1 / 62

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. มาตรา 15 สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย.

caleb-mays
Download Presentation

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15 สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย มาตรา 16 การนับอายุของบุคคล ให้เริ่มนับตั้งแต่วันเกิด ถ้าไม่รู้วันที่เกิดแต่รู้เดือนที่เกิด ให้ถือวันที่ 1 ของเดือนนั้นเป็นวันเกิด หากไม่รู้เดือนเกิดอีกให้นับอายุบุคคลตั้งแต่วันต้นปีปฏิทิน ซึ่งเป็นปีที่บุคคลนั้นเกิด

  2. การบรรลุนิติภาวะ มาตรา 19 บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะ เมื่อ อายุ 20 ปีบริบูรณ์ มาตรา 20 ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากสมรสนั้น ได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา 1448 (17 ปีบริบูรณ์) มาตรา 1454 ผู้เยาว์จะทำการสมรส ให้นำความในมาตรา 1436 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

  3. การบรรลุนิติภาวะ (ต่อ) มาตรา 1436 ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบุคคล ดังนี้ 1. บิดาและมารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดามารดา 2.บิดาหรือมารดา ในกรณีที่บิดาหรือมารดาตายหรือถูกถอนอำนาปกครอง 3. ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม 4. ผู้ปกครอง ในกรณีที่ไม่มีบุคคลตาม 1-3 หรือมีแต่ถูกถอนอำนาจปกครอง การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมดังกล่าวถือเป็นโมฆียะ

  4. การสมรส มาตรา 1448 การสมรสจะกระทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ มาตรา 1449 ห้ามทำการสมรส ถ้าชายหรือหญิงเป็นคนวิกลจริต หรือเป็นคนไร้ความสามารถ มาตรา 1451 ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันมิได้ (ม.1598/32 ถ้าสมรสกัน การรับบุตรบุญธรรมเป็นอันยกเลิก)

  5. การสมรส มาตรา 1452 ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตน มีคู่สมรสอยู่ ไม่ได้ มาตรา 1457 การสมรส ตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น มาตรา 1458 การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายหญิงยินยอม เป็นสามีภรรยากันโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียน (เว้นกรณีตาม ม.1460)

  6. การสมรส มาตรา 1459 การสมรสในต่างประเทศ ระหว่างคนที่ มีสัญชาติไทยด้วยกัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย จะทำตามแบบที่กำหนดไว้ ตามกฎหมายไทย หรือกฎหมายแห่งประเทศนั้นก็ได้ ถ้าคูสมรสประสงค์จะจดทะเบียน ตามกฎหมายไทย ให้พนักงานทูต หรือ กงสุลไทย เป็นผู้รับ จดทะเบียน

  7. การสมรส มาตรา 1450 ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมา เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาก็ดี จะทำการ สมรส กันไม่ได้ ความเป็นญาติให้ถือตามสายโลหิต โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นญาติโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ มาตรา 1495 การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1449, 1450,1452 และ 1458 เป็นโมฆะ มาตรา 1496 คำพิพากษาเท่านั้นที่จะแสดงว่า การฝ่าฝืนตามมาตรา 1449, 1450 และ1458 เป็นโมฆะ(ม.1497 การโมฆะตาม ม.1452 ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าวอ้างขึ้นหรือร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นโมฆะก็ได้)

  8. บุตรชอบโดยกฎหมาย มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่ มิได้มีการ สมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น มาตรา 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายก็ต่อเมื่อ 1.บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง 2.หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร 3.หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร(ม.1557) มาตรา 1548 บิดาจะจดทะเบียนเด็ก เป็นบุตร ชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก

  9. บุตรชอบโดยกฎหมาย(ต่อ) (ม.1548) ในกรณีที่เด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้า นายทะเบียน ให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็ก และมารดาเด็ก ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้าน หรือไม่ให้ความยินยอมภายใน 60 วัน นับแต่การแจ้งนั้นถึงเด็กหรือมารดาเด็ก ให้สันนิษฐานว่าเด็กหรือมารดาเด็ก ไม่ให้ความยินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทย ให้ขยายเวลานั้นเป็น 180 วัน

  10. บุตรชอบโดยกฎหมาย(ต่อ) (ม.1548) ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอมหรืออาจไม่ให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตร จะต้องมีคำพิพากษาของศาล เมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดา ได้นำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้

  11. บุตรชอบโดยกฎหมาย(ต่อ) มาตรา 1557 การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1547 ให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด(แต่ทั้งนี้จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตฯไม่ได้) มาตรา 1559 เมื่อได้จดทะเบียนเด็กเป็นบุตรแล้วจะถอนมิได้ มาตรา 1560 บุตรเกิดระหว่าง สมรสซึ่งศาลพิพากษา ให้เพิกถอน ภายหลังนั้น ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย มาตรา 1561 บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา แต่ในกรณีที่บิดาไม่ปรากฏ บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของมารดา

  12. ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสินส่วนตัวแล้ว ย่อมเป็นสินสมรส มาตรา 1471 สินส่วนตัว ได้แก่ทรัพย์สิน (1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนการสมรส (2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือที่จำเป็นในการประกอบอาชีพของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างการสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา (4) ที่เป็นของหมั้น

  13. ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา มาตรา 1474 สินสมรส ได้แก่ทรัพย์สิน (1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส (2) ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือ เมื่อยกให้ระบุว่าเป็น สินสมรส (3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว กรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

  14. การสิ้นสุดแห่งการสมรสการสิ้นสุดแห่งการสมรส มาตรา 1501 การสมรสย่อมสิ้นสดด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน(ซึ่งมีเฉพาะกรณีในคู่สมรสทำการฝ่าฝืนตาม ม.1448, 1505, 1506, 1507 และ 1509) มาตรา 1514 การหย่านั้นจะทำได้โดยแต่ความยินยอมของทั้ง 2 ฝ่าย หรือโดยคำพิพากษาของศาล(มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ฟ้องหย่าม.1532) มาตรา 1515 การหย่าโดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อ สามีภริยาได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้ว(มีผลนับแต่วันจดทะเบียนหย่า ม.1534)

  15. การสิ้นสุดแห่งการสมรส มาตรา 1526 ในคดีหย่าฯ สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพเป็นอันสิ้นสุด ถ้ามิได้ฟ้อง หรือฟ้องแย้งในคดีหย่านั้น มาตรา 1528 ถ้าฝ่ายที่รับค่าเลี้ยงชีพ สมรสใหม่ สิทธิรับค่าเลี้ยง ชีพย่อมหมดไป มาตรา 1533 เมื่อหย่ากัน ให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิง ได้ส่วนเท่ากัน มาตรา 1535 เมื่อการสมรสสิ้นสุดลง ให้แบ่งความรับผิดในหนี้ ที่จะต้องรับผิดด้วยกันตามส่วนเท่ากัน

  16. หมวด 4 “บุตรบุญธรรม” มาตรา 1598/19 บุคคลที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี สามารถรับบุคคลอื่นเป็นบุตรบุญธรรมก็ได้ แต่ต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี มาตรา 1598/20 การรับบุตรบุญธรรม ถ้าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ผู้นั้นจะต้องให้ความยินยอมด้วย มาตรา 1598/21 การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม จะกระทำได้ ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดามารดาของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม มาตรา 1598/22 ในการรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมที่ถูกทอดทิ้ง และอยู่ ในความดูแลของสถานสงเคราะห์ฯ ให้สถานสงเคราะห์ฯ เป็นผู้ให้ความ ยินยอมแทน บิดามารดา

  17. หมวด 4 “บุตรบุญธรรม” มาตรา 1598/25 ผู้จะรับบุตรบุญธรรมหรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสอยู่ ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน มาตรา 1598/26 ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใด จะเป็นของ บุคคลอื่นอีกไม่ได้ เว้นแต่คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม มาตรา 1598/27 การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อ ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย มาตรา 1598/28 บุตรบุญธรรม ย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎ หมาย ของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ใน ค/ค ที่ได้กำเนิดมา ให้บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครอง นับแต่วันที่เป็นบุตรบุญธรรมแล้ว

  18. หมวด 4 “บุตรบุญธรรม” มาตรา 1598/42 บิดามารดา หรือญาติทางฝ่ายบิดามารดาผู้ให้กำเนิดก็มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมตามปกติ การไปเป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น ไม่ทำให้เสื่อมเสียสิทธิของตนและของฝ่ายบิดาตนแต่อย่างใด อ้างอิง จากเอกสารการสอนชุดวิชา กฎหมายแพ่ง 3 : ครอบครัว – มรดก ( รหัส 41311 หน่วยที่ 8 – 15 หน้า 51 บรรทัดที่ 8 – 10 ของย่อหน้าที่ 2 )

  19. หมวด 4 “บุตรบุญธรรม” มาตรา 1598/29 การรับบุตรบุญธรรม ไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับมรดกของ บุตรบุญธรรม ในฐานะทายาทโดยธรรมเพราะเหตุรับบุตรบุญธรรมนั้น มาตรา 1598/30 ถ้าบุตรบุญธรรมไม่มีคู่สมรสหรือผู้สืบสันดาน เสียชีวิตก่อนผู้รับฯ ผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิเรียกร้องเอา ท/ส ที่ตนได้ให้แก่บุตรบุญธรรม คืนจากกองมรดกของบุตรบุญฯ เท่าที่ ท/ส นั้นยังเหลืออยู่ภายหลังที่ชำระหนี้ของกองมรดกเสร็จสิ้นแล้ว มาตรา 1598/31 การเลิกรับบุตรบุญธรรม ถ้าบุตรบุญฯ บรรลุนิติภาวะแล้ว จะเลิกโดยความตกลงกันระหว่างผู้รับฯ กับบุตรบุญฯ เมื่อใดก็ได้ แต่ถ้ายังไม่บรรลุนิติภาวะต้องได้รับความยินยอมของบิดาและมารดา การเลิกรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย

  20. บรรพ 6 หมวด 1 การตกทอดแห่งทรัพย์มรดก มาตรา1599 “เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท มาตรา 1601 ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดก ที่ได้ตกทอดแก่ตน มาตรา 1603 “กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรม ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า ทายาทโดยธรรม ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า ผู้รับพินัยกรรม

  21. การตกทอดแห่งทรัพย์มรดก มาตรา 1604 บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ ก็ต่อเมื่อ มีสภาพบุคคล ในเวลาเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้ถือว่าเด็กที่เกิดมารอด อยู่ภายใน 310 วันนับแต่เวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้น เป็นทารกในครรภ์มารดาอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย

  22. บรรพ 6 หมวด 3 การตัดมิให้รับมรดก มาตรา 1608 เจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดมิให้รับมรดกก็ได้แต่ด้วยแสดงเจตนาชัดแจ้ง (1) โดยพินัยกรรม (2) โดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ตัวทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกนั้นต้องระบุไว้ให้ชัดเจน แต่เมื่อบุคคลใด ได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกเสียทั้งหมดแล้วให้ถือว่าบรรดาทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์ จากพินัยกรรม เป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก

  23. ลักษณะ 2 สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก(มว.1) มาตรา 1620 ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรม หรือทำพินัย กรรมไว้แต่ไม่มีผลบังคับได้ ให้ปันมรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรม ของผู้ตายนั้น ถ้าผู้ใดตาย โดยได้ทำพินัยกรรมไว้ แต่พินัยกรรมนั้นได้ จำหน่ายทรัพย์หรือมีผลบังคับได้ แต่เพียงบางส่วนแห่งทรัพย์มรดก ให้ปันส่วนที่มิได้จำหน่าย โดยพินัยกรรม ให้แก่ทายาท โดยธรรมตามกฎหมาย

  24. ลักษณะ 2 สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก (มว.1) มาตรา 1621 ทายาทคนใดได้รับทรัพย์สินตามพินัยกรรม แล้ว ผู้นั้นยังมีสิทธิ ที่จะเรียกเอาส่วนโดยธรรมของตนจาก ทรัพย์มรดกที่ยังมิได้จำหน่ายโดยพินัยกรรม จนเต็มอีกก็ได้ มาตรา 1622 พระภิกษุ ไม่สามารถเรียกเอามรดกในฐานะทายาท ได้ เว้นแต่จะสึกมาเรียกร้องภายในกำหนดอายุความตาม ม.1754 ( 1 ปีนับแต่เจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทได้รู้ หรือ ควรได้รู้ ถึงความตายของเจ้ามรดก ) แต่พระภิกษุนั้นอาจเป็นผู้รับพินัยกรรมได้

  25. ลักษณะ 2 สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก (มว.1) มาตรา 1623 ทรัพย์สินของพระภิกษุ ที่ได้มาในระหว่าง เวลาที่บวช เมื่อมรณภาพ ให้ตกเป็นสมบัติของวัด ที่เป็นภูมิ- ลำเนาของพระนั้น เว้นไว้แต่ พระภิกษุนั้น จะได้จำหน่ายไป ในระหว่างชีวิต หรือโดยพินัยกรรม มาตรา 1624 ทรัพย์สินที่เป็นของพระภิกษุก่อนบวช ไม่ตกเป็นสมบัติของวัด ให้เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดย ธรรม หรือจะจำหน่ายให้ใครก็ได้โดยให้เป็นไปตามกฎหมาย

  26. ลักษณะ 2 สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก (มว.1) มาตรา 1625 ถ้าผู้ตายเป็นผู้สมรสแล้ว การแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ให้เป็นดังนี้ (1)ให้อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยการหย่า โดยความยินยอมทั้ง 2 ฝ่ายอันมีบทบัญญัติเพิ่มเติมให้บริบูรณ์ในมาตรา 1637 และ 1638 และโดยเฉพาะต้องอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 1513 ถึง 1517 แห่งประมวลกฎหมายนี้การคิดส่วนแบ่งนั้น ให้มีผลตั้งแต่ วันที่การ สมรสได้สิ้นสุดไปด้วยเหตุความตายนั้น (2) ให้อยู่ในบังคับของบทบัญญัติ แห่งบรรพนี้ นอกจากมาตรา 1637 และ 1638

  27. การตกทอดแห่งทรัพย์มรดก (ม.1599) เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท (ผู้ตาย ก็คือ เจ้ามรดก) กองมรดก แบ่งได้ 4 กรณี 1.ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย 2. สิทธิทั้งหลายซึ่งผู้ตายมีอยู่ 3.หน้าที่ 4.ความรับผิดของผู้ตาย เมื่อเจ้ามรดกตาย ถ้ามีทรัพย์สินๆ นั้น จะตกทอดแก่ทายาทโดยทันที

  28. การตกทอดแห่งทรัพย์มรดก เจ้ามรดกตาย กองมรดก ผู้มีสิทธิรับมรดก ทายาท (ม.1603) วัด (ม.1623) (ภิกษุ มรณภาพ) แผ่นดิน (ม.1699, 1753) (ผู้ตายไม่มีทายาท)

  29. การแบ่งทรัพย์สินของผู้ตายการแบ่งทรัพย์สินของผู้ตาย สินสมรส (2 ส่วนใหญ่) (240,000) ผู้ตาย(1 ส่วนใหญ่) (120,000) คู่สมรส(120,000) (1 ส่วนใหญ่) ส่วนของผู้ตายเป็นมรดก ทายาทโดยธรรม 1.ตามพินัยกรรมเท่านั้น (ถ้ามี) 2.ตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม(ถ้าไม่มีพินัยกรรม) ทายาทที่เป็นญาติ 6 ลำดับ(คนละ1ส่วนย่อย) ทายาทที่เป็น คู่สมรส (1ส่วนย่อย)

  30. การตกทอดแห่งทรัพย์มรดกการตกทอดแห่งทรัพย์มรดก มรดก (ม.1753 บุคคลใดไม่มี มรดกตกแก่แผ่นดิน) (ทายาทที่มีสิทธิ ตามกฎหมาย) (ทายาทที่มีสิทธิ ตามพินัยกรรม) ทายาท (ต้องมีสภาพบุคคลในขณะที่เจ้ามรดกตาย) ทายาทโดยธรรม ผู้รับพินัยกรรม ต้องมีการทำพินัยกรรม ถ้าไม่ได้ทำ ทายาทประเภทนี้จะไม่มี ทายาทที่เป็นญาติ (6ลำดับ) ทายาทที่เป็นคู่สมรส

  31. ความหมายของ “บุตร” ที่เป็นผู้สืบสันดาน 1. เกิดมาภายใน 310 วันนับแต่เจ้ามรดก(บิดา)ถึงแก่ความตาย(ม.1604 วรรค2) แม้เกิดมามีชีวิตรอดอยู่เพียงวินาทีเดียวก็ตาม 2. บุตรนอกกฎหมาย ที่บิดารับรองแล้ว(มีสิทธิเฉพาะการรับมรดกอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ทำให้เป็นบุตร ชอบด้วยกฎหมาย และก็ไม่ทำให้บิดานั้นเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของบุตร หรือมีสิทธิรับมรดกของบุตรได้ ) 3. บุตรนอกกฎหมาย ที่บิดาไม่ได้มีการรับรอง การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร ของผู้ตาย ที่ได้ฟ้องภายในกำหนดอายุความมรดก ถ้าศาลพิพากษาให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เด็กมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทฯ ตาม ม.1558 ซึ่งจำกัดเฉพาะสิทธิในการรับมรดกเท่านั้น 4. บุตรบุญธรรม 5.บุตรที่เกิดระหว่างการสมรส ซึ่งศาลพิพากษาให้เพิกถอนภายหลัง 6. บุตรที่ บิดา จดทะเบียน รับเป็นบุตร 7. บุตรที่ บิดามารดา จดทะเบียนสมรส กัน

  32. ลักษณะ 2 สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก (มว.1) มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว และบุตรบุญธรรม ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย มาตรา 1628 สามีภริยาที่ร้างกัน หรือแยกกันอยู่โดยมิได้ หย่าขาดจากกันตามกฎหมาย มิได้สิ้นไปซึ่งสิทธิโดยธรรมในการสืบมรดก ซึ่งกันและกัน

  33. ลักษณะ 2 สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก (มว.2)(การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรมในลำดับและชั้นต่างๆ) มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับเท่านั้น (1) ผู้สืบสันดาน (ลูก หลาน เลน ลื้อ) (2) บิดามารดา (ม.1630วรรค 2 เสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร) (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน (5) ปู่ ย่า ตา ยาย (6) ลุง ป้า น้า อา (คู่สมรส ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็ เป็นทายาทโดยธรรม) ลำดับที่ 2 และ 5 ไม่มีการรับมรดกแทนที่กัน

  34. “ทายาท” ที่เป็นญาติ 6 ลำดับ ตราบใดที่ทายาทยังมีชีวิตอยู่ในลำดับหนึ่งๆ ตาม ม.1629 ทายาทที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิ ในทรัพย์มรดกของผู้ตาย(ม.1630วรรค1) บิดามารดาเปรียบเสมือนทายาทชั้นบุตร (ม.1630 วรรค2) ญาติ 6 ลำดับ (ม.1629) 1.ผู้สืบสันดาน (ลูก หลาน เหลน ลื้อ) 2.บิดามารดา (เปรียบทายาทชั้นบุตร) 3.พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4.พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน 5.ปู่ ย่า ตา ยาย 6.ลุง ป้า น้า อา

  35. ลักษณะ 2 สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก (มว.2)(การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรมในลำดับและชั้นต่างๆ) มาตรา 1630 ตราบใดที่ทายาทยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดก แทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่งๆ ที่ระบุไว้ใน ม.1629 ทายาทผู้อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิ ในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย แต่ความในวรรคก่อนมิให้ใช้บังคับกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดาน คนใดยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กัน แล้วแต่กรณี และมีบิดา มารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้น ให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือน หนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร

  36. มาตรา 16๓๐วรรค๑ “ทายาทโดยธรรม”(การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรมในลำดับและชั้นต่างๆ) มรดก 1.ผู้สืบสันดาน 2.บิดามารดา 5.ปู่ ย่า ตา ยาย 6.ลุง ป้า น้า อา 3.พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 1.1 บุตร 1.2 หลาน 1.3 เหลน 1.4 ลื้อ ฯลฯ (สืบสายโลหิต) 4.พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ทายาทลำดับที่ ๑ ยังมีชีวิตอยู่ ลำดับถัดไปไม่มีสิทธิ(ม.1630วรรค1)

  37. มาตรา 1630วรรค๒ “ทายาทโดยธรรม” (การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรมในลำดับและชั้นต่างๆ) มรดก 1.ผู้สืบสันดาน 2.บิดามารดา 5.ปู่ ย่า ตา ยาย ไม่มีสิทธิ 3.พี่น้องร่วมบิดามารดา ไม่มีสิทธิ 6.ลุง ป้า น้า อา ไม่มีสิทธิ 1.1 บุตร 1.2 หลาน 1.3 เหลน 1.4 ลื้อ 4.พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดา ไม่มีสิทธิ ลำดับที่ 2 ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิเช่นเดียวกับลำดับที่1 ลำดับที่ 3 - 6 ไม่มีสิทธิ( มาตรา 1630 วรรค 2)

  38. มาตรา 1630 “ทายาทโดยธรรม” (การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรมในลำดับและชั้นต่างๆ) มรดก 1.ผู้สืบสันดานไม่มี 2.บิดามารดาไม่มี 5.ปู่ ย่า ตา ยาย ไม่มีสิทธิ 3.พี่น้องร่วมบิดามารดา มีสิทธิ (ให้แบ่งกันคนละ 1 ส่วน) 6.ลุง ป้า น้า อา ไม่มีสิทธิ 4.พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดา ไม่มีสิทธิ ลำดับที่ 1 หรือ 2 ไม่มี ลำดับที่ 3 มีสิทธิ ลำดับที่ 4 - 6 ไม่มีสิทธิ

  39. ลักษณะ 2 สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก (มว.2)(การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรมในลำดับและชั้นต่างๆ) มาตรา 1631 ในระหว่างผู้สืบสันดานต่างชั้นกันนั้น บุตร เจ้าของมรดกอันอยู่ ในชั้นที่สนิทที่สุด เท่านั้นมีสิทธิ ได้ รับมรดก ผู้สืบสันดานที่อยู่ในชั้นถัดไปลงไป จะรับมรดกได้ ก็แต่โดยอาศัยสิทธิในการ รับมรดกแทนที่เท่านั้น

  40. มาตรา 163๑ “ผู้สืบสันดานชั้นที่สนิทที่สุด” มรดก (12๐,000) 1.ผู้สืบสันดาน มีหลายคน และต่างชั้นกัน 2.บิดามารดา คู่สมรส 1 ส่วน (20,000) บุตร(20,000) บุตร (20,000) บุตร (20,000) มารดา (20,000) หลาน บิดา (20,000) หลาน หลาน จะรับมรดกได้ก็อาศัยสิทธิแทนที่เท่านั้น เหลน เหลน

  41. ลักษณะ 2 สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก (มว.3)(การแบ่งส่วนมรดกของทายาทโดยธรรมในลำดับและชั้นต่างๆ ส่วนที่ 1 ญาติ) มาตรา 1633 ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียว กัน ในลำดับหนึ่งๆ ที่ระบุไว้ใน มาตรา1629 ชอบที่ จะได้รับส่วนแบ่ง เท่ากัน ถ้าในลำดับหนึ่งๆ มีทายาท โดยธรรม คนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง ทั้งหมด

  42. มาตรา 163๓ “ได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน” มรดก (12๐,000) 1.ผู้สืบสันดานลำดับเดียวกัน มีหลายคน 2.บิดามารดา คู่สมรส 1 ส่วน (20,000) บุตร(20,000) บุตร (20,000) บุตร (20,000) มารดา (20,000) หลาน บิดา (20,000) หลาน หลาน ผู้สืบฯชั้นที่สนิทที่สุดยังมีชีวิต ชั้นถัดไปไม่มีสิทธิ

  43. ลักษณะ 2 สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก (มว.3)(การแบ่งส่วนมรดกของทายาทโดยธรรมในลำดับและชั้นต่างๆ ส่วนที่ 1 ญาติ) มาตรา 1634 ระหว่างผู้สืบสันดานที่รับมรดกแทนที่กันในส่วนแบ่งของสายหนึ่งๆตามบทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 4 นั้น ให้ได้รับส่วนแบ่งมรดกดั่งนี้ (1) ถ้ามีผู้สืบสันดานต่างชั้นกัน บุตรของผู้ตายซึ่งอยู่ในชั้นสนิทที่สุดเท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานในชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิการรับมรดกแทนที่ (2) ผู้สืบสันดานในชั้นเดียวกันได้ รับส่วนแบ่งเท่ากัน (3) ถ้าในชั้นหนึ่งมีผู้สืบสันดานคนเดียว ให้ผู้สืบสันดานคนนั้นมีสิทธิได้ รับส่วนแบ่งทั้งหมด

  44. มาตรา 163๔ “การรับมรดกแทนที่กัน” มรดก (120,000) 1.ผู้สืบสันดาน มีหลายคน และต่างชั้นกัน ในชั้นเดียวกัน จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน 2.บิดามารดา คู่สมรส 1 ส่วน (20,000) บุตร 20,000 บุตร(ตาย) (20,000) บุตร(ตาย) (20,000) มารดา (20,000) หลาน (ตาย) บิดา (20,000) หลาน(10,000) หลานตาย(10,000) เหลน (20,000) รับมรดกแทนที่ รับมรดกแทนที่ เหลน (5,000) เหลน (5,000)

  45. มาตรา 163๔ “การรับมรดกแทนที่กัน” มรดก (12๐,000) 1.ผู้สืบสันดาน มีหลายคน และต่างชั้นกัน 2.บิดามารดา คู่สมรส 1 ส่วน (20,000) บุตร 20,000 บุตร(ตาย) (20,000) บุตร (20,000) มารดา (20,000) หลาน บิดา (20,000) หลาน(10,000) หลาน(10,000) หลาน ไม่สามารถรับมรดกแทนที่ได้ ถ้าชั้นสนิทยังมีชีวิตอยู่ รับมรดกแทนที่

  46. ลักษณะ 2 สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก (มว.3)(การแบ่งส่วนมรดกของทายาทโดยธรรมในลำดับและชั้นต่างๆ ส่วนที่ 2 คู่สมรส) มาตรา 1635 ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดั่งต่อไปนี้ (1) ถ้ามีผู้สืบสันดาน(ม.1629(1)) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นได้รับส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร (2) ถ้ามีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน(ม.1629(3)) และยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือถ้าไม่มีผู้สืบสันดาน แต่มีบิดามารดา(ม.1629(2))แล้วแต่กรณี คู่สมรส ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้รับมรดก กึ่งหนึ่ง (มีต่อ...)

  47. มาตรา 1635(๑) “คู่สมรสเป็นทายาทโดยธรรม”(การแบ่งส่วนมรดกของทายาทโดยธรรมในลำดับและชั้นต่างๆ) มรดก 1. มีชีวิต 2. มีชีวิต 5. ไม่มีสิทธิ 6. ไม่มีสิทธิ 3.ไม่มีสิทธิ 1.1 บุตร 1.2 หลาน 1.3 เหลน 1.4 ลื้อ 4. ไม่มีสิทธิ คู่สมรส ที่ยังมีชีวิตอยู่มีสิทธิเช่นเดียวกันและได้เท่ากับ ลำดับที่ 1 และ 2 (1 ส่วนย่อย) (ม.1635(1)) (ถ้าญาติ 6 ลำดับไม่มี) คู่สมรสได้รับมรดกทั้งหมด(ม.1635(4))

  48. มาตรา 1635(๒) “คู่สมรสเป็นทายาทโดยธรรม”(การแบ่งส่วนมรดกของทายาทโดยธรรมในลำดับและชั้นต่างๆ) มรดก(๑๒๐,๐๐๐) ลำดับก่อนยังมีชีวิตอยู่ 1. ไม่มี 2. มีชีวิต (๖๐,๐๐๐) 5. ไม่มีสิทธิ 6. ไม่มีสิทธิ 3.มีชีวิต แต่ไม่มีสิทธิ 1.1 บุตร 1.2 หลาน 1.3 เหลน 1.4 ลื้อ คู่สมรส (๖๐,๐๐๐) 4. ไม่มีสิทธิ ถ้าทายาทลำดับที่ ๒ หรือ ๓ ยังมีชีวิตอยู่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง

  49. ลักษณะ 2 สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก (มว.3)(การแบ่งส่วนมรดกของทายาทโดยธรรมในลำดับและชั้นต่างๆ ส่วนที่ 2 คู่สมรส) มาตรา 1635 (ต่อ) (3) ถ้ามีพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน(ม.1629(4))หรือลุง ป้า น้า อา (6)และยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือมี ปู่ ย่า ตา ยาย (1629(5))แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิได้มรดก 2 ใน 3 ส่วน (4) ถ้าไม่มีทายาทตามมาตรา 1629 คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด

  50. มาตรา 1635(๓) “คู่สมรสเป็นทายาทโดยธรรม”(การแบ่งส่วนมรดกของทายาทโดยธรรมในลำดับและชั้นต่างๆ) มรดก(๑๒๐,๐๐๐) ลำดับก่อนยังมีชีวิตอยู่ 1. ไม่มีชีวิต ๒ไม่มีชีวิต 5.มีชีวิต แต่ไม่มีสิทธิ 3.ไม่มีชีวิต 6.มีชีวิต แต่ไม่มีสิทธิ 1.1 บุตร 1.2 หลาน 1.3 เหลน 1.4 ลื้อ 4.มีชีวิต (๔๐,๐๐๐) คู่สมรส(๘๐,๐๐๐) ถ้าทายาทลำดับที่ ๔ หรือ ๕ หรือ ๖ ยังมีชีวิตอยู่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่มีสิทธิได้รับมรดก ๒ ใน ๓

More Related