1 / 46

ดาราศาสตร์และอวกาศ

ดาราศาสตร์และอวกาศ. โลกในเอกภพ. ดาวฤกษ์เพื่อนบ้าน. ระบบสุริยะ. กาแล็กซีทางช้างเผือก. โลก. กระจุกกาแล็กซี. เอกภพ (จักรวาล). ซูเปอร์คลัสเตอร์.

Download Presentation

ดาราศาสตร์และอวกาศ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ดาราศาสตร์และอวกาศ

  2. โลกในเอกภพ ดาวฤกษ์เพื่อนบ้าน ระบบสุริยะ กาแล็กซีทางช้างเผือก โลก กระจุกกาแล็กซี เอกภพ (จักรวาล) ซูเปอร์คลัสเตอร์

  3. เอกภพ(Universe) เป็นระบบรวมของดาราจักรที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลมาก เชื่อกันว่าในเอกภพมีดาราจักรรวมอยู่ประมาณ 10,000,000,000 ดาราจักร (หมื่นล้านดาราจักร) ในแต่ละดาราจักรจะประกอบด้วยระบบของดาวฤกษ์ (Stars) กระจุกดาว (Star clusters) เนบิวลา (Nebulae) หรือหมอกเพลิง ฝุ่นธุลีคอสมิก (Cosmic dust) ก๊าซ และที่ว่างรวมกันอยู่

  4. กำเนิดเอกภพ(Big Bang) ทฤษฎี “บิกแบง” (Big Bang Theory) เป็นทฤษฎีทางดาราศาสตร์ที่กล่าวถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของจักรวาล ปัจจุบันเป็นทฤษฎีที่เป็นที่เชื่อถือและยอมรับมากที่สุด ทฤษฎีบิกแบงเกิดขึ้นจากการสังเกตของนักดาราศาสตร์ที่ว่า ขณะนี้จักรวาลกำลังขยายตัว ดวงดาวต่าง ๆ บนท้องฟ้ากำลังวิ่งห่างออกจากกันทุกที เมื่อย้อนกลับไปสู่อดีต ดวงดาวต่างๆ จะอยู่ใกล้กันมากกว่านี้ และเมื่อนักดาราศาสตร์คำนวณอัตราความเร็วของการขยายตัวทำให้ทราบถึงอายุของ จักรวาลและการคลี่คลายตัวของจักรวาล รวมทั้งสร้างทฤษฎีการกำเนิดจักรวาลขึ้นอีกด้วย ตามทฤษฎีนี้ จักรวาลกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ ๑๕,๐๐๐ ล้านปีที่แล้ว

  5. ก่อนการเกิดของจักรวาล ไม่มีมวลสาร ช่องว่าง หรือกาลเวลา จักรวาลเป็นเพียงจุดที่เล็กยิ่งกว่าอะตอมเท่านั้น และด้วยเหตุใดยังไม่ปรากฏแน่ชัด จักรวาลที่เล็กที่สุดนี้ได้ระเบิดออกอย่างรุนแรงและรวดเร็วในเวลาเพียงเศษ เสี้ยววินาที (Inflationary period) แรงระเบิดก่อให้เกิดหมอกธาตุซึ่งแสงไม่สามารถทะลุผ่านได้ (Plasma period) ต่อมาจักรวาลที่กำลังขยายตัวเริ่มเย็นลง หมอกธาตุเริ่มรวมตัวกันเป็นอะตอม จักรวาลเริ่มโปร่งแสง ในทางทฤษฎีแล้วพื้นที่บางแห่งจะมีมวลหนาแน่นกว่า ร้อนกว่า และเปล่งแสงออกมามากกว่า ซึ่งต่อมาพื้นที่เหล่านี้ได้ก่อตัวเป็นกลุ่มหมอกควันอันใหญ่โตมโหฬาร และภายใต้กฎของแรงโน้มถ่วง กลุ่มหมอกควันอันมหึมานี้ได้ค่อยๆ แตกออก จนเป็นโครงสร้างของ “กาแลกซี” (Galaxy) ดวงดาวต่าง ๆ ได้ก่อตัวขึ้นในกาแลกซี และจักรวาลขยายตัวออกอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

  6. นักดาราศาสตร์คำนวณว่าจักรวาลว่าประกอบไปด้วยกาแลกซีประมาณ ๑ ล้านล้านกาแลกซี และแต่ละกาแลกซีมีดาวฤกษ์อย่างเช่นดวงอาทิตย์อยู่ประมาณ ๑ ล้านล้านดวง และสุริยจักรวาลของเราอยู่ปลายขอบของกาแลกซีที่เรียกว่า “ทางช้างเผือก” (Milky Galaxy) และกาแลกซีทางช้างเผือกก็อยู่ปลายขอบของจักรวาลใหญ่ทั้งหมด เราจึงมิได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาลเลย

  7. ระบบสุริยะจักรวาล

  8. ดวงอาทิตย์ (Sun) ดวงอาทิตย์Ø=1,392,000 กิโลเมตร คาบการหมุนรอบตัวเอง บริเวณใกล้ศูนย์สูตร 35วัน คาบการหมุนรอบตัวเอง บริเวณใกล้ขั้วดาว25วัน คาบการโคจรรอบกาแล็กซี 220 ล้านปี ความหนาแน่น 1,410 กิโลกรัม / ลูกบาศก์เมตร มวลมากกว่าโลก 3 แสนเท่า ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยไฮโดรเจน 75% และฮีเลียม 25% (นับโดยมวล) ดาวฤกษ์ขนาดปานกลาง เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของระบบสุริยะ อุณหภูมิเฉลี่ยที่ผิว 5,500ºC อุณหภูมิเฉลี่ยที่ใจกลาง 15,000,000ºC จุดบนดวงอาทิตย์ พวยก๊าซ ดาวพุธ (Mercury) ดาวพุธØ=4,879 กม. ห่างจากดวงอาทิตย์ 0.387 AU คาบการหมุนรอบตัวเอง 58.7 วัน คาบการหมุนรอบดวงอาทิตย์ 88วัน พลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ 9,008 วัตต์/ตร.ม. อุณหภูมิเฉลี่ย 90ºCอุณหภูมิสูงสุด 350ºC อุณหภูมิต่ำสุด -170ºC ความหนาแน่น 5,430 กิโลกรัม / ลูกบาศก์เมตร มีมวลเป็น 0.06 เท่าของโลก พื้นที่ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาตมีพื้นที่ราบเรียบเพียงเล็กน้อย บรรยากาศบางมาก ในอดีตเคยมีภูเขาไฟระเบิด และกระบวนการเคลื่อนตัวของเปลือกดาว ไม่มีดวงจันทร์บริวาร ไม่มีวงแหวน พื้นผิว แอ่งที่ราบหลุมอุกกาบาต

  9. ดาวศุกร์ (Venus) ดาวศุกร์Ø=12,104 กม.ระยะทาง 0.723 AU คาบการหมุนรอบตัวเอง 243.01วัน (หมุนสวนทางโดยมีแกนเอียง 177º) คาบการหมุนรอบดวงอาทิตย์ 224.70 วัน พลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ 2,643 วัตต์/ตร.ม. อุณหภูมิเฉลี่ย 480ºC ความหนาแน่น 5,240 กิโลกรัม / ลูกบาศก์เมตร มวล 0.82 เท่าของโลก บรรยากาศหนาทึบเป็นสภาวะเรือนกระจก บรรยากาศส่วนใหญ่เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พื้นผิวเต็มไปด้วยภูเขาไฟระเบิด และกระบวนการเคลื่อนตัวของเปลือกดาว ไม่มีดวงจันทร์บริวาร ไม่มีวงแหวน ลาวาไหลจากภูเขาไฟ ก้อนหินบนพื้นผิว โลก(The Earth) โลก Ø=12,756 กม.ระยะจากดวงอาทิตย์ 1 AU คาบการหมุนรอบตัวเอง 23 ชั่วโมง 56นาที คาบการหมุนรอบดวงอาทิตย์ 1ปี พลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ 1,370 วัตต์/ตร.ม. อุณหภูมิเฉลี่ย 15ºCอุณหภูมิสูงสุด 51ºC อุณหภูมิต่ำสุด-21ºC ความหนาแน่น 5,520 กิโลกรัม / ลูกบาศก์เมตร โลกมีมวล = 6 ล้านล้านล้านล้านกิโลกรัม (6 x 1024 กิโลกรัม) ดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่มีน้ำดำรงอยู่ครบทั้ง 3 สถานะ บรรยากาศส่วนใหญ่เป็นก๊าซไนโตรเจน และออกซิเจน มีภูเขาไฟ และกระบวนการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก มีดวงจันทร์ 1 ดวง ไม่มีวงแหวน พื้นผิว ผืนน้ำและบรรยากาศแผ่นน้ำแข็ง

  10. ดาวอังคาร (Mars) ดาวอังคารØ=6,796 กม. ระยะทาง 1.52 AU คาบการหมุนรอบตัวเอง 24 ชั่วโมง 37 นาที คาบการหมุนรอบดวงอาทิตย์ 687 วัน (1.88 ปี) พลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ 603 วัตต์ / ตร.ม. อุณหภูมิสูงสุด 20ºC อุณหภูมิต่ำสุด -140ºC อุณหภูมิเฉลี่ย -60ºC ความหนาแน่น 3,940 กิโลกรัม / ลูกบาศก์เมตร มวล 0.38 เท่าของมวลโลก พื้นผิวคล้ายทะเลทราย มีร่องรอยว่าเคยมีน้ำไหลในอดีต บรรยากาศส่วนใหญ่เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีภูเขาไฟขนาดใหญ่ และร่องรอยการไหลของน้ำ เคยมีกระบวนการเคลื่อนตัวของเปลือกดาว มีดวงจันทร์บริวาร 2 ดวง ไม่มีวงแหวน พื้นผิว ร่องน้ำ แผ่นน้ำแข็ง ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) ดาวพฤหัสบดี Ø=142,984 กม. ระยะทาง 5.2 AU คาบการหมุนรอบตัวเอง 9 ชม. 50 นาที คาบการหมุนรอบดวงอาทิตย์ 11.9ปี พลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ 51 วัตต์ / ตร.ม. อุณหภูมิเฉลี่ย –110ºC ความหนาแน่น 1,330 กิโลกรัม / ลูกบาศก์เมตร มวลเท่ากับ 317.83 เท่าของมวลโลก บรรยากาศหนาทึบ เต็มไปด้วยพายุ ใต้ลงไปเป็น โลหะไฮโดรเจนเหลว ไม่มีพื้นผิวที่เป็นของแข็ง บรรยากาศส่วนใหญ่ ประกอบด้วยก๊าซไฮโดรเจนฮีเลียม และมีเทน มีดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 28+ ดวง มีวงแหวนล้อมรอบ พายุหมุนขนาดใหญ่ วงแหวน

  11. ดาวเสาร์ (Saturn) ดาวเสาร์Ø=120,536 กม.ระยะทาง 9.554 AU คาบการหมุนรอบตัวเอง 10 ชม.14 นาทีคาบการหมุนรอบดวงอาทิตย์ 29.4ปี พลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ 15 วัตต์ / ตร.ม. อุณหภูมิเฉลี่ย –180 ºC ความหนาแน่น 690 กิโลกรัม / ลูกบาศก์เมตร มวลเท่ากับ 95.16 เท่าของมวลโลก ดาวเคราะห์ก๊าซ ไม่มีพื้นผิวที่เป็นของแข็ง บรรยากาศส่วนใหญ่ ประกอบด้วยก๊าซไฮโดรเจนฮีเลียม และมีเทน มีดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 30+ ดวง มีวงแหวนล้อมรอบ พื้นผิว วงแหวน ดาวยูเรนัส(Uranus) ดาวยูเรนัสØ=51,118 กม.ระยะทาง 19.22 AU คาบการหมุนรอบตัวเอง 17.2ชั่วโมง (หมุนสวนทางโดยมีแกนเอียง 97.9º) คาบการหมุนรอบดวงอาทิตย์ 83.8 ปี พลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ 3.7 วัตต์ / ตร.ม. อุณหภูมิเฉลี่ย –218 ºC ความหนาแน่น 1,290 กิโลกรัม / ลูกบาศก์เมตร มวลเท่ากับ 14.5 เท่าของมวลโลก ดาวเคราะห์ก๊าซก๊าซมีเทนในบรรยากาศชั้นบนดูดกลืนแสงสีแดง ทำให้มองเห็นเป็นดาวสีฟ้า บรรยากาศประกอบด้วยไฮโดรเจนฮีเลียมและมีเทนจำนวนเล็กน้อย มีดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 21+ ดวง มีวงแหวนล้อมรอบ วงแหวน แถบเมฆของดาวยูเรนัส

  12. ดาวเนปจูน(Neptune) ดาวเนปจูนØ=49,528 กม.ระยะทาง 30.11 AU คาบการหมุนรอบตัวเอง 16.11 ชั่วโมง คาบการหมุนรอบดวงอาทิตย์ 163.73 ปี พลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ 1.5 วัตต์ / ตร.ม. อุณหภูมิเฉลี่ย –218 ºC ความหนาแน่น 1,640 กิโลกรัม / ลูกบาศก์เมตร มวลเท่ากับ 17.20 เท่าของมวลโลก ดาวเคราะห์ก๊าซ ซึ่งมีลมพัดแรงมากที่สุดในระบบสุริยะ 2,000 กิโลเมตร / ชั่วโมง บรรยากาศเต็มไปด้วยไฮโดรเจน ฮีเลียมและมีเทนจำนวนเล็กน้อย มีดวงจันทร์ที่ค้นพบแล้ว 8+ ดวง มีวงแหวนล้อมรอบ จุดมืดใหญ่กลุ่มเมฆขาววงแหวน

  13. เครื่องมือพื้นฐานทางดาราศาสตร์เครื่องมือพื้นฐานทางดาราศาสตร์

  14. จากอดีต ที่มนุษย์ใช้เพียงตาเปล่าในการเฝ้ามองท้องฟ้า

  15. จนกระทั่งปี ค.ศ. 1609 ที่กาลิเลโอได้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์และใช้ส่องท้องฟ้า

  16. ต่อมานิวตันก็ได้สร้างกล้องที่ใช้กระจกขึ้นมาต่อมานิวตันก็ได้สร้างกล้องที่ใช้กระจกขึ้นมา

  17. หลักการของกล้องโทรทรรศน์หลักการของกล้องโทรทรรศน์

  18. เนื่องจากบรรยากาศของโลก ทำให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านเข้ามาสู่พื้นได้เพียงบางความยาวคลื่นเท่านั้น

  19. 1. สะสมแสงจากวัตถุท้องฟ้า 2. เพิ่มขนาดเชิงมุมของวัตถุท้องฟ้าและเพิ่มกำลังแยกภาพ 3. ใช้วัดตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า หน้าที่หลักของกล้องโทรทรรศน์

  20. การสะสมแสง กล้องขนาดใหญ่จะรับแสงได้มากกว่ากล้องขนาดเล็ก

  21. การเพิ่มขนาดเชิงมุมจากกำลังขยายของกล้อง ทำให้เห็นวัตถุใหญ่กว่าความจริง

  22. เพิ่มกำลังแยกภาพ กล้องขนาดใหญ่มีกำลังแยกภาพมากกว่ากล้องเล็ก

  23. กำลังแยกภาพ ในการแยกดาวคู่ แยกได้ แยกไม่ได้

  24. 1. กล้องโทรทรรศน์หักเหแสง 2. กล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสง 3. กล้องโทรทรรศน์วิทยุ 4. กล้องโทรทรรศน์อวกาศ กล้องโทรทรรศน์ชนิดต่างๆ

  25. กล้องหักเหแสง

  26. กล้องหักเหแสง

  27. เป็นอุปกรณ์ที่สามารถขยาย วัตถุที่อยู่ในระยะไกล กาลิเลโอ เป็นบุคคลแรกที่ประดิษฐ์กล้องชนิดนี้ขึ้น ประกอบด้วยเลนซ์นูนอย่างน้อยสองชิ้น คือ เลนซ์วัตถุ (Object Lens)เป็นเลนซ์ด้านรับแสงจากวัตถุ ซึ่งจะมีความยาวโฟกัสยาว (Fo) และเลนซ์ตา (Eyepieces) เป็นเลนซ์ที่ติดตาเราเวลามอง ซึ่งมีความยาวโฟกัสสั้น (Fe) กว่าเลนซ์วัตถุมากๆ อัตราการขยายของกล้อง = ความยาวโฟกัสเลนซ์วัตถุ Fo ความยาวโฟกัสเลนซ์ตา Fe

  28. หลักการของกล้องโทรทัศน์ชนิดหักเหแสง เลนซ์วัตถุจะรับแสงจากวัตถุที่ระยะไกลๆแล้วจะเกิดภาพที่ตำแหน่งโฟกัส(Fo) เสมอแล้ว เลนซ์ตัวที่สอง หรือ เลนซ์ตา (Fe) จะขยายภาพจากเลนซ์วัตถุอีกครั้ง ซึ่งต้องปรับระยะของเลนซ์ตา เพื่อให้ภาพจากเลนซ์วัตถุที่ตำแหน่ง Foอยู่ใกล้กับ โฟกัสของ เลนซ์ตา Fe และทำให้เกิดภาพชัดที่สุด โครงสร้างภายในของกล้องแบบหักเหแสง ที่เลนซ์วัตถุมักจะให้เลนซ์สองแบบที่ทำมาจากวัสดุคนละประเภท เพื่อลดอาการคลาดสี

  29. ข้อดีของกล้องแบบหักเหแสง1. เป็นกล้องพื้นฐานที่สร้างได้ไม่ยากนัก 2. โดยทั่วไปจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยๆจึงมีน้ำหนักเบาข้อเสียของกล้องแบบหักเหแสง1. เนื่องจากมีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อย ทำให้ปริมาณการรับแสงน้อยไม่เหมาะใช้ดูวัตถุไกลๆอย่าง กาแลกซีและเนบิวล่า2. ใช้เลนซ์เป็นตัวหักเหแสง ทำให้เกิดการคลาดสีได้หากใช้เลนซ์คุณภาพไม่ดีพอ จึงต้องมีการใช้เลนซ์ หลายชิ้นประกอบกันทำให้มีราคาสูง 3. ภาพที่ได้จากกล้องแบบหักเหแสงจะให้ภาพหัวกลับและกลับซ้ายขวา คืออ่านตัวหนังสือไม่ได้นั่นเอง ดังนั้นกล้องแบบนี้จะต้องมี diagonal prism เพื่อช่วยแก้ไขภาพ

  30. กล้องสะท้อนแสง

  31. กล้องสะท้อนแสง

  32. หลักการของกล้องโทรทัศน์ชนิดสะท้อนแสง กล้องจะรับแสงที่เข้ามากระทบกับกระจกเว้าที่อยู่ท้ายกล้องที่เราเรียกว่า Primary Mirror แล้วรวมแสง สะท้อนกับกระจกระนาบหรือ ปริซึม เราเรียกว่า Secondary Mirror ที่อยู่กลางลำกล้อง เข้าสู่เลนซ์ตาขยายภาพอีกทีหนึ่ง อัตราขยายของกล้อง = ความยาวโฟกัสของกระจกเว้า / ความโฟกัสของเลนซ์ตา โครงสร้างภายในของกล้องแบบนิวโทเนียน หรือ กล้องแบบสะท้อนแสง

  33. ข้อดีของกล้องชนิดนี้ 1. ใช้กระจกเว้าเป็นตัวรวมแสง ทำให้สามารถสร้างขนาดใหญ่มากๆได้ ซึ่งจะมีราคาถูกกว่าเลนซ์ที่มีขนาดเท่ากัน 2. โดยทั่วไปกล้องชนิดนี้จะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-6 นิ้วขึ้นไป ทำให้มีการรวมแสงได้มากเหมาะที่จะใช้สังเกตวัตถุระยะไกลๆ เช่น กาแลกซี เนบิวลา เพราะมีความเข้มแสงน้อยมาก3. ภาพที่ได้จากกล้องแบบสะท้อนแสง จะไม่กลับภาพซ้ายขวาเหมือนกล้องแบบหักเหแสง แต่การมองภาพอาจจะ หัวกลับบ้าง ขึ้นอยู่กับลักษณะการมองจากกล้องเพราะเป็นการมองที่หัวกล้อง ไม่ใช่ที่ท้ายกล้อง เหมือนกล้องแบบหักเหแสงข้อเสียของกล้องชนิดนี้ 1. การสร้างนั้นยุ่งยากซับซ้อนมาก 2. มีกระจกบานที่สองสะท้อนภาพอยู่กลางลำกล้อง ทำให้กีดขวางทางเดินของแสง หากเส้นผ่านศูนย์กลาง กล้องเล็กมากๆ ดังนั้นกล้องแบบสะท้อนแสงนี้จะมักมีขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 4.5 นิ้วขึ้นไป

  34. กล้องโทรทรรศน์วิทยุ กล้องโทรทรรศน์วิทยุ เป็นอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ ใช้บันทึกและวัดสัญญาณคลื่นวิทยุจากวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ กล้องโทรทรรศน์วิทยุต่างจากกล้องโทรทรรศน์เชิงแสงตรงที่ปฏิบัติงานในความถี่ของคลื่นวิทยุที่ความยาวคลื่นตั้งแต่ 10 มิลลิเมตร ไปจนถึง 10-20 เมตร โดยทั่วไปจานเสาอากาศของกล้องโทรทรรศน์วิทยุจะมีรูปร่างเป็นพาราโบลา อาจอยู่เดี่ยว ๆ หรือประกอบกันเป็นแถวลำดับ ทำหน้าที่เปรียบเทียบได้กับกระจกของกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสง กล้องโทรทรรศน์วิทยุนำไปสู่การค้นพบวัตถุใหม่และปรากฏการณ์ เช่น เควซาร์พัลซาร์ และไมโครเวฟพื้นหลัง

  35. กล้องโทรทรรศน์อวกาศ กล้องโทรทรรศน์อวกาศ คืออุปกรณ์สำหรับการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่อยู่ในอวกาศภายนอกในระดับวงโคจรของโลก เพื่อทำการสังเกตการณ์ดาวเคราะห์อันห่างไกล ดาราจักร และวัตถุท้องฟ้าต่างๆ ที่ช่วยให้มนุษย์ทำความเข้าใจกับจักรวาลได้ดีขึ้น การสังเกตการณ์ในระดับวงโคจรช่วยแก้ปัญหาทัศนวิสัยในการสังเกตการณ์บนโลกที่มีอุปสรรคต่างๆ เช่น การแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในชั้นบรรยากาศ เป็นต้น นอกจากนี้การถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้ายังสามารถทำได้ที่ความยาวคลื่นต่างๆ กัน ซึ่งบางอย่างไม่สามารถทำได้บนผิวโลก

  36. กล้องโทรทรรศน์อวกาศ กล้องโทรทรรศน์อวกาศ คืออุปกรณ์สำหรับการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่อยู่ในอวกาศภายนอกในระดับวงโคจรของโลก เพื่อทำการสังเกตการณ์ดาวเคราะห์อันห่างไกล ดาราจักร และวัตถุท้องฟ้าต่างๆ ที่ช่วยให้มนุษย์ทำความเข้าใจกับจักรวาลได้ดีขึ้น การสังเกตการณ์ในระดับวงโคจรช่วยแก้ปัญหาทัศนวิสัยในการสังเกตการณ์บนโลกที่มีอุปสรรคต่างๆ เช่น การแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในชั้นบรรยากาศ เป็นต้น นอกจากนี้การถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้ายังสามารถทำได้ที่ความยาวคลื่นต่างๆ กัน ซึ่งบางอย่างไม่สามารถทำได้บนผิวโลก

  37. กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (HubbleSpaceTelescope) คือ กล้องโทรทรรศน์ในวงโคจรของโลกที่กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีนำส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1990 ตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ เอ็ดวินฮับเบิลกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลไม่ได้เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวแรกของโลก แต่มันเป็นหนึ่งในเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การศึกษาดาราศาสตร์ที่ทำให้นักดาราศาสตร์ค้นพบปรากฏการณ์สำคัญต่าง ๆ อย่างมากมาย กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างองค์การนาซาและองค์การอวกาศยุโรปโดยเป็นหนึ่งในโครงการหอดูดาวเอกขององค์การนาซาที่ประกอบด้วย กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล กล้องรังสีแกมมาคอมป์ตันกล้องรังสีเอกซ์จันทราและกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์

More Related