1 / 73

บัญชีรายได้ประชาชาติ

บัญชีรายได้ประชาชาติ. รายได้ประชาชาติ หรือผลิตภัณฑ์ประชาชาติ. มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ประเทศผลิตได้ในระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติคิดระยะเวลา 1 ปี. มูลค่า : P x Q. สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย (Final Goods and Services).

Download Presentation

บัญชีรายได้ประชาชาติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บัญชีรายได้ประชาชาติ

  2. รายได้ประชาชาติหรือผลิตภัณฑ์ประชาชาติรายได้ประชาชาติหรือผลิตภัณฑ์ประชาชาติ • มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ประเทศผลิตได้ในระยะเวลาหนึ่งโดยปกติคิดระยะเวลา1ปี มูลค่า : P x Q

  3. สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย(Final Goods and Services) • สินค้าและบริการที่ผู้บริโภคซื้อไปเพื่อการบริโภคหรือสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคซื้อไปมิใช่เพื่อการขายต่อ

  4. ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ Expenditure Approach สินค้าและบริการ Product Approach สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ครัวเรือน ครัวเรือน ผู้ผลิต ปัจจัยการผลิต ค่าตอบแทนปัจจัยการผลิต Income Approach

  5. มูลค่าสินค้าและบริการมูลค่าสินค้าและบริการ = ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ = รายได้ที่ได้รับจากการปัจจัยการผลิต

  6. วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติวิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติ • การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านมูลค่าของสินค้าและบริการที่ระบบเศรษฐกิจผลิตขึ้นในระยะเวลาหนึ่งเรียกว่า"การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านผลผลิต" (Product Approach)

  7. วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติ(ต่อ)วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติ(ต่อ) • การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายได้รวมที่เจ้าของปัจจัยการผลิตได้รับในระยะเวลาหนึ่งเรียกว่า"การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายได้" (Income Approach)

  8. วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติ(ต่อ)วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติ(ต่อ) • การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายจ่ายทั้งหมดที่เจ้าของปัจจัยการผลิตใช้ไปในการบริโภคสินค้าและบริการและการลงทุนเรียกว่า"การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายจ่าย" (Expenditure Approach)

  9. การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านผลผลิต (Product Approach) • เป็นการหามูลค่าของผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิในราคาทุน(Net National Product at factor Cost : NNP at factor cost)

  10. ขั้นตอนการคำนวณ • คำนวณมูลค่า "ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้นในราคาตลาด" (Gross Domestic Product at market price : GDP at market price) • จากค่า GDP จะนำมาหาค่า "ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นในราคาตลาด" (Gross National Product at market price : GNP at market price)

  11. ขั้นตอนการคำนวณ (ต่อ) • คำนวณหาค่า "ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิในราคาตลาด" (Net National Product at market price : NNP at market price) • ปรับค่า NNP ในราคาตลาดให้เป็น NNP ในราคาทุนซึ่งในที่นี้คือรายได้ประชาชาติ (National Income : NI) นั่นเอง

  12. ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้นในราคาตลาด(Gross Domestic Product at market price : GDP at market price) • มูลค่ารวมตามราคาตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นได้ภายในอาณาเขตของประเทศนั้นๆภายในระยะเวลา 1 ปีโดยไม่คำนึงว่าผู้ผลิตจะเป็นพลเมืองของประเทศนั้นหรือไม่

  13. ข้อสังเกตบางประการในการคำนวณค่าGDPข้อสังเกตบางประการในการคำนวณค่าGDP • ต้องเป็นสินค้าที่มีการซื้อขายผ่านตลาดหรือเป็นสินค้าที่มีราคา ดังนั้น การคำนวณมูลค่า GDP จึงหาได้จาก P ราคาตลาด * Q • สินค้าและบริการที่นำมาคำนวณ GDP ต้องเป็นสินค้าขั้นสุดท้ายโดยคิดจากมูลค่าเพิ่ม(Value added) มูลค่าเพิ่มคือ ผลต่างระหว่างมูลค่าขายหักด้วยมูลค่าวัตถุดิบหรือสินค้าขั้นกลาง

  14. 3. สินค้าและบริการที่ประเทศผลิตขึ้นได้จะต้องเป็นสินค้าที่ถูกผลิตขึ้นภายในงวดระยะเวลาเดียวกันกับที่คิดมูลค่า GDP นั้นไม่ใช่เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นในงวดก่นที่ผ่านมา 4. เป็นมูลค่าเบื้องต้น หมายถึง เป็นมูลค่าของสินค้าก่อนหักค่าเสื่อมราคาของสินค้าประเภททุนที่ใช้ในการผลิตสินค้านั้น ๆ

  15. Value added method ขั้นการผลิต ต้นทุนการผลิต มูลค่าของผลผลิตแต่ละขั้น มูลค่าเพิ่มของการผลิตแต่ละขั้น ชาวไร่ฝ้าย - 25 25 โรงงานปั่นด้าย 25 55 30 โรงงานทอผ้า 55 100 45 โรงงานผลิตเสื้อ 100 200 100 ร้ายขายปลีก 200 250 50 รวม 380 630 250

  16. ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น พ.ศ.2543

  17. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นในราคาตลาด(Gross National Product at market price : GNP at market price) • มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายในราคาตลาดที่ผลิตขึ้นจากการใช้ทรัพยากรของประเทศในระยะเวลา 1 ปีโดยทรัพยากรของประเทศที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายนี้จะอยู่ภายในประเทศหรือภายนอกประเทศก็ได้

  18. GNP = GDP บวกมูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในต่างประเทศโดยใช้ปัจจัยการผลิตของประเทศหักด้วยมูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในประเทศโดยใช้ปัจจัยการผลิตของต่างประเทศ

  19. พิจารณา มูลค่าสินค้า ราคาสินค้า = ค่าจ้าง + ค่าเช่า + ดอกเบี้ย + กำไร 100 = 50 + 10 + 10 + 30 แรงงาน ที่ดิน ทุน ผู้ประกอบการ รายได้

  20. มูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในต่างประเทศโดยใช้ปัจจัยการผลิตของประเทศมูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในต่างประเทศโดยใช้ปัจจัยการผลิตของประเทศ รายได้ของปัจจัยการผลิตไทยในต่างประเทศ ร้าน Pizza ในอเมริกา ( Pizza ราคา 100 บาท ) แรงงานคนไทย มูลค่าสินค้าที่ผลิตโดยปัจจัยการผลิตไทย = 50 บาท

  21. มูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในประเทศโดยใช้ปัจจัยการผลิตของต่างประเทศมูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในประเทศโดยใช้ปัจจัยการผลิตของต่างประเทศ ผู้ประกอบการต่างชาติ มูลค่าสินค้าที่ผลิตโดยปัจจัยการผลิตต่างประเทศ = 30บาท รายได้ของปัจจัยการผลิตต่างประเทศในไทย ร้าน Pizza ในไทย ( Pizza ราคา 100 บาท )

  22. GNP = GDP บวกมูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในต่างประเทศโดยใช้ปัจจัยการผลิตของประเทศหักด้วยมูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในประเทศโดยใช้ปัจจัยการผลิตของต่างประเทศ

  23. GNP = GDP +[ รายได้ของปัจจัยการผลิตไทยในต่างประเทศ- รายได้ของปัจจัยการผลิตต่างประเทศในไทย] GNP = GDP +[รายได้สุทธิจากต่างประเทศ]

  24. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิในราคาตลาด(Net National Product at market price : NNP at market price) • มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายในราคาตลาดซึ่งผลิตขึ้นโดยใช้ทรัพยากรของประเทศในระยะเวลา 1 ปีภายหลังหักค่าใช้จ่ายในการใช้ทุนของการผลิตสินค้าดังกล่าว

  25. NNP at market price=GNP at market price- ค่าใช้จ่ายที่กินทุน(ค่าเสื่อมราคา) ค่าใช้จ่ายในการใช้ทุนหรือค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินถาวรคือค่าใช้จ่ายต่างๆที่สำรองไว้เป็นค่าซ่อมแซมค่าเสื่อมราคาและค่าทรัพย์สินเสียหายหรือสูญหาย

  26. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิในราคาทุน(Net National Product at factor cost : NNP at factor cost ) หรือ รายได้ประชาชาติ (Nation Income : NI ) NI หรือ NNP ณ ราคาทุน=NNPราคาตลาด- ภาษีทางอ้อม NI หรือ NNP ณ ราคาทุน=NNPราคาตลาด- ภาษีทางอ้อมหัก เงินช่วยเหลือ

  27. รายได้ประชาชาติทางด้านผลิตภัณฑ์ พ.ศ.2543

  28. การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายได้(Income Approach) • การรวมรายได้ประเภทต่างๆที่บุคคลได้รับในฐานะเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิตในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง

  29. 1. ค่าตอบแทนแรงงาน(Compensation of Employees) • ค่าตอบแทนในรูปของตัวเงินรวมถึงสิ่งตอบแทนอื่นๆที่คนงานได้รับเพิ่มเติมนอกเหนือจากค่าตอบแทนในรูปตัวเงินรวมถึงค่าตอบแทนที่จ่ายในรูปสิ่งของ

  30. 2. รายได้ของบุคคลในรูปค่าเช่า(Rental Income of Persons) • ค่าเช่าที่เอกชนหรือบุคคลธรรมดาได้รับจากการให้เช่าทรัพย์สินเพื่อการผลิตรวมถึงการประเมินค่าเช่าในกรณีที่บุคคลผู้เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้อยู่อาศัยเอง • ค่าเช่าที่องค์การธุรกิจได้รับไม่นำมาคิดรวมเพราะคิดรวมแล้วในยอดกำไรขององค์การธุรกิจ

  31. 3. รายการดอกเบี้ยสุทธิ(Net Interest) • ดอกเบี้ยที่บุคคลได้รับจากองค์การธุรกิจและสถาบันการเงินต่างๆหักด้วยดอกเบี้ยจากหนี้สาธารณะและหักด้วยดอกเบี้ยหนี้ของผู้บริโภค

  32. 4. กำไรของบริษัท(Corporation Profit) หรือกำไรของนิติบุคคลที่จัดสรรก่อนหักภาษี • กำไรที่บริษัทได้รับจากการผลิตสินค้าและบริการโดยกำไรที่นำมาคิดรวมนี้จะต้องเป็นกำไรของบริษัทก่อนหักภาษีและก่อนจัดสรรจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น

  33. กำไรของบริษัท= ภาษีเงินได้นิติบุคคล + เงินปันผล + กำไรที่มิได้จัดสรรเพื่อ สงวนไว้สำหรับบริษัท

  34. 5. รายได้ขององค์การธุรกิจที่มิใช่นิติบุคคล(Proprietors' Income) • กำไรและรายได้ของกิจการที่ไม่อยู่ในรูปของบริษัทเช่นกิจการเจ้าของคนเดียวการประกอบอาชีพอิสระห้างหุ้นส่วนสหกรณ์ประเภทต่างๆ

  35. 6. รายได้ของรัฐบาล(Government Income) • รายได้จากทรัพย์สินและการประกอบการเช่นค่าเช่าดอกเบี้ยและเงินปันผลหรือกำไรจากการดำเนินกิจการรัฐวิสาหกิจ

  36. รายได้ที่ไม่นำมาคิดรวมในรายได้ประชาชาติรายได้ที่ไม่นำมาคิดรวมในรายได้ประชาชาติ • เงินโอน(Transfer Payments) : เงินต่างๆที่บุคคลองค์การธุรกิจหรือรัฐบาลจ่ายให้แก่ประชาชนโดยที่ผู้รับไม่มีส่วนร่วมในการผลิตหรือไม่ก่อให้เกิดผลทางการผลิตสินค้าและบริการเป็นเพียง "การโอนอำนาจซื้อ" (Purchasing Powers)จากผู้ให้ไปยังผู้รับเท่านั้น

  37. ประเภทของเงินโอน • เงินโอนส่วนบุคคล • เงินโอนนิติบุคคล • เงินโอนจากรัฐบาล

  38. รายได้ที่ไม่นำมาคิดรวมในรายได้ประชาชาติ(ต่อ)รายได้ที่ไม่นำมาคิดรวมในรายได้ประชาชาติ(ต่อ) • เงินที่ได้รับจากการชำระหนี้หรือจากการขายทรัพย์สินที่มีอยู่แล้ว • เงินที่ได้รับจากการกระทำผิดกฎหมาย

  39. รายได้ประชาชาติจำแนกตามประเภทรายได้ ปี 2543

  40. การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายจ่าย(Expenditure Approach) • การคำนวณรายได้ประชาชาติโดยนำเอารายจ่ายของครัวเรือนในการซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายรวมกันในระยะเวลา 1 ปี • ขั้นตอนการคำนวณเหมือนด้าน Product Approach

  41. GDP = Cd + Id + Gd + Xd โดย Cd คือ รายจ่ายของภาคเอกชนเพื่อซื้อสินค้าที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ Id คือ รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าทุนที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ Gd คือ รายจ่ายของรัฐบาลเพื่อซื้อสินค้าที่ผลิตขึ้นภายใน ประเทศ Xd คือ รายจ่ายของต่างประเทศที่ซื้อสินค้าที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ

  42. ในทางปฏิบัติ ข้อมูลที่เก็บได้คือ ค่า C, I, GและX เมื่อ C = Cd + Cm I = Id + Im G = Gd + Gm X = Xd + Xm และm : Import

  43. GDP = Cd + Id + Gd + Xd GDP = (C - Cm) + (I - Im) + (G - Gm) + (X - Xm) GDP = (C + I + G + X) - (Cm + Im + Gm + Xm) มูลค่าสินค้าและบริการที่นำเข้าจากต่างประเทศ (M) GDP = C + I + G + ( X - M )

  44. การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายจ่าย(Expenditure Approach) การคำนวณ GDP • รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน(Personal Consumption Expenditures : C) • รายจ่ายเพื่อการลงทุนภายในประเทศของเอกชน(Personal Investment Expenditures : I) • รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการภาครัฐ(Government Purchases of Goods and Services : G) • การส่งออกสุทธิ(Net Export : X - M)

  45. รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน(Personal Consumption Expenditures : C) • รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นใหม่ในงวดที่คิดรายจ่ายนั้นโดยเอกชนบุคคลธรรมดาและสถาบันที่ตั้งขึ้นโดยไม่หวังกำไร • ประกอบด้วย รายจ่ายสำหรับสินค้าถาวร สินค้าไม่ถาวร และการบริการ • รวมถึงรายจ่ายที่ไม่ได้อยู่ในรูปตัวเงินด้วย

  46. รายจ่ายเพื่อการลงทุนภายในประเทศของเอกชน(Personal Investment Expenditures : I) • รายจ่ายของเอกชนองค์การธุรกิจและสถาบันที่ตั้งขึ้นโดยไม่หวังกำไรในการซื้อทรัพย์สินถาวรที่ใช้ในการลงทุน

  47. รายจ่ายเพื่อการลงทุน ประกอบด้วย • รายจ่ายในการก่อสร้างอาคารสถานที่ทำการสำนักงานขึ้นใหม่รวมถึงการก่อสร้างบ้านที่พักอาศัยขึ้นใหม่ของบุคคลธรรมดาด้วย • รายจ่ายในการซื้อเครื่องมือถาวรที่ใช้ในการผลิต • ส่วนเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือ(Change in business inventories)

  48. ส่วนเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือส่วนเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือ สมมติว่าทุกปี จะผลิตสินค้ามูลค่า 100 บาท 1 มค. 44 มีสินค้าคงเหลือ 10 บาท 12 - 10 = +2 31 ธค. 44 มีสินค้าคงเหลือ 12 บาท ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ ปี 44 ขายสินค้าได้ 98 บาท GDPผลผลิต= GDPรายจ่าย = 100 98 + 2 แสดงว่าปี 44 มีสินค้าที่ผลิตเหลืออยู่ 2 บาท จึงต้องนำไปรวมในการคิด GDP ด้านรายจ่ายด้วย

  49. สมมติว่าทุกปี จะผลิตสินค้ามูลค่า 100 บาท 1 มค. 44 มีสินค้าคงเหลือ 10 บาท 7 - 10 = - 3 31 ธค. 44 มีสินค้าคงเหลือ 7 บาท ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ ปี 44 ขายสินค้าได้ 103 บาท GDPผลผลิต= GDPรายจ่าย = 100 103 - 3 แสดงว่าปี 44 มีสินค้าที่ผลิตไม่พอกับความต้องการต้องนำสินค้าที่ผลิตในปีก่อนๆ ออกมาขายจำนวน 3 บาท จึงต้องนำไปหักออกในการคิด GDP ด้านรายจ่าย ส่วนเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือ

  50. ส่วนเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือส่วนเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือ = สินค้าคงเหลือปลายปี- สินค้าคงเหลือต้นปี

More Related