1 / 67

การเฝ้าระวังการเจ็บป่วยเบื้องต้นในเด็ก และการติดตามเยี่ยมบ้าน

การเฝ้าระวังการเจ็บป่วยเบื้องต้นในเด็ก และการติดตามเยี่ยมบ้าน. นาง ปาณิสรา สิทธินาม ศูนย์อนามัยที่ 3 ชลบุรี. การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นแรกเกิด และต้องติดตามเยี่ยม. ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด. สาเหตุ

Download Presentation

การเฝ้าระวังการเจ็บป่วยเบื้องต้นในเด็ก และการติดตามเยี่ยมบ้าน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเฝ้าระวังการเจ็บป่วยเบื้องต้นในเด็ก และการติดตามเยี่ยมบ้าน นางปาณิสรา สิทธินาม ศูนย์อนามัยที่ 3 ชลบุรี

  2. การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นแรกเกิดการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นแรกเกิด และต้องติดตามเยี่ยม

  3. ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด • สาเหตุ • เม็ดเลือดแดงของเด็กมีอายุสั้น จึงเกิดการแตกทำลายมาก ทำให้มีสารบิลิรูบินมาก และไปจับตามผิวหนัง • ตับของทารกยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้การขับสารบิลิรูบินออกจากร่างกายไม่ดีเท่าที่ควร สารบิลิรูบินจึงคั่งค้างในร่างกายมากขึ้น

  4. สาเหตุ • หมู่เลือดของมารดาและทารกไม่เข้ากัน • เลือดแดงของทารกขาดเอนไซม์ จี -6พีดี ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติ

  5. อันตรายจากตัวเหลือง เมื่อระดับบิลิรูบินสูงมาก เหลืองเร็ว เหลืองนาน ถ้าไม่รักษา อาจเกิดอาการดีซ่านขึ้นสมอง มีอาการซึม ดูดนมไม่ดี แขนขาอ่อนแรง ชักกระตุก ร้องเสียงแหลม กล้ามเนื้ออ่อนแรง

  6. การรักษา • การสังเกต • การส่องไฟ • การถ่ายเปลี่ยนเลือด

  7. คำแนะนำเมื่อติดตามเยี่ยมบ้านคำแนะนำเมื่อติดตามเยี่ยมบ้าน 1. กระตุ้นให้ทารกดูดนมมารดาบ่อยๆ 2. ให้ทารกนอนในที่มีแสงสว่างมาก ๆ อาจเปิดไฟช่วยได้ 3. ให้สังเกตว่าทารกตัวเหลืองเพิ่มขึ้นหรือไม่ หากเหลืองมากขึ้น ซึม ไม่ดูดนม ให้กลับไปพบแพทย์ 4. ประเมินน้ำหนัก ความยาว

  8. น้ำหนักตัวน้อยแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยแรกเกิด • หมายถึง เด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม • สาเหตุ • มารดาอายุ < 20 ปี , > 35 ปี • ตั้งครรภ์มากกว่า 4 ครั้ง • มารดามีภาวะซีด หรือมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ครรภ์เป็นพิษ เบาหวาน • มารดาน้ำหนักขึ้นน้อยกว่า 10 กก. • คลอดก่อนกำหนด

  9. การรักษา ในระยะแรกเกิด เด็กต้องอยู่ในตู้อบ ในกรณีที่การทำงานของปอดยังไม่ดี อาจต้องให้ออกซิเจนรักษา ถ้ามีภาวะตัวเหลืองต้องรักษาภาวะตัวเหลือง ผลกระทบ • เสียชีวิต จาก ภาวะขาดออกซิเจนในขณะแรกเกิด ติดเชื้อ ภาวะตัวเหลืองแรกเกิด • เจ็บป่วยบ่อย • ทุพโภชนาการ • พัฒนาการล่าช้า

  10. การดูแลและติดตามเยี่ยมการดูแลและติดตามเยี่ยม • กระตุ้นให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน • แนะนำให้มารดารับประทานอาหารที่มีประโยชน์ • ติดตามชั่งน้ำหนัก • แนะนำอาหารเสริมตามวัยอย่างเหมาะสม • ติดตามพัฒนาการ

  11. เด็กปากแหว่ง เพดานโหว่ • ภาวะหรือโรคปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นความพิการแต่ • กำเนิดของศีรษะและใบหน้า • สาเหตุ • ปัจจัยจากภายใน คือ กรรมพันธุ์ • ปัจจัยจากภายนอก ได้แก่การเจ็บป่วยของมารดาขณะ • ตั้งครรภ์ภาวะขาดสารอาหารของมารดาในระหว่างตั้งครรภ์ • มารดาสูบบุหรี่จัด มารดาได้รับยา และ/หรือสารบางชนิดต่อเนื่อง เช่น ยากันชัก (เช่น ฟีไนโตอิน/ Phenytoin), • ไดแลนติน/Dilantin) ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์

  12. ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ก่อปัญหาอะไรบ้าง?ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ก่อปัญหาอะไรบ้าง? ปัญหาในการดูดกลืน ทารกไม่สามารถควบคุมการไหลของนมได้ จึงต้องกลืนติดกันถี่ๆ ทำให้หายใจไม่ทันเกิดสำลักนมเข้าหลอดลม/เข้าปอดส่งผลให้เกิดภาวะอาการเขียวคล้ำจากการขาด อากาศ สำรอกและอาเจียนนมบ่อยจากลมในกระเพาะอาหาร ปัญหาทางเดินหายใจ การสำลักง่าย จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดิน หายใจ

  13. การแนะนำในการติดตามเยี่ยมบ้านการแนะนำในการติดตามเยี่ยมบ้าน การป้อนนม • ตำแหน่งในการให้นม ศีรษะควรสูงประมาณ 45 องศา • เพื่อที่จะช่วยลดการไหลย้อนของน้ำนมมาที่จมูก • เด็กต้องการอุ้มเรอ (burping) หลังการให้นมมากกว่าเด็กปกติเนื่องจากเด็กกลืนลมลงท้องมากกว่าปกติ • เน้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีที่สุด • ใช้ขวดนมพิเศษ ที่สามารถช่วยบีบนมออกจากขวดได้ • เด็กจะได้ไม่ต้องออกแรงดูดมาก • จุกนมตัดเป็นรูปตัว Y ด้านที่มีรูอากาศจุกนมจะบางกว่าอีกด้าน เพื่อช่วยให้เด็กสามารถใช้ลิ้นและริมฝีปากดูดน้ำนมได้สะดวกยิ่งขึ้น●วาล์วกันสำลักป้องกันไม่ให้น้ำนมในจุกนมไหลกลับลงไปในขวด

  14. การเจ็บป่วยทั่วไปในเด็กการเจ็บป่วยทั่วไปในเด็ก ที่พบบ่อย

  15. ไข้ ภาวะไข้เป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็ก ถ้าไม่ได้รับการดูแลเบื้องต้นอย่างถูกวิธีอาจก่อให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ที่มา( www.med.cmu.ac.th/hospital/opd )

  16. ความหมายของภาวะไข้ ภาวะไข้ หมายถึง ภาวะที่เด็กมีอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.6 องศาเซลเซียสขึ้นไป โดยการวัดทางปาก หรือตั้งแต่ 38.0 องศาเซลเซียสขึ้นไป เมื่อวัดทางทวารหนัก หรืออุณหภูมิร่างกายตั้งแต่37.6 องศาเซลเซียสขึ้นไป เมื่อวัดทางหู โดยใช้ เทอร์โมมิเตอร์แบบอิเลคโทรนิคส์ หรืออุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.6 องศาเซลเซียสขึ้นไป เมื่อวัดทางหน้าผากโดยเทอร์โมมิเตอร์แบบอิเลคโทรนิคส์ ที่มา( www.med.cmu.ac.th/hospital/opd )

  17. อาการและอาการแสดงเมื่อมีภาวะไข้อาการและอาการแสดงเมื่อมีภาวะไข้ อาการและอาการแสดงที่พบบ่อยเมื่อเด็กมีไข้ ได้แก่ ตัวร้อน ผิวหนังแห้ง แดง ร้อน หน้าแดง เหงื่อออก เซื่องซึม กระหายน้ำ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น หายใจเร็วขึ้น ร้องไห้กวน งอแง ปวดตามร่างกาย ศีรษะ หรือบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย ที่มา( www.med.cmu.ac.th/hospital/opd )

  18. ผลกระทบหรือข้อเสียของการมีภาวะไข้ผลกระทบหรือข้อเสียของการมีภาวะไข้ ผลกระทบหรือข้อเสียของการมีไข้ มีดังนี้ 1. อาจเกิดอาการชักได้ ถ้าหากมีไข้สูง 2. ถ้ามีไข้สูงตั้งแต่ 41 องศาเซลเซียสขึ้นไป อาจเกิดอันตรายต่อสมอง 3. ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง 4. น้ำหนักลด ที่มา( www.med.cmu.ac.th/hospital/opd )

  19. การวัดอุณหภูมิ หรือการวัดไข้ มีหลายวิธี ดังนี้ 1. การวัดทางปาก เป็นวิธีที่ใช้กับเด็กโต อายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป วัดโดยใส่เทอร์โมมิเตอร์ไว้ใต้ลิ้น แล้วให้เด็กปิดปากอมไว้ นานประมาณ 3 นาที แต่ไม่ควรใช้วัดในเด็กที่มีประวัติชัก เพราะเด็กอาจกัดเทอร์โมมิเตอร์แตก แล้วกินสารปรอทเข้าไปเป็นอันตรายได้ และไม่ควรวัดไข้หลังจากเด็กดื่มน้ำร้อน หรือน้ำเย็นทันที ควรรอหลังจากนั้น 15-20 นาที ค่าอุณหภูมิปกติ คือ 35.5 – 37.5 องศาเซลเซียส 2. การวัดทางทวารหนัก เป็นวิธีที่ได้ค่าอุณหภูมิของร่างกายที่ดีที่สุด วัดโดยการใช้เทอร์โมมิเตอร์ทาด้วยวาสลิน สอดเข้าไปในรูทวารหนักลึกประมาณ 1 นิ้วหรือ 1.5-2 เซนติเมตร วัดนานประมาณ 1-2 นาที แต่การวัดโดยวิธีนี้ก่อให้เกิดความไม่สุขสบาย เจ็บปวด หรือการฉีกขาดของรูทวารหนักได้ ค่าอุณหภูมิปกติ คือ 36.6 – 37.9 องศาเซลเซียส

  20. 3. การวัดโดยการใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบอิเลคโทรนิคส์ เป็นวิธีที่ง่ายและแม่นยำ ใช้สะดวกและรวดเร็ว ได้แก่ 3.1 การวัดทางรูหู ในขณะวัดให้ดึงใบหูของทารกไปด้านหลัง ส่วนเด็กโตให้ดึงใบหูขึ้นและโน้มไปด้านหลัง เพื่อให้แสงอินฟาเรดของเทอร์โมมิเตอร์ส่องถึงเยื่อแก้วหูได้ ค่าอุณหภูมิปกติ คือ 35.7-37.5 องศาเซลเซียส 3.2 การวัดทางผิวหนัง เช่น หน้าผาก หลังใบหู ซอกคอ โดยใช้เทอร์โมมิเตอร์สัมผัสบริเวณดังกล่าว แล้วอ่านค่าที่วัดได้ ค่าอุณหภูมิปกติ คือ 35.7 – 37.5 องศาเซลเซียส ที่มา( www.med.cmu.ac.th/hospital/opd )

  21. การจัดการกับภาวะไข้ เมื่อเด็กมีไข้ ต้องได้รับการช่วยเหลือเพื่อลดอุณหภูมิของร่างกายลง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น อาการชัก เป็นต้น โดยปกติอุณหภูมิของร่างกายเด็กจะลดลงสู่ระดับปกติ เมื่อได้รับการรักษาสาเหตุของภาวะไข้ที่เหมาะสม แต่จุดมุ่งหมายหลักของกิจกรรมต่อไปนี้ คือ การช่วยให้เด็กที่มีไข้ได้รับความสุขสบาย ซึ่งทำได้ดังต่อไปนี้ดังต่อไปนี้ ที่มา( www.med.cmu.ac.th/hospital/opd )

  22. 1. สวมเสื้อผ้าให้บางลง ไม่ควรห่อตัวเด็ก หรือห่มผ้าที่หนาเกินไป เพื่อให้ความร้อนได้ระบายออกไปได้ดีขึ้น ถ้าหากมีอาการหนาวสั่น ให้ห่มผ้าเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น 2. กระตุ้นเด็กดื่มน้ำ หรือนมมาก ๆ เพื่อทดแทนน้ำที่เสียไปทางเหงื่อ 3. การวัดอุณหภูมิในห้องให้มีการถ่ายเทของอากาศได้สะดวก เช่น การเปิดประตู หน้าต่าง การใช้พัดลมเป่า แต่อย่าเป่าตรงตัวเด็ก เพราะจะทำให้หนาวสั่นได้ ถ้าเป็นห้องปรับอากาศควรปรับอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 16 – 19 องศาเซลเซียส 4. การเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น จะทำให้หลอดเลือดที่ผิวหนังขยายตัว ระบายความร้อนออกจากร่างกายโดยกระบวนการนำความร้อนจากร่างกายสู่ผ้าเปียกที่ใช้เช็ดตัว รวมทั้งการระเหยของน้ำจากผิวกายและการพาความร้อนจากผิวกายออกไปในขณะเช็ดตัว การเช็ดตัวควรทำเมื่อเด็กให้ความร่วมมือ แต่ถ้าหากเด็กไม่ชอบ หรือหนาวสั่นควรหยุดทำเพราะการร้องไห้ ดิ้น หนาวสั่น ล้วนทำให้ความร้อนของร่างกายสูงขึ้นซึ่งมีวิธีการเช็ดตัวเพื่อลดไข้ดังนี้ ที่มา( www.med.cmu.ac.th/hospital/opd )

  23. 4.1 จัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ได้แก่ กะละมังใส่น้ำอุ่น ผ้าเช็ดตัวผืนเล็ก 2 – 3 ผืน ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่ 1 ผืนใช้ห่มตัวเด็ก 4.2 เช็ดตัวเด็กโดยใช้ผ้าชุบน้ำบิดให้หมาด ๆ แล้วลูบไล้ไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ร่วมกับการประคบผิวหนังตามจุดที่รวมของหลอดเลือดขนาดใหญ่ใต้ผิวหนัง เช่น บริเวณหน้าผาก ซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ และข้อพับต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ความร้อนถ่ายเทออกจากร่างกาย ในเด็กโตควรพูดคุยอธิบายให้เข้าใจก่อน เพื่อให้ความร่วมมือ ระยะเวลาที่ใช้ในการเช็ดตัวลดไข้ประมาณ 15 – 20 นาที ภายหลังเสร็จสิ้นการเช็ดตัวลดไข้แล้วประมาณ 30 นาที ควรวัดไข้ซ้ำ ถ้าหากไข้ยังไม่ลดลงให้ทำซ้ำได้ทุก 2 ชั่วโมง ที่มา( www.med.cmu.ac.th/hospital/opd )

  24. 5. ให้เด็กได้รับการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อลดการเผาผลาญภายในร่างกาย 6. การให้ยาลดไข้ ได้แก่ พาราเซตามอล ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ 6.1 ชนิดหยด 6.2 ชนิดน้ำเชื่อม 6.3 ชนิดเม็ด ขนาดที่ใช้ คำนวณตามน้ำหนักตัวของเด็ก โดยให้ขนาด 10 – 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อครั้ง โดยส่วนใหญ่แพทย์จะให้ใช้ทุก 4 – 6 ชั่วโมง เมื่อมีไข้ หากไม่มีไข้ไม่ควรรับประทาน ที่มา( www.med.cmu.ac.th/hospital/opd )

  25. การออกฤทธิ์ ยาพาราเซตามอลจะออกฤทธิ์สูงสุดภายใน ½ - 1 ชั่วโมง หลังรับประทานยา อาการข้างเคียงของยาพาราเซตามอล ได้แก่ กล้ามเนื้อคลายตัว เด็กจะง่วงซึมมากขึ้น อาจทำให้มีผื่นตามตัว บวม มีแผลบริเวณเยื่อบุช่องปาก ข้อห้ามใช้ยาพาราเซตามอล ได้แก่ ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคตับ 7. หากเด็กมีอาการแย่ลงกว่าเดิม เช่น ไข้ไม่ลด กระสับกระส่ายมากขึ้น อาเจียน ต้องรีบนำมาพบแพทย์ทันที ที่มา( www.med.cmu.ac.th/hospital/opd )

  26. การปฏิบัติเมื่อเกิดอาการชักจากภาวะไข้การปฏิบัติเมื่อเกิดอาการชักจากภาวะไข้ เมื่อเด็กเกิดอาการชักจากภาวะไข้ คำแนะนำในการปฏิบัติมีดังต่อไปนี้ 1. จัดให้เด็กตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้น้ำลายไหลออกจากปาก ไม่สำลักเข้าไปในทางเดินหายใจและลิ้นไม่ตกอุดหลอดลม รวมทั้งดูแลทางเดินหายใจให้โล่งอยู่เสมอ โดยการดูดเสมหะออกจากปากและจมูกบ่อยๆ 2. จัดให้เด็กนอนราบ ใช้ผ้านิ่ม ๆ เช่นผ้าห่ม หรือผ้าเช็ดตัวหนุนบริเวณใต้ศีรษะเพื่อป้องกันไม่ให้ศีรษะกระแทกกับพื้นเตียง และระหว่างชักต้องระวังศีรษะ แขน และขากระแทกกับของแข็งหรือสิ่งมีคม โดยเก็บสิ่งของที่อาจเป็นอันตรายออกและไม่ควรเคลื่อนย้ายเด็กขณะชัก 3. ไม่ควรผูกยึดตัวเด็กขณะที่มีอาการชัก เพราะอาการผูกยึดอาจจะทำให้กระดูกหักได้ 4. คลายเสื้อผ้าให้หลวม โยเฉพาะรอบ ๆ คอ เพื่อให้เด็กหายใจได้สะดวก และอย่าให้มีคนมุงมาก เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี ที่มา( www.med.cmu.ac.th/hospital/opd )

  27. 5. การกดลิ้นเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น เนื่องจากการพยายามกดปากเด็กให้อ้าออกเพื่อใส่ไม้กดลิ้นอาจจะเป็นอันตรายได้จากฟันหักและหลุดไปอุดหลอดลม 6. สังเกตและบันทึกลักษณะการชัก ลักษณะของใบหน้า ตา ขณะชัก ระดับการรู้สติของเด็กก่อน ระหว่าง และหลังชัก พฤติกรรมที่ผิดปกติหลังจากชัก ระยะเวลาที่ชักทั้งหมด จำนวนครั้ง หรือความถี่ในการชัก 7. หลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้เด็กเกิดการชักขึ้นอีก เช่น จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ ดูแลไม่ให้เด็กมีไข้ 8. สังเกตและติดตามอาการชักที่อาจเกิดขึ้นอีก โดยจัดให้เด็กนอนในบริเวณที่สังเกตได้ตลอดเวลา รวมรั้งสังเกตอาการเปลี่ยนแปลง ถ้าเด็กชักนานกว่า 5 นาที หรือชักซ้ำหลังจากชักครั้งแรกผ่านไป อาการไม่ดีขึ้นภายหลังการชัก มีหายใจลำบาก ถ้าอยู่ที่บ้านควรรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาต่อไป (สมพร สุนทราภา, 2550) ที่มา( www.med.cmu.ac.th/hospital/opd )

  28. อาการไข้ที่พบบ่อย Ờ ไข้หวัดธรรมดา Ờ ไข้หวัดใหญ่ Ờ ไข้ออกผื่น Ờ ไข้เลือดออก ที่มา มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา

  29. ไข้หวัดธรรมดา สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส มักพบได้บ่อยที่สุด อาการ มีน้ำมูก ไอ จาม เจ็บคอ อ่อนเพลีย และมีไข้ ไข้หวัดใหญ่ สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ มีทั้งรุนแรงและไม่รุนแรง อาการ มีไข้สูง หนาวๆร้อนๆ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหัว เจ็บคอ คัดจมูก ไอแห้งๆ ที่มา มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา

  30. ไข้หวัดธรรมดา และไข้หวัดใหญ่ การติดต่อ การไอ /จามรดกัน รวมทั้งใกล้ชิดกับผู้ป่วย การดูแลเบื้องต้น เช็ดตัวเพื่อลดไข้ รับประทานอาหารอ่อนและดื่มน้ำมากๆ และให้ยาตามอาการ เช่น พาราเซตามอล ยาลดน้ำมูก การป้องกัน ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย ป้องกันไม่ให้มีการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นโอยการสวมหน้ากากอนามัย ที่มา มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา

  31. ไข้ออกผื่น(ส่าไข้) สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง อาการ มักมีไข้สูง ขึ้นทันทีทันใด และมักมีไข้สูงตลอดเวลา เด็กอาจซึม เบื่ออาหาร แต่ไม่มีน้ำมูกและอาการร้ายแรงอื่นๆ ประมาณ 1- 5 วัน หลังจากนั้นไข้จะลดและตามมาด้วยผื่นแดงเล็กๆ ขึ้นตามตัว และเด็กจะกลับมาเป็นปกติ การติดต่อ การไอ/จามรดกัน รวมทั้งการใกล้ชิดกับผู้ป่วย การดูแลเบื้องต้น เช็ดตัวเพื่อลดไข้ รับประทานอาหารอ่อนและดื่มน้ำมากๆ ที่มา มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา

  32. ไข้เลือดออก สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค อาการ แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1ระยะไข้ ลักษณะไข้สูงลอย กินยาลดไข้ก็ไม่ค่อยลด หน้าแดง ตาแดง ปวดศรีษะ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้องใต้ลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงขวา วันที่ 3 อาจเห็นผื่นแดง ไม่คัน ระยะที่ 2ระยะช็อก เกิดขึ้นในวันที่ 3- 7 ของโรค ไข้เริ่มลงแต่อาการทรุด ปวดท้อง อาเจียน ซึม ตัวเย็นกระสับกระส่าย อาจมีอาการเลือดออก ระยะที่ 3ระยะฟื้นตัว นาน 7- 10 วันหลังจากระยะที่ 2 ถ้าช็อคไม่รุนแรงจะฟื้นตัวได้ดี ที่มา มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา

  33. ผื่นแดงจากไข้เลือดออกผื่นแดงจากไข้เลือดออก ที่มา มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา

  34. ไข้เลือดออก การติดต่อ มียุงลายเป็นพาหะนำโรค การดูแลเบื้องต้น เช็ดตัวลดไข้และให้ดื่มเกลือแร่ ให้ยาลดไข้พาราเซตามอล ห้ามให้ยาลดไข้แอสไพริน หรือ ไอบูโพรเฟน รีบส่งโรงพยาบาล ที่มา มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา

  35. ไข้ร่วมกับผื่นหรือตุ่มขึ้นไข้ร่วมกับผื่นหรือตุ่มขึ้น อีสุกอีใส มือ – เท้า – ปาก หัด หัดเยอรมัน ที่มา มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา

  36. โรคอีสุกอีใส สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสอีสุกอีใส อาการ เริ่มต้นคือมีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัว มีตุ่มนูนและตุ่มน้ำใสขึ้นก่อน ต่อมากลายเป็นตุ่มขุ่นๆ และตุ่มแตกเป็นสะเก็ด ซึ่งเด็กจะคันมาก การติดต่อ ติดต่อโดยการไอ จาม รดกันหรือสัมผัส และใช้ของร่วมกับผู้ป่วย ระยะแตกเป็นสะเก็ด แผลเป็น ระยะตุ่มขุ่น ระยะตุ่มนูนใส ที่มา มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา

  37. โรคอีสุกอีใส การดูแลเบื้องต้น - ให้ยาพาราเซตามอล เพื่อลดไข้ - ให้ทายาแก้แพ้ แก้ผดผื่นคัน คาลาไมล์โลชั่น ถ้าคันมากให้ยาแก้แพ้ เช่น cpm - ตัดเล็บให้สั้นเพื่อป้องกันการแกะเกา ที่มา มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา

  38. โรคมือ – เท้า - ปาก สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส พบได้ในเด็ก อายุ 2 – 14 ปี มักพบในเด็กต่ำกว่า 5 ปี อาการ มีไข้อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บปาก เจ็บคอ มีตุ่มน้ำใสขึ้นในปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า มักหายได้เองภายใน 10 วัน การติดต่อ การไอจามรดกัน การสัมผัส รวมทั้งการใช้ของร่วมกัน การดูแลเบื้องต้น - ให้ยาพาราเซตามอล ดื่มน้ำมากๆ - ล้างมือบ่อยๆ และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีหรือสัมผัสกับผู้ป่วย ที่มา มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา

  39. โรคมือ – เท้า- ปาก ลักษณะตุ่มใสที่ขึ้นในผู้ป่วยมือเท้าปาก ที่มา มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา

  40. โรคหัด สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส อาการ ระยะแรกอาการคล้ายไข้หวัด เบื่ออาหาร น้ำมูกใส ไอแห้งๆ หลังจากไข้ 3 – 4 วัน เริ่มมีผื่นขึ้น เป็นผื่นราบสีแดงขึ้นทั่วตัว การติดต่อ การไอจามรดกัน การสัมผัส รวมทั้งการใช้ของร่วมกัน นอกจากนี้ยังแพร่กระจายได้ทางอากาศ การดูแลเบื้องต้น - ให้ยาพาราเซตามอล บรรเทาปวด ลดไข้ - ถ้าไอมีเสมหะ ให้ยาแก้ไอขับเสมหะ ดื่มน้ำมากๆ ที่มา มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา

  41. โรคหัด ลักษณะผื่นจากโรคหัดธรรมดา ที่มา มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา

  42. โรคหัดเยอรมัน สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส พบมากในช่วงวัยรุ่น 15 – 24 ปี อาการ ไข้ต่ำๆ ปวดศีรษะ ปวดตา เจ็บคอ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ หรืออาจมีอาการไข้หวัด นาน 1- 5 วัน จะมีผื่นขึ้นทั่วตัวคล้ายหัดแต่ผื่นเล็กกว่าลักษณะเฉพาะ คือ มีต่อมน้ำเหลืองโต การติดต่อ การไอจามรดกัน การสัมผัส รวมทั้งการใช้ของร่วมกัน นอกจากนี้ยังแพร่กระจายได้ทางอากาศ การดูแลเบื้องต้น - ให้ยาพาราเซตามอล บรรเทาปวด ลดไข้ - ถ้าไอมีเสมหะ ให้ยาแก้ไอขับเสมหะ ดื่มน้ำมากๆ ที่มา มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา

  43. โรคหัดเยอรมัน ลักษณะผื่นจากโรคหัดเยอรมัน ที่มา มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา

  44. อาการที่ควรส่งต่อสถานพยาบาลเพื่อตรวจเพิ่มเติมอาการที่ควรส่งต่อสถานพยาบาลเพื่อตรวจเพิ่มเติม ที่มา มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา

  45. อาการที่ควรส่งต่อสถานพยาบาล ด่วน !!!! ที่มา มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา

  46. ตาแฉะ/ท่อน้ำตาอุดตัน สาเหตุ - เกิดจากการติดเชื้อ ส่วนใหญ่เป็นเชื้อแบคทีเรีย ที่มาจากการดูแลสุขอนามัยไม่ดี ส่งผลให้เกิดเยื่อตาอักเสบ มีขี้ตาแฉะ บางรายมีตาอักเสบ และมีตาแดงร่วมด้วย - การหยอดตาหรือป้ายยา เด็กบางคนอาจเกิดการระคายเคือง น้ำตาไหล มีขี้ตาเยอะได้ แต่ไม่เกิน 1 อาทิตย์ - ขี้ตาเยอะ + ตาแฉะ = ท่อน้ำตาไม่ขยายเด็ดแรกเกิดท่อน้ำตายังขยายไม่เต็มที่จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอุดตัน ทำให้ขี้ตาเยอะ น้ำตาจะคลอเบ้าอยู่ตลอด และมักจะเป็นช่วง 1 – 2 อาทิตย์ แรกหลังคลอด

  47. ตาแฉะ/ท่อน้ำตาอุดตัน การดูแล 1. ก่อนทำความสะอาดดวงตาเด็กควรจะล้างมือด้วยน้ำสบู่อ่อนๆให้สะอาด หรือเช็ดมือด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนและต้องตัดเล็บให้สั้น 2. ใช้สำลีชุบน้ำอุ่น บิดสำลีให้หมาดแล้วค่อยๆเช็ด โดยเช็ดจากหัวตาไปหางตา 3. ใช้สำลีชุบน้ำอุ่น บิดให้หมาด เช็ดเช็ดบริเวณรอบดวงตาอีกครั้งหนึ่งโดยเช็ดบริเวณเปลือกตาบนก่อน และใต้ดวงตาอย่างเบามือ 4. ใช้ผ้าสะอาด ที่เนื้อผ้านิ่ม ไม่หยาบค่อยๆ ซับบริเวณรอบดวงตาให้แห้งอีกครั้ง 5. ควรเช็ดวันละ 2-3 ครั้งหลังการอาบน้ำหรือเช็ดเวลาตาแฉะ

  48. การนวดหัวตา วิธีการนวดหัวตาต้องนวดวันละ 2-6 ครั้ง ครั้งละ 10 ที โดยต้องล้างมือให้สะอาดตัดเล็บให้สั้นใช้นิ้วก้อยกดตรงตำแหน่ง ที่อยู่ของถุงน้ำตาและส่วนบนท่อน้ำตา ซึ่งอยู่ที่หัวตาชิดกับ ดั้งจมูกให้กดเบา ๆ และเคลื่อนลงล่างมาทางปลายของจมูก เพื่อเพิ่มความดันในท่อน้ำตาจะทำให้ท่อน้ำตาเปิด

  49. การรักษาแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1. แพทย์จะให้ยาหลอดตา และแนะนำการนวดหัวตา 1 สัปดาห์ เมื่อไม่ดีขึ้นจะนัดล้างท่อน้ำตา • 2. เมื่ออายุ 3 – 8 เดือน ถ้าการรักษาแล้วยังไม่หาย ขั้นตอนต่อไป • คือการใช้นํ้าเกลือ ล้างเข้าไปในถุงนํ้าตาเพื่อขจัดความหมักหมมและการติดเชื้อ • แรงดันของนํ้าเกลือที่ฉีดเข้าไปในระบบระบายนํ้าตา อาจช่วยดันจุดที่อุดตัน • ให้เปิดออก • 3. ถ้าอายุ 8 เดือนแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น จะรักษาด้วยการใช้ลวด • สเตนเลส แยงให้ผ่านบริเวณที่อุดตัน ภายใต้การดมยาสลบ

More Related