1 / 149

กฎหมายลักษณะพยานหลักฐานส่วนแพ่ง (ป. วิ.พ. มาตรา 84 -130)

กฎหมายลักษณะพยานหลักฐานส่วนแพ่ง (ป. วิ.พ. มาตรา 84 -130). ศาลมีหน้าที่วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย  ข้อกฎหมายวินิจฉัยโดยไม่ต้องใช้พยานหลักฐาน  ข้อเท็จจริงวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน มาตรา 84 การวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในคดีใดจะต้องกระทำโดยอาศัยพยานหลักฐานในสำนวนคดีนั้น.

Download Presentation

กฎหมายลักษณะพยานหลักฐานส่วนแพ่ง (ป. วิ.พ. มาตรา 84 -130)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายลักษณะพยานหลักฐานส่วนแพ่ง (ป.วิ.พ. มาตรา 84 -130)

  2. ศาลมีหน้าที่วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายศาลมีหน้าที่วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ข้อกฎหมายวินิจฉัยโดยไม่ต้องใช้พยานหลักฐาน ข้อเท็จจริงวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน มาตรา 84การวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในคดีใดจะต้องกระทำโดยอาศัยพยานหลักฐานในสำนวนคดีนั้น พยานหลักฐาน(evidence)

  3. หมายถึงพยานหลักฐานที่ถูกนำเข้าสู่สำนวนคดีโดยถูกต้องตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กฎหมายกำหนด กรณีรวมการพิจารณาคดีหลายสำนวนเข้าด้วยกัน การรับฟังพยานหลักฐานต้องฟังรวมกัน ฎีกา 133-134/2491(ประชุมใหญ่) เมื่อศาลสั่งให้การรวมพิจารณาพิพากษาคดี 2 สำนวนเข้าด้วยกันแล้ว การรับฟังพยานหลักฐานต้องพิจารณาพิพากษารวมกัน พยานหลักฐานในสำนวน

  4. หากไม่ได้รวมพิจารณา ต้องฟังพยานหลักฐานแยกจากกัน ฎีกา 1679/2526พยานโจทก์ทั้ง 2 สำนวนเป็นชุดเดียวกัน แต่ศาลมิได้สั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน และโจทก์ไม่ได้อ้างสำนวนคดีก่อนเป็นพยานในคดีนี้ จะนำพยาน หลักฐานที่นำสืบในคดีก่อนมาใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในคดีนี้ไม่ได้ ฎีกา 1369/2520แม้อ้างสำนวนคดีอื่นเป็นพยาน และระบุ ในบัญชีระบุพยานแล้ว แต่ยังไม่ได้ขอให้ศาลเรียกหรือขอยืมสำนวนเพื่อประกอบการพิจารณา ถือว่ายังไม่ได้นำสืบสำนวนเข้ามาในคดี เป็นพยานนอกสำนวน รับฟังไม่ได้

  5. ฎีกา 838/2507กรณีอ้างสำนวนอีกคดีเป็นพยานซึ่งเป็นสำนวนอยู่ในศาลเดียวกัน โดยอ้างในบัญชีระบุพยาน ทำ คำแถลงขอให้นำมาผูกรวมไว้ และเสียค่าอ้างแล้ว แต่ศาล ยังไม่ได้เรียกสำนวนมาผูกรวมไว้ ถือว่านำสืบสำนวนเข้า มาในคดีแล้ว สามารถรับฟังเป็นพยานได้

  6. 1.ข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป ฎีกา 4944/2549ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยใช้โทรศัพท์ซึ่งมีสายไฟสองสายต่อพ่วงเข้ากับโทรศัพท์ในตู้โทรศัพท์สาธารณะแล้วโทรศัพท์ออกไป และนำความหมายคำว่า “โทรศัพท์” ตามสารานุกรมไทยมาวินิจฉัย เป็นการสืบค้นจากหนังสืออ้างอิงที่วิญญูชนทั่วไปสามารถทราบได้ โดยอาศัยข้อเท็จจริงซึ่งเป็นรู้กันอยู่โดยทั่วไป ศาลวินิจฉัย ได้เอง มิใช่เป็นการรับฟังและวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวน ข้อยกเว้น

  7. 2.ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้2.ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ ได้แก่ ข้อเท็จจริงตามที่กฎหมายสันนิษฐานไว้โดยเด็ดขาด หรือเป็นกรณีกฎหมายปิดปาก เช่น คำพิพากษาที่ผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 ฎีกา 2851/2541คดีก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลย มิได้ผิดสัญญาจะซื้อขาย สัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยยังไม่ระงับ โจทก์บอกเลิกสัญญาไม่ชอบ คำพิพากษาย่อมผูกพันโจทก์จำเลย และต้องถือว่าสัญญาจะซื้อขายยัง ไม่เลิกกัน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้

  8. หรือ กรณีข้อเท็จจริงในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏ ในคำพิพากษาส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ฯลฯ ฎีกา 4422/2536การจะถือข้อเท็จจริงในส่วนอาญามา พิพากษาส่วนแพ่งได้ จะต้องเป็นคดีมีมูลกรณีเดียวกันและคู่ความเดียวกัน ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ คู่ความในคดีส่วนแพ่งต้องเป็นผู้เสียหายในคดีส่วนอาญาด้วย

  9. 3.ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล ก.คำรับตามคำให้การของจำเลย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 ซึ่งอาจเป็นคำรับโดยตรง หรือคำรับที่เกิดจากการไม่ให้การปฏิเสธโดยแจ้งชัด ฎีกา 5684/2548การที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ไม่มีผล เป็นการยอมรับหรือถือว่ารับข้อเท็จจริงตามฟ้อง ข. คำแถลงรับของคู่ความต่อศาลคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลในระหว่างการชี้สองสถานหรือระหว่างการพิจารณาของศาล

  10. ฎีกา 4320/2540โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันและจำนองจำเลยที่ 2 ให้การว่าเป็นเอกสารปลอม แม้โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 แถลงไม่ติดใจสืบพยาน แต่จำเลยที่ 2 ยอมรับว่าได้ทำหนังสือถึงโจทก์ขอชำระหนี้คดีนี้และคดีอื่น เมื่อหักหนี้แล้วยังเหลือเงินที่ต้องชำระในคดีนี้ 2 ล้านบาทเศษถือว่าในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 2 ได้ยอมรับว่าเป็นลูกหนี้โจทก์ตามฟ้องและยอมชดใช้หนี้โจทก์เป็นเงิน 2 ล้านบาทเศษจริงตามป.วิ.พ มาตรา 84(1) ศาลพิพากษาให้จำเลยที่2 รับผิดได้

  11. คำรับในคดีอื่น ไม่ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้ว ฎีกา 5722/2546โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญากู้เงิน แม้จำเลยเบิกความในคดีอื่นว่า ลายมือชื่อในสมุดบันทึกเป็นของจำเลยและจำเลยเป็นหนี้ 5,000 บาท เมื่อไม่ใช่เป็นคำรับของจำเลยในคดีนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริง คำรับดังกล่าวเป็นเพียงพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยันจำเลยได้(ดู ฎีกา 1886/2506 ฎีกา 1076/2516)

  12. ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้ว อาจเกิดขึ้นในชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ฎีกา 8290/2540จำเลยยอมรับมาในคำแก้อุทธรณ์ว่าได้ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์จริง การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ไม่จำต้องใช้สัญญาเช่าซื้อเป็นพยานหลักฐาน แม้สัญญาไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ คดีก็ฟังได้ว่าจำเลยทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์

  13. ค. คำท้า เป็นกรณีที่คู่ความยอมรับข้อเท็จจริงในศาล โดย มีเงื่อนไขบังคับก่อน ฎีกา 5204/2543การท้ากันในศาล คือ การแถลงร่วมกันของคู่ความตกลงให้ศาลตัดสินชี้ขาดตามข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ที่คู่ความมีความเห็นตรงกันข้ามในเหตุการณ์ภายหน้าอันไม่แน่นอน และจะแน่นอนได้ต่อเมื่อเหตุการณ์นั้นผ่านพ้นไปแล้ว ซึ่งถ้าเหตุการณ์นั้นตรงกับความเห็นของฝ่ายใด ศาลจะต้องตัดสินให้ฝ่ายนั้นชนะ

  14. ท้าได้เฉพาะคดีแพ่ง คดีอาญาท้าไม่ได้ ฎีกา 1570/2511ในคดีอาญาคู่ความตกลงท้ากันขอให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อหนึ่งข้อใด แล้วให้ศาลชี้ขาดคดีไปไม่ได้ เนื่องจากไม่มีบัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ และจะนำบทบัญญัติใน ป.วิ.พ มาใช้ไม่ได้ ฎีกา 129/2522คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ท้าได้เฉพาะส่วนแพ่ง คดีอาญาท้าไม่ได้

  15. ต้องท้ากันกันเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาต้องท้ากันกันเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณา ฎีกา 1186/2533คู่ความอาจท้ากันว่า ถ้าบุคคลที่จำเลยอ้างว่าได้รับชำระหนี้จากจำเลยแล้วสาบานตามที่จำเลยนำสาบานได้ จำเลยยอมแพ้ ฎีกา 2353/2519คู่ความท้าว่า หน้าที่นำสืบตกแก่ฝ่ายใด ฝ่ายนั้นยอมแพ้ ย่อมทำได้ ฎีกา 226//2510คู่ความท้ากันว่า ให้ถือตามหลักฐานที่มีอยู่ ที่เจ้าหน้าที่นิคมสร้างตนเองว่าฝ่ายใดมีสิทธิครอบครอง อีกฝ่ายยอมแพ้

  16. ฎีกา 736/2507คู่ความอาจท้าให้ถือเอาผลคำพิพากษาใน คดีอาญาว่าโจทก์ถูกกระสุนปืนของจำเลยหรือไม่ ถ้าใช่จำเลยยอมแพ้ ถ้าไม่ใช่โจทก์ยอมแพ้ เมื่อคดีอาญาฟังว่าโจทก์ถูกกระสุนปืนจำเลย แม้เป็นการกระทำโดยป้องกัน จำเลยต้องแพ้ตามคำท้า ฎีกา 5575/2552โจทก์และจำเลยตกลงท้า ให้ศาลวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวว่า คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ หากคดีขาดอายุความให้ยกฟ้อง หากไม่ขาดอายุความให้จำเลยชำระหนี้ ถือเป็นคำท้า ผูกพันโจทก์และจำเลย

  17. ฎีกา 265/2535คู่ความตกลงท้ากันให้ถือเอาผลของคำ พิพากษาในคดีอาญาว่าจำเลยปลอมพินัยกรรมหรือไม่ มาวินิจฉัยในคดีแพ่ง ข้อตกลงย่อมมีความหมายว่าคู่ความประสงค์ให้ถือเอาผลของคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้ว เป็น ข้อแพ้ชนะ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่ง โดยถือตามผลคดีอาญาของศาลชั้นต้นที่ยังไม่ถึงที่สุด จึงเป็นการไม่ชอบ ต้องรอฟังผลคำพิพากษาคดีอาญาที่ถึงที่สุดแล้ว

  18. ท้าเอาคำสาบานของบุคคลภายนอก แม้บุคคลภายนอกไม่ได้ตกลงท้าด้วย คำท้าก็มีผลผูกพัน ฎีกา 1333/2530คู่ความตกลงท้าว่า หากจำเลยและ ส. ยอมสาบาน โจทก์ยอมแพ้คดี หากไม่ยอมสาบานจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ข้อตกลงมีผลบังคับได้การสาบานของ ส. บุคคล ภายนอกเป็นเพียงเงื่อนไขที่คู่กรณีกำหนดขึ้น การที่ ส.ไม่ได้รู้เห็นยินยอมในการตกลง ไม่ทำให้ข้อตกลงในคำท้ากลาย เป็นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยและ ส. ไม่ยอมสาบาน จำเลยจึงเป็นฝ่ายแพ้คดี

  19. คำท้ากระทำโดยตัวความหรือทนายความโดยชอบแล้ว แม้ต่อมาถอนทนายหรือคู่ความตาย คำท้ายังมีผลผูกพัน ฎีกา 2470/2538ทนายความของจำเลยทั้งสี่ตกลงท้าสาบานกับโจทก์ ซึ่งมีอำนาจทำได้ตามใบแต่งทนายความ แม้ต่อมาจำเลยทั้งสี่จะได้ถอนทนายความก่อนวันนัดสาบานตามคำท้าคำท้าก็มีผลผูกพัน เมื่อโจทก์สาบานได้ตามคำท้า จำเลยทั้งสี่เป็นฝ่ายแพ้คดี ฎีกา 982/2506คำท้ามีผลผูกพันคู่ความที่ตกลงกัน แม้ต่อมาคู่ความฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตก็ไม่ทำให้คำท้าสิ้นผล

  20. ในคดีที่มีโจทก์หรือจำเลยหลายคน โจทก์จำเลยบางคน ตกลงท้า คำท้ามีผลผูกพันเฉพาะคู่ความที่ตกลงท้า แต่ไม่มีผลไปถึงคู่ความที่ไม่ได้ตกลงท้าด้วย ฎีกา 1713-1714/2523ก่อนสืบพยาน โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงท้าพิสูจน์ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ในเอกสารตามที่ ตกลงกัน ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายแพ้ตามคำท้า ข้อตกลงในคำท้ามีผลผูกพันเฉพาะในระหว่างโจทก์กับ จำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ตกลงในคำท้าด้วย เพราะกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 1 ทำไปนั้น เป็นที่เสื่อมสิทธิแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่ความร่วม

  21. เมื่อตกลงท้ากันแล้ว คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะขอยกเลิก การท้าโดยอีกฝ่ายไม่ยินยอมไม่ได้ ฎีกา 3920/2531ตกลงท้ากันแล้ว จะอ้างภายหลังว่าเสียเปรียบในคำท้าและขอยกเลิกคำท้าไม่ได้ ฎีกา 75/2540คู่ความตกลงท้าให้สืบ ท.พยานคนกลางต่อหน้าศาล ถ้าจะให้คู่ความมีสิทธิถอนคำท้า เพียงเพราะเกรงว่าพยานคนกลางจะเบิกความเข้าข้างอีกฝ่ายหนึ่งเท่านั้น โดย ไม่มีเหตุผลอื่นตามกฎหมายที่จะอ้างได้ ย่อมเป็นการไม่ ชอบ เพราะคำท้าที่ตกลงกันต่อหน้าศาลจะไม่เกิดประโยชน์ จำเลยไม่มีสิทธิถอนคำท้า

  22. เมื่อคำท้าชอบและดำเนินการตามคำท้าแล้ว ศาลต้องตัดสิน ตามผลของคำท้า ฎีกา 957/2522โจทก์จำเลยตกลงท้ากันขอให้สืบ ส.เป็นพยาน หาก ส. เบิกความเจือสมฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นชนะ เป็นคำท้า ที่ใช้บังคับได้ เมื่อ ส. เบิกความเจือสมฝ่ายโจทก์ โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีตามคำท้า จำเลยที่1 จะมายื่นคำร้องในภายหลังว่า ส. เบิกความโดยไม่สุจริต ขอให้ศาลไต่สวนและสั่งเพิกถอนคำท้า ภายหลังจากที่ ส. เบิกความไปแล้วไม่ได้

  23. ฎีกา 952/2537คู่ความตกลงท้าให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดแนวเขตที่ดินพิพาท หากบ้านเลขที่ 39/1 อยู่ในเขตที่ดินดังกล่าว จำเลยยอมแพ้ หากอยู่นอกเขตโจทก์ยอมแพ้ ผลการรังวัดปรากฏว่าบ้านอยู่ในเขตที่ดินพิพาท โจทก์จำเลยตรวจดูแผนที่พิพาทแล้วลงลายมือชื่อไว้ ถือว่าจำเลยยอม รับว่าแผนที่นั้นถูกต้อง ศาลต้องพิพากษาตามข้อเท็จจริง ที่ปรากฏนั้น จำเลยจะอ้างว่าเนื้อที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดนั้นเกินไปจากที่เป็นจริงไม่ได้ เพราะที่ดินพิพาทมี เนื้อที่เท่าใด ไม่เป็นประเด็นในคำท้า จำเลยจึงต้องแพ้คดี

  24. ฎีกา 2232/2530โจทก์จำเลยตกลงท้ากันให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดสอบเขตที่ดินโดยถือเอาการรังวัดนี้เป็นยุติ ย่อมแสดงว่าโจทก์จำเลยมอบความไว้วางใจเป็นสิทธิขาดให้เจ้าพนักงานที่ดินสำหรับการรังวัดสอบเขต แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะค้นหาหลักฐานการรังวัดไม่พบ ก็ต้องตรวจสอบหาเขตที่ดินไปตามหลักวิชา จะใช้วิธีการนำชี้หาได้ไม่ เพราะมิใช่การรังวัดสอบเขตตามที่คู่ความตกลงกัน

  25. ฎีกา 8471/2544กรณีตกลงท้าให้โรงพยาบาล 3 แห่งตรวจว่า โจทก์เป็นบุตรผู้ตายซึ่งเป็นเจ้ามรดกหรือไม่ โดยใช้วิธีตรวจตามหลักการแพทย์ แพทย์อาจตรวจมากกว่า 1 ครั้งและตรวจบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องได้ด้วย ไม่เป็นการปฏิบัตินอกเหนือคำท้า ฎีกา 12183/2547คู่ความตกลงท้าให้ผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์ลายมือชื่อในเอกสารว่าเป็นของจำเลยหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์แล้วลงความเห็นว่าน่าเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลย ดังนี้ ถือว่าเป็นไปตามคำท้าแล้ว

  26. ฎีกา 90/2534ตกลงท้ากันว่า ถ้าโจทก์ทั้งสามและ ผ. ยอมสาบานต่อหน้าวัดทั้งเจ็ดที่กำหนด จำเลยยอมแพ้คดี ศาลชั้นต้นจดรายงานฯนัดสาบานไว้ 2 วัน แต่มิได้กำหนดว่าจะต้องสาบานให้เสร็จตามเวลานัดทั้งสองวัน อันจะถือเป็นข้อแพ้ชนะกัน เมื่อโจทก์ทั้งสามและ ผ.ได้สาบานต่อหน้าวัดจนครบทุกวัดตามที่กำหนดไว้แล้ว แม้ไม่ได้สาบานให้เสร็จภายใน 2 วันตามที่นัดไว้ ก็ถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามคำท้าครบถ้วนแล้ว จำเลยต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า

  27. เมื่อดำเนินการตามคำท้าแล้ว ศาลต้องตัดสินตามผลของคำท้า จะไกล่เกลี่ยหรือสืบพยานต่อไปไม่ได้ ฎีกา 998/2531คู่ความตกลงกันว่า หากผู้จัดการมรดกเสียงข้างมากตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปยอมจ่ายเงินจากกองมรดกให้โจทก์ จำเลยทั้งสองยอมจ่ายเงินให้ หรืออีกนัยหนึ่งจำเลยยอมแพ้นั่นเอง กรณีจึงเป็นคำท้า เมื่อได้เสียงข้างมากจากผู้จัดการมรดกแล้ว ศาลชั้นต้นต้องพิพากษาให้เป็นไปตามข้อตกลงในคำท้า การที่ศาลชั้นต้นยังไกล่เกลี่ยและสืบพยานโจทก์ต่อไป จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณา ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 138

  28. หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของคำท้า ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไป ฎีกา 4858/2537คู่ความท้ากันว่า หากคดีอาญาคดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้องจำเลยยอมแพ้ หากไม่มีความผิดโจทก์ยอมแพ้ ศาลพิพากษายกฟ้องเพราะคดีขาดอายุความ กรณีไม่เป็นไปตามคำท้า แม้คู่ความแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ฎีกา 3412/2538กรณีไม่เป็นไปตามคำท้า คู่ความแถลงขอให้ศาลตัดสินตามรูปคดี การวินิจฉัยคดีถือตามภาระการพิสูจน์

  29. หากยังดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนตามคำท้า จะถือว่า ไม่เป็นไปตามคำท้าไม่ได้ ฎีกา 1580/2537คู่ความท้ากันขอให้ถือเอาผลการรังวัดที่ดินของเจ้าพนักงานที่ดินเป็นข้อแพ้ชนะ แต่ไม่อาจรังวัดได้เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ยอมให้เข้าไปในที่ดินเพื่อรังวัด เมื่อ คำท้ามิได้กำหนดให้จำเลยที่ 1 แพ้คดีในกรณีนี้ ศาลจึง ไม่อาจชี้ขาดตามคำท้าได้ แต่ศาลชอบที่จะสั่งให้ช่างรังวัดทำการรังวัดใหม่และห้ามจำเลยขัดขวางได้

  30. ฎีกา 5285/2537คู่ความท้าให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ตัวเลข 2 ในสัญญากู้ได้เขียนขึ้นในคราวเดียวกัน หรือเขียนเติมขึ้นในภายหลังประการหนึ่ง และเขียนด้วยหมึกจากปากกา คนละด้ามกันหรือไม่อีกประการหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นขอ ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์เฉพาะในประการแรกเท่านั้น ยังไม่เป็นไปตามคำท้าที่จะถือว่าโจทก์ต้องแพ้คดี กรณีเป็นเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27

  31. ฎีกา 1745/2513คู่ความตกลงท้ากันให้ที่ดินอำเภอและ ปลัดอำเภอคนใดคนหนึ่งแล้วแต่นายอำเภอจะกำหนดตัว ไปดูที่พิพาทร่วมกับคู่ความ เพื่อให้ทราบว่าที่พิพาทอยู่ใน หมู่ที่เท่าใด ปรากฏว่าเสมียนพนักงานที่ดินอำเภอกับปลัดอำเภอไปดูที่ดิน จึงไม่ตรงกับคำท้า ถือว่ายังไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำท้า ศาลจะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะคดียังไม่ได้ ต้องดำเนินการให้ตรงตาม คำท้าเสียก่อน

  32. เมื่อศาลวินิจฉัยตามคำท้าแล้ว ประเด็นข้ออ้างหรือ ข้อเท็จจริงอื่นย่อมหมดไป คู่ความจะอุทธรณ์ฎีกาในเรื่อง ที่นอกเหนือจากคำท้าอีกไม่ได้ ฎีกา 3531/2549คู่ความตกลงท้ากัน ศาลวินิจฉัยตามคำท้าและจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้าแล้ว จำเลยจะอุทธรณ์ ในเรื่องที่นอกเหนือจากคำท้าอีกไม่ได้ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่าง ศาลสูงไม่รับวินิจฉัยให้

  33. หมายถึง หน้าที่ตามกฎหมายที่คู่ความต้องนำพยาน หลักฐานเข้านำสืบหรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุน คำคู่ความของตน คู่ความฝ่ายที่มีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงใด หากไม่นำสืบพยานหรือนำสืบไม่ได้ คู่ความฝ่ายนั้นจะต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี แตกต่างจากลำดับการนำพยานเข้าสืบ(order of proof) คู่ความอาจตกลงให้ฝ่ายใดนำสืบก่อนก็ได้ แต่การตัดสินคดีจะต้องเป็นไปตามภาระการพิสูจน์เสมอ ภาระการพิสูจน์(burden of proof)

  34. ภาระการพิสูจน์เป็นไปตามกฎหมาย หากกำหนดไม่ถูกต้องแม้คู่ความไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน ศาลก็ต้องพิจารณาไปตามภาระการพิสูจน์ที่ถูกต้อง ฎีกา 3059-3060/2516ศาลกำหนดภาระการพิสูจน์ผิด แม้จำเลยจะมิได้คัดค้าน เมื่อไม่มีการสืบพยาน ศาลก็จะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีไปทีเดียวไม่ได้ เพราะการที่ศาลจะพิพากษาให้ฝ่ายใดชนะคดีโดยถือภาระการพิสูจน์เป็นหลักนั้น ต้องถือตามภาระการพิสูจน์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย (ฎีกา 376/2525 วินิจฉัยทำนองเดียวกัน)

  35. คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงใดสนับสนุน คำคู่ความของตน ฝ่ายนั้นมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น มาตรา 84/1คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุน คำคู่ความของตน ให้คู่ความฝ่ายนั้นมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น... หลักสุภาษิตกฎหมาย“ผู้ใดกล่าวอ้าง ผู้นั้นต้องพิสูจน์ ผู้ปฏิเสธหาได้มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ไม่”

  36. ฎีกา 70/2518โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาหมั้น จำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบเมื่อไม่สืบพยาน ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงโดยพิจารณาตามหน้าที่นำสืบ ฎีกา 5236/2543โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ จำเลยให้การว่าไม่เคยแบ่งขายที่ดินและรับเงินค่าที่ดินจาก โจทก์ ทั้งไม่เคยมอบการครอบครองที่ดินให้แก่โจทก์ โจทก์กล่าวอ้างข้อเท็จจริง จำเลยให้การปฏิเสธ ภาระการพิสูจน์ ตกโจทก์ ตามป.วิ.พ. มาตรา 84

  37. จำเลยให้การปฏิเสธและอ้างเหตุแห่งการปฏิเสธ การอ้างเหตุแห่งการปฏิเสธ ไม่ถือว่ารับและกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ โจทก์ยังมีหน้าที่นำสืบ ฎีกา 219/2507โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินกู้ จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้เงินโจทก์และไม่เคยทำสัญญากู้ และฟ้องแย้งว่าจำเลยจำนองที่ดินเพื่อเป็นประกันการสั่งซื้อรถยนต์ที่โจทก์จะสั่งมาให้จำเลย ดังนี้ เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบก่อนให้ปรากฏข้อเท็จจริงตามฟ้อง ส่วนข้อต่อสู้และฟ้องแย้งว่าจำเลยจำนองที่ดินเป็นการประกันการสั่งซื้อรถยนต์ เป็นเพียงเหตุผลประกอบการปฏิเสธเท่านั้น

  38. ฎีกา 5400/2537โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยทั้งสองอ้างว่าโจทก์มอบที่ดินให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ย จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า โจทก์ขายที่พิพาทให้จำเลยทั้งสองแล้ว ถือว่าจำเลย ทั้งสองให้การปฏิเสธ โดยมิได้ตั้งประเด็นขึ้นมาใหม่ เพราะข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ขายที่ดินให้จำเลยทั้งสองแล้วนั้น เป็น เพียงเหตุผลของการปฏิเสธ โจทก์มีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริง เพื่อสนับสนุนข้ออ้างตามคำฟ้องที่ว่า โจทก์มอบที่พิพาทให้จำเลยทั้งสองทำกินต่างดอกเบี้ย ไม่ใช่หน้าที่ของจำเลยทั้งสองที่จะต้องนำสืบพิสูจน์ว่าลายมือชื่อผู้ขายในสัญญาขายพิพาทเป็นของโจทก์

  39. หากจำเลยให้การรับหรือถือว่ารับในประเด็นที่โจทก์อ้าง แต่ยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ จำเลยมีหน้าที่นำสืบ ฎีกา 1719/2543โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์แล้ว ไม่ชำระราคา จำเลยให้การรับซื้อสินค้าจริง แต่ไม่ชำระราคาเพราะสินค้าไม่มีคุณภาพ จำเลยนำไปใช้แล้วเกิดความเสียหาย เป็นการกล่าวอ้างเรื่องข้อเท็จจริงเรื่องสินค้าไม่มีคุณภาพขึ้นปฏิเสธความรับผิดชำระราคาสินค้าจำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบ หากพยานหลักฐานของจำเลยไม่อาจรับฟังได้สมกับข้อต่อสู้ตามคำให้การ จำเลยจึงต้องแพ้คดี ศาลไม่จำต้องอาศัยพยานหลักฐานโจทก์มาวินิจฉัยว่าสินค้าโจทก์บกพร่องอีก

  40. ฎีกา 6325/2552จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าสั่งซื้อปูนซีเมนต์จากโจทก์ แต่บริษัท ภ. และธนาคาร ก. ร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์แล้ว ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 5 ให้การรับว่าทำสัญญาค้ำประกันจริง แต่อ้างว่าจำเลยที่ 3 และที่ 5 บอกเลิกการค้ำประกันซึ่งโจทก์ยอมรับและให้บุคคลอื่นเข้าค้ำประกันแทนแล้ว ถือเป็นคำให้การที่ยอมรับ แต่กล่าวอ้างข้อเท็จจริงใหม่ จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 และที่ 5 มีภาระการพิสูจน์ตามคำให้การ

  41. ฎีกา 441/2506โจทก์เช่าโรงมหรสพจากเจ้าของ แล้วมาทำสัญญากับจำเลย ให้อำนาจจำเลยดำเนินการฉายภาพยนต์หรือจัดรายการบันเทิงในโรงมหรสพนี้ โดยจำเลยต้องให้เงินเป็นรายเดือนและต้องรับภาระค่าโทรศัพท์ด้วย เมื่อจำเลยให้การ ว่าจำเลยทำสัญญากับโจทก์จริงตามฟ้อง แต่ต่อสู้ว่าได้ชำระ ค่าภาระติดพันต่างแก่โจทก์ตามสัญญาครบถ้วนแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำสืบ ฎีกา 136-640/2502โจทก์ฟ้องขับไล่ อ้างจำเลยไม่ชำระค่าเช่า จำเลยให้การว่านำค่าเช่าไปชำระแล้ว แต่โจทก์ไม่รับ จำเลยมีหน้าที่นำสืบให้สมตามข้อต่อสู้

  42. ฎีกา 3446/2525จำเลยที่ 3 ให้การรับว่าเป็นผู้รับประกันภัย แต่ไม่ต้องรับผิดเพราะจำเลยที่ 1 ผู้ขับขี่ไม่ได้รับอนุญาตให้ ขับรถยนต์ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยที่ 3 กล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ จึงมีภาระการพิสูจน์ ฎีกา 913/2527โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ที่ฝากคืนจากจำเลย จำเลยให้การว่ารับฝากทรัพย์ไว้จริง แต่คืนให้โจทก์ไปแล้ว จำเลยมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่าได้คืนทรัพย์ที่รับฝาก ให้โจทก์ไปแล้ว

  43. ฎีกา 2353/2519โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดิน อ้างว่าจำเลยอาศัย จำเลยให้การยอมรับว่าอยู่ในบ้านและที่ดิน ของโจทก์ แต่อ้างว่ามีสิทธิอยู่ได้เพราะโจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนในการผลิตไม้ปาเก้ออกจำหน่าย เพื่อแบ่งผลกำไร และห้างฯยังไม่เลิก จำเลยยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่เพื่อสนับสนุนข้ออ้างของจำเลยที่ว่ามีสิทธิอยู่ในบ้านและที่ดินของโจทก์ หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงนี้จึงตกจำเลย

  44. ฎีกา 6443/2544จำเลยให้การยอมรับว่าซื้อสินค้าจากโจทก์ แต่ไม่ต้องชำระราคา เพราะโจทก์ผิดสัญญาแต่งตั้งให้จำเลย เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าแต่ผู้เดียวในประเทศไทย แต่โจทก์กลับจำหน่ายสินค้าให้แก่นิติบุคคลในประเทศไทยหลายรายในราคาต่ำกว่าที่ขายให้จำเลย โจทก์บ่ายเบี่ยงไม่เปลี่ยนสินค้าใหม่โดยไม่คิดมูลค่า จึงเป็นกรณีที่จำเลยยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่เพื่อปัดความรับผิดที่จะไม่ชำระราคาสินค้าแก่โจทก์ ภาระการพิสูจน์ตกจำเลย

  45. กรณีฟ้องให้รับผิดตามสัญญา ก.หากจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญา โจทก์มีหน้าที่นำสืบ ข.หากจำเลยรับว่าทำสัญญา แต่ต่อสู้ว่าหนี้ไม่สมบูรณ์ เช่น ต่อสู้ว่าทำสัญญาเพราะถูกหลอกลวง ถูกข่มขู่ ทำโดยสำคัญผิด นิติกรรมตกเป็นโมฆียะ หรือหนี้ระงับแล้ว เช่น ด้วยการแปลงหนี้ใหม่ จำเลยมีหน้าที่นำสืบ

  46. ฎีกา 895/2517โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้จำเลยให้การว่าจำเลยตกลงขายสวนให้โจทก์ แต่โจทก์กลับหลอกลวงให้ทำสัญญากู้ และจำเลยไม่ได้รับเงิน ดังนี้ จำเลยมีหน้าที่นำสืบ ฎีกา 690/2511โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อ จำเลยรับว่าผิดสัญญาจริง แต่สัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ เพราะจำเลยเป็นคนต่างด้าวและสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม ดังนี้ จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อน

  47. ฎีกา 331/2528จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้ทำบันทึกข้อตกลง ให้โจทก์ไว้จริง แต่ต่อสู้ว่าถูกข่มขู่ จำเลยที่ 2 ให้การรับว่าได้ ทำหนังสือค้ำประกันไว้จริง แต่ต่อสู้ว่ากระทำโดยสำคัญผิด ฉะนั้น ประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 ถูกข่มขู่หรือไม่และจำเลยที่ 2 สำคัญผิดหรือไม่ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงตก เป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายนำสืบก่อน ไม่ใช่ฝ่ายโจทก์

  48. ฎีกา 149/2544โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้เงิน และคืน น.ส.3 ก เมื่อจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทำสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องจริง แต่อ้างว่าได้เปลี่ยนสัญญากู้เงินกันใหม่อีก 2 ครั้ง จึงเป็นการกล่าวอ้างว่า คู่กรณีได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ คือ จำนวนเงินที่กู้ยืม หากเป็นจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้าง หนี้ตามสัญญากู้ยืมตามฟ้องย่อมระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 โจทก์ย่อมขอ ให้ชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวอีกไม่ได้ เหตุนี้ จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์ว่ามีการแปลงหนี้ใหม่จริงหรือไม่

  49. ฎีกา 507/2497โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ จำเลยให้การต่อสู้ว่าเป็นนิติกรรมอำพรางทำขึ้นเพื่อลวงภริยาโจทก์ ความจริงไม่ได้รับเงินเลย เมื่อจำเลยรับว่าได้ทำสัญญาซึ่งกล่าวชัดว่าได้รับเงินแล้ว เป็นหน้าที่จำเลยนำสืบตามข้อต่อสู้ กรณีฟ้องให้รับผิดตามสัญญากู้ หากจำเลยให้การต่อสู้ว่า เป็นสัญญากู้ปลอม โจทก์มีภาระการพิสูจน์ ฎีกา 1806/2541โจทก์อ้างว่าจำเลยกู้เงิน 110,000 บาท จำเลยให้การว่ากู้เพียง 40,000 บาท สัญญากู้เป็นเอกสารปลอมโจทก์มีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าสัญญากู้เป็นเอกสารแท้จริง เมื่อฟังว่าสัญญากู้เป็นเอกสารปลอม ต้องพิพากษายกฟ้อง

  50. ฎีกา 1539/2548โจทก์ฟ้องให้ชำระหนี้เงินกู้ จำเลยที่ 1 ให้การว่ากู้จริง 4,500 บาทและลงชื่อในสัญญากู้โดยไม่ได้กรอกข้อความ โจทก์กรอกจำนวนเงิน 200,000 บาทภายหลัง โดยจำเลยที่ 1 ไม่ยินยอม โจทก์มีภาระการพิสูจน์หากฟังว่าเป็นเอกสารปลอม ถือว่าไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ ไม่มีอำนาจฟ้อง ฎีกา 3958/2535จำเลยที่ 1 ให้การว่าลงชื่อในสัญญากู้ขณะยังไม่ได้กรอกข้อความ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การทำนองเดียวกันว่า ลงชื่อในสัญญาค้ำประกันขณะยังไม่ได้กรอกข้อความ เท่ากับปฏิเสธว่า สัญญากู้และค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมภาระการพิสูจน์ตกโจทก์

More Related