1 / 34

ระบบการเงินที่อยู่อาศัยสหรัฐฯ

การล่มสลายของวาณิชธนกิจสหรัฐฯและซิเคียวริไทเซชั่นซับไพรม์ ศาสตราภิชาน กิตติ พัฒนพงศ์พิบูล พฤศจิกายน 2551. ระบบการเงินที่อยู่อาศัยสหรัฐฯ. ความแตกต่างของระบบการเงินในสหรัฐฯ ความแตกต่างการคิดดอกเบี้ย ระบบซิเคียวริไทเซชั่น ซับไพรม์ วิกฤตการณ์. สหรัฐฯ

bonner
Download Presentation

ระบบการเงินที่อยู่อาศัยสหรัฐฯ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การล่มสลายของวาณิชธนกิจสหรัฐฯและซิเคียวริไทเซชั่นซับไพรม์ศาสตราภิชาน กิตติ พัฒนพงศ์พิบูลพฤศจิกายน 2551

  2. ระบบการเงินที่อยู่อาศัยสหรัฐฯระบบการเงินที่อยู่อาศัยสหรัฐฯ • ความแตกต่างของระบบการเงินในสหรัฐฯ • ความแตกต่างการคิดดอกเบี้ย • ระบบซิเคียวริไทเซชั่นซับไพรม์ • วิกฤตการณ์

  3. สหรัฐฯ อาศัยเงินจากตลาดทุน(Capital Market) หรือตราสารหนี้เป็นหลัก โดยการทำ ซิเคียวริไทเซชั่น รู้จักกันในชื่อ Mortgage Backed Securities(MBS) ไทย อาศัยเงินจากเงินฝากธนาคาร (Bank Deposits) เป็นหลัก ระบบนี้ใช้กันในทุกประเทศ ที่ธนาคารเป็นสถาบันการเงินหลัก ความแตกต่างในระบบการเงินที่อยู่อาศัย

  4. ความแตกต่างในระบบการเงินที่อยู่อาศัยความแตกต่างในระบบการเงินที่อยู่อาศัย • สหรัฐฯ • ตลาดทุนตราสารหนี้สหรัฐฯมีขนาดใหญ่และลึกกว่าใคร อายุตราสารยาวเท่าใดก็ออกขายได้ ตราสาร MBS ระยะยาว 30 ปี ก็ขายได้ • ไทย • ตลาดตราสารหนี้ไทยมี ขนาดเล็กและระยะสั้น*MBSระยะยาวจะขายไม่ได้การทำ ซิเคียวริไทเซชั่นสินเชื่อที่อยู่อาศัยในไทยเป็นของปลอม ทั้งสิ้น

  5. สหรัฐฯ ผู้ปล่อยสินเชื่อส่วนใหญ่เป็นบริษัทธรรมดา เรียกว่า Mortgage Companyเป็นหลัก เช่นบริษัท Countrywide Financial Corp. ไทย ผู้ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นธนาคารหรือสถาบันการเงิน เช่นธนาคารพาณิชย์และธนาคารอาคารสงเคราะห์ ความแตกต่างในระบบการเงินที่อยู่อาศัย

  6. สหรัฐฯ Mortgage Co เมื่อปล่อยสินเชื่อได้จำนวนหนึ่งก็ขายสินเชื่อออกไป เพื่อได้เงินไปปล่อยใหม่หมุนเวียนไป ไทย ธนาคารมีเงินฝาก เอามาปล่อยสินเชื่อไม่จำเป็นต้องขายสินเชื่อ ความแตกต่างในระบบการเงินที่อยู่อาศัย

  7. ความแตกต่างในระบบการเงินที่อยู่อาศัยความแตกต่างในระบบการเงินที่อยู่อาศัย • สหรัฐฯ • รัฐไม่ตรวจสอบควบคุมการดำเนินงานของ Mortgage Co. หรือ Mortgage Broker ไทย รัฐตรวจสอบการดำเนินงานของธนาคารเข้มงวด

  8. ความแตกต่างในระบบการเงินที่อยู่อาศัยความแตกต่างในระบบการเงินที่อยู่อาศัย • สหรัฐฯ • มีสถาบันรับซื้อเงินกู้เช่นFannie Mae, Freddie Mac และ วาณิชธนกิจ เช่น Lehman Brothersซึ่งม่มีการตรวจสอบการดำเนินงานเข้มงวดโดยรัฐ • ไทย • พยายามทำตามสหรัฐฯตั้ง บรรษัทตลาดรองตามอย่างสหรัฐฯ

  9. สหรัฐฯ ดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) ดอกเบี้ย ปรับได้(ARM) Adjustable Rate Mortgage ARM นั้นทั้งสองฝ่ายต้องตกลงกำหนดช่วงเวลาปรับแน่นอน เช่น ทุก 1 ปี 3 ปี หรือ 5 ปีครั้ง เป็นต้น ไทย ระบบดอกเบี้ยลอยตัว (VRM)Variable Rate Mortgage ธนาคารผู้ให้กู้ปรับดอกเบี้ยฝ่ายเดียวเมื่อใดก็ได้เพราะจะอิงดอกเบี้ยขั้นต่ำตัวเองคือ Minimum Loan Rate (MLR) Minimum Retail Rate(MRR) ความแตกต่างในการคิดดอกเบี้ย

  10. ความแตกต่างในการคิดดอกเบี้ยความแตกต่างในการคิดดอกเบี้ย • สหรัฐฯ • เงินกู้ที่ดอกเบี้ยคงที่ทำให้เงินงวดคงที่ • เงินกู้ดอกเบี้ยปรับได้ เงินงวดเปลี่ยนแปลง เมื่อดอกเบี้ยขึ้นลง ณ วันที่ปรับดอกเบี้ย • ไทย • มีระบบเงินงวดคงที่ • โดยขยายระยะเวลาเงินกู้หรือหดโดยอัตโนมัติ เมื่อดอกเบี้ยขึ้นหรือลง

  11. ความแตกต่างในระบบการเงินที่อยู่อาศัยความแตกต่างในระบบการเงินที่อยู่อาศัย • สหรัฐฯ • ขบวนการสินเชื่อแบ่งแยกอยู่ในหลายสถาบัน เช่น ผู้ปล่อยกู้ ผู้ซื้อเงินกู้ ผู้ออกตราสารหนี้ ผู้ค้ำประกัน ผู้จัดอันดับเครดิต ผู้นำส่งเงินงวด ผู้ลงทุน • มีปัญหา Agency Risk • ไทย • ขบวนการสินเชื่อรวมอยู่ในธนาคาร ทั้งการปล่อย การหาเงินมาปล่อย การถือเงินกู้ การรับเงินงวด การรับผิดชอบหนี้ • ไม่มีปัญหา Agency Risk

  12. สหรัฐฯ กำหนดสินเชื่อชั้นดี (Prime) คือเครดิตสกอริ่งดี กู้ไม่เกิน 80%เงินงวดไม่เกิน25%ของรายได้ไม่มีประวัติเครดิตเสีย ผู้ซื้อรายใหญ่ Fannie Mae, Freddie Mac ร่วมกันกำหนดมาตรฐานตลาด ไทย การให้กู้ แต่ละธนาคารไม่ขาย จึงไม่มีการกำหนดมาตรฐานตลาด แต่ละธนาคารกำหนดมาตรฐานภายในของตัวเอง ต่างๆกันไป ความแตกต่างในระบบการเงินที่อยู่อาศัย

  13. ความแตกต่างในระบบการเงินที่อยู่อาศัยความแตกต่างในระบบการเงินที่อยู่อาศัย • สหรัฐฯ • ซับไพรม์คือผู้กู้และเงินดาว์นมีคุณสมบัติต่ำกว่ามาตรฐานกลาง • ไทย • บางธนาคารลดหย่อน เงินดาวน์และรายได้ต่ำกว่าที่ควร จากการแข่งขัน หรือจากนโยบาย จึงอาจมีซับไพรม์ซ่อน

  14. ความแตกต่างในระบบการเงินที่อยู่อาศัยความแตกต่างในระบบการเงินที่อยู่อาศัย • สหรัฐฯ • ต้องมีการทำซิเคียวริไทเซชั่น • ต้องมีการจัดอันดับเครดิตตราสารหนี้ • ต้องมีการทำประกันตราสารหนี้ • ไทย • ทำซิเคียวริไทเซชั่นไม่ได้ • ธนาคารต้องดูแลจัดการสภาพคล่องและปริมาณสินเชื่อระยะยาวให้เหมาะสม (Portfolios Management)

  15. Portfolios Management • ธนาคารจัด Port. สัดส่วน เงินสด เงินลงทุนระยะสั้น เงินกู้ระยะปานกลาง และเงินกู้ระยะยาว ที่เหมาะสม • ระบบธนาคารจึงให้กู้สินเชื่อรายย่อยระยะยาวได้เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจจากเงินฝากระยะสั้นได้ • ธนาคารกลางเป็น Lender of Last Resort สำหรับรักษาสภาพคล่องตลาด

  16. การซิเคียวริไทเซชั่นหนี้ซับไพรม์ Collateralized Mortgage Obligation (CMO) Subprime Mortgage Senior Debt CD0s Securitize Subordinated Debt

  17. การซิเคียวริไทซ์ตราสาร CDOs (Collateralized Debt Obligations) CMO High yield bond MBS ABS CDOs ที่มา : ประยุกต์รูปจาก Bloomberg

  18. วิธีตัดแต่งCDO เพิ่ม Credit Ratings Senior : AAA CDOs Mezzanine BB to AA Equity : unrated

  19. วิธีตัดแต่ง CDO โดยวาณิชธนกิจ • NPL หากเกิดขึ้นให้หักจาก Equity Tranche ก่อน (ส่วนนี้ขายไม่ได้ในตลาดทั่วไป) • โอกาสที่ Mezzanine Tranche จะเป็น NPL มีน้อยจึงได้ Rating ดีเช่น A ขายได้ • โอกาสที่ Senior Tranche จะเป็น NPL น้อยที่สุด จึงได้ Rating สูงๆถึง AAA ขายสถาบันการเงินต่างๆได้ง่าย

  20. การประกันสินเชื่อ • Cash Flow Insurance • Credit Default Swap • Mortgage Default Insurance (CDS)

  21. Cash Flow Insurance • ผู้ที่จัดทำซิเคียวริไทเซชั่นตราสารหนี้ MBS ออกขายในสหรัฐฯ เช่น Fannie Mae(Federal National Mortgage Association) จะต้องค้ำประกัน ตราสารหนี้ MBS • หรือหาบริษัทประกันค้ำแทน

  22. Cash Flow Insurance • หาก ผู้กู้รายใดไม่ชำระเงินงวดทำให้เงินขาด ผู้ค้ำตราสาร MBS จะต้องจ่ายเงินเต็มให้ผู้ถือไปก่อน แล้วไปตามเก็บเอาเองหรือฟ้องร้องเอาจากผู้กู้

  23. Credit Default Swap (CDS) • วาณิชธนกิจ(และ AIG)เข้ามาทำธุรกิจประกันตราสารหนี้ซับไพรม์ CDO และรับโอนสิทธิเรียกร้องในหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้จึงเรียกว่า Swap • และอาจ Leverage โดยใช้เงินกู้หรือขยายธุรกิจ โดยไม่มีการกำกับควบคุมภาระและเงินกองทุน • เมื่อระดับซับไพรม์สูงเกินคาดหมาย วาณิชธนกิจหรือผู้ค้ำประกัน(เช่น AIG) ต้องรับความเสียหายรุนแรง

  24. Mortgage Default Insurance • เงินกู้ที่อยู่อาศัยปกติมีความเสี่ยงต่ำ • BIS และธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดความเสี่ยงไว้เพียง 1 ใน 3 ของเงินกู้อื่น

  25. Mortgage Default Insurance • ในสหรัฐฯ รัฐเข้ามาช่วยประกันบุคคลเฉพาะบางกลุ่มเพื่อช่วยเหลือเช่นทหารผ่านศึก ชาวนา ชาวไร่ เป็นกรณีพิเศษ • การทำประกันลูกหนี้ทั่วไปอาจส่งเสริมให้ธนาคารปล่อยเงินกู้ต่ำกว่ามาตรฐานในตลาดแบบสหรัฐฯ

  26. ซับไพร์มขยายตัว • สหรัฐฯลดอัตราดอกเบี้ยลงต่ำเป็นประวัติการณ์ หลังจากเหตุการณ์ กย.11, 2001 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ • ลูกค้าซับไพรม์ จ่ายดอกเบี้ยสูง ผู้ให้กู้ได้กำไรดี • Mortgage Co ผู้ปล่อยสินเชื่อขายซับไพรม์ได้ง่าย • วาณิชธนกิจออก CDO ได้เครดิตเรตติ้งสูง ขายได้ง่าย • กำไรและเงินทุนจาก CDO ผลักดันให้ตลาดเพิ่มการให้กู้ซับไพรม์อีก • ทางการไม่ควบคุมขบวนการ สังคมสหรัฐฯเชื่อว่าระบบตลาดทุนนิยมเสรีทำงานได้ดีกว่า

  27. ซับไพรม์ขยายตัว • อสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯบูม • ผู้กู้ซับไพรม์ที่ผิดนัดชำระหนี้ สามารถ refinance หรือขายบ้าน ในราคาที่สูงขึ้นเพื่อชำระหนี้ได้ง่าย • ปัญหา NPL จากลูกหนี้ซับไพรม์จึง ซ่อนตัวได้ ในสถานะการณ์บ้านราคาสูงขึ้นต่อเนื่องในสหรัฐฯ • ทั้งราคาบ้าน ปริมาณซับไพรม์และ CDO เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น วงจรแชร์ลูกโซ่ ที่มา : กิตติ พัฒนพงศ์พิบูล.เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง Subprime CDO กับสถานการณ์การเงินที่อยู่อาศัย.20 ก.ย.50

  28. ซับไพรม์สหรัฐฯล่มสลายซับไพรม์สหรัฐฯล่มสลาย • สงครามอีรัคและราคาน้ำมันพุ่งขึ้นทำให้ระดับเงินเฟ้อสหรัฐฯสูงขึ้น • Fed ต้องหันกลับมาขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อชะลอเงินเฟ้อ • มีผลกระทบให้ราคาบ้านจึงชะลอตัวและลดลง • ผู้กู้ซับไพรม์ขายบ้านจ่ายหนี้ค้างชำระไม่ได้เหมือนเดิม • ปัญหาซับไพรม์จึงปรากฎตัวและเพิ่มความรุนแรง • เงินกู้ ARM ที่ดอกเบี้ยปรับสูงขึ้นเพิ่มความรุนแรงอีกทาง • แชร์ลูกโซ่หดตัวรุนแรง

  29. วาณิชธนกิจล่มสลาย • 2007 Mortgage company ผู้ปล่อยสินเชื่อซับไพรม์ล้มลงก่อน • ตลาดชะลอการปล่อยสินเชื่อ • จำนวนการขายบ้านตกลง • บ้านค้างสต็อกเพิ่มขึ้น • ปัญหา NPLลุกลามไปถึง CDO ที่ Credit Ratings สูง • ปัญหาขยายไปยังวาณิชธนกิจ ผู้ประกันตราสารหนี้ และผู้ลงทุนใน CDOs ทั่วโลก • 2008 วาณิชธนกิจ Lehman Brothers ล้มลง Merrill Lynch และ Bear Stearns ถูกควบรวมกับธนาคาร ที่มา : กิตติ พัฒนพงศ์พิบูล.เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง Subprime CDO กับสถานการณ์การเงินที่อยู่อาศัย.20 ก.ย.50

  30. วาณิชธนกิจล่มสลาย • ตลาด CDO ล่มสลาย ไม่มีใครแน่ใจว่าสถาบันการเงินใดเสียหายเท่าใดเพราะความเสียหายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆไม่หยุดจาก NPL Subprime ที่สูงขึ้นทุกเดือน ในขณะที่ราคาบ้านตก • ระบบกู้ยืมระหว่างสถาบันการเงินชะงัก • Fed แก้ไขโดยอัดฉีดสภาพคล่องและลดอัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางลง แต่ไม่สามารถแก้ไขได้ • เกิดปัญหาสภาพคล่องในตลาดการเงินโดยทั่วไป • ในที่สุดรัฐบาลสหรัฐฯและยุโรปต้องใช้เงินงบประมาณจำนวนมากเข้าช่วยเหลือสถาบันการเงินโดยเพิ่มทุนให้สถาบันที่อาจล้มลงจากความเสียหาย

  31. วาณิชธนกิจล่มสลาย • สหรัฐฯต้องเข้ายึดสถาบันตลาดรอง Fannie Mae, Freddie Mac เพิ่มทุนจนกลายเป็นรัฐวิสาหกิจ เพื่อป้องกันระบบการเงินที่อยู่อาศัยล้มลงทั้งประเทศ ทั้งๆที่ขัดกับสังคมและระบบทุนนิยมอเมริกัน • วาณิชธนกิจที่ไม่ล้มขอเปลี่ยนไปเป็นธนาคาร รับการตรวจสอบ และความช่วยเหลือ • ระบบวาณิชธนกิจสหรัฐฯอันยิ่งใหญ่เป็นอันล่มสลาย • เศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัว และมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและนโยบายการเงินทั่วโลก • ที่ประชุม G20 ให้ทบทวนระบบการเงินโลก

  32. ขอบคุณ

More Related