1 / 27

การ วิเคราะห์ข้อสอบ ( Item Analysis )

การ วิเคราะห์ข้อสอบ ( Item Analysis ). การ ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบจะให้ดีและ ถูกต้องจะต้อง ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบเป็นรายข้อและตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบทั้งฉบับ ( ชวาล แพรัตกุล. 2516 : 10-11) โดย การตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบเป็นรายข้อมี จุดมุ่งหมาย

Download Presentation

การ วิเคราะห์ข้อสอบ ( Item Analysis )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การวิเคราะห์ข้อสอบ ( Item Analysis) การตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบจะให้ดีและถูกต้องจะต้องตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบเป็นรายข้อและตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบทั้งฉบับ (ชวาล แพรัตกุล. 2516 : 10-11) โดยการตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบเป็นรายข้อมีจุดมุ่งหมาย เพื่อตรวจสอบคุณภาพ 2 ประการคือ ความยากของข้อสอบ (dificulty)และอำนาจจำแนกของข้อสอบ (discrimination) การตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบทั้งฉบับมีจุดมุ่งหมาย เพื่อหาคุณภาพ 2 ประการ คือ ความเที่ยงตรง (validity) และความเชื่อมั่น (reliability)

  2. การสร้างและพัฒนาแบบสอบถามการสร้างและพัฒนาแบบสอบถาม • แบบสอบถาม (Questionnaire) ใช้สำหรับวัดความรู้สึกหรือการรับรู้ หรือ ความคิดเห็นต่างๆที่อาจเรียกว่า แบบสอบถามความคิดเห็น (Opioninaire)

  3. แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับแบบสอบถามแนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับแบบสอบถาม • ต้องพิจารณาถึงคุณลักษณะของผู้ตอบ ผู้ตอบทีมีคุณลักษณะต่างกัน เช่น เพศ อายุ ฐานะ จะมีแนวทางในการตอบคำถามต่างกันไป • ใช้ได้กับการวัดเจตคติและความเชื่อหรือพฤติกรรมอื่นๆ เนื่องจากไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด แต่ควรพิจารณาถึงธรรมชาติของการตอบเกี่ยวกับค่านิยม การรับรู้ ความรู้สึก • ใช้ได้กับข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน คำถามที่ละเอียดอ่อน เช่น รายได้ สถานะการเงิน หรือ เรื่องส่วนตัว เป็นต้น ผู้ตอบจะไม่รู้สึกอึดอัด

  4. ประหยัด รวดเร็ว การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามมีความประหยัด เพราะไม่ต้องใช้อุปกรณ์มาก • ได้ข้อมูลตรงตามความต้องการ เนื่องจากผู้สร้างกำหนดกรอบไว้ชัดเจน แม้จะมีคำถามปลายเปิดก็ตอบนอกกรอบยาก • อาจเข้าใจผิดในข้อคำถามได้ การตอบคำถามด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การตอบด้วยการอ่าน ผู้ตอบอาจเข้าใจผิดได้ • สามารถใช้ร่วมกับเครื่องมือประเภทอื่นๆได้ การเก็บรวบรวมข้อมูลตามตัวแปรในการวิจัย หรือตัวชี้วัดในการประเมินนั้น บางครั้งอาจต้องใช้เครื่องมือหลายประเภทร่วมกัน

  5. องค์ประกอบของแบบสอบถามองค์ประกอบของแบบสอบถาม • ชื่อแบบสอบถาม (Title) • คำนำ (Introduction) • คำชี้แจง (Directions of Instructions) • ข้อคำถามหลัก • ข้อคำถามรอง

  6. ประเภทของแบบสอบถามประเภทของแบบสอบถามตามเกณฑ์การตอบ • แบบปลายปิด (Closed Form) เป็นแบบสอบถามที่ผู้สร้างให้ผู้ตอบเลือกคำตอบที่กำหนดไว้แล้ว คล้ายกับแบบสอบชนิดเลือกตาม • ประเภทของแบบสอบถามตามเกณฑ์ข้อมูลที่ต้องการ • แบบสอบถามความจริง ( Questionnaire ) • แบบสอบถามความคิดเห็น ( Opinionnaire)

  7. ลักษณะของแบบสอบถามที่ดีลักษณะของแบบสอบถามที่ดี • ถามในประเด็นหรือสาระสำคัญ • สั้น กระชับ • เหมาะสมกับข้อมูลที่ต้องการ • มีรูปแบบน่าสนใจ • แต่ละข้อคำถามมีประเด็นเดียว • ไม่ควรใช้คำถามนำ • เริ่มจากคำถามกว้างไปสู่แคบ • ประหยัด • อำนวยความสะดวกแก่ผู้ตอบให้มากที่สุด • แปลความหมายง่าย

  8. แนวทางการสร้างและพัฒนาแบบสอบถามแนวทางการสร้างและพัฒนาแบบสอบถาม • ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการต่างๆ • กำหนดนิยาม • ร่างข้อคำถามและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง

  9. การหาคุณภาพเครื่องมือการหาคุณภาพเครื่องมือ • การหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้แก่ 1.1  ค่าความยาก (Difficulty)หมายถึง สัดส่วนของผู้ที่ตอบถูกข้อนั้น เมื่อเทียบกับจำนวนคนที่ตอบคำถาม ข้อนั้นถูก ซึ่งแทนสัญลักษณ์ด้วย "p"

  10. ความยากง่าย (Difficulty) ระดับความยากง่ายของข้อสอบ หากผู้เรียนทำได้มาก แสดงว่าง่าย หากผู้เรียนทำได้น้อย แสดงว่ายาก ค่า P ที่ใช้ได้ก็คือ .20 - .80 ค่า P ที่เหมาะสม คือ .50 สูตรที่ใช้คือ P = ความยากง่าย R = จำนวนผู้เรียนที่ตอบคำถามข้อนั้นถูกต้อง N = จำนวนผู้เรียนทั้งหมด

  11. 1. 2  ค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) หมายถึง ประสิทธิภาพของข้อสอบ ในการจำแนกผู้สอบออกเป็นกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ สัญลักษณ์ที่ใช้ คือ   r

  12. 1.2การหาค่าอำนาจจำแนก การตรวจให้คะแนน นำแบบทดสอบไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างแล้วตรวจให้คะแนน เรียงลำดับคะแนนจากสูงไปต่ำ คัดเลือกออกมา 25% จากกลุ่มสูงเป็นกลุ่มเก่ง คัดเลือก 25%จากกลุ่มล่างเป็นกลุ่มอ่อน แทนค่าในสูตร r หรือ D Ru = จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ถูกในกลุ่มเก่ง RL = จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ถูกในกลุ่มอ่อน N = จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด เชาวรัตน์ เตมียกุล

  13. ค่า r มีค่าตั้งแต่ -1.00 ถึง +1.00 ถ้าค่าเป็น + แสดงว่ากลุ่มสูงตอบถูก มากกว่ากลุ่มต่ำ แต่ถ้าค่าเป็น - แสดงว่ากลุ่มสูงตอบถูกน้อยกว่ามากกว่ากลุ่มต่ำการแปลความหมายของ ค่า r มีเกณฑ์ดังนี้ค่า r = .40 ขึ้นไป หมายถึง มีอำนาจจำแนกสูงมากค่า r = .30 - .39 หมายถึง มีอำนาจจำแนกสูงค่า r = .20 - .29 หมายถึง มีอำนาจจำแนกพอใช้ค่า r = .00 - .19 หมายถึง มีอำนาจจำแนกต่ำค่า r = ติดลบ หมายถึง ไม่มีอำนาจจำแนก

  14. สรุป แบบสอบถามใช้กันแพร่หลายสำหรับวัดข้อเท็จจริง ความรู้สึก การรับรู้ ความคิดเห็นต่างๆ เนื่องจากมีผู้ให้แนวคิดว่า มีความประหยัด รวดเร็ว สะดวก ในการตอบและใช้ร่วมกับเครื่องมือประเภทอื่นๆ แบบสอบถามแบ่งประเภทได้ตามเกณฑ์ 2 เกณฑ์ คือ ตามเกณฑ์การตอบ แบ่งเป็น แบบปลาบปิด แบบปลายเปิด และผสมตามเกณฑ์ข้อมูล แบ่งเป็น ตามความจริง และความคิดเห็น แนวทางการสร้างและพัฒนาแบบสอบถาม มี 9 ขั้นตอน โดย ต้องศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการของตัวแปรหรือตัวชี้วัด เพื่อนำมานิยามและร่างข้อคำถาม รวมทั้งองค์ประกอยที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบปรับปรุงก่อนที่ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ แล้วนำไปทดลองใช้ด้วยการหาค่าสถิติต่างๆ โดยนำผลมาปรับปรุงอีกครั้งเพื่อเตรียมจะนำไปใช้จริงต่อไป

  15. การสร้างและพัฒนาแบบสังเกต แบบวัดทักษะปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและประเมิน ซึ่งเน้นวิธีการมากกว่าตัวเครื่องมือ คือ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ สำหรับแบบวัดทักษะปฏิบัติจะมีความคล้ายคลึงกับแบบสังเกตมาก เพียงแต่ว่าประเด็นที่สังเกตจะเน้นกระบวนการทำงานและผลงานต่าง ๆ รวมทั้งพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน

  16. แบบสัมภาษณ์ • แบบสัมภาษณ์ (Interview Schedule) มีลักษณะคล้ายแบบสอบถาม เพียงแต่ใช้ถามและตอบแทนการเขียน หรืออาจเรียกว่า Oral Questionnaire • แบบสัมภาษณ์จะเน้นวิธีการมากกว่าตัวเครื่องมือ และส่วนใหญ่จะเป็นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยถือว่าผู้สัมภาษณ์เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือด้วย สาระเนื้อหาเกี่ยวกับตัวแบบสัมภาษณ์โดยตรงมีการกล่าวถึงกันค่อนข้างน้อย เช่นเดียวกันกับตัวแบบสังเกต

  17. ประเภทของแบบสัมภาษณ์ การแบ่งประเภทของแบบสัมภาษณ์ แบ่งตามเกณฑ์ต่าง ๆ ได้ 4 เกณฑ์ ดังนี้ • 1. แบ่งตามเกณฑ์โครงสร้าง ได้ 3 ประเภท ดังนี้ 1.1 แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง เป็นแบบสัมภาษณ์ที่กำหนดเค้าโครงหรือข้อคำถามไว้ล่วงหน้า ซึ่งแบบนี้จะมีลักษณะคล้ายกับแบบสอบถาม บางครั้งเรียกว่าแบบสัมภาษณ์เป็นทางการ 1.2 แบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง เป็นแบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีกำหนดคำถามไว้ เหมาะสำหรับการวิจัยและประเมินเชิงคุณภาพ บางครั้งเรียกว่าแบบสัมภาษณ์ไม่เป็นทางการ 1.3 แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง หรืออาจเรียกว่าแบบผสม เป็นแบบสัมภาษณ์ที่กำหนดเค้าโครงล่วงหน้าและยังไม่ได้กำหนดไว้ มีลักษณะผสมระหว่างแบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง บางครั้งเรียกว่าแบบสัมภาษณ์กึ่งทางการ

  18. 2. แบ่งตามเกณฑ์ข้อคำถาม การแบ่งตามเกณฑ์นี้ได้ 3 ประเภท ดังนี้ • 2.1 แบบคำถามกำหนดตัวเลือก แบบสัมภาษณ์ประเภทนี้คล้ายกับแบบสอบถามที่กำหนดตัวเลือกให้ • 2.2 แบบคำถามปลายเปิด แบบสัมภาษณ์ประเภทนี้คล้ายกับแบบสอบถามปลายเปิด • 2.3 แบบคำถามกรวย จะใช้คำถามจากกว้างไปสู่แคบหรือใหญ่ไปสู่ย่อย มีลักษณะเป็นคำถามกรวย (Funnel Question) โดยจะถามต่อเนื่องไปจากคำตอบที่ได้ ซึ่งนงลักษณ์ วิรัชชัย (2536 : 94) ได้ยกตัวอย่างไว้ ดังนี้ คำถามที่ 1  คุณมีอาชีพอะไรคะ คำถามที่ 2  (ถ้าตอบว่าเป็นครู) คุณตัดสินใจเป็นครูเมื่อไรคะ คำถามที่ 3  มีเหตุผลอะไรบ้างในการตัดสินใจ คำถามที่ 4  เหตุผลที่สำคัญในการตัดสินใจ

  19. 3. แบ่งตามเกณฑ์ระดับคำถาม การแบ่งตามเกณฑ์นี้ได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 3.1 แบบคำถามทั่วไป ใช้สัมภาษณ์เรื่องทั่ว ๆ ไปที่คนปกติให้ข้อมูลได้ 3.2 คำถามลึก ใช้สัมภาษณ์บุคคลที่มีความรู้ความสำคัญหรือความเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ (Key Information Interview)

  20. 4. แบ่งตามเกณฑ์ผู้ตอบ การแบ่งตามเกณฑ์นี้ได้ 2 ประการ ดังนี้ 4.1 แบบสัมภาษณ์เดี่ยว ใช้สำหรับเก็บข้อมูลจากบุคคลเพียงคนเดียวต่อการสัมภาษณ์ครึ่งหนึ่ง ซึ่งอาจใช้ในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In – Depth Interview) 4.2 แบบสัมภาษณ์กลุ่ม ใช้สำหรับเก็บข้อมูลจากบุคคลหลายคนในคราวเดียวกัน ซึ่งอาจใช้ในการสัมภาษณ์กลุ่ม (Group Interview) หรือกลุ่มแบบเจาะจง (Focus Group Interview)

  21. แนวทางการสร้างและพัฒนาแบบสัมภาษณ์แนวทางการสร้างและพัฒนาแบบสัมภาษณ์ การสร้างและพัฒนาแบบสัมภาษณ์มีขั้นตอนต่าง ๆ ตามแนวทางเช่นเดียวกับการสร้างเครื่องมือประเภทอื่น ๆ ซึ่งในที่นี้จะเน้นกล่าวเฉพาะขั้นตอนที่ต่างกัน ดังนี้ 1. ศึกษาพฤติกรรมที่จะสัมภาษณ์ พฤติกรรมที่จะสัมภาษณ์อาจเป็นของผู้ให้สัมภาษณ์เอง พฤติกรรมในองค์การทั้งระดับพฤติกรรมบุคคล กลุ่ม หรือระดับองค์การหรือหลายพฤติกรรมร่วมกันก็ต้องศึกษาให้เข้าใจ 2. นิยามพฤติกรรมที่จะวัด พฤติกรรมจากข้อ 1 นำมานิยามหรือสรุปให้ละเอียดพอที่จะแยกเป็นข้อคำถามอย่างครอบคลุมได้

  22. 3. ร่างข้อคำถาม นำผลจากข้อ 2 มาร่างเป็นข้อคำถามโดยเรียงลำดับให้ตอบได้อย่างราบรื่น ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น ตัวเลือกหรือเกณฑ์การให้คะแนนนั้นอาจมีน้อยกว่าเครื่องมือประเภทอื่น ๆ เนื่องจากเน้นข้อมูลเชิงคุณภาพดังกล่าวแล้ว 4. ตรวจสอบด้วยตนเองและผู้เกี่ยวข้อง นำข้อคำถามที่ร่างไว้จากข้อ 3 ตรวจสอบ ซึ่งคงไม่ละเอียดเท่ากับเครื่องมืออื่น ๆ แต่ที่สำคัญคือ ควรทดลองสัมภาษณ์ดูในเบื้องต้น เพราะวิธีการสัมภาษณ์ถือว่ามีความสำคัญมาก อาจจะสำคัญกว่าตัวแบบสัมภาษณ์เสียด้วยซ้ำ เมื่อทดลองเบื้องต้นแล้วจะได้ปรับปรุงให้เหมาะสมทั้งตัวแบบสัมภาษณ์ วิธีการ ทราบเวลา และอุปกรณ์ที่ใช้อย่างคร่าว ๆ ได้

  23. 5. ปรับปรุงเบื้องต้น นำผลจากข้อ 4 มาปรับปรุงเบื้องต้นก่อนให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ 6. ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ ดำเนินการเช่นเดียวกับเครื่องมือประเภทอื่น ๆ 7. ปรับปรุงผลจากการตรวจของผู้เชี่ยวชาญ ดำเนินการเช่นเดียวกันกับเครื่องมือประเภทอื่น ๆ

  24. 8. ทดลองใช้เพื่อหาค่าความเที่ยง ความเที่ยงจากการสัมภาษณ์อาจหาได้ 2 กรณี คือใช้แบบสัมภาษณ์ที่ใกล้เคียงกัน 2 ฉบับ สัมภาษณ์ซ้ำ 2 ช่วงเวลา หรือฉบับเดียวกันสัมภาษณ์ 2 ครั้ง (Best & Khan, 2006 : 337) แล้วนำมาคำนวณหาค่าในเชิงปริมาณ (ถ้ามี) เช่นเดียวกันแบบสังเกต 9. ปรับปรุงก่อนนำไปใช้จริง แบบสัมภาษณ์สามารถทดลองใช้ได้สะดวกกว่าแบบสังเกตหรือแบบวัดทักษะปฏิบัติ เพราะแบบสังเกตจะต้องคอยเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นเหมือนกันได้ยาก ส่วนแบบสัมภาษณ์สามารถทดลองใช้ได้ตลอดเวลาถ้านัดผู้ทดลองให้สัมภาษณ์ได้

  25. สรุป แบบสังเกต แบบวัดทักษะปฏิบัติ และแบบสัมภาษณ์ มีการกล่าวถึงตัวเครื่องมือกันค่อนข้างน้อย โดยจะเน้นวิธีการมากกว่า แบบสังเกตมี 4 ประเภท คือ แบบตรวจสอบรายการ แผนภูมิการมีส่วนร่วม แบบมาตรประมาณค่า และแบบบันทึกความประพฤติหรือพฤติกรรม การสร้างและพัฒนาแบบสังเกต มีแนวทางเช่นเดียวกับเครื่องมือประเภทอื่น ๆ เพียงแต่บางขั้นตอน เช่น การทดลองใช้อาจทำไม่ได้ เพราะโอกาสที่จะเกิดสถานการณ์หรือเหตุการณ์เหมือนกันมีน้อย

  26. เครื่องมือที่ลักษณะและวิธีการคล้ายกับแบบสังเกต คือ แบบวัดทักษะปฏิบัติ แต่เน้นวัดกระบวนการและผลงาน โดยวัดได้ทั้งความรู้ด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย ซึ่งแบ่งประเภทตามเกณฑ์ต่าง ๆ ได้หลายเกณฑ์ คือ ตามเกณฑ์ลักษณะงาน เกณฑ์การสอบ เกณฑ์ประเภทเครื่องมือ ซึ่งประกอบด้วย แบบสอบ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตรประมาณค่า และการรายงานผลการปฏิบัติงาน สำหรับขั้นตอนการสร้างและพัฒนาแบบวัดทักษะปฏิบัติจะคล้ายกับแบบสังเกต ส่วนแบบสัมภาษณ์ มีลักษณะคล้ายแบบสอบถาม ต่างกันตรงที่ใช้การพูดแทนการเขียน แบ่งได้หลายประเภทตามเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น แบ่งตามเกณฑ์โครงสร้างได้ 3 ประเภท แบ่งตามเกณฑ์ข้อคำถามได้ 3 ประเภท แบ่งตามเกณฑ์ระดับคำถามได้ 2 ประเภท และแบ่งตามเกณฑ์ผู้ตอบได้ 2 ประเภท การสร้างและพัฒนาแบบสัมภาษณ์มีขั้นตอนคล้ายกับเครื่องมือประเภทอื่น ๆ

  27. ขอบคุณค่ะ

More Related