1 / 59

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ที่ควรทราบ)

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ที่ควรทราบ). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. บรรพ 1 หลักทั่วไป มาตรา 1-193 ( 193 มาตรา) บรรพ 2 หนี้ มาตรา 194-452 ( 259 มาตรา) บรรพ 3 เอกเทศสัญญา มาตรา 453-1297 (845 มาตรา) บรรพ 4 ทรัพย์สิน มาตรา 1298-1434 (137 มาตรา)

beth
Download Presentation

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ที่ควรทราบ)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ที่ควรทราบ) รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  2. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 หลักทั่วไป มาตรา 1-193 (193 มาตรา) บรรพ 2 หนี้ มาตรา 194-452 (259 มาตรา) บรรพ 3 เอกเทศสัญญา มาตรา 453-1297 (845 มาตรา) บรรพ 4 ทรัพย์สิน มาตรา 1298-1434 (137 มาตรา) บรรพ 5 ครอบครัว มาตรา 1435-1598 (104 มาตรา) บรรพ 6 มรดก มาตรา 1599-1755 (157 มาตรา) รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  3. กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ควรทราบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ควรทราบ • บุคคล • 1.1 สภาพบุคคล (15) • 1.2 ความสามารถของบุคคล • 1.2.1 ผู้เยาว์ (19) • 1.2.2 บุคคลวิกลจริต / ผู้ไร้ความสามารถ (29) • 1.2.3 ผู้เสมือนไร้ความสามารถ (32) • นิติกรรม / สัญญา (149, 373) • 2.1 โมฆะกรรม (150-152, 156) • 2.2 โมฆียะกรรม (153, 157) รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  4. 3. ละเมิด (420) • ครอบครัว • 4.1 เงื่อนไขแห่งการสมรส (1449, 1453) • 4.2 สัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา (1462, 1463, 1464) • 4.3 การสิ้นสุดแห่งการสมรส (1501, 1504, 1510, 1516) • 4.4 บิดามารดากับบุตร (1539, 1545, 1555) • มรดก • 5.1 การเป็นทายาท (1604) • 5.2 พินัยกรรม (1653, 1654, 1669, 1670, 1704) รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  5. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 กฎหมายนั้นต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใด ๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้น ๆเมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  6. สภาพบุคคล มาตรา 15 สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่าง ๆ ได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  7. ความสามารถของบุคคล มาตรา 19บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่ออายุยี่สิบปีบริบูรณ์ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  8. มาตรา 21 ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนการใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  9. คำประกาศสิทธิผู้ป่วย 10. บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรมอาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกายหรือจิตซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  10. มาตรา 23 ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว มาตรา 24 ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมควรแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจำเป็นเพื่อเลี้ยงชีพตามสมควร มาตรา 25 ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  11. มาตรา 28 บุคคลวิกลจริตผู้ใด ถ้าคู่สมรสก็ดี ผู้บุพการี กล่าวคือ บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ทวดก็ดี ผู้สืบสันดาน กล่าวคือ ลูก หลาน เหลน ลื่อ ก็ดี ผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ก็ดี ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ก็ดี หรือพนักงานอัยการก็ดี ร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถ ศาลจะสั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้ บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดอยู่ในความอนุบาล การแต่งตั้งผู้อนุบาล อำนาจหน้าที่ของผู้อนุบาล และการสิ้นสุดของความเป็นผู้อนุบาลให้เป็นไปตามบทบัญญัติพรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายนี้ คำสั่งของศาลตามมาตรานี ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  12. วิกลจริต คำพิพากษาฎีกาที่ 490/2509 (ประชุมใหญ่)ที่วินิจฉัยว่า “คำว่า บุคคลวิกลจริตตามที่บัญญัติไว้ใน ปพพ.มาตรา 29 นั้น มิได้หมายเฉพาะถึงบุคคลที่มีจิตผิดปกติ หรือตามที่เข้าใจทั่ว ๆไปว่าเป็นคนบ้าเท่านั้น แต่หมายความถึงบุคคลที่มีกริยาผิดปกติเพราะสติวิปลาส คือ ขาดความรำลึก ขาดความรู้สึก และขาดความรู้สึกผิดชอบด้วย เพราะบุคคลดังกล่าวนี้ ไม่สามารถประกอบกิจการงานของตนเอง หรือประกอบกิจการส่วนตัวของตนได้ทีเดียว ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเนื้องอกในสมอง ตัวนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา มีอาการพูดไม่ได้ หูไม่ได้ยิน ตาทั้งสองข้างมองไม่เห็น มีอาการอย่างคนไม่มีสติสัมปชัญญะใด ๆ ถือว่าเป็นบุคคลวิกลจริต ตามความหมายแห่ง ปพพ.มาตรา 29แล้ว” รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  13. มาตรา 29 การใด ๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นเป็นโมฆียะ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  14. มาตรา 32 บุคคลใดมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบหรือประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือ ติดสุรายาเมา หรือมีเหตุอื่นใดทำนองเดียวกันนั้น จนไม่สามารถจะจัดทำการงานโดยตนเองได้ หรือจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว เมื่อบุคลากรตามที่ระบุไว้ในมาตรา 28 ร้องขอต่อศาล ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  15. มาตรา 34คนเสมือนไร้ความสามารถนั้น ต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนแล้วจึงจะทำการ อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้ (1) นำทรัพย์สินไปลงทุน (2) รับคืนทรัพย์สินที่ไปลงทุน ต้นเงินหรือทุน อย่างอื่น (3) กู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน ยืมหรือให้ยืม สังหาริมทรัพย์อันมีค่า (4) รับประกันโดยประการใด ๆ อันมีผลให้ตน ต้องถูกบังคับชำระหนี้ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  16. (5)เช่าหรือให้เช่าสังหาริมทรัพย์มีกำหนด ระยะเวลาเกินกว่าหกเดือน หรือ อสังหาริมทรัพย์มีกำหนดระยะเวลาเกินกว่า สามปี (6) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ ฐานานุรูปเพื่อการกุศล การสังคม หรือตาม หน้าที่ธรรมจรรยา (7) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระ ติดพันหรือไม่ได้รับการให้โดยเสน่หา รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  17. (8)ทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจะได้มาหรือ ปล่อยไปซึ่งสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือใน สังหาริมทรัพย์อันมีค่า(8)ทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจะได้มาหรือ ปล่อยไปซึ่งสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือใน สังหาริมทรัพย์อันมีค่า (9) ก่อสร้างหรือดัดแปลงโรงเรือน หรือสิ่งปลูก สร้างอย่างอื่นหรือซ่อมแซมอย่างใหญ่ (10) เสนอคดีต่อศาลหรือดำเนินกระบวนพิจารณา ใด ๆเว้นแต่การร้องขอตามมาตรา 35 หรือการ ร้องทุกข์ขอถอนผู้พิทักษ์ (11) ประนีประนอมยอมความหรือมอบข้อพิพาทให้ อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  18. ความสามารถของบุคคล • ผู้เยาว์ – ผู้แทนโดยชอบธรรม • บุคคลวิกลจริต • ผู้ไร้ความสามารถ – ผู้อนุบาล • ผู้เสมือนไร้ความสามารถ - ผู้พิทักษ์ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  19. มาตรา 149 นิติกรรม หมายความว่าการใด ๆอันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลงโอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  20. มาตรา 150 การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  21. มาตรา 152 การใดมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ การนั้นเป็นโมฆะ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  22. “โมฆะ”แปลว่า เปล่า ว่าง ไม่มีประโยชน์ ไม่มีผลส่วน “โมฆะกรรม” แปลว่า นิติกรรมที่เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย เปรียบเทียบไม่ได้มีการทำนิติกรรมขึ้น รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  23. นิติกรรมที่เป็นโมฆะนี้ ได้แก่ 1. นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ขัดกับกฎหมาย 2. นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อ ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน 3. นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นอันพ้นวิสัย 4. นิติกรรมที่ไม่ได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ เช่น การเช่าซื้อ การจดทะเบียนสถานะของบุคคล รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  24. มาตรา 153 การใดมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความสามารถของบุคคล การนั้นเป็นโมฆียะ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  25. มาตรา 29 การใด ๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นเป็นโมฆียะ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  26. “โมฆียะ” ความหมายอาจเป็นโมฆะ โมฆียกรรมแปลว่า นิติกรรมที่อาจบอกล้าง หรือให้สัตยาบันได้ ถ้าบอกล้างก็จะเป็นโมฆะ ถ้าให้สัตยาบันก็จะมีผลสมบูรณ์ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  27. นิติกรรมและสัญญา • โมฆะกรรม • โมฆียกรรม • ผลของนิติกรรมตามกฎหมาย • ความสามารถของบุคคล (โมฆียะกรรม) • แบบของนิติกรรม (โมฆะกรรม) • วัตถุประสงค์ของนิติกรรม (โมฆะกรรม) รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  28. บรรพ 2 หนี้ ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป ลักษณะ 2 สัญญา ลักษณะ 3 จัดการงานนอกสั่ง ลักษณะ 4 ลาภมิควรได้ ลักษณะ 5 ละเมิด รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  29. บ่อเกิดแห่งหนี้ 1. ตามกฎหมาย 1.1 ละเมิด 1.2 จัดการนอกสั่ง ส่งเสริมมนุษยธรรม แสดงน้ำใจ ป้องกันภัย 1.3 ลาภมิควรได้ (ได้ทรัพย์งอกเงยโดยปราศจากมูล อันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นการทำให้บุคคลอื่น เสียเปรียบมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์นั้น) 2. โดยนิติกรรมสัญญา รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  30. การระงับแห่งหนี้ • ชำระหนี้ • ปลดหนี • หักกลบลบหนี้ • แปลงหนี้ใหม่ • ทำให้หนี้เกลื่อนกลืนกัน รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  31. ก่อนที่นายแพทย์จะทำการผ่าตัดคนไข้รายหนึ่งก่อนที่นายแพทย์จะทำการผ่าตัดคนไข้รายหนึ่ง คนไข้และญาติได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมให้แพทย์ทำการผ่าตัด โดยระบุไว้ในหนังสือให้ความยินยอม โดยชัดแจ้งว่า คนไข้และญาติจะไม่ติดใจเอาความกับแพทย์ถ้าหากแพทย์ผ่าตัดประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้คนไข้ถึงแก่ความตาย ดังนี้ ถ้าหากแพทย์ทำการผ่าตัดคนไข้โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยลืมกรรไกรไว้ในท้องของคนไข้เป็นเหตุให้คนไข้ถึงแก่ความตาย แพทย์จะต้องรับผิดทั้งในทางอาญาและทางแพ่งเพียงใดหรือไม่ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  32. มาตรา 373 ความตกลงทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนนั้น ท่านว่าเป็นโมฆะ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  33. มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่น โดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แต่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิ อย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  34. บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 1 ซื้อขาย ลักษณะ 2 แลกเปลี่ยน ลักษณะ 3 ให้ ลักษณะ 4 เช่าทรัพย์ ลักษณะ 5 เช่าซื้อ ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน ลักษณะ 7 จ้างทำของ ลักษณะ 8 รับขน รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  35. บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 9 ยืม ลักษณะ 10 ฝากทรัพย์ ลักษณะ 11 ค้ำประกัน ลักษณะ 12 จำนอง ลักษณะ 13 จำนำ ลักษณะ 14 เก็บของในคลังสินค้า ลักษณะ 15 ตัวแทน ลักษณะ 16 นายหน้า ลักษณะ 17 ประนีประนอมยอมความ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  36. บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 18 การพนันและขันต่อ ลักษณะ 19 บัญชีเดินสะพัด ลักษณะ 20 ประกันภัย ลักษณะ 21 ตั๋วเงิน ลักษณะ 22 หุ้นส่วนและบริษัท ลักษณะ 23 สมาคม รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  37. บรรพ 4 ทรัพย์สิน ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป ลักษณะ 2 กรรมสิทธิ์ ลักษณะ 3 ครอบครอง ลักษณะ 4 ภาระจำยอม ลักษณะ 5 อาศัย ลักษณะ 6 สิทธิเหนือพื้นดิน ลักษณะ 7 สิทธิเก็บกิน ลักษณะ 8 ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  38. เงื่อนไขแห่งการสมรส • มาตรา 1449 การสมรสจะกระทำมิได้ถ้าชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริต • มาตรา 1453 หญิงที่สามีตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่นจะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไปไม่น้อยกว่าสามร้อยสิบวันเว้นแต่ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  39. 1. คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น 2. สมรสกับคู่สมรสเดิม 3. มีใบรองแพทย์ประกาศนียบัตรหรือปริญญาซึ่งเป็นผู้ประกอบการรักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมายว่ามิได้มีครรภ์ หรือ 4. มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  40. สัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา • มาตรา 1462 ถ้าการอยู่ร่วมกันจะเป็นอันตรายแก่กาย • หรือจิตใจหรือทำลายความผาสุกอย่างมากของสามีหรือ • ภริยา ฝ่ายที่จะต้องรับอันตรายหรือความเสียหายอาจร้อง • ต่อศาลขอให้สั่งอนุญาตให้ตนอยู่ต่างหากในระหว่างที่ • เหตุนั้น ๆ ยังมีอยู่ก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ศาลจะกำหนดจำนวน • ค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ฝ่ายหนึ่งเสียให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งตามควร • แก่พฤติการณ์ก็ได้ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  41. สัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา • มาตรา 1463 ในกรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ ภริยาหรือสามีย่อมเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แต่เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอและถ้ามีเหตุสำคัญ ศาลจะตั้งผู้อื่นเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ก็ได้ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  42. สัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา • มาตรา 1464 ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคน • วิกลจริต ไม่ว่าศาลจะได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือไม่ • ถ้าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไม่อุปการะเลี้ยงดูฝ่ายที่วิกลจริต • ตามมาตรา 1461 วรรคสอง หรือกระทำการหรือไม่กระทำการ • อย่างใด อันเป็นเหตุให้ฝ่ายที่วิกลจริตตกอยู่ในภาวะอันน่าจะ • เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ หรือตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิด • ความเสียหายทางทรัพย์สินถึงขนาด บุคคลตามที่ระบุไว้ใน • มาตรา 28 หรือผู้อนุบาลอาจฟ้องคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเรียกค่า • อุปการะเลี้ยงดูให้แก่ฝ่ายที่วิกลจริต หรือขอให้ศาลมีคำสั่งใดๆ • เพื่อคุ้มครองฝ่ายที่วิกลจริตนั้นได้ .....ฯลฯ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  43. การสิ้นสุดแห่งการสมรสการสิ้นสุดแห่งการสมรส • มาตรา 1501 การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย • การหย่าหรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน มาตรา 1504 การสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1448 ผู้มีส่วนได้เสียขอให้เพิกถอนการสมรสได้ แต่บิดามารดาหรือผู้ปกครองที่ให้ความยินยอมแล้วจะขอให้ เพิกถอนการสมรสไม่ได้...ฯ มาตรา 1510 การสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะมิได้รับ ความยินยอมของบุคคลดังกล่าวในมาตรา 1454 เฉพาะ บุคคลที่อาจให้ความยินยอมตามมาตรา 1454 เท่านั้น ขอให้ เพิกถอนการสมรสได้.....ฯ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  44. มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้ (1) สามีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา หรือภริยามีชู้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ (2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่ว นั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง (ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง (ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็น สามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ (ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา มาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  45. (3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือ จิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือ บุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่าย หนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ (4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน หนึ่งปีอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ *(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มี ส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็น เป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยา กันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือ เดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  46. *(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน สามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ (5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือ ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มี ใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  47. (6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ (7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  48. (8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือ ในเรื่องความประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ (9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้องรังไม่มีทางที่จะหายได้อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ (10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  49. ลักษณะ 2 บิดามารดากับบุตร มาตรา 1539 การฟ้องไม่รับเด็กเป็นบุตร ในกรณีที่สันนิษฐานว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ของชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีตามมาตรา 1536 มาตรา 1537 หรือมาตรา 1538 ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีจะไม่รับ เด็กเป็นบุตรของตนก็ได้ โดยฟ้องเด็กกับมารดาเด็กร่วมกัน เป็นจำเลยและพิสูจน์ได้ว่าตนไม่ได้อยู่ร่วมกับมารดาเด็กใน ระยะเวลาตั้งครรภ์ คือระหว่างหนึ่งร้อยแปดสิบวันถึงสาม ร้อยสิบวันก่อนเด็กเกิด หรือตนไม่สามารถเป็นบิดาของเด็ก ได้เพราะเหตุอย่างอื่น รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  50. มาตรา 1536 เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายใน สามร้อยสิบวัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือเคยเป็นสามีแล้วแต่กรณี ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่บุตรที่เกิดจากหญิงก่อนที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะหรือภายในระยะเวลาสามร้อยสิบวันนับแต่วันนั้น รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

More Related