1 / 64

ก. ละเมิด ข. ลาภมิควรได้ ค. จัดการงานนอกสั่ง ง. ตามบทบัญญัติของกฎหมาย

หนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย (มิได้เกิดขึ้นโดยความสมัครใจ). ก. ละเมิด ข. ลาภมิควรได้ ค. จัดการงานนอกสั่ง ง. ตามบทบัญญัติของกฎหมาย. ละเมิด. ลักษณะของการละเมิด. ความรับผิดเรื่องละเมิดแบ่งออกเป็น 3 เรื่องใหญ่ๆ. 1. ความรับผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของตนเอง.

caraf
Download Presentation

ก. ละเมิด ข. ลาภมิควรได้ ค. จัดการงานนอกสั่ง ง. ตามบทบัญญัติของกฎหมาย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย (มิได้เกิดขึ้นโดยความสมัครใจ) ก. ละเมิด ข. ลาภมิควรได้ ค. จัดการงานนอกสั่ง ง. ตามบทบัญญัติของกฎหมาย

  2. ละเมิด

  3. ลักษณะของการละเมิด

  4. ความรับผิดเรื่องละเมิดแบ่งออกเป็น 3 เรื่องใหญ่ๆ 1. ความรับผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของตนเอง 2. ความรับผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของบุคคลอื่น 3. ความรับผิดเพื่อละเมิดอันเนื่องมาจากทรัพย์

  5. ความรับผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของตนเองความรับผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของตนเอง มาตรา 420“ผู้ใดจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดีอนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดีท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน”

  6. 1. มีการกระทำ หมายถึง การเคลื่อนไหวส่วนหนึ่งส่วนใดของร่าง กาย และหมายความรวมถึง การกระทำโดยไม่เคลื่อนไหวร่างกายด้วย ( การงดเว้นกระทำ)

  7. การงดเว้นกระทำ หมายถึง การไม่กระทำในสิ่งที่ตนเอง มีหน้าที่ต้องกระทำ เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลนั้นๆขึ้น • หน้าที่อันเกิดจากกฎหมายกำหนด เช่น บิดามารดา, • เจ้าพนักงาน

  8. ข. หน้าที่ตามสัญญาเช่น คู่การค้าจะต้องไม่เปิดเผยกรรมวิธีการผลิต ให้บุคคลอื่น ค. หน้าที่ตามอาชีพ เช่น หมอ ทนายความ บัญชี ง. หน้าที่จากความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างผู้กระทำกับผู้เสียหายเช่น เจ้าของสระว่ายน้ำ,พี่เลี้ยงเด็ก ,ผู้ช่วยเหลือคนอื่นต้องช่วยให้ตลอด

  9. 2. จงใจ หรือประมาทเลินเล่อ จงใจ หมายถึง รู้สำนึกในการที่กระทำ ประมาทเลินเล่อ หมายถึงการกระทำโดยปราศจาก ความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัย และพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวัง เช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้เพียงพอไม่

  10. การจะพิจารณาว่า บุคคลใดกระทำโดยประมาทเลินเล่อ หรือไม่ ต้องพิจารณาจาก 1. วิสัย ได้แก่ลักษณะเช่นเดียวกับบุคคลผู้กระทำ 2. พฤติการณ์ได้แก่ สภาพแวดล้อมต่างๆ ว่าบุคคลอื่นสามารถใช้ความระมัดระวังภายใต้วิสัย และ พฤติการณ์เช่นเดียวกับผู้กระทำได้หรือไม่ ถ้ากระทำได้แต่ไม่ กระทำเรียกว่า ประมาทเลินเล่อ

  11. 3. การกระทำนั้นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หมายถึง เป็นการกระทำที่ผู้กระทำไม่มีสิทธิจะทำได้ หมายเหตุ การกระทำที่มีสิทธิ แต่มุ่งที่จะใช้สิทธิเพื่อก่อให้เกิด ความเสียหายแก่บุคคลอื่นก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยไม่มี สิทธิ เช่น การทวงหนี้ที่ผิดกฎหมาย,เจ้าของที่ดินใช้สิทธิในที่ดินเป็นการรบกวนบุคคลอื่น

  12. หมายเหตุ กรณีที่การกระทำเกิดจากความยินยอมของผู้ถูกกระทำ จะมีผลทำให้ การกระทำของผู้กระทำไม่เป็นละเมิด แต่ความยินยอมให้กระทำ ไม่เป็นเหตุให้ผู้กระทำหลุด พ้นจากความรับผิดในทางอาญา ความยินยอมไม่เป็นละเมิด

  13. ต.ย. นายแดงพึ่งบูชาพระเครื่องมาใหม่ ต้องการพิสูจน์ความศักดิ์สิทธิ์ จึงให้นายดำใช้ปืนพกยิงมาที่ตนเอง ปรากฏว่านายแดงถูกนายดำยิงได้รับบาดเจ็บ เช่นนี้ นายแดงจะเรียกร้องค่าเสียหายจากนายดำไม่ได้ เพราะนายแดงยินยอมให้นายดำ ยิงปืนมายังตนเอง จึงไม่เป็นละเมิด แต่ นายดำ ต้องรับผิดตามกฎหมายอาญาฐานพยายามฆ่านายแดง

  14. 4. การกระทำนั้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ความเสียหายนั้น อาจจะเป็นความเสียหายต่อ ชีวิต ร่างกาย อนามัย ชื่อเสียง เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือ สิทธิอื่นใดก็ได้

  15. ความเสียหายมี 2 ลักษณะ 1. ความเสียหายที่คำนวณได้ เช่น ราคาทรัพย์ ค่ารักษาพยาบาล 2. ความเสียหายที่คำนวณไม่ได้ เช่น การเสียชื่อเสียง การเสียใจ ความโศกเศร้าเสียใจ

  16. ค่าเสียหายที่จะเรียกได้จะต้องมีลักษณะค่าเสียหายที่จะเรียกได้จะต้องมีลักษณะ • เป็นความเสียหายที่แน่นอน คือ เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและผู้เสียหายประสบอยู่ • เป็นความเสียหายที่ไม่ไกลเกินเหตุ เช่น บิดาตายเพราะถูกทำละเมิด ทำให้ไม่มีผู้อุปการะเลี้ยงดู และไม่มีรายได้มาใช้จ่าย จนกระทั่งถูกเจ้าหนี้ฟ้องและถูกยึดทรัพย์ เช่นนี้ ความเสียหายที่ถูกเจ้าหนี้ฟ้องและยึดทรัพย์ เป็นความเสียหายที่ไกลเกินกว่าเหตุ

  17. ความรับผิดเพื่อละเมิด ความรับผิดเพื่อละเมิด เนื่องจากการกระทำของบุคคลอื่น

  18. ทฤษฎีว่าด้วยความรับผิดในผลแห่งละเมิดของผู้อื่น (Vicarious Liability or Second Liability) ทฤษฎีนี้มีพื้นฐานมาจากสุภาษิตกฎหมายโบราณที่เป็นที่ยอมรับกัน(Latin legal maxims) กล่าวพอสรุปได้ว่า ผู้ใดใช้ให้บุคคลอื่นทำกิจการใดแทนตน ถือว่าผู้นั้นได้ทำกิจการนั้นเอง

  19. เหตุผลของทฤษฎีนี้คือ บุคคลอาจมีส่วนผิดอยู่ด้วย(ขาดความระมัดระวังฯลฯ)ในการที่เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นโดยบุคคลที่อยู่ใต้บังคับบัญชา ความควบคุม ดูแลของบุคคลที่ต้องรับผิดนั้นหรือโดยวัตถุสิ่งของที่เป็นของตนหรือตนได้ควบคุมดูแล(duty to control) ถือเป็นการกระทำโดยอ้อมของบุคคลที่ต้องรับผิดเพราะอาจขาดความระมัดระวังควบคุมดูแลบุคคลมิให้กระทำละเมิดผู้อื่น หรือขาดการระมัดระวัง ควบคุมดูแลทรัพย์สินของตนมิให้ก่อความเสียหายแก่ผู้อื่น

  20. ความรับผิดเพื่อละเมิดเนื่องจากการกระทำของบุคคลอื่น ความรับผิดเพื่อละเมิดเนื่องจากการกระทำของบุคคลอื่น หมายถึง การที่ตนไม่ได้เป็นผู้ทำละเมิด แต่ต้องรับ ผิดในความเสียหายในการที่บุคคลอื่นก่อให้เกิดการละเมิด อันมีดังต่อไปนี้ 1. นายจ้างต้องรับผิดในความเสียหายที่ลูกจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นในการกระทำในทางการที่จ้าง ( มาตรา 425 )

  21. อันมีข้อพิจารณาดังต่อไปนี้ อันมีข้อพิจารณาดังต่อไปนี้ ก. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจะต้องเป็นความสัมพันธ์ ในเรื่องของการจ้างแรงงาน (มีอำนาจเลือก มีอำนาจปลด มีอำนาจให้สินจ้าง) ข. ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะต้องเกิดในทางการที่จ้าง กล่าวคือ ในคำสั่งของนายจ้าง หรือในหน้าที่ของลูกจ้าง ค. การกระทำของลูกจ้างจะต้องเป็นการละเมิด นายจ้างจึง จะต้องรับผิดอันเนื่องมาจากการกระทำของลูกจ้าง ตาม มาตรา 425

  22. อันมีข้อพิจารณาดังต่อไปนี้ อันมีข้อพิจารณาดังต่อไปนี้ • ผู้ได้รับความเสียหายสามารถเรียกให้นายจ้างและลูกจ้าง • รับผิดร่วมกันได้ • นายจ้างเมื่อได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ถูกละเมิดแล้ว • สามารถไล่เบี้ยค่าเสียหายจากลูกจ้างได้ (ย้อนกลับไปดูเรื่อง • ความรับผิดของนิติบุคคล)

  23. เรียกค่าเสียหาย นายจ้าง ไล่เบี้ย ละเมิด ผู้ได้รับความเสียหาย ลูกจ้าง เรียกค่าเสียหาย

  24. 2. ตัวการจะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากการก่อละเมิด ของตัวแทน ( มาตรา 427 ) อันมีข้อพิจารณาดังนี้ ก. ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะต้องเกิดขึ้นในขอบแห่ง การปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทน ข. การกระทำของตัวแทนจะต้องเป็นการละเมิดด้วย ตัวการจึงจะต้องรับผิดตามมาตรานี้

  25. 3. บิดา มารดา หรือผู้อนุบาล จะต้องรับผิดในความเสียหาย ที่ผู้เยาว์ หรือคนวิกลจริตในความดูแล ได้ก่อให้เกิดขึ้น ( มาตรา 429 ) ก. บิดามารดา หรือผู้อนุบาล จะต้องรับผิดในความ เสียหายที่ผู้เยาว์หรือคนวิกลจริตได้ก่อให้เกิดขึ้น เว้นแต่ บิดามารดาจะพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ใช้ความระมัดระวัง ตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลแล้ว บิดามารดาหรือผู้อนุบาลจึงจะพ้นผิด

  26. ข. การกระทำของผู้เยาว์ หรือคนวิกลจริตไม่จำเป็นต้อง เป็นการทำละเมิด(จงใจหรือประมาทเลินเล่อ) เพียงทำให้เกิดความเสียหาย บิดามารดา ฯ ต้องรับผิด เช่น เด็กอายุ 3 ขวบ เอาไม้ลูกชิ้น ทิ่มตาเพื่อน เช่นนี้ บิดามารดต้องรับผิด แม้เด็กจะมิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม

  27. 4. ครูบาอาจารย์ หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงดูแลผู้ไร้ความสามารถ ต้องรับผิดในความเสียหายที่ผู้ไร้ความสามารถได้ก่อให้ เกิดขึ้น ก. ครูบาอาจารย์ หรือบุคคลที่รับเลี้ยงดูแลคนไร้ความ สามารถจะต้องรับผิดก็ต่อเมื่อ ผู้เสียหายสามารถ พิสูจน์ได้ว่าบุคคลเหล่านั้นไม่ได้ใช้ความระมัดระวัง ตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล

  28. ข. ผู้ไร้ความสามารถ หมายความถึง ผู้เยาว์ บุคคล วิกลจริต คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ ความสามารถ ค. ครูบาอาจารย์ที่จะต้องรับผิดหมายความเฉพาะ ครูบาอาจารย์ซึ่งนอกจากจะเป็นผู้สั่งสอนแล้ว ยังต้อง มีหน้าที่ดูแลบุคคลเหล่านั้นด้วย ง. บุคคลผู้รับเลี้ยงดูแล ได้แก่ บุคคลผู้ดูแลผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความตามความเป็นจริง

  29. จ. เมื่อครูบาอาจารย์ หรือผู้รับเลี้ยง เมื่อได้ชดใช้ค่าเสีย หายแก่ผู้ต้องเสียหายแล้ว มีสิทธิไล่เบี้ยลูกศิษย์ หรือผู้ไร้ความสามารถที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้ โดยอาจจะไล่เบี้ยเอาจากลูกศิษย์ ผู้ไร้ความสามารถ หรือบิดามารดาของลูกศิษย์ หรือของผู้ไร้ความสามารถ ก็ได้ ตาม ม.429

  30. ความรับผิดเพื่อความเสียหายซึ่งเกิดจากทรัพย์สิน ความรับผิดเพื่อความเสียหายซึ่งเกิดจากทรัพย์สิน ได้แก่กรณีดังต่อไปนี้ 1. มาตรา 433ความเสียหายจากสัตว์ 1. ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นจากสัตว์เจ้าของสัตว์ หรือผู้รับเลี้ยง รักษาไว้แทนเจ้าของ จะต้องรับผิดในความเสียหายนั้น ผู้รับเลี้ยงรักษา ได้แก่ บุคคลซึ่งมิใช่เจ้าของแต่รับเลี้ยงรับ รักษาสัตว์นั้นแทนเจ้าของ เช่น ผู้รับฝาก ผู้พบสัตว์พลัดหลง

  31. เว้นแต่จะพิสูจน์ได้อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้เว้นแต่จะพิสูจน์ได้อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 1.1 ตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่การเลี้ยงรักษา ตามชนิดและนิสัยของสัตว์นั้นแล้ว 1.2 ตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่การเลี้ยงรักษา ตามพฤติการณ์ 1.3 ตนพิสูจน์ได้ว่าอย่างไรเสียความเสียหายยังคงเกิดมีขึ้น แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังระดับดังกล่าวแล้ว

  32. 2. ในกรณีความเสียหายเพราะสัตว์เกิดจากบุคคลหรือสัตว์อื่นมาเร้า หรือยั่วสัตว์ เจ้าของสัตว์หรือผู้รับเลี้ยงรักษามีสิทธิไล่เบี้ยบุคคลนั้น หรือเจ้าของสัตว์อื่นได้

  33. มาตรา 436 ความเสียหายจากของตกหล่นหรือทิ้งขว้าง 1. ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะของตกหล่นจากโรงเรือน ผู้อยู่ในโรงเรือนจะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น 2. ความเสียหายเกิดขึ้นจากการทิ้งขว้างของจากโรงเรือน ไปตกในที่อันมิควร ผู้อยู่ในโรงเรือนจะต้องรับผิดในความ เสียหายนั้น

  34. หมายเหตุ 1. ผู้อยู่ในโรงเรือน หมายถึง หัวหน้า ผู้ควบคุมโรงเรือนนั้น 2. เมื่อรับผิดต่อผู้ได้รับความเสียหายแล้วไม่อาจไล่เบี้ยจาก ใครได้ 3. กรณีหากเป็นการทิ้งขว้างไปยังที่อันควรทิ้ง ไม่ต้องรับผิด ชอบในความเสียหาย

  35. 3. มาตรา 434 ความเสียหายเกิดจากโรงเรือนหรือสิ่งเพาะปลูก 1. ในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ก่อสร้างไว้ชำรุดบกพร่อง หรือบำรุงรักษาไม่เพียงพอผู้ครอบครองโรงเรือนฯ ต้องรับผิด เช่น เพดานบ้านที่นายดำเช่าจากนายแดง ร่วงถูก ศีรษะนายขาว ผู้ครอบครองโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง ได้แก่ ผู้เป็นเจ้าของ หรือบุคคลอื่นก็ได้ เช่น ผู้เช่า ผู้ทรงสิทธิอาศัย เป็นต้น

  36. 2. ในกรณีที่ผู้ครอบครองโรงเรือนพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว เจ้าของต้องรับผิดชอบในความเสียหายนั้น เช่น เพดานบ้านที่นายดำเช่าจากนายแดง ร่วงถูกศีรษะนายขาว เช่นนี้ หากนายดำพิสูจน์ได้ว่าได้บำรุงรักษาอย่างดีแล้ว นายแดงต้องเป็นผู้รับผิดต่อนาย ขาว

  37. 3. เมื่อเจ้าของบ้านหรือผู้ครองโรงเรือนรับผิดแล้ว ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น ได้(ถ้ามี) (เช่น ผู้รับจ้างสร้างบ้าน) เช่น ถ้าเหตุที่เพดานบ้านที่นายดำเช่าร่วงลงมาเพราะเหตุผู้รับเหมา ก่อสร้างไม่ดี เช่นนี้ นายแดงเมื่อชดใช้ค่าเสียหายแก่นายขาวแล้ว สามารถไล่เบี้ยค่าเสียหายจากผู้รับเหมาได้

  38. 4. กรณีข้างต้นใช้บังคับรวมถึงความเสียหายเนื่อง จากการชำรุดบกพร่องในการปลูก หรือค้ำจุนต้นไม้ หรือกอไผ่ด้วย(ม.434 ว.2)

  39. 4. ม. 437 ความเสียหายเกิดจากยานพาหนะอันเดินด้วยเครื่องจักรกล เช่น รถจักรยายนต์ รถยนต์ เรือยนต์ รถไฟฟ้า รถไฟ 1. ผู้ครอบครอง หรือควบคุมดูแลยานพาหนะ อันเดินด้วยเครื่องจักรกล ต้องรับผิดชอบในความเสียหายอันเกิดจากยานพาหนะนั้น ผู้ครอบครอง ได้แก่ ผู้ที่ยึดถือทรัพย์นั้น และยึดถือเพื่อตน ซึ่งอาจจะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์นั้นก็ได้ เช่น ผู้เช่า ผู้ยืม ผู้ควบคุม ได้แก่ ผู้ควบคุมยาพาหนะนั้น เช่น คนขับรถ หรือลูกจ้าง

  40. 2. ผู้ครอบครอง หรือควบคุมดูแล ไม่ต้องรับผิดต่อเมื่อพิสูจน์ว่าความเสียหายเกิดจากเหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง เช่น วิ่งตัดหน้ารถกะทันหัน กระโดดลงรถโดยสารในขณะที่ยังไม่จอดสนิท ขึ้นไปอยู่บนหลังคารถไฟ

  41. 3. ความรับผิดเช่นเดียวกันนี้รวมไปถึง ผู้มีไว้ในความครอบครองซึ่งทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายโดยสภาพ หรือความมุ่งหมายที่จะใช้ หรือโดยอาการกลไกของทรัพย์นั้นด้วย (ม.437 ว.2) - ทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายโดยสภาพ เช่น เชื้อเพลิง - ความมุ่งหมายที่จะใช้ เช่น กับดักสัตว์ - โดยอาการกลไกของทรัพย์นั้นด้วย (ม.437 ว.2) เช่น เครื่องจักรต่างๆ

  42. ค่าสินไหมทดแทน 1. ความเสียหายต่อทรัพย์ - ค่าสินไหมทดแทน ได้แก่ การคืนทรัพย์ หรือ ใช้ราคาทรัพย์ทั้งหมด หรือ แต่บางส่วน

  43. 2. ความเสียหายต่อร่างกาย(บาดเจ็บ) ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ - ค่ารักษาพยาบาล - ค่าเสียหายทดแทนการเสียความสามารถ ในการประกอบการงาน

  44. ค่าเสียหายที่ต้องขาดแรงงาน (ผู้ขาดไร้แรงงานเป็นผู้เรียก • มิใช่ ผู้ถูกทำละเมิดเป็นผู้เรียก) เช่น นายจ้าง สามีภริยา - ค่าขาดประโยชน์ในการทำมาหาได้ ได้แก่ ค่าขาดรายได้ระหว่างที่เจ็บป่วย

  45. 3. ความเสียหายต่อชีวิต ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ - ค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอื่นๆ - ค่ารักษาพยาบาล - ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ (ในกรณีที่มิได้ตายทันที)

  46. - ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย(ผู้ขาดไร้เป็นผู้เรียก มิใช่ผู้ถูกทำละเมิดเป็นผู้เรียก) หมายถึงผู้ตายมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ผู้ละเมิดต้องชดใช้แทนผู้ตาย อันได้แก่ บุตร บิดามารดา สามีภริยา (ต้องชอบด้วยก.ม) - ค่าเสียหายที่ต้องขาดแรงงาน (บุคคลภายนอกเป็นผู้เรียก) เช่น นายจ้าง หรือ สามีภริยา

  47. 4. ความเสียหายต่อชื่อเสียง ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ ตัวเงิน และการจัดการเพื่อทำให้ชื่อเสียงของผู้เสียหายกลับคืนดี เช่น การลงประกาศขอโทษ การประกาศข้อความจริง

  48. ข้อสังเกตเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนข้อสังเกตเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทน 1. ศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยเกี่ยวกับค่าสินไหมทนแทนตามพฤติ- การณ์ความร้ายแรงที่เกิดขึ้น 2. ในการเรียกร้องค่าเสียหายจะต้องกระทำภายใน 1 ปี นับจาก วันรู้การทำละเมิด และรู้ตัวผู้ทำละเมิด แต่ต้องไม่เกิน 10 ปี นับจากวันทำละเมิด

  49. ลาภมิควรได้ หมายถึง การที่บุคคลได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดเพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งกระทำเพื่อชำระหนี้ หรือได้มาด้วยประการอื่นโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ

  50. ลักษณะของลาภมิควรได้ ได้แก่การที่บุคคลหนึ่งได้ทรัพย์ในลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังต่อไปนี้ • ได้ทรัพย์มาเพราะบุคคลอีกคนหนึ่งกระทำเพื่อชำระหนี้ (โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้) ได้แก่ การที่บุคคลหนึ่งให้ทรัพย์แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ แต่ตามกฎหมายไม่มีหนี้ระหว่างบุคคลดังกล่าว

More Related