1 / 16

การป้องกันภัยจากสารเสพติด

การป้องกันภัยจากสารเสพติด. การป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติด. 1. บทบาทของตนเอง เป็นบทบาทที่สำคัญโดยเยาชนแต่ละคนควรพึงปฏิบัติดังนี้ 1.1 ศึกษาเกี่ยวกับโทษและพิษภัย 1.2 ภาคภูมิใจในตนเอง 1.3 สำนึกในบทบาทหน้าที่ของตนเอง 1.4 ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส รักษาสุขภาพ.

Download Presentation

การป้องกันภัยจากสารเสพติด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การป้องกันภัยจากสารเสพติดการป้องกันภัยจากสารเสพติด

  2. การป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติด • 1. บทบาทของตนเอง เป็นบทบาทที่สำคัญโดยเยาชนแต่ละคนควรพึงปฏิบัติดังนี้ 1.1 ศึกษาเกี่ยวกับโทษและพิษภัย 1.2 ภาคภูมิใจในตนเอง 1.3 สำนึกในบทบาทหน้าที่ของตนเอง 1.4 ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส รักษาสุขภาพ

  3. 1.5 คบเพื่อนดี รู้จักเลือกคบเพื่อน 1.6 ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 1.7 มีทักษะในการดำเนินชีวิต 1.8ขอคำปรึกษาหรือขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ ผู้ปกครอง

  4. เนื่องด้วยพิษภัยหรือโทษของสารเสพติดที่เกิดแก่ผู้หลงผิดไปเสพสารเหล่านี้เข้า ซึ่งเป็นโทษที่มองไม่เห็นชัด เปรียบเสมือนเป็นฆาตกรเงียบ ที่ทำลายชีวิตบุคคลเหล่านั้นลงไปทุกวัน ก่อปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสุขภาพ ก่อความเสื่อมโทรมให้แก่สังคมและบ้านเมืองอย่างร้ายแรง เพราะสารเสพย์ติดทุกประเภทที่มีฤทธิ์เป็นอันตรายต่อร่างกายในระบบประสาท สมอง ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการของร่างกายและชีวิตมนุษย์ การติดสารเสพติดเหล่านั้น จึงไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นแก่ร่างกายเลย แต่กลับจะเกิดโรคและพิษร้ายต่างๆ จนอาจทำให้เสียชีวิต หรือ เกิดโทษและอันตรายต่อครอบครัว เพื่อนบ้าน สังคม และชุมชนต่างๆ ต่อไปได้อีกมาก โทษทางร่างกาย และจิตใจ

  5. 1.สารเสพติดจะให้โทษโดยทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมโทรม พิษภัยของสารเสพย์ติดจะทำลายประสาท สมอง ทำให้สมรรถภาพเสื่อมลง มีอารมณ์ จิตใจไม่ปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น วิตกกังวล เลื่อนลอยหรือฟุ้งซ่าน ทำงานไม่ได้ อยู่ในภาวะมึนเมาตลอดเวลา อาจเป็นโรคจิตได้ง่าย 2. ด้านบุคลิกภาพจะเสียหมด ขาดความสนใจในตนเองทั้งความประพฤติความสะอาด และสติสัมปชัญญะ มีอากัปกิริยาแปลกๆ เปลี่ยนไปจากเดิม

  6. 3. สภาพร่างกายของผู้เสพจะอ่อนเพลีย ซูบซีด หมดเรี่ยวแรง ขาดความกระปรี้กระเปร่า และเกียจคร้าน เฉื่อยชา เพราะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปล่อยเนื้อ ปล่อยตัวสกปรก ความเคลื่อนไหวของร่างกายและกล้ามเนื้อต่างๆ ผิดปกติ 4. ทำลายสุขภาพของผู้ติดสารเสพติดให้ทรุดโทรมทุกขณะ เพราะระบบอวัยวะต่างๆ ของร่างกายถูกพิษยาทำให้เสื่อมลง น้ำหนักตัวลด ผิวคล้ำซีด เลือดจางผอมลงทุกวัน

  7. 5. เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เพราะความต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหรือเจ็บไข้ได้ง่าย และเมื่อเกิดแล้วจะมีความรุนแรงมาก รักษาหายได้ยาก 6. อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง ใจลอย ทำงานด้วยความประมาท และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุตลอดเวลา 7. เกิดโทษที่รุนแรงมาก คือ จะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ถึงขั้นอาละวาด เมื่อหิวยาเสพติดและหายาไม่ทัน เริ่มด้วยอาการนอนไม่หลับ น้ำตาไหล เหงื่อออก ท้องเดิน อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก กระวนกระวาย และในที่สุดจะมีอาการเหมือนคนบ้า เป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม

  8. โทษพิษภัยต่อครอบครัว 1. ความรับผิดชอบต่อครอบครัว และญาติพี่น้องจะหมดสิ้นไป ไม่สนใจที่จะดูแลครอบครัว 2. ทำให้สูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง ที่จะต้องหามาซื้อสารเสพติด จนจะไม่มีใช้จ่ายอย่างอื่น และต้องเสียเงินรักษาตัวเอง 3. ทำงานไม่ได้ขาดหลักประกันของครอบครัว และนายจ้างหมดความไว้วางใจ 4. สูญเสียสมรรถภาพในการหาเลี้ยงครอบครัว นำความหายนะมาสู่ครอบครัวและญาติพี่น้อง โทษพิษภัยต่อสังคมและเศรษฐกิจ ผู้ที่ติดสารเสพติด นอกจากจะเป็นผู้ที่มีความรู้สึกว่าตนเองด้อยโอกาสทางสังคมแล้วยังอาจ มีพฤติกรรมนำไปสู่ปัญหาด้านต่างๆ แก่สังคมได้ เพราะ

  9. 1. ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม และอุบัติเหตุอันตรายต่างๆ ต่อตนเองและ ผู้อื่นได้ง่ายตลอดจนเป็นปัญหาของโรคบางอย่างเช่น โรคเอดส์ 2. ถ่วงความก้าวหน้าของชุมชน สังคม โดยเป็นภาระต่อส่วนรวม ที่ประชาชนต้องเสียภาษีส่วนหนึ่งมาใช้ในการปราบปรามบำบัดผู้ที่ติดสารเสพติด 3. สูญเสียแรงงานโดยไร้ประโยชน์บั่นทอนประสิทธิภาพของผลผลิต ทำให้รายได้ของชาติในส่วนรวมกระทบกระเทือน และเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจของชาติ

  10. 4. เนื่องจากสภาพเป็นคนอมโรคมีความประพฤติและบุคลิกลักษณะเสื่อมจน เป็นที่รังเกียจของสังคม ทำให้เป็นคนไร้สติในวงสังคม โอกาสที่จะประกอบกิจที่ผิดศีลธรรมเพื่อแลกเปลี่ยนกับสิ่งเสพย์ติด เช่น พูดปด ขโมย หรือกลายเป็นอาชญากร เพื่อแสวงหาเงินซื้อ สารเสพติดสิ่งเหล่านี้ล้วนทำลายอนาคตทำลายชื่อเสียงของตนเองและวงศ์ตระกูล โทษที่ก่อให้เกิดกับส่วนรวมและประเทศชาติรัฐบาลต้องสูญเสียกำลังคน และงบประมาณแผ่นดินจำนวนมหาศาล เพื่อใช้ในการป้องกันปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติด ทำให้ต้องสูญเสียทรัพยากรบุคคลอันมีค่า เกิดความไม่สงบสุขของบ้านเมือง ความมั่นคงของประเทศชาติถูกกระทบกระเทือน ประชาชนเดือนร้อนเพราะเหตุอาชญากรรม ประเทศชาติต้อง สูญเสียกำลังของชาติอย่างน่าเสียดาย โดยเฉพาะผู้ติดสารเสพติดเป็นเยาวชน

  11. บทบาทของครอบครัว • ครอบครัวเป็นสถาบันที่สำคัญการสร้างครอบครัวอบอุ่นจะช่วยให้สมาชิกในครอบครัวอยู่อย่างเป็นสุข พ่อแม่หรือผู้ปกครองเป็นบุคคลสำคัญที่จะทำให้เยาวชนห่างไกลสารเสพติด โดยการดูแลเอาใจใส่ อบรมสั่งสอนและมีความรักความเข้าใจอย่างทั่วถึง

  12. บทบาทของโรงเรียน 1. ให้ความรู้เรื่องสารเสพติดแก่นักเรียนอย่างสม่ำเสมอ 2. ครูควรให้ความเอาใจใส่ใสการดูแลนักเรียนและเป็นที่ปรึกษา 3. เมื่อทราบว่านักเรียนติดสารเสพติดให้แจ้งผู้ปกครองทราบเพื่อหาแนวทางแก้ไข 4. โรงเรียนควรจัดกิจกรรมนันทนาการให้แก่นักเรียนอย่างสม่ำเสมอ

  13. บทบาทของรัฐบาล • รัฐบาลมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้แก่ประชาชนทุกคน โดยดึงพลังจากทุกภาพส่วนเข้าร่วมการป้องกันแก้ไขปัญหา ดังนี้ 1. รั้วชายแดน 2. รั้วชุมชน 3.รั้วสังคม 4. รั้วโรงเรียน 5. รั้วครอบครัว

  14. ทักษะในการชักชวนผู้อื่นให้ลด ละ เลิก สารเสพติด 1. ทักษะการคิดวิเคราะห์

More Related