1 / 40

จังหวัดนราธิวาส

โครงการการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศ ระดับพื้นที่ 76 จังหวัด/18 กลุ่มจังหวัด. จังหวัดนราธิวาส. เอกสารประกอบการประชุมหารือการพัฒนาข้อมูลจังหวัดนราธิวาส เพื่อเตรียมการนำเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด และคณะกรรมการสถิติจังหวัด หัวข้อนำเสนอ แนะนำโครงการ

ciaran-lang
Download Presentation

จังหวัดนราธิวาส

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด/18 กลุ่มจังหวัด จังหวัดนราธิวาส • เอกสารประกอบการประชุมหารือการพัฒนาข้อมูลจังหวัดนราธิวาส • เพื่อเตรียมการนำเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด และคณะกรรมการสถิติจังหวัด • หัวข้อนำเสนอ • แนะนำโครงการ • ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด - ศักยภาพจังหวัดนราธิวาส • Product Champion/ Value Chain  ในประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดนราธิวาส • Critical Success Factors ในประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดนราธิวาส • การดำเนินงานขั้นต่อไป 1

  2. แนวทางการดำเนินงานโครงการการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด/ 18 กลุ่มจังหวัด ภาคเหนือตอนบน 2 น่าน พะเยา เชียงราย น่าน ภาคเหนือตอนบน 1 เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง ภาคอีสานตอนบน 1 อุดรธานี หนองคาย เลย หนองบัวลำภู บึงกาฬ ในระยะที่ผ่านมา สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ดำเนินการพัฒนาระบบสถิติเชิงพื้นที่รองรับการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญในการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11(ปี 2555 – 2559) สู่ยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ของกลุ่มจังหวัด จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด/18 กลุ่มจังหวัด ภาคเหนือตอนล่าง 1 พิษณุโลก ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ภาคอีสานตอนบน 2 สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ภาคเหนือตอนล่าง 2 กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี ภาคอีสานตอนกลาง ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ภาคกลางตอนบน 2 ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ภาคอีสานตอนล่าง 2 อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ ภาคกลางตอนล่าง 1 กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ภาคอีสานตอนล่าง 1 นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ภาคกลางตอนล่าง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก สมุทรปราการ ภาคกลางตอนล่าง 2 สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 2555 2556 2557 นำร่อง 10 จังหวัด นำร่อง 2 กลุ่มจังหวัด พัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด / 18 กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออก ชลบุรี ระยอง จันทยุรี ตราด ภาคกลางตอนบน 1 อยุธยา สระบุรี ปทุมธานี นนทบุรี ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง ภาคใต้ฝั่งอันดามัน พังงา ระนอง ภูเก็ต กระบี่ ตรัง ภาคใต้ชายแดน สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส 2

  3. ความเป็นมา และแนวทางการดำเนินงานโครงการการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด/ 18 กลุ่มจังหวัด บูรณาการข้อมูลสารสนเทศระดับพื้นที่เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด สนับสนุนการตัดสินใจเชิงพื้นที่ พัฒนาสมรรถนะของบุคลากรด้านสถิติขององค์กรภาครัฐ ให้มีความเป็นมืออาชีพด้านข้อมูลสถิติและสารสนเทศ วัตถุประสงค์หลักของโครงการ ร่างแผนพัฒนาสถิติจังหวัด เพื่อการตัดสินใจของประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด ได้แก่ ข้อมูลในการบริหารจัดการ Product Champion ที่ได้รับการเลือก ปัจจัยสู่ความสำเร็จ และตัวชี้วัด (KPI) ฯลฯ ผลผลิตหลักของโครงการ 3

  4. กรอบแนวคิดการดำเนินงานเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาสถิติกลุ่มจังหวัด / จังหวัด การพัฒนาต่อยอดและขยายชุดข้อมูลเพื่อการตัดสินใจจากประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับพื้นที่ใน 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง ชุดข้อมูลที่มีความเชื่อมโยงกับตัวชี้วัดการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่สอดคล้องกับแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 + + = ทิศทางการพัฒนาตามแผนฯ 11 ยุทธศาสตร์การพัฒนาสถิติระดับพื้นที่ 3 ด้าน 21 สาขา แผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด แผนพัฒนาสถิติระดับพื้นที่ ทิศทางการพัฒนาตามแผนฯ 11 ได้จัดทำยุทธศาสตร์สำคัญ 6 ประเด็น ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม แผนพัฒนาจังหวัด /กลุ่มจังหวัด ที่กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนานั้น ในกระบวนการจัดทำได้มีการทบทวนและนำแนวทางของแผนฯ 11 และวาระแห่งชาติต่างๆ ใช้ประกอบในการกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่ การพัฒนาข้อมูลให้มีเพียงพอ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยตอบสนองในการจัดทำแผนหรือการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับพื้นที่นั้นๆ ได้ ยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับพื้นที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน โดยมีรายการข้อมูลหรือสถิติทางการที่สำคัญจำเป็นต่อการพัฒนาพื้นที่ 21 สาขา ครอบคลุมเรื่อง เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4

  5. 5

  6. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจังหวัดและกลุ่มจังหวัดจะได้รับผลประโยชน์ที่คาดว่าจังหวัดและกลุ่มจังหวัดจะได้รับ สนับสนุนการรายงานการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ตามประเด็นยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดและสำนักงานจังหวัด ยกระดับคุณภาพข้อมูลเพื่อการตัดสินใจระดับจังหวัดให้มีมาตรฐานทางวิชาการ สร้างมาตรฐานการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัด หน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนและสำนักงานสถิติจังหวัด “…สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประสานกับหน่วยงานในการสร้างเครือข่ายสถิติ เพื่อให้ได้มาซึ่งฐานข้อมูลสถิติที่สำคัญและเป็นปัจจุบันของประเทศ...” (ตาม พ.ร.บ. สถิติ พ.ศ. 2550) 6

  7. ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดนราธิวาส 2558 - 2561 วิสัยทัศน์ : “เศรษฐกิจก้าวหน้า นราน่าอยู่ สู่สันติสุข” ประเด็นยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาภาคการผลิต การค้าชายแดน การท่องเที่ยวและการกีฬาเพื่อเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่ เป้าประสงค์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด มูลค่าสินค้าและบริการการค้าชายแดนเพิ่มขึ้น ประชาชนมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สินและเชื่อมั่นในอำนาจรัฐ 7

  8. ทั้งนี้จากประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัด พบว่าทั้ง 3 ประเด็น สามารถกำหนดผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ (Product Champion) และประเด็นสำคัญ (Critical Issue) ที่ชัดเจนสำหรับการมุ่งประเด็นการพัฒนาได้ โดยกระทรวงมหาดไทยได้สรุปผลการวิเคราะห์ศักยภาพและ Positioning ของแผนพัฒนาของจังหวัดนราธิวาส พ.ศ. 2558 – 2561 โดยศักยภาพสำคัญในแต่ละด้านดังนี้ ประเด็นยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาภาคการผลิต การค้าชายแดน การท่องเที่ยวและการกีฬาเพื่อเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่ 8

  9. วิสัยทัศน์ “เศรษฐกิจก้าวหน้า นราน่าอยู่ สู่สันติสุข” 9

  10. ภาพรวมศักยภาพด้านเศรษฐกิจของ จังหวัดนราธิวาส • เศรษฐกิจของจังหวัดนราธิวาสมีขนาดค่อนข้างเล็กเป็นลำดับที่ 8 ของภาคใต้ และเป็นลำดับที่ 37 ของประเทศ(เปรียบเทียบจาก GPP per Capita ปี 2554) • ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดนราธิวาสเฉลี่ยต่อหัว (GPP Per Capita) ต่ำกว่าระดับประเทศ ภาคใต้ และกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนโดยปี 2554 จังหวัดนราธิวาสมี GPP เฉลี่ยต่อหัวสูงขึ้นจากในปี 2553 ประมาณ 15.93% เป็น 77,591 บาท แต่ยังต่ำกว่าระดับประเทศ ระดับภาคใต้ และกลุ่มภาคใต้ชายแดน ที่มีค่าเฉลี่ย 164,512 บาท และ 125,270 บาท และ 110,875 บาท ตามลำดับ และต่ำเป็นลำดับที่ 2 ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน สาเหตุจากราคาผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะยางพาราปรับตัวเพิ่มขึ้นส่งผลต่อ GPP เฉลี่ยต่อหัวมีแนวโน้มสูงขึ้น • โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดนราธิวาสยังคงพึ่งพาภาคการเกษตรเป็นหลักแต่มีแนวโน้มการปรับตัวสู่ภาคบริการมากขึ้น จังหวัดนราธิวาสมีสัดส่วนโครงสร้างภาคการเกษตรสูงที่สุดเมื่อเทียบกับสาขาการผลิตอื่น ๆ โดยในปี 2554 ภาคเกษตรมีสัดส่วนโครงสร้าง54.18% ของ GPP รวมโดยประกอบด้วย การเกษตรกรรม การล่าสัตว์และการป่าไม้ ร้อยละ 52.09 ทั้งนี้เนื่องจาก ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา และปาล์มน้ำมันมีการผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นประกอบกับการปรับเพิ่มขึ้นของราคา ส่งผลให้สัดส่วนในปี 2554 เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ที่มา: แผนพัฒนาจังหวัดนราธิวาส 4 ปี 2558 – 2561

  11. ภาพรวมศักยภาพด้านการเกษตรกรรมของ จังหวัดนราธิวาส • “ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด” • โดยในปี 2554 พื้นที่ให้ผลผลิต 36,255 ไร่ (ร้อยละ 18.33 ของพื้นที่กลุ่มจังหวัด) และมีผลผลิตจำนวน 79,467 ตัน คิดเป็นร้อยละ 17.58 ของผลผลิตทั้งกลุ่มจังหวัด • จังหวัดนราธิวาสมีศักยภาพการผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปี2553ที่ 2,132 กิโลกรัมต่อไร่เป็น 2,192 กิโลกรัมต่อไร่ ในปี 2554 ซึ่งสูงกว่าผลผลิตเฉลี่ยของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ที่มา: แผนพัฒนาจังหวัดนราธิวาส 4 ปี 2558 – 2561

  12. การเลือก Product Champion จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญ 2 ชนิด ในการค้นหาว่าสินค้าหรือภาคเศรษฐกิจที่ต้องการวิเคราะห์อยู่ในตำแหน่งใด ได้แก่ Market Share สัดส่วนทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ และ Growth อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ และทำการวางตำแหน่ง โดย BCGMatrix การวิเคราะห์ BCG เปรียบเทียบสินค้าเกษตร 10 รายการ จ.นราธิวาส  Market Growth   Market Share  12

  13. ภาพรวมศักยภาพด้านการค้าและบริการ ของ จังหวัดนราธิวาส จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า มูลค่าชายแดนไทยมีแนวโน้มขยายตัวโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 13 ต่อปี และในแผนฯ 11 กำหนดเป้าหมายเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนของไทยในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น 15% ต่อปี สำหรับสัดส่วนการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านของประเทศไทยโดยรวม พบว่า ร้อยละ 70 เป็นมูลค่าการค้าชายแดนไทย – มาเลเซีย รวม 9 ด่าน และตั้งอยู่ใน “นราธิวาส” จำนวน 3 ด่าน จังหวัดนราธิวาสมีชายแดนติดต่อประเทศมาเลเซีย เอื้อต่อการท่องเที่ยว การบริการ การลงทุน และการค้าชายแดน มีด่านศุลกากรที่มีความพร้อม 3 ด่าน คือ ด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก ด่านศุลกากรตากใบ ด่านศุลกากรบูเกะตาและมีมูลค่าการค้าชายแดนเฉลี่ย 5 ปี (2551 - 2555) เท่ากับ 3,603.14 ล้านบาท ที่มา: แผนพัฒนาจังหวัดนราธิวาส 4 ปี 2558 – 2561

  14. ภาพรวมศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ของ จังหวัดนราธิวาส • จังหวัดนราธิวาสอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ โบราณสถาน และศาสนสถานซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมโดยมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่มีความหลากหลายตามธรรมชาติที่สมบูรณ์หลายแห่ง • และมีป่าพรุผืนใหญ่ที่สุดของประเทศซึ่งเป็นแหล่งสร้างรายได้ของจังหวัด • แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดในเบื้องต้น ประกอบด้วย • พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล ตั้งอยู่บริเวณริมถนนสายนราธิวาส-ระแงะ ตำบลลำภู อำเภอเมือง บนเนื้อที่ 142 ไร่ สร้างเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2509 เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางประทานพรที่สวยงามและใหญ่ที่สุดในภาคใต้ โดยบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ที่พระอุระเบื้องซ้าย • มัสยิดตะโละมาเนาะหรือมัสยิดวาดิลฮุสเซนบ้านตะโละมาเนาะตำบลลูโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ เป็นมัสยิดไม้ตะเคียนทั้งหลัง มีความเก่าแก่กว่า 300 ปี และยังใช้งานอยู่จนถึงปัจจุบัน • ป่าพรุโต๊ะแดงยังคงเป็นป่าสมบูรณ์ ดั้งเดิมเป็นพื้นที่ในเขตอนุรักษ์ มีเนื้อที่ประมาณ 125,00 ไร่ มีสัตว์ป่ามากมายกว่า200ชนิดและมีอยู่หลายชนิดที่หายาก เช่น แมวป่าหัวแบน เสือไฟ กระรอกบินแก้มแดง นอกจากนั้นยังมีพรรณไม้ป่ากว่าอีก 400 ชนิด • อุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโปตั้งอยู่ที่ตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ ซึ่งเป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง จากอุทยานน้ำตกซีโปจะพบต้นลองกองซีโป หรือต้นลองกองตันหยงมัส ซึ่งมีอายุ 30 ปี บ้านซีโปนี้ถือเป็นต้นกำเนิดลองกองของไทย • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาสันกาลาคีรีอันเป็นแนวชายแดนไทย- มาเลเซีย ซึ่งเป็นป่าฮาลา-บาลา ในเขตอำเภอแว้งและอำเภอสุคิริน เป็นแหล่งอาศัยของพืชพรรณและสัตว์ป่าที่หายาก โดยเฉพาะนกเงือกต่างๆ ที่พบได้ประมาณ 9-10 ชนิด ที่มา: แผนพัฒนาจังหวัดนราธิวาส 4 ปี 2558 – 2561

  15. ภาพรวมด้านทรัพยากรธรรมชาติ ของ จังหวัดนราธิวาส ทรัพยากรป่าไม้ เนื่องจากจังหวัดนราธิวาสมีพื้นที่ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์จึงประสบปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า จากข้อมูลสถิติเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2549 – 31 กันยายน 2552ปรากฏว่า คดีจับกุมการบุกรุกพื้นที่ป่า (คดี) ในปี 2552 ลดลงจากปี 2551 จำนวน 9 คดี คิดเป็นร้อยละ 19.56 แต่พื้นที่ที่ถูกรุกกลับเพิ่มขึ้นจาก ปี 2551 จำนวน 180 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 51.72 ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการลักลอบตัดไม้ และต้องการที่ดินทำการเกษตร พื้นที่ชุ่มน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพ พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและได้รับการเสนอชื่อขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Site) ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างฝั่งตะวันออก ได้แก่ พื้นที่ชุ่มน้ำในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (ป่าพรุโต๊ะแดง) มีเนื้อที่ 346.36ตารางกิโลเมตร และพรุบาเจาะ ปัญหาสำคัญที่มักจะพบในพื้นที่ชุมน้ำหรือป่าพรุ ได้แก่ การบุกรุกจับจองพื้นที่ของประชาชนและการจับจองที่สาธารณะและการเกิดไฟป่า เป็นต้น ภาพรวมสถานการณ์ ปัญหาด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ได้เป็นปัญหาที่รุนแรงและส่งผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่มากนักโดยจะเห็นได้จากข้อมูลการร้องเรียนปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในจังหวัดตั้งแต่ปี 2545 – 2552 มีเพียงปีละประมาณ 3 - 6 เรื่องเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีบางพื้นที่ที่มีปัญหาเป็นการเฉพาะพื้นที่ เช่น ปัญหาดินถล่ม จะเกิดในบริเวณพื้นที่ที่เป็นภูเขาดิน หรือ ปัญหาขยะมูลฝอยที่จะเป็นปัญหาในบริเวณเมืองใหญ่ เป็นต้น ที่มา: แผนพัฒนาจังหวัดนราธิวาส 4 ปี 2558 – 2561

  16. สถานการณ์ความมั่นคง ของ จังหวัดนราธิวาส จุดอ่อนสำคัญของการพัฒนาจังหวัดนราธิวาส คือ สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติและมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่ำ ส่งผลให้การขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดเป็นไปอย่างล่าช้า สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา โดยกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ มียุทธศาสตร์การดำเนินงานด้วยการใช้หลักศาสนา ความเป็นเชื้อชาติมลายู และเงื่อนไขในอดีต เป็นเครื่องมือในการบ่มเพาะแนวความคิดการแบ่งแยกติดแดนแก่กลุ่มบุคคลรุ่นใหม่ พร้อมกับดำเนินการฝึกทางยุทธวิธี การจัดตั้งเครือข่ายและแบ่งส่วนงานย่อยๆ อย่างเป็นระบบ ได้ก่อความวุ่นวาย สร้างความปั่นป่วน โดยการใช้วิธีการก่อเหตุร้ายในรูปแบบต่างๆ ตลอดทั้งกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ยังคงดำรงความมุ่งหมายที่จะทำร้ายเจ้าหน้าที่ของรัฐอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะข้าราชการครู ทหาร ตำรวจ และประชาชน ผู้บริสุทธิ์ ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาดเจ็บ และสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก เพื่อหวังผลทางด้านจิตวิทยาของประชาชนในพื้นที่ ที่มา: แผนพัฒนาจังหวัดนราธิวาส 4 ปี 2558 – 2561

  17. สถานการณ์ความมั่นคง และปัญหายาเสพติดใน จังหวัดนราธิวาส จังหวัดนราธิวาสนับว่าเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการแพร่ระบาดของตัวยาหลากหลายชนิด อีกทั้งยังมีสถิติการจับกุมคดียาเสพติดสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกันกับ 3 จังหวัดชายแดนใต้ จะเป็นรองแต่เฉพาะจังหวัดสงขลาเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง หากพิจารณาแต่เฉพาะสถิติการจับกุมของจังหวัดนราธิวาสเพียงจังหวัดเดียว จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปีงบประมาณ 2553 -2555 สัดส่วนคดียาเสพติดของจังหวัดนราธิวาสเพิ่มขึ้นทุกปี ยาเสพติดเป็นปัญหาที่ประชาชนต้องการให้มีการแก้ไขโดยเร่งด่วน เนื่องจากเป็นบ่อเกิดของปัญหาต่างๆ มากมาย และที่สำคัญคือสมาชิกกลุ่มก่อความไม่สงบได้แสวงผลประโยชน์จากยาเสพติดทั้งทางตรงที่เป็นแหล่งเงินทุนและทางอ้อมด้วยการให้แนวร่วมเสพเพื่อสร้างความฮึกเหิมเพิ่มความกล้าในการก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ ที่มา: แผนพัฒนาจังหวัดนราธิวาส 4 ปี 2558 – 2561

  18. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาภาคการผลิต การค้าชายแดน การท่องเที่ยวและการกีฬาเพื่อเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน กลยุทธ์ พัฒนาด่านชายแดน โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และบริการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภาคเกษตรและเพิ่มศักยภาพแก่เกษตรกร สถาบันเกษตรกร กลุ่มผู้ผลิตสินค้าชุมชนและผู้ประกอบการ อาทิ วิสาหกิจชุมชน OTOP และ SMEs ให้มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการทั้งการผลิต แปรรูป การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และเชื่อมโยงช่องทางการตลาดรองรับการค้าชายแดนและประชาคมอาเซียน ส่งเสริมและพัฒนาด้านการท่องเที่ยวให้มีมาตรฐานสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่และเสริมสร้างกิจกรรมกีฬาเพื่อเชื่อมสัมพันธ์และสนับสนุนการท่องเที่ยวกับประชาคมอาเซียน เสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาทักษะ ฝีมือแรงงานเพื่อเพิ่มโอกาสและขีดความสามารถการทำงาน ยกระดับการพัฒนาพื้นที่เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ 18

  19. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาภาคการผลิต การค้าชายแดน การท่องเที่ยวและการกีฬาเพื่อเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน PC/CI : ปาล์มน้ำมัน Generic Value Chain เกษตร-อุตสาหกรรม เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ (ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา) dกระบวนการค้าและการตลาด dกระบวนการแปรรูป dกระบวนการผลิต การวิจัยพัฒนา (R&D) - การพัฒนาปัจจัยพื้นฐานและการพัฒนาเกษตรกร การขนส่ง และจัดการ บริหารสินค้า (Logistics) การพัฒนาระบบ การตลาด การเพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพ และลดต้นทุน การแปรรูป และสร้าง มูลค่าเพิ่ม เกษตรกร ผู้บริโภค จากฟาร์มเกษตรกรไปถึงมือผู้บริโภค (From Farmer to Market) ปรับ GVC  VC ยุทธศาสตร์ด้านเกษตร “ปาล์มน้ำมัน” การวิจัยพัฒนา (R&D)ปาล์มน้ำมัน การพัฒนาปัจจัยพื้นฐานการปลูกปาล์มน้ำมันและการพัฒนาเกษตรกร การเพิ่มผลผลิตพัฒนาคุณภาพ และลดต้นทุนการปลูกปาล์มน้ำมัน การแปรรูป และสร้าง มูลค่าเพิ่มในปาล์มน้ำมัน การขนส่ง และจัดการ บริหารสินค้า (Logistics) การพัฒนาระบบการตลาด ปาล์มน้ำมัน

  20. Value Chain Product Champion “ปาล์มน้ำมัน” ที่จังหวัดนราธิวาสเสนอ 1 2 4 5 3 การวิจัยพัฒนา (R&D)ปาล์มน้ำมัน การพัฒนาปัจจัยพื้นฐานการปลูกปาล์มน้ำมัน และการพัฒนาเกษตรกร การเพิ่มผลผลิตพัฒนาคุณภาพ และลดต้นทุน การปลูกปาล์มน้ำมัน การแปรรูป และสร้าง มูลค่าเพิ่มในปาล์มน้ำมัน การขนส่ง และจัดการ บริหารสินค้า (Logistics) การพัฒนาระบบการตลาด ปาล์มน้ำมัน 1.1 การวิจัยและพัฒนาพันธ์ปาล์ม 1.2.การวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรม 1.3 การสร้างองค์ความรู้และขีดความสามารถให้เกษตรกรเพื่อพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน 1.4 การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเชิงลึกปาล์ม 2.1 เพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการ/การผลิต 2.2 การกระจายพันธุ์ปาล์มที่ดีให้เกษตรกร 3.1 พัฒนากระบวนการรีดน้ำมันปาล์ม 3.2 ส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันปาล์มให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล 4.1 การขนส่งและกระจายสินค้าเช่น พัฒนา/ปรับ ปรุงเส้นทางคมนาคมในชนบท 4.2 การบริหารจัดการคลังสินค้า 5.1 พัฒนาตลาดกลางสินค้า/ศูนย์รวมผลิตภัณฑ์ 5.2 พัฒนาตลาดซื้อขายล่วงหน้า (Future Market)

  21. VC ยุทธศาสตร์ที่ 1 : Product Champion ปาล์มน้ำมัน ภายหลังปรับให้เป็นมาตรฐานกลาง 1 2 4 5 การวิจัยพัฒนา (R&D)ปาล์มน้ำมัน การพัฒนาปัจจัยพื้นฐานการปลูกปาล์มน้ำมันและการพัฒนาเกษตรกร การเพิ่มผลผลิตพัฒนาคุณภาพ และลดต้นทุน การปลูกปาล์มน้ำมัน การแปรรูป และสร้าง มูลค่าเพิ่มในปลูกปาล์มน้ำมัน การขนส่ง และจัดการ บริหารสินค้า (Logistics) การพัฒนาระบบการตลาด ปลูกปาล์มน้ำมัน 3 3.1 ใช้เทคโนโลยีเพื่อรักษาคุณภาพน้ำมันปาล์มหลังการรีด (เช่น การเก็บรักษาน้ำมันปาล์มให้มีคุณภาพและปลอดภัยตามมาตรฐาน) 3.2 ผลผลิตน้ำมันปาล์มได้รับการรับรองคุณภาพเพื่อการค้าในประเทศ ตามมาตรฐาน หรือในกรณีที่เป็นเงื่อนไขการส่งออก 3.3 ใช้เทคโนโลยีการบรรจุหีบห่อเพื่อรักษาคุณภาพและยืดอายุน้ำมันปาล์ม 3.4 มาตรฐานการผลิต เกษตรอุตสาหกรรม (GMP/HACCP) - เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 1.1 วิจัยความต้องการปลูกปาล์มน้ำมันของตลาดภายใน ประเทศและต่างประเทศ 1.2 มีการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ปาล์มที่เหมาะสม 1.3 พัฒนาปัจจัยการผลิตสนับสนุนการปลูกปาล์มน้ำมัน 1.4 วิจัยและพัฒนาระบบมาตรฐานการปลูกปาล์มน้ำมัน 1.5 การพัฒนา ดัดแปลงและเลือก ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสมกับการผลิตปลูกปาล์มน้ำมันทั้งกระบวนการ 1.6 ส่งเสริมการรวมกลุ่มสหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกรผู้เพาะปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจการเกษตร 1.7 พัฒนาให้เป็นศูนย์การเรียนรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันทั้งกระบวนการ 1.8 มีเครือข่ายสถาบันการเงิน/กองทุนเพื่อช่วยเหลือด้านการเงินให้เกษตรกรที่ปลูกยางพารา 2.1 ขยายการส่งเสริมการผลิตปาล์มน้ำมัน 2.2 สนับสนุนเกษตรกรในระบบการผลิตปาล์มน้ำมันที่ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เช่น การอบรม สาธิต ดูงานด้านการใช้พื้นที่เพาะปลูก การพัฒนาคุณภาพดิน แหล่งน้ำที่ปลอดภัยจากสารเคมี การเพิ่มผลผลิต และการลดต้นทุน เป็นต้น 2.3 เกษตรกรสามารถพัฒนาคุณภาพและเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน 2.4 เกษตรกรมีแผนการผลิต และแผนการเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน ที่เหมาะสม (Crop Zoning and planning) 2.5 เกษตรกรมีความสามารถในการจัดการวัตถุดิบเหลือใช้จากการปลูกปาล์มให้เกิดประโยชน์ 4.1 ส่งเสริมศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าในระดับกลุ่มจังหวัดที่ได้มาตรฐาน(Warehouse) 4.2 ใช้ระบบการขนส่งน้ำมันปาล์มที่เหมาะสมมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพตั้งแต่แหล่งผลิตไปโรงงานแปรรูป และคลังเก็บสินค้าที่ร่วมในกระบวน จนถึงตลาด 5.1 มีระบบตลาดกลางสินค้าที่ได้มาตรฐาน 5.2 มีระบบตลาดซื้อขายล่วงหน้า 5.3 มีกลไกการกำหนดราคาที่เหมาะสมตามคุณภาพ 5.4 มีการประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการขายที่เหมาะสมกับแผนการผลิตและแผนการเก็บเกี่ยว 5.5 การจัดการข้อมูลการตลาด(Market Intelligence Unit) อย่างมีประสิทธิภาพ 5.6 พัฒนาขีดความ สามารถในการแข่งขันทางการตลาด (เช่น การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมการตลาดกับภาคส่วนต่าง ๆ การรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง ) 5.7 มีรูปแบบและตราสัญลักษณ์บรรจุภัณฑ์ข้าวและผลิตภัณฑ์จากน้ำมันปาล์มที่ดึงดูด น่าสนใจ ใช้ง่ายและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด 21

  22. ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาภาคการผลิต การค้าชายแดน การท่องเที่ยวและการกีฬาเพื่อเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน Product Champion : ปาล์มน้ำมัน

  23. ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาภาคการผลิต การค้าชายแดน การท่องเที่ยวและการกีฬาเพื่อเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน Product Champion : ปาล์มน้ำมัน

  24. ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาภาคการผลิต การค้าชายแดน การท่องเที่ยวและการกีฬาเพื่อเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน Product Champion : ปาล์มน้ำมัน

  25. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลยุทธ์ ส่งเสริมให้มีการขยายผลและประยุกต์ใช้แนวทางตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานอย่างทั่วถึง มีคุณภาพและสอดคล้องกับวิถีชุมชน เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนทัศนคติของประชาชนให้มีสุขภาพที่ดี สามารถพึ่งตนเองได้ ส่งเสริมอาชีพบนพื้นฐานขององค์รู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สามารถสร้างรายได้แก่ชุมชน และเสริมสร้างความเข้มแข็งของวัฒนธรรมประเพณีพื้นถิ่น ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านภัยพิบัติและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชน สตรี และผู้ด้อยโอกาส และสนับสนุนให้สถาบันครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน พัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ 25

  26. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง PC/CI : คุณภาพชีวิต วิถีเศรษฐกิจพอเพียง ปรับ GVC  VC ยุทธศาสตร์ด้านสังคม “คุณภาพชีวิต วิถีเศรษฐกิจพอเพียง” ส่งเสริมและจัดให้หมู่บ้าน เศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมพัฒนาอาชีพ/การมีงานทำ/รายได้ และพัฒนาฝีมือแรงงาน ส่งเสริมการพัฒนาสุขภาวะของประชาชน ยกระดับคุณภาพการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่ มีระบบสาธารณูปโภคที่ดี

  27. VC ยุทธศาสตร์ที่ 2 : Critical Issue :พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (จังหวัด) 4 2 3 5 1 ส่งเสริมและจัดให้หมู่บ้าน เศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมพัฒนาอาชีพ/การมีงานทำ/รายได้ และพัฒนาฝีมือแรงงาน ส่งเสริมการพัฒนาสุขภาวะของประชาชน ยกระดับคุณภาพการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่ มีระบบสาธารณูปโภคที่ดี 5.1 ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านภัยพิบัติและการบริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติในพื้นที่ 1.1 ส่งเสริม/พัฒนาอาชีพบนพื้นฐานขององค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยประยุกต์ใช้แนวทางตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2.1 กิจกรรมเพื่ออนุรักษ์ สืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่น ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการสร้างอาชีพที่เหมาะสมแก่ชุมชน 3.1 ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ในการดูแลสุขภาพ 4.1 ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา 4.2 ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานอย่างทั่วถึงโดยส่งเสริมกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว 4.3 พัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับในพื้นที่

  28. VC ยุทธศาสตร์ที่ 2 : Critical Issue :พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (มาตรฐาน) 4 2 3 5 1 ส่งเสริมและจัดให้หมู่บ้าน เศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมพัฒนาอาชีพ/การมีงานทำ/รายได้ และพัฒนาฝีมือแรงงาน ส่งเสริมการพัฒนาสุขภาวะของประชาชน ยกระดับคุณภาพการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่ มีระบบสาธารณูปโภคที่ดี • จัดการความรู้วิธีการปฏิบัติการพัฒนาหมู่บ้าน ศก.พอเพียง • จัดทำแผนการพัฒนาหมู่บ้านและครัวเรือน พึ่งพาตนเอง เช่น การปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ การเลี้ยงกบ-ปลา ไว้บริโภคในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่ายในครอบครัว • เรียนรู้และประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ในครัวเรือน • ปลูกฝังจิตสำนึกด้านการประหยัดและการออมแก่สมาชิกในครัวเรือน • พลังงานทดแทนในครัวเรือน เช่น การใช้เตาประหยัดถ่าน • ส่งเสริมกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว • ส่งเสริมกิจกรรมสร้างศีลธรรม จริยธรรมในครอบครัว • ส่งเสริมการถอดองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชน • พัฒนาคุณภาพฝีมือแรงงานในสาขาที่จำเป็น • ให้ความรู้ ทักษะให้ชุมชนมีอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ • สร้างอาชีพที่เหมาะสมกับชุมชน • จัดกิจกรรมส่งเสริมการออมในชุมชนและเสริมรายได้แรงงาน • ลดปัญหาการว่างงานในพื้นที่ • พัฒนาให้อาชีพทักษะแก่ชุมชนมีอาชีพเสริมรายได้ • ส่งเสริม สร้างอาชีพที่เหมาะสมกับชุมชน • จัดกิจกรรมส่งเสริมการอบรมในชุมชน • การส่งเสริม ความรู้ทักษะการเลี้ยงดูและสุขอนามัยทารก • การส่งเสริมความรู้ ทักษะกิจกรรมและสุขภาวะที่ดีสำหรับเด็กและเยาวชน • การป้องกันมิให้ประชาชนป่วยเป็นโรคพื้นฐานทั่วไป • การดูแลสุขภาวะและป้องกันโรคสำหรับผู้สูงอายุ • ดูแลผู้ป่วยให้สามารถเข้าถึงซึ่งบริการสุขภาพได้สะดวก รวดเร็ว • เฝ้าระวังโรคติดต่อในพื้นที่ • การป้องกันโรคติดต่อ • การรับมือ ดูแลรักษา เมื่อมีโรคติดต่อระบาด • การบริหารจัดการเมื่อมีโรคโรคติดต่อระบาด • ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา • บริหารจัดการฐานข้อมูลด้านการการศึกษาของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ • พัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับในพื้นที่ • สร้างโอกาส/แนวทางในการเข้าสู่การศึกษาในระดับสูง/ช่องทางอาชีพสำหรับเยาวชนที่จะจบการศึกษา • ส่งเสริมกิจกรรมเสริมการเรียนรู้เพิ่มเติมตามหลักสูตรการศึกษา • ส่งเสริมกิจกรรมสร้างเสริมประสบ การณ์ชีวิตสำหรับเด็กและเยาวชน • พัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนในชุมชน • สร้างการมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน ชุมชนในการเรียนรู้ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ • การพัฒนาเส้นทางสายหลัก • การพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ เพื่อให้ประชาชนอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีคุณภาพ • การขยาย/ปรับปรุงระบบน้ำประปา • การขยาย/ปรับปรุงระบบไฟฟ้า • การขยาย/ปรับปรุงระบบโทรศัพท์ • พัฒนา ปรับปรุง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ

  29. ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง Product Champion : ยกระดับคุณภาพการศึกษา

  30. ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง Product Champion : ยกระดับคุณภาพการศึกษา

  31. ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง Product Champion : สังคมแห่งการเรียนรู้

  32. ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง Product Champion : สังคมแห่งการเรียนรู้

  33. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่ กลยุทธ์ พัฒนากำลังภาคประชาชนให้มีศักยภาพในการคุ้มครองและรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน/ชุมชนของตนเอง จากสถานการณ์การก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการอำนวยความเป็นธรรมและสร้างภูมิคุ้มกันแก่คนกลุ่มเสี่ยงโดยการสร้างพื้นที่ความปลอดภัยเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งและเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่ พัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความเข้มแข็งและขีดความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เสริมการใช้กระบวนการชุมชนเข้มแข็งเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ในทุกมิติเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของจังหวัดทั้งในและต่างประเทศ 33

  34. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : เสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่ PC/CI: หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง 1 2 5 3 4 การบริหารจัดการพื้นที่ชายแดน (โครงสร้างพื้นฐาน) การพัฒนาเศรษฐกิจ/ ความอยู่ดีกินดีของชุมชน ความเข้าใจอันดีระหว่างจังหวัดชายแดน และประเทศเพื่อนบ้าน การพัฒนาศักยภาพชุมชนในพื้นที่ชายแดน การรักษาความปลอดภัย/ ความสงบเรียบร้อย ปรับ GVC  VC ยุทธศาสตร์ด้านสังคม “หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง” 1 2 5 3 4 การบริหารจัดการพื้นที่ชายแดน (โครงสร้างพื้นฐาน) หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง การพัฒนาเศรษฐกิจ/ ความอยู่ดีกินดีของชุมชน หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง ความเข้าใจอันดีระหว่างจังหวัดชายแดน และประเทศเพื่อนบ้าน หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง การพัฒนาศักยภาพชุมชนในพื้นที่ชายแดน หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง การรักษาความปลอดภัย/ ความสงบเรียบร้อย หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง 34

  35. 1 2 5 3 4 การบริหารจัดการพื้นที่ชายแดน (โครงสร้างพื้นฐาน) หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง การพัฒนาเศรษฐกิจ/ ความอยู่ดีกินดีของชุมชน หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง ความเข้าใจอันดีระหว่างจังหวัดชายแดน และประเทศเพื่อนบ้าน หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง การพัฒนาศักยภาพชุมชนในพื้นที่ชายแดน หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง การรักษาความปลอดภัย/ ความสงบเรียบร้อย หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง Critical Issue: หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง (จังหวัด) • 2.1 การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชน สตรี และผู้ด้อยโอกาส และสนับสนุนให้สถาบันครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน เช่น การเสริมสร้างคุณค่าทางอัตลักษณ์และวิถีชีวิตของประชาชน 4.1 การยกระดับการพัฒนาพื้นที่เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เช่นโครงการ 1 อัตลักษณ์ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน 4.2 การส่งเสริมอาชีพบนพื้นฐานขององค์รู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สามารถสร้างรายได้แก่ชุมชน เช่น กิจกรรมมหกรรมกล้วยหิน และของดีอำเภอบันนังสตา 1.1 จำนวนพื้นที่ชุมชนที่ได้รับการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 1.2 การแบ่งพื้นที่ที่มีปัญหาความมั่นคงตามระดับความรุนแรงของปัญหา เพื่อดำเนินการพัฒนาให้สอดคล้องตามลักษณะปัญหาของพื้นที่ เช่น การฝึกทบทวนชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน 1.3 พัฒนาเส้นทางถนนเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินบนท้องถนน 5.1 การส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ในทุกมิติเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของจังหวัดทั้งในและต่างประเทศโครงการเสริมสร้างภาพลักษณ์จังหวัดยะลา 3.1 ร้อยละหมู่บ้าน/ชุมชน/พื้นที่ไม่สังกัดชุมชนภายในเขตเทศบาลที่ไม่มีการก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ เช่น เช่น สร้างความเข้าใจและอำนวยความเป็นธรรมในชุมชน 3.2 ระดับความสำเร็จในการเสริมสร้างเอกภาพในการรักษาความมั่นคงภายในในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น การสานสัมพันธ์มวลชน3.3 การสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนรู้สึกถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การสานสัมพันธ์มวลชน 3.4 เพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันปราบปรามการลดลงของสถิติคดียาเสพติดในพื้นที่

  36. Generic Value Chain ประเด็นด้านสังคม : หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง (มาตรฐาน) 1 2 5 3 4 การบริหารจัดการพื้นที่ชายแดน (โครงสร้างพื้นฐาน) หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง การพัฒนาเศรษฐกิจ/ ความอยู่ดีกินดีของชุมชน หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง ความเข้าใจอันดีระหว่างจังหวัดชายแดน และประเทศเพื่อนบ้าน หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง การพัฒนาศักยภาพชุมชนในพื้นที่ชายแดน หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง การรักษาความปลอดภัย/ ความสงบเรียบร้อย หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง • การส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานอย่างทั่วถึง มีคุณภาพและสอดคล้องกับวิถีชุมชน • การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชน สตรี และผู้ด้อยโอกาส และสนับสนุนให้สถาบันครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน • การสนับสนุนสถาบันการศึกษาในการพัฒนาบุคลากรและส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน • การยกระดับการพัฒนาพื้นที่เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ • การส่งเสริมอาชีพบนพื้นฐานขององค์รู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สามารถสร้างรายได้แก่ชุมชน • การจัดระบบป้องกันและสื่อสารเพื่อจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน อาทิ การจัดระเบียบการสัญจรข้ามแดน การลาดตระเวน เฝ้าตรวจ • การสร้างระบบการป้องกันโดยขบวนการพัฒนาในรูปแบบของหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเองเพื่อความมั่นคง (จัดตั้งหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน) • วางแผนจัดการแก้ไจปัญหาความมั่นคงเพื่อขจัดขัดขวางและลดอิทธิพลหรือการแทรกซึมของฝ่ายตรงข้าม • การสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนรู้สึกถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน • การแบ่งพื้นที่ที่มีปัญหาความมั่นคงตามระดับความรุนแรงของปัญหา เพื่อดำเนินการพัฒนาให้สอดคล้องตามลักษณะปัญหาของพื้นที่ • การติดตั้งกล้องวงจรปิดบริเวณด่านชายแดน ท่าเทียบเรือ เขตชุมชนหนาแน่น สถานที่สำคัญจุดล่อแหลม • การสร้างเส้นทางสนับสนุนและป้องกันเมื่อเกิดปัญหา • การสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อเป็นฉากสกัดกั้นป้องกันพื้นที่และยังเป็นประโยชน์ที่จะใช้น้ำเพื่อการบริโภค อุปโภค • ปลูกป่าในบางพื้นที่ตามแนวชายแดน เพื่อเป็นเครื่องกีดขวางธรรมชาติ • การลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคมกับประเทศเพื่อนบ้าน • การสร้างความเข้มแข็งกลไกระดับท้องถิ่นทั้ง 2 ประเทศ เพื่อกระชับความร่วมมือ • การส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ในทุกมิติเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของจังหวัดทั้งในและต่างประเทศ

  37. ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่ Product Champion : ชุมชนเข้มแข็ง

  38. ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่ Product Champion : ชุมชนเข้มแข็ง

  39. ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่ Product Champion : ชุมชนเข้มแข็ง

  40. การดำเนินงานขั้นต่อไปการดำเนินงานขั้นต่อไป • สรุป (Finalize) รายการ CSF ภายใต้ห่วงโซ่มูลค่าในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ • ขอความร่วมมือสถิติจังหวัดเติม Data List และ Check Stock Dataเพื่อจัดทำแผนผังรายการสถิติทางการ • กำหนดวันประชุมคระกรรมการสถิติจังหวัด เพื่อนำเสนอผลการศึกษาการพัฒนาการจัดเก็บข้อมูล สนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด

More Related