1 / 40

องค์ความรู้เรื่องการฆ่าตัวตาย

องค์ความรู้เรื่องการฆ่าตัวตาย. ดร.พญ.เบ็ญจมาส พฤกษ์กานนท์. ประเภทของการฆ่าตัวตาย.

Download Presentation

องค์ความรู้เรื่องการฆ่าตัวตาย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. องค์ความรู้เรื่องการฆ่าตัวตายองค์ความรู้เรื่องการฆ่าตัวตาย ดร.พญ.เบ็ญจมาส พฤกษ์กานนท์

  2. ประเภทของการฆ่าตัวตายประเภทของการฆ่าตัวตาย • แบ่งเป็น 5 ประเภทดังนี้ 1. ความคิดฆ่าตัวตาย (suicidal ideation or suicidal thoughts) เป็นความคิดที่เกี่ยวข้องกับตนเองว่าไม่สมควรจะมีชีวิตอยู่ หมกมุ่นความคิดที่จะทำลายตนเอง แต่ยังเป็นแค่คิดซึ่งยังไม่เกิดพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย • 2. การขู่จะฆ่าตัวตาย (suicide threat) เป็นพฤติกรรมการใช้วาจาหรือไม่ใช้วาจา แสดงสัญญาณเตือนทางตรงและทางอ้อม หรือวางแผนจะทำลายชีวิตตนเอง ซึ่งพฤติกรรมจะปรากฏก่อนการฆ่าตัวตาย • 3. การแสร้งกระทำการฆ่าตัวตาย (suicide gestures) เป็นการทำร้ายตนเองให้บาดเจ็บเล็กน้อยหรือไม่ได้รับบาดเจ็บเลย โดยผู้กระทำไม่ได้ตั้งใจที่จะจบชีวิตลงและไม่ได้คาดหวังว่าตนเองจะตาย

  3. ประเภทของการฆ่าตัวตายประเภทของการฆ่าตัวตาย • 4. การพยายามฆ่าตัวตาย (suicide attempt) เป็นการทำร้ายตนเองที่ตั้งใจให้ตนเองจบชีวิตลงแต่ไม่ประสบความสำเร็จ อาจมีการทำซ้ำในระยะเวลา 1 ปีหลังจากเคยพยายามฆ่าตัวตาย • 5. การฆ่าตัวตายสำเร็จ (completed or successful suicide) เป็นการตายโดยผู้กระทำตั้งใจทำลายชีวิตตนเองให้จบลง เป็นการกระทำของบุคคลที่ตั้งใจจริงที่ต้องการตาย แล้วก็ตายสำเร็จในที่สุด

  4. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายและการพยายามฆ่าตัวตายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายและการพยายามฆ่าตัวตาย • ปัจจัยส่วนบุคคล • ปัจจัยทางด้านร่างกาย • ปัจจัยด้านสังคม • ปัจจัยเรื่องความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด • ปัจจัยการขาดการสนับสนุนทางสังคม • ปัจจัยทางชีวภาพ • ปัจจัยทางจิตใจ

  5. 1. ปัจจัยส่วนบุคคล เป็นลักษณะบุคลิกของแต่ละบุคคลที่มีการศึกษาพบว่ามีความสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายได้แก่ 1.1 เพศ • เพศหญิงเป็นเพศที่พยายามฆ่าตัวตายมากกว่าเพศชาย 2 เท่า • แต่เพศชายจะมีการฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าเพศหญิง เพราะเพศชายมักไม่แสวงหาความช่วยเหลือไม่ระบายถึงปัญหาหรือระบายความรู้สึกไม่สบายใจให้ผู้อื่นฟัง จึงเป็นสาเหตุให้เพศชายฆ่าตัวตายสำเร็จสูง • ในประเทศไทยเพศชายมักใช้วิธีฆ่าตัวตายที่รุนแรงมากกว่าเพศหญิงจึงทำให้มีอัตราฆ่าตัวตายสำเร็จในเพศชายมากกว่าเพศหญิงชัดเจน

  6. 1. ปัจจัยส่วนบุคคล 1.2 อายุ • การพยายามฆ่าตัวตายและการฆ่าตัวตายพบได้ทุกกลุ่มอายุ • กลุ่มอายุที่พบการพยายามฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตายสูงได้แก่ วัย 15-24 ปีและ กลุ่มผู้สูงอายุ • ในประเทศไทยพบว่าช่วงอายุ 20-34 ปี มีการพยายามฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตายมากที่สุด และสูงสุดในช่วงอายุ 20-24 แต่ในปี 2541-2545 กลับพบว่า มีผู้สูงอายุมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น และในปี 2546-2550 กลับเป็นวัยทำงานอายุระหว่าง 24-45 มีอัตราการพยายามฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น โดยคนกลุ่มนี้จะใช้วิธีการแขวนคอเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาใช้สารเคมีประเภทยาฆ่าแมลงยากำจัดศัตรูพืชและอาวุธปืน

  7. 1. ปัจจัยส่วนบุคคล 1.3 สถานภาพสมรส • เพศชายและหญิงที่มีสถานภาพสมรสที่สมรสแล้ว มีอัตราการพยายามฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตายน้อยกว่าผู้ที่สถานภาพสมรส โสด หม้าย หย่า และแยกกันอยู่ ซึ่งมีอัตราการพยายามฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตายสูง • บางการศึกษาพบว่าบุคคลที่ประสบความล้มเหลวในชีวิตสมรสเมื่ออายุมากขึ้นจะพบอัตราการพยายามฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตายเพิ่มมากขึ้น 1.4 ประวัติบุคคลในครอบครัว หรือญาติที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่ฆ่าตัวตาย • ครอบครัวที่มีญาติสายตรงที่เคยมีประวัติพยายามฆ่าตัวตายมาก่อนจะมีความเสี่ยงในการพยายามฆ่าตัวตายมากกว่าประชากรทั่วไป 2.8 เท่า ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาครอบครัวที่มีประวัติการฆ่าตัวตายสำเร็จ สมาชิกในครอบครัวจะมีโอกาสพยายามฆ่าตัวตายสูงกว่าบุคคลทั่วไป

  8. 2. ปัจจัยทางด้านร่างกาย เป็นลักษณะทางกายภาพที่มีตั้งแต่กำเนิดของแต่ละบุคคล และอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพจิตใจและสังคม ซึ่งประกอบด้วย 2.1 การเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช พบว่าพฤติกรรมการพยายามฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตายเนื่องจากการเจ็บป่วยทำให้เกิดความรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง ซึมเศร้า เครียด นาสู่การพยายามฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตาย 2.2 การเจ็บป่วยด้วยโรคทางกาย ได้แก่ • การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง เอดส์ ไตวาย ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังจะมีความเสี่ยงต่อการพยายามฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตายสูงมากที่สุด เพราะขณะที่โรคกำเริบ หรือ ได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคนั้น • โรคที่ส่งผลต่อภาวะทุพลภาพสูง เช่น การบาดเจ็บที่สมองหรือไขสันหลัง

  9. 2. ปัจจัยทางด้านร่างกาย 2.3 ประวัติการใช้สารเสพติด • เนื่องจากฤทธิ์ของสารเสพติดมีผลต่อสมองส่วนที่การควบคุมอารมณ์ ทาให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายความคิดสับสนควบคุมอารมณ์ไม่ได้ การตัดสินใจหุนหันพันแล่น ซึมเศร้า • ผู้ดื่มสุรามีอัตราเสี่ยงต่อการพยายามฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตายเป็น 20.24 เท่าของผู้ที่ไม่ได้ดื่มสุรา • สำหรับผู้ที่ดื่มสุราที่มีความทุกข์ใจและไม่มีทางออกเมื่อมีความทุกข์ทางใจ มีอัตราเสี่ยงต่อการพยายามฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตายเป็น 3.02 เท่าของผู้ที่มีทางออกเมื่อมีความทุกข์ทางใจ

  10. 3. ปัจจัยด้านสังคม เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดาเนินชีวิตของบุคคล และจะส่งผลกระทบทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ • ปัจจัยทางสังคมเชื่อว่าเกิดจากความสัมพันธ์ของบุคคลต่อสิ่งแวดล้อมในสังคม แบ่งสาเหตุการพยายามฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตายออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. การพยายามฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตายที่นึกถึงตนเอง (Egoistic suicides) เป็นการพยายามฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตายที่เกิดจากการปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้ ขาดความผูกพันกับครอบครัวหรือสังคม คิดถึงตนเองเป็นสำคัญมุ่งประโยชน์ส่วนตัวมากกว่า 2. การพยายามฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตายเพื่อเสียสละ (Altruistic suicide) เป็นการฆ่าตัวตายเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น เนื่องจากมีความผูกพันกับสังคมและส่วนรวมมากเกินไป ยอมให้สังคมมีอิทธิพลต่อตนเอง ยึดถือความอยู่รอดของกลุ่มมากกว่าตนเองจนทาให้สามารถทำลายตนเองได้เพื่อกลุ่มเป็นการเสียสละ

  11. 4. ปัจจัยเรื่องความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด • ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดที่ทำให้การพยายามฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตาย • ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล เชื่อว่าความล้มเหลวในการจัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากสัมพันธภาพกับบุคคลสำคัญในชีวิตทำให้เกิดการพยายามฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตายสำเร็จ • เหตุการณ์ส่วนใหญ่ที่เผชิญมักเป็นเรื่องสูญเสีย เช่น การตายของบุคคลอันเป็นที่รัก การหย่า การพลัดพรากเป็นต้น • บางการศึกษาพบว่าสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้บุคคลมีพฤติกรรมการพยายามฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตายสำเร็จ เป็นการเรียนรู้โดยตรงจากการสังเกตและการปฏิบัติของคนอื่น • การทะเลาะเบาะแว้งของคนในครอบครัวจะเป็นตัวกระตุ้นให้พยายามฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตายสำเร็จ

  12. 5. ปัจจัยการขาดการสนับสนุนทางสังคม • ผู้หากผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายได้รับการดูแลช่วยเหลือจากญาติหรือผู้ใกล้ชิด ทำให้เกิดความหวังมีกำลังใจในชีวิตมากขึ้นจะทำให้สถานการณ์ที่รุนแรงที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ลดลง ทำให้การฆ่าตัวตายนั้นคลี่คลาย การสนับสนุนทางสังคมมีความสำคัญในการช่วยให้ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายไม่มีการฆ่าตัวตายซ้ำอีก • ปัญหาความเป็นอยู่ในชีวิตประจาวัน เช่น ปัญหาด้านเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ การว่างงาน การลาออกจากงาน หรือ ถูกไล่ออกจากงาน รวมถึงการสูญเสียทรัพย์สินอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นมีความสัมพันธ์กับทางบวกกับอัตราการฆ่าตัวตาย

  13. 6. ปัจจัยทางชีวภาพ • จากการศึกษาเรื่องโครงสร้างทางชีวภาพของสารเคมีในสมอง และการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาท พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดอารมณ์ที่ผิดปกติ • ในกลุ่มที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเคยฆ่าตัวตาย เครียด วิตกกังวล เก็บกด และก้าวร้าว จะมีสารซีโรโตนิน และโดปามินต่ากว่าปกติ • การตรวจหาระดับโคเลสเตอรอลในเลือดของผู้ป่วยจิตเวชที่พยายามฆ่าตัวตายหรือมีความคิดฆ่าตัวตายพบว่าระดับโคเลสเตอรอลสูงกว่าผู้ที่ไม่แสดงพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย

  14. 7. ปัจจัยทางจิตใจ 7.1 แนวคิดของทฤษฏีจิตวิเคราะห์ 7.2 แนวคิด ทฤษฎีบุคลิกภาพ • เชื่อว่าการพยายามฆ่าตัวตายและการฆ่าตัวตายเกิดจากความสำนึกในคุณค่าแห่งตนต่ำและรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อย 7.3 แนวคิด ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่าบุคคล • เชื่อว่ามีความขัดแย้งที่เกิดจากประสบการณ์ชีวิต ด้านสัมพันธภาพกับบุคคลสำคัญในชีวิต โดยเฉพาะวัยต้นของชีวิต ประสบการณ์ที่ที่ได้รับมักพบว่าถูกปฏิเสธ ทำให้มีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อตนเองทำให้เกิดการปฏิเสธตนเอง ทำให้พยายามฆ่าตัวตายและการฆ่าตัวตาย 7.4 ทฤษฏีปัญญานิยม เชื่อว่า มีลักษณะทางปัญญาติดอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มีความเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นแบบสุดขั้วสองด้าน การหาทางเลือกจัดการกับปัญหาได้ยาก มีลักษณะความคิดทางลบ มองโลกในแง่ร้ายเกิดความรู้สึกหมดหวัง ท้อแท้ รู้สึกตนเองไร้ค่า เกิดภาวะซึมเศร้า

  15. ผลกระทบจากการพยายามฆ่าตัวตาย • ในกรณีที่ทำสำเร็จก่อให้เกิดความรู้สึกผิด เศร้าโศกเสียใจของผู้ที่ได้รับการสูญเสียตลอดเวลา • หากผู้กระทำไม่สาเร็จจะทำให้รู้สึกผิดและคิดว่าตนเองเป็นสร้างปัญหาเป็นภาระแก่ผู้อื่น จึงพยายามฆ่าตัวตายซ้ำ และมีวิธีการกระทำที่รุนแรงขึ้น ทำให้มีผลกระทบต่อตนเอง ครอบครัว ประเทศชาติ • ในประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาต้องสูญเสียงบประมาณอย่างน้อยสุด ร้อยละ 1 เพื่อดูแลสุขภาพของประชากรในประเทศในด้านสุขภาพจิตในการแก้ปัญหาการฆ่าตัวตายแบบบูรณาการ • ผลกระทบต่อตัวผู้ป่วย • ผลกระทบต่อครอบครัว • ผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติ

  16. ผลกระทบต่อตัวผู้ป่วย • คือ การได้รับความพิการ การบาดเจ็บทางร่างกาย และสภาพจิตใจและความรู้สึกของผู้พยายามฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นภาวะวิกฤติที่ทำให้ผู้พยายามฆ่าตัวตายเสียสมดุลย์ทางด้านร่างกายและจิตใจเพราะได้รับผลแทรกซ้อนทางด้านร่างกายและจิตใจ • ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายจะรู้สึกอายและเกิดตราบาปกับตัวเอง จากทัศนคติของสื่อและสังคมมีผลต่อผู้รอดชีวิตรู้สึกว่าสังคมไม่ยอมรับตนเอง • ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายมักจะไม่ได้รับความสนใจในการดูแล ถูกทอดทิ้งและซ้ำเติมให้รู้สึกผิดจากสมาชิกในครอบครัว ทำให้มีโอกาสพยายามฆ่าตัวตายซ้ำ

  17. ผลกระทบต่อครอบครัว • คือ บุคคลในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดจะเกิดปฏิกิริยากับการพยายามฆ่าตัวตาย • ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กับผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย • ในระยะแรกจะมีอาการ รู้สึกช็อก ร้องไห้คร่าครวญ เศร้าโศกเสียใจ เบื่ออาหาร น้าหนักลด นอนไม่หลับตื่นกลางดึก หรือฝันถึงคนที่ตาย ทำให้อาจเกิดผลการเจ็บป่วยทางกายและจิตใจต่อไปได้ ในบางรายยังมีอาการรู้สึกผิด โกรธโทษตัวเอง และเป็นภาระในการดูแลของบุคคลในครอบครัวทาให้ขาดรายได้ • องค์การอนามัยโลกได้ประมาณการว่าผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย จนกระทั่งมีฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน ส่งผลกระทบกับคนใกล้ชิดอย่างน้อย 6 คน

  18. ผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติ • การพยายามฆ่าตัวตายทำให้เกิดผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อคนในครอบครัว คนใกล้ชิด และคนในสังคม • อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบพฤติกรรมการพยายามฆ่าตัวตาย รวมถึงทัศนคติของคนในสังคมที่มองการมีผู้พยายามฆ่าตัวตายเกิดขึ้นในสังคมเป็นเรื่องปกติเป็นทางออกในการแก้ปัญหา จากการนำเสนอสื่อต่างๆ ซึ่งข่าวหรือภาพที่ปรากฏ มีผลทำให้คนในสังคมที่เผชิญปัญหาซึ่งแก้ไขไม่ได้มีความรู้สึกอยากเลียนแบบ • ในการสูญเสียอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมด้านอื่น เช่น ปัญหาการใช้สารเสพติด ทำให้เกิดคดีต่างๆ ได้ ทำให้สังคมไม่มีความสงบสุข • ประเทศชาติได้รับการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ จากความพิการ หรือ การเจ็บป่วย ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ขาดโอกาสในการทางานหารายได้ หลังจากที่พยายามฆ่าตัวตาย • จากการรายงานของโรงพยาบาลจิตเวช 12 แห่งพบว่าค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย สูงถึง 37,739 บาทต่อราย และจากระบบส่งต่อ 2,000 รายต่อปี คิดต้นทุนในระบบบริการประมาณ 41-107 ล้านบาทต่อปี (กรมสุขภาพจิต, 2552)

  19. ระดับหลักฐานสนับสนุนประสิทธิผลของแนวทางในการป้องกันการฆ่าตัวตายระดับหลักฐานสนับสนุนประสิทธิผลของแนวทางในการป้องกันการฆ่าตัวตาย • แนวทางที่มีหลักฐานสนับสนุนชัดเจนว่ามีประสิทธิผล • แนวทางที่มีหลักฐานสนับสนุนบ้างว่ามีประสิทธิผล • แนวทางที่ไม่มีหลักฐานสนับสนุน แต่อาจมีประโยชน์ในการป้องกันการฆ่าตัวตาย • แนวทางที่มีหลักฐานว่ามีอันตราย

  20. 1. แนวทางที่มีหลักฐานสนับสนุนชัดเจนว่ามีประสิทธิผล • การฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์ให้มีความสามารถในการวินิจฉัยและดูแลโรคซึมเศร้าและภาวะที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย เช่น การติดสุราและสารเสพติด • การควบคุมการเข้าถึงสิ่งที่ใช้ฆ่าตัวตาย • การให้ความรู้แก่ผู้มีส่วนเฝ้าระวังผู้มีความเสี่ยง เช่น ครู ผู้ดูแลนักโทษ ผู้ดูแลบุคลากรในโรงงาน

  21. 2. แนวทางที่มีหลักฐานสนับสนุนบ้างว่ามีประสิทธิผล • การดูแลประคับประคองหลังการพยายามฆ่าตัวตาย • การรักษาโรคทางจิตเวชด้วยยา • การรักษาโรคทางจิตเวชด้วยจิตบำบัดและการช่วยเหลือทางจิตสังคม • การให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องสุขภาพจิตและโรคซึมเศร้า • การใช้แบบคัดกรองเพื่อสืบค้นโรคซึมเศร้าและผู้มีความเสี่ยงการฆ่าตัวตาย • การมีศูนย์ดูแลบุคคลยามประสบภาวะวิกฤติ และมีแหล่งให้คำปรึกษา • การจัดโปรแกรมส่งเสริมศักยภาพและทักษะในการจัดการปัญหา ให้แก่นักเรียน • การส่งเสริมให้สื่อมวลชนนำเสนอข่าวการฆ่าตัวตายอย่างรับผิดชอบต่อสังคม • การให้ความช่วยเหลือประคับประคองแก่ครอบครัวและเพื่อนของผู้ฆ่าตัวตาย

  22. 3. แนวทางที่ไม่มีหลักฐานสนับสนุน แต่อาจมีประโยชน์ในการป้องกันการฆ่าตัวตาย • การเพิ่มมาตรการควบคุมสุรา • การมีแหล่งบริการทางสุขภาพจิตในชุมชน • การให้ความช่วยเหลือประคับประคองแก่ครอบครัวที่ประสบความกดดันหรือมีปัญหา

  23. 4. แนวทางที่มีหลักฐานว่ามีอันตราย • การจัดโปรแกรมในโรงเรียนชนิดเน้นให้มีการตระหนักเรื่องการฆ่าตัวตาย • การให้ข้อมูลแก่ประชาชนหรือการนำเสนอในสื่อเรื่องการฆ่าตัวตาย • การให้ผู้ป่วยทำสัญญาว่าจะไม่ฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตนเอง • การบำบัดแบบให้ผู้ป่วยเล่าเรื่องกระทบกระเทือนใจที่หลงลืมไป

  24. รูปแบบการป้องกันการฆ่าตัวตายรูปแบบการป้องกันการฆ่าตัวตาย • การให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องสุขภาพจิตและการฆ่าตัวตาย • การส่งเสริมการนำเสนอข่าวการฆ่าตัวตายอย่างเหมาะสม • การควบคุมการเข้าถึงสิ่งที่ใช้ในการฆ่าตัวตาย • การลดอุปสรรคที่ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ดี • การให้ความรู้ด้านสุขภาพจิตแก่บุคลากรด้านสาธารณสุข • การป้องกันการฆ่าตัวตายในโรงเรียน • การให้ความรู้แก่ผู้เฝ้าระวังในชุมชน • การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์

  25. การให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องสุขภาพจิตและการฆ่าตัวตายการให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องสุขภาพจิตและการฆ่าตัวตาย • ลดตราบาป เพราะเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยไม่มารักษา และประชาชนไม่ให้ความสนใจเนื่องจากคิดว่าการฆ่าตัวตายช่วยเหลือแก้ไขไม่ได้ • โครงการที่ทำแบบเหวี่ยงแห ครอบคลุมประชากรทุกกลุ่ม มักไม่มีประสิทธิผล โครงการที่พบว่าได้ผลกว่าคือโครงการที่มีขนาดไม่ใหญ่มากและมุ่งที่ประชากรเฉพาะกลุ่ม

  26. การส่งเสริมการนำเสนอข่าวการฆ่าตัวตายอย่างเหมาะสมการส่งเสริมการนำเสนอข่าวการฆ่าตัวตายอย่างเหมาะสม • เลี่ยงการนำเสนอข่าวให้เกิดความรู้สึกว่าการฆ่าตัวตายเป็นสิ่งน่าสนใจ • เลี่ยงการบรรยายวิธีการฆ่าตัวตายโดยละเอียด • ตระหนักถึงโอกาสเกิดการเลียนแบบ หากผู้ฆ่าตัวตายเป็นดาราหรือผู้มีชื่อเสียง • ให้ความรู้เกี่ยวกับการฆ่าตัวตายไปพร้อมกับการนำเสนอข่าว • ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการช่วยเหลือเบื้องต้นและแหล่งช่วยเหลือ • คำนึงถึงผลกระทบที่อาจมีต่อญาติหรือผู้ใกล้ชิด

  27. หลักการดูแลรักษาผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายหลักการดูแลรักษาผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย • ประเมินผู้ป่วยอย่างครอบคลุม • กำจัดปัจจัยเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของผู้ป่วย • สนับสนุนปัจจัยป้องกันต่อการฆ่าตัวตายของผู้ป่วย • รักษาโรคจิตเวชที่เกี่ยวข้อง

  28. ปัจจัยเสี่ยง สุขน้อย หญิง สูงอายุ หม้าย/หย่า/แยก การศึกษาต่ำ รายได้น้อย เป็นหัวหน้าครอบครัว การงานไม่มั่นคง เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ อยู่ในจังหวัดที่รวย (แต่ตัวเองจน) มีหนี้สินนอกระบบ ไม่สนใจศาสนา (หนี้ในระบบไม่ใช่ปัญหา)

  29. ปัจจัยปกป้อง สุขมาก • ครอบครัวมีเวลาให้กันอย่างเพียงพอ มีกิจกรรมร่วมกัน เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน/หมู่บ้าน • ยกโทษและให้อภัยผู้ที่สานึกผิดอย่างจริงใจ • ปฏิบัติตามหลักคาสอนทางศาสนา • ถ้าเป็นชาวพุทธ : ฝึกสมาธิ • ประเมินตนเองว่ามีสุขภาพดี • ออกกาลังกาย • การงานมั่นคง มีที่ดินทากินเป็นของตนเอง

  30. การประเมินความเสี่ยง • เจตนา • โรคทางจิตเวชและโรคทางกาย • การจัดการปัญหา • แหล่งสนับสนุน • ข้อมูลทั่วไป

  31. 1. เจตนา • คุณเคยรู้สึกอยากนอนหลับไปแล้วไม่ต้องตื่นขึ้นมามั๊ย? • คุณเคยรู้สึกไม่รู้จะอยู่ต่อไปทำไมมั๊ย? • คุณเคยมีความคิดทำร้ายตนเองมั๊ย ? • คุณเคยมีความคิดฆ่าตัวตายมั๊ย? • คุณได้วางแผน/เตรียมการการฆ่าตัวตายหรือยัง? • คุณวางแผนอย่างไรบ้าง? (เช่น วิธีการ เวลา จดหมายลาตาย)

  32. 2. โรคทางจิตเวชและโรคทางกาย • โรคซึมเศร้า • อาการทางจิต • สุรายาเสพติด • โรคมะเร็ง • โรคเอดส์ • พิการ/อัมพาต

  33. ความสัมพันธ์ระหว่างโรคทางอารมณ์ การพยายามฆ่าตัวตาย และการฆ่าตัวตายสำเร็จ การการพยายามฆ่าตัวตาย Fโโรคทางอารมณ์ กการฆ่าตัวตายสำเร็จ 10%ของคนที่เคยพยายามฆ่าตัวตายมาก่อนจะฆ่าตัวตายสำเร็จภายใน 10ปี 15%ของผู้ป่วยโรคทางอารมณ์จะฆ่าตัวตายสำเร็จในที่สุด 45-70%ของคนที่ฆ่าตัวตายสำเร็จเป็นโรคทางอารมณ์ 20-25%ของคนที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ เคยพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน

  34. 3. การจัดการปัญหา • พฤติกรรมฆ่าตัวตาย/ทำร้ายตนเองในอดีต • การใช้สุรายาเสพติด • วิธีคิด/ความเชื่อ/ทัศนคติ • บุคลิกภาพ • ทักษะการแก้ปัญหา • ประสบการณ์ตรงในอดีต

  35. 4. แหล่งสนับสนุน • ลูก • ครอบครัว • คนสำคัญในชีวิต • เพื่อนสนิท • ชุมชน • บุคลากรทางการแพทย์

  36. 5. ข้อมูลทั่วไป • เพศ • อายุ • สถานภาพสมรส • การศึกษา • ฐานะ • ศาสนา

  37. ระดับความเสี่ยงและการดูแลระดับความเสี่ยงและการดูแล • สูง  ต้องรับไว้ในสถานบำบัด • ปานกลาง ควรรับไว้ในสถานบำบัด หากให้กลับบ้าน ญาติต้องดูแลในสายตา 24 ชั่วโมง,เก็บอาวุธพ้นมือ • ต่ำ  อาจให้กลับบ้านได้ ให้การช่วยเหลือทางจิตสังคมก่อนกลับบ้าน

  38. สิ่งที่มักพบร่วมกันในผู้ฆ่าตัวตายสิ่งที่มักพบร่วมกันในผู้ฆ่าตัวตาย • ต้องการหาทางออกต่อปัญหา • เป้าหมายเพื่อจะได้ไม่ต้องรับรู้อะไรอีก • สิ่งกระตุ้น ได้แก่ ความทุกข์ทรมานใจจนทนไม่ได้ • สิ่งกดดัน ได้แก่ ความผิดหวัง ไม่สมหวัง • ภาวะอารมณ์เป็นแบบรู้สึกสิ้นหวัง อะไรก็ช่วยไม่ได้ • รู้สึกสองจิตสองใจต่อการฆ่าตัวตาย • มุมมองต่อสิ่งต่างๆแคบลง • ทำเพื่อหนีความทุกข์ใจ • แสดงออกต่อผู้อื่นเพื่อสื่อถึงความอยากตาย • ใช้รูปแบบเดิมๆในการปรับตัวต่อปัญหามาโดยตลอด

  39. การให้คำปรึกษา/จิตบำบัดการให้คำปรึกษา/จิตบำบัด • การให้คำปรึกษา • จิตบำบัดที่มีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนว่ามีประสิทธิภาพในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ได้แก่ cognitive – behavioral therapy (CBT)และ Interpersonal psychotherapy (IPT) • อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นจิตบำบัดชนิดใดสิ่งสำคัญก็คือ สัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ป่วยและผู้รักษา และการที่ผู้รักษามองผู้ป่วยในแง่ดี และกระตือรือร้นในการช่วยเหลือ • การสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ป่วยกับผู้รักษา • ทัศนคติของผู้รักษาซึ่งเห็นอกเห็นใจ • จิตบำบัดแนวพุทธ

  40. “การฆ่าตัวตาย ป้องกันได้ รักษาได้ ไม่มีใครอยากฆ่าตัวตาย คุณอาจเป็นคนสำคัญที่สุดที่ช่วยชีวิตเขาไว้ในนาทีวิกฤติ”

More Related