1 / 35

พินัยกรรมของมงฟอร์ต

พินัยกรรมของมงฟอร์ต. ฝังร่างข้าฯในสุสานแต่หัวใจใต้บันไดพระแท่นพระแม่ เครื่องเรือนและหนังสือในการเทศน์ให้ภราดาทั้งสี่ (นิโคลา ฟิลิป หลุยส์ คาเบรียล* ปฏิญาณตนทั้งสี่) รูปปั้นที่เนินคัลวาริโอและกางเขนให้ซิสเตอร์ดูแลคนป่วยเรื้อรังที่นานต์ ให้เงิน 135 ปอนด์จากทุนกลางแก่ภ. นิโคลาแห่งปัวเตีย

Download Presentation

พินัยกรรมของมงฟอร์ต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พินัยกรรมของมงฟอร์ต • ฝังร่างข้าฯในสุสานแต่หัวใจใต้บันไดพระแท่นพระแม่ • เครื่องเรือนและหนังสือในการเทศน์ให้ภราดาทั้งสี่ (นิโคลา ฟิลิป หลุยส์ คาเบรียล* ปฏิญาณตนทั้งสี่) • รูปปั้นที่เนินคัลวาริโอและกางเขนให้ซิสเตอร์ดูแลคนป่วยเรื้อรังที่นานต์ • ให้เงิน 135 ปอนด์จากทุนกลางแก่ภ. นิโคลาแห่งปัวเตีย • ถ้าภ. เจมส์/ญักส์ ยอห์นและมาธูแรงประสังค์จะลาออก ให้เงินคนละ 10 คราวน์ (ภ.ไม่ได้ปฏิญาณ)

  2. พินัยกรรมของมงฟอร์ต • ยกที่ดินสองผืนให้ภ.แห่งพระจิตเจ้า เพื่อตั้งโรงเรียนการกุศล (ภรรยาร้อยโทแห่งโววังมอบให้) • ธงในกระบวนแห่ ให้กลุ่มพระแม่แห่งความเพียรทน 3 ผืน กลุ่มพระแมห้แห่งชัยชนะ 4 ผืน แต่ละวัดในเขตโอนีส์ 1 ผืน • หนังสือเทศน์ ให้คพ.บูรี และหนังสือ “คำสอนชาวบ้าน” 4 เล่มให้คพ. คลิสซอง • เงินที่เหลือจากกองทุนกลางยกให้คพ.วาแตล • ช่วยจ่ายหนี้ที่ค้างช่างพิมพ์ด้วย • ให้คพ.มูโลเป็นผู้ดำเนินการพินัยกรรมนี้

  3. ประวัติคณะภราดาเซนต์คาเบรียล(1705-ประวัติคณะภราดาเซนต์คาเบรียล(1705- • 1716ภ.ฟิลิบแทนภ.หลุยส์ผู้ดูแลรร.การกุศลที่ลาโรแชล ภ.หลุยส์ย้ายไปที่นานต์ ขอเข้าคณะลาซารีสต์ สิ้นใจ 8 ตค. ปีนั้น • 1717 ภ.ญักส์ประจำที่แซงโลรัง ดูแลโรงเรียนและหลุมศพมงฟอร์ต • 1718 ภ.มาธูแรงทำงานกับกลุ่มพระสงฆ์ที่เทศน์อบรมที่แซงปอมแปง ซึ่งเริ่มใหม่หลังประสบความสำเร็จที่โลชย์ (Loges) [คพ.มูโลและวาแตลด้วย]

  4. ประวัติคณะภราดาเซนต์คาเบรียล(1705-ประวัติคณะภราดาเซนต์คาเบรียล(1705- • ท่านมาควิส เดอ มายัน (นายอังรี-ฟรังซัวส์ เดอ รากาป) และมาดาม เดอ บูอิล (หลานสาวของท่านมาควิส) ซื้อบ้านหลังหนึ่งที่แซง โลรัง ยกให้ภราดา บ้านนี้มีชื่อว่า “แชนเวส์” ภราดาใช้บ้านนี้ทำเป็นโรงเรียนการกุศลตั้งแต่ปี ๑๗๑๖- ๑๗๒๓ ต่อๆ มา กลุ่มธรรมทูตมาพักกันที่นี่ด้วย เมื่อเสร็จงานเทศน์มิชชั่นแล้ว • ต่อมาได้ ซื้อบ้านยาวซึ่งแต่เดิมเคยใช้เป็นโรงแรม ยกให้ซิสเตอร์ บ้านหลังนี้ในตอนนั้นถูกปล่อยทิ้งให้รกร้างว่างเปล่าไว้(ต่อมามีการแลกกับบ้านของสงฆ์ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “บ้านพระจิตเจ้า”) • มีหนุ่มคนหนึ่งชื่อ เรเน โจโซ (คนแซง โลรัง และเพื่อนกับภ.ฌ๊าค) อาสามาช่วยซิสเตอร์มารี หลุยส์ซ่อมแซมบ้านยาว • มาดาม เดอ บูอิล และซิสเตอร์มารี หลุยส์ เข้าพบพระสังฆราชชังฟลู ขอร้องให้ท่านช่วยแต่งตั้ง คพ. มูโลเป็นอธิการของคณะซิสเตอร์ เพราะบรรดาซิสเตอร์รู้สึกถูกทอดทิ้งในด้านชีวิตฝ่ายจิต

  5. ประวัติคณะภราดาเซนต์คาเบรียล(1705-ประวัติคณะภราดาเซนต์คาเบรียล(1705- • ปี 1722 หลังการเข้าเงียบ คพ. มูโลได้รับเลือกจากสมาชิกเป็นอัคราธิการของนักบวชครอบครัวมงฟอร์ตบรรดาสงฆ์และภราดา ยกเว้น ๒ คน ปฏิญาณตนต่อหน้า คพ. มูโล • มาดาม เดอโบวิลขอร้องให้ คพ. มูโล ฝึกฝนภราดาในด้านการบริหารโรงเรียนและด้านการสอนคำสอน • คพ. มูโล ปรับปรุงธรรมนูญปี ๑๗๑๓ เสียใหม่ในปี ๑๗๒๘ โดยตัดส่วนที่เกี่ยวกับการศึกษาออกไป เพราะส่วนนี้เป็นงานแพร่ธรรมเฉพาะของภราดา • เมื่อ คพ. มูโลสิ้นใจ (๑๒ พค. ๑๗๔๙) มีพระสงฆ์ในคณะ ๑๒ องค์ ภราดา ๖ องค์ ซิสเตอร์ ๑๐๐ องค์

  6. บ้านยาว คพ.มูโล 1715-49

  7. อัคราธิการของคณะพระจิตเจ้าอัคราธิการของคณะพระจิตเจ้า 2. คพ. โอดือบอง สงฆ์มงฟอร์ตรู้จักกันในนามมูโลแตง 3. คพ.ชาร์ล แบร์นาร์ด คณะทั้งสองได้รับรอง

  8. ปฏิวัติในฝรั่งเศสสงฆ์ 2 คนถูกจับและเอกสารจำนวนหนึ่งถูกยึดไปจากแซง โลรัง อัคราธิการของคณะพระจิตเจ้า 4. ฌาง บัปติส มิกิญอง

  9. ในช่วงการรบในเขตวังเดในปี ๑๗๙๓ บรรดาพระสงฆ์หลบจากบ้านศูนย์กลางไป โดยให้ภราดา ๖ คนอยู่ดูแลบ้านศูนย์กลาง พวกภราดานำหนังสือต่างๆ และเอกสารสำคัญของมงฟอร์ตใส่ลงในหีบนำและไปฝังไว้ในที่ดินของคนใกล้เคียง โดยเกรงว่าจะถูกยึดและเผาทิ้ง 2 สงฆ์ 4 ภราดา 34 ซิสเตอร์ถูกฆ่า ฝ่ายกบฏวังเดลุกฮือต่อต้านฝ่ายสาธารณรัฐ 5. คพ. ซือปีโอ คพ. ซือปีโอ ซื้อบ้าน “แบร์ต็องเดอรี” ต่อมาเรียกกันว่า บ้านซือปีโอ และต่อมาถูกเรียกว่า บ้านเซนต์คาเบรียล

  10. คพ. ดือเชนมีโอกาสรู้จัก คพ. เดแอ ในปี ๑๘๑๒ ที่ บริตานี่ ขณะที่ท่านไปเยี่ยมบ้านซิสเตอร์ คพ. เดแอ ชื่นชมจิตตารมณ์ของมงฟอร์ตและหันมาเข้าร่วมคณะแม่พระ วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๑๘๒๐ คพ. ดือเชนขอร้อง คพ. เดแอให้เป็นผู้ช่วยของท่าน อัคราธิการของคณะพระจิตเจ้า 6. คพ. ดือเชน

  11. เซอร์ มารี หลุยส์ ซิสเตอร์องค์ แรกคณะซิส เตอร์ธิดาปรีชาญาณ

  12. 7. คาเบรียล เดแอ (1821-1841)ผู้ร่วมตั้งคณะภราดาเซนต์คาเบรียล • ท่านเปิดสถาบันมากมายช่วยเหลือผู้ที่มีความต้องการ ทั้งเด็กชาย หญิง เณร นักโทษ ฯลฯ • ท่านรักคนพิการเป็นพิเศษและเริ่มตั้งโรงเรียนคนหูหนวก โดยเชิญซิสเตอร์คณะธิดาปัญญาญาณมาดูแล ที่ลา ชาตรูส โดเร • ท่านได้ก่อตั้งคณะนักบวชชายและหญิง ๒ - ๓ คณะแล้ว ก่อนจะมาเป็นอัคราธิการของคณะในครอบครัวมงฟอร์ต คณะนักบวชเหล่านี้คือ ภราดาคณะโพลเอเมล (ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง) ซิสเตอร์คณะแซงจิลดา ซิสเตอร์คณะเทวดารักษาตัว ภราดาเกษตรกรคณะแซง ฟรังซิส อัสซีซี

  13. 7. คาเบรียล เดแอ (1821-1841)ผู้ร่วมตั้งคณะภราดาเซนต์คาเบรียล • เมื่อ คพ. ดือเชนสิ้นใจลงอย่างกะทันหัน อัคราธิการิณีซิสเตอร์คณะธิดาปัญญาญาณมีจดหมายถึงท่านที่โอเร เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๑๘๒๐ เชิญท่านมาที่แซง โลรัง เพื่อจัดการเรื่องผู้รับตำแหน่งสืบทอดต่อจาก คพ. ดือเชน • หลังการเข้าเงียบ ๓ วันร่วมกับพระสงฆ์ในคณะ ท่านก็ได้รับเลือกให้เป็นอัคราธิการในวันที่ ๑๗ มกราคม ๑๘๒๑ • ขณะที่เข้าดำรงตำแหน่งอัคราธิการนั้น มีสมาชิกพระสงฆ์ ๗ คน ภราดา ๔ คน ซิสเตอร์ ๗๗๘ คน เมื่อท่านสิ้นใจมีภราดา ๑๕๐ คน ซิสเตอร์ ๑๖๖๘ คน

  14. 7. คาเบรียล เดแอ (1821-1841)ผู้ร่วมตั้งคณะภราดาเซนต์คาเบรียล • ท่านพานวกชน ๒ คน ผู้ฝึกหัด ๕ คน มาจากนวกสถานที่โอเร มาเข้านวกสถานใหม่ที่บ้านพระจิตเจ้าในแซง โลรัง • ท่านขอให้บรรดาพระสงฆ์เจ้าอาวาสวัดต่างๆ ส่งคนหนุ่มมาฝึกหัดเป็นภราดาสอนเรียนที่แซง โลรัง ท่านแต่งตั้งภราดาซีเมออนเป็นนวกาจารย์ • ในปี ๑๘๒๓ ท่านเขียนแนวปฏิบัติสำหรับภราดา ธรรมนูญฉบับนี้ลอกมาจากธรรมนูญของคณะภราดาที่โอเร ใน บริตานี่ • ท่านดำเนินการติดต่อให้รัฐบาลรับรองภราดาคณะพระจิตเพื่อการสอนเรียนใน ๕ จังหวัดในเขตฝรั่งเศสตะวันตก

  15. 7. คาเบรียล เดแอ (1821-1841)ผู้ร่วมตั้งคณะภราดาเซนต์คาเบรียล • ตั้งแต่ปี ๑๘๒๑ ถึง ๑๘๔๑ ท่านเปิดหรือรับดูแลโรงเรียน ๗๖ แห่ง เมื่อท่านสิ้นใจ เหลือโรงเรียนที่ดูแล ๔๗ แห่ง เหตุผลที่ปิดโรงเรียนไป ๒๙ แห่งคือ ภราดาไม่ได้รับการฝึกหัดมาดีพอ หรือไม่ก็เพราะพระสงฆ์เจ้าอาวาสที่โรงเรียนนั้นๆ ตั้งอยู่ ไม่ปฏิบัติตามสัญญา • ท่านกระตุ้นให้ภราดาไปรับผิดชอบโรงเรียนคนใบ้ หูหนวก และตาบอดในหลายๆ แห่ง • ในปี ๑๘๒๕ ท่านแต่งตั้งภราดาโอกุสแตง เป็นอธิการของภราดาทั้งหมด และตั้งภราดาซีเมออนเป็นผู้ช่วย • ในปี ๑๘๓๐ ท่านพิมพ์ธรรมนูญเพื่อภราดา

  16. 7. คาเบรียล เดแอ (1821-1841)ผู้ร่วมตั้งคณะภราดาเซนต์คาเบรียล • เกิดการขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มภราดาสอนเรียนและกลุ่มภราดาทำงานทั่วไป ดังนั้นในปี ๑๘๓๕ ท่านจึงแยกภราดาสอนเรียนและภราดาทำงานทั่วไปจำนวนหนึ่ง ไปอยู่ที่บ้านซือปีโอ ต่อๆ มาบ้านนี้ถูกเรียกว่าบ้านเซนต์คาเบรียล • ในปี ๑๘๓๘ ท่านปรับปรุงธรรมนูญของภราดาและให้พระสังฆราชแห่งลูซองลงชื่อรับรอง แต่ยังคงเก็บไว้เป็นความลับ มีผู้ที่รับรู้เรื่องนี้เพียงไม่กี่คนเท่านั้น

  17. บ้าน ซือปิโอ/บ้านเซนต์คาเบรียล โอกุสแตง

  18. ภราดาโอกุสแตง • วันที่ ๑๒ มีนาคม ๑๘๔๒ ภราดาโอกุสแตงออกจดหมายเวียนถึงภราดาทุกคน โดยแจ้งว่า เนื่องจากมีเอกสารลับในปี ๑๘๓๘ที่ คพ. เดแอ ทิ้งไว้ ดังนั้น ภราดาจะเลือกอัคราธิการจากบรรดาภราดาด้วยกันเอง • คพ. โรตูโรซึ่งดูแลห้องสมุดที่บ้านพระจิตเจ้า ค้นพบต้นฉบับหนังสือ ศรัทธาที่แท้จริงต่อพระแม่ ซึ่งมงฟอร์ตเป็นผู้เขียน เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๑๘๔๒ • ภราดาโอกุสแตงได้รับเลือกเป็นอัคราธิการในวันที่ ๒๑ กันยายน ๑๘๔๒ โดยมีวาระ ๕ ปี มีคณะที่ปรึกษา ๔ คน จำนวนภราดามี ๙๙ คน นวกชน ๓๔ คน

  19. ภราดาโอกุสแตง • สมัยที่ท่านเป็นอัคราธิการ ในจดหมายเวียนทุกฉบับ ท่านเอ่ยถึง คพ. เดแอ ว่าเป็นผู้ก่อตั้งคณะภราดาเสมอ ภราดาส่วนมากไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ของท่าน แต่ไม่มีผู้ใดกล้าโต้แย้งท่านอย่างเปิดเผย • ในปี ๑๘๕๐ มีการวางแผนลับๆ เพื่อยอมรับพระสงฆ์เป็นอัคราธิการดังเช่นสภาพก่อนปี ๑๘๔๒ เมื่อภราดาโอกุสแตงทราบแผนนี้เข้า ท่านติเตียนคณะที่ปรึกษาของท่านอย่างรุนแรง ฝ่ายต่อต้านไม่ยอมเลิกรา แต่เนื่องจากเกรงการแตกแยกในคณะจึงตกลงเลือกภราดาซีเมออนเป็นอัคราธิการแทนภราดาโอกุสแตง

  20. ภราดาโอกุสแตง • วันที่ ๓ มีนาคม ๑๘๕๓ ในเอกสารรับรองคณะจากรัฐระบุชื่อคณะว่า “ภราดาคณะเซนต์คาเบรียล” ดังเช่นที่รับรองในปี ๑๘๒๓ แรกๆ ภราดาซีเมออนและผู้ช่วยของท่าน อยากเปลี่ยนไปใช้ชื่อดั้งเดิมคือ “ภราดาคณะพระจิตเจ้า” แต่เกรงจะเกิดการแยกคณะ ท่านจึงปล่อยเลยตามเลย

  21. 3. ภราดา เออเยน มารี • คพ. มงฟอร์ต ได้รับการประกาศเป็นผู้น่านับถือในวันที่ ๒๙ กันยายน ๑๘๖๙ • ปลายปี ๑๘๘๒ จำนวนภราดามี ๔๘๑ คน มีนวกชนและผู้ฝึกหัด ๑๐๖ คน • มีการเรียกประชุมสมัชชาวิสามัญในปี ๑๘๗๑ และ ๑๘๗๔ เพื่อร่างธรรมนูญฉบับใหม่ของคณะ ร่างฉบับสุดท้ายที่ออกมาคือหนังสือเล่มเล็กๆ มี ๗๒ หน้า มีธรรมนูญ ๒๒๔ ข้อ พระสังฆราชลงนามรับรองในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๑๘๗๔ และธรรมนูญฉบับนี้จะถูกใช้ต่อเนื่องกันมาอีก ๙๕ ปี โดยมีการแก้ไขเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

  22. ภราดาอัคราธิการองค์ที่4 ฮูเบิร์ต • คพ. มงฟอร์ตได้รับแต่งตั้งเป็นบุญราศีในวันที่ ๒๒ มกราคม ๑๘๘๘ โดยพระสันตะปาปาเลโอที่ 13 • วันที่ ๒๕ กันยายน ๑๘๘๘ ภราดา ๖ คนถูกส่งไปเริ่มงานใหม่ที่แคนาดา • มีการเรียกประชุมสมัชชาวิสามัญตั้งแต่ ๙ – ๑๐ มิถุนายน ๑๘๘๘ เพื่อสรุปประเด็นผู้ก่อตั้งคณะ คพ. มงฟอร์ตได้รับการออกเสียงว่าเป็นผู้ก่อตั้งที่แท้จริง • ปี ๑๘๘๙ อัคราธิการสงฆ์คณะพระแม่ ส่งเอกสาร ๓๖ หน้า แจ้งว่าภราดาคณะเซนต์คาเบรียลนั้นก่อตั้งโดย คพ. เดแอ ไม่ใช่โดย คพ. มงฟอร์ต ภราดาฮูเบิร์ตตอบโต้ด้วยการส่งเอกสาร ๒ ชุด เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงต่ออัคราธิการของสงฆ์คณะพระแม่ ความไม่เข้าใจต่อกันและกันนี้ จะยึดเยื้อต่อไปนานถึง ๘๐ ปี

  23. ภราดาอัคราธิการองค์ที่4 ฮูเบิร์ต • ปี ๑๘๙๐ มีการส่งภราดา ๒ กลุ่มไปทำงานที่อเล็กซานเดรีย อียิปต์ เพื่อสอนเรียนในโรงเรียนของคณะเยซูอิต และที่เซนต์ ยอห์น เบอรี่ เวอร์มอนท์ อเมริกา (๑๘๙๐ – ๑๘๙๖, ๑๙๐๓ – ๑๙๒๘)

  24. ภราดาอัคราธิการองค์ที่ ๕ มาเซี่ยล • ๑๙๒๐ จำนวนภราดามี ๘๘๙ คน นวกชนมี ๑๘๐ คน • ในปี ๑๙๐๐ ภราดาถูกส่งไปสอนที่เบลเยี่ยม กาบอง ดจิบูติ โซมาเลีย • ปี ๑๙๐๑ ภราดาถูกส่งไปสอนที่อาบิสซิเนีย (เอธิโอเบีย ๑๙๐๑ – ๑๙๓๖) และสยาม • มีการออกกฎหมายต่อต้านสงฆ์และนักบวชในปี ๑๙๐๓บรรดาภราดาได้รับใบรับรองว่าเป็นฆราวาส แต่เนื่องจากความสับสน ภราดา ๔๓๖ คนจึงสึกจากคณะ ผู้ที่ไม่สึกถ้าไม่ไปทำงานต่างประเทศก็อยู่ในฝรั่งเศสอย่างเงียบๆ • ในปี ๑๙๐๓ ภราดาถูกส่งไปสอนที่สวิสเซอร์แลนด์ อังกฤษ อิตาลี สเปน เนเธอร์แลนด์ อินเดีย มาดากาสกา

  25. ภราดาอัคราธิการองค์ที่ ๕ มาเซี่ยล • พระสันตะปาปา ไปอัสที่ ๑๐ รับรองธรรมนูญของคณะในวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๑๙๑๐ • ภราดาถูกส่งไปสอนที่เวเนซูเอล่าในปี ๑๙๑๔ • ภราดาชาวฝรั่งเศส ๒๕๐ คนถูกเรียกระดมพลในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ ภราดาฝรั่งเศสสิ้นใจในสงคราม ๒๒ คน (๑๙๑๔ – ๑๙๑๘)

  26. ปี ๑๙๒๘ ภราดาถูกส่งไปสอนในคองโกของเบลเยี่ยม ภราดาอัคราธิการองค์ที่ ๖ เซบาสเตียน

  27. ปี ๑๙๓๕ ภราดาถอนตัวจากเอธิโอเปีย เนื่องจากฟัสซิสอิตาลีบุกเอธิโอเปีย ในปี ๑๙๓๖ ภราดาถูกส่งไปสอนที่สิงค์โป ตั้งแต่ปี ๑๙๓๖ – ๑๙๓๘ เกิดสงครามกลางเมืองในสเปน ภราดาที่สเปน ๔๙ คนต้องกลายเป็นมรณสักขี ภราดาอัคราธิการองค์ที่ ๗ เบนนัว มารี

  28. ภราดาอัคราธิการองค์ที่ ๗ เบนนัว มารี • สงครามโลกที่ 2 ภราดาชาวฝรั่งเศสถูกระดมพลประมาณ ๓๐๐ คน ๑๑ คนตายในที่รบ หลายคนถูกจับเป็นเชลยศึก ๒ คนเสียชีวิตลงในขณะรับใช้กองทัพ หลังสงคราม ภราดา ๖๔ คน ไม่กลับเข้าคณะอีก โรงเรียนในฝรั่งเศสถูกใช้เป็นค่ายทหาร เกิดการขาดแคลนในทุกด้าน ภราดาชาวเบลเยี่ยมถูกเรียกระดมพล ๒๐ คน คนหนึ่งเสียชีวิตในสนามรบ ภราดาชาวฝรั่งเศสในสยามต้องลี้ภัยสงครามไปอยู่ที่อินเดีย ชุมชนคาทอลิกในสิงค์โปอพยพไปอยู่ในป่าบาฮู บนคาบสมุทรมาเลเซีย เป็นเวลาปีครึ่ง และถูกไข้มาลาเรียรบกวน ภราดาชาวแคนาดาในฝรั่งเศสและสิงค์โปถูกจับเข้าค่ายกักกัน ภราดาชาวอิตาลี ๒ คนในอินเดียถูกจับเข้าค่ายกักกันร่วมกับเพื่อนร่วมชาติ

  29. ภราดาอัคราธิการรักษาการณ์ มามานด์ ยอแซฟ (มกราคม ถึง ธันวาคม ๑๙๔๖) • ไม่ได้รับเลือกเป็นอัคราธิการเพราะมีอายุ ๗๓ ปีแล้ว • เดือนมิถุนายน ๑๙๔๖ เกตัง แบร์โนวิลล์พิมพ์หนังสือชื่อ “กรีญอง เดอ มงฟอร์ต สาวกด้านโรงเรียนและภราดาคณะเซนต์คาเบรียล” ออกมา

  30. ปัญหาผู้ตั้งของคณะปะทุขึ้นอีก เมื่อมงฟอร์ตได้รับการแต่งตั้งเป็นนักบุญในวันที่ ๒๐ กค. ๑๙๔๗ การดำเนินการติดต่อต่างๆ ของภราดาอานาสตาส ประสบผลสำเร็จในที่สุด ภราดาถูกส่งไปสอนเรียนที่บราซิลในปี ๑๙๔๙ ภราดาอัคราธิการองค์ที่ ๘ อานาสตาส

  31. ปี ๑๙๕๙ จำนวนภราดามี ๑,๓๗๒ คน กระตุ้นชีวิตฝ่ายจิต เขียนจดหมายเวียนรวมประมาณ ๑๕๐๐ หน้ากระดาษ เพื่อภราดาในคณะ ๑๙๕๔ ภราดาไปที่เซเนกัล ๑๙๕๗ ไปที่คองโกและอัฟริกากลาง ๑๙๖๑ ภราดาไปที่โคลัมเบีย และเปรูในปี ๑๙๖๒ ศูนย์กลางคณะที่โรมได้รับการเสกโดยคาร์ดินัลติสเซอรังในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๑๙๖๒ ๑๙๖๔ ภราดาไปที่คาเมรูน ภราดาอัคราธิการองค์ที่ ๙ คาเบรียล มารี

  32. ๑๙๗๑ จำนวนภราดามี ๑,๗๙๐ คน ภราดาชาวเบลเยี่ยม ๗ คนเป็นมรณะสักขีที่บูทา แซอีร์ ๑๙๖๕ ภราดาไปที่ราวันดา ข้อขัดแย้งระหว่างคณะสงฆ์มงฟอร์ตและคณะภราดาเซนต์คาเบรียลสิ้นสุดลงในปี ๑๙๖๘ ๑๙๗๑ เขียนธรรมนูญใหม่ขึ้นมา โดยแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ภาคกฎแห่งชีวิตและภาคธรรมนูญ ภราดาอัคราธิการองค์ที่ ๑๐ โรแม็ง ลังดรี (คานาดา) ๑๙๖๘ ภราดาไปที่ปาปัว นิวกีนี ๑๙๖๙ ที่โมริเชียส ๑๙๗๐ ไป ไฮติ และไปฟีจิ ปี ๑๙๗๓

  33. ๑๙๗๖ จำนวนภราดามี ๑,๔๑๘คน ๑๙๘๓ ภราดาไปที่แทนซาเนีย ธรรมนูญปัจจุบันได้รับการรับรองจากพระศาสนจักรในวันที่ ๒๘ เมษายน ๑๙๘๖ มีการจัดการแสวงบุญตามรอยคุณพ่อมงฟอร์ตครั้งแรกในปี ๑๙๗๘ (กค.) สำหรับภราดาชาวสเปน ๓๒ คนมีการปฏิบัติต่อมา มีการจัดสัมมนาผู้ฝึกอบรมที่โรม (22 ธค.-7 มก. 1987)แล้วมีคู่มือด้วย ภราดาอัคราธิการองค์ที่ ๑๑ ญาง บูลโต(1976-1988) อัคราธิการทั้ง ๓ คณะ ญาง บูลโต ขวาสุด

  34. ๑๙๘๘ จำนวนภราดามี ๑,๒๕๐ คน ภราดาไปตองกาปี ๑๙๘๙ และเคนยาปี ๑๙๙๒ ซิสเตอร์มารี หลุยส์ได้รับแต่งตั้งเป็นบุญราศีในปี ๑๙๙๓ กย. ๑๙๙๖ มีการสัมมนาด้านการศึกษาของมงฟอร์ตสำหรับทั้งคณะ สัมมนามงฟอร์ตสำหรับทั้ง ๓ คณะที่ศูนย์กลางแขวงประเทศไทย (ธค. 1998) เพื่อนำแนวคิดของ คพ. มงฟอร์ต มาประยุกต์เข้ากับวัฒนธรรมต่างๆ ภราดาอัคราธิการองค์ที่ ๑๒ ญาง ฟรีอัง

  35. ภราดาอัคราธิการองค์ที่ ๑๓ เรเน เดอลอม (2000-13)ชาวคานาดา • ปี ๒๐๐๐ จำนวนภราดามี ๑,๒๐๕ คน • ภ.ศิริชัย ฟอนซีกา ชาวไทยท่านแรก ได้รับเลือกเป็นผู้ช่วยอัคราธิการ (2000 – 2005) • ๒๐๐๒ ภราดาไปที่ฟิลิปปินส์ • ภ.อำนวย ยุ่นประยงค์ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการฝ่ายยุติธรรมและสันติและบูรณาการของสิ่งสร้างเพื่อประสานงานด้านนี้ของคณะกับแขวงต่างๆเป็นอธิการบ้านคนแรกที่ไม่ใช่ชาวยุโรป (2002-06) • ภ.พีรพงศ์ ดาราไทย ถูกขอตัวไปช่วยงานที่ศูนย์กลางคณะในตำแหน่งเลขานุการของอัคราธิการ ( 2004 – 2005) • สค. ปี ๒๐๐๒ มีการจัดสัมมนาฝ่ายการฝึกอบรมสำหรับคณะที่ศูนย์กลางแขวงประเทศไทย • ๒๐๐๗ แขวงเบลเยี่ยมและอิตาลีถูกยุบไปรวมกับแขวงฝรั่งเศส มีแขวงใหม่ในอัฟริกาและอินเดียถูกตั้งขึ้นมาใหม่

More Related