1 / 62

สิทธิบัตร

สิทธิบัตร. วิวัฒนาการ. กฎหมายสิทธิบัตรบัญญัติขึ้นครั้งแรกที่รัฐเวนิซ ในค.ศ. 1474 แต่จากหลักฐานที่มีปรากฎว่า ระบบการใช้สิทธิผูกขาดเพื่อตอบแทนการประดิษฐ์คิดค้นและการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาในประเทศเกิดขึ้นมาแล้วประมาณ 500 ปีก่อนคริสตกาล

ciaran-guy
Download Presentation

สิทธิบัตร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สิทธิบัตร

  2. วิวัฒนาการ • กฎหมายสิทธิบัตรบัญญัติขึ้นครั้งแรกที่รัฐเวนิซ ในค.ศ.1474 แต่จากหลักฐานที่มีปรากฎว่า ระบบการใช้สิทธิผูกขาดเพื่อตอบแทนการประดิษฐ์คิดค้นและการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาในประเทศเกิดขึ้นมาแล้วประมาณ 500 ปีก่อนคริสตกาล • ประเทศอังกฤษเป็นประเทศที่ริเริ่มระบบของสิทธิบัตรสมัยใหม่ โดยมีการให้สิทธิบัตรมาตั้งแต่ ค.ศ.1331 • กษัตริย์อังกฤษจะออกเอกสารปิดผนึกที่ให้สิทธิผูกขาดในการจำหน่ายสินค้าที่มีกำหนดเวลาอันจำกัดให้แก่บุคคลที่ได้นำเอาการประดิษฐ์เข้ามาใช้งานภายในประเทศ ดังนั้น จึงถือได้ว่าการให้สิทธิดังกล่าวมีลักษณะเป็นสิทธิบัตรในการนำเข้า

  3. วิวัฒนาการในประเทศไทยวิวัฒนาการในประเทศไทย • เกิดขึ้นจากการเรียกร้องและความเจริญทางด้านอุตสาหกรรมในประเทศ รวมถึงการตอบสนองความต้องการที่จะส่งเสริมนโยบายในการพัฒนาอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศของรัฐ • กฎหมายสิทธิบัตรฉบับแรกของประเทศไทย ได้แก่ พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2522 • พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 • พระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 • พระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542

  4. เจตนารมณ์และแนวความคิดเจตนารมณ์และแนวความคิด • เจตนารมณ์ • เพื่อคุ้มครองสิทธิตามธรรมชาติของผู้ประดิษฐ์ • เพื่อเป็นการตอบแทนต่อการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาจากต่างประเทศ • เพื่อเป็นเครื่องจูงใจให้มีการทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีมากขึ้น • เพื่อส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ข้อมูลความรู้และรายละเอียดของการประดิษฐ์แก่สาธารณชน

  5. แนวความคิด • ทฤษฎีสิทธิตามธรรมชาติ ได้รับอิทธิพลมาจากการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส มีความเชื่อพื้นฐานที่ว่า การให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรเป็นการรับรู้ถึงสิทธิทางศีลธรรมของผู้ประดิษฐ์ที่มีอยู่เหนือการประดิษฐ์ของตน เมื่อบุคคลใดได้สร้างสรรค์งานหรือทำการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใดขึ้นมา ผลผลิตทางความคิดดังกล่าวก็ควรจะตกเป็นทรัพย์สินของบุคคลนั้น • ทฤษฎีว่าด้วยเศรษฐกิจ มีความเชื่อว่า ระบบสิทธิบัตรเป็นเครื่องมือที่จะก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาการ ส่งเสริมความเจริญทางอุตสาหกรรม การวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ เรื่องดังกล่าวต้องอาศัยเงินทุนเป็นจำนวนมาก การให้ความคุ้มครองตามสิทธิบัตรนั้นจะทำให้ผู้ประดิษฐ์เชื่อมั่นว่าค่าใช้จ่ายและระยะเวลาทีสูญเสียไปในการวิจัยและพัฒนาจะได้รับการชดเชยคืนมาในรูปของสิทธิเด็ดขาด เพื่อนำไปแสวงหาประโยชน์ทางพาณิชย์

  6. พระราชบัญญัติสิทธิบัตรพระราชบัญญัติสิทธิบัตร

  7. ความหมาย • สิทธิบัตร มีความหมาย 2 ประการ คือ 1. พ.ร.บ. สิทธิบัตร มาตรา 3 บัญญัติว่า “สิทธิบัตร” หมายความว่า “หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามที่กำหนดในหมวด 2 และหมวด 3 แห่งพระราชบัญญัตินี้” • หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้น หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ 2. สิทธิบัตร หมายถึง สิทธิพิเศษที่กฎหมายให้แก่เจ้าของสิทธิบัตรให้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวหรือสิทธิเด็ดขาดในการแสวงหาประโยชน์จากสิทธิบัตรในระยะเวลาที่จำกัด ตามที่กฎหมายกำหนดไว้

  8. วัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสิทธิบัตรวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสิทธิบัตร 1. เพื่อคุ้มครองสิทธิอันชอบธรรมของผู้ประดิษฐ์และผู้ออกแบบ [ควรถือว่าเป็นสิทธิตามธรรมชาติ(national rights)] 2. เพื่อให้รางวัลตอบแทนแก่ผู้ประดิษฐ์และผู้ออกแบบ 3. เพื่อจูงใจให้มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ 4. เพื่อกระตุ้นให้มีการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการประดิษฐ์ที่คิดค้นใหม่ 5. เพื่อจูงใจให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการลงทุนจากต่างประเทศ

  9. สิ่งที่ขอรับสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรได้สิ่งที่ขอรับสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรได้ • สิ่งที่ขอรับได้มี 2 ประเภท คือ 1. การประดิษฐ์ 2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ • การได้มาซึ่งสิทธิในสิทธิบัตร จะต้องยื่นคำขอรับสิทธิบัตรโดยจะต้องเปิดเผยรายละเอียดการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น ต้องผ่านการพิจารณาตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ว่าครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด

  10. สิ่งที่กฎหมายสิทธิบัตรคุ้มครองสิ่งที่กฎหมายสิทธิบัตรคุ้มครอง • การประดิษฐ์(inventions) หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบ โครงสร้างหรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การเก็บรักษา หรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น หรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม • การออกแบบผลิตภัณฑ์ (product designs) หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะภายนอกของผลติภัณฑ์ที่แตกต่างไปจากเดิม • บางประเทศยังให้การคุ้มครองการประดิษฐ์ที่มียังไม่ถึงขั้นขอรับสิทธิบัตร ที่เรียกว่า “แบบผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์” (utility models) คล้ายคลึงกับอนุสิทธิบัตร (petty patent)

  11. การประดิษฐ์ (inventions)

  12. การประดิษฐ์ (inventions) • พ.ร.บ. สิทธิบัตร บัญญัติว่า “ การประดิษฐ์” หมายความว่า การคิดค้นหรือคิดทำขึ้นอันเป็นผลให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ หรือการกระทำใดๆ ที่ทำให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี (ม.3 วรรคสอง) • “กรรมวิธี” หมายถึง วิธีการ กระบวนการ หรือกรรมวิธีในการผลิต หรือการรักษาให้คงสภาพ หรือให้มีคุณภาพดีขึ้น หรือการปรับสภาพให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์ และรวมถึงการใช้กรรมวิธีนั้นๆ ด้วย (ม. 3 วรรคสาม)

  13. การประดิษฐ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ และ/หรือ กรรมวิธี

  14. การคิดค้นหรือคิดทำขึ้น ต้องมีลักษณะเป็นการใช้สติปัญญาในการคิดค้นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีจนประสบผลสำเร็จ อาจเรียกว่า “การคิดค้นจนสำเร็จ (conception) หมายความว่า สิ่งที่ได้คิดค้นนี้สามารถนำไปทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้ • ข้อสังเกต : 1. สิ่งที่ได้รับการคุ้มครอง คือ ความคิด (ideas) ไม่ใช่ตัววัตถุที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์นั้น 2. จะต้องเป็นการความคิดสร้างสรรค์ที่มีผลเกิดขึ้น คือ ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ หรือ เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์

  15. ประเภทของการประดิษฐ์ (ม.3 วรรคสาม) 1. ผลิตภัณฑ์ 2. กรรมวิธี 3. การทำให้ผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีดีขึ้น

  16. สิทธิบัตรที่ออกให้แก่ผลิตภัณฑ์ เรียกว่า สิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ (product patent) • สิทธิบัตรที่ออกให้แก่กรรมวิธี เรียกว่า สิทธิบัตรกรรมวิธี (process patent) • ม. 36 วรรคหนึ่งได้บัญญัติสิทธิของผู้ทรงสิทธิที่แตกต่างกันระหว่างสิทธิบัตรทั้งสอง • สิทธิบัตรผลิตภัณฑ์จะได้รับการคุ้มครองมากกว่าหรือสูงกว่าสิทธิบัตรกรรมวิธี

  17. เงื่อนไขของการขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์เงื่อนไขของการขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ • มาตรา 5 กำหนดว่า การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ ต้องมีลักษณะ ดังนี้ 1. เป็นสิ่งประดิษฐ์ขึ้นใหม่ (novelty) 2. มีขั้นตอนการประดิษฐ์สูงขึ้น (inventive step) และ 3. สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในทางอตุสาหกรรม (capable of industrial application)

  18. 1. การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ (Novelty) • มาตรา 6 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ได้แก่ การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว” • วรรคสอง ได้กล่าวถึง งานที่ปรากฏอยู่แล้ว • การพิจารณาความใหม่นั้น การประดิษฐ์นั้นต้องไม่เป็น งานที่ปรากฏอยู่แล้ว (prior art หรือ state of art)

  19. ความใหม่ (Novelty) • เป็นงานที่ไม่มีปรากฏอยู่หรือไม่ได้ใช้แพร่หลายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ (ทั่วโลก) • ตรวจสอบการประดิษฐ์ที่ได้จดสิทธิบัตรไว้ทุกแห่งในโลก (การสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตร)

  20. ความใหม่ในการขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์จะต้องมีลักษณะดังนี้ความใหม่ในการขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์จะต้องมีลักษณะดังนี้ 1. เป็นการประดิษฐ์ที่ไม่มีหรือไม่ใช้แพร่หลายอยู่แล้วในประเทศไทยก่อนวันขอรับสิทธิบัตร (prior art or prior use) 2. เป็นการประดิษฐ์ที่ไม่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ไม่ว่าในหรือนอกประเทศไทยก่อนวันขอรับสิทธิบัตร (prior publication) การเปิดเผยนั้นไม่ว่ากระทำโดยเอกสาร สิ่งพิมพ์ การนำออกแสดง หรือการเปิดเผยต่อสาธารณชนด้วยประการใดๆ

  21. 3. เป็นการประดิษฐ์ที่ไม่ได้รับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรไม่ว่าในหรือนอกประเทศไทยก่อนวันขอรับสิทธิบัตร 4. เป็นการประดิษฐ์ที่มีผู้ขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรไว้แล้วที่ต่างประเทศเป็นเวลาไม่เกิน 18 เดือนก่อนวันขอรับสิทธิบัตรแต่ยังไม่ได้ออกสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรให้ 5. เป็นการประดิษฐ์ที่ไม่มีผู้ขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรไว้แล้วไม่ว่าในหรือนอกประเทศ และยังไม่ได้ประกาศโฆษณาก่อนวันขอรับสิทธิบัตรในประเทศไทย

  22. ม. 6 วรรคสุดท้าย บัญญัติว่า “การเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดที่เกิดขึ้นหรือเป็นผลมาจากการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมาย หรือการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดโดยผู้ประดิษฐ์ รวมทั้งการแสดงผลงานของผู้ประดิษฐ์ในงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศ หรือในงานแสดงต่อสาธารณชนของทางราชการและการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดดังกล่าวได้กระทำภายในสิบสองเดือนก่อนที่จะมีการขอรับสิทธิบัตร มิให้ถือว่าเป็นการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดตาม (2)”

  23. ข้อยกเว้น 3 ประการคือ 1. การเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดที่เกิดขึ้นหรือเป็นผลมาจากการะกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมาย 2. การเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดโดยผู้ประดิษฐ์ (grace period) 3. การแสดงผลงานของผู้ประดิษฐ์ในงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศหรือในงานแสดงต่อสาธารณชนของทางราชการ การเปิดเผยดังกล่าวไม่ทำให้การประดิษฐ์ตกเป็น งานที่ปรากฏอยู่แล้ว แต่ผู้ต้องทำการขอรับสิทธิบัตรภายใน 12 เดือนนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นได้ถูกเปิดเผยต่อสาธารณชน

  24. ขั้นตอนการปฏิบัติในการพิจารณาความใหม่ขั้นตอนการปฏิบัติในการพิจารณาความใหม่ การตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตร แบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอน • การตรวจค้น (search)เป็นการค้นหาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับงานที่ปรากฏอยู่แล้ว ปรกติจะเป็นการตรวจค้นเอกสาร เช่น เอกสารสิทธิบัตรที่จดทะเบียนทั้งในและต่างประเทศ เอกสารทางวิชาการ หรือเอกสารที่แสดงสาระสำคัญของการประดิษฐ์ต่างๆ • การตรวจสอบ (examination)เป็นการพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างการประดิษฐ์ที่มีอยู่กับที่ขอรับสิทธิบัตร

  25. 2. ขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น (inventive step) • ม. 7 บัญญัติว่า “การประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์สูงขึ้น ได้แก่ การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประเภทนั้น” • ต้องไม่เป็นผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีที่สามารถคิดค้นหรือทำได้ง่าย (obvious) • กฎหมายถือเอาความรู้ความสามารถของบุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประเภทนั้น (person having ordinary skill in the pertinent art) เป็นเครื่องวัด

  26. ขอบเขตการพิจารณาขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น โดยดูจากลักษณะทางเทคนิคของการประดิษฐ์ที่ระบุในข้อถือสิทธิ (claims ) และพิจารณาเปรียบเทียบกับการประดิษฐ์ที่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้วในประเภทต่างๆ ตามมาตรา 6 • การวินิจฉัย นอกจากดูว่า การประดิษฐ์มีลักษณะทางโครงสร้าง (structural differences) แตกต่างไปจากเดิมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงลักษณะการทำงาน (function) และผลที่ได้รับ (results or utilities) ว่าแตกต่างหรือไม่

  27. การนำส่วนประกอบที่มีอยู่แล้วมาประกอบเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ (combination of old elements) จะเป็นขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้นต่อเมื่อทำให้มีหน้าที่หรือประโยชน์ใช้สอยมากขึ้นกว่าเดิม ( เรียกว่า “combination patent” ในสาขาเคมี เรียกว่า “selection patent”)

  28. 3. การประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม (industrial applicability) • ม.8 บัญญัติว่า “การประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม ได้แก่ การประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรม” • ต้องสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติได้จริง โดยจะต้องเป็นผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง (reproducibility) และเป็นสิ่งที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม (practicality)

  29. ระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตรการประดิษฐ์ระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 20 ปี นับแต่วันที่ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ (มาตรา 35) x x x 11 มกราคม 2560 11 มกราคม 2540 11 กันยายน 2545 ตกเป็นของสาธารณะ ได้รับจดสิทธิบัตร วันยื่นคำขอ

  30. การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้ (ม. 9) การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้ • จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช • กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ • ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ • วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์ • การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี อนามัย หรือสวัสดิภาพของประชาชน

  31. 1. จุลชีพ สัตว์ และพืช • ไม่คุ้มครองสัตว์และพืช เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดแก่เกษตรกร • เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ถึงแม้มนุษย์จะช่วยต่างก็อาศัยธรรมชาติทั้งสิ้น และพันธุ์สัตว์และพืชมีลักษณะไม่คงที่ • สัตว์และพืชไม่ว่าเกิดขึ้นเองหรือคิดค้นขึ้นก็ตามไม่ได้รับการคุ้มครองตามสิทธิบัตร • ส่วนสารสกัดจากสัตว์และพืชไม่สามารถขอรับการคุ้มครองได้ แต่ถ้านำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์จะได้รับการคุ้มครอง • แต่กรรมวิธีในการผลิตสามารถขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรในกรรมวิธีนั้นได้

  32. สิทธิบัตรไม่คุ้มครองพันธ์พืชและสารสกัดจากพืช แต่มี พ.ร.บ. คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ที่คุ้มครองการปรับปรุงพันธุ์พืชเป็นการเฉพาะ • จุลชีพ (microorganisms) เช่น แบ็คเทเรีย ไวรัสถ้ามีอยู่แล้วตามธรรมชาติไม่ได้รับการคุ้มครอง • แต่ถ้าเป็นจุลชีพที่มนุษย์คิดค้นขึ้นสามารถขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรได้

  33. 2. กฎเกณฑ์และทฤษฎี • กฎเกณฑ์และทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มิใช่การประดิษฐ์คิดค้น แต่เป็นการค้นพบกฎเกณฑ์และหลักการที่มีอยู่ตามธรรมชาติ • ควรเปิดกว้างให้ผู้อื่นสามารถใช้ได้โดยเสรี • แต่ถ้านำกฎเกณฑ์หรือทฤษฎีเพื่อประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีสามารถขอรับการคุ้มครองสิทธิบัตรได้

  34. 3. ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานเครื่องคอมพิวเตอร์ • สิทธิบัตรไม่คุ้มครองระบบข้อมูลสำหรับการทำงานเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computer program or computer software) • เนื่องจากมีลักษณะเป็นเพียงการใช้ผลิตภัณฑ์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงมิใช่การประดิษฐ์และไม่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์โดยตรง • ดังนั้นเทียบได้กับวิธีการใช้เครื่องกลหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ • แต่อย่างไรก็ตามได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์

  35. 4. วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์หรือสัตว์ • ถ้าให้สิทธิผูกขาดแล้วจะกระทบต่อชีวิต สุขภาพและอนามัยของประชาชนส่วนรวม • นอกจากนี้วิธีการวินิจฉัยฯ มิใช่การประดิษฐ์ แต่ถ้าเป็นการผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยฯ เช่น เครื่องมือวัดความดันโลหิต เข็มฉีดยา หรือ ยารักษาโรค ถือว่าเป็นการประดิษฐ์ที่สามารถขอรับการคุ้มครองตามสิทธิบัตรได้ • TRIPs Agreement Art. 27.3 กำหนดให้ประเทศสมาชิกยกเว้นไม่คุ้มครองกรรมวิธีทางการแพทย์ได้

  36. 5. การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดี อนามัยหรือสวัสดิภาพของประชาชน • กฎหมายไม่สนับสนุนการประดิษฐ์ที่ไม่มีประโยชน์และสร้างแต่โทษให้กับประชาชนส่วนร่วม • กฎหมายคุ้มครองเฉพาะงานที่สร้างสรรค์เท่านั้น ต้องไม่ขัดต่อนโยบายสาธารณะ (public policy) หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน (morality)

  37. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (product design)

  38. ความหมายของการออกแบบผลิตภัณฑ์ความหมายของการออกแบบผลิตภัณฑ์ • ม. 3 วรรค 4 • ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอก (ornamental aspect) ของผลิตภัณฑ์ สิ่งภายนอกของผลิตภัณฑ์ที่สามารถมองเห็นได้ • การใช้ความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปะมาใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม ทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณค่ามากขึ้นในทางพาณิชย์ ต้องสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือหัตถกรรมได้จริง

  39. ประเภทของการออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทของการออกแบบผลิตภัณฑ์ • แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ • รูปร่าง (shape or configuration) เช่น รูปทรงและแบบโคมไฟ ออกแบบสร้อยคอคอมพิวเตอร์ • องค์ประกอบของลวดลายหรือสี (composition of lines or colors) เช่น ลวดลายผ้า สีรองเท้า

  40. การออกแบบผลิตภัณฑ์ • แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ • สองมิติ ได้แก่ ลวดลายหรือสีของผลิตภัณฑ์ เช่น ลวดลายผ้า สีรองเท้า • สามมิติ ได้แก่ รูปร่างของผลิตภัณฑ์ เช่น รูปทรงและแบบโคมไฟออกแบบสร้อยคอ คอมพิวเตอร์

  41. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ได้แก่ การออกแบบที่ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ด้านอุตสาหกรรมหรือหัตถกรรมในการผลิตเป็นจำนวนมาก • ลักษณะของการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ (ม.56 และ 57) • ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ • เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมและหัตถกรรม

  42. วิธีการและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความใหม่วิธีการและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความใหม่ • วิธีการพิจารณาจะเปรียบเทียบว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรมีความแตกต่างกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ • ผ่านการตรวจค้น (search) และการตรวจสอบ (examination)

  43. การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้ • ม. 58 บัญญัติว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้ คือ 1. แบบผลิตภัณฑ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน 2. แบบผลิตภัณฑ์ที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

  44. ระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ 10 ปี นับแต่วันขอรับสิทธิบัตร (มาตรา 62) x x x 11 กันยายน 2545 11 มกราคม 2550 11 มกราคม 2540 ได้รับจดสิทธิบัตร ตกเป็นของสาธารณะ วันยื่นคำขอ

  45. อนุสิทธิบัตร

  46. ลักษณะการประดิษฐ์ที่ขอรับอนุสิทธิบัตร (ม. 65 ทวิ) • ให้คุ้มครองการประดิษฐ์เท่านั้น • ต้องเป็นการประดิษฐ์ที่ใหม่ และสามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้ • แต่ไม่ต้องมีขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น • อายุการคุ้มครอง 6 ปีนับแต่วันขอรับอนุสิทธิบัตร และสามารถต่ออายุได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี รวมได้ 10 ปี ดังนั้นระยะเวลาการคุ้มครองน้อยกว่าสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่ได้รับการคุ้มครอง 20 ปี นับแต่วันขอรับสิทธิบัตร

  47. ระยะเวลาการคุ้มครองอนุสิทธิบัตรระยะเวลาการคุ้มครองอนุสิทธิบัตร - 6 ปีนับตั้งแต่วันขอรับอนุสิทธิบัตร • สามารถต่ออายุได้ 2 ครั้งๆ ละ 2 ปี รวม 10 ปี (มาตรา 65 สัตต) 11 มกราคม 2546 11 มกราคม 2548 - ตกเป็นของสาธารณะ - ต่ออายุ # 1 - ตกเป็นของสาธารณะ - ต่ออายุ # 2 x x x x x 11 มกราคม 2550 11 มกราคม 2540 11 กันยายน 2543 ตกเป็นของสาธารณะ ได้รับจดอนุสิทธิบัตร วันยื่นคำขอ

  48. สิทธิบัตร vs. อนุสิทธิบัตร 1. ประเภทของความคุ้มครอง - สิทธิบัตร: ให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ - อนุสิทธิบัตร: ให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์อย่างเดียว 2. องค์ประกอบการขอรับความคุ้มครอง - การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรต้องมีความใหม่ มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และสามารถประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมได้ - การประดิษฐ์ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตรต้องมีความใหม่ และสามารถประยุกต์ใช้ได้ในอุตสาหกรรม

  49. สิทธิบัตร vs. อนุสิทธิบัตร 3. ระยะเวลาคุ้มครอง - สิทธิบัตรการประดิษฐ์ ระยะเวลาคุ้มครอง 20 ปีและขอขยายเวลาคุ้มครองไม่ได้ - อนุสิทธิบัตร ระยะเวลาคุ้มครอง 6 ปี และขอขยายเวลาคุ้มครองได้อีก 2 ครั้งๆ ละ 2 ปี หรือจะไม่ขยายเวลาก็ได้

  50. สิทธิและหน้าที่ของผู้ทรงสิทธิบัตรสิทธิและหน้าที่ของผู้ทรงสิทธิบัตร • เกิดขึ้นเมื่อได้รับการจดทะเบียน • เปลี่ยนสถานะจากผู้ขอรับสิทธิบัตร เป็น ผู้ทรงสิทธิบัตร มีสิทธิและหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด • ผู้รับโอนสิทธิบัตร มีฐานะเป็นผู้ทรงสิทธิบัตร

More Related