1 / 19

ดวงอาทิตย์ (The Sun)

ดวงอาทิตย์ (The Sun).

carol
Download Presentation

ดวงอาทิตย์ (The Sun)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ดวงอาทิตย์ (The Sun)

  2. ดวงอาทิตย์เป็นวัตถุที่เด่นชัดและมีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีความร้อน ส่องแสงได้ด้วยตัวเอง มีมวลประมาณ 99.8% ของมวลรวมทั้งหมด เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1,391,000 กิโลเมตรมีมวลประมาณ 332,000 เท่าของโลก ซึ่งถ้าเอาโลกมาเรียงกันตามแนวเส้นศูนย์สูตรจะต้องใช้โลกถึง 109 ดวง และถ้าเอาโลกใส่เข้าไปในดวงอาทิตย์จะใส่โลกเข้าไปได้ถึง 1.3 ล้านโลก

  3. ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร เป็นแหล่งของแสงสว่าง ความร้อน และพลังงานของระบบสุริยะ แรงดึงดูดของดวงอาทิตย์เป็นตัวทำให้คงสภาพของระบบสุริยะอยู่ได้

  4. ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยธาตุหลักเพียง 2 ธาตุ คือ ไฮโดรเจน 92.1% และ ฮีเลียม 7.8% ยังมีธาตุอื่นๆ อีกประมาณ 0.1% สัดส่วนของส่วนประกอบจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พลังงานของดวงอาทิตย์ได้จากปฏิกิริยาทางนิวเคลียร์ที่เปลี่ยนไฮโดรเจนไปเป็นฮีเลียมในบริเวณแกนกลางของดวงอาทิตย์โดยขบวนการนิวเคลียร์ฟิวชัน ดวงอาทิตย์ทำการเปลี่ยนไฮโดรเจนไปเป็นฮีเลียมด้วยอัตรา 4 ล้านตันต่อวินาที ซึ่งจากอัตรานี้ดวงอาทิตย์จะมีอายุประมาณ 30 พันล้านปี

  5. การกำเนิดของดวงอาทิตย์เชื่อว่าเกิดจากการรวมตัวของวัตถุในอวกาศ ในขั้นตอนเริ่มต้นของการเกิด ดวงอาทิตย์อาจเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่าเมฆฝุ่น (dust cloud) ซึ่งได้จากการรวมกลุ่มของฝุ่นและก๊าซด้วยแรงดึงดูด เมื่อเมฆฝุ่นหนาแน่นขึ้นจนไม่มีสภาพของช่องว่างซึ่งเป็นจุดเริ่มของดวงอาทิตย์ เรียกขั้นตอนนี้ว่า เนบิวลา (nebula)

  6. ชั้นผิวนอกสุดของดวงอาทิตย์แสดงให้เห็นถึง ความเร็วในการหมุนที่แตกต่างกัน บริเวณที่เป็นศูนย์สูตรจะใช้เวลาหมุน 25.4 วัน ส่วนบริเวณขั้วจะใช้เวลาหมุน 36 วัน ซึ่งลักษณะดังกล่าวเกิดเนื่องจากว่าดวงอาทิตย์เป็นวัตถุที่มีสถานะไม่เป็นของแข็ง ความแตกต่างของการหมุนน่าจะเกิดขึ้นกับส่วนของโครงสร้างภายในด้วย ส่วนที่เป็นแกนกลางของดวงอาทิตย์มีการหมุนในลักษณะที่เป็นของแข็ง

  7. พื้นผิวของดวงอาทิตย์ที่เรียกว่า photosphere มีอุณหภูมิประมาณ 5800 K และความดันประมาณ 340 เท่าของพื้นโลกที่ระดับน้ำทะเล มีจุดดับ (sunspots) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ คือประมาณ 3800 K

  8. จุดดับอาจมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 50,000 กิโลเมตร สาเหตุของการเกิดยังมีความซับซ้อนและไม่เข้าใจถึงกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสนามแม่เหล็ก

  9. บริเวณที่เรียกว่า chronosphere วางตัวอยู่เหนือชั้น photosphere พลังงานจากภายในดวงอาทิตย์ถูกส่งผ่านบริเวณนี้

  10. ส่วนบริเวณที่อยู่เหนือ chronosphere เรียกว่า corona เป็นส่วนนอกสุดของบรรยากาศของดวงอาทิตย์ ซึ่งขยายตัวออกสู่บรรยากาศเป็นระยะทางหลายล้านกิโลเมตร แต่จะสามารถสังเกตเห็นได้เฉพาะเมื่อเกิดสุริยุปราคา (eclipse) อุณหภูมิบริเวณ corona ประมาณ 1,000,000 K

  11. สนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์มีความเข้มสูงมากและมีความซับซ้อนมาก ส่วนของ magnetosphere หรืออาจเรียกว่า heliosphere ขยายออกไปจนถึงดาวพลูโต

  12. ดวงอาทิตย์ปลดปล่อยอนุภาคขนาดเล็กที่มีประจุ เช่น อิเลคตรอนและโปรตอน ซึ่งเรียกกันว่า ลมสุริยะ (solar wind) ซึ่งแพร่กระจายออกไปในระบบสุริยะด้วยความเร็วประมาณ 450 กิโลเมตรต่อวินาที

  13. ลมสุริยะและอนุภาคพลังงานสูงที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ สามารถไปรบกวนตั้งแต่ระบบสายไฟฟ้าจนถึงระบบสื่อสารคลื่นวิทยุ หรืออาจทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า aurora borealis

  14. ดวงอาทิตย์ซึ่งเชื่อว่ามีอายุประมาณ 4.5 พันล้านปี ได้ใช้ไฮโดรเจนไปครึ่งหนึ่งแล้ว และจะยังคงสามารถปลดปล่อยพลังงานได้อีกประมาณ 5 พันล้านปี ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นฮีเลียมจะหลอมกลายเป็นธาตุที่มีน้ำหนักสูงขึ้น ขนาดของดวงอาทิตย์ก็จะขยายขึ้นด้วย ซึ่งอาจขยายใหญ่มาถึงโลกได้ เรียกดวงอาทิตย์ช่วงนี้ว่า ดาวยักษ์แดง (red giant) หลังจากนั้นจะเกิดการหดตัวอย่างรวดเร็วกลายเป็น ดาวแคระขาว (white dwarf) ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของการเกิดของดวงดาว และต้องใช้เวลาอีกเป็นพันพันล้านปีในการทำให้มันเย็นตัวลง

More Related