1 / 22

พระราชบัญญัติ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า

พระราชบัญญัติ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 30 มิถุนายน 2546. กฎหมายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า. ผลและขอบเขตของกฎหมาย ความแตกต่างจากกฎหมายหลักทรัพย์. ผลของการมีกฎหมาย. กฎหมายนี้ทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ * เพื่อรองรับการเกิดตลาด

bebe
Download Presentation

พระราชบัญญัติ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พระราชบัญญัติ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์30 มิถุนายน 2546

  2. กฎหมายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากฎหมายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า • ผลและขอบเขตของกฎหมาย • ความแตกต่างจากกฎหมายหลักทรัพย์

  3. ผลของการมีกฎหมาย • กฎหมายนี้ทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ *เพื่อรองรับการเกิดตลาด * เพื่อคุ้มครองประชาชน โดยให้อำนาจทางการ ควบคุมการให้บริการและกำกับดูแลการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

  4. กฎหมายรองรับการเกิดตลาดอย่างไรกฎหมายรองรับการเกิดตลาดอย่างไร • ศูนย์ซื้อขายไม่ได้เกิดโดยอัตโนมัติ • กฎหมายเพียงรองรับโดยการให้ใบอนุญาต เช่นเดียวกับที่รองรับผู้ประกอบธุรกิจ • ทางการอาจกระตุ้นการเกิดตลาดได้ แต่เอกชนต้องยินยอมพร้อมใจด้วย

  5. การให้ความคุ้มครองประชาชน • ให้อำนาจทางการกลั่นกรองสินค้าที่จะนำมาซื้อขาย • กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจทั้งในด้านฐานะและ การประกอบธุรกิจ • ครอบคลุมผู้ประกอบธุรกิจที่ชักชวนประชาชน ในการทำธุรกรรมไม่ว่าในหรือนอกประเทศ • ป้องปรามไม่ให้เกิดตลาด/ ผู้ประกอบการเถื่อน

  6. ขอบเขตของกฎหมาย • สินค้าที่กำหนดในกฎหมายเป็นสินค้าที่สะท้อนความต้องการมีตลาดในประเทศ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงิน อัตราดอกเบี้ย หลักทรัพย์ ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ ทองคำ น้ำมันดิบ • สินค้าที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนดเพิ่มเติมโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรียกเว้นเงินตราสกุลใดๆ

  7. ขอบเขตของกฎหมาย • สัญญาที่อยู่ภายใต้กฎหมายนี้รวมถึง futures, optionและ combinationของfutures และ/หรือ optionทั้ง exchange-tradedและ OTCderivatives • ขึ้นอยู่กับสินค้า/ตัวแปรด้วย (บางอย่างอาจตัดออกจากกฎหมายแล้ว) • ไม่รวมrepoและ forward

  8. ขอบเขตของกฎหมาย ถ้าเป็นequity, ทองคำ, น้ำมันดิบ, อื่นๆ • อยู่ภายใต้กฎหมายนี้ทั้ง exchange-traded และOTC derivatives

  9. ขอบเขตของกฎหมาย ถ้าเป็น currency - กรณีส่งมอบเป็นเงินตราจริง ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายนี้ - กรณี cash settlementจากส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ภายใต้กฎหมายนี้เฉพาะ exchange-traded(โดยต้องหารือ ธปท. ก่อนนำ contract มาซื้อขายใน exchange)

  10. ขอบเขตของกฎหมาย ถ้าเป็น interest rate(พันธบัตร, หุ้นกู้, อัตราดอกเบี้ย) • ถ้าอ้างอิงกับหลักทรัพย์ (พันธบัตร/หุ้นกู้) ไม่ว่าจะ settleโดยการส่งมอบหรือคำนวณจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ อยู่ภายใต้กฎหมายนี้ทั้ง exchange-tradedและ OTC derivatives • ดังนั้น credit derivativeเช่น credit default swapจึงอยู่ภายใต้กฎหมายนี้เช่นเดียวกัน • ถ้าอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ย (ไม่ใช่ราคาหลักทรัพย์) จะอยู่ภายใต้กฎหมายนี้เฉพาะ exchange-traded ส่วน OTC derivativeเช่น interest rate swapไม่อยู่ภายใต้กฎหมายนี้

  11. ผลของการตัดสัญญาที่อ้างอิงกับ FX/ interest rate ที่ทำนอกศูนย์ซื้อขาย - ไม่สามารถใช้กฎหมายนี้กำกับหรือปราบปรามธุรกิจเถื่อนในสินค้า/ตัวแปรเหล่านี้ - แต่จะขึ้นอยู่กับ ธปท. ซึ่งจะเป็นผู้ดูแลธุรกรรมสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนและ อัตราดอกเบี้ยที่ทำนอกศูนย์ซื้อขาย

  12. ความแตกต่างจากกฎหมายหลักทรัพย์ความแตกต่างจากกฎหมายหลักทรัพย์ ความแตกต่างด้านรูปแบบ(form) • การให้อนุญาตประกอบธุรกิจเป็นอำนาจของคณะกรรมการ ก.ล.ต. แทนการออกกฎกระทรวง • ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีโครงสร้างเป็นบริษัทมหาชนจำกัด • ที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มาขอรับอนุญาตอาจเป็นบุคคลธรรมดาได้

  13. แนวคิดที่เพิ่มเติมจากกฎหมายหลักทรัพย์แนวคิดที่เพิ่มเติมจากกฎหมายหลักทรัพย์ • การแบ่งระดับการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจ ตามประเภทผู้ลงทุน • การนำมาตรการทางปกครอง(Administrative Proceeding)มาใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลในส่วนที่เห็นว่าจะเป็นผลดีกว่าการกำหนดโทษทางอาญา • การกำหนดบทบาทขององค์กรกำกับดูแลสมาชิกตนเอง • มาตรการคุ้มครองระบบและทรัพย์สินลูกค้า

  14. การแบ่งระดับการกำกับดูแลตามประเภทผู้ลงทุนการแบ่งระดับการกำกับดูแลตามประเภทผู้ลงทุน • กรณีทั่วไป ต้องได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. • กรณีที่ผู้ให้บริการเป็นสถาบันการเงิน และให้บริการเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันสามารถมาจดทะเบียนกับสำนักงาน

  15. มาตรการทางปกครอง (Administrative Proceeding) • มาตรการทางปกครอง (Administrative Proceeding) ได้แก่ ภาคทัณฑ์ ตำหนิ ปรับ จำกัดการประกอบการ สั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาต • เหมาะที่จะนำมาใช้กับผู้ประกอบธุรกิจและสถาบันที่อยู่ ภายใต้การกำกับดูแลที่มีพฤติกรรมกรรมที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากไม่ต้องพิสูจน์ความผิดจนปราศจากข้อสงสัย ตามกระบวนการทางอาญา แต่เป็นการตัดสินความผิด โดยผู้กำกับดูแลและคนในวงการซึ่งมีความเข้าใจในธุรกิจ

  16. มาตรการทางปกครอง (Administrative Proceeding) • ผู้ใช้อำนาจลงโทษทางปกครองมี 3 ระดับคือ สำนักงาน คณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครอง และคณะกรรมการ ก.ล.ต. • สำนักงานจะลงโทษได้ในระดับเบา คณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครองจะลงโทษได้แรงขึ้น และ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ลงโทษได้ถึงขั้นสั่งพักและ เพิกถอนใบอนุญาต • มาตรการให้ความเป็นธรรม (ทราบข้อกล่าวหา - สิทธิอุทธรณ์)

  17. บทบาทขององค์กรกำกับดูแลตนเอง (SRO) • องค์กรที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลสมาชิกของตน โดยการออกกฎระเบียบบังคับใช้กับสมาชิก โดยสมาชิก ในองค์กรมีส่วนร่วมในการบริหารงานด้วย • องค์กรที่เป็น SROในกฎหมายนี้ ได้แก่ ศูนย์ซื้อขาย และสมาคมกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจ

  18. บทบาทขององค์กรกำกับดูแลตนเอง (SRO) • กฎหมายกำหนดบทบาทของ SRO ในการลงโทษ ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเป็นสมาชิกของตนว่า หากSROลงโทษเพียงพอแล้ว ทางการจะไม่ลงโทษซ้ำก็ได้ • เหตุที่ให้ความสำคัญกับ SROเพราะSROใกล้ชิดกับธุรกิจ มีความคล่องตัว และตอบสนองต่อสภาพตลาดได้เร็ว หาก SROมีความพร้อมและสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมี ประสิทธิภาพจะช่วยทางการในการกำกับดูแลตลาดทุน

  19. การคุ้มครองระบบซื้อขายและชำระราคาการคุ้มครองระบบซื้อขายและชำระราคา • การซื้อขายในศูนย์ซื้อขายต้องมีระบบชำระราคาที่มั่นคง ปลอดภัยซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับ ผู้ลงทุน โดยมีสำนักหักบัญชีเป็นผู้รับประกันการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อทุกฝ่าย • สำนักหักบัญชีจึงต้องมีมาตรการควบคุมความเสี่ยง โดยกำหนดให้ผู้ซื้อผู้ขายต้องวางหลักประกัน

  20. การคุ้มครองระบบซื้อขายและชำระราคาการคุ้มครองระบบซื้อขายและชำระราคา • เพื่อให้ความมั่นใจว่าระบบมีความมั่นคงเพียงพอที่จะ รองรับความเสี่ยง จึงกำหนดมาตรการไว้ดังนี้ - ดูความพร้อมของสำนักหักบัญชีในการบริหารความเสี่ยง • - เมื่อตัวแทน/ลูกค้ารายใดมีปัญหาต้องสามารถนำเงิน ประกันของตัวแทน/ลูกค้ามาใช้ได้ทันที • - กรณีมีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น กลต.สามารถสั่งให้ ผู้ประกอบธุรกิจ ศูนย์ซื้อขาย สำนักหักบัญชีดำเนินการใดๆ เพื่อป้องกัน แก้ไข หรือจำกัดผลกระทบได้

  21. การคุ้มครองทรัพย์สินของลูกค้าการคุ้มครองทรัพย์สินของลูกค้า • ตัวแทนต้องแยกเงินประกันของลูกค้าออกจากทรัพย์สินของตัวเอง และเมื่อเอาเงินประกันไปวางที่สำนักหักบัญชีต้องแยกเป็นคนละกอง • ห้ามตัวแทนเอาทรัพย์สินลูกค้ารายหนึ่งไปใช้เพื่อบุคคลอื่น • ถ้าตัวแทนล้มละลาย ทางการจะเข้ามาดูแลให้มีการจัดการคืนทรัพย์สินที่อยู่กับตัวแทนดังกล่าวให้กับลูกค้าโดยเร็ว หรือโอนไปยังตัวแทนรายอื่นที่ลูกค้าเลือก

  22. การแก้ไข พรบ.หลักทรัพย์ฯ • บลจ. จำเป็นต้องมีเครื่องมือบริหารสภาพคล่องและความเสี่ยงจากการลงทุนของกองทุนรวม • แก้ไขมาตรา 126(5) เพื่อให้กองทุนรวมเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือกู้ยืมเงินเพื่อเสริมสภาพคล่องในกรณีที่จำเป็นได้ โดยทางการควบคุมขอบเขตการก่อภาระผูกพันเพื่อป้องกันการก่อภาระเกินตัวซึ่งกระทบต่อผู้ถือหน่วยได้

More Related