1 / 15

อำเภอพนัสนิคม

อำเภอพนัสนิคม. โดย นางสาวสิ ราวร รณ พรงาม. ที่ตั้งและอาณาเขต. อำเภอพนัสนิคมตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดชลบุรี ห่างจากตัวจังหวัดไปทางตะวันออกประมาณ 22 กิโลเมตรตามเส้นทางถนนสุขประยูร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้.

Download Presentation

อำเภอพนัสนิคม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อำเภอพนัสนิคม โดย นางสาวสิราวรรณ พรงาม

  2. ที่ตั้งและอาณาเขต อำเภอพนัสนิคมตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดชลบุรี ห่างจากตัวจังหวัดไปทางตะวันออกประมาณ 22 กิโลเมตรตามเส้นทางถนนสุขประยูร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

  3. โดยอาณาเขตอำเภอพนัสนิคมเดิมนั้นต่อมาได้แยกออกไปเป็นอำเภอใหม่ในจังหวัดชลบุรี ดังนี้ • บ้านท่าตะกูด เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอพนัสนิคม ก่อนจัดตั้งเป็นอำเภอท่าตะกูด และเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอพานทองในเวลาต่อมา • ตำบลคลองพลู เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอพนัสนิคม ก่อนที่จะโอนมาขึ้นกับอำเภอบ้านบึงเมื่อ พ.ศ. 2418 และได้ยกฐานะเป็นอำเภอหนองใหญ่ในเวลาต่อมา

  4. ประวัติศาสตร์ พนัสนิคมเป็นเมืองโบราณซึ่งเคยรุ่งเรืองเมื่อสมัยประมาณ 1,000 ปีมาแล้ว หรือสมัยที่ขอมยังเรืองอำนาจอยู่ในอาณาจักรสุวรรณภูมิ จากหลักฐานต่าง ๆ น่าเชื่อถือว่าเมืองที่รุ่งเรืองดังกล่าวชื่อ "เมืองพระรถ" พนัสนิคมตั้งขึ้นเป็นเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2440 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคและจัดระเบียบการปกครองใหม่เป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน จึงโปรดเกล้าฯให้เมืองพนัสนิคม เมืองบางละมุง และเมืองบางปลาสร้อยรวมกัน และเมืองพนัสนิคมจึงเป็นอำเภอของชลบุรีเมื่อปี พ.ศ. 2447 ตั้งแต่นั้นมา

  5. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เหล่าท้าวพญาและเหล่าครอบครัวชาวลาวเวียงจันทน์ที่มาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ตั้งภูมิลำเนาขึ้นเรียกว่าหมู่บ้านแดนป่าพระรศ ต่อมาได้ยกฐานะกลายเป็นเมืองพนัสนิคมในเวลาต่อมา

  6. "พนัสนิคม" ซึ่งเป็นชื่อของอำเภอที่เรียกใช้ในทางราชการทุกวันนี้ ชาวบ้านมักเรียกไปอีกอย่างหนึ่งว่า "เมืองเก่า" การที่เรียกเช่นนี้ เพราะว่าที่ตั้งอำเภอพนัสนิคมนี้เคยเป็นเมืองมาแต่ก่อนในอดีต ชาวบ้านจึงเรียกกันติดปากเรื่อยมาซึ่งจะนำประวัติศาสตร์การตั้งเมืองพนัสนิคมดังต่อไปนี้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 2367 ได้ทรงจัดการปกครองบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2368 จึงได้โปรดยกตำบล บ้าน ขึ้นเป็นเมือง รวม 27 เมือง ในจำนวนนี้ ได้ยกหมู่บ้านแดนป่าพระรศขึ้นเป็นเมืองเรียกว่าเมืองพนัสนิคม เมืองเหล่านี้โดยจัดเป็นหัวเมืองชั้นตรี

  7. ตำบลบ่อทอง เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอพนัสนิคม โดยต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอบ่อทอง เมื่อ พ.ศ. 2528 • ตำบลเกาะจันทร์ และตำบลท่าบุญมี เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอพนัสนิคม โดยต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเกาะจันทร์ เมื่อ พ.ศ. 2550 • กล่าวคืออำเภอพนัสนิคมแต่เดิมมีฐานะเป็นเมืองพนัสนิคม จนถึง พ.ศ. 2447 ได้รวมเมืองพนัสนิคม เมืองบางละมุง และเมืองปลาสร้อย เป็นจังหวัดชลบุรีในปัจจุบัน

  8. ชาวลาวเวียงจันทน์ในอำเภอพนัสนิคมชาวลาวเวียงจันทน์ในอำเภอพนัสนิคม ชาวลาวเวียง คือ ชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองเวียงจันทน์ หลวงพระบาง และจำปาศักดิ์ ในช่วงสงครามตีเมืองเวียงจันทน์ของกองทัพสยาม ตั้งแต่สมัยธนบุรี - ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ หลังจากที่ฝ่ายไทยยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ และหลวงพระบาง ครอบครัวเชลยชาวลาวเวียงจันทน์ถูกกวาดต้อนเข้ามาไทยในการตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 1 ปีพ.ศ. 2321 จากนั้นถูกกวาดต้อนเข้ามาอีกในการตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 2 ปีพ.ศ. 2335 และถูกกวาดต้อนเข้ามาเป็นครั้งที่ 3 ปีพ.ศ. 2369 - 2371 แต่ในสงครามตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 3 เมื่อปีพ.ศ. 2369 - 2371 กองทัพสยามได้กวาดต้อนผู้คนทั้งหมดในเขตเมืองเวียงจันทน์เข้ามาฝั่งไทย จนเวียงจันทน์ถึงกับเป็นเมืองร้างผู้คน

  9. พระพุทธรูปประจำเมือง หอพระพนัสบดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

  10. ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีงานบุญกลางบ้าน เป็นประเพณีงานบุญ ที่เกิดขึ้นหลังเสร็จสิ้นจากการเก็บเกี่ยวข้าวของเกษตรกรชาวนา ที่จัดขึ้นในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี มักจัดขึ้นในราวกลางเดือน 3 - 6 ซึ่งเป็นเวลา ปัจจุบันเทศบาลเมืองพนัสนิคมได้นำมาผสมผสานกับประเพณีของไทย ลาว และจีน จนกลายเป็นประเพณีที่รวมกิจกรรมของทั้งไทย ลาว และจีนไว้ด้วยกัน จัดขึ้นในวันศุกร์ สัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคมของทุกปี เรียกว่า ประเพณีงานบุญกลางบ้านและเผยแพร่เครื่องจักสานพนัสนิคม

  11. สถานที่สำคัญ โบราณสถาน โบราณวัตถุ และแหล่งโบราณคดี • โบราณสถาน หอไตรวัดใต้ต้นลาน และแหล่งโบราณคดีวัดใต้ต้นลาน • โบราณวัตถุ โค ชนิดหิน (วัดหน้าพระธาตุ) • แหล่งโบราณคดี วัดหัวถนน • แหล่งโบราณคดีหนองใน • แหล่งโบราณคดีที่ฝังศพโบราณบ้านเหนือ • แหล่งโบราณคดีบ้านบนเนิน • แหล่งโบราณคดีโคกพุทรา • ตลาดเครื่องจักสานพนัสนิคม • ค้างคาวแม่ไก่ วัดหลวงพรหมวาส • ถ้ำนางสิบสอง

  12. พระพุทธรูปศิลาสมัยทวารวดี (พระพนัสบดี) (โบราณวัตถุ) • พระพุทธรูปปางมารวิชัย (พระพุทธรูปมิ่งเมือง) พนัสนิคม (โบราณวัตถุ) • พระพุทธรูปปางมารวิชัย (หลวงพ่อติ้ว) (โบราณวัตถุ) • โบราณสถาน เมืองพระรถ (พนัสนิคม) และแหล่งโบราณคดีโบราณสถานนอกเมืองพระรถ • โบราณสถาน สระน้ำ (สระสี่เหลี่ยม) • โบราณสถานเนินดินโคกพนมดี • โบราณสถาน วัดโบสถ์

  13. ตำนานเมืองพระรถ • วรรณคดีและตำนานพระรถ-เมรี เมืองพระรถเป็นชุมชนเมืองโบราณ อยู่ที่ตำบลหน้าพระธาตุ อำเภอพนัสนิคม อยู่ห่างจากตัวอำเภอพนัสนิคม มาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ ๑ กิโลเมตร ไปทางถนนพนัสนิคม-ฉะเชิงเทรา ตัดทับส่วนหนึ่งของกำแพงและคูเมืองด้านทิศตะวันออก จากโบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบเชื่อว่าเมืองนี้เป็นเมืองในสมัยทวารวดี(ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ -๑๖)และเจริญสืบเนื่องมาจนถึงสมัยลพบุรี (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘)

  14. เมืองพระรถ จัดว่าเป็นเมืองขนาดใหญ่สมัยทวารวดี ตั้งอยู่ระหว่างที่สูงและที่ลุ่มมาบรรจบกัน บริเวณรอบเมืองเป็นพื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูกข้าวแบบทดน้ำ มีลำน้ำไหลผ่านหลายสาย ลำน้ำที่ไหลผ่านเข้ามาในเขตเมืองพระรถ ได้แก่ คลองสระกลาง คลองหลวง คลองพานทอง คลองสระกลางไหลมาทางด้านทิศใต้ ผ่านตัวอำเภอพนัสนิคมและวัดเกาะแก้ว มายังคูเมืองพระรถด้านตะวันออกเรียกว่า คลองเมือง ดังนั้นเมืองนี้จึงมีสภาพเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมท้องถิ่น เพราะมีลำน้ำต่าง ๆ เชื่อมต่อกับชุมชนร่วมสมัยอื่น ๆ เช่น เมืองศรีมโหสถ

  15. สวัสดีค่ะ

More Related