1 / 23

สาระสำคัญของ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ....

สาระสำคัญของ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช. ฉบับลงประชามติ. สาระสำคัญที่เพิ่มขึ้นของรัฐธรรมนูญ. ๑. การคุ้มครอง ส่งเสริม และการขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่ ๒. การลดการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม

baxter
Download Presentation

สาระสำคัญของ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ....

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... ฉบับลงประชามติ

  2. สาระสำคัญที่เพิ่มขึ้นของรัฐธรรมนูญสาระสำคัญที่เพิ่มขึ้นของรัฐธรรมนูญ ๑. การคุ้มครอง ส่งเสริม และการขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่ ๒. การลดการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม ๓. การทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรม ๔. การทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  3. ๑.การคุ้มครอง ส่งเสริม และการขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่ • เพิ่มประเภทสิทธิและเสรีภาพมากขึ้น • ทำให้การใช้สิทธิและเสรีภาพ -ง่ายขึ้นกว่าเดิม -มีประสิทธิภาพ -มีมาตรการคุ้มครองชัดเจน • ทำให้แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมีความชัดเจน รอบด้าน และผูกพันรัฐมากกว่าเดิม • ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานของท้องถิ่นและกระจายอำนาจให้แก่ อปท.เพิ่มขึ้น

  4. เพิ่มประเภทสิทธิและเสรีภาพให้มากขึ้นกว่าเดิมเพิ่มประเภทสิทธิและเสรีภาพให้มากขึ้นกว่าเดิม • คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้ถูกละเมิด • ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง • สื่อมวลชนได้รับการคุ้มครอง ห้ามปิดกิจการสื่อมวลชน ห้ามแทรกแซงสื่อมวลชนในการเสนอข่าวสาร ห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเจ้าของกิจการหรือเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการสื่อสารมวลชนด้วย • ประชาชนได้รับการศึกษาฟรี ผู้ยากไร้ ผู้พิการ ทุพพลภาพ ต้องได้รับการศึกษา โดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น • เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวได้รับสิทธิในการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา • บุคคลที่ไร้ที่อยู่อาศัย/ไม่มีรายได้เพียงพอ ได้รับช่วยเหลือจากรัฐเป็นครั้งแรก

  5. เพิ่มประเภทสิทธิและเสรีภาพให้มากขึ้นกว่าเดิมเพิ่มประเภทสิทธิและเสรีภาพให้มากขึ้นกว่าเดิม • คำนึงถึงสัดส่วนของชายหญิงที่ใกล้เคียงกัน • ขยายสิทธิชุมชน โครงการ/กิจกรรมที่อาจก่อผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน • ชุมชนมีสิทธิฟ้ององค์กรของรัฐ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย • การทำสนธิสัญญา ข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อประชาชน ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และแก้ไขเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม • ประชาชน ๕๐,๐๐๐ คน เข้าชื่อเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้เป็นครั้งแรก

  6. การใช้สิทธิและเสรีภาพมีประสิทธิภาพและมีมาตรการคุ้มครองอย่างชัดเจนการใช้สิทธิและเสรีภาพมีประสิทธิภาพและมีมาตรการคุ้มครองอย่างชัดเจน • ตัดคำว่า “ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ออก เพื่อให้มีผลบังคับทันทีตามรัฐธรรมนูญ • กำหนดเวลาในการตรากฎหมายลูกอย่างชัดเจน (ส่วนใหญ่ ๑ ปี) • ประชาชนมีสิทธิฟ้องศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ • คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจฟ้องศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองได้ ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน

  7. ทำให้การใช้สิทธิและเสรีภาพง่ายขึ้นกว่าเดิมทำให้การใช้สิทธิและเสรีภาพง่ายขึ้นกว่าเดิม • สิทธิ เสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองและคุ้มครองไว้ แม้ยังไม่มีกฎหมายลูก ประชาชนสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพเหล่านั้นได้ทันที • ประชาชน ๑๐,๐๐๐ คนเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมาย • ประชาชน ๒๐,๐๐๐ คนเข้าชื่อถอดถอนนักการเมืองได้

  8. ทำให้แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมีความชัดเจน รอบด้าน และผูกพันรัฐมากกว่าเดิม • แยกแยะหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐให้ครอบคลุมทุกด้าน • กำหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในเรื่องที่สำคัญเพิ่มขึ้น เช่น รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีอากรให้มีความเป็นธรรม • ให้รัฐมีหน้าที่จัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน มีการคุ้มครองสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้เป็นของรัฐและป้องกันไม่ให้มีการผูกขาดในกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน

  9. ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานของท้องถิ่นและกระจายอำนาจให้แก่ อปท.เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยระดับประเทศ • อปท.มีอิสระในการบริหารงานทุกด้านและมีการจัดโครงสร้างที่คล่องตัว • เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับท้องถิ่น ลดจำนวนประชาชนที่จะเข้าชื่อถอดถอนนักการเมืองท้องถิ่นและการเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น • อปท.ต้องรายงานการดำเนินงานต่อประชาชน ในการจัดทำงบประมาณ การใช้จ่าย และผลการดำเนินงานในรอบปี

  10. ๒.การลดการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม๒.การลดการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม • เสริมอำนาจทางการเมืองให้แก่ประชาชน • จำกัดการผูกขาดและการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของรัฐบาล • ให้ สส.และ สว. เป็นอิสระจากการครอบงำของพรรคการเมือง เพื่อทำหน้าที่ผู้แทนปวงชนได้เต็มที่

  11. เสริมสร้างอำนาจทางการเมืองให้แก่ประชาชนเสริมสร้างอำนาจทางการเมืองให้แก่ประชาชน • ประชาชนและชุมชนมีอำนาจในการฟ้องร้องรัฐที่ใช้อำนาจไม่เป็นธรรมได้ • ประชาชนใช้สิทธิทางการเมืองได้ง่ายขึ้น เช่น การลดจำนวนประชาชนในการเข้าชื่อถอดถอนนักการเมืองและการเสนอกฎหมายทั้งในระดับประเทศและในระดับท้องถิ่น • สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น

  12. จำกัดการผูกขาดและการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของรัฐบาลจำกัดการผูกขาดและการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของรัฐบาล • นายกรัฐมนตรีอยู่ได้ไม่เกิน ๘ ปี • การตราพระราชกำหนดของรัฐบาลจะต้องถูกตรวจสอบ โดยเคร่งครัดจากศาลรัฐธรรมนูญ มิใช่ตามอำเภอใจของรัฐบาลอีกต่อไป • กำหนดขอบเขตภาระหน้าที่ของรัฐบาลรักษาการอย่างชัดเจน เพื่อมิให้รัฐบาลรักษาการแทรกแซงการทำงานของฝ่ายประจำ และใช้กลไกของรัฐไปสนับสนุนพรรคการเมืองและผู้สมัครฝ่ายตนในการเลือกตั้ง • คณะรัฐมนตรีจะทำสนธิสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการลงนาม

  13. จำกัดการผูกขาดและการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของรัฐบาลจำกัดการผูกขาดและการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของรัฐบาล • สส. ๑/๕ เปิดอภิปรายนายกรัฐมนตรีได้ และ สส.๑/๖ เปิดอภิปรายรัฐมนตรีได้ • อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีที่หลบการอภิปราย ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอื่น • ให้องค์กรอัยการเป็นอิสระ เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้เต็มที่

  14. สส.เป็นอิสระจากการครอบงำของพรรคการเมือง เพื่อทำหน้าที่ฐานะผู้แทนปวงชนได้อย่างเต็มที่ • ห้ามควบรวมพรรคการเมืองในระหว่างที่อายุของสภายังไม่สิ้นสุด • สส.มีอิสระจากมติพรรคการเมืองในการตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย และการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ • ห้ามสส.และสว.แทรกแซงข้าราชการประจำ

  15. ๓.การทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรม • บัญญัติหมวดคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้ชัดเจน • กำหนดมาตรการเพื่อไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมือง • การแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีความเข้มข้นขึ้น • ให้สส. สว. นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาได้ง่ายขึ้น

  16. บัญญัติหมวดคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้อย่างชัดเจนบัญญัติหมวดคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้อย่างชัดเจน • มีกลไกและระบบการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ มีขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการละเมิด • การฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมที่ร้ายแรงของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนำไปสู่การถอดถอนออกจากตำแหน่ง • ให้ ผู้ตรวจการแผ่นดิน และ ปปช.ทำหน้าที่ตรวจสอบจริยธรรมนักการเมือง

  17. กำหนดมาตรการเพื่อไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมืองกำหนดมาตรการเพื่อไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมือง • นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในการห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท (ครอบคลุมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ) • กำหนดหลักการ การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของ สส. สว. นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี • ห้ามประธานสภา รองประธานสภา ดำเนินการในลักษณะที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ในระหว่างการดำรงตำแหน่งจะเป็นกรรมการบริหารหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองมิได้ • นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ห้ามมิให้ออกเสียงลงคะแนนในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำรงตำแหน่ง การปฏิบัติหน้าที่ หรือการมีส่วนได้เสียในเรื่องนั้น

  18. การแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีความเข้มข้นขึ้นการแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีความเข้มข้นขึ้น • ขยายไปถึงทรัพย์สินที่อยู่ในความครอบครองหรือดูแลของบุคคลอี่น ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม • สส.และ สว. ต้องแสดงทรัพย์สินและหนี้สินอย่างเปิดเผยแก่สาธารณชนเ ช่นเดียวกับของรัฐมนตรี

  19. ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่งในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาได้ง่ายขึ้น • กรณีสมาชิกสภาพผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา เมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกแม้จะมีการรอการลงโทษก็พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่ประมาท ลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท • กรณีนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี เมื่อต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอการลงโทษก็พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่ประมาท ลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท

  20. ๔.การทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ๔.การทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ • ปรับปรุงระบบการสรรหาองค์กรตรวจสอบ • ปรับปรุงอำนาจหน้าที่และระบบการทำงานขององค์กรตรวจสอบดียิ่งขึ้น • จัดให้มีระบบตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

  21. ปรับปรุงระบบการสรรหาองค์กรตรวจสอบ ให้ได้คนที่มีความเป็นอิสระและเหมาะสมกับองค์กรอย่างแท้จริง • กรรมการสรรหามาจากองค์กรที่ได้รับความเชื่อถือและเป็นกลางในทางการเมือง • ลดผู้มีส่วนได้เสีย ออกจากกรรมการสรรหา

  22. ปรับปรุงอำนาจหน้าที่และระบบการทำงานขององค์กรตรวจสอบให้ดียิ่งขึ้นปรับปรุงอำนาจหน้าที่และระบบการทำงานขององค์กรตรวจสอบให้ดียิ่งขึ้น • ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับฟ้องเรื่องที่ประชาชนถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพได้โดยตรง • ให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นผู้พิจารณาว่านักการเมืองจงไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน หรือยื่นด้วยข้อความอันเป็นเท็จ • ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินสามารถหยิบยกเรื่องที่เกิดความเสียหายต่อประชาชนโดยรวมขึ้นพิจารณาได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการร้องเรียน

  23. จัดให้มีระบบการตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญจัดให้มีระบบการตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ • การให้ใบเหลือง ใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้งสามารถอุทธรณ์ ต่อศาลฎีกาได้ ส่วนการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น สามารถอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคใต้ • ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจตรวจสอบการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ หรือการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขององค์กรตามรัฐธรรมนูญหรือองค์กรในกระบวนการยุติธรรมและติดตามผลการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ

More Related