1 / 54

การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ

การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ. INFORMATION STORAGE and RETRIEVAL : ISR. Review. การจัดทำสาระสังเขป ( Abstracting ) หมายถึง งานที่เขียนโดยการย่อสาระสำคัญของเอกสาร อย่างตรงจุดมุ่งหมาย ตามลำดับและวิธีเขียนของต้นฉบับเดิมโดยปราศจากความคิดเห็นของผู้เขียนสาระสังเขป.

cicily
Download Presentation

การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ INFORMATION STORAGE and RETRIEVAL : ISR

  2. Review การจัดทำสาระสังเขป (Abstracting)หมายถึง งานที่เขียนโดยการย่อสาระสำคัญของเอกสาร อย่างตรงจุดมุ่งหมาย ตามลำดับและวิธีเขียนของต้นฉบับเดิมโดยปราศจากความคิดเห็นของผู้เขียนสาระสังเขป “ พยายามให้ข้อมูลมากที่สุดโดยใช้คำน้อยที่สุด ”

  3. Review วัตถุประสงค์ของสาระสังเขป1. เพื่อให้ผู้อ่านทราบถึงเนื้อหาของเอกสารได้อย่างรวดเร็ว 2. เพื่อช่วยให้ผู้อ่านตัดสินใจว่าควรเลือกเอกสารต้นฉบับนั้นๆ ออกมาอ่านหรือไม่3. เพื่อช่วยขจัดปัญหาด้านภาษาให้กับผู้อ่าน4. เพื่อช่วยให้การจัดทำดรรชนีทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  4. Review ประเภทของสาระสังเขป1. สาระสังเขปแบบพรรณนา หรือ แบบบอกเล่า(Descriptive or Indicative Abstract) 2. สาระสังเขปประเภทให้ความรู้(Informative abstract)3. สาระสังเขปแบบพรรณนาและให้ความรู้ (Indicative-Informative Abstract)

  5. Review ส่วนประกอบของสาระสังเขป1. ส่วนอ้างอิง (Reference Section) 2. ส่วนเนื้อหา (Body Section) 3. ส่วนชื่อผู้เขียนสาระสังเขป (Signature section)

  6. Review ส่วนประกอบของสาระสังเขป1. ส่วนอ้างอิง (Reference Section) 2. ส่วนเนื้อหา (Body Section) 3. ส่วนชื่อผู้เขียนสาระสังเขป (Signature section)

  7. Review หลักเกณฑ์ในการเรียบเรียงเนื้อหาของเอกสารสำหรับบทความทางวิชาการหรือรายงานวิจัยมีดังต่อไปนี้- วัตถุประสงค์ (Purpose) - วิธีการ (Methodology) - ผลลัพธ์ (Result) - บทสรุป(Conclusion) - สารสนเทศอื่นๆ (Miscellaneous Information)

  8. Review ลักษณะสาระสังเขปที่มีคุณภาพ1. สั้น กระชับ (Brevity or Conciseness)2. ถูกต้องเที่ยงตรงตามข้อเท็จจริง(Accuracy or Objectivity)3. ความชัดเจน (Clarity)4. ความคงที่(consistency)

  9. Review ขั้นตอนการเขียนสาระสังเขป1. พยายามอ่านเอกสารต้นฉบับอย่างมีจุดหมาย พยายามเข้าใจเนื้อหา ขอบเขต และประเด็นสำคัญของเอกสาร 2. เขียน หรือจดประเด็นสำคัญที่พบลงในเอกสาร3. ร่างสาระเขปตามประเด็นที่จดไว้ในขั้นที่ 2 ไม่นำคำหรือข้อความที่เยิ่นเย้ออกมาจากเอกสารต้นฉบับ4. ตรวจร่างสาระสังเขป ได้แก่ วรรคตอน ความถูกต้องของการสะกดคำ ความถูกต้องของชื่อเฉพาะต่างๆ5. เรียบเรียงจัดทำสาระสังเขปให้มีความถูกต้องสมบูรณ์

  10. การจัดทำดรรชนี(Indexing)

  11. ความหมายของดรรชนีดรรชนีเป็นรายการคำหรือวลีที่สำคัญซึ่งได้มาจากเนื้อหาของหนังสือ เอกสาร บทความในวารสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือวัสดุสารสนเทศอื่นๆ ที่ได้มีการจัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบ

  12. ความหมายของการจัดทำดรรชนีเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เนื้อหาของเอกสาร โดยนำเอาเนื้อหาสำคัญและแนวคิด (Concept) ที่ได้จากเอกสารนั้นมาจัดทำเป็นภาษาในระบบของการจัดทำดรรชนี

  13. วัตถุประสงค์ของการจัดทำดรรชนี1.เพื่อชี้ให้ทราบว่าเอกสารนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร 2. ชี้ไปยังตำแหน่งที่อยู่ของสารสนเทศในเอกสาร หรือชี้ไปยังเอกสารที่เกี่ยวข้อง

  14. ความสำคัญของดรรชนี1.ผู้ใช้ดรรชนีสามารถค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ตรงประเด็น 2. ชี้แหล่งเก็บสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ช่วยประหยัดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในการค้น

  15. กระบวนการของการทำดรรชนี1.อ่านเนื้อหาของเอกสารอย่างรวดเร็ว 2. วิเคราะห์เนื้อหาของเอกสาร 3. ปรับเปลี่ยนคำจากเนื้อหาให้เป็นคำที่เป็นภาษาดรรชนี 4. กำหนดตัวบ่งชี้ตำแหน่งที่ปรากฏเนื้อหา

  16. ระดับของการจัดทำดรรชนี โดยทั่วไป มี 4 ระดับ1.ดรรชนีคำและชื่อ 2. ดรรชนีของหนังสือ 3. ดรรชนีวารสาร 4. ดรรชนีระบบการค้นคืนสารสนเทศ

  17. 1. ดรรชนีคำและชื่อ(Word and Name Indexes)บางครั้งอาจเรียกดรรชนีประเภทนี้ว่า อภิธานดรรชนี(concordances) เป็นการทำดรรชนีโดยใช้คำหรือชื่อผู้แต่งจากหนังสือหรือบทความนั้นๆ

  18. 1. ดรรชนีคำและชื่อ(ต่อ)

  19. 1. ดรรชนีคำและชื่อ(ต่อ)

  20. 1. ดรรชนีคำและชื่อ(ต่อ)ข้อดี- เหมาะกับการค้นหาสารสนเทศที่ค่อนข้างซับซ้อน ยากและมีความไม่แน่นอน ทั้งนั้นเพราะมีรายการคำจำนวนมากที่มีความหมายเหมือนกัน บางคำเป็นคำที่ไม่นิยมใช้โดยทั่วไปข้อเสีย- เสียเวลาในการค้นหาสารสนเทศมาก ผู้ใช้อาจต้องเดาใจว่าผู้แต่งใช้คำอะไรเป็นดรรชนี

  21. 2. ดรรชนีของหนังสือ(Book Indexes)บัญชีคำจัดเรียงตามลำดับอักษร มีหมายเลขหน้าแสดงถึงตำแหน่งที่ตั้งของเนื้อหาหรือชื่อที่ต้องการค้นหา

  22. 3. ดรรชนีวารสาร(Periodical Indexes)รายชื่อบทความในแต่ละรายการในวารสาร ประกอบด้วย ชื่อผู้เขียนบทความ ชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีที่หรือเล่มที่ เดือน ปี เลขหน้าที่มีบทความนั้นๆ

  23. 3. ดรรชนีวารสาร(Periodical Indexes)(ต่อ)

  24. 3. ดรรชนีวารสาร(Periodical Indexes)(ต่อ)ดรรชนีวารสารมี 3 ประเภท คือ3.1 ดรรชนีวารสารทั่วไปไม่จำกัดสาขาวิชา 3.2 ดรรชนีวารสารเฉพาะสาขาวิชา 3.3 ดรรชนีวารสารเฉพาะชื่อ

  25. 3. ดรรชนีวารสาร(Periodical Indexes)(ต่อ)ประโยชน์ของดรรชนีวารสาร1. เป็นการรวบรวมข้อมูลในเรื่องที่เหมือนกันมาอยู่ในที่เดียวกัน ทำให้ผู้ใช้ทราบว่า ผลงานนั้นๆ มีใครผลิตแล้วบ้าง2. เป็นการช่วยให้เข้าถึงสารสนเทสที่ต้องการศึกษาได้อย่างรวดเร็ว สามารถค้นคว้าวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  26. 4. ดรรชนีระบบการสืบค้นสารสนเทศ(Information Indexes)เป็นการทำดรรชนีเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการค้นคืนจากระบบสารสนเทศ ซึ่งอาจใช้ฐานข้อมูลต่างๆ มาช่วยในการจัดทำดรรชนี

  27. ภาษาที่ใช้ในการทำดรรชนี1. ภาษาควบคุม(Controlled Language)2. ภาษาธรรมชาติ (Natural / Free Language)

  28. 1. ภาษาควบคุมหมายถึง การกำหนดให้ศัพท์คำหนึ่งทำหน้าที่ควบคุมคำหลายคำที่มีความหมายอย่างเดียวกัน เพื่อความเป็นมาตรฐานและช่วยในการสืบค้นสารสนเทศ ทำได้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ

  29. 1. ภาษาควบคุม(ต่อ)การบังคับเป็นการควบคุมการใช้คำที่มีความหมายเหมือนกัน (Synonyms) คำพ้อง (Homographs) คำพหูพจน์ (Plurals) เอกพจน์ (Singulars) คำประสมและวลีที่แสดงเนื้อหา โดยบังคับให้ใช้คำจากรายการศัพท์ที่กำหนด (Assigned terms) หรือศัพท์บังคับ (Controlled vocabularies) เป็นตำแหน่งในการเข้าถึง

  30. 1. ภาษาควบคุม(ต่อ)ตัวอย่างControlled VocabularyNatural Language-developing countries - underdeveloped countries - Third World

  31. 1. ภาษาควบคุม(ต่อ)ศัพท์ที่มีการควบคุมหรือศัพท์บังคับ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถวิเคราะห์เนื้อหาสาระของเอกสารได้อย่างสอดคล้อง สม่ำเสมอ (consistency) โดยการสร้างระบบคำศัพท์ที่เป็นมาตรฐาน ทำให้การจัดทำดรรชนีมีความแม่นยำถูกต้องมากที่สุด ทั้งนี้เพราะศัพท์ที่มีการควบคุมจะถูกกำหนดให้มีเพียงความหมายเดียวเป็นศัพท์ที่ได้รับการเลือกสรรแล้วบางครั้งเป็นรู้จักกันว่าศัพท์บังคับ (descriptors)

  32. 1. ภาษาควบคุม(ต่อ)จุดมุ่งหมาย 1. เพื่อควบคุมการใช้คำต่างๆ ที่สะกดแตกต่างกันแต่มีความหมายเดียวกันหรือใกล้เคียงกันโดยระบุให้ใช้เพียงคำที่กำหนด จึงทำให้เรื่องที่มีเนื้อหาเดียวกันรวมอยู่ด้วยกัน การควบคุมทำโดยการเลือกใช้คำที่กำหนด (Preferred terms) หรือโยงให้ไป ดูที่ (See) หรือ ใช้ (Use) คำใดคำหนึ่ง

  33. 1. ภาษาควบคุม(ต่อ)จุดมุ่งหมาย 2. เพื่อควบคุมคำพ้องรูป ซึ่งเป็นคำที่สะกดเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน โดย อธิบายความหมาย หรือ ขอบเขตความหมาย กำกับไว้ในวงเล็บ เช่น MERCURY (MYHOLOGY) หมายความว่าให้ใช้ในความหมายในวงเล็บเท่านั้น

  34. 1. ภาษาควบคุม(ต่อ)จุดมุ่งหมาย3. เพื่อควบคุมและแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดของศัพท์ดรรชนี

  35. 1. ภาษาควบคุม(ต่อ)ศัพท์บังคับที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ประเภท คือ 1.1 หัวเรื่อง (Subject heading)1.2 ศัพท์สัมพันธ์ (Thesaurus)

  36. 1. ภาษาควบคุม(ต่อ)ศัพท์บังคับที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ประเภท คือ 1.1 หัวเรื่อง (Subject heading)1.2 ศัพท์สัมพันธ์ (Thesaurus)

  37. 1.1หัวเรื่องเป็นรายการศัพท์ที่ใช้แสดงเนื้อหา เป็นคำที่สั้น กะทัดรัดชัดเจนโดยทั่วไปจัดเรียงตามลำดับอักษร มีส่วนเชื่อมโยง- ดูที่ (see) เชื่อมโยงจากคำที่ไม่ใช้เป็นหัวเรื่องไปยังศัพท์ที่ใช้เป็นหัวเรื่อง - ดูเพิ่มเติมที่ (see also) โยงไปยังหัวเรื่องที่เกี่ยวข้อง อันเป็นการแสดงความสัมพันธ์ของเนื้อหาเพื่อนำผู้ใช้ไปสู่ศัพท์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกัน

  38. 1.1หัวเรื่อง(ต่อ)ตัวอย่างศัพท์บังคับโดยใช้หัวเรื่องได้ที่“ http://www.astrosimple.com/thaiccweb/main.php ”

  39. 1.2 ศัพท์สัมพันธ์เป็นการรวบรวมคำและวลี เรียงตามลำดับอักษรพร้อมกับแสดงความสัมพันธ์กับศัพท์อื่น ๆ ที่มีความหมายเหมือนกัน ที่มีความหมายตามลำดับขั้น (hirarchical) และความสัมพันธ์ลักษณะอื่นๆ เพื่อเป็นศัพท์มาตรฐานสำหรับระบบจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ

  40. 1.2 ศัพท์สัมพันธ์(ต่อ)“use”= ให้ใช้คำดังกล่าวเพื่อหลีกเลี่ยงการกระจายของเนื้อหา “use for”= คำดังกล่าวถูกใช้สำหรับคำอื่น“X”= see reference“XX”= see also reference“BT”= Broader term คำที่มีความหมายกว้างกว่า“NT”= Narrower term คำที่มีความหมายแคบกว่า“RT”= Related term คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกัน

  41. 1.2 ศัพท์สัมพันธ์(ต่อ)ตัวอย่าง Barley Broader term : GrainCereals Use : GrainCorn Broader term : GrainFactories Used for : Plants (industry)

  42. 1.2 ศัพท์สัมพันธ์(ต่อ)ตัวอย่าง GrainUsed for : Cereals Broader term : Crops Narrower terms : Barley Corn Maize Oats Wheat

  43. 1.2 ศัพท์สัมพันธ์ (ต่อ)

  44. 1.2 ศัพท์สัมพันธ์(ต่อ)ตัวอย่างศัพท์บังคับโดยใช้ศัพท์สัมพันธ์ได้ที่ “ http://pikul.lib.ku.ac.th/agkb”

  45. ภาษาธรรมชาติ เป็นภาษาดรรชนีที่นำคำที่ใช้ในเอกสารเป็นศัพท์ดรรชนีไม่ว่าคำเหล่านี้ปรากฏในสาระสังเขป เนื้อหาเต็ม หรือข้อมูลทางบรรณานุกรม (ได้แก่ ชื่อเรื่อง เป็นต้น) เป็นภาษาดรรชนีที่ไม่มีการควบคุมศัพท์ ทำให้ใช้ศัพท์ได้หลากหลาย

  46. ภาษาธรรมชาติ(ต่อ)โดยทั่วไป ระบบค้นคืนโดยภาษาธรรมชาติใช้องค์ประกอบต่างๆ ที่ปรากฏอยู่แล้วได้แก่ ชื่อเรื่องสาระสังเขป (ซึ่งผลิตโดยผู้เขียน) และบางครั้งเนื้อหาเต็ม การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้กระทำได้โดยการใช้คำต่างๆ ที่ปรากฏในชื่อเรื่อง สาระสังเขป หรือเนื้อหาของเอกสาร

  47. หน้าที่ของดรรชนีดรรชนีเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการค้นหาสารสนเทศ 2 ระดับ2. ดรรชนีค้นเนื้อหาภายในเล่ม(Guide to content of work) จัดทำขึ้นเพื่อค้นหาสารสนเทศที่เฉพาะเจาะจงภายในเนื้อหาของเอกสาร ตัวอย่างได้แก่ ดรรชนีท้ายเล่ม ซึ่งบอกให้ทราบว่าคำ หรือเรื่องที่ต้องการปรากฏอยู่หน้าใดของเอกสารเล่มนั้น

  48. ประเภทของดรรชนี1. ดรรชนีผู้แต่ง(Author Indexes) เป็นดรรชนีที่ใช้ชื่อผู้แต่งเป็นส่วนหลักของรายการดรรชนี จัดทำขึ้นเพื่อค้นหารายการเอกสารตามชื่อผู้แต่ง2. ดรรชนีหัวเรื่อง(Subject Indexes) เป็นดรรชนีที่ใช้คำหรือหัวเรื่องที่มีผู้กำหนดไว้แล้วเป็นหัวเรื่อง3. ดรรชนีคำ(Word Indexes) เป็นดรรชนีที่สร้างโดยใช้คำที่ปรากฏอยู่ในชื่อเรื่องหรือเนื้อหาของเอกสารนั้นๆ มาเป็นคำค้นหรือคำหลัก

  49. ประเภทของดรรชนี3.1 อภิธานดรรชนี (Concordance) เป็นดรรชนีที่ใช้คำสำคัญทุกคำที่ปรากฏในเนื้อหาของเอกสารเป็นส่วนหลักหรือคำค้นแล้วจัดเรียงตามลำดับอักษร3.2 ดรรชนีเวียนคำ (Permuted Indexes) เป็นการสร้างรายการดรรชนีหัวเรื่องตามลำดับอักษร

More Related