1 / 18

กระบวนการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry process)

กระบวนการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry process). Created by Mr. Nopphadol Punyadee. Inquiry process. กระบวนการเรียนการสอนเน้นการสืบเสาะหาความรู้จะ เป็นการพัฒนา ให้ผู้เรียนได้รับความรู้ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ปลูกฝังให้นักเรียนให้ความคิดของตนเอง

cian
Download Presentation

กระบวนการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry process)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กระบวนการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(Inquiry process) Created by Mr. Nopphadol Punyadee

  2. Inquiry process • กระบวนการเรียนการสอนเน้นการสืบเสาะหาความรู้จะเป็นการพัฒนาให้ผู้เรียนได้รับความรู้ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ • ปลูกฝังให้นักเรียนให้ความคิดของตนเอง • สามารถเสาะหาความรู้ หรือวิเคราะห์ข้อมูลได้

  3. ขั้นตอนของ Inquiry process • การจัดการให้นักเรียนเรียนแบบ Inquiry process อาจทำเป็นขั้นตอนดังนี้ (5e) • ขั้นสร้างความสนใจ (engagement) • ขั้นสำรวจและค้นหา (exploration) • ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (explanation) • ขั้นขยายความรู้ (elaboration) • ขั้นประเมิน (evaluation)

  4. ขั้นสร้างความเข้าใจ (engagement) • เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่จะศึกษา • ในบางกรณีที่ยังไม่มีประเด็นใดน่าสนใจ ครูอาจให้ศึกษาจากสื่อต่าง ๆ หรือเป็นผู้กระตุ้นด้วยการเสนอประเด็นขึ้นมาก่อน

  5. ขั้นสำรวจและค้นหา (exploration) • วางแผนกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ • วิธีการตรวจสอบอาจทำได้หลายวิธี เช่น • ทำการทดลอง • ทำกิจกรรมภาคสนาม • การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสร้างสถานการณ์จำลอง (simulation) • เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเพียงพอ

  6. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (explanation) • นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่าง ๆ เช่น • บรรยายสรุป • สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ • วาดรูป สร้างตาราง เป็นต้น • การค้นพบในขั้นนี้อาจเป็นได้หลายทาง เช่น • สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้ • โต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ • ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ตั้งไว้ • แต่ผลที่ได้จะอยู่ในรูปใดก็สามารถสร้างความรู้และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้

  7. ขั้นขยายความรู้ (elaboration) • เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิม • หรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม • หรือนำแบบจำลอง • หรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์อื่น ๆ • ถ้าใช้อธิบายเรื่องต่าง ๆ ได้มาก ก็แสดงว่าข้อจำกัดน้อย • แต่ก็จะช่วยให้เชื่อมโยงกับเรื่องต่าง ๆ และทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น

  8. ขั้นประเมิน (evaluation) • เป็นการประเมินความรู้ด้วยกระบวนการต่าง ๆ • ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด • จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ในเรื่องอื่น ๆ

  9. Inquiry cycle • การนำความรู้ไปใช้อธิบาย หรือประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์หรือเรื่องอื่น ๆ • จะทำให้เกิดประเด็น หรือคำถาม หรือปัญหาที่ต้องสำรวจตรวจสอบต่อไป • ทำให้เกิดเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ เรียกว่า Inquiry cycle

  10. การวางแผนการเรียนการสอนการวางแผนการเรียนการสอน การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ สร้างความสนใจ ประเมิน สำรวจ-ค้นหา อธิบาย-ลงข้อสรุป ขยายความรู้

  11. The Inquiry Cycle which provides students with a goal structure for guiding their inquiry. http://aied.inf.ed.ac.uk/members99/archive/vol_10/white/figure1.gif

  12. Inquiry process • การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ นอกจากจะใช้กระบวนการดังกล่าวแล้ว อาจใช้วิธีอื่น ๆ อีก ดังนี้ • การค้นหารูปแบบ (pattern seeking) • การจำแนกประเภทและการระบุชื่อ • การสำรวจและการค้นหา • การพัฒนาระบบ • การสร้างแบบจำลองเพื่อการสำรวจตรวจสอบ

  13. การค้นหารูปแบบ (pattern seeking) • โดยเริ่มที่นักเรียนมีการสังเกต และบันทึกปรากฎการณ์ตามธรรมชาติ • หรือทำการสำรวจตรวจสอบโดยที่ไม่สามารถควบคุมตัวแปรได้ • แล้วคิดหารูปแบบจากข้อมูล เช่น • จากการสังเกตผลมะม่วงในสวนจากหลาย ๆ แหล่ง พบว่า ผลมะม่วงที่ได้รับแสงจะมีขนาดโตกว่าผลฝรั่งที่ไม่ได้รับแสง • นักเรียนก็จะสามารถสร้างรูปแบบ และสร้างความรู้ได้

  14. การจำแนกประเภทและการระบุชื่อการจำแนกประเภทและการระบุชื่อ • เป็นการจัดจำแนกของวัตถุหรือเหตุการณ์เป็นกลุ่ม หรือการระบุชื่อวัตถุ หรือเหตุการณ์ที่เป็นสมาชิกของกลุ่ม เช่น • เราจะแบ่งสัตว์มีกระดูกสันหลังออกเป็นกลุ่มได้อย่างไร • สารต่าง ๆ จำแนกอยู่ในกลุ่มใด

  15. การสำรวจและการค้นหา • เป็นการสังเกตวัตถุ หรือเหตุการณ์ในรายละเอียด • หรือทำการสังเกตต่อเนื่องเป็นเวลานาน • เช่น ไข่ไก่มีพัฒนาการอย่างไร

  16. การพัฒนาระบบ • เป็นการออกแบบ ทดสอบ และปรับปรุงสิ่งประดิษฐ์หรือระบบ • ท่านสามารถออกแบบสวิตซ์ความดันสำหรับเตือนภัยได้อย่างไร • ท่านสามารถสร้างเทคนิค หรือหามวลแห้งของผลมะม่วงได้อย่างไร

  17. การสร้างแบบจำลองเพื่อการสำรวจตรวจสอบการสร้างแบบจำลองเพื่อการสำรวจตรวจสอบ • เป็นการสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบาย • เพื่อให้เห็นถึงการทำงาน • เช่น สร้างแบบจำลองระบบนิเวศ

  18. Inquiry cycle สร้างความเข้าใจ (engagement) • วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ • (Inquiry cycle) สำรวจและค้นหา (exploration) ประเมิน (evaluation) อธิบายและลงข้อสรุป (explanation) ขยายความรู้ (elaboration)

More Related