1 / 33

เงินเฟ้อ (Inflation)

เงินเฟ้อ (Inflation). วัตถุประสงค์ของของการศึกษาเรื่องเงินเฟ้อ. ความหมายและปัญหาของเงินเฟ้อ สาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อ เงินเฟ้อ และ วัฏจักรของการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ. ความหมายของเงินเฟ้อ. อัตราเงินเฟ้อ (The inflation rate) คือ

Download Presentation

เงินเฟ้อ (Inflation)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เงินเฟ้อ(Inflation)

  2. วัตถุประสงค์ของของการศึกษาเรื่องเงินเฟ้อวัตถุประสงค์ของของการศึกษาเรื่องเงินเฟ้อ • ความหมายและปัญหาของเงินเฟ้อ • สาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อ • เงินเฟ้อ และ วัฏจักรของการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ

  3. ความหมายของเงินเฟ้อ • อัตราเงินเฟ้อ (The inflation rate) คือ • ค่าร้อยละของการเพิ่มขึ้นในระดับราคาทั่วไป ในช่วงเวลาที่กำหนดให้ไม่ใช่การสูงขึ้นของราคาชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ • ระดับราคาทั่วไปที่นำมาพิจารณาภาวะเงินเฟ้อจะอยู่ในรูปดัชนีราคา • เงินเฟ้อเป็นกระบวนการที่ระดับราคาสินค้ามีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่กระบวนการที่ราคาสูงขึ้นเพียงครั้งเดียวแล้วหยุด

  4. ชนิดของเงินเฟ้อมี 3ประเภท ดังนี้ 1.) เงินเฟ้ออย่างอ่อน(Creeping or Gradual or Mild Inflation) 2. ) เงินเฟ้อปานกลาง 3.) เงินเฟ้ออย่างรุนแรง(Hyperinflation)

  5. 1.) เงินเฟ้ออย่างอ่อน(Creeping or Gradual or Mild Inflation) เงินเฟ้อประเภทนี้ จะสามารถสังเกตได้ว่าระดับราคาของสินค้าจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ แต่ก็เป็นอันตรายและสามารถสร้างปัญหาให้กับประเทศอุตสาหกรรมได้เช่นกัน นักเศรษฐศาสตร์มองว่า เงินเฟ้อประเภทนี้ อาจให้ประโยชน์แก่เศรษฐกิจในด้านของการเพิ่มสูงขึ้นของราคาจะช่วยกระตุ้นการบริโภคของประชากร , อัตราการลงทุนสูงขึ้น ดังนั้นรายได้จะสูงขึ้น แต่ถ้ากลับมองในอีกแง่หนึ่งถ้าเรากำจัดเงินเฟ้อประเภทนี้ อาจก่อให้เกิดการว่างงานมากขึ้น

  6. 2. ) เงินเฟ้อปานกลาง คือ อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเกินร้อยละ 5 แต่ไม่เกิน ร้อยละ 20 (สินค้าโดยทั่วไปราคาแพง)ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนและการผลิต เพราะต้นทุนการผลิตจะสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าก็จะสูงตามขึ้นไป ประชาชนจะประสบปัญหาค่าครองชีพสูงขึ้นโดยได้รับความเดือดร้อนเรื่องราคาสินค้าแพง ดังนั้นรัฐบาลจะยื่นมือเข้ามาช่วยแก้ไขโดยใช้มาตรการทางการเงินและการคลัง

  7. .3) เงินเฟ้ออย่างรุนแรง(Hyperinflation) เงินเฟ้อประเภทนี้จะสามารถสังเกตได้จากการเพิ่มขึ้นของระดับราคาสินค้าอย่างรวดเร็วและรุนแรง เช่น เมื่อซื้อสินค้าในวันหนึ่ง ๆ จะได้ราคาที่แตกต่างกันในแต่ละช่วง คือ เช้าราคาหนึ่ง สายก็อีกราคาหนึ่งแต่พอตกเย็นก็จะเป็นอีกราคาหนึ่ง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ก่อให้เกิดการทำลายระบบเศรษฐกิจอย่างมาก มันจะทำให้หน้าที่ของเงิน หมดไป การแลกเปลี่ยนจะกลับมาสู่สิ่งของแลกสิ่งของแทน ประเทศที่ประสบปัญหานี้ คือ เยอรมันและอินโดนีเซีย

  8. สาเหตุของเงินเฟ้อ 1. สาเหตุของเงินเฟ้อจากทางด้านอุปสงค์ เรียกว่า demand pull inflation AD= C+I+G+(X-M) AD= Aggregate demand (อุปสงค์มวลรวม) AS= Aggregatesupply (อุปทานมวลรวม) P = ระดับราคา

  9. ปัจจัยที่ทำให้อุปสงค์รวมเพิ่มขึ้นปัจจัยที่ทำให้อุปสงค์รวมเพิ่มขึ้น • การใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือยของประชาชน • ธุรกิจใช้จ่ายเงินมากไป เกิดการขยายการลงทุน • รัฐบาลใช้จ่ายเงินมากไป • มีรายได้จากการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น

  10. สาเหตุเงินเฟ้อ (ต่อ) 2. เงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนผลัก (Cost push inflation) เกิดจากปัจจัยการผลิตสูงขึ้น เช่น • ราคาน้ำปิโตรเลียม • อัตราค่าจ้างสูงขึ้น • อยากได้กำไรมาก ฯลฯ

  11. ความสามารถในการแข่งขันความสามารถในการแข่งขัน • การสูงขึ้นของเงินเฟ้อจะมีผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ • ประเทศที่มีเงินเฟ้อสูง ศักยภาพในการแข่งขันจะลดลง เพราะราคาสินค้าของประเทศที่เกิดเงินเฟ้อสูง จะแพงขึ้นกว่า ประเทศที่มีเงินเฟ้อต่ำ ผลลัพธ์ คือ • การส่งออกมีแนวโน้มลดลง การนำเข้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การส่งออกสุทธิลดลง • ปริมาณเงินตราต่างประเทศมีแนวโน้มลดลง อัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มสูงขึ้น เงินของประเทศที่มีเงินเฟ้อสูงขึ้นจะอ่อนค่าลง ความสามารถในการแข่งขันลดลง

  12. ผู้เสียผลประโยชน์จากเงินเฟ้อผู้เสียผลประโยชน์จากเงินเฟ้อ ผู้ได้ผลประโยชน์จากเงินเฟ้อ • เจ้าหนี้ • ผู้มีรายได้ประจำ • (รายได้ของเจ้าหนี้และผู้ที่มีรายได้ประจำมีค่าลดลงลดลง) • ลูกหนี้ (เงินชำระหนี้คืนจำนวนเท่าเดิม แต่ค่าของมันลดลง) • ผู้ประกอบการ (ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น กำไรของผู้ประกอบการมากขึ้น) ผลกระทบของเงินเฟ้อ(The cost of inflation) เงินเฟ้อทำให้อำนาจซื้อของประชาชนลดลง

  13. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปทานหรือความสามารถในการผลิตสินค้าเพื่อเสนอขายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปทานหรือความสามารถในการผลิตสินค้าเพื่อเสนอขาย • ทรัพยากรการผลิต ได้แก่ แรงงาน ปัจจัยทุน และประสิทธิผลของปัจจัยการผลิตโดยรวม (Total factor productivity:TFP) • TFP หมายถึง ผลกระทบต่อการผลิตของ • ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี (technology progress) • การบริหารการจัดการที่ดีขึ้น (better management) • การศึกษาที่ดีขึ้น (improved education)

  14. ประเทศต่างๆที่มีปัจจัยการผลิตและปัจจัยทุนเท่ากัน แต่ถ้าประสิทธิผลของปัจจัยโดยรวม(TPF) ผลผลิตของประเทศต่างๆจะแตกต่างกัน ฟังค์ชั่นการผลิต(Production Function) แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการผลิตกับปัจจัยการผลิต Y=ผลผลิตหรืออุปทานของผลผลิต L=แรงงาน K=ปัจจัยทุน

  15. ผลตอบแทนต่อขนาด(return to scale) ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตและปัจจัยการผลิตทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตสินค้านั้นในระยะยาว ผลตอบแทนต่อขนาดคงที่(constant return to scale) คือ การใช้ปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้นจะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นในสัดส่วนเดียวกันด้วย

  16. ผลตอบแทนต่อขนาดเพิ่มขึ้น (increasing return to scale) หรือ (the economies of scale)คือการใช้ปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้นจะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่มากกว่าการเพิ่มขึ้นของปัจจัย ผลตอบแทนต่อขนาดลดลง (decreasing return to scale) หรือ (Diseconomies of scale) คือการใช้ปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้น ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่ลดลง

  17. การประเมินปัจจัยปัจจัยทุนการประเมินปัจจัยปัจจัยทุน ปัจจัยแรงงานขึ้นอยู่กับอัตราการขยายตัวของประชากรอัตราการมีงานทำชั่วโมงการทำงาน ปัจจัยทุนขึ้นอยู่กับการลงทุนในปัจจัยทุนคงที่เปรียบเทียบกับค่าเสื่อมราคาของทุน ถ้าการลงทุนใหม่ๆเพิ่มขึ้นมากกว่าค่าเสื่อมของปัจจัยทุนปัจจัยทุนจะเพิ่มขึ้น New investment >Depreciation K New investment <Depreciation K

  18. Potential GDP and Inflation Potential GDP หรือ Potential output หมายถึงผลผลิตที่เป็นไปได้ ณ.ระดับที่มีการจ้างงานเต็มที่ Actual GDP คือผลผลิตที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ถ้า actual output > potential output ทรัพยากรการผลิตมีน้อยกว่า ความต้องการใช้ทรัพยากร ถ้า actual output < potential output ทรัพยากรการผลิตมีมากกว่าความต้องการใช้ทรัพยากร inflation

  19. สาเหตุที่ราคาสินค้าสูงขึ้นสาเหตุที่ราคาสินค้าสูงขึ้น • ค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น • อุปสงค์เพิ่มขึ้นขณะที่ความสามารถในการผลิตมีจำกัดหน่วยธุรกิจไม่สามารถเพิ่มการผลิตโดยปราศจากการลงทุนในโรงงานและเครื่องจักรเพิ่มขึ้นทำให้ขาดแคลนราคาสินค้าจึงสูงขึ้น

  20. วัฏจักรของการเติบโตและเงินเฟ้อ(The growth-inflation theory) • อธิบายโดยใช้ผลผลิตจริง(actual output) และ ผลผลิต ณ ระดับการจ้างงานเต็มที่(potential output) • ช่วงเศรษฐกิจร้อนแรงมากและเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น(Overheating-inflation growth) • การชะลอตัวและเงินเฟ้อชะงักงัน(Recession-stagflation) • การชะลอตัวและเงินฝืด(Recession-deflation) • การฟื้นตัวและการไม่ขยายตัวของเงินเฟ้อ(Recovery-non inflation)

  21. การแก้ไขภาวะเงินเฟ้อ ลดค่าใช้จ่ายในการบริโภค (C) 1. นโยบายการออมมากขึ้น 2. เก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้น 3. ควบคุมสินค้าผ่อน เช่น กำหนดเงินดาวน์สูง ลดการลงทุน (I) 1. เพิ่มอัตราดอกเบี้ย 2. ควบคุมการปล่อยสินเชื่อ 3. ควบคุมราคาปัจจัยการผลิต

  22. ลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาล (G) รัฐบาลควรเก็บภาษี > ค่าใช้จ่าย จัดทำงบประมาณเกินดุล เช่น เพิ่มอัตราภาษีทางอ้อม ระงับการใช้จ่ายในการลงทุนโครงการลงทุนต่างๆ การค้าต่างประเทศ ด้านสินค้าออก เช่น กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราให้สูงขึ้น เพิ่มภาษีทางออกให้สูงขึ้น ด้านการนำเข้า เปิดโอกาสให้มีการนำเข้าอย่างเสรีสำหรับสินค้าที่ ขาดแคลน

  23. สาเหตุและผลกระทบเงินฝืดสาเหตุและผลกระทบเงินฝืด • ภาวะเงินฝืด หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วๆ ไปลดลงเรื่อยๆ • ประชาชน รัฐบาล การลงทุน การส่งออก น้อยลง • ผู้ผลิตไม่สามารถขายสินค้าได้

  24. การแก้ไข • ลดภาษีรายได้ สนับสนุนให้ธนาคารขยายเครดิต • ขยายการลงทุนในภาคเอกชน • รัฐบายใช้นโยบายงบประมาณขาดดุล • สนับสนุนให้มีการส่งออกออกมากขึ้น

  25. สาเหตุและผลกระทบเงินตึงตัวสาเหตุและผลกระทบเงินตึงตัว • ภาวะเงินตึง หมายถึง ระบบที่ระบบธนาคารมีเงินไม่พอเพียงกับความต้องการขอกู้ หาเงินกู้ยากกว่าปกติ สาเหตุ 1. การใช้นโยบายของนโยบายการเงินและการคลังเพื่อแก้ไขภาวะเงินเฟ้อ เพื่อการชะลอสินเชื่อของธนาคาร 2. เงินออมในประเทศไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร 3. การสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศ

  26. การแก้ไข • ธนาคารกลางจะต้องใช้มาตราการทางนโยบายการเงินและการคลังเพื่อเพิ่มปริมาณ • ปรับอัตราเงินฝากให้สูงขึ้น ประชาชนจะได้ออมมากขึ้น • อำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการลงทุน ลดเงื่อนไขเกี่ยวกับการนำเงินตราเข้าประเทศ

  27. วัฏจักรเศรษฐกิจ

  28. ระยะของวัฎจักรเศรษฐกิจระยะของวัฎจักรเศรษฐกิจ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ 1. ระยะเศรษฐกิจฟื้นตัว 2. ระยะเศรษฐกิจรุ่งเรือง 3. ระยะเศรษฐกิจถดถอย 4. ระยะเศรษฐกิจตกต่ำ

  29. 1. ระยะเศรษฐกิจฟื้นตัว (economic recovery) • เป็นภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นหลังจากเศรษฐกิจตกต่ำถึงขีดสุด ในระยะนี้เศรษฐกิจโดยทั่วไปเริ่มจะดีขึ้น • สินค้าที่เหลือค้างสต็อกเริ่มค่อยๆ ทยอยขายออก • ราคาสินค้าเริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้น การคาดคะเนกำไรของผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการเป็นไปในแนวทางที่ดีขึ้น • ผู้ผลิตจะหันมาลงทุนในกิจการมากขึ้น

  30. 2. ระยะเศรษฐกิจรุ่งเรือง (economic prosperity) • เป็นระยะที่เศรษฐกิจเฟื่องฟู ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการคาดคะเนกำไรไปในทางที่ดีมากคือมีความมั่นใจ ในอัตราผลตอบแทนที่จะได้รับ การลงทุนต่างๆจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว

  31. 3. ระยะเศรษฐกิจถดถอย (economic recession) • เป็นระยะที่ต่อเนื่องกับระยะเศรษฐกิจรุ่งเรือง • เมื่อภาวะเศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองอย่างเต็มที่แล้วผลที่จะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือแรงกดดันที่จะก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น • การแข่งขันมากขึ้น ทำผลตอบแทนต่ำ ผู้ประกอบการเริ่มไม่มั่นใจ • การจ้างงานลดลง รายได้ของประชาชนน้อยลง สภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไปเริ่มมีแนวโน้มที่เลวลง

  32. 4. ระยะเศรษฐกิจตกต่ำ (economic depression) • เป็นระยะที่ต่อเนื่องจากระยะเศรษฐกิจถดถอย • การลงทุนรวมจะลดลงมาก ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยจะสูงขึ้น ธนาคารและสถาบันการเงินจะเร่งรัดให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการชำระเงินต้นและจ่ายคืนดอกเบี้ย • ทำให้การลงทุนชะงักงัน ในที่สุดเศรษฐกิจจะเกิดการหดตัวลงถึงจุดต่ำสุด • มีสินค้าค้างสต็อกจำนวนมาก มีการลดการผลิต การจ้างงาน เกิดภาวะการว่างงานกระจายตัวโดยทั่วไป ประชาชนไม่ค่อยมีกำลังซื้อเพราะมีรายได้ลดลงมาก

More Related