1 / 46

นางในวรรณคดี

นางในวรรณคดี. โดย ครูณัฐญา กาลันสีมา ครู คศ. ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนถ้ำ ปินวิ ทยาคม สพท. พะเยา เขต ๑. เข้าสู่บทเรียน. นางในวรรณคดี. เลือกเรื่องที่ต้องการศึกษาได้เลยค่ะ. นางมโนราห์. นาง มัท นา. นางอันโดรเมดา. นางตะเภาทอง. นาง ไอ่ คำ. พระเพื่อนพระแพง. นางรจนา.

Download Presentation

นางในวรรณคดี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. นางในวรรณคดี โดย ครูณัฐญา กาลันสีมา ครู คศ.๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนถ้ำปินวิทยาคม สพท.พะเยา เขต ๑ เข้าสู่บทเรียน

  2. นางในวรรณคดี เลือกเรื่องที่ต้องการศึกษาได้เลยค่ะ นางมโนราห์ นางมัทนา นางอันโดรเมดา นางตะเภาทอง นางไอ่คำ พระเพื่อนพระแพง นางรจนา นางศกุนตรา นางละเวงวัณฬา นางบุษบา นางลำหับ นางปทุมวดี แบบฝึกหัด ออกจากบทเรียน

  3. นางมโนราห์(นางผู้มีความรักและการพลัดพราก)จากวรรณคดีเรื่อง พระสุธน มโนราห์ นิทานพื้นบ้านของไทยที่นำมาจากชาดก เป็นวรรณกรรมสมัยอยุธยา ไม่ทราบผู้แต่ง นำเค้าเรื่องเดิมมาจาก ปัญญาสชาดก ที่เรียกว่า "สุธนชาดก" และได้นำมาทำเป็นบทละคร เรื่องนางมโนห์ราในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เป็นวรรณคดีประกอบละครนอก เป็นเรื่องความรักแท้ที่ไม่ยอมแพ้แก่อุปสรรคใดๆ และด้วยสัญญาแห่งความรักที่มั่นคง ถึงแม้จะต่างเผ่าพันธุ์แต่อยู่ด้วยกันได้ ด้วยความเห็นอกเห็นใจเอื้ออาทรต่อกัน ระหว่างพระสุธน ซึ่งเป็นมนุษย์ กับนางมโนราห์ ซึ่งเป็นกินรี ที่พรานบุญจับมาถวาย ตอนเด่นของเรื่องเป็นตอนที่นางมโนราห์ถูกกลั่นแกล้งใส่ความจนต้องถูกจับไปบูชายัญ แต่นางหลอกขอปีกขอหางบินหนีรอดไปได้ เมื่อพระสุธนกลับมารู้ข่าวก็รีบตามนางไปแม้หนทางนั้นจะยากลำบากในที่สุดก็สามารถตามนางคืนมาได้ เมนู

  4. นางมโนราห์ หน้าที่ ๒ พระเจ้าอาทิตยวงศ์ กษัตริย์แห่งเมืองปัญจาลนคร มีมเหสีชื่อพระนางจันทราเทวี มีพระราชโอรส นามว่า " พระสุธน " วันหนึ่งนายพรานบุณฑริกพบนางกินนรพี่น้องเจ็ดตนมาเล่นน้ำที่สระอโนดาต นายพรานแอบเก็บปีกหางของนางกินนรไว้ชุดหนึ่ง เมื่อนางกินนรทั้งเจ็ดเมื่อเล่นน้ำเสร็จก็กลับขึ้นมาใส่ปีกใส่หาง นางมโนห์ราน้องสาวคนสุดท้องหาปีกหาหางของตนไม่พบจึงไม่สามารถบินกลับได้ พี่ ๆ ทั้งหกก็จำต้องทิ้งนางไป พรานบุณฑริกจึงนำบ่วงมาคล้องนางและนำไปถวายพระสุธน พระเจ้าอาทิตยวงศ์และนางจันทราเทวีก็จัดงานอภิเษกสมรสพระสุธนกับนางมโนห์ราต่อมาพระสุธนต้องยกทัพไปปราบข้าศึก ทำให้พราหมณ์ปุโรหิตที่แค้นพระสุธนเพ็ดทูลว่านางมโนห์ราเป็นกาลกิณี ควรจะจัดบูชายัญเพื่อให้บ้านเมืองเป็นสุข พระเจ้าอาทิตยวงศ์จำพระทัยจัดพิธีบูชายัญ นางมโนห์ราเมื่อทราบก็ยินยอม แต่ขอปีกขอหางมาประดับเพื่อร่ายรำบูชา นางมโนห์ราร่ายรำแล้วบินหนีบินกลับไปยังเขาไกรลาสถิ่นที่อยู่ ระหว่างทางนางได้แวะมากราบพระฤๅษีกัสสปในป่า และฝากผ้ากัมพลและพระธำมรงค์ไว้ให้พระสุธน และได้ฝากความไปถึงพระสุธนว่าไม่ควรตามนางไปเพราะหนทางยากลำบากมาก แต่ถ้าพระสุธนยังดื้อดึงที่จะไปก็ขอให้มอบยาผงนี้ให้แก่พระสุธน และให้บอกวิธีการติดตามไปอย่างปลอดภัยให้ไว้แล้วนางมโนห์ราก็กราบลาพระฤาษีบินกลับไปยังเขาไกรลาส เมนู

  5. พระสุธนเมื่อกลับพระนคร พอรู้ว่านางมโนห์ราบินหนีไปแล้วก็เสียพระทัยมาก และออกติดตามนางมโนห์รา พระสุธนเดินทางไปพบพระฤๅษีกัสสปและได้ทราบความที่นางฝากไว้ พระสุธนมิได้ย่อท้อ ออกเดินทางและปฎิบัติตามที่นางบอกไว้ทุกประการ พระสุธนเดินทางเช่นนี้เป็นเวลาถึงเจ็ดปี เจ็ดเดือน เจ็ดวัน พอถึงวันที่เจ็ดก็มาถึงเขาไกรลาส พระสุธนจึงซ่อนตัวอยู่ที่ใต้ต้นไม้ริมสระน้ำ ไม่ช้าก็มีนางกินรีบริวารถือหม้อทองคำมาตักน้ำที่สระ พอถึงคนสุดท้ายพระสุธนก็บันดาลให้นางยกหม้อทองคำไม่ขึ้น แล้วออกมาช่วยยกให้และได้แอบใส่พระธำรงค์ลงในหม้อน้ำระหว่างสรงน้ำ พระธำรงค์ก็หล่นลงมากับสายน้ำ นางมโนห์รายกมือขึ้นลูบหน้าแหวนธำรงค์ก็สวมเข้าที่นิ้วก้อยพอดี นางทราบทันทีว่าพระสุธนตามมาถึงแล้ว นางมโนห์ราก็นำความทูลท้าวทุมราช จึงให้พระสุธนมาเข้าเฝ้าและให้แสดงฝีมือยิงธนู และทดสอบโดยให้พระธิดาทั้งเจ็ดพระองค์แต่งกายงดงามเหมือนกันและมานั่งสลับกันอยู่ ท้าวทุมราชให้พระสุธนชี้นางมโนห์ราให้ถูกต้อง ธิดาทั้งเจ็ดองค์เหมือนกันมากจนยากที่จะชี้ตัวได้ พระอินทร์จึงแปลงกายเป็นแมลงวันทองบินรอบศีรษะนางมโนห์รา พระสุธนชี้นางมโนห์ราได้ถูก ท้าวทุมราชจึงจัดงานอภิเษกพระสุธนกับนางมโนห์รา แล้วพระสุธนก็ขอลาท้าวทุมราชพานางมโนห์รากลับไปเมืองปัญจาลนคร พระอาทิตยวงศ์ดีพระทัยเป็นอย่างยิ่ง จัดการตกแต่งพระนคร และทำการอภิเษกพระสุธนกับนางมโนห์ราให้ครองราชสมบัติเมืองปัญจาลนครสืบต่อไป เมนู

  6. นางมัทนา(นางฟ้าผู้เกิดเป็นดอกกุหลาบ)จากวรรณคดีเรื่อง มัทนพาธา ตำนานดอกกุหลาบ บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ทรงพระราชนิพนธ์ถึงตำนานการกำเนิดแห่งดอกกุหลาบ และวรรณคดีสโมสรได้ยกย่องว่าเป็นยอดแห่งบทละครคำฉันท์ เป็นบทละครพูดซึ่งแปลกและแต่งได้ยาก เป็นวัฒนธรรมภารตะโบราณและเข้ากับเนื้อเรื่องได้ดี “ความรักเหมือนโรคา บันดาลตาให้มืดมนไม่ยินและไม่ยล อุปสรรค ธ ใดใดความรักเหมือนโคถึก กำลังคึกผิขังไว้ก็โลดออกจากคอกไป บ่ ยอมอยู่ ณ ที่ขังถึงหากจะผูกไว้ ก็ดึงไปด้วยกำลังยิ่งห้ามก็ยิ่งคลั่ง บ่ หวนคิดถึงเจ็บกาย” เมนู

  7. มัทนะพาธา...มัทนา มาจากศัพท์ มทนะ แปลว่า ความลุ่มหลงหรือความรัก มัทนะพาธา จึงมีความหมายถึงความเจ็บปวดและความเดือนร้อนเพราะความรัก...เรื่องมัทนะพาธาใช้คำประพันธ์หลายชนิดแต่เน้นแต่งด้วยฉันท์ บางตอนใช้กาพย์ยานี กาพย์ฉบังหรือกาพย์สุรางคนางค์ และมีบทเจรจาร้อยแก้วในส่วนของตัวละครที่ไม่สำคัญ ทำให้มีลีลาภาษาที่หลากหลาย ตอนใดดำเนินเรื่องรวดเร็วก็ใช้ร้อยแก้ว ตอนใดต้องการจังหวะเสียงและความคล้องจองก็ใช้กาพย์ และตอนใดที่เน้นอารมณ์มากก็มักใช้ฉันท์ เช่น ตอนที่สุเทษณ์ตัดพ้อและมัทนาเจรจาตอบใช้วสันตดิลก แสดงจังหวะรวดเร็วของถ้อยคำเสริมให้คารมโต้ตอบกันมีลีลาฉับไวและทันกัน เมนู

  8. มัทนะพาธาเป็นเรื่องที่สมมุติว่าเป็นกำเนิดของต้นกุหลาบ กล่าวถึงสุเทษณ์หลงรักมัทนา แต่มัทนาไม่รับรัก สุเทษณ์จึงกริ้ว มัทนาต้องลงมาเกิดในโลกมนุษย์เป็นการชดใช้โทษ เมื่อพบรักกับชัยเสน ความรักก็ไม่ราบรื่นเพราะมีอุปสรรคคือนางจันฑีมัทนาต้องถูกพรากไปจากชัยเสน และได้พบสุเทษณ์อีกครั้งหนึ่ง แต่มัทนาก็ยังไม่เปลี่ยนใจจากชัยเสนมารักสุเทษณ์ เรื่องจึงจบด้วยความสูญเสีย สุเทษณ์ไม่สมหวังในความรัก ชัยเสนสูญเสียคนรัก และมัทนาต้องเปลี่ยนสภาพมาเป็นเพียงดอกกุหลาบ“สุเทษณ์ รักจริงมีจริง ฤก็ ไฉน อรไท บ่ แจ้งการมัทนา รักจริงมีจริง ก็สุระ ชาญ ชยะโปรด สถานใดสเทษณ์ พี่รักและหวัง วธุ จะรัก และบ ทอด บ ทิ้งไปมัทนา พระรักสมัคร ณ พระ หทัย ฤ จะทอด จะทิ้งเสียสุเทษณ์ ความรักละเหี่ย อุระ ระทด เพราะมิอาจ จะคลอเคลียมัทนา ความรักระทด อุระ ละเหี่ย ฤ จะหาย เพราะเคลียคลอสุเทษณ์ โอ้โอ๋กระไรนะ มะ ทะนา บ มิตอบ พะจี พอมัทนา โอ้โอ๋กระไร อะม ระง้อ มะทะนา มิพอดี” เมนู

  9. เนื้อเรื่องเทพบุตรสุเทษณ์หลงรักเทพธิดามัทนา แต่นางไม่ปลงใจด้วย สุเทษณ์จึงขอให้วิทยาธรมายาวินใช้เวทมนตร์สะกดเรียกนางมา มัทนาเจรจาตอบสุเทษณ์อย่างคนไม่รู้สึกตัว สุเทษณ์จึงไม่โปรด เมื่อขอให้มายาวินคลายมนตร์ มัทนาก็รู้สึกตัวและตอบปฏิเสธ สุเทษณ์ สุเทษณ์โกรธ จึงสาปให้เธอจุติไปเกิดบนโลกมนุษย์ มัทนาขอไปเกิดเป็น ดอกกุหลาบ สุเทษณ์กำหนดว่า ให้ดอกกุหลาบดอกนั้นกลายเป็นมนุษย์เฉพาะวันเพ็ญเพียงวันและคืนเดียว ต่อเมื่อมีความรักจึงจะพ้นสภาพจากเป็นดอกไม้ และหากเป็นความทุกข์เพราะความรักก็ให้วิงวอนต่อพระองค์ พระองค์จะช่วย เมนู

  10. ฤษีกาละทรรศินพบต้นกุหลาบจึงขุดไปปลูกไว้ที่อาศรม เมื่อมัทนากลายเป็นมนุษย์ก็เลี้ยงดูรักใคร่เหมือนลูก ท้าวชัยเสนกษัตริย์แห่งเมืองหัสตินาปุระเสด็จไปล่าสัตว์ ได้พบนางมัทนาก็เกิดความรัก มัทนาก็มีใจเสน่หาต่อชัยเสนด้วยเช่นกัน ทั้งสองจึงสาบานรักต่อกัน และมัทนาไม่ต้องกลับไปเป็นกุหลาบอีก แต่เมื่อชัยเสนพามัทนาไปยังเมืองหัสตินาปุระของพระองค์ พระนางจัณฑีมเหสีของชัยเสนหึงหวงและแค้นใจมาก นางขอให้พระบิดาซึ่งเป็นพระราชาแคว้นมคธยกทัพมาตีหัสตินาปุระ จัณฑียังใช้ให้นางค่อมข้าหลวงทำกลอุบายว่า มัทนารักกับศุภางค์ทหารเอกของชัยเสน ชัยเสนหลงเชื่อจึงสั่งให้ประหารมัทนาและศุภางค์ แต่ต่อมาเมื่อชัยเสนรู้ว่ามัทนาและศุภางค์ไม่มีความผิดก็เสียใจมาก อำมาตย์เอกจึงทูลความจริงว่ายังมิได้สังหารนาง และศิษย์ของพระกาละทรรศินได้พานางกลับไปอยู่ในป่าหิมะวันแล้ว ส่วนศุภางค์ก็เป็นอิสระเช่นกัน และได้ออกต่อสู้กับข้าศึกจนตายอย่างทหารหาญ ชัยเสนจึงเดินทางไปรับนางมัทนา ขณะนั้นมัทนาทูลขอให้สุเทษณ์รับนางกลับไปสวรรค์ สุเทษณ์ขอให้นางรับรักตนก่อน แต่มัทนายังคงปฏิเสธ สุเทษณ์กริ้วจึงสาปให้มัทนาเป็นกุหลาบตลอดไป ชัยเสนมาถึงแต่ก็ไม่ทันการณ์ จึงได้แต่นำต้นกุหลาบกลับไปยังเมืองหัสตินาปุระ เมนู

  11. นางอันโดรเมดา(พระธิดาแห่งเกาะอัลฟาเบดา)จากวรรณคดีเรื่อง วิวาหพระสมุท บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว บทละครพูดสลับ... ทรงพระราชนิพนธ์บทร้องขึ้นให้ร้องแทรกในการแสดงละครพูดเพื่อการเล่นละครเวทีแบบฝรั่ง เป็นเรื่องราวของความรักที่ได้มาด้วยสติปัญญา มีคติและคำกลอนสอนใจที่เป็นที่คุ้นเคยตราบจนปัจจุบัน เช่นปากเป็นเอกเลขเป็นโทโบราณว่า หนังสือกวีมีปัญญาไม่เสียหลายถึงรู้มากไม่มีปากลำบากกาย มีอุบาย พูดไม่เป็นเห็นป่วยการฯอันโดรเมดา สุดาสวรรค์ ยิ่งกว่า ชีวัน เสน่หาขอเชิญสาวสวรรค์ ขวัญฟ้า เปิดวิมาน มองมา ให้ชื่นใจถึงกลางวัน สุริยัน แจ่มประจักษ์ ไม่เห็นหน้า นงลักษณ์ ยิ่งมืดใหญ่ถึงราตรี มีจันทร์ อันอำไพ ไม่เห็นโฉม ประโลมใจ ก็มืดมนอ้าดวง สุรีย์ศรี ของพี่เอย ขอเชิญเผย หน้าต่าง นางอีกหนขอเชิญ จันทร์ส่อง สว่างกลางสากล เยื่ยมมาให้ พี่ยล เยือกอุรา เมนู

  12. เนื้อเรื่อง ท้าวมิดัสผู้ครองนครอัลฟาเบตามีธิดาชื่อ อันโดรเมดา ซึ่งอันเดร เจ้าต่างนครหลงรัก แต่อันเดรมีคู่แข่งคือ คอนสตันติโน๊ส ที่ออกอุบายให้เต๊กหลีกุ๊กในเรือรบเป็นตัวแทนของพระสมุทมาทวงส่วย ด้วยการให้เจ้าหญิงอันโดรเมดาเป็นส่วยไปสมรสกับพระสมุท หรือ กับผู้ที่พระสมุทให้เป็นตัวแทน โดยให้เต๊กหลีชี้ตัวคอนสตันติโน๊สว่าเป็นผู้แทนพระสมุท ข้อนี้นาวาเอกไลออนแก้ได้โดยอ้างว่า กองทัพเรืออังกฤษเป็นเจ้าทะเล ย่อมเป็นทูตของพระสมุท ที่มีสิทธิชี้ตัวผู้แทนพระสมุทได้ ฝ่ายเจ้าชายอันเดรจึงมีชัยชนะในที่สุด เมนู

  13. นางตะเภาทอง(หญิงงามแห่งเมืองพิจิตร)จากวรรณคดีเรื่อง ไกรทอง มาจากนิทานพื้นบ้านภาคกลาง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทละครนอก นางตะเภาทองเป็นสาวงามลูกเศรษฐีเมืองพิจิตร มีพี่สาวฝาแผด ชื่อ นางตะเภาแก้ว เมื่อคราวพญาจระเข้ชื่อ ชาละวัน ออกอาละวาดในแม่น้ำ ได้คาบตัวนางตะเภาทองไป เศรษฐีผู้พ่อจึงประกาศหาคนช่วยปราบชาละวันและพาตะเภาทองกลับมา ถ้าทำสำเร็จจะยกลูกสาวทั้งสองคนให้พร้อมยกสมบัติให้ครึ่งหนึ่ง ในที่สุดได้ไกรทองอาสามาปราบจนสำเร็จ เมนู

  14. เนื้อเรื่อง มีถ้ำอยู่ในแม่น้ำแห่งหนึ่ง ภายในถ้ำมีพญาจระเข้ตัวหนึ่งชื่อ พญาชาละวัน มีนางจระเข้สองตัวเป็นภรรยา คือ นางวิมาลา และนางเลื่อมลายวรรณ สามารถจะกลายร่างเป็นมนุษย์ได้ พญาชาละวันมีนิสัยดุร้าย และชอบกินเนื้อมนุษย์ไม่เหมือนกับจระเข้ที่เป็นปู่ คือท้าวรำไพที่ถือศิลภาวนาไม่กินสิ่งมีชีวิต วันหนึ่ง พญาชาละวันออกมาจากถ้ำเพื่อหาเนื้อมนุษย์กินเป็นอาหาร ได้ว่ายตามน้ำมาจนถึงท่าน้ำเมืองพิจิตร ได้พบสองสาวพี่น้อง ตะเภาแก้วและตะเภาทอง บุตรสาวเจ้าเมืองพิจิตรเล่นน้ำอยู่ในแม่น้ำหน้าบ้านของตนอยู่พอดี ความงามของตะเภาทอง เป็นที่ต้องตาต้องใจจึงเข้าไปคาบนางไปสู่ถ้ำของตนแล้วกลายร่างเป็นชายหนุ่มรูปงาม และเกี้ยวพาราสีนางจนนางหลงรักและตกเป็นภรรยาคนที่สาม ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันระหว่างภรรยาทั้งสามในขณะเดียวกันเจ้าเมืองพิจิตรได้ป่าวประกาศหาคนที่สามารถสังหารจระเข้และนำลูกสาวกลับมาในขณะมีชีวิตได้ จะได้แต่งงานกับนางและได้ส่วนแบ่งในทรัพย์สมบัติของตน "ไกรทอง" เป็นชายหนุ่มอายุ 18 ปีเป็นชาวเมืองนนทบุรีได้อาสาปราบชาละวันเพราะได้เล่าเรียนวิชาอาคมมีความชำนาญในการปราบจระเข้และสามารถระเบิดน้ำเป็นทางเดินเข้าไปได้ ไกรทองมีของวิเศษ 3 อย่างที่อาจารย์ให้ไว้ คือ เทียนชัย มีดหมอลงอาคม และหอกสัตตะโลหะ เพื่อใช้ปราบจระเข้ เมนู

  15. คืนนั้นพญาชาลาวันฝันไม่ดี จึงรีบไปปรึกษาปู่ คือท้าวรำไพผู้ซึ่งรู้ว่าหลานของตนกำลังชะตาขาด จึงให้ชาละวันจำศีลอยู่ในถ้ำเป็นเวลา 7 วัน ชาละวันเกิดความกลัวจึงสั่งให้บริวารจระเข้นำหินมาปิดปากถ้ำไว้อย่างแน่นหนา และเริ่มถือศีล ไกรทองได้ต่อแพลอยลงน้ำและประกอบพิธีเรียกชาละวันมาต่อสู้ เมื่อสุดจะทนชาละวันจึงแผลงฤทธิ์พังประตูถ้ำกลายเป็นจระเข้ใหญ่ ทั้งคู่ต่อสู้กันจนในที่สุดชาลาวันก็เพลี่ยงพล้ำถูกแทงบาดเจ็บและหนีกลับไปยังถ้ำ ไกรทองจึงตามไปที่ถ้ำและได้เห็นวิมาลาจึงลวนลาม เพื่อยั่วให้ชาลาวันออกมาที่ซ่อน เสียงหวีดร้องของวิมาลาทำให้ชาลาวันออกมาจากที่ซ่อน แล้วถูกแทง ไกรทองสามารถช่วยตะเภาทองได้ เจ้าเมืองพิจิตรจึงมอบรางวัลให้ไกรทองตามสัญญาพร้อมกับยกลูกสาว อีกคนหนึ่งคือตะเภาแก้วให้เป็นภรรยาของไกรทองด้วย ไกรทองจึงได้สองพี่น้องเป็นภรรยาพร้อมกับสมบัติอีกส่วนหนึ่งจากท่านเจ้าเมือง ทั้งสามจึงใช้ชีวิตอยู่ในเมืองพิจิตรอย่างมีความสุข เมนู

  16. นางไอ่คำ(ธิดาพระยาขอม)จากนิทานพื้นบ้านเรื่อง ผาแดงนางไอ่ นิทานท้องถิ่นอีสาน ที่สืบทอดกันมาตามตำนานเล่าขานสืบต่อมา มูลเหตุที่ทำให้เกิด "หนองหาน" เป็นวรรณคดีพื้นบ้านที่กล่าวถึงการทำบุญบั้งไฟ วัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ของชาวอีสาน นางไอ่คำมีสิริโฉมงดงามเป็นที่เลื่องลือไปในนครต่างๆ ทั้งโลกมนุษย์และบาดาลจึงมีชายหนุ่มหมายปองมากมาย รวมทั้งท้าวผาแดงแห่งเมืองตาโพง และท้าวพังคี โอรสพญาสุทโธนาค เมืองบาดาล ซึ่งทั้งสองได้ผูกพันกับนางไอ่คำมาตั้งแต่อดีตชาติ ต่างช่วงชิงได้เคียงคู่กับนาง แต่ท้าวทั้งสองก็ต้องพลาดหวังเพราะแข่งขันบั้งไฟแพ้ ด้วยความรักและต้องการตัวนางไอ่คำ ท้างพังคีได้แปลงกายเป็นกระรอกเผือกคอยติดตามนางไอ่คำ สุดท้ายถูกฆ่าตาย ทำให้พญาสุทโธนาคผู้เป็นพ่อโกรธแค้นเข้ามาถล่มเมืองล่มไปกลายเป็นหนองน้ำใหญ่ คือ หนองหานในปัจจุบัน... เมนู

  17. เนื้อเรื่อง • ตำนานพื้นบ้านเรื่องผาแดง-นางไอ่ มีความโดยย่อ คือ นางไอ่เป็นธิดาพระยาขอมผู้ครองเมืองชะธีตา นางไอ่เป็นสตรีที่มีสิริโฉมงดงามเป็นที่เลื่องลือไปในนครต่างๆ ทั้งโลกมนุษย์และบาดาล มีชายหนุ่มหมายปองจะได้อภิเษกกับนางมากมาย • ในจำนวนผู้ที่มาหลงรักนางไอ่ มีท้าวผาแดงและท้าวพังคี โอรสสุทโธนาค เจ้าผู้ครองนครบาดาล ท้าวทั้งสองต่างเคยมีความผูกพันกับนางไอ่มาแต่อดีตชาติ จึงต่างช่วงชิงจะได้เคียงคู่กับนาง แต่ก็พลาดหวัง จึงมิได้อภิเษกทั้งคู่เพราะแข่งขันบั้งไฟแพ้ • ท้าวพังคีนาคไม่ยอมลดละ แปลงกายเป็นกระรอกเผือกคอยติดตามนางไอ่ สุดท้ายถูกฆ่าตาย พญานาคผู้เป็นพ่อจึงขึ้นมาถล่มเมืองล่มไป กลายเป็นหนองน้ำใหญ่ คือ หนองหาน เมนู

  18. พระเพื่อนพระแพง(พี่น้อง 2 นาง ผู้แสวงหาความรัก)จากวรรณคดีเรื่อง พระลอ ตำนานท้องถิ่นภาคเหนือของไทย แต่งเป็น คำประพันธ์ประเภทลิลิต ในสมัยอยุธยาลิลิตประกอบด้วยโคลงและร่าย ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดแห่งกลอนลิลิต เมื่อปี พ.ศ.2459 เนื้อความแต่งอย่างประณีต งดงามมีความไพเราะในถ้อยคำ พรรณนาด้วยอารมณ์ที่หลากหลาย เมนู

  19. เนื้อเรื่อง กล่าวถึงเมืองเหนือสองเมืองเป็นศัตรูคู่อริไม่ถูกกัน กษัตริย์เมืองสรวงมีนามว่า พระลอ มีพระสิริวรกายงดงามหล่อเหลายิ่ง ส่วนเมืองสรอง มีพิชัยพิษณุกรปกครอง และมีพระราชธิดาอยู่ 2 พระองค์ คือ พระเพื่อน และ พระแพง ซึ่งนางทั้งสองต้องพระทัยในพระลอทั้งที่ไม่เคยเห็นกัน นางรื่นกับนางโรย พี่เลี้ยงได้ส่งคนไปสีซอพรรณนาความงามของพระเพื่อนพระแพงให้พระลอฟัง จนพระลอต้องเสด็จมาเมืองสรอง พร้อมด้วยนายแก้วนายขวัญสองพระพี่เลี้ยง เจ้าปู่สมิงพรายได้ส่งไก่ผีคอยวิ่งล่อพระลอ กับพระพี่เลี้ยงให้ต้องไปจนถึงเมืองสรอง จนเข้าไปอยู่ในตำหนักพระเพื่อนพระแพง ส่วนนายแก้วให้อยู่กับนางรื่น นายขวัญให้อยู่กับนางโรย เมื่อกษัตริย์พิชัยพิษณุกรทรงทราบและทรงเห็นพระลอแล้วก็สงสาร ทรงเมตตารับสั่งให้จัดพิธีอภิเษกสมรสให้ แต่พระเจ้าย่าของพระเพื่อนพระแพง ไม่ทรงชอบพระลอจึงทรงขัดขวางทุกวิถีทาง ทรงอ้างรับสั่งของกษัตริย์พิชัยพิษณุกรว่าให้ทรงสั่งจับพระลอ ทหารจึงพากันจับพระลอไว้ ฝ่ายพระเพื่อนพระแพง และพระพี่เลี้ยงของทั้งสองฝ่ายรวม 4 คนก็ได้ช่วยขัดขวางจนสิ้นพระชนม์และสิ้นชีวิตทั้งหมด กษัตริย์พิชัยพิษณุกร เมื่อทรงทราบเรื่องทรงให้จับพระเจ้าย่าและพวกประหารชีวิตตายตกไปตามกัน และได้โปรดให้จัดพิธีพระศพอย่างยิ่งใหญ่ นางบุญเหลือพระราชมารดาของพระลอส่งทูตมาร่วมงานพระศพกษัตริย์(คือ พระลอ พระเพื่อน และพระแพง) แล้วทรงขอแบ่งพระอัฐิธาตุไปส่วนหนึ่งตั้งแต่นั้นมา เมืองสรองและเมืองสรวงก็มีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน เมนู

  20. นางรจนา(นางผู้ไม่มองคนเพียงภายนอก)จาก ละครนอกเรื่อง สังข์ทอง บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นางรจนาเป็นธิดาองค์สุดท้ายจากจำนวน ๗องค์ ของท้าวสามลหลังจากพี่ทั้งหกเลือกคู่ได้อย่างเหมาะสม แต่นางรจนากลับเลือกได้พระสังข์ที่ปลอมเป็นเจ้าเงาะรูปชั่วตัวดำจนต้องถูกเนรเทศไปอยู่ที่กระท่อมปลายหน้า สุดท้ายพระอินทร์ต้องแปลงร่างมาท้าตีคลีเพื่อช่วยให้ เจ้าเงาะได้ถอดรูปให้ทุกคนเห็นรูปทองและความสามารถเช่นชายชาติกษัตริย์ที่มีอยู่ เมนู

  21. เนื้อเรื่อง ท้าวยศวิมลมีมเหสีชื่อ นางจันท์เทวี มีสนมเอกชื่อนางจันทา ไม่มีโอรสธิดา จึงบวงสรวงและรักษาศีลห้าเพื่อขอบุตร และประกาศแก่พระมเหสีและทางสนมว่าถ้าใครมีโอรสก็จะมอบเมืองให้ครอง อยู่มานางจันท์เทวีทรงครรภ์ เทวบุตรจุติมา เป็นพระโอรสของนาง แต่ประสูติมาเป็นหอยสังข์ นางจันทาเกิดความริษยา จึงติดสินบนโหรหลวงให้ทำนายว่าหอยสังข์จะทำให้บ้านเมืองเกิดความหายนะท้าวยศวิมลหลงเชื่อนางจันทา จึงเนรเทศนางจันท์เทวีและหอยสังข์ไปจากเมือง เมนู

  22. นางจันท์เทวีพาหอยสังข์ไปอาศัยตายายช่าวไร่ ช่วยงานตายายเป็นเวลา ๕ ปี พระโอรสในหอยสังข์แอบออกมาช่วยทำงาน เช่น หุงหาอาหาร ไล่ไก่ไม่ให้จิกข้าว เมื่อนางจันท์เทวีทราบก็ทุบหอยสังข์เสีย พระสังข์เห็นเช่นนั้นก็ร้องไห้รำพัน และนางจันท์เทวีเลี้ยงพระสังข์มาด้วยความรัก ฝ่ายท้าวยศวิมลเศร้าพระทัย เพราะอาลัยอาวรณ์นางจันท์เทวีมาก นางจันทาสังเกตเห็นงุ่นง่านใจกลัวจะไม่ได้เป็นใหญ่ จึงให้ยายเฒ่าสุเมธามาทำเสน่ห์ให้ท้าวยศวิมลหลงรักและทูลยุยงว่านางจันท์เทวีมีลูกชายมาอยู่ด้วยคนหนึ่งในป่าน่าจะเป็นลูกชู้ นำความเสื่อมเสียมาแก่ท้าวยศวิมล ให้ประหารพระสังข์เสีย ท้าวศวิมลหลงเชื่อ สั่งประหารพระโอรสของตนแต่ด้วยบุญญาธิทารกของพระสังข์ จะฆ่าอย่างไรพระสังข์ก็ไม่ตาย เมื่อท้าวยศวิมลทรงทราบว่าพระโอรสมิใช่หอยสังข์แต่เป็นพระกุมารที่มีบุญญาธิการ ท้าวเธอก็จะให้รับพระโอรสและนางจันท์เทวีกลับวัง แต่ถูกนางจันทาทัดทานไว้ และในที่สุดนางจันทาเสนอให้เอาไปถ่วงน้ำจมหายไปต่อหน้าพระมารดา ด้วยบุญของพระสังข์ ถูกหินถ่วงจมลงไปตรงปล่องนาคาอันเป็นประตูสู่เมืองบาดาล พญานาคคือท้าวภุชงค์มาพบเห็นพระสังข์นอนสลบอยู่ จึงนำไปเลี้ยง แต่เห็นว่าจะเลี้ยงกันไม่สะดวกเพราะตนเป็นนาค จึงส่งพระสังข์ไปให้เพื่อนรักคือนางพันธุรัตเลี้ยงดู นางพันธุรัตเป็นยักษ์ สามีเสียชีวิตแล้ว นางเลี้ยงพระสังข์ด้วยความรักอย่างจริงใจนางพันธุรัตและพี่เลี้ยงแปลงเป็นมนุษย์เลี้ยงพระสังข์มาจนอายุ ๑๕ ปี นางพันธุรัตห้ามขาดไม่ให้พระสังข์เข้าไปที่หวงห้ามแห่งหนึ่ง แต่วันหนึ่งเมื่อนางพันธุรัตไปหากินตามปกติ พระสังก็แอบเข้าไปที่นั่น ไปพบซากโครงกระดูกมนุษย์และสัตว์ใหญ่ เช่น ช้าง เสือ กวาง พบบ่อปิดบ่อหนึ่งเป็น บ่อเงิน อีกบ่อ เป็นบ่อทอง มีรูปเงาะ เกือกแก้วและไม้เท้า เมื่อลองสวมชุดเงาะและเกือกแก้วดูก็ สามารถเหาะไปมาได้ พระสังข์จึงวางแผนหลบหนีนางพันธุรัตเพื่อจะไปหาพระมารดา แล้ววันหนึ่งพระสังข์ก็ลงชุบตัวในบ่อทองแล้วสวมรูปเงาะจะเหาะหนีไป เมนู

  23. นางพันธุรัตติดตามไป พระสังข์อธิษฐานไม่ให้นางพันธุรัตขึ้นไปได้ นางอ้อนวอนให้พระสังข์ลงมาหา แต่พระสังข์ไม่ยอมลงมา นางจึงเขียนมนต์เรียก เนื้อเรียกปลาไว้ให้ที่แผ่นศิลาเชิงเขา เรียกว่ามหาจินดามนต์ นางพันธุรัตร้องไห้อ้อนวอนพระสังข์จนทระทั่งอกแตกตายด้วยความอาลัยรักพระสังข์ ซึ่งขณะนั้นพระสังข์ก็สับสน ไม่เชื่อในคำของนาง พระสังข์ลงมาจัดการเรื่องศพพระมารดา โดยสั่งไพร่พลให้จัดการใส่พระเมรุ พระสังข์ก็ท่องมนต์ แล้วเหาะไปจนถึงเมืองท้าวสามนต์ ท้าวสามนต์มีธิดา ๗ นาง อยากจะให้นางทั้งเจ็ดมีคู่ เพื่อท้าวสามนต์จะได้ยกเมืองให้แก่เขยที่สามารถ มีปัญญาดี เป็นกษัตริย์ครองเมืองต่อไป พี่นางทั้งหกของนางรจนาเลือกได้เจ้าชายต่างเมืองเป็นสามี แต่รจนาธิดาองค์สุดท้องไม่เลือกใคร ท้าวสามนต์ให้ป่าวร้องชาวเมืองมาให้เลือกอีกหน รจนาไม่เลือก ในที่สุด ให้นำเจ้าเงาะมาให้เลือก ตั้งใจจะประชดนางรจนาที่ไม่เลือกใคร เลยนำเจ้าเงาะมาให้เลือก พระสังข์ในรูปเงาะเห็นนางรจนาก็พอใจในความงามของนาง จึงอธิษฐานให้นางเห็นรูปทองของพระองค์ซึ่งซ่อนอยู่ในรูปเงาะ รจนาได้เห็นรูปที่แท้จริงของพระสังข์ จึงเสี่ยงพวงมาลัยให้เจ้าเงาะ ท้าวสามนต์เสียใจมากจึงขับไล่นางรจนาให้ไปอยู่กับเจ้าเงาะที่ปลายนา ท้าวสามนต์รู้สึกอับอายและเสียเกียรติอย่างมากที่รจนาได้เจ้าเงาะเป็นสามี จึงวางแผนคิดฆ่าเจ้าเงาะโดยให้เขยทั้ง ๗ คนไปหาปลามาคนละ ๑๐๐ ตัว ใครได้น้อยจะถูกฆ่า พระสังข์ร่ายมนต์เรียกปลามาชุมนุมกัน หกเขยจึงหาปลาไม่ได้เลย มาพบพระสังข์ก็สำคัญผิดว่าเป็นเทวดาจึงขอปลาพระสังข์จึงให้ปลาคนละ ๒ ตัวโดยขอแลกกับการเชือดปลายจมูก ท้าวสามนตร์โกรธมากที่อุบายไม่เป็นผล จึงสั่งให้เขยทุกคนไปหาเนื้ออีก และก็เหมือนครั้งก่อน ด้วยเวทมนตร์ของพระสังข์ ฝูงเนื้อทรายทั้งหลายก็ไปชุมนุมอยู่กับพระสังข์ หกเขยได้เนื้อทรายไปคนละตัวโดยแลกกับการถูกเชือดใบหู เมนู

  24. พระอินทร์รู้สึกว่าอาสน์ที่ประทับของพระองค์แข็งกระด้าง จึงส่องทิพยเนตรดูก็เห็นว่านางรจนามีความทุกข์เพราะเจ้าเงาะไม่ยอมถอดรูป ทำให้ต้องตกระกำลำบากและถูกท้าวสามนต์หาเหตุแกล้งอยู่เนืองๆ พระองค์จึงแปลงองค์ลงมาท้าตีคลีพนันเอาเมืองทับท้าวสามนต์ ท้าวสามนต์ให้หกเขย ไปตีคลีก็พ่ายแพ้ จึงจำใจไปอ้อนวอนเจ้าเงาะ เจ้าเงาะถอดรูปเป็นพระสังข์งดงามถูกใจท้าวสามนต์ ยิ่งได้ทราบว่าเป็นโอรสกษัตริย์ด้วยก็ยิ่งพอใจ พระสังข์ไปตีคลีได้ชัยชนะเพราะพระอินทร์แสร้งหย่อนอ่อนมือให้ พระอินทร์ไปเข้าฝันท้าวยศวิมลพระบิดาของพระสังข์เพื่อสั่งสอนให้รู้ดีรู้ชั่วและสั่งให้ไปรับนางจันท์เทวีเพื่อไปตามพระสังข์ ท้าวยศวิมลรับนางจันท์เทวีเดินทางไปตามพระสังข์ที่เมืองท้าวสามนต์ นางจันท์เทวีเข้าไปช่วยทำอาหารในฝ่ายที่ต้องทำอาหารถวายพระสังข์ นางนำชิ้นฟักมาแกะสลัก เป็นเรื่องราวชีวิตตั้งแต่หนหลังแล้วนำมาแกง พระสังข์เสวยแกงเห็นชิ้นฟักก็สงสัยจึงนำมาเรียงกันแล้วก็รู้เรื่องทั้งหมด ในที่สุดพ่อแม่ลูกก็ได้พบกันด้วยดี ท้าวยศวิมลขอโทษในความหลงผิดของตน และชวนกันกลับบ้านเมือง เมนู

  25. นางสกุนตลา(นางผู้ฟันฝ่าคำสาปและอุปสรรค)จากวรรณคดีเรื่อง สกุนตลา บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทละครรำ ตามต้นฉบับภาษาอังกฤษ ของเซอร์วิลเลียมโยนส์และ เซอร์โมเนียร์วิลเลียมส์ โดยต้นเรื่องมาจากมหาภารตะ เรื่อง ศกุรตโสปาขยาน เรื่องราวเริ่มจากพระวิศวามิตรอยู่ในวรรณกษัตริย์แต่ต้องการบำเพ็ญตบะเป็นพรหมฤษี ซึ่งสูงกว่าวรรณะกษัตริย์ เหล่าเทวดาเดือดร้อนกันทั่ว พระอินทร์จึงให้นางฟ้าเมนกาลงมาทำลายตบะของ พระวิศวามิตร จนให้กำเนิดธิดาคนหนึ่งแล้วทิ้งไว้ให้นกคอยเลี้ยงดู จนพระฤาษีกัณวะดาบสนำไปเลี้ยงและตั้งชื่อให้ว่า ศกุนตลา ซึ่งแปลว่า นางนก เมนู

  26. เนื้อเรื่อง พระวิศวามิตรเกิดนึกอยากมีฤทธิ์มากๆจึงสละราชสมบัติ ออกบำเพ็ญตบะในป่าจนแก่กล้ายิ่ง ทำให้เหล่าเทวดาพากันเดือดร้อนไปทั่ว พระอินทร์คิดแก้ไข โดยให้นางฟ้าเมนกาลงมาใช้ความงามยั่วยวน เพื่อทำให้พระฤาษีตนนี้ไม่มีกะจิตกะใจจะบำเพ็ญเพียร ทั้งสองจึงครองคู่กัน จนกระทั่งมีธิดามาคนหนึ่ง พอดีกับตอนนั้นพระวิศวามิตรที่ผ่านพ้นระยะข้าวใหม่ปลามัน เกิดได้คิด จึงบอกนางเมนกากลับสวรรค์ ส่วนพระองค์ก็ออกไปจักรวาล ทิ้งพระธิดาน้อยๆ อยู่ในป่าแต่เพียงลำพัง ดีที่ได้พวกนกคอยเลี้ยงดู เมื่อพระกัณวดาบสมาพบเข้า จึงให้นางนามว่า ศกุนตลา ซึ่งแปลว่านางนกและนำกลับไปเลี้ยงดูอย่างธิดาที่อาศรมของตน ต่อมานางเติบโตเป็นสาวแรกรุ่นที่งดงามอย่างหาที่ติไม่ได้ ท้าวทุษยันต์ กษัตริย์จันทรวงศ์ แห่งนครหัสดิน ซึ่งเสด็จประพาสป่าเพื่อล่าสัตว์ แล้วบังเอิญตามกวางมาถึงบริเวณใกล้เคียง จึงแวะมายังอาศรม หมายพระทัยจะมานมัสการพระกัณวดาบส แต่ในตอนนั้นพระกัณเวดาบสไม่อยู่ พวกปีศาจมารร้ายได้ถือโอกาสเข้ามาอาละวาดที่อาศรม ท้าวทุษยันต์ปราบปีศาจได้สำเร็จ เมื่อท้าวทุษยันต์มีโอกาสอยู่ตามลำพัง ทั้งสองได้เป็นของกันและท้าวทุษยันต์ได้มอบแหวนวงหนึ่งแก่นางแล้วรีบเดินทางกลับบ้านเมือง เมนู

  27. เช้าวันหนึ่งพระฤาษีทุรวาสผู้มีปากร้าย ได้มาเรียกนางที่หน้าประตู แต่นางไม่รู้ตัวด้วยกำลังป่วยเป็นไข้ใจ จึงไม่ได้ออกไปต้อนรับ ทำให้พระฤาษีทุรวาสโกรธสาปให้นางถูกคนรักจำไม่ได้ ต่อมาพระฤาษีทุรวาสหายโมโหแล้ว เพราะรู้ว่านางไม่ได้จนใจแสดงอาการไม่เคารพกับตนจึงให้พรกำกับแก่นางว่า หากคนรักของนางได้เห็นของที่ให้ไว้เป็นที่ระลึกก็จะจำนางได้ พระกัณดาบสได้ทราบเรื่องราวต่างๆ ของนางกับท้าวทุษยันต์ จึงส่งนางไปให้ท้าวทุษยันต์จัดพิธีอภิเษก ในระหว่างทางที่ไปนางได้ทำแหวนที่ท้าวทุษยันต์ประทานให้ตกหายไปในแม่น้ำ เมื่อไปถึงที่หมายท้าวทุษยันต์ทรงจำนางไม่ได้ จนกระทั่งกุมภิลชาวประมงจับได้ปลาที่กลืนแหวนซึ่งนางศกุนตลาทำหาย พอเห็นแหวนท้าวทุษยันต์ก็ได้สติจำเรื่องราวต่างๆได้ จนกระทั่งท้าวทุษยันต์ได้พบกับนางศกุนตลาอีกครั้ง หลังจากพลัดพรากจากกันไปเนิ่นนานด้วยความช่วยเหลือของพระเทพบิดรและพระเทพมารดร ดังนั้น ท้าวทุษยันต์ทรงรับมเหสีและโอรสกลับสู่นครหัสดินด้วยความปิติยินดี(ตอนที่นางไปหาท้าวทุษยันต ์นางทรงครรภ์แก่ นางได้กำเนิดพระโอรสทรงพระนามว่าพระภรต เกิดตอนอาศัยอยู่กับพระกศบและนางอทิติเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะขณะที่นางจะไปสู่ที่พักโสมราตปุโรหิตของท้าวไตรตรึง ได้ลอบอธิษฐานว่าหากสิ่งที่นางศกุนตลาพูดเป็นความจริง ขอให้เกิดปาฏิหาริย์ประจักษ์ต่อหน้า พออธิษฐานจบ นางศกุนตลาได้หายลับไปต่อหน้า ซึ่งนางได้มาอยู่กับพระกศบและนางอทิตินั่นเอง) เมนู

  28. นางละเวงวัณฬา(ราชินีผู้ทรนงแห่งลังกา)จากวรรณคดีเรื่อง พระอภัยมณี บทประพันธ์ของพระศรีสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) คำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพ เรื่องราวการผจญภัยของพระอภัยมณี และราชินีสาวแห่งชาติฝรั่งลังกา นางละเวงวัณฬา ธิดากษัตริย์เมืองลังกา เมื่ออายุ ๑๖ปี นางต้องสูญเสียบิดา และพี่ชายไปในสงคราม นางจึงมารับผิดชอบหน้าที่แทนบิดา และพี่ชาย เป็นราชินีที่เข้มแข็ง ทำสงครามและปกครองประเทศจนทำให้เกิดความรักระหว่างสงครามขึ้น เมนู

  29. เนื้อเรื่อง นางละเวงวัณฬาเธอเป็น๑ใน ๕มเหสีของพระอภัยมณี เป็นศัตรูคู่อาฆาตกับ"นางสุวรรณมาลี"และ"พระอภัยมณี" เพราะนางสุวรรณมาลี เป็นพระราชธิดาของท้าวสิลราช เจ้าเมืองผลึก สลัดรักอุศเรน พระเชษฐาของนางละเวง เมื่อถูกตัดรัก อุศเรนจึงพกความแค้นยกทัพไปทำสงครามกับเมืองผลึก แต่เกิดพลาดท่าถูกพระอภัยมณี ที่เป็นคนรัก(ใหม่)ของนางสุวรรณมาลีจับเป็นเชลย เมื่อเจ้าลังกา พระบิดาของอุศเรนและนางละเวง ทราบความเรื่องนี้ ถึงกับตรอมพระทัยสวรรณคต นางละเวงวัณฬา เจ้าหญิงวัยสิบหก จึงขึ้นครองเมืองลังกาแทนพระราชบิดา ภารกิจแรกที่นางละเวงลงมือก็คือ"ล้างแค้น"ให้พระบิดาและพระเชษฐา นางละเวงเริ่มโดยให้ช่างวาดเขียนภาพนางด้วยการใช้สีผสมยาเสน่ห์ แล้วส่งไปตามเมืองต่างๆ ในภาพวาดนั้น นางประกาศว่าใครช่วยนางรบชนะพระอภัยมณี นางจะเลือกเป็นคู่อภิเษกสมรส เมนู

  30. บุคคลแรกที่มาเจอรูปนางคือ "เจ้าละมาน" กษัตริย์พ่อหม้าย ที่เมื่อเห็นรูปนางละเวงก็รีบยกทัพออกจากเมืองไปทำสงครามกับพระอภัยมณี แต่กลับพลาดถ้าแพ้ต่อพระอภัยมณี ภาพวาดที่งดงามของนางละเวงจึงตกไปถึงมือพระอภัยมณี พลันที่เห็นภาพ พระอภัยมณีก็หลง(รูป)นางละเวงแทบเป็นบ้าเป็นหลัง โชคดีที่"สุดสาคร" บุตรของพระอภัยมณีที่เกิดจากนางเงือกมาแก้เสน่ห์ให้ พระอภัยจึงมีสติดีขึ้น และรวมกำลังกับศรีสุวรรณและ สินสมุทร เพื่อกำจัดนางละเวงแต่จะรบกับนางละเวงนี่ไม่ใช่เรื่องง่าย สุนทรภู่เขียนว่า พระอภัยต้องจัดทัพถึง 9 กองทัพในการบุกลังกา คือ ทัพวิลยา ชวา ฉวี ละเมดมลิกัน สำปันหนา กะวินจีนตั๋ง และอังกุลา จึงเอาชนะได้ที่สำคัญคือ "รบชนะ" แต่ยังมีเรื่องวุ่นวายตามมามากมายเพราะ "เสน่ห์" ของนางละเวงทั้งหลายทั้งปวงก็เพราะพระอภัยเองก็"หลงรัก"นางละเวง ขณะนางละเวงก็"หลงรัก"พระอภัยมณีสุนทรภู่เขียนถึง"จิตใจ"ของนางละเวงตอนจะรบกับพระอภัยมณี "เมื่อต่างชาติศาสนาเป็นข้าศึก สุดจะนึกร่วมเรียงเคียงเขนย ขอสู้ตายชายอื่นไม่ชื่นเชย จนล่วงเลยสู่สวรรค์ครรไล" เมนู

  31. โชคดีที่เรื่องนี้จบลงเมื่อพระฤาษีแห่งเกาะแก้วพิสดารมาแก้อาถรรพ์ยาเสน่ห์ พร้อมเทศนาไกล่เกลี่ยจนทั้งหมดละความอาฆาตพยาบาทและคืนดีกัน นางละเวงปิดฉากด้วยการยกบัลลังค์ให้ราชบุตร แล้วตัดสินใจบวชพร้อมนางสุวรรณมาลี เพื่อรับใช้พระอภัยมณี ณ เขาสิงคุตร์ ตามจิตนาการของสุนทรภู่ เขียนถึง"นางละเวง" ว่าเป็นสาวผมทอง ภาพของนางละเวงทุกจินตนาการจึงเป็น"ฝรั่ง" นางละเวง ชื่อเต็มๆคือ"ละเวงวัณฬา" แต่เรามักจะคุ้นกับชื่อ"นางละเวง" เป็น"ตัวละครหญิง"ที่อาจจะแตกต่างกับตัวละคร(หญิง)อื่นๆใน"พระอภัยมณี" เพราะสุนทรภู่เขียนไม่ให้เป็นกุลสตรีที่ละเมียดละไมอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนในวัง หรืออยู่ในภาพตกใจง่าย แถมเป็นหญิงสาวอ่อนหวานและอ่อนไหวแบบขี้ขลาด-ขี้กลัว เหมือนตัวละครหญิงคนอื่นนางละเวงถูกเขียนให้เป็นผู้กล้าหาญ ฉลาด เจ้าเล่ห์ สามารถแก้ไขปัญหาใหญ่ๆได้ รวมทั้งมีฝีมือในการรบทัพจับศึก และตัดสินใจเด็ดขาดถ้าจะมีลักษณะผู้หญิงอยู่บ้างก็ตรงที่"รัก"และ"หึงหวง" ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของสตรีทั่วโลกทุกยุคทุกสมัย เมนู

  32. นางลำหับ(นางผู้ยอมตายเพื่อความรัก)จากวรรณคดีเรื่อง เงาะป่า พระราชนิพนธ์ เรื่อง “เงาะป่า” นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ ขณะทรงพักผ่อนเมื่อประชวรเป็นไข้ พระองค์พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องเงาะป่าเพื่อแก้รำคาญ โดยใช้เค้าเรื่องของชาวป่าที่ยายละมุดหญิงเผ่าซาไกเล่าถวายเมื่อครั้งเสด็จหัวเมืองปักษ์ใต้ ส่วนถ้อยคำภาษาของพวกเงาะทรงสอบถามจากนายคนัง เด็กชายชาวเงาะซึ่งพระองค์ทรงพระเมตตาซุบเลี้ยงไว้ ทรงพระราชนิพนธ์เพียง ๘ วันเท่านั้นก็เสร็จ โดยมิได้มีพระราชประสงค์ให้เล่นละคร ลักษณะการแต่ง ทรงพระราชนิพนธ์เป็นกลอนบทละครมีแนวเรื่องและฉากเหตุการณ์แตกต่างจากเรื่องอื่นๆ ให้ความรู้ในเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลประเภทหนึ่งที่เรียกว่า “เงาะ” ตลอดจนภาษาของเขา ทั้งสำนวนกลอนก็ไพเราะลึกซึ้ง ในบางแห่งทรงพรรณนาได้งดงามกินใจ และในบางแห่งก็ทรงแทรกคติชีวิตไว้อย่างคมคายสำนวนโวหาร ใช้ภาษาแบบชาวบ้าน ชาวป่าและมีภาษาเงาะปนอยู่ด้วยให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเงาะด้วย เมนู

  33. เนื้อเรื่อง ซมพลารักอยู่กับนางลำหับ แต่ผู้ใหญ่ได้หมั้นหมายนางลำหับไว้กับฮเนา ในวันแต่งงาน ซมพลาได้พานางลำหับหนีไปซ่อนในถ้ำ ฮเนาติดตามไปพบซมพลาจึงได้ต่อสู้กัน ชมพลาเสียชีวิตเพราะถูกลูกดอกอาบยาพิษของรำแก้วพี่ชายฮเนา ลำหับซึ่งคอยชมพลาอยู่ในถ้ำออกติดตามพบซมพลาตายจึงฆ่าตัวตาตาม ฮเนาเห็นความรักของคนทั้งสองจึงตัดสินใจฆ่าตัวตายเพราะเสียใจที่ตนเป็น ต้นเหตุให้คนทั้งสองตาย เมนู

  34. นางบุษบา(นางผู้อยู่ในกรอบจารีต)จากวรรณคดีเรื่อง อิเหนา บุษบา เจ้าหญิงผู้เลอโฉมแห่งเมืองดาหา ความงามของนางถูกบรรยายไว้หลายตอนดังเช่นจึงประสูติพระธิดายาใจ งามวิไลล้ำเลิศเพริศพรายอันอัศจรรย์ที่บันดาด ก็อันตรธานสูญหายยังกลิ่นหอมรวยชวยชาย จึงถวายพระนามตามเหตุนั้นชื่อระเด่นบุษบาหนึ่งหรัด ลออเอี่ยมเทียมทัดนางสวรรค์นางในธรณีไม่มีทัน ผิวพรรณผุดผ่องดังทองทา เมนู

  35. เนื้อเรื่อง ความงามของนางถึงขั้นผู้ที่ได้เห็นจะตะลึงจนลืมตัวหรือถึงกลับสลบสิ้นสติไปเลย แต่ชีวิตของนางก็ไม่ราบรื่นเท่าไรนัก เริ่มจากถูกอิเหนาที่เป็นคู่หมั้นถูกปฏิเสธที่จะแต่งงานด้วย ท้าวดาหา(พระบิดาของบุษบา)โกรธมาก ประกาศจะยกนางให้ใครก็ได้ที่มาสู่ขอเป็นรายแรก จรการะตูเมืองเล็ก ทั้งรูปร่างหน้าตาก็แสนอัปลักษณ์ ซึ่งยังเป็นโสด ได้ใช้ช่างวาดวาดรูปหญิงงาม เพื่อไว้ประกอบการคัดเลือกประไหมสุหรี ช่างวาดได้แอบวาดภาพบุษบาไปสองภาพ ก็รีบนำภาพกลับไปให้จรกาดู แต่องค์ปะตาระกาหลา เทวดาที่เป็นต้นวงศ์เทวาได้ลักภาพไปแผ่นนึง แล้วหลอกล่อให้วิยาสะกำ โอรสท้าวกะมังกุหนิงไปพบเข้า แค่เห็นรูป วิหยาสะกำก็ถึงกลับสลบหลงรักบุษบาอย่างถอนใจไม่ขึ้น จรกาก็มีอาการดุจเดียวกัน เพราะพอช่างภาพถวายรูปบุษบา ก็ตื่นเต้นจนสิ้นสติ ท้าวดาหาจนใจจำต้องยกบุษบาให้แก่จรกา เมื่อท้าวล่าสำส่งสาสน์มาสู่ขอให้น้อง เพราะวาจาที่ท้าวดาหาเคยลั่นไว้เองเป็นเหตุ ดังนั้น พอท้าวกะมังกุหนิงส่งทูตมาขอบุษบา ในเวลาต่อมา ท้าวดาหาจึงปฏิเสธ ทำให้ท้าวกะมังกุหนิงยกทัพมาล้อมเมืองดาหา ก่อสงครามชิงนางบุษบาขึ้น ท้าวดาหาให้ทูตไปส่งข่าวสงครามกับเมืองพี่เมืองน้องและจรกาด้วย เมนู

  36. ท้าวกุเรปันจึงมีสาสน์ไปสั่งอิเหนาที่อยู่เมืองหมันยา ให้รีบยกทัพไปช่วยดาหารบ ไม่งั้นจะตัดพ่อตัดลูกกัน อิเหนาหมดโอกาสบ่ายเบี่ยง ต้องไปช่วยเมืองดาหารบพอรบชนะ ก็อยากกลับเมืองหมันหยาเพราะคิดถึงจินตะหรา แต่ความตั้งใจต้องมีอันเปลี่ยนไปเมื่อได้เห็นบุษบาตะลึงต่อความงามของนางจนสติตังไม่อยู่กับตัว เผลอร้องเพลงเกี้ยวพาราสีนางต่อหน้าใครๆ สังครามาระตาที่คอยเสด็จต้องสะกิดเตือน หลังจากได้พบบุษบา อิเหนาก็มีอาการคลั่งรักขึ้นสมอง คิดแต่หาวิธีที่จะได้บุษบามาครอบครอง จนกระทั่งงานอภิเษกของบุษบา อิเหนาก็ขออนุยาตท้าวกุเรปันกับท้าวดาหาออกไปประทับแรมในป่า อิเหนาก็ยกทัพออกป่า ทำทีว่าเที่ยวล่าสัตว์อยู่ในป่า แล้ววกเข้าเมืองดาหาพร้อมทั้งจุดไฟเผาโรงมโหรสพต่างๆที่กำลังเล่นฉลองพิธีอภิเษก เพื่อความสนใจของทุกคน อิเหนาได้ฉวยโอกาสที่ชุลมุนปลอมตัวเป็นจรกาอ้างว่าท้าวดาหาให้มารับบุษบา ลักพาตัวนางออกจากเมืองดาหา แต่เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกสงสัยอิเหนาจึงเข้าเมืองดาหาอีกครั้ง เพื่อเข้าเฝ้าท้าวกุเรปันและท้าวดาหา ทำเป็นว่าไม่มีส่วนรู้เห็นกับการหายไปของบุษบา ทั้งยังอาสาออกติดตามด้วย ท้าวดาหานั้นแทบมั่นพระทัยเลยว่า คนทำเรื่องคืออิเหนา เมนู

  37. ส่วนท้าวกุเรปันก็พลอยเห็นชอบกับการกระทำของโอรส หลังจากบุษบาเป็นชายาของอิเหนาโดยพฤตินัยแล้วนางก็มีความจงรักพักดีต่ออิเหนาอย่างจริงจัง ทั้งที่ก่อนหน้านี้แม้แต่หน้าของเขาแทบจะไม่มองด้วยซ้ำ นางรอคอยอิเหนาอยู่ที่ถ้ำอย่างกระวนกระวายใจ พอตกเย็นก็ขึ้นรถไปคอยอิเหนาที่สวน ตอนนี้องค์ปะตาระกาหลาซึ่งอยู่บนสวรรค์เกิดนึกไม่พอพระทัยความโอหังของอิเหนา ต้องการจะทรมานอิเหนาให้อิเหนารู้สึกเสียใจ จึงทำให้เกิดพายุใหญ่ พัดเอารถทรงของบุษบาไปจนถึงป่าใกล้เมืองประมอตัน พออิเหนารู้ว่าบุษบาหาย จึงเสียอกเสียใจคร่ำครวญอยู่ยกใหญุ่ แล้วรีบออกติดตามหาในคราบโจรป่าปันหยี ส่วนบุษบาที่ถูกลมหอบไปนั้น องค์ปะตาระกาหลาทรงปรากฎให้เห็น แล้วสั่งให้นางปลอมตัวเป็นชาย ให้ชื่อใหม่ว่า อุณากรรณ ได้เป็นบุตรบุญธรรมของท้าวประมอตัน อยู่ในเมืองประมอตันพักหนึ่งก่อนที่จะเร่ร่อนตามหาอิเหนา แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามนางก็มีจิตใจอ่อนไหวของผู้หญิงอย่างเต็มเปี่ยม หลักชัยของนางคือการฝากอนาคตไว้กับอิเหนา และก็เป็นคำสาบขององค์ปะตาระกาหลาทำให้นางแม้พบกลับอิเหนาหลายหนแต่จำกันไม่ได้ จนในที่สุดนางต้องหนีไปบวชชี เมนู

  38. ต่อมาประสันตาพี่เลี้ยงของอิเหนามาพบเข้า ได้กลับมาบอกต่ออิเหนาว่านางชีสวยงามมาก ทำให้อิเหนาไปหลอกนางมาเมืองกาหลังอีกครั้งและสงสัยว่านางคือ บุษบา จึงออกอุบายตั้งโรงหนังตะลุงตรงกับหน้าต่างตำหนักนาง เล่นเรื่องตั้งแต่อิเหนาไปช่วยดาหารบจนถึงบุษบาถูกลมหอบพัดไป บุษบาสะเทือนใจมาก เพราะถูกสะกิดเตือนความหลัง จึงร้องไห้บอกให้เลิกเล่นเสียกลางคัน เป็นเหตุให้จดจำกันได้ และนับแต่นั้นมานางก็พ้นทุกข์ทรมานแห่งการพลัดพราก ได้พบวงศาคณาญาติอีกครั้ง และเข้าพิธีอภิเษกเป็นประไหมสุหรีฝ่ายซ้ายของอิเหนาอย่างเป็นกิจจะลักษณะเสียที หลังจากต้องพลาดจากการเข้าพิธีมาแล้วสองครั้ง นางยอมให้อิเหนายกจินตะหราเป็นประไหมสุหรีฝ่ายขวาแต่โดยดี ด้วยเห็นว่านางจินตะหราเป็นผู้มาก่อน แม้ว่าจินตะหราจะไม่ใช่วงศ์เทวัญฯ ข้อนี้ยากที่จะหาหญิงใดเสมอเหมือน นับว่าบุษบาเป็นหญิงไทยในวรรณคดีที่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติคนหนึ่ง เมนู

  39. นางปทุมวดี(นางผู้เกิดจากดอกบัว)จากวรรณคดีเรื่อง โสวัต เป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีเนื้อเรื่องเช่นเดียวกับเรื่องท้าวโสรัตในวรรณคดีอีสาน ปรากฏเป็นนิทานไทยโบราณเรียกว่า ท้าวโสรัตนางประทุม นิยมนำมาแสดงเป็นละครนอก หุ่นหลวงและมีการแต่งเป็นกลอนสำหรับสวย เรื่องกล่าวถึงนางฟ้าองค์หนึ่งจุติมาเกิดในดอกบัวมีกลิ่นกายหอม จึงชื่อ ประทุมวดี เมื่ออายุได้ ๑๕ปี นางได้ร้อยมาลัยเสี่ยงทายไปในแม่น้ำโดยอธิษฐานว่าให้พวงมาลัยนี้ลอยไปคล้องข้อมือผู้ที่เป็นคู่ครองของนาง สุดท้ายมาลัยลอยทวนน้ำไปคล้องข้อมือโสวัต หลังจากทั้งสองได้ครองคู่กันไม่นาน ก็ต้องเกิดเหตุพลัดพรากกันไปเผชิญกับเหตุการณ์มากมายกว่าจะได้กลับมาพบและครองคู่กันอีกครั้ง เมนู

  40. เนื้อเรื่อง พระฤาษีได้เลี้ยงธิดากำพร้าแม่ไว้ในกระท่อมหลังกุฏิท่าน วันหนึ่งนายพรานป่ามาเห็นนาง ก็นำความไป กราบทูลพระราชาว่า "หม่อมฉันไปเจอสตรีนางหนึ่ง งามดุจเทพธิดาอยู่ในกระท่อม หลังศาลาพระฤาษี ในป่าพะยะค่ะ" พระราชาได้เสด็จมาทอดพระเนตรความงามและทรงสู่ขอ นางปทุมวดีไปอภิเษกเป็น พระมเหสี ต่อมาพระนางปทุมวดีทรงครรภ์ เป็นเหตุให้พวกนางสนม พากันอิจฉา ครั้นพระราชาเสด็จออกจากเมืองไปปราบข้าศึก ในกาลต่อมา ซึ่งเป็นเวลาพอดีกับ พระนางปทุมวดีประสูติพระราชกุมาร นางสนมก็ขโมยพระโอรสแรกเกิดนั้น ใส่ผะอบลอยน้ำไป แล้วเอาท่อนไม้มาวางไว้ แทนพระกุมารในพระอู่ เมื่อพระนางปทุมวดีเห็นพระโอรสเป็นท่อนไม้ ก็เสียพระทัยยิ่งนัก เมนู

  41. ครั้นพระราชาเสด็จกลับมา ทรงทราบว่าพระโอรสได้กลายเป็นท่อนไม้ ก็ทรงเชื่อนางสนมที่กราบทูลว่า พระนางปทุมวดีเป็นนางยักษ์แปลงมา จึงทรงขับไล่ ไปจากบ้านเมือง หญิงแก่คนหนึ่ง ได้พบพระนางปทุมวดีเดินซัดเซพเนจร ก็สงสารและรับเลี้ยงไว้ เป็นลูกที่บ้านของตน อยู่มาวันหนึ่งพระราชาเสด็จลงสรงน้ำในคงคา ซึ่งมีตาข่ายกั้นรอบทิศ ครั้นแล้ว ผะอบพระราชกุมาร ซึ่ง มีเทวดารักษาอยู่นั้น ก็ลอยมาติดตาข่ายกั้น พนักงานก็เก็บนำไปถวายพระราชา พระราชาทรงเปิดผะอบ ก็พบพระราชากุมารอันงามโสภา ภายใจผะอบมีอักษรพระอินทร์ทรงเขียนไว้ว่า "พระราชกุมารเป็นโอรสพระราชา ถูกนางสนมอิจฉาพระนางปทุมวดี จับใส่ผะอบลอยน้ำมา ด้วยบุญ บารมี พระราชกุมารจึงไม่ตาย" พระราชาก็ทรงอุ้มพระราชกุมาร กลับเข้าพระราชวังแล้วทรงประกาศหา พระนางปทุมวดีกลับมายังพระนคร เมนู

  42. ๑.จากภาพคือนางในวรรณคดีเรื่องใด๑.จากภาพคือนางในวรรณคดีเรื่องใด ก. พระเพื่อน พระแพง ข. นางรจนา ค. นางปทุมวดี ง. นางมโนราห์ เมนู

  43. ๒. “ตำนานของดอกกุหลาบ” คำกล่าวนี้กล่าวถึงใคร ก. นางบุษบา ข. นางไอ่คำ ค. พระเพื่อนพระแพง ง.มัทนะพาธา เมนู

  44. ๓. “อ้าดวงสุริย์ศรี ของพี่เอย ขอเชิญเผยหน้าต่างนางอีกหน ขอเชิญจันทร์ส่อง สว่างกลางสากล เยี่ยมมาให้พี่ยลเยือกอุรา” ความข้างต้น กล่าวถึงนางในวรรณคดีเรื่องใด ก. มัทนะพาธา ข. พระอภัยมณี ค. วิวาห์พระสมุท ง.ไกรทอง เมนู

  45. ถูกต้อง เก่งมากค่ะ คลิกที่นี่เพื่อกลับที่เดิมค่ะ

  46. ผิดค่ะ ลองพยายามอีกนิดนะคะ คลิกที่นี่เพื่อกลับที่เดิมค่ะ

More Related