1 / 1

ขอเชิญเข้าร่วม การปฐมนิเทศโครงการและการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนด ขอบเขตและ

ขอเชิญเข้าร่วม การปฐมนิเทศโครงการและการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนด ขอบเขตและ แนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ( Public Scoping). โครงการท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง.

byron-nash
Download Presentation

ขอเชิญเข้าร่วม การปฐมนิเทศโครงการและการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนด ขอบเขตและ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ขอเชิญเข้าร่วมการปฐมนิเทศโครงการและการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและขอเชิญเข้าร่วมการปฐมนิเทศโครงการและการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและ แนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) โครงการท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง ความเป็นมาและความจำเป็น : จากข้อมูลของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) พบว่า ปัจจุบันการกระจายสินค้าระหว่างท่าเรือแหลมฉบัง กับพื้นที่หลังท่าส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 90 ยังใช้รูปแบบการขนส่งทางถนนเป็นหลัก ซึ่งเป็นรูปแบบที่สิ้นเปลืองพลังงานและมีผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมสูงที่สุด โดยมีการขนส่งทางรางเพียงร้อยละ 9 และทางชายฝั่งและลำน้ำประมาณร้อยละ 2 เท่านั้น ทำให้ประเทศไทยมีต้นทุนทางด้าน Logistics สูงมาก เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือประเทศคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญ ระบบการขนส่งที่มีต้นทุนต่ำที่สุดได้แก่การขนส่งทางน้ำ ปัจจุบันประเทศไทยมีการขนส่งชายฝั่งและลำน้ำน้อยมาก ทั้งนี้เนื่องจากยังขาดท่าเรือและการเชื่อมโยงกับระบบการขนส่งต่อเนื่องอื่นๆ โดยในส่วนของท่าเรือแหลมฉบังยังไม่มีท่าเทียบเรือที่ให้บริการแก่เรือชายฝั่งเป็นการเฉพาะ ทำให้เรือชายฝั่งต้องเข้าเทียบท่าเรือระหว่างประเทศเพื่อขนถ่ายตู้สินค้าส่งออกขึ้นท่า รอบรรทุกลงเรือสินค้าระหว่างประเทศ หรือรับตู้สินค้าขาเข้าจากท่าเทียบเรือระหว่างประเทศโดยตรงเ มื่อเรือระหว่างประเทศเข้ามาจึงต้องรอเรือชายฝั่งบรรทุกหรือขนถ่าย ที่ตั้งโครงการท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A)ที่ท่าเรือแหลมฉบัง สินค้าให้เสร็จเรียบร้อยก่อน หรือเรือชายฝั่งจะต้องไปเทียบท่าอื่นแทน การที่เรือชายฝั่งเข้าเทียบท่าเรือระหว่างประเทศจึงก่อให้เกิดปัญหาตารางเรือเทียบท่า (Berthing Window) ของท่าเทียบเรือระหว่างประเทศเต็ม โดยปรกติผู้ประกอบการต้องให้สิทธิ์แก่เรือสินค้าระหว่างประเทศเป็นลำดับแรกก่อน เรือชายฝั่งจึงมักต้องไปเทียบท่าอื่นแทนทำให้มีค่ายกขนและค่าเคลื่อนย้ายตู้สินค้าซ้ำซ้อน รวมทั้งมีต้นทุนเรือคอยเทียบท่า (Waiting Time) ที่สูง ซึ่งการดำเนินการในปัจจุบัน กทท.ให้เอกชนร่วมลงทุนบริหารและประกอบการท่าเทียบเรือ A0 เป็นท่าอเนกประสงค์และท่าชายฝั่ง ซึ่งสามารถรับเรือสินค้าระหว่างประเทศและเรือชายฝั่งได้ในเวลาเดียวกัน แต่แผนธุรกิจของท่าเทียบเรือดังกล่าวมีลักษณะผสมผสานการให้บริการทั้งแก่ตู้สินค้าระหว่างประเทศจากเรือคอนเทนเนอร์ สินค้าประเภทหีบห่อและสินค้าโครงการ (Project Cargo) จากเรือสินค้าทั่วไปและสินค้าที่บรรทุกยานพาหนะ (Ro/Ro) ที่ขนส่งภายในประเทศและระหว่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ โดยมีแผนรับเรือตู้สินค้าทางชายฝั่งและทางลำน้ำเพียงส่วนน้อยเท่านั้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว กกท.จึงมีแนวความคิดที่จะก่อสร้างท่าเทียบเรือชายฝั่งเป็นการเฉพาะ ที่ให้บริการเป็นท่าสาธารณะอย่างแท้จริงที่ท่าเรือแหลมฉบังด้วย เพื่อให้เพียงพอที่จะรองรับและทำให้เกิดความมั่นใจที่จะขยายธุรกิจการขนส่งตู้สินค้าทางชายฝั่งและทางลำน้ำมายังท่าเรือแหลมฉบัง ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคต ขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ลักษณะโครงการเบื้องต้น : โครงการท่าเทียบเรือชายฝั่ง(ท่าเทียบเรือ A) ของท่าเรือแหลมฉบังมีขนาดของแอ่งจอดเรือเท่ากับ 115 x 120 เมตร ความลึก – 10 เมตร (MSL) โดยมีความยาว 122 เมตร และ 120 เมตร สามารถรับเรือชายฝั่งขนาดระวางบรรทุก 3,000 DWT ขนตู้สินค้าได้คราวละ 200 TEU และขนาด 1,000 DWT ขนตู้สินค้าได้คราวละ 100 TEU ได้อย่างละ 1ลำ พร้อมกันในเวลาเดียว สามารถใช้ประโยชน์พื้นที่หน้าท่าและหลังท่าสูงสุด โดยมีพื้นที่หน้า 8,760 ตารางเมตร พร้อมติดตั้งปั้นจั่นหน้าท่าและปั้นจั่นจัดเรียงตู้สินค้าในลานเพื่อให้รับตู้สินค้าได้ถึง 300,000 TEU/ปี โดยใช้ขนส่งสินค้าประเภทสินค้าอาหารแห้งและอาหารสดแช่แข็ง เช่น ยาง ข้าว ฯลฯ แหล่งเงินทุน:การท่าเรือแห่งประเทศไทย แนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการดำเนินการตามแนวทาง ดังต่อไปนี้ 1. ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร-ธรรมชาติ และสุขภาพ ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2552 2. แนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มกราคม, 2553) 3. แนวทางการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพสำหรับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (เมษายน, 2553) โดยได้กำหนดกรอบการศึกษาให้มีการกลั่นกรองผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากกิจกรรมการพัฒนาโครงการซึ่งอาจส่งผลกระทบเป็นสิ่งคุกคามต่อสุขภาพของชุมชนทั้งในระยะก่อสร้างและระยะดำเนินการโครงการ จากนั้นนำผลการกลั่นกรองดังกล่าวมาประชุมปรึกษาหารือเพื่อให้เกิดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ ประชาชนทั่วไป และภาคส่วนต่างๆ ซึ่งจะเป็นขั้นตอนของการกำหนดขอบเขตและแนวทางในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพโดยสาธารณะ (Public Scoping) ต่อไป กำหนดการการปฐมนิเทศโครงการและการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น เพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 เวลา 08.30 – 12.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร 9 อาคารกิจกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมล่วงหน้าได้ที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา 199 หมู่ 6 ทุ่งสุขลา ศรีราชา ชลบุรี 20230 โทรศัพท์ : 0-3835-4587 ต่อ 2796 โทรสาร 0-3835-4587 โทรศัพท์มือถือ 0-5848-07497 อีเมล์ : srcnps@ku.ac.th

More Related