1 / 99

ไข้เลือดออกและการควบคุมยุงพาหะนำโรค

ไข้เลือดออกและการควบคุมยุงพาหะนำโรค.

Download Presentation

ไข้เลือดออกและการควบคุมยุงพาหะนำโรค

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ไข้เลือดออกและการควบคุมยุงพาหะนำโรคไข้เลือดออกและการควบคุมยุงพาหะนำโรค ไข้เลือดออกเป็นปัญหาของประเทศเขตร้อนเกือบทั่วโลก ทั้งในทวีปแอฟริกา เอเซีย อเมริกากลาง หมู่เกาะแคริบเบียน หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ และตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบัน ประสบปัญหา ค่อนข้างมากกว่าประเทศอื่น ๆ เริ่มระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501 ที่กรุงเทพฯ แล้วแพร่กระจายไปตามเมืองใหญ่ ๆ จนถึงปัจจุบันได้ระบาดไปทั่วประเทศ

  2. กลไกการเกิดโรค • เชื้อจะฟักตัวในร่างกายประมาณ 5-8 วัน หลังจากนั้น ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการ โดยมีไข้กระทันหัน เด็กจะตัวร้อนจัด หน้าตาแดง ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ซึม เบื่ออาหาร อาเจียน และปวดท้อง อาการไข้สูง จะเป็นติดต่อกัน โดยไข้ไม่ลดเลย 4-5 วัน บางรายอาจมีไข้เพียง 2-3 วัน แต่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่เกิน 7 วัน

  3. วงจรชีวิตยุงลาย • แบ่งเป็น 4 ระยะ 1. ไข่ยุงลาย มีลักษณะยาวรี ขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร ลักษณะเป็นฟองเดี่ยว ๆ ออกมาใหม่ ๆ มีสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีดำ ในเวลา ประมาณ 2 ชั่วโมง ยุงลายชอบวางไข่บนพื้นผิวที่เปียกด้านในของภาชนะขังน้ำเหนือระดับน้ำเล็กน้อย ไข่ที่วางใหม่ ๆ ตัวอ่อนภายในยังไม่เจริญเต็มที่ ต้องอาศัยความชื้นสูง ใกล้ๆ ระดับน้ำ เพื่อให้ตัวอ่อนภายในไข่ เจริญเติบโตจนครบระยะที่จะฟักออกมาเป็นลูกน้ำ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1-2 วัน ที่อุณหภูมิ ประมาณ 28-35 องศาเซลเซียส ถ้าไข่แห้งในขณะที่ตัวอ่อนกำลังเจริญเติบโต ตัวอ่อนจะตายได้ แต่ถ้าตัวอ่อนเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ไข่จะสามารถอยู่ในสภาพแห้งได้เป็นเวลาหลายเดือนและจะสามารถฟักออกมาเป็นตัวลูกน้ำได้ เมื่อมีน้ำท่วมไข่

  4. ภาพไข่ยุงลาย

  5. วงจรชีวิตยุงลาย • ลูกน้ำยุงลายจะใช้เวลาในการเจริญเติบโตประมาณ 7-10 วัน อาหารของลูกน้ำได้แก่ ตะไคร่น้ำ อินทรียสารต่าง ๆ และจุลินทรีย์เล็ก ๆ ในภาชนะขังน้ำ และจะโผล่ขึ้นมาหายใจโดยใช้ท่อหายใจที่ผิวน้ำ ลูกน้ำยุงลาย มีลักษณะที่สำคัญ คือ ถ้านำมาดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์จะเห็นว่า บริเวณอกด้านข้างจะมีหนามแหลมข้างละ 2 อัน เห็นได้ชัดเจน และมีลักษณะการว่ายน้ำเป็นรูปเลข 8 หรือรูปตัว S ระยะลูกน้ำเป็นระยะที่ง่ายต่อการกำจัด เนื่องจากอาศัยอยู่ในภาชนะขังน้ำ ไม่สามารถหนีได้เหมือนตัวเต็มวัย

  6. ภาพลูกน้ำยุงลาย

  7. วงจรชีวิตยุงลาย • ตัวโม่ง ซึ่งจะมีสีน้ำตาลดำ ระยะตัวโม่งจะเป็นระยะที่ไม่กินอาหาร การเปลี่ยนแปลงรูปร่างในระยะตัวโม่ง เพื่อเข้าสู่ระยะตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 1-2 วัน และมักพบตัวโม่งลอยอยู่บนผิวน้ำเพื่อขึ้นมาหายใจ

  8. ภาพตัวโม่ง

  9. วงจรชีวิตยุงลาย • ยุงลายตัวเต็มวัยทั้ง 2 เพศ จะมีลักษณะแตกต่างกัน ที่หนวด โดยที่ยุงตัวผู้หนวดจะมีลักษณะเป็นพู่ขน เฉพาะยุงลายเพศเมียเท่านั้นที่ต้องดูดกินเลือด เพื่อนำโปรตีนจากเลือดไปสร้างไข่ นอกเหนือจากน้ำหวานที่ยุงลาย ทั้ง 2 เพศ ต้องการเพื่อนำไปสร้างพลังงาน ดังนั้นยุงลายเพศเมียนี้เองที่เป็นตัวการสำคัญ ถ่ายทอดเชื้อขณะดูดกินเลือด ทำให้เกิดการระบาดของไข้เลือดออก โดยหลังจากออกจากตัวโม่งแล้วระยะหนึ่ง ยุงลายจะเริ่มทำการผสมพันธุ์ หลังจากนั้น ยุงลายเพศเมียจะเริ่มออกกินเลือดเพื่อสร้างไข่ต่อไป เหยื่อที่ยุงลายชอบกัด ได้แก่ คน ยุงลายจะสามารถกัดดูดเลือดได้หลายครั้ง และเมื่อไปกัดคนที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ เชื้อจะคงอยู่ตลอดชั่วอายุของยุงนั้น ทำให้ยุงลายเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสได้เป็นอย่างดี ยุงลาย Aedesaegyptiหากินภายในบ้านตั้งแต่เช้าจนถึงเวลาพลบค่ำ โดยเฉพาะในช่วงเวลา 8.00 - 17.00 นาฬิกา นอกจากคนแล้ว ยุงลายยังสามารถกินเลือดสัตว์ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน เช่น สุนัข แมว แต่จะเป็นส่วนน้อย ยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะหลักนำโรคไข้เลือดออก มีอุปนิสัยอาศัยอยู่ในบ้านเรือน โดยมีแหล่งเพาะพันธุ์เป็นภาชนะขังน้ำบริเวณบ้านพักอาศัย เช่น ตุ่มน้ำ บ่อซีเมนต์กักน้ำ ซึ่งถึงแม้ปัจจุบันจะมีการใช้น้ำประปากันมากขึ้น แต่ประชาชนก็ยังคงเก็บกักน้ำดื่มและน้ำใช้ อีกทั้งในบางพื้นที่ยังคงไม่มีน้ำประปาใช้เราจึงยังพบลูกน้ำอยู่ทั่วไปในภาชนะขังน้ำ ในบ้านเรือน จานรองขาตู้กันมด เป็นภาชนะขังน้ำชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไปในบ้านเรือน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ยุงลายชอบมาวางไข่เช่นกัน หรือแม้แต่แจกันที่คนนิยมปลูกต้นไม้ในบ้านเรือน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายแหล่งหนึ่งที่ประชาชนมักคาดไม่ถึง ส่วนภาชนะขังน้ำที่อยู่นอกบ้าน ในบริเวณรอบ ๆ บ้านทั้งที่เป็นภาชนะเก็บกักน้ำไว้ใช้ หรือภาชนะเก่าที่ทิ้งไว้แล้วมีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กระป๋อง ไห กะลามะพร้าว เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายได้ทั้งสิ้น

  10. วงจรชีวิตยุงลาย • ส่วนยุงลายสวน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกได้เช่นกัน เป็นยุงที่พบอยู่ตามป่าและในเขตที่มีการปลูกต้นไม้ยืนต้น เช่น สวนยาง สวนมะพร้าว สวนผลไม้ และ ตามเขตชนบท โดยมีแหล่งเพาะพันธุ์อยู่ตามโพรงต้นไม้ กระบอกไม้ไผ่ เศษใบไม้ที่หล่นตามพื้น รวมทั้งภาชนะที่มนุษย์สร้างขึ้น แต่พบอยู่นอกบ้าน เช่น ยางรถยนต์ กระป๋องน้ำ ดังนั้นยุงลายชนิดนี้จึงเป็นพาหะที่มีบทบาทสำคัญในเขตชนบท

  11. ภาพยุงลาย

  12. ภายยุงลาย

  13. การสำรวจลูกน้ำยุงลาย • การสำรวจยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก ซึ่งจะเน้นที่ยุงลาย • เป็นมาตรการ การเฝ้าระวังยุงพาหะเพื่อนำข้อมูลมาใช้สนับสนุนงานควบคุม ทำให้ทราบถึงสถานการณ์ด้านต่าง ๆ ของยุง ได้แก่ ความชุกชุม การเปลี่ยนแปลงประชากรและการแพร่กระจาย การดำเนินการสำรวจและเก็บข้อมูล ควรจะได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ซึ่งผลที่ได้คือ ทำให้ทราบถึงสถานที่ที่เสี่ยงต่อการระบาด ระดับและการเปลี่ยนแปลงของประชากร รวมทั้งแหล่งเพาะพันธุ์ที่สำคัญของยุง เพื่อใช้สำหรับดำเนินการควบคุมและ ประเมินผลทั้งก่อนและหลังการควบคุมที่ได้ดำเนินการไปในแต่ละพื้นที่หรือหมู่บ้านได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการสำรวจยุงลายทำได้ทั้งการสำรวจตัวเต็มวัยและการสำรวจลูกน้ำการสำรวจลูกน้ำที่ปฏิบัติเป็นมาตรฐานโดยการแนะนำจากองค์การอนามัยโลก คือวิธีสำรวจแบบซึ่งเป็นการสำรวจเพียงว่าภาชนะขังน้ำในบริเวณบ้านเรือน พบหรือไม่พบลูกน้ำยุงลายเท่านั้น โดยไม่ต้องเก็บลูกน้ำมาจำแนกชนิด เนื่องจากการศึกษาพบว่าลูกน้ำที่พบในภาชนะขังน้ำในบริเวณบ้านส่วนใหญ่ เป็นลูกน้ำยุงหลายชนิดอุปกรณ์ที่ใช้ในการสำรวจลูกน้ำ ได้แก่ ไฟฉาย และ แบบสำรวจ เมื่อได้ขออนุญาตเจ้าของบ้านแล้ว ให้ดำเนินการสำรวจ โดยใช้ไฟฉายส่องดูภายในภาชนะที่ขังน้ำ ทุก ๆ ภาชนะ ว่ามีลูกน้ำหรือตัวโม่งหรือไม่ แล้วบันทึกลงในแบบสำรวจ สำหรับภาชนะที่ไม่มีน้ำขังจะไม่จดบันทึกลงในแบบสำรวจและสำหรับหมู่บ้านขนาดเล็กควรสำรวจทุก ๆ บ้าน แต่ถ้าเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ ควรสำรวจ 30 - 100 หลังคาเรือน โดยใช้วิธีสุ่มสำรวจ ให้ได้ตัวอย่างของบ้าน กระจายให้ทั่วถึงหมู่บ้าน แต่ถ้าสำรวจในเขตเมือง ควรสำรวจให้กระจายให้ครอบคลุมบ้านทุกประเภท ทั้งบ้านพัก ตึกแถว ชุมชนแออัด เป็นต้น เมื่อได้ดำเนินการสำรวจลูกน้ำแล้ว นำข้อมูลที่สำรวจได้มาคำนวณหาดัชนีความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย

  14. ความหมายของค่าดัชนีความชุกลูกน้ำความหมายของค่าดัชนีความชุกลูกน้ำ • House Index (HI) หมายถึง จำนวนบ้านที่สำรวจพบลูกน้ำใน100บ้านคำนวณได้จากจำนวนบ้านที่สำรวจพบลูกน้ำยุงลาย หารด้วย จำนวนบ้านที่สำรวจทั้งหมดคูณด้วยร้อย ไม่เกิน 10 • Container Index (CI) หมายถึง จำนวนภาชนะที่สำรวจพบลูกน้ำใน 100 ภาชนะคำนวณได้จาก จำนวนภาชนะที่สำรวจพบลูกน้ำยุงลาย หารด้วย จำนวนภาชนะที่สำรวจทั้งหมด คูณด้วย ร้อย ต้องเป็น 0

  15. การสำรวจลูกน้ำยุงลาย

  16. วีธีการกำจัดลูกน้ำ

  17. การกำจัดตัวแก่ยุงโดยการพ่นเคมีการกำจัดตัวแก่ยุงโดยการพ่นเคมี ควรดำเนินการเมื่อ • มีโรคระบาด ไข้เลือดออก • มีค่า HI CI สูงกว่าเกณฑ์ คือ HI มากกว่า 10 CI เกิน 0 3. ช่วงก่อนการระบาด พ.ค.- ก.ค.

  18. การป้องตนเองจากยุง

  19. สถานการณ์โรคไข้เลือดออกอำเภอเมืองหนองบัวลำภูสถานการณ์โรคไข้เลือดออกอำเภอเมืองหนองบัวลำภู

  20. จำนวนผู้ป่วยเปรียบเทียบ ข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี

  21. จำนวนผู้ป่วยแยกรายสถานบริการตั้งแต่วันที่1มกราคม2556-30เมษายน2556จำนวนผู้ป่วยแยกรายสถานบริการตั้งแต่วันที่1มกราคม2556-30เมษายน2556

More Related