1 / 31

บทที่ 3 ธรณีประวัติ

บทที่ 3 ธรณีประวัติ. ธรณีประวัติ. ธรณีประวัติ  คือ  ประวัติศาสตร์ทางธรณีของโลก  ที่จะบอกเล่าความเป็นมาและสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต  ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์  ตลอดจนวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

chars
Download Presentation

บทที่ 3 ธรณีประวัติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 3 ธรณีประวัติ

  2. ธรณีประวัติ ธรณีประวัติ  คือ  ประวัติศาสตร์ทางธรณีของโลก  ที่จะบอกเล่าความเป็นมาและสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต  ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์  ตลอดจนวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ข้อมูลทางธรณีวิทยาที่สามารถอธิบายความเป็นมาของพื้นที่ในอดีต  ได้แก่  อายุทางธรณีวิทยา  ซากดึกดำบรรพ์  โครงสร้างและการลำดับชั้นหิน  เป็นต้น  เฟิร์นกลอสซอพเทอริสเป็นฟอสซิลในหิน

  3. อายุทางธรณีวิทยา โดยทั่วไปอายุทางธรณีวิทยาแบ่งเป็น  2  แบบ  คือ  1. อายุเปรียบเทียบ(relative age)/(อายุเทียบสัมพันธ์) 2. อายุสัมบูรณ์(absolute age)

  4. อายุเปรียบเทียบ (Realative age)  เป็นอายุหินเปรียบเทียบซึ่งบอกว่าซากดึกดำบรรพ์ หิน ลักษณะทางธรณีวิทยา หรือเหตุการณ์ทางธรณีวิทยา ว่าหินชุดใดมีอายุมากหรือน้อยกว่ากัน แต่ไม่สามารถบอกเป็นจำนวนปีที่แน่นอนได้  โดยอาศัยตำแหน่งการวางตัวของ หินตะกอนเป็นตัวบ่งบอก( Index fossil) เพราะชั้นหินตะกอนแต่ละขั้นจะต้องใช้ระยะเวลาช่วงหนึ่งที่จะเกิดการทับถม เมื่อสามารถเรียงลำดับของหินตะกอนแต่ละชุดตามลำดับก็จะสามารถหาเวลาเปรียบเทียบได้ อายุเปรียบเทียบหาได้โดยอาศัยข้อมูลจากซากดึกดำบรรพ์ที่ทราบอายุ   ลักษณะ และลำดับของหินชนิดต่างๆ และลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของหิน   แล้วนำมาเปรียบเทียบสัมพันธ์ซึ่งกันและกันกับดัชนีต่างๆ ทางธรณีวิทยาที่เรียกว่า ธรณีกาล (geologic time)

  5. การลำดับชั้นหิน การศึกษาเวลาเปรียบเทียบอาศัยหลักการลำดับชั้นหิน 3 ข้อ คือ 1.1 กฎการวางตัวซ้อนกันของชั้นหินตะกอน (Law of superposition) ถ้าหินตะกอนชุดหนึ่งหรือหินอัคนีผุ ไม่ถูกพลิกกลับ (Overturn) โดยปรากฏการณ์ทางธรรมชาติแล้ว ส่วนบนสุดของหินชุดนี้ย่อมจะมีอายุอ่อนหรือน้อยที่สุด และส่วนล่างสุดย่อมจะมีอายุแก่ที่สุดหรือมากกว่าเสมอ

  6. 1.2 กฎของความสัมพันธ์ในการตัดผ่านชั้นหิน (Law of cross-cutting relationship) กล่าวคือ หินที่ตัดผ่านเข้ามาในหินข้างเคียง ย่อมจะมีอายุน้อยกว่าหินที่ถูกตัดผ่านเข้ามา

  7.  1.3 การเปรียบเทียบสหสัมพันธ์ของหินตะกอน (Correlation of sedimentary rock) ศึกษาเปรียบเทียบหินตะกอนในบริเวณที่แตกต่างกัน โดยสามารถเปรียบเทียบได้โดยอาศัยใช้ลักษณะทางกายภาพเปรียบเทียบโดยใช้ซากดึกดำบรรพ์ (Correlation by fossil) โดยมีหลักเกณฑ์คือ ในชั้นหินใดๆ ถ้ามีซากดึกดำบรรพ์ชนิดเดียวกัน ที่เหมือนหรือคล้ายคลึงเกิดอยู่ในตัวของมันแล้ว แม้ชั้นหินนั้นๆ จะอยู่ต่างที่กัน ย่อมมีอายุหรือช่วงระยะเวลาที่เกิดเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน

  8. ซากดึกดำบรรพ์ที่สามารถจะใช้เปรียบเทียบได้ดี ต้องมีช่วงเวลาที่อาศัยอยู่บนโลกเป็นเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่เกิดอยู่อย่างกระจัดกระจายเป็นบริเวณกว้างขวางมากที่สุด ซึ่งฟอสซิลเหล่านี้ เรียกว่า ไกด์ฟอสซิลหรือ อินเด็กฟอสซิล หรือ ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี (Guide or Index fossil)

  9. อายุสัมบูรณ์ (absolute age)  เป็นอายุหินหรือซากดึกดำบรรพ์   ที่สามารถบอกเป็นจำนวนปีที่ค่อนข้างแน่นอน  การหาอายุสัมบูรณ์ใช้วิธีคำนวณจากครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ในหิน   หรือซากดึกดำบรรพ์ที่ต้องการศึกษา    คุณสมบัติของธาตุกัมมันตรังสี ที่เหมาะในการใช้หาอายุจะต้อง 1. มีอัตราการสลายตัวที่สม่ำเสมอ 2. มีครึ่งชีวิตที่นานพอสมควร 3. ควรเป็นธาตุที่พบทั่วไปในวัสดุที่เป็น เปลือกโลก ธาตุกัมมันตรังสีที่นิยมนำมาหาอายุสัมบูรณ์ ได้แก่ ธาตุคาร์บอน-14 มีครึ่งชีวิตเท่ากับ 5,730 ปี จะใช้กับหินหรือ fossil โบราณคดี ที่มีอายุไม่เกิน 50,000 ปี ธาตุยูเรเนียม-238 มีครึ่งชีวิตถึง 4.51พันล้านปี หรือ ธาตุโพแทสเซียม-40  มีครึ่งชีวิต 1.31 พันล้านปี มักจะใช้กับหินที่มีอายุมาก ๆ ซึ่งมีวิธีการที่สลับซับซ้อน ใช้ทุนสูง และแร่ที่มีปริมาณรังสีมีปริมาณน้อยมาก เป็นต้น  

  10. ตัวอย่างการคำนวณหาอายุสัมบูรณ์ตัวอย่างการคำนวณหาอายุสัมบูรณ์ คาดว่าเมื่อหินเริ่มแข็งตัว(rock formed)มี ธาตุกัมมันตรังสี 1,000 อะตอมเมื่อนำมาทดสอบเหลืออยู่เพียง 250 อะตอมถ้าครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสีนี้เท่ากับ 1 ล้านปี หินนี้จะอายุเท่าใด คำตอบ คือ 2 ล้านปี

  11. การหาอายุสัมบูรณ์มักใช้กับหินที่มีอายุมากเป็นแสนเป็นล้านปี เช่น หินแกรนิตบริเวณฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต   ซึ่งเคยเป็นหินต้นกำเนิดแร่ดีบุกมีอายุสัมบูรณ์ประมาณ 100 ล้านปี   ส่วนตะกอนซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุน้อยกว่า 50,000 ปี   มักใช้วิธีกัมมันตรังสีคาร์บอน-14   เช่น   ซากหอยนางรมที่วัดเจดีย์หอย อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานีมีอายุประมาณ 5,500 ปี หินแกรนิตบริเวณฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต 

  12. แหล่งซากหอยนางรมยักษ์ วัดเจดีย์หอย จังหวัดปทุมธานี พบเปลือกหอยทะเลหลายชนิดสะสมตัว ปนกับซากไม้ผุในตะกอนดินเหนียวทะเล ที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม มีสีเทาถึงเทาปนเขียว ซากหอยที่พบ มีหลายชนิด เช่น หอยแครง หอยกาบ หอยสังข์ และหอยลาย ซากหอยที่พบมากที่สุด เป็นหอยนางรมเมื่อนำซากหอยนี้ไปหาอายุ ด้วยวิธีกัมมันตภาพรังสีคาร์บอน ๑๔ พบว่ามีอายุประมาณ ๕,๕๐๐ ปี แสดงให้เห็นว่า ในอดีตบริเวณวัดเจดีย์หอยเคยเป็นชายทะเลมาก่อน โดยพบว่า น้ำทะเลท่วมที่ราบลุ่มภาคกลาง ไปจนถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อประมาณ ๖,๐๐๐ ปี ที่แล้ว ต่อมาทะเลโบราณลดระดับลง และเริ่มถอยร่นออกไปในช่วงประมาณ ๕,๗๐๐ - ๕,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา   เมื่อน้ำทะเลถอยร่นออกไป จึงพบซากหอยอยู่ในบริเวณนี้

  13. สุสานหอยแหลมโพธิ์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดกระบี่สุสานหอยแหลมโพธิ์ เป็นสุสานหอยมีลักษณะเป็นแผ่นหินปูนหนาตั้งแต่ ๐.๐๕ - ๑ เมตร มีเปลือกหอยขมน้ำจืด วางทับถมกันเป็นจำนวนมาก และเชื่อมประสานด้วยน้ำปูน จนยึดติดกันเป็นแผ่น เรียงซ้อนกัน คล้ายลานซีเมนต์ ชั้นหินสุสานหอยโผล่ให้เห็นอยู่ตามริมหาดเป็นแนวยาว ประมาณ ๒ กิโลเมตร อายุที่แน่นอน ของชั้นสุสานหอยว่า สะสมตัวเมื่อราว ๓๗ - ๓๓.๕ ล้านปี มาแล้ว

  14. นักธรณีวิทยาได้แบ่งอายุของโลกออกเป็นช่วงๆ เรียกว่า “ธรณีกาล” โดยใช้เหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาและการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของโลกเป็นหลัก ในการแบ่ง ประกอบด้วยมหายุค (Era) ยุค (Period) และสมัย (Epoch) โดยแบ่งโลกออกเป็น 4 มหายุคกับอีก 11 ยุค จากยุคก็แบ่งย่อยเป็นสมัย มีเวลาเป็นปีกำกับ ของแต่ละช่วงยุคสมัย

  15. ตารางธรณีกาล นักธรณีวิทยาได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ และจัดหมวดหมู่ตามอายุ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมตามกาลเวลาที่ค้นพบจนในที่สุดสรุปเป็นตารางธรณีกาล

  16. “พรีแคมเบรียน” มหายุคพรีแคมเบรียน (Precambrian Era) มหายุคแรกของธรณีกาล เริ่มตั้งแต่กำเนิดโลกเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่สุด เชื่อกันว่าสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำเริ่มเกิดขึ้นในตอนปลายของมหายุคนี้แต่ส่วนมากไม่ทิ้งร่องรอยหรือหลักฐานที่ชัดเจน • พรีแคมเบรียน” (3,500 – 545 ล้านปี) เกิดหลังจากโลกเริ่มเย็นตัวลง • ส่วนใหญ่เป็นหินพวกหินไนส์ หินชนวน หินชิสต์ หินอ่อน • และหินควอร์ตไซต์ • สภาพภูมิประเทศในมหายุคพรีแคมเบรียน มีลักษณะโล่งเตียน เป็นภูเขา ทะเลทราย มีภูเขาไฟประทุรุนแรงเกิดธารลาวามากมาย ไอน้ำในบรรยากาศเริ่มกลั่นตัวเป็นน้ำฝน ทำให้เกิดแม่น้ำและทะเล • สิ่งมีชีวิตเริ่มแรกเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว และเริ่มมีสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น แมงกะพรุน และกัลปังหา • ซึ่งในยุคนี้หลายประเทศ เช่น แคนาดาและออสเตรเลีย • ซากดึกดำบรรพ์สโทรมาโทไลต์เป็นตัวกำหนดยุค สโตรมาโตไลท์ เป็นสาหร่ายที่เกาะกันเป็นพืดปกคลุมอยู่บนหินมีความสำคัญต่อการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตคือ เป็นตัวจัดหาออกซิเจนให้แก่สิ่งมีชีวิตแรกเริ่มในยุคพรีแคมเบรียน

  17. มหายุคพาลีโอโซอิก ซากดึกดำบรรพ์ ประจำมหายุคนี้ คือ ไทรโลไปท์ (Trilobite) ยุคแคมเบรียน • ยุคแคมเบรียน (Cambrian period) ยุคแรกของมหายุคพาลีโอโซอิก • มีช่วงอายุตั้งแต่ 545 ถึง 505 ล้านปี • หินที่พบเป็นพวกหินทราย หินดินดาน หินชนวนและหินปูน • ยุคนี้ทะเลน้ำตื้นได้ค่อยๆ รุกล้ำเข้าไปในผืนแผ่นดินส่วนใหญ่ พืชเป็นพวกสาหร่ายทะเล • เริ่มพบซากสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น ปะการัง หอย ฟองน้ำ ไทรโลไบต์ (trilobite) • ซากดึกดำบรรพ์สัตว์ที่มีเปลือกแข็งหุ้มตัวหรือฝาหุ้มเช่นไทรโลไบต์ • แกรพโทไลท์มีเฉพาะพวกเป็นร่างแหไครนอยด์และหอยชนิดต่างๆ • สัตว์ประจำยุคนี้ คือ ไทรโลไบท์ ซึ่งมีจำนวนมากที่สุด รองลงไปคือ บราคิโอปอดส์ (brachiopods) ไทรโลไบท์ (Trilobite) หรือ อาร์โทรปอด(Arthropod) บราคิโอปอดส์ (brachiopods)

  18. ยุคออร์โดวิเชียน • ยุคออร์โดวิเชียน (Ordovician) ช่วงอายุตั้งแต่ 505 ถึง 438 ล้านปี • หินที่พบเป็นพวกหินปูน โดโลไมต์ หินทรายและหินดินดาน • พืชที่พบในยุคนี้ยังเป็นพวกสาหร่ายทะเล • พวกสัตว์ไร้กระดูกสันหลังประกอบด้วยไทรโลไบต์ • ยุคนี้มีสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังอยู่มาก • มีสัตว์พวกปะการัง ชนิดเตตราโครอล (tetracorals) แกรปโตไลท์เอคินอยด์ (echinoids) ปลาดาว (asteroids) ครินอยด์ (crinoids) และพวกบรายโอโซนส์ (bryozoans) • ซากดึกดำบรรพ์ประจำยุค คือ แกรปโตไลท์ แกรปโตไลท์เอคินอยด์ ครินอยด์

  19. ยุคไซลูเรียน • ยุคไซลูเรียน (Silurian Period มีช่วงอายุตั้งแต่ 438 ถึง 408 ล้านปี • หินที่พบในยุคนี้ส่วนใหญ่เป็นหินปูน หินทรายและหินดินดานสีดำ • ในตอนปลายยุคเริ่มพบพืชบกเป็นครั้งแรกที่ประเทศออสเตรเลีย • สัตว์ที่พบบ่อยก็มีปะการัง (rugoseและ tabulate) และไครนอยด์ • สัตว์จำพวกหอย (หอยสองฝา, หอยโข่ง, และเซฟาโลพอด) • สัตว์หายใจในอากาศ เริ่มเกิดขึ้นในรูปของแมงป่อง กิ้งกือ • และมีชีวิตอยู่บนบก พืชที่พบเป็นพวกมอสส์ตะบอง • เริ่มพบต้นตระกูลปลาไร้ขากรรไกรเป็นครั้งแรก ปะการัง (rugoseและ tabulate)

  20. ยุคดิโวเนียน • ยุคดิโวเนียน (Devonian Period) มีช่วงอายุตั้งแต่ 408 ถึง 360 ล้านปีมาแล้ว • หินส่วนใหญ่เป็นหินดินดาน หินปูน และหินทรายแดง • เริ่มพบสัตว์ที่หายใจทางอากาศได้ เช่น กิ้งกือ แมลงมุม และแมลงไร้ปีก ในจำพวกสัตว์มีกระดูก • ยุคนี้มีปลาจำพวกต่าง ๆ เจริญมาก บางทีเรียกว่า ยุคของปลา ปลาที่พบเป็นปลาไม่มีกราม (ostracoderms) ปลาตัวแบนๆ (placoderms) ฉลาม (sharks) และปลากระดูก (bony fishes, osteichthyes) • เริ่มเกิดสัตว์ต้นตระกูลของ สัตว์ครื่งบกครื่งน้ำ • สัตว์ประจำยุคนี้ คือ ปลา ปลาตัวแบนๆ (placoderms)

  21. ยุคคาร์บอนิเฟอรัส สัตว์เลื้อยคลาน (reptile) • ยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous Period) มีช่วงอายุตั้งแต่ 360-286 ล้านปี • หินส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินปูน หินทราย หินดินดาน และถ่านหิน • พืชส่วนใหญ่เป็นพวก ไลโดพอด (Scale-trees) และเฟิร์นมีเมล็ด • สัตว์ที่อาศัยอยู่บนบกมีพวกหอยสองฝา หอยขม และสัตว์พวกขาเป็นปล้อง • สัตว์เลื้อยคลาน (reptile) เริ่มมีการวิวัฒนาการในยุคนี้ • แมลงเริ่มมีหลายชนิดและมีปริมาณมากขึ้น เช่นมีแมลงสาบมากมายจนในยุคนี้ได้ชื่อว่ายุคของแมลงสาบ ยังพบซากของแมลงปอที่มีปีกกว้างถึง 30 นิ้ว • พวกแกรพโทไลท์ รูปร่างแหสูญพันธุ์ไปหมดสิ้น • สัตว์ประจำยุคนี้คือ ครินอยด์ ไลโดพอด (Scale-trees)

  22. ยุคเพอร์เมียน • ยุคเพอร์เมียน (Permian Period) มีช่วงอายุตั้งแต่ 286 – 245 ล้านปี • หินส่วนใหญ่ประกอบด้วย หินปูน หินดินดาน หินเกลือและหินทรายสีแดง • พืชส่วนใหญ่เป็นพวก เฟิร์นและเฟิร์นมีเมล็ด ในซีกโลกใต้ • (กอนด์วานาแลนด์) มีพวกพืชกลอสซอฟเทอริส • ยุคที่สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเจริญมาก บางทีเรียกยุคสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ • เริ่มพบแมลงชนิดใหม่ ๆ ในยุคนี้ เช่น แมลงปีกแข็งและจั๊กจั่น • ตอนปลายยุคเกิดยุคน้ำแข็งขึ้น ทำให้ไม้มีเกล็ดและเฟินมีเมล็ดสูญพันธุ์ไป • ปิดยุคนี้ด้วยการเกิดธารน้ำแข็งแพร่ปกคลุมทั่วโลก เป็นการสิ้นสุดของ • มหายุคพาลีโอโซอิก • พืชและสัตว์หลายชนิดสูญพันธุ์ไป เช่นพวกฟูซูลินิด ปะการังพวกรูโกส • ไบรโอซัวฟีเน็สเท็ลลิด หอยตะเกียงโพรดักทิด และไทรโลไบท์ ได้สูญพันธุ์ • ไปหมดสิ้น amphibian fossils

  23. มหายุคมีโซโซอิก ซากดึกดำบรรพ์ประจำยุคคือ แอมโมไนท์ (Ammonite) ยุคไทรแอสสิก • ยุคไทรแอสสิก (Triassic period) มีช่วงอายุตั้งแต่ 245-213 ล้านปีก่อน • เป็นช่วงเวลาเริ่มต้นแห่งยุคไดโนเสาร์ สันนิฐานกันว่าแผ่นดินทั้งหมดในโลกเป็นแผ่นเดียวกัน เรียกว่า “พันเจีย” • มีการทับถมของตะกอนหินดินดานสีแดง และหินทราย • สัตว์เลื้อยคลานมีการวิวัฒนาการสูง • ยุคนี้จะมีอากาศที่อบอุ่นเว้นแต่พื้นที่ส่วนในของทวีปซึ่งอยู่ห่างไกล • ทะเล จะมีสภาพเป็นทะเลทราย ผืนแผ่นดินไม่อุดมสมบูรณ์ต่อการเจริญเติบโตของพืช  พืชพรรณส่วนใหญ่จึงเต็มไปด้วยสน ปรง และเฟิร์น  • ในทะเลใหญ่ๆ มีพวกปลาและสัตว์อื่นๆ เพิ่มมากขึ้น ปริมาณของ • แอมโมไนท์ และแกสโตรพอดส์มีมากขึ้น แอมโมไนท์ แกสโตรพอดส์

  24. ยุคจูแรสสิก • ยุคจูแรสสิก (Jurassic period) มีช่วงอายุตั้งแต่ 213-144 ล้านปีก่อน • หินยุคนี้ประกอบด้วย หินปูนเม็ด ไข่ปลา หินดินดานและหินทราย • ยุคไดโนเสาร์ครองโลก ไดโนเสาร์บินได้พัฒนาเป็นสัตว์ปีกจำพวกนก  • นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในยุคนี้ โดยสิ่งมีชีวิตที่ถือว่าเป็นนกตัวแรกของโลก ก็คือ อาคีออปเทอริกซ์(Archaeopteryx) ซึ่งวิวัฒนาการมาจากไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอดที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ • หอยแอมโมไนต์ มีวิวัฒนาการไปเป็นสัตว์จำพวกปลาหมึก  • การแยกตัวของผืนทวีปส่งผลให้สภาพอากาศมีความชุ่มชื้น • มากยิ่งขึ้น ทำให้แผ่นดินในโลกยุคนี้ถูกปกคลุมไปด้วยผืนป่าดิบชื้น อาคีออปเทอริกซ์

  25. ยุคครีเทเซียส • ยุคครีเทเซียส (Cretaceus) 144-65 ล้านปีก่อน • สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นใหม่ ได้แก่ งู นก และพืชมีดอก • ไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ที่สุด คือ ไทรันโนซอรัส มีไดโนเสาร์ปากเป็ดและไดโนเสาร์คล้ายนกไม่มีฟัน • สัตว์เลื้อยคลานที่สูญพันธ์ในยุคนี้ได้แก่ มังกรทะเลสายพันธ์อิกทิโอซอร์ • พลีซิโอซอร์ โมซาซอร์ • หินที่พบมาก คือ หินชอล์คส่วนใหญ่ประกอบด้วยสารปูน • (แคลเซียมคาร์บอเนต) ได้จากเศษชิ้นของพืชขนาดเล็ก (พวกสาหร่าย) ที่ปะปนอยู่กับเศษเปลือกหอยและฟอแรมมินิเฟอรา • ตอนใกล้จะสิ้นยุคนี้เกิดแผ่นดินไหว และเกิดภูเขาแอนเดสกับร็อกกี และภูเขาทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปเอเชีย •  ยุคนี้ปิดด้วยการเปลี่ยนแปลงของโลกจนเกิดการแย่งอาหารกันเอง สัตว์ใหญ่กินสัตว์เล็ก และมีการดิ้นรนเพื่อการดำรงอยู่ของชีวิต ไดโนเสาร์ สัตว์เลื้อยคลานทะเล แอมโมไนท์ และบีเล็มไนท์สูญพันธุ์หมด อีลาสโมซอรัส เป็นสัตว์เลื้อยคลานทะเลตระกูล เพลสิโอซอร์

  26. ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สรุปว่า มีเหตุการณ์ 3 อย่างที่นำไปสู่การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในปลายยุค คือ  1. การลดระดับของน้ำทะเล มีการขึ้นลงอย่างมาก และอย่างรวดเร็ว ภูมิอากาศที่เปลี่ยนและการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย ทำให้นำมาซึ่งการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์ 2. การพุ่งชนของอุกกาบาต และการระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟ โดยเชื่อว่าเมื่อ 65 ล้านปี มีดาวหางหรือดาวพระเคราะห์น้อยพุ่งเข้าชนโลก ที่บริเวณคาบสมุทรยูคาทาน ในประเทศเม็กซิโก เนื่องจากการค้นพบผลึก Quartz ขนาดเล็ก จำนวนมาก ในบริเวณที่เป็นหลุมขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 18 กิโลเมตร ซึ่งผลของการชนโลกครั้งนั้น ทำให้เกิดความร้อนสูงอย่างฉับพลัน แล้วตามด้วยอากาศหนาวเย็นจัดถึงจุดเยือกแข็ง เนื่องจากฝุ่นละอองจากการชน ลอยขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศทำให้บดบังแสงอาทิตย์ที่ส่องลงมายังผิวโลก เป็นระยะเวลานานหลายเดือน ทำให้พืชไม่สามารถดำรงชีพด้วยการสังเคราะห์แสงได้ ทำให้พืชตายลง เมื่อพืชตายลง ทำให้สัตว์ที่กินพืชขาดอาหาร มีผลทำให้สัตว์หลายชนิดสูญพันธุ์ไป  3. การระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟที่อินเดีย และในมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้เกิดเป็นที่ราบสูงเดคคาน (Deccan Traps) การระเบิดของภูเขาไฟ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ทำให้สิ่งมีชีวิตบางชนิดไม่สามารถปรับตัวได้กับการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ทำให้สูญพันธุ์ไป 

  27. มหายุคซีโนโซอิก ยุคเทอร์เชียรี  • ยุคเทอร์เชียรี (Tertiary ) 65-1.8 ล้านปีมาแล้ว • ประกอบด้วยพวกหินทราย หินดินดานและหินโคลน  • มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมระยะแรกเกิดขึ้น เริ่มเกิดสัตว์คล้ายลิงหน้าคล้ายหมาป่า (lemur) และสัตว์ฟันแทะ (rodent) แต่สัตว์มีขนาดเล็ก • ในทะเลมีปลาวาฬ  •  ลิงไม่มีหาง (apes)  และลิงเริ่มเกิดขึ้นในระยะนี้ นอกจากนี้ยังมี หมา แมว มีป่าสน และป่าไม้ดอกมาก แมลงหลายชนิด  • สัตว์เลื้อยคลายมีพวกจระเข้ เต่า เริ่มพบเต่าที่อาศัยอยู่บนบก พวกนกมีฟันสูญพันธุ์ไป จระเข้ครองตำแหน่งสัตว์เลื้อยคลานที่ใหญ่ที่สุด lemur

  28. ยุคควอเทอร์นารี • ยุคควอเทอร์นารี (Quaternary Period) 1.8 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน • ประกอบด้วยพวกหินทราย หินดินดานและหินโคลน  • เป็นยุคที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมีวิวัฒนาการมากที่สุด • ช่วง 1.8 ล้านปี – 1 หมื่นปี เกิดยุคน้ำแข็ง ร้อยละ 30 ของซีกโลกเหนือปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ทำให้ไซบีเรียและอลาสกาเชื่อมต่อกัน  • มีเสือเขี้ยวโค้ง ช้างแมมมอท และหมีถ้ำ  • บรรพบุรุษของมนุษย์ได้อุบัติขึ้นในสายพันธุ์โฮโมเซเปียนส์ •  (Homo sapiens) เมื่อประมาณสองแสนปีที่แล้ว First reconstruction of a Neanderthal male

  29. ธรณีกาล

More Related