1 / 30

แนวคิดและทฤษฎี การประเมินโครงการ

แนวคิดและทฤษฎี การประเมินโครงการ. ดร. ไพรัช บวรสมพงษ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง. จุดมุ่งหมายของการประเมินผล. เป็น การตัดสินเกี่ยวกับคุณค่า อันเนื่องมาจากความขาดแคลนและข้อจำกัดเกี่ยวกับทรัพยากรกับปัญหาและความต้องการ

balin
Download Presentation

แนวคิดและทฤษฎี การประเมินโครงการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวคิดและทฤษฎีการประเมินโครงการแนวคิดและทฤษฎีการประเมินโครงการ ดร. ไพรัช บวรสมพงษ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

  2. จุดมุ่งหมายของการประเมินผลจุดมุ่งหมายของการประเมินผล • เป็นการตัดสินเกี่ยวกับคุณค่าอันเนื่องมาจากความขาดแคลนและข้อจำกัดเกี่ยวกับทรัพยากรกับปัญหาและความต้องการ • เพื่อใช้ในการกำหนดและกำจัดปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ความไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล • เป็นแนวทางในการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงและพัฒนา ทั้งในระดับนโยบายและแผน และการปฏิบัติงาน • เป็นข้อมูลป้อนกลับที่จำเป็นเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพ อาทิ โครงการมีผลการดำเนินเป็นอย่างไร มีความคุ้มค่าหรือไม่

  3. จุดมุ่งหมายของการประเมินผล (ต่อ) • การประเมินผลเป็นวิธีการ/ เครื่องมือหนึ่งที่ใช้ตรวจสอบการปฏิบัติงาน เพื่อทราบถึงความสำเร็จของงาน ตลอดจนปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น • ในระดับหน่วยงานองค์กร การประเมินผลจะช่วยให้ทราบว่าสิ่งที่ดำเนินการอยู่เป็นอย่างไร สามารถจัดการปัญหาได้อย่างไร และจะปรับปรุงการปฏิบัติงานได้อย่างไร

  4. ความหมายของการประเมินผลความหมายของการประเมินผล • การกำหนดหรือระบุคุณค่าเพื่อใช้ในการตรวจสอบหรือการตัดสิน • การสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของกระบวนการ และการปฏิบัติ อันนำไปสู่การสำรวจประเด็นการศึกษาใหม่ • การตัดสินคุณค่า หรือการประเมินเพื่อให้คุณค่ากับบางสิ่งบางอย่าง • การกำหนดระบุ การทำให้กระจ่าง และการนำไปใช้ เกี่ยวกับเกณฑ์เพื่อกำหนดหรือประเมินค่า (คุณค่า) บางสิ่งตามเกณฑ์ดังกล่าว • เป็นวิธีการค้นหาและตัดสินอันประกอบด้วย การกำหนดมาตรฐานสำหรับการประเมิน การรวบรวมข้อมูลที่จำเป็น และการนำเกณฑ์ไปใช้ตัดสินเชิงคุณค่า อรรถประโยชน์ ประสิทธิภาพ และความสำคัญ

  5. คำนิยมที่ใช้เกี่ยวกับการประเมินผลคำนิยมที่ใช้เกี่ยวกับการประเมินผล • การประมาณการ การประเมินค่า การประเมินผล • การตรวจสอบ • การวิเคราะห์ • การให้ค่า การกำหนดค่าอัตรา การให้คะแนน • การตัดสิน • การทบทวน • การศึกษา การทดสอบ เป็นต้น

  6. วางแผน (Planning) ประเมินผล (Evaluation) ปฏิบัติการ (Actions) ติดตาม (Monitoring) วงจรการวางแผนแบบดั้งเดิม(Conventional Model)

  7. ความเชื่อบางอย่างเกี่ยวกับการประเมินผลความเชื่อบางอย่างเกี่ยวกับการประเมินผล • การประเมินผลเป็นกิจกรรมที่ไร้ประโยชน์ เนื่องจากให้ข้อมูลที่น่าเบื่อ และมีข้อสรุปที่ใช้ประโยชน์ไม่ค่อยได้ • การประเมินผลนั้นเกี่ยวข้องกับการพิสูจน์ว่าแผนงาน/ โครงการสำเร็จหรือล้มเหลว • การประเมินผลเป็นงานที่มีลักษณะเฉพาะ และมีความซับซ้อน (ยาก) ซึ่งควรเป็นนักประเมินจากภายนอกองค์กรเท่านั้นจึงจะดำเนินการได้

  8. ผลพวงที่เกิดขึ้นต่อ “การประเมิน” • ทัศนะของคนต่อการประเมิน ไม่เปลี่ยนแปลง (เป็นลบ) • รู้สึกว่าเป็นเรื่องการตรวจสอบ จับผิด มีผลให้บิดเบือน ข้อมูล และเกิดภาวะ “ผักชี” • รู้สึกว่าเป็นการเพิ่มภาระ คนประเมินไม่มี “ตัวตน” • รู้สึกโล่งอก เมื่อหน่วยงานได้ Accredited และไม่ต้องมาตรวจอีก 3 ปี

  9. ผลพวงที่เกิดขึ้นต่อ “การประเมิน” (ต่อ) • ขาดการใช้ข้อมูลการประเมิน (สำคัญมากเพราะเป็นตัวขับเคลื่อนทางปัญญา) • ทำตัวชี้วัด (ส่งสำนักงบฯ) แต่ไม่ได้วัดผลตามตัวชี้วัด หรือวัดบางตัว เช่น ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ • มีข้อมูล แต่ไม่ได้ใช้ข้อมูลในการบริหารอย่างแท้จริง (Result-based Management)

  10. ผลพวงที่เกิดขึ้นต่อ “การประเมิน” (ต่อ) • ขาดการลงทุนด้านการประเมิน (งบประมาณ โครงสร้าง บุคลากร เป็นต้น) • ตัวแบบไม่นิ่ง เปลี่ยนไปมา (5 ส, QC, PBBS, PSO, BSC) ทำให้ระดับปฏิบัติ “ฝุ่นตลบ” • ยังคงเชื่อฝีมือ ผู้ประเมินภายนอก มากกว่า ผู้ประเมินจากภายในองค์กร

  11. อะไรคือการประเมินผลโครงการอะไรคือการประเมินผลโครงการ • การประเมินโครงการหรือการประเมินผลโครงการเป็นการรวบรวบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการพิจารณาตัดสินคุณค่าตามประเด็นเนื้อหาหรือจุดมุ่งหมายที่ประสงค์ไว้ • การประเมินผลโครงการจะมีการกำหนดเกณฑ์คุณค่าเพื่อใช้ในการพิจารณา อันเป็นข้อบ่งชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลว ตลอดจนปัญหา ข้อขัดข้องอันเนื่องจากการดำเนินโครงการ • การประเมินผลโครงการจำเป็นต้องพิจารณาถึงภาพรวมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานทั้งในแง่วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์หน่วยงาน

  12. อะไรคือการประเมินผลโครงการ (ต่อ) • การประเมินผลโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณาถึงประเด็นความสอดคล้องระหว่างแผนยุทธศาสตร์กับโครงการว่าเป็นอย่างไร ตลอดจนความสำเร็จของโครงการที่มีต่อแผนยุทธศาสตร์ว่ามีรูปธรรมอย่างไร • การประเมินผลโครงการจึงเป็นการศึกษาถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานว่าบรรลุเป้าหมายหรือไม่ ควรเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือไม่อย่างไร เพื่อเพิ่มข้อมูลความมีเหตุผลในการกำหนดนโยบาย การบริหารจัดการตลอดจนการจัดสรรงบประมาณเพื่อให้บรรลุแผนยุทธศาสตร์

  13. วัตถุประสงค์ของการประเมินผลโครงการวัตถุประสงค์ของการประเมินผลโครงการ • เพื่อวัดผลลัพธ์ของโครงการโดยการเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นกับเป้าหมายของโครงการ • สิ่งสำคัญของการประเมินผลโครงการคือการต้องทราบถึงวัถตุประสงค์ของโครงการ และความสำเร็จของโครงการที่กำหนดผ่านตัวบ่งชี้ที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ที่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้ • การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินผลโครงการจำเป็นต้องทราบถึงขอบเขต ขนาด ระยะเวลา ความชัดเจนและความเฉพาะของปัจจัยนำเข้า

  14. วัตถุประสงค์ของการประเมินผลโครงการ (ต่อ) • ขอบเขตของโครงการ หมายถึง ความครอบคลุมเชิงพื้นที่ของโครงการ เช่น โครงการระดับภูมิภาค ระดับประเทศ ระดับจังหวัด ระดับเมือง ระดับชุมชน หรือบางโครงการอาจมีความเฉพาะเจาะจงเพียงบางพื้นที่ • ขนาด หมายถึง ความครอบคลุมเชิงบุคคลเป้าหมายของโครงการ เช่น ผู้รับประโยชน์ของโครงการอาจมีจำนวนจำกัดตามวัตถุประสงค์ของโครงการ หรือโครงการที่มีความครอบคลุมประชากรทั่วประเทศ • ระยะเวลา หมายถึง ช่วงเวลาในการดำเนินการของโครงการ

  15. วัตถุประสงค์ของการประเมินผลโครงการ (ต่อ) • ความชัดเจนและความเฉพาะเจาะจงของปัจจัยนำเข้า หมายถึง ข้อบ่งชี้ที่จะเป็นตัวกำหนดถึงความชัดเจนเชิงเป้าหมายของโครงการ ซึ่งบางโครงการอาจมีเป้าหมายที่ชัดเจน แต่บางโครงการอาจมีความคลุมเครือ เช่น โครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน

  16. ขั้นตอนของการประเมินผลโครงการขั้นตอนของการประเมินผลโครงการ • การประเมินผลโครงการเป็นกระบวนการที่ต้องกระทำอย่างมีขั้นตอน สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของโครงการ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ขั้นตอน อันได้แก่ • การกำหนดวัตถุประสงค์ที่จะประเมิน • การเลือกวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะวัด • การเลือกเครื่องมือในการประเมิน และกระบวนการประเมิน • การเลือกกลุ่มตัวอย่าง • การเลือกเทคนิควิธีการวิเคราะห์ข้อมูล • การเขียนรายงานสรุป และข้อเสนอแนะ

  17. ขั้นตอนของการประเมินผลโครงการ (ต่อ) • การกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับการประเมิน หมายถึง เป็นการกำหนดเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องการประเมิน ซึ่งวัตถุประสงค์ของการประเมินอาจไม่ใช่วัตถุประสงค์ของโครงการ เนื่องจากผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการมีหลายลักษณะ หลายระดับ • การเลือกวัตถุประสงค์ของโครงการที่ต้องการจะวัด ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับระยะเวลาของการวัด เช่น การวัดผลเฉพาะหน้า/ ระยะสั้น หรือการวัดผลระยะยาว ความยั่งยืนของโครงการ และงบประมาณที่อาจจะเป็นข้อจำกัดในการประเมินผลโครงการระยะยาวได้

  18. ขั้นตอนของการประเมินผลโครงการ (ต่อ) • การเลือกเครื่องมือ และกระบวนการในการประเมินผลโครงการ หมายถึง การกำหนดเนื้อหาการประเมินให้ตรงกับเจตนารมณ์ของการประเมินโดยการสร้างเครื่องมือเพื่อที่จะใช้ในการประเมินผล • การเลือกกลุ่มตัวอย่าง หมายถึง ผู้ที่เป็นกลุ่มตัวแทนหรือกลุ่มผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการทั้งหมด และอาจรวมถึงกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์ทางอ้อมจากการดำเนินโครงการ

  19. ขั้นตอนของการประเมินผลโครงการ (ต่อ) • การเลือกเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงการว่าเป็นอย่างไร เช่น โครงการที่มีลักษณะเปิด-ปิด • การเขียนรายงานสรุปและข้อเสนอแนะ เป็นการนำเสนอถึงสารสนเทศ/ ข้อค้นพบอันเกิดจากการดำเนินโครงการเพื่อใช้ในการตัดสินใจ

  20. ขอบเขตของการประเมินผลโครงการขอบเขตของการประเมินผลโครงการ • เป็นการตอบคำถามเกี่ยวกับ • อะไร (What) คือลักษณะโครงการ สภาพปัจจุบัน ประเด็นและปัญหา ข้อสมมติที่ต้องการจะทดสอบ ตลอดจนตัวบ่งชี้ในความก้าวหน้าในแต่ละระยะ • ทำไม (Why) คือเหตุผลของการประเมินเพื่อการตรวจสอบโครงการว่าเป็นอย่างไรทั้งในด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการปฏิบัติงาน เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้เป็นข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ในการวางแผนหรือออกแบบโครงการใหม่ หรือเพื่อรายงานความก้าวหน้า • อย่างไร (How) คือ ลักษณะรูปแบบ วิธีการที่ใช้ในการประเมินว่าเป็นอย่างไร • ใคร (Who) คือผู้ที่จะทำการประเมินว่ามาจากที่ใด • เมื่อใด (When) คือ กำหนดการในการประเมิน รวมถึงประมาณการค่าใช้จ่ายต่าง ๆ

  21. ข้อควรพิจารณาในการประเมินผลโครงการข้อควรพิจารณาในการประเมินผลโครงการ • การประเมินผลโครงการเป็นกิจกรรมที่บ่งชี้ถึงผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้น แต่ในบางกรณีก็มีเหตุผลที่ไม่สนับสนุนให้มีการประเมินเกิดขึ้นอันได้แก่ • เมื่อไม่มีคำถามเกี่ยวกับความก้าวหน้าของโครงการ และการตัดสินใจเกี่ยวกับความจำเป็นหรืออนาคตของโครงการได้กำหนดไปแล้ว • เมื่อโครงการไม่มีภูมิหลังที่ชัดเจน เจ้าหน้าที่ทำงานแบบไร้ทิศทาง มีการเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานไปเรื่อยๆ จนไม่เห็นสภาพของโครงการ • ผู้ที่ทราบเป้าหมายของโครงการไม่สามารถตกลงกันได้ว่าวัตถุประสงค์ของโครงการคืออะไร • ขาดการสนับสนุนการประเมินทั้งด้านงบประมาณ บุคลากรที่จะทำการประเมิน

  22. ข้อควรระวังเกี่ยวกับการประเมินผลโครงการข้อควรระวังเกี่ยวกับการประเมินผลโครงการ • โครงการมักจะขาดเป้าหมายที่ชัดเจน เป้าหมายมีความคลุมเครือ ยากแก่การกำหนดความสำเร็จ รวมทั้งโครงการไม่มีความสอดคล้องกับแผนงาน/ แผนยุทธศาสตร์ • โครงการไม่สามารถเคลื่อนไปสู่เป้าหมายตามที่กำหนดไว้ จึงจำเป็นต้องหาผลที่ไม่คาดหวังที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ • โครงการมีการดำเนินกิจกรรมในหลายส่วน แต่ขาดการระบุความสำเร็จเชิงเป้าหมาย ทำให้ข้อมูลที่ได้รับอาจชี้แต่เพียงอุปสรรค ความล้มเหลว • นักประเมินโครงการมักจำมองแต่เพียงความสำเร็จของโครงการ โดยมิได้มองความล้มเหลวหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น ทำให้ขาดข้อมูลสำคัญในการยกระดับโครงการหรือการวางแผนการพัฒนา

  23. การวิจัยเป็นการหาข้อสรุปการวิจัยเป็นการหาข้อสรุป การกำหนดประเด็น นักวิจัยเป็นทั้งผู้กำหนดประเด็นและผู้ประเมิน เอื้อต่อการเชื่อมโยงยังหลายบริบท มีความลุ่มลึกในเชิงศาสตร์เดี่ยว การประเมินผลนำไปสู่การตัดสิน คุณค่า ซึ่งคือ สิ่งที่มีความสำคัญ (Sine Qua Non) ที่ต้องการให้บรรลุผล ประเด็นการประเมินจะมาจากหลายแหล่ง รวมถึงความสำคัญของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders) มุ่งเน้นอธิบายเฉพาะประเด็นที่ประเมิน ไม่เน้นการขยายผล ต้องอาศัยความเป็นสหวิทยาการ ความแตกต่างระหว่างการวิจัยและการประเมินผล

  24. รูปแบบพื้นฐานของการวิจัยประเมินผลรูปแบบพื้นฐานของการวิจัยประเมินผล • การประเมินผลแบบ Formative เป็นการประเมินเพื่อติดตามความก้าวหน้าโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงงาน (Improvement) • การประเมินผลแบบ Summative เป็นการประเมินคุณค่าของผลรวมที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการดำเนินงาน เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการตัดสินใจ (Making Judgement) โดยมากจะเน้นไปที่การพิจารณาว่าควรมีการต่อยอดงานหรือไม่ หรือต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวทางเชิงนโยบายหรือไม่

  25. สิ่งสำคัญสำหรับนักประเมินผลโครงการสิ่งสำคัญสำหรับนักประเมินผลโครงการ • มีความสามารถที่จะอธิบายวัถตุวิสัยและบริบทที่จะทำการประเมินได้ • สามารถสร้างกรอบแนวคิดที่เหมาะสมกับจุดประสงค์ และกรอบแนวทางที่ใช้การดำเนินการประเมินได้ • สามารถกำหนดและเลือกคำถาม ตลอดจนข้อมูลที่ต้องการ และแหล่งข้อมูลที่จะใช้ประเมินได้อย่างเหมาะสม • การเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

  26. บทบาทและกิจกรรมของนักประเมินผลบทบาทและกิจกรรมของนักประเมินผล • นักประเมินจำเป็นต้องดำเนินการในกิจกรรมการประเมินในลักษณะที่หลากหลาย เช่น การเป็นผู้ให้ความรู้ในงานวิจัยประเภทสร้างพลัง (Empowerment Evaluation) เพื่อกระตุ้นให้ผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยให้เกิดพลัง/ ความสามารถ • แนวโน้มบทบาทของนักประเมินเริ่มเปลี่ยนไปจากการตัดสินไปสู่การเป็นภาคีแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน การเป็นผู้อำนวยความสะดวก การเป็นผู้ประสานงาน การเป็นนักประเมินภายใน • การปรับเปลี่ยนแนวคิดจาก Neutrality ไปสู่ Advocacy (Critical Friend)

  27. สรุปเหตุและผลของการประเมินผลโครงการ (Why) • เพื่อให้ได้การรับรองวิทยฐานะ (Accreditation System) • ช่วยให้การใช้ทรัพยากรเกิดประโยชน์เต็มที่ (Efficiency) • เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณอย่างพอเพียง • เพื่อให้ได้สารสนเทศที่สำคัญสำหรับช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจ • ช่วยให้แผนงานบรรลุวัตถุประสงค์ หรือครบถ้วนตามกระบวนการของการวางแผนโครงการ • ช่วยในการควบคุมคุณภาพของแผนงาน/โครงการ • เพื่อให้ทราบผลผลิต หรือผลลัพธ์จากโครงการ • ช่วยให้การกำหนดวัตถุประสงค์หรือมาตรฐานของการดำเนินการมีความชัดเจน โดยเฉพาะกรณีโครงการใหม่

  28. การกำหนดโครงการ การประเมินก่อนการดำเนินงาน การวางแผนโครงการ การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ปัจจัยนำเข้า การดำเนินโครงการ 1 กระบวนการ การประเมินขณะดำเนินการ ผลผลิต การประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงกร ผลที่ตามมา/ผลกระทบ การดำเนินโครงการ 2 ผลกระทบในระยะยาว การประเมินผลหลังสิ้นสุดโครงการ ความสัมพันธ์ระหว่างวงจรโครงการกับการประเมินผลโครงการ (When)

  29. มุมมองใหม่เกี่ยวกับการประเมินผลมุมมองใหม่เกี่ยวกับการประเมินผล • เน้นการดำเนินการที่เป็นระบบ มีกรอบชัดว่าจะประเมินอะไร ทำเมื่อใด ทำอย่างไร • มีจุดเน้นได้หลากหลาย แล้วแต่ว่าผู้ประเมินให้ความสำคัญกับเรื่องอะไร • เปลี่ยนจากความคิดที่จะตรวจสอบหาความสำเร็จ/ ล้มเหลว (Judge) มาค้นหาความดีงามหรือคุณค่าของโครงการ(Merit) • ผูกมัดการประเมินกับการเรียนรู้หรือพัฒนางานมากกว่าจะเป็นเรื่องการควบคุม สั่งการ

  30. เราต้องการแสดงว่า ….. กลุ่มเป้าหมายได้รับการช่วยเหลือ กลุ่มเป้าหมายพอใจบริการ โครงการมีผลแก้ไขปัญหาได้จริง โครงการมีคุณค่า เทคนิควิธีที่ใช้ในโครงการนี้ดีกว่าโครงการอื่น โครงการจำเป็นต้องมีบุคลากรและทรัพยากรเพิ่มขึ้นอย่างไร บุคลากรได้ถูกใช้ประโยชน์อย่างดี เราจึงต้องรู้ให้ได้ว่า …. กลุ่มเป้าหมายได้รับการช่วยเหลือหรือไม่ กลุ่มเป้าหมายพอใจบริการหรือไม่ โครงการทำให้เกิดความแตกต่างได้จริง โครงการนี้คุ้มค่าต่อการลงทุน (เงิน) เทคนิควิธีใหม่ ๆ ดีกว่าเก่าอย่างไร เราจะยกระดับโครงการให้ดีขึ้นอย่างไร บุคลากรได้ทำงานคุ้มค่ากับเวลาหรือไม่ สรุปหลักการของการประเมินผล

More Related