1 / 21

สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. จัดทำโดย ด.ช.รัชกฤต นันทาทอง เสนอ อ.ฐิตาพร ดวงเกตุ. 1.อาณาจักรสุโขทัย. 2.อาณาจักร อยุธยา. 3.อาณาจักรธนบุรี. 4.อาณาจักร รัตรัตนโกสินทร์. 5.อาณาจักรศรีวิชัย. 6. อาณาจักร จามปา. อาณาจักร สุโขทัย.

Download Presentation

สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จัดทำโดย ด.ช.รัชกฤต นันทาทอง เสนอ อ.ฐิตาพร ดวงเกตุ

  2. 1.อาณาจักรสุโขทัย 2.อาณาจักร อยุธยา 3.อาณาจักรธนบุรี 4.อาณาจักร รัตรัตนโกสินทร์ 5.อาณาจักรศรีวิชัย 6. อาณาจักร จามปา

  3. อาณาจักร สุโขทัย อาณาจักรสุโขทัย หรือ รัฐสุโขทัยเป็นอาณาจักร หรือรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่ม แม่น้ำยม เป็นชุมชนโบราณมาตั้งแต่ยุคเหล็กตอนปลาย จนกระทั่งสถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1800 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบากโ ซึ่งทำการเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนาเอกราชให้สุโขทัยเป็นรัฐ Next

  4. อิสระ และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อยๆตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุด

  5. อาณาจักรอยุธยา อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในอดีตตั้งแต่ พ.ศ. 1893 ถึง 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวง อาณาจักรอยุธยานับว่าเจริญรุ่งเรืองจนอาจถือได้ว่าเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมั่งคั่งที่สุดในภูมิภาคสุวรรณภูมิ ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็น

  6. ศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดียญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกสสเปนดัตช์ (ฮอลันดา) และฝรั่งเศส เคยมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล โดยมีประเทศราชแผ่ขยายไปจนถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนานและมณฑลชานซี อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน

  7. อาณาจักรธนบุรี อาณาจักรธนบุรี เป็นอาณาจักรของคนไทยช่วงสั้นระหว่าง พ.ศ. 2310 - 2325 ระยะเวลา 15 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองเพียงพระองค์เดียว คือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีภายหลังอาณาจักรอยุธยาล่มสลายไปพร้อมกับการปล้นกรุงศรีอยุธยาของกองทัพพม่า ทว่า ในเวลาต่อมา สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก

  8. ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และทรงย้ายเมืองหลวงไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน

  9. อาณาจักรรัตนโกสินทร์ ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ เป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายนพ.ศ. 2325

  10. ครึ่งแรกของสมัยนี้ เป็นการเพิ่มพูนอำนาจของอาณาจักร ถูกขัดจังหวะด้วยความขัดแย้งเป็นระยะกับพม่า เวียดนามและลาว ส่วนครึ่งหลังนั้นเป็นการเผชิญกับประเทศเจ้าอาณานิคมอังกฤษและฝรั่งเศส จนทำให้ไทยเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตก ผลกระทบจากภัยคุกคามนั้น นำให้อาณาจักรพัฒนาไปสู่รัฐชาติสมัยใหม่ที่รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยมีพรมแดนที่กำหนดร่วมกับชาติตะวันตก สมัยนี้มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญ ด้วยการเพิ่มการค้ากับต่างประเทศ การเลิกทาส และการขยายการศึกษาแก่ชนชั้นกลางที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีการปฏิรูปทางการเมืองอย่างแท้จริงกระทั่งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชถูกแทนที่ด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ในการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ชื่อ "รัตนโกสินทร์" ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน แต่บทความนี้จะกล่าวถึงเหตุการณ์จนถึง พ.ศ. 2475 เท่านั้น

  11. ศูนย์กลาง โดยมีพรมแดนที่กำหนดร่วมกับชาติตะวันตก สมัยนี้มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญ ด้วยการเพิ่มการค้ากับต่างประเทศ การเลิกทาส และการขยายการศึกษาแก่ชนชั้นกลางที่เกิดขึ้น

  12. อย่างไรก็ตาม ไม่มีการปฏิรูปทางการเมืองอย่างแท้จริงกระทั่งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชถูกแทนที่ด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ในการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ชื่อ "รัตนโกสินทร์" ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน แต่บทความนี้จะกล่าวถึงเหตุการณ์จนถึง พ.ศ. 2475 เท่านั้น

  13. อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรศรีวิชัย หรือ อาณาจักรศรีโพธิ์ เกิดในปี(พ.ศ. 1202 - ราวพุทธศตวรรษที่ 18)ก่อตั้งโดยราชวงศ์ไศเลนทร์ ในช่วงที่อาณาจักรฟูนันล่มสลาย มีอาณาเขตครอบคลุมมลายู เกาะชวา เกาะสุมาตรา ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย พื้นที่อาณาจักรแบ่งได้สาม

  14. ส่วน คือส่วนคาบสมุทรมลายู เกาะสุมาตรา และหมู่เกาะชวา โดยส่วนของชวาได้แยกตัวออกไปตั้งเป็นอาณาจักรมัชปาหิต ต่อมาเมื่ออาณาจักรศรีวิชัยอ่อนแอลง อาณาจักรมัชปาหิตได้ยกทัพเข้ามาตีศรีวิชัย ได้

  15. ดินแดนสุมาตราและบางส่วนของคาบสมุทรมลายูไป และทำให้ศรีวิชัยล่มสลายไปในที่สุด ส่วนพื้นที่คาบสมุทรที่เหลือ ต่อมาเชื้อพระวงศ์จากอาณาจักรเพชรบุรี ได้เสด็จมาฟื้นฟูและตั้งเป็นอาณาจักรนครศรีธรรมราช

  16. อาณาจักรจามปา อาณาจักรจามปา เป็นอาณาจักรโบราณตั้งเมื่อพุทธศตวรรษที่ 7 อยู่ทางใต้ของจีนอยู่ทางเหนือของฟูนันปัจจุบันคือ เมืองเว้ กว่างนาม ถัวเถียน แผนรัง และ ญาจางเนื่องจากสมัยก่อนพื้นที่นี้เป็นเขตทุรกันดาร จีนจึงไม่สามารถครอบครองพื้นที่นี้ได้

  17. ชนชาติจามสืบเชื้อสายจากชาว มาลาโยโพลินีเชียน พวกจามเป็นชาวทะเลมีความสามารถทางการเดินเรือ ต่อมาราว พ.ศ. 989 กองทัพจีนได้ยกทัพมาตีราชธานีของชาวจามลงได้ เมื่อพุทธศตวรรษที่ 10 มีชาวจีนชื่อ มาตวนหลิน ได้เขียนเรื่องของชาวหลินยี่ หรือ ชาวจามว่า ชาวบ้านสร้างบ้านด้วยอิฐแล้วฉาบด้วยปูน

  18. หญิงและชายมีผ้าฝ้ายผืนเดียวห่อหุ้มร่างกาย และชอบเจาะหูและห้อยห่วงเล็ก ผู้ดีใส่รองเท้าหนัง พวกไพร่เดินเท้าเปล่า พระราชาทรงพระมาลาทรงสูง ทรงช้าง และล้อมรอบด้วยบริพารถือธงและกลดกั้น

  19. พุทธศตวรรษที่ 17 นั้นชาวจามปาได้ถูกกองทัพของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2กษัตริย์อาณาจักรเขมร และต่อมาในพ.ศ. 1856 พ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัยตี และในพ.ศ. 2014 ราชวงศ์เลของชาวเวียดนามได้ยกมาตีราชธานีกรุงวิชัย (บิญดิ่ญ) จนแตก

  20. จนชาวจามเสียชีวิต 60,000 คน เป็นเชลยอีก 30,000 คน ทำให้เสียความเป็นชาติไป โดยเป็นเมืองขึ้นญวน และบางส่วนได้อพยพมาในอาณาจักรสยามและมาเป็นอาสาจามในอยุธยาโดยมาความรับผิดชอบด้านเรือทะเล โดยได้เป็นพนักงานกำปั่นหลวงตั้งแต่สมัยพระนารายณ์มหาราชจนถึงรัชกาลที่ 5

More Related