1 / 23

กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ

กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ. หน้าที่รับผิดชอบ. ให้การสนับสนุนการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ทุกชนิด เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคมะเร็งทุกชนิด เป็นต้น จัดระบบและสนับสนุนการให้บริการหน่วยกู้ชีพในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน งานวิจัยและพัฒนา

carney
Download Presentation

กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อกลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ

  2. หน้าที่รับผิดชอบ • ให้การสนับสนุนการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ทุกชนิด เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคมะเร็งทุกชนิด เป็นต้น • จัดระบบและสนับสนุนการให้บริการหน่วยกู้ชีพในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน • งานวิจัยและพัฒนา • งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย เช่น KM

  3. การควบคมและป้องกัน โรคมะเร็งปากมดลูก • ส่งเสริมสุขภาพและค้นหาสตรีที่ปากมดลูกมีความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มแรกและระยะก่อนเป็นมะเร็งและรักษาโดยบุคลากรทางการแพทย์ นโยบาย

  4. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งในสตรีกลุ่มเสี่ยงและส่งต่อเพื่อการวินิจฉัยรักษา • เพื่อลดอัตราป่วยและความรุนแรงด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก • เพื่อลดอัตราตายของสตรีกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

  5. ตัวชี้วัด Pap - Smear • ร้อยละ 60 ของสตรีกลุ่มอายุ 35, 40, 45, 50, 55, 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap - Smear • สตรีที่พบความผิดปกติทุกคนต้องได้รับการส่งต่อ และดูแลรักษาตามแนวทางที่กำหนด

  6. ตัวชี้วัด VIA • ร้อยละ 10 ของสตรีกลุ่มอายุ 30 - 34, 36 - 39, 41 - 44 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลุกด้วยวิธี VIA • สตรีที่พบความผิดปกติทุกคนต้องได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางที่กำหนด

  7. แนวทางดำเนินการ 1. สำรวจกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ 2. จัดทำแผนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (โซน) 3. ในรายที่ผิดปกติส่งต่อเพื่อพบแพทย์ โดย - Pap - Smear ส่งพบแพทย์ทุกวันพฤหัสบดี - VIA ส่งพบแพทย์ทุกวันศุกร์ 4. ส่งต่อข้อมูลระหว่างหน่วยป้ายและหน่วยอ่าน 5. Key ข้อมูลลงโปรแกรม เพื่อเบิกจ่ายเงิน

  8. นโยบาย การควบคมและป้องกัน โรคมะเร็งเต้านม นโยบาย • เสริมสร้างศักยภาพของสตรีในการส่งเสริมสุขภาพตนเองโดยเฉพาะการดูแลและตรวจเต้านมด้วยตนเอง เพื่อให้สตรีได้เรียนรู้และตรวจเต้านมตนเองอย่างถูกต้อง สามารถค้นหาความผิดปกติ ได้รับการตรวจคัดกรองและรักษาโดยบุคลากรทางการแพทย์

  9. วัตถุประสงค์ • เพื่อพัฒนาศักยภาพสตรีกลุ่มเป้าหมาย (อายุ 35ปีขึ้นไป) ให้มีพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องและเป็นประจำทุกเดือน เพื่อค้นหาความผิดปกติ • เพื่อลดอัตราป่วยและความรุนแรงด้วยโรคมะเร็งเต้านม • เพื่อลดอัตราตายของสตรีกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคมะเร็งเต้านม

  10. ตัวชี้วัด • ร้อยละ 80 ของสตรีอายุ 35 ปีขึ้นไปมีความรู้ และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และสามารถตรวจได้อย่างถูกต้องเป็นประจำทุกเดือน • ร้อยละ 40 ของสตรีอายุ 35 ปีขึ้นไปจะต้องผ่านการประเมินความรู้และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องโดย จนท. สาธารณสุข • สตรีทุกคนที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการวินิจฉัย รักษาตามแนวทางที่กำหนด

  11. แนวทางดำเนินการ • จัดอบรม อสม. (เพิ่มเติม) และสตรีแกนนำให้มีความรู้และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง สามารถถ่ายทอดความรู้ให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง • จัดทำแผนการประเมินความรู้และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดย จนท.สาธารณสุข • จัดกิจกรรมรณรงค์ตรวจเต้านมด้วยตนเอง มะเร็งไม่ถามหา 25 - 30 พ.ย. 50 • ในรายที่ตรวจพบสิ่งปกติส่งต่อพบแพทย์ศัลยกรรม

  12. การป้องกันและควบคุมโรคเรื้อรังการป้องกันและควบคุมโรคเรื้อรัง • โรคเบาหวาน • โรคความดันโลหิตสูง • โรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต)

  13. นโยบาย “ลดโรค และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง” วัตถุประสงค์ - ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรอง - ลดอุบัติการณ์การเกิดโรค - ลดการ Readmit และ Complication

  14. ตัวชี้วัด งานป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง • ร้อยละ 65 ของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับบริการตรวจ คัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง • ประชากรที่พบความผิดปกติทุกคนได้รับส่งต่อเพื่อวินิจฉัย และรักษาตามแนวทางที่กำหนด

  15. แนวทางดำเนินการ 1. สำรวจกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบ 2. จัดทำแผนการคัดกรองและดำเนินการคัดกรอง 3. ลงทะเบียนผลการดำเนินการเป็นรายบุคคล 4. ในรายที่ตรวจพบความผิดปกติทุกรายส่งต่อเพื่อวินิจฉัยและรักษา 5. จัดกิจกรรมรณรงค์วันเบาหวานโลก (14 พ.ย.ของทุกปี) 6. จัดกิจกรรมรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก (14 พ.ค. ของทุกปี)

  16. ตัวชี้วัด งานป้องกันและควบคุมโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ - อัมพาต) • ร้อยละ 40 ของประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง

  17. แนวทางดำเนินการ 1. สำรวจกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบ 2. คัดกรองประชากรกลุ่มเสี่ยงตามแบบฟอร์ม 3. ส่งต่อพบแพทย์กรณีที่มีความเสี่ยงมากกว่า 5 ข้อ 4. จัดกิจกรรมรณรงค์วันอัมพฤกษ์ อัมพาตโลก (24 พ.ค.ของทุกปี)

  18. งานพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินงานพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

  19. นโยบายหลักของกระทรวงสาธารณสุขในการจัดระบบ EMS 1. ผนวกงานบริการการแพทย์ฉุกเฉินเข้าในกระบวนการรักษาพยาบาลผู้ป่วย 2. เร่งรัดให้มี พรบ. ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาระบบที่ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน 3. เร่งรัดให้มีการจัดตั้งสำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติทำหน้าที่องค์กรหลักในการขับเคลื่อนนโยบาย

  20. 4. ผลักดันให้มีหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินเบอร์เดียว 5. วางแผนในการพัฒนาระบบสื่อสาร สั่งการ ของทั้งในส่วนกลางและของเครือข่ายที่ครอบคลุมทั้งประเทศ สามารถปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในยามปกติและในสถานการณ์ฉุกเฉิน 6. มีแผนหลักในการผลิตและพัฒนาบุคลากรมืออาชีพ 7. เร่งรัดการพัฒนาระบบประกันคุณภาพและการติดตามประเมินผล

  21. ตัวชี้วัด • เวลาปฏิบัติการตั้งแต่รับแจ้งเหตุถึงที่เกิดเหตุ ไม่เกิน 10 นาที (ค่าเฉลี่ยของจังหวัด) ร้อยละ 85 • ร้อยละ 50 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมการจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินระดับพื้นที่ • ร้อยละ 80 ของห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินในโรงพยาบาลมีการพัฒนาคุณภาพยกระดับขึ้น 1 ขั้น

  22. แนวทางดำเนินการ 1. ประชาสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายการดำเนินงานร่วม อปท. 2. พัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 2.1 การบริหารจัดการ เช่น การสนับสนุนวัสดุ ครุภัณฑ์ การนิเทศติดตาม การรายงาน ฯลฯ 2.2 การพัฒนาบุคลากร 2.3 การพัฒนาคุณภาพ ER 2.4 การประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยกู้ชีพ

  23. สวัสดี

More Related