1 / 52

ณพล สุกใส

การศึกษาผลกระทบของมาตรการภาษี ต่อการลงทุนของภาคการผลิต. ณพล สุกใส. 1. ที่มาและความสำคัญของปัญหา. ภาษีมีความสำคัญทั้งในแง่ของการเป็นแหล่งหารายได้ของรัฐบาลเพื่อนำมาใช้จ่ายตามเป้าหมายและโครงการต่างๆ เช่น การบริการสาธารณะ การศึกษา สาธารณสุข

benjamin
Download Presentation

ณพล สุกใส

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การศึกษาผลกระทบของมาตรการภาษีต่อการลงทุนของภาคการผลิตการศึกษาผลกระทบของมาตรการภาษีต่อการลงทุนของภาคการผลิต ณพล สุกใส

  2. 1. ที่มาและความสำคัญของปัญหา • ภาษีมีความสำคัญทั้งในแง่ของการเป็นแหล่งหารายได้ของรัฐบาลเพื่อนำมาใช้จ่ายตามเป้าหมายและโครงการต่างๆ เช่น การบริการสาธารณะ การศึกษา สาธารณสุข • ภาษียังเป็นเครื่องมือของนโยบายเศรษฐกิจ ทั้งเป้าหมายการกระตุ้น สร้างเสถียรภาพ การกระจายรายได้ • การใช้มาตรการภาษี จึงกระทบต่อการผลิต และระบบเศรษฐกิจโดยรวม 2

  3. จึงสนใจศึกษาผลกระทบของภาษีที่กระทบต่อภาคการผลิต และระบบเศรษฐกิจ เช่น การลงทุน การสะสมทุน การจ้างงาน การบริโภค ปริมาณผลผลิต เป็นต้น • โดยกำหนดระบบภาษีที่พยายามให้สอดคล้องกับความจริงลงในแบบจำลอง คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีกำไรจากการขาย • จากการที่ระบบภาษีในระบบเศรษฐกิจมีผลต่อการบิดเบือนการตัดสินใจของประชาชน รวมทั้งมีผลต่อการสะสมทุน ซึ่งย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามอัตราผลตอบแทนของทุนที่เปลี่ยนแปลงจากผลของอัตราภาษีแต่ละชนิด 3

  4. ขณะที่ในระบบเศรษฐกิจหนึ่งๆ ประชาชนมีการสะสมทุนได้หลายวิธี ผ่านสินทรัพย์ต่างๆ ที่เอกชนเป็นผู้ออก ซึ่งเมื่ออัตราภาษีเปลี่ยนแปลงจะกระทบต่อผลตอบแทนของสินทรัพย์แต่ละชนิดแตกต่างกันไป • จึงต้องการศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี ต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแหล่งเงินทุนของภาคการผลิต • โดยแบบจำลองนี้สมมติให้ระบบเศรษฐกิจมีสินทรัพย์ 2 ชนิด คือ หุ้น (Equity) และพันธบัตรเอกชน (Corporate bond) 4

  5. 2. วัตถุประสงค์ของการศึกษา • เพื่อศึกษาผลกระทบของมาตรการภาษีของรัฐบาลต่อดุลยภาพทั่วไปของระบบเศรษฐกิจ • เพื่อศึกษาผลกระทบของมาตรการภาษีของรัฐบาลต่อระดับของหนี้ต่อหุ้น (Debt-equity ratio) ของภาคการผลิต 5

  6. 3. ขอบเขตของการศึกษา • กำหนดให้ระบบเศรษฐกิจประกอบด้วย 3 ภาค ได้แก่ ภาคครัวเรือน ภาคการผลิต และภาครัฐบาล • ระบบเศรษฐกิจประกอบด้วยภาษีทั้งหมด 4 ประเภท คือ • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal income tax) • ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate income tax) • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value added tax) • ภาษีกำไรจากการขาย (Capital gain tax) 6

  7. 4. วรรณกรรมปริทรรศน์ • การกำหนดแบบจำลองใช้ General equilibrium model: ภาคการผลิต ครัวเรือน รัฐบาล • เนื่องจาก การสะสมทุนเป็นพฤติกรรมของภาคครัวเรือน การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีที่เกี่ยวกับผลตอบแทนในสินทรัพย์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสะสมทุนของภาคครัวเรือน [Abel and Blanchard (1983)Bovenberg (1986) Osterberg (1989) Turnovsky (2000) และ Hassett and Hubbard (2002)] 7

  8. แบบจำลองที่อธิบายผลของภาษี ส่วนใหญ่มุ่งศึกษาเฉพาะภาษีบางประเภท เช่น งานของ Atkinson and Stiglitz (1980) Goulder and Summers (1989) Abel (1982) • ส่วน Turnovsky (2000) และ Hassett and Hubbard (2002) Brock and Turnovsky (1981) ถือว่าครอบคลุม • จึงใช้แบบจำลองของ Turnovsky (2000) เป็นต้นแบบ • แบบจำลองการลงทุนของภาคการผลิต Blanchard and Fischer (1989) Demers, Demers, and Altug (2003) แบ่งแบบจำลองการลงทุนเป็น 2 แบบคือ แบบที่ไม่ Adjustment cost และแบบที่มี Adjustment cost • Adjustment cost คือ ต้นทุนของการปรับระดับการสะสมทุนจากปัจจุบันไปในเวลาถัดไป เช่น การติดตั้ง ปรับปรุงเครื่องจักร โดยที่เงื่อนไขการลงทุนที่เหมาะสมต้องพิจารณาจาก Adjustment cost และ ผลได้จากการสะสมทุน [Blanchard (1989), Romer (2001), Turnovsky (2000)] 8

  9. โครงสร้างแหล่งเงินทุนของภาคการผลิตBrock and Turnovsky (1981) และTurnovsky (2000) แสดงให้เห็นว่าเมื่อไม่มีต้นทุนของการออกพันธบัตรแล้ว จะทำให้ภาคการผลิตตัดสินใจเลือกขายหุ้น (Equity) หรือขายพันธบัตรเอกชน (Corporate bond) เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเลือกแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนของเงินทุนต่ำกว่า • Osterberg (1989) กล่าวว่าการขายพันธบัตรเป็นการแสวงหาเงินทุนจากภายนอกภาคการผลิต ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะสามารถขอกู้เงินได้โดยปราศจากข้อจำกัด • Myers (1977) และ Mao (2003) ถ้ามีหนี้เดิมสูงการก่อหนี้ใหม่จะมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น • Osterberg (1989) กำหนดให้การขายพันธบัตรมี Agency cost ซึ่งขึ้นอยู่กับสัดส่วนของหนี้ต่อหุ้น ผลจึงทำให้สามารถอธิบายผลของการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีต่อ Debt-equity ratio ได้ 9

  10. 5. กรอบแนวคิดทางทฤษฎี • ข้อสมมติของแบบจำลอง • ภาคครัวเรือน • ภาคการผลิต • ภาครัฐบาล • ดุลยภาพของระบบเศรษฐกิจ • เงื่อนไขที่เหมาะสมของภาคครัวเรือน • เงื่อนไขที่เหมาะสมของภาคการผลิต • เงื่อนไขดุลยภาพของระบบเศรษฐกิจ 10

  11. แบบจำลองเป็น Discrete time model ตั้งแต่ ถึง • ระบบเศรษฐกิจประกอบด้วยภาคครัวเรือน ภาคการผลิต และ ภาครัฐบาล • ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบ Decentralized economy • ภาษีในระบบเศรษฐกิจประกอบด้วย 4 ประเภท • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal income tax) • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value added tax) • ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate income tax) • ภาษีกำไรจากการขาย (Capital gain tax) ข้อสมมติของแบบจำลอง 11

  12. ครัวเรือนตัดสินใจตลอดช่วงเวลา ตั้งแต่ ถึง เพื่อเลือกระดับการบริโภค การทำงาน การสะสมทุนผ่านการถือพันธบัตรเอกชน และการถือหุ้น ที่ทำให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด • โดยที่ • สมการงบประมาณอธิบายการใช้จ่ายเพื่อบริโภคและการสะสมทุนที่ไม่เกินระดับความมั่งคั่งที่มีอยู่ในแต่ละช่วงเวลา ภาคครัวเรือน (1) (2) 12

  13. Optimality conditions • อัตราการทดแทนส่วนเพิ่ม (Marginal rate of substitution) ระหว่างการบริโภคและการทำงาน เท่ากับ ราคาเปรียบเทียบระหว่างอัตราค่าจ้างหลังหักภาษีกับราคาสินค้าที่รวมภาษีแล้ว • อัตราผลตอบแทนของการบริโภค (Rate of return on consumption) เท่ากับ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรหลังหักภาษี (After-tax rate of return on bonds) • อัตราผลตอบแทนของการบริโภค (Rate of return on consumption) เท่ากับ อัตราผลตอบแทนของผลตอบแทนจากหุ้นหลังหักภาษี (After-tax rate of return ondividends) บวก อัตราผลตอบแทนจากมูลค่าสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างแท้จริงหลังหักภาษี (After-tax rate of return on the real capital gains) 13

  14. ผู้ผลิตตัดสินใจเลือกระดับการผลิตที่ทำให้ได้รับผลกำไรสูงสุด ตลอดช่วงเวลา ถึง มีค่าสูงที่สุด • กำหนดฟังก์ชั่นการผลิต คือ • ข้อสมมติ คือ เป็น Constant returns to scale และ Marginal product มากกว่า 0 และมีลักษณะเป็น Diminishing marginal product คือ ภาคการผลิต (3) 14

  15. กำไรเบื้องต้น (Gross profit ) ของการดำเนินกิจการ คือ ผลต่างของรายได้จากการขายสินค้า กับ ค่าจ้างแรงงาน และ Adjustment cost คือ • Adjustment cost คือ ต้นทุนของการปรับระดับการสะสมทุน จากที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นระดับที่มีในเวลาถัดไป ซึ่งหมายถึง ต้นทุนจากการติดตั้ง ปรับปรุงปัจจัยทุนของภาคการผลิต [Obstfeld and Rogoff (1996), Turnovsky(2000)] (4) 15

  16. ในแบบจำลองที่ไม่มี Adjustment cost เงื่อนไขการใช้ปัจจัยทุนที่เหมาะสม คือ ใช้ปัจจัยทุนที่ระดับที่ทำให้ อัตราผลตอบแทนของทุนเท่ากับ MPK ในทุกๆ ระยะเวลาการผลิต • แต่ข้อสมมติที่มี Adjustment cost ทำให้ภาคการผลิตไม่สามารถเลือกใช้ปัจจัยทุนตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ • เนื่องจากต้องคำนึงถึงผลที่เกิดจากการลงทุน ซึ่งนอกจาก จะมีผลผลิตส่วนเพิ่มจากปัจจัยทุนแล้ว ยังต้องคำนึงถึงผลได้จากการสะสมทุน และต้นทุนส่วนเพิ่มของการลงทุนด้วย [Obstfeld and Rogoff (1996), Barro and Sala-i-Martin(2003)] 16

  17. โดยที่การลงทุนมี Adjustment cost คือ ที่เกิดขึ้นจากการปรับระดับของการสะสมทุน • สมการของการลงทุนที่รวมกับ Adjustment cost คือ • โดยที่ Adjustment cost เป็น Nonnegative, Linearly homogeneous, Convex function คือ • เงื่อนไขที่ค่าเริ่มต้น คือ Adjustment cost มีค่าต่ำที่สุดเท่ากับ 0 เมื่อการลงทุนเป็น 0 คือ และ (5) 17

  18. สมการ (4) เป็นผลกำไรที่ยังไม่ได้จัดสรรผลตอบแทนของการใช้ปัจจัยทุน • โดย Gross profit ถูกจัดสรรเป็นภาษีที่ต้องจ่ายให้รัฐบาลผลตอบแทนของพันธบัตร เงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น กำไรสะสม ต้นทุนการกู้ยืมจากภายนอก ซึ่งก็คือ Agency costs • สมมติให้การสะสมทุนในแต่ละช่วงเวลาเพิ่มขึ้นตามขนาดของการลงทุน โดยไม่มีการเสื่อมค่าของการสะสมทุน (6) (7) 18

  19. โดยการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนได้จากกำไรสะสม การขายหุ้น และพันธบัตร คือ • ภาษีที่ภาคการผลิตจ่ายให้รัฐบาล คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่คิดจากผลกำไรหลังการชำระหนี้ (8) (9) 19

  20. Agency cost คือ ต้นทุนที่ภาคการผลิตต้องเผชิญจากการกู้ยืมเงินจากภายนอก นอกเหนือจากส่วนที่ต้องจ่ายในรูปดอกเบี้ยของพันธบัตร • เมื่อหนี้สูงขึ้น ความเสี่ยงที่จะไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ จะสูงขึ้นดังนั้น ผู้ให้กู้จะยอมให้กู้ก็ต่อเมื่อได้ผลตอบแทนสูงขึ้นด้วย • ดังนั้น เมื่อ Debt-equity ratio สูงขึ้น Agency costs จะสูงขึ้น • สมมติให้ เป็น Convex function คือ • ภาคการผลิตต้องเลือก Debt-equity ratio ที่เหมาะสมที่ทำให้ต้นทุนของเงินทุนมีค่าต่ำที่สุด 20

  21. แทนค่าสมการ (8) (9) และ ลงในสมการ (5) • โดยที่ • เมื่อ คือ Debt-equity ratio • สมการ (10) เป็นสมการเป้าหมายของภาคการผลิต คือ ต้องการให้กำไรสุทธิหลังหักภาษี ลบเงินลงทุน ซึ่งก็คือ กระแสเงินสดสุทธิ มีค่าสูงสุดตลอดช่วงเวลาดำเนินกิจการ (10) (11) 21

  22. Optimality conditions • ผลผลิตส่วนเพิ่มของแรงงาน (Marginal product of labor) เท่ากับอัตราค่าจ้างที่แท้จริง • ต้นทุนส่วนเพิ่มของการลงทุน (Marginal cost of investment) เท่ากับมูลค่าหรือผลตอบแทนส่วนเพิ่มของทุน (Marginal value of capital or Shadow price of capital (q)) • ต้นทุนของทุน (Cost of capital) เท่ากับผลผลิตส่วนเพิ่มของปัจจัยทุนหลังภาษี (After-tax marginal product of capital) รวมกับ ผลได้ส่วนเพิ่มของการลงทุน และอัตราการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของทุน 22

  23. รัฐบาลทำหน้าที่ดุลการใช้จ่ายของรัฐบาลให้เท่ากับรายรับภาษีรัฐบาลทำหน้าที่ดุลการใช้จ่ายของรัฐบาลให้เท่ากับรายรับภาษี ภาครัฐบาล (12) 23

  24. เงื่อนไขที่เหมาะสม: ภาคครัวเรือน (1) (2) (13) 24

  25. จากสมการ (14) และ (15) ได้ (14) (15) (16) (17) (18) 25

  26. เงื่อนไขที่เหมาะสม: ภาคการผลิต (10) (6) (19) 26

  27. (20) (21) (22) 27

  28. แทนค่าสมการ (21) ลงในสมการ (22) ได้เงื่อนไขการใช้ปัจจัยทุนที่เหมาะสมของการใช้ปัจจัยทุน คือ • ต้นทุนของทุน เท่ากับ ผลรวมของ • ผลผลิตหน่วยสุดท้ายของปัจจัยทุนหลังหักภาษี • ผลได้ของการลงทุน คือ ผลได้จากปัจจัยทุนที่สร้างขึ้นใหม่ หักลบด้วยต้นทุนของการลงทุน (Adjustment cost) • อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาเงาของการลงทุน (23) 28

  29. ดุลยภาพของระบบเศรษฐกิจดุลยภาพของระบบเศรษฐกิจ • เงื่อนไขเหล่านี้ กำหนดการบริโภค การจ้างงาน และการลงทุน (14) (24) (25) (26) (27) (25) 29

  30. การเปลี่ยนแปลงของการสะสมทุน และ Shadow price of capital • ดุลยภาพของผลผลิต (28) (29) (30) 30

  31. 6. ผลการศึกษา พิจารณาผลของการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีใน 2 ประเด็น • ผลของการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีต่อระบบเศรษฐกิจ • ผลของการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีต่อต่อ Debt-equity ratio 31

  32. จากเงื่อนไขดุลยภาพ เมื่อพิจารณา ณ ระดับ Steady state ซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรต่างๆ จะได้ ผลการศึกษา:การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีต่อระบบเศรษฐกิจ (31) (32) (33) (34) 32

  33. จากสมการ (31) – (33) และ (34) นำมาวิเคราะห์ผลกระทบของภาษีต่อการเปลี่ยนแปลง • อัตราผลตอบแทนของทุนที่แท้จริง (Real cost of capital) • สัดส่วนของทุนต่อแรงงาน (Capital-labor ratio) • การจ้างงาน • การบริโภค • ปริมาณผลผลิต • การสะสมทุน 33

  34. ผลต่ออัตราผลตอบแทนของทุนที่แท้จริง + + + + (34) • เพิ่มขึ้น ทำให้รายได้จากการทำงาน และผลตอบแทนของการออมหลังหักภาษีจะลดลง การสะสมทุนจึงลดลง ดังนั้น จึงสูงขึ้นเพื่อจูงใจให้ครัวเรือนมีการออมมากขึ้น • เพิ่มขึ้น ทำให้ อำนาจซื้อของครัวเรือนจะลดลง ดังนั้น หากต้องการรักษาอำนาจซื้อเดิมไว้จึงต้องลดการออมลง ดังนั้น จึงสูงขึ้นเพื่อจูงใจให้ครัวเรือนมีการออมมากขึ้น 34

  35. เพิ่มขึ้น ทำให้ผลตอบแทนของการออมหลังหักภาษีจะลดลง การสะสมทุนจึงลดลง ดังนั้น จึงสูงขึ้นเพื่อจูงใจให้ครัวเรือนมีการออมมากขึ้น • เพิ่มขึ้น ทำให้แรงจูงใจในการผลิตของภาคการผลิตลดลง ปริมาณการนำทุนมาใช้จึงลดลง ดังนั้น ราคาของทุนจึงลดลง คือ ลดลง 35

  36. ผลต่อสัดส่วนของทุนต่อแรงงาน - + + (35) + + • เพิ่มขึ้น ทำให้ ลดลง เนื่องจากต้นทุนของการใช้ทุนสูงขึ้นโดยเปรียบเทียบ ภาคการผลิตจึงลดการใช้ปัจจัยทุนลง และหันมาใช้ปัจจัยแรงงานเพิ่มขึ้น • เพิ่มขึ้น ทำให้อัตราผลตอบแทนของทุนลดลง ภาคครัวเรือนจึงมีการสะสมทุนลดลง ดังนั้น ในระยะยาวระบบเศรษฐกิจจึงมีการสะสมทุนลดลง จึงทำให้ ลดลง 36

  37. เมื่อ เพิ่มขึ้น ทำให้ ลดลง • เนื่องจาก เมื่ออัตราภาษีเพิ่มขึ้น และทำให้ภาคการผลิตใช้ปัจจัยทุนลดลง และหันมาใช้ปัจจัยแรงงานเพิ่มขึ้น ทำให้ Marginal product of labor ลดลง ตามหลักของการลดลงของผลผลิตส่วนเพิ่ม • นอกจากนี้ เมื่อ เพิ่มขึ้น ยังทำให้อัตราค่าจ้างหลังหักภาษียิ่งลดลงด้วย • ผลต่ออัตราค่าจ้างหลังหักภาษี 37

  38. พฤติกรรมด้านครัวเรือนพฤติกรรมด้านครัวเรือน • Income effect: เมื่อการพักผ่อนเป็นสินค้าปกติ ดังนั้น ถ้าอัตราภาษีเพิ่มขึ้นแล้วทำให้ค่าจ้างลดลง ดังนั้น ครัวเรือนจะเลือกการพักผ่อนลดลง และมีอุปทานแรงงานเพิ่มขึ้น • Substitution effect: เมื่อค่าจ้างลดลง ครัวเรือนจะมีต้นทุนของการพักผ่อนลดลง จึงมีแรงจูงใจให้พักผ่อนเพิ่มขึ้น (ซื้อการพักผ่อนมากขึ้น เมื่อราคาการพักผ่อนลดลง) • ผลต่อการจ้างงาน ? (36) + - 38

  39. ถ้าสมมติให้การพักผ่อนเป็นสินค้าปกติ Substitution effect จะมีขนาดมากกว่า Income effect ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า แรงงานจะทำงานลดลงเมื่ออัตราภาษีเพิ่มขึ้น พฤติกรรมด้านนายจ้าง • แม้ว่าอัตราค่าจ้างจะลดลง และจูงใจให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นได้ก็ตาม แต่เนื่องจาก ผลของอัตราภาษีที่เพิ่มขึ้นทำให้ดุลยภาพของผลผลิตลดลง ดังนั้น การใช้ปัจจัยการผลิตรวมถึงปัจจัยแรงงานจึงลดลง ด้วยเหตุผลทั้งสองด้าน การจ้างงานดุลยภาพจึงลดลงเมื่ออัตราภาษีเพิ่มขึ้น 39

  40. เมื่อ เพิ่มขึ้น ทำให้การบริโภคลดลง เนื่องจาก • เนื่องจากการบริโภคเป็นสินค้าปกติ (Normal good) ดังนั้น เมื่อรายได้ลดลงจากการเพิ่มอัตราภาษี จึงทำให้การบริโภคลดลง • อัตราภาษีเพิ่มขึ้น ทำให้อัตราผลตอบแทนของทุนเพิ่มขึ้น ดังนั้น ครัวเรือนจึงมีการออมเงินเพิ่มขึ้น และลดการบริโภคลง • ปริมาณผลผลิตหลังจากผลของภาษีที่สูงขึ้น ทำให้ปริมาณผลผลิตลดลง ดังนั้น การบริโภคจึงลดลง • ผลต่อการบริโภค - (37) + - 40

  41. เมื่อ เพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณผลผลิตลดลง • เนื่องจาก เมื่ออัตราภาษีเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปัจจัยทุน และการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจลดลง ดังนั้น เมื่อมีการนำปัจจัยการผลิตมาใช้ในกระบวนการผลิตลดลง จึงส่งผลให้ปริมาณผลผลิตลดลง • ผลต่อการปริมาณผลผลิต - (38) + - 41

  42. เมื่อ เพิ่มขึ้น ทำให้การสะสมทุนลดลง • เนื่องจาก การสะสมทุนมาจากส่วนต่างระหว่างปริมาณผลผลิตกับปริมาณการบริโภค ดังนั้น เมื่อปริมาณผลผลิตลดลง จึงทำให้การสะสมทุนลดลง • ผลต่อการปริมาณผลผลิต - (39) - + 42

  43. ข้อสมมติของแบบจำลองกำหนดให้มีสินทรัพย์ในระบบเศรษฐกิจ 2 ชนิด ได้แก่ พันธบัตร (Corporate bond) และหุ้น (Equity) • ภาคการผลิตต้องการใช้เงินทุนจากทั้ง 2 แหล่ง โดยที่ทำให้ต้นทุนของเงินทุนที่เผชิญอยู่ที่ระดับที่ต่ำที่สุด • ต้นทุนของหุ้น คือ เงินปันผล • ต้นทุนของพันธบัตร คือ อัตราดอกเบี้ย และ Agency cost ผลการศึกษา:การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีต่อ Debt – equity ratio 43

  44. จากสมการ (34) คือ • เงื่อนไขของ Debt-equity ratio ที่เหมาะสม คือ ระดับที่ต้นทุนส่วนเพิ่มของเงินทุนจากพันธบัตร เท่ากับ ต้นทุนส่วนเพิ่มของเงินทุนจากหุ้น • ดังนั้น เมื่อ Differentiating สมการ (34) เทียบกับ และกำหนดเท่ากับ 0 จะได้สมการกำหนดเงื่อนไขที่เหมาะสมของ (34) (40) 44

  45. สมการ (40) อธิบายว่า ระดับ Debt-equity ratio ที่เหมาะสม คือ ระดับที่ต้นทุนส่วนเพิ่มของทุนจากพันธบัตร (ต้นทุนของอัตราดอกเบี้ย รวมกับต้นทุนส่วนเพิ่มของ Agency cost) เท่ากับต้นทุนส่วนเพิ่มของทุนจากหุ้น (ต้นทุนของการจ่ายเงินปันผล ) • ซึ่งเมื่ออัตราภาษีเปลี่ยนแปลง ต้นทุนของทุนจากแต่ละแหล่งจะเปลี่ยนแปลง และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับ Debt-equity ratio ที่ยังทำให้ต้นทุนของทุนมีค่าต่ำที่สุด 45

  46. จากสมการ (40) กำหนดเป็นเงื่อนไข • จากเงื่อนไขนี้ เมื่อ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนส่วนเพิ่มของทุนจากพันธบัตรเพิ่มสูงขึ้นกว่าต้นทุนส่วนเพิ่มของทุนจากหุ้น • ดังนั้น ภาคการผลิตจึงลดการใช้เงินทุนผ่านการขายพันธบัตรลง และหันมาใช้เงินทุนผ่านการขายหุ้นเพิ่มขึ้น เพื่อให้ตนเองยังคงเผชิญกับระดับต้นทุนของเงินทุนที่ต่ำที่สุด ดังนั้น Debt-equity ratio จึงลดลง การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อ Debt – equity ratio 46

  47. จากสมการ (40) กำหนดเป็นเงื่อนไข • จากเงื่อนไขนี้ เมื่อ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนส่วนเพิ่มของทุนจากพันธบัตรเพิ่มสูงขึ้นกว่าต้นทุนส่วนเพิ่มของทุนจากหุ้น • ดังนั้น ภาคการผลิตจึงลดการใช้เงินทุนผ่านการขายพันธบัตรลง และหันมาใช้เงินทุนผ่านการขายหุ้นเพิ่มขึ้น เพื่อให้ตนเองยังคงเผชิญกับระดับต้นทุนของเงินทุนที่ต่ำที่สุด ดังนั้น Debt-equity ratio จึงลดลง การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อ Debt – equity ratio 47

  48. จากสมการ (40) กำหนดเป็นเงื่อนไข • กระทบต่ออัตราผลตอบแทนของหุ้นเพียงชนิดเดียว ต่างจากภาษีชนิดอื่นๆ ที่การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีจะกระทบต่ออัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ทั้งสองชนิด • จากเงื่อนไขนี้ เมื่อ เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ Debt-equity ratio เพิ่มขึ้น เนื่องจาก เมื่อเพิ่มจะทำให้ผลตอบแทนสุทธิหลังหักภาษีที่ครัวเรือนได้รับจากการลงทุนในหุ้นลดลง การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีกำไรจากการขายต่อ Debt – equity ratio 48

  49. 7. สรุปผลการศึกษา สรุปผล: การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีต่อระบบเศรษฐกิจ 49

  50. สรุปผล: การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีต่อ Debt – equity ratio 50

More Related