1 / 15

วิวัฒนาการ ของนก

วิวัฒนาการ ของนก. สมาชิกกลุ่ม. 1 นายธีรภัทร ทองอินทร์ เลขที่ 3 ข. 2 นางสาว กัญญ์วรา อื้อเทียน เลขที่ 16 ก. 3 นางสาว ทิ ยา ปา นะดิษฐ เลขที่ 19 ก. 4 นางสาว เมธิณี จุลบุรม เลขที่ 12 ข. 5 นางสาว ฤทัยวรรณ โพธิ์สุวรรณ เลขที่ 13 ข. ชั้นมัธยม ศึกศา ปีที่ 6/6.

Download Presentation

วิวัฒนาการ ของนก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิวัฒนาการของนก

  2. สมาชิกกลุ่ม 1 นายธีรภัทร ทองอินทร์ เลขที่ 3 ข. 2 นางสาวกัญญ์วรา อื้อเทียน เลขที่ 16 ก. 3 นางสาวทิยา ปานะดิษฐ เลขที่ 19 ก. 4 นางสาวเมธิณี จุลบุรม เลขที่ 12 ข. 5 นางสาวฤทัยวรรณ โพธิ์สุวรรณ เลขที่ 13 ข. ชั้นมัธยมศึกศาปีที่ 6/6

  3. นกดึกดำบรรพ์ (ARCHAEOPTERYX) นกเป็นสัตว์เลือดอุ่น มีกระดูกสันหลังซึ่งได้วิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลาน ดังจะเห็นร่องรอยความสัมพันธ์ดังกล่าว จาก โครงสร้างกระดูก และกล้ามเนื้อที่คล้ายกัน เกล็ดขาที่มีลักษณะเหมือนกับสัตว์เลื้อยคลาน มีการวางไข่ และมีตัวอ่อน ที่ มีลักษณะพิเศษสำหรับเจาะเปลือกไข่ออกมาเหมือนกัน ได้มีการขุดพบซาก ดึกดำบรรพ์ของนก โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ให้ชื่อว่า อาร์คีออพเทอริกซ์ และขนานนามว่าเป็นบรรพบุรุษของนก

  4. ในปัจจุบันลักษณะของนกอาร์คีออพเทอริกซ์นั้น มีฟัน มีเล็บ มีกระดูกหางที่ยาว และมีขน อายุของ ซากดึกดำบรรพ์นี้ ประมาณ 140 ล้านปี ซึ่งถูกขุดพบที่แคว้นบาวาเลีย ในประเทศเยอรมันนี ซึ่งปัจจุบันมีนกไม่ต่ำกว่า 9,800 ชนิด บนโลกนี้ สามารถจัดหมวดหมู่ได้ 27 อันดับ 183 วงศ์ ซึ่งในประเทศไทยมีนกที่พบถึงประมาณ 80 วงศ์ แบ่งออกเป็นชนิดต่างๆได้ประมาณ 918 ชนิด( ข้อมูลถึง พ.ค. 2536)

  5. วิวัฒนาการของนก นก มีกำเนิดมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ยังไม่สามารถชี้ชัดหรือระบุลงไปอย่างแน่นอนได้ แต่ก็มีหลักฐานหลายอย่างที่พอจะบอกวิวัฒนาการและความเป็นมาของนกได้ โดยนักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่านกมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลาน หลักฐานชิ้นสำคัญคือซากดึกดำบรรพ์อายุ 150 ล้านปี ซึ่งค้นพบที่แคว้นบาวาเรีย ประเทศเยอรมัน เมื่อปี พ.ศ.2504 มีชื่อเรียกว่า อาร์เคออปเทอริกซ์ ลักษณะกึ่งนกกึ่งสัตว์เลื้อยคลาน มีขนาดใกล้เคียงกับอีกา โดยค้นพบในบริเวณที่อดีตเคยถูกน้ำท่วมถึง เมื่อนกชนิดนี้ตายลง จึงถูกโคลนตะกอนทับถมอย่างรวดเร็ว ทำให้โครงร่างของกระดูกและขนอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์กาลเวลาที่ผ่านไปนานนับ ล้านปี โคลนตะกอนเหล่านี้ก็ค่อยๆ กลายเป็นหิน

  6. จากหลักฐานชิ้นนี้จะเห็นโครงร่างของปีกและขาอย่างเด่นชัด แต่มันมีฟันและหางเหมือนกับสัตว์เลื้อยคลาน ทำให้เกิดสมมุติฐานตามมาว่า อาร์เคออปเทอริกซ์ มีวิวัฒนาการมาจากไดโนเสาร์ขนาดเล็กที่มีลำตัวตั้งตรง สามารถวิ่งได้ ไม่ใช่พวกไดโนเสาร์ที่เดินแบบสี่เท้าต่อมาก็มีนกชนิด ต่างๆ เกิดขึ้น เช่น นกเฮสเพอร์ออนิส ขนาดลำตัวยาวถึง 1.5 เมตร ว่ายน้ำได้เก่งมาก มีชีวิตอยู่เมื่อ 100 ล้านปีก่อน

  7. ส่วนนกที่อยู่ในช่วงเดียวกันอีกตัวคือ นกอิชธิออร์นิส เป็นนกกินปลามีขนาดเล็กเท่ากับนกพิราบ สามารถบินได้ดีมาก ส่วนนกที่มีขนาดใหญ่มาก เช่น นกไดแอทรีมา เชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษของนกกระจอกเทศ สูงเกือบสองเมตร มีชีวิตอยู่ในช่วง 60 ล้านปีก่อน และนกก็มีวิวัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มีการค้นพบนแกล้วกว่าเก้าพันชนิด สำหรับในเมืองไทยของเรา ค้นพบนกแล้วมากกว่า 960 ชนิด หรือเกือบสิบเปอร์เซนต์จากนกที่พบทั้งหมดทั่วโลก

  8. นกเป็นสัตว์เลือด อุ่นที่มีกระดูกสันหลัง มีส่วนสำคัญคือ ปีก ที่ช่วยให้สามารถโบยบินสู่ท้องฟ้าได้ และโครงสร้างต่างๆ ของร่างกายที่เอ้ออำนวยให้บินได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ เช่น กระดูกที่มีลักษณะกลวงเป็นโพรงแต่มีสิ่งที่ค้ำจุนเพิ่มความแข็งแรงภายใน มีถุงลมกระจายอยู่ทั่วทั้งตัว ทำให้มีน้ำหนักเบา การพยุงตัวให้ลอยในอากาศทำได้ง่าย เนื่องจากการบินของนกต้องการพลังงานที่สูงมาก จึงมีอัตราการเผาผลาญอาหารและสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานอย่างรวดเร็ว นกบางชนิด เช่น นกกางเขนมีการไหลเวียนของโลหิตด้วยอัตราการเต้นของหัวใจเกือบ 600 ครั้งต่อวินาที ทำให้ต้องกินอาหารเป็นปริมาณมาก โดยกินตัวหนอน 15 ตัว ในหนึ่งชั่วโมง ส่วนนกติ๊ดใหญ่จะกินไข่หนอนถึง 5,500 ฟองต่อวัน และเนื่องจากนกไม่มีฟัน ระบบการย่อยอาหารจึงทำหน้าที่ย่อยอาหารจนสมบูรณ์ สำหรับนกที่กินพืช จะใช้ส่วนของกะเพาะบดอาหารเป็นตัวบดจนละเอียด นกบางชนิดกินเม็ดทรายเข้าไปด้วยเพื่อช่วยในการบดอาหารให้ดีขึ้น

  9. วิวัฒนาการในการบิน นกมีวิวัฒนาการมานานหลายล้านปีเพื่อให้สามารถบินในอากาศ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการหาอาหาร ทำรังวางไข่ หลบหลีกศัตรู และย้ายถิ่นอาศัย โดยนกต้องพึ่งพาปีกซึ่งพัฒนามาจากขาหน้า เป็นเครื่องมือสำคัญในการบิน นกในปัจจุบันได้มีวิวัฒนาการในการบิน จนกระทั่งโครงสร้างร่างกายทั้งภายในและภายนอก ตลอดจนอวัยวะต่างๆได้พัฒนา จนมีความเหมาะสมสำหรับการบิน

  10. นกที่บินไม่ได้ นกหลายชนิดบินไม่ได้ เพราะไม่จำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากการบิน ปีกจึงหดเล็กลงจนใช้บินไม่ได้เลย เช่น นกกระจอกเทศซึ่งเดินหากินอยู่ตามทุ่งโล่ง ไม่จำเป็นต้องบินหาอาหาร จึงมีขายาวสำหรับวิ่งแทนการใช้ปีกบิน นกเพนกวินที่อาศัยในแถบขั้วโลกใต้ ปีกพัฒนาให้ทำหน้าที่คล้ายครีบ สำหรับว่ายจับสัตว์น้ำกินอย่างคล่องแคล่วตัวอย่างเช่น นกกระจอกเทศ เป็นนกที่บินไม่ได้

  11. กระดูกกลวง กระดูกนกมีลักษณะกลวงเป็นโพรง ทำให้นกมีน้ำหนักเบา สามารถลอยตัวในอากาศได้ง่าย ภายในโพรงมีก้านกระดูก ทำหน้าที่เป็นเสาหลักค้ำจุน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แก่กระดูก ลักษณะกระดูกของนก ถุงลม ลักษณะถุงลมที่อยู่ในตัวของนกนกมีถุงลมกระจายอยู่ทั่วตัวเพื่อช่วยในการหายใจ เนื่องจากนกจำเป็นต้องใช้อากาศเป็นจำนวนมากในระหว่างบิน

  12. ลักษณะปีกของนก โครงสร้างกระดูกภายในตัวนก ปีกของนกมีขนาด และรูปร่างต่างกัน เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานของนกแต่ละชนิด ดังนี้ ปีกแคบและยาว เหมาะสำหรับการร่อนโดยเฉพาะ พบในนกทะเลที่ชอบร่อนเหนือน้ำทั้งวัน โดยแทบไม่กระพือปีกเลย เช่น นกโจรสลัด

  13. ปีก แบบ เรียวบาง และลู่ไปทางด้านท้าย ช่วยให้บินได้เร็วและเลี้ยวไปมาอย่างคล่องแคล่ว พบในนกที่บินหากินตลอดเวลา เช่น นกนางแอ่น และนกที่บินย้ายถิ่นเป็นระยะทางไกลๆ เช่น นกชายเลน ปีก โค้งใหญ่ และปลายขนปีกแยกจากกัน สำหรับร่อนที่สูง ช่วยให้นกบินลอยตัวได้สูงขึ้น และร่อนตามลมได้ดี พบในนกขนาดใหญ่ที่ร่อนหากินระดับสูง เช่น นกอินทรี แร้ง ปีกแคบและสั้น เหมาะสำหรับบินเร็วๆ ช่วงสั้นๆ ส่วยใหญ่พบในนกที่อาศัยอยู่ตามป่า เช่น นกเขา นกปรอด

  14. การบินของนก การบินของนกมีรูปแบบแตกต่างกันอยู่ 4 แบบ ดังนี้ การบินโบกปีก (flapping) เป็นการบินโบกปีกขึ้นลง แบบที่เห็นนกบินทั่วไป การ บินทรงตัวอยู่กับที่ (hovering) เป็นการบินโดยกระพือปีกเร็วๆ จนเกิดแรงยกต้านแรงโน้มถ่วงของโลก ให้ทรงตัวนิ่งอยู่กลางอากาศ ส่วนใหญ่เป็นนกตามทุ่งโล่ง เช่น เหยี่ยวขาว นกกะเต็นปักหลัก การ บินร่อนลดระดับ (gliding) เป็นรูปแบบที่ง่ายที่สุดของการบิน เพียงทิ้งน้ำหนักตัวไปข้างหน้า ให้น้ำหนักตัวมากกว่าแรงต้านทานของอากาศ นกก็สามารถร่อนและลดระดับลงต่ำได้ การ บินร่อนรักษาระดับ (soaring) ส่วนใหญ่ตองเป็นนกขนาดใหญ่ ถึงจะร่อนแบบนี้ได้โดยไม่เสียการทรงตัว นกอินทรีจะอาศัยอากาศร้อนที่ลอยตัวขึ้นจากพื้นดิน ช่วยพยุงตัวให้ร่อนอยู่กลางอากาศ ส่วนนกทะเลจะใช้ กระแสลมช่วยพัดตัวพุ่งไปข้างหน้า และจะร่อนอยู่ด้วยแรงเฉื่อย จนมีกระแสลมพัดมาใหม่

  15. แหล่งอ้างอิง http://www.waghor.go.th/v1/service/lbase/Bird&Insect/ie%20bird%20homepage/bird%20live%203.htm

More Related