กองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ เฉพาะที่มีผลการตรวจในปี ๒๕๔๗ และ ๒๕๔๙ ทั้งสองครั้ง โดยไม่มีการสุ่มตัวอย่างอีก • ข้อมูลของประชากรที่นำมาวิจัยรวมทั้งสิ้น ๑๔,๒๓๙ คน

  13. เครื่องมือการตรวจ • การวัดความดันโลหิตใช้เครื่องอัตโนมัติรุ่น KENZ BPMSP-1 หลังนั่งพัก ๑๕ นาที และวัดซ้ำถ้าได้ค่ามากกว่าหรือเท่ากับ ๑๔๐/๙๐ มิลลิเมตรปรอท • การตรวจทางห้องปฏิบัติการใช้เครื่องตรวจอัตโนมัติรุ่น Hitachi 717 analyzer รายงานเป็น conventional units

  14. การเก็บรวบรวมข้อมูล • เพศ (ชาย,หญิง) • อายุ (ปี) • น้ำหนัก (กิโลกรัม) • ส่วนสูง (เซนติเมตร) • ความดันโลหิตตัวบน (มิลลิเมตรปรอท) • ความดันโลหิตตัวล่าง (มิลลิเมตรปรอท) • ระดับน้ำตาลในพลาสม่าหลังอดอาหาร (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) • ระดับคอเลสเตอรอลในเลือด (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) • ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) • ระดับไขมันความหนาแน่นสูงในเลือด (High Density Lipoprotein) (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) • รอบเอว (เซนติเมตร) • การสูบบุหรี่ (สูบ, ไม่สูบ)

  15. คำนิยามปัจจัยเสี่ยง • ความดันโลหิตสูง • ความดันโลหิตตัวบนมากกว่าหรือเท่ากับ ๑๔๐ มิลลิเมตรปรอทหรือความดันโลหิตตัวล่างมากกว่าหรือเท่ากับ ๙๐ มิลลิเมตรปรอท • โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus, DM) • ระดับน้ำตาลในพลาสมาตอนอดอาหาร (Fasting Plasma Glucose, FPG) มากกว่า ๑๒๖ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร • ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง (Hypercholesterolemia) • ระดับคอเลสเตอรอล (Total Cholesterol) มากกว่า ๒๔๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

  16. คำนิยามปัจจัยเสี่ยง (ต่อ) • โรคอ้วน (Obesity) • การมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า ๓๐ กิโลกรัมต่อตารางเมตร • การบริโภคยาสูบ (Smoking) • หมายถึงการสูบบุหรี่หรือสูบยาสูบชนิดอื่น เช่นยาเส้น หรือซิการ์ ที่เทียบได้เท่ากัน

  17. คำนิยามปัจจัยเสี่ยง (ต่อ) • ภาวะอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) • ภาวะที่มีรอบเอวมากกว่าหรือเท่ากับ ๙๐ เซนติเมตรในผู้ชาย และมากกว่าหรือเท่ากับ ๘๐ เซนติเมตรในผู้หญิง และมีความผิดปกติที่พบร่วมอีก ๒ อย่างใน ๔ อย่าง ดังนี้ • ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ในเลือด มากกว่าหรือเท่ากับ ๑๕๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร • ระดับไขมันเอชดีแอล (HDL cholesterol) ในเลือด น้อยกว่า ๔๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในผู้ชาย หรือ น้อยกว่า ๕๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในผู้หญิง • ความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ ๑๓๐/๘๕ มิลลิเมตรปรอท • ระดับน้ำตาลในพลาสมาตอนอดอาหาร (Fasting plasma glucose) มากกว่าหรือเท่ากับ ๑๐๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

  18. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล • สถิติเชิงพรรณนาในการบอกถึงลักษณะทั่วไปของประชากร • ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน • ข้อมูลเชิงกลุ่มใช้ค่าร้อยละหรือสัดส่วน • สถิติในการเปรียบเทียบใช้ Paired t-test และทดสอบความแตกต่างระหว่างความชุกของปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญใช้การทดสอบที่ไม่ใช้พารามิเตอร์ โดยใช้ Wilcoxon Signed Ranks Test • โปรแกรมสถิติสำหรับสังคมศาสตร์ (Statistical Package for the Social Sciences, SPSS) รุ่นที่ ๑๔ สำหรับระบบปฏิบัติการวินโดว์

  19. ผลการวิจัยResults

  20. ความชุกของปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในปี ๒๕๔๙ ๑๗,๒๓๕ คน

  21. ผลการตรวจประจำปี ๒๕๔๙

  22. ผลการตรวจประจำปี ๒๕๔๙

  23. ความชุกของปัจจัยเสี่ยงในปี ๒๕๔๙

  24. ความชุกของปัจจัยเสี่ยงจำแนกตามเพศความชุกของปัจจัยเสี่ยงจำแนกตามเพศ >

  25. ความชุกของปัจจัยเสี่ยงจำแนกตามชั้นยศความชุกของปัจจัยเสี่ยงจำแนกตามชั้นยศ

  26. ความชุกของปัจจัยเสี่ยงจำแนกตามช่วงอายุความชุกของปัจจัยเสี่ยงจำแนกตามช่วงอายุ ปัจจัยเสี่ยงมากขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น (ยกเว้นการสูบบุหรี่)

  27. ร้อยละของกำลังพลจำแนกตามจำนวนปัจจัยเสี่ยงร้อยละของกำลังพลจำแนกตามจำนวนปัจจัยเสี่ยง

  28. เปรียบเทียบความชุกของปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ระหว่างปี ๒๕๔๗ กับปี ๒๕๔๙ ๑๔,๒๓๙ คน

  29. เปรียบเทียบผลการตรวจประจำปี ๔๗ และ ๔๙

  30. เปรียบเทียบผลการตรวจประจำปี ๔๗ และ ๔๙

  31. การวิเคราะห์ผลการตรวจประจำปี ๔๗ และ ๔๙ (Paired Sample T-Test)

  32. เปรียบเทียบความชุกของปัจจัยเสี่ยงระหว่างปี ๔๗ และ ๔๙ * * P-value < 0.0001 เทียบกับปี ๔๗ * * *

  33. อภิปราย(Discussion)

  34. เปรียบเทียบความชุกของปัจจัยเสี่ยงในการวิจัยนี้กับความชุกของปัจจัยเสี่ยงในการวิจัยในประชากรไทยเปรียบเทียบความชุกของปัจจัยเสี่ยงในการวิจัยนี้กับความชุกของปัจจัยเสี่ยงในการวิจัยในประชากรไทย

  35. ความชุกของความดันโลหิตสูงในกำลังพลกองทัพอากาศพบมากกว่าประชากรทั่วไป?ความชุกของความดันโลหิตสูงในกำลังพลกองทัพอากาศพบมากกว่าประชากรทั่วไป? • สัดส่วนของประชากรที่เป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ซึ่งพบว่าผู้ชายมีความดันโลหิตสูงกว่าผู้หญิง • ช่วงอายุที่แตกต่างจากประชากรทั่วไป • เป็นคนกรุงเทพเป็นส่วนใหญ่ • สาเหตุอื่นๆ เช่น ความเครียดในด้านต่างๆ ความผิดพลาดจากการวัดความดันโลหิต

  36. ความชุกในการสูบบุหรี่ของกำลังพลกองทัพอากาศน้อยกว่าของประชากรทั่วไป?ความชุกในการสูบบุหรี่ของกำลังพลกองทัพอากาศน้อยกว่าของประชากรทั่วไป? • กำลังพลกองทัพอากาศสูบบุหรี่น้อยกว่าประชากรไทยจริง หรือ • กำลังพลของกองทัพอากาศไม่แจ้งข้อมูลเรื่องการสูบบุหรี่ที่เป็นจริงให้ทราบ

  37. ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเท่านั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น แม้จะมีกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคมากมาย แต่ • อายุของกำลังพลที่เพิ่มขึ้น • การดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่ดำเนินการผ่านมายังไม่ได้ผล ไม่ครอบคลุม • อาจต้องใช้เวลานานกว่านี้ในการติดตามผลลัพธ์ของการดำเนินการ

  38. บทสรุปConclusion

  39. สรุปผลการวิจัย • ความชุกของปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดที่พบบ่อยที่สุดคือ ความดันโลหิตสูงพบร้อยละ ๓๕.๕๐ รองลงมาคือ ภาวะอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) ร้อยละ ๓๔.๑๒ • คอเลสเตอรอลในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงตัวเดียวที่มีความชุกลดลงร้อยละ ๖.๖๖

  40. ข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไปข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป • ควรมีการวิจัยเพิ่มเติมในเรื่องของปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในกำลังพลที่เป็นผู้ทำการในอากาศ • ควรมีการวิจัยเพิ่มเติมในกำลังพลของกองทัพอากาศนอกเขตดอนเมือง ได้แก่ โรงเรียนการบินและกองบินต่างๆ ในต่างจังหวัด • ควรมีการวิจัยเพื่อติดตามกำลังพลในระยะยาวเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงกับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต

  41. กิตติกรรมประกาศ ผู้วิจัยขอขอบคุณ • สมาคมแพทย์ทหารแห่งประเทศไทย • น.อ.สุรศักดิ์ โปร่งจันทึก รอง เสธ.พอ.บนอ. • น.อ.ไตรสิทธิ์ ทรรศนะวิเทศ ผอ.กวป.พอ.บนอ. • น.อ.วรงค์ ลาภานันต์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ กอย.รพ.ภูมิพลอดุลยเดช

  42. ขอขอบคุณเชิญซักถาม

More Related